คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
รื้อถอนอาคาร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 96 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 622/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต แม้เจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งรื้อถอนเกิน 30 วัน ก็ไม่ทำให้จำเลยพ้นความรับผิด
จำเลยกอ่สร้างอาคารพิพาทโดยไม่ได้รับอนุญาตและอาคารดังกล่าวไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ.2522มาตรา42เมื่ออาคารพิพาทได้ก่อสร้างเสร็จแล้วจึงล่วงเลยเวลาที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะมีคำสั่งให้ระงับการก่อสร้าง.เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่จำต้องมีคำสั่งดังกล่าวดังนั้นแม้เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารพิพาทเกิน30วันนับแต่วันที่ได้มีคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างก็ไม่ทำให้จำเลยพ้นความรับผิดที่จะต้องรื้อถอนอาคารดังกล่าว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3426/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสั่งรื้อถอนอาคารผิดกฎหมายเป็นของเจ้าพนักงานท้องถิ่น ผู้เสียหายมีสิทธิฟ้องอาญาเท่านั้น
อำนาจในการสั่งให้รื้อถอนอาคารในกรณีที่มีผู้ต่อเติมอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตนั้น มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นพิเศษให้เป็นอำนาจหน้าที่โดยเฉพาะของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่จะต้องปฏิบัติตามขั้นตอนตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 40 และ 42 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ฐานะของผู้เสียหายตามมาตรา 73 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวมีเพียงสิทธิในการดำเนินคดีในทางอาญาต่อผู้กระทำความผิดเท่านั้น ผู้เสียหายดังกล่าวหามีอำนาจที่จะฟ้องบังคับจำเลยเพื่อให้รื้อถอนอาคารส่วนที่ต่อเติมผิดกฎหมายอันเป็นอำนาจหน้าที่ในทางแพ่งโดยเฉพาะของเจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3426/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องรื้อถอนอาคารผิดกฎหมาย: ศาลตัดสินว่าสิทธิเป็นของเจ้าพนักงานท้องถิ่น ไม่ใช่ผู้เสียหาย
อำนาจในการที่จะสั่งให้รื้อถอนอาคารที่ผิดกฎหมายเป็นอำนาจหน้าที่ในทางแพ่งโดยเฉพาะของเจ้าพนักงานท้องถิ่นฐานะของผู้เสียหายตามมาตรา73มีเพียงสิทธิในการดำเนินคดีในทางอาญาต่อจำเลยผู้กระทำความผิดเท่านั้นหาได้มีอำนาจฟ้องบังคับจำเลยให้รื้อถอนอาคารส่วนที่ต่อเติมผิดกฎหมายด้วยไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3426/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสั่งรื้ออาคารผิดกฎหมาย: เจ้าพนักงานท้องถิ่นเท่านั้นที่ทำได้ ผู้เสียหายฟ้องบังคับไม่ได้
อำนาจในการสั่งให้รื้อถอนอาคารในกรณีที่มีผู้ต่อเติมอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตนั้นมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นพิเศษให้เป็นอำนาจหน้าที่โดยเฉพาะของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่จะต้องปฏิบัติตามขั้นตอนตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา40และ42แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ.2522ฐานะของผู้เสียหายตามมาตรา73แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวมีเพียงสิทธิในการดำเนินคดีในทางอาญาต่อผู้กระทำความผิดเท่านั้นผู้เสียหายดังกล่าวหามีอำนาจที่จะฟ้องบังคับจำเลยเพื่อให้รื้อถอนอาคารส่วนที่ต่อเติมผิดกฎหมายอันเป็นอำนาจหน้าที่ในทางแพ่งโดยเฉพาะของเจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2100/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรื้อถอนอาคารต่อเติมที่ไม่ได้รับอนุญาต จำเป็นต้องพิสูจน์การกระทำหลังกฎหมายมีผลบังคับใช้
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยรื้อถอนอาคารส่วนที่ดัดแปลงต่อเติมตามพ.ร.บ.ควบคุมอาคารพ.ศ.2522แต่นำสืบรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยเป็นผู้ดัดแปลงต่อเติมอาคารหลังจากวันที่31ตุลาคม2522แม้ข้อเท็จจริงจะได้ความว่าหลังจากจำเลยได้รับคำสั่งจากโจทก์ให้ระงับการก่อสร้างและให้รื้อถอนอาคารส่วนที่ดัดแปลงต่อเติมแล้วจำเลยไม่ได้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวรวมทั้งจำเลยได้ให้การรับสารภาพเมื่อถูกฟ้องที่ศาลแขวงพระนครเหนือ จนศาลพิพากษาปรับจำเลยเป็นเงิน500บาทก็หาทำให้ข้อเท็จจริงผูกพันจำเลยว่าจำเลยได้ทำการดัดแปลงต่อเติมอาคารหลังจากวันที่31ตุลาคม2522ไม่โจทก์จึงไม่อาจขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนอาคารส่วนที่ดัดแปลงต่อเติมดังกล่าวตามพ.ร.บ.ควบคุมอาคารพ.ศ.2522กรณีไม่ต้องวินิจฉัยปรับบทกฎหมายตามพ.ร.บ.ควบคุมการก่อสร้างอาคารพ.ศ.2479เพราะพยานโจทก์รับฟังไม่ได้ว่าจำเลยได้ดัดแปลงต่อเติมอาคารในระหว่างที่พ.ร.บ.ดังกล่าวใช้บังคับอยู่ ส่วนที่โจทก์ฎีกาว่าการชี้ขาดคดีส่วนแพ่งต้องถือข้อเท็จจริงตามส่วนอาญานั้นเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่โจทก์ไม่ได้ยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2100/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรื้อถอนอาคารดัดแปลง: โจทก์ต้องพิสูจน์การดัดแปลงหลังวันที่กฎหมายควบคุมอาคารมีผลบังคับใช้
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยรื้อถอนอาคารส่วนที่ดัดแปลงต่อเติมตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ.2522แต่นำสืบรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยเป็นผู้ดัดแปลงต่อเติมอาคารหลังจากวันที่31ตุลาคม2522แม้ข้อเท็จจริงจะได้ความว่าหลังจากจำเลยได้รับคำสั่งจากโจทก์ให้ระงับการก่อสร้างและให้รื้อถอนอาคารส่วนที่ดัดแปลงต่อเติมแล้วจำเลยไม่ได้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวรวมทั้งจำเลยได้ให้การรับสารภาพเมื่อถูกฟ้องที่ศาลแขวงพระนครเหนือจนศาลพิพากษาปรับจำเลยเป็นเงิน500บาทก็หาทำให้ข้อเท็จจริงผูกพันจำเลยว่าจำเลยได้ทำการดัดแปลงต่อเติมอาคารหลังจากวันที่31ตุลาคม2522ไม่โจทก์จึงไม่อาจขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนอาคารส่วนที่ดัดแปลงต่อเติมดังกล่าวตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ.2522กรณีไม่ต้องวินิจฉัยปรับบทกฎหมายตามพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคารพ.ศ.2479เพราะพยานโจทก์รับฟังไม่ได้ว่าจำเลยได้ดัดแปลงต่อเติมอาคารในระหว่างที่พระราชบัญญัติดังกล่าวใช้บังคับอยู่. ส่วนที่โจทก์ฎีกาว่าการชี้ขาดคดีส่วนแพ่งต้องถือข้อเท็จจริงตามส่วนอาญานั้นเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่โจทก์ไม่ได้ยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1335/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสั่งรื้อถอนอาคารตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร: ต้องเป็นไปตามกฎหมายและมีเหตุผลทางกฎหมายรองรับ
จำเลยก่อสร้างต่อเติมอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต ในระหว่าง เวลาที่พระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2479 ใช้บังคับ แต่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคาร เมื่อพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ออกมาใช้บังคับแทนพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2479 แล้ว อำนาจของโจทก์ที่สั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคาร จึงต้องเป็นไปตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522
เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งให้รื้อถอนอาคารได้ ก็เฉพาะแต่กรณีตาม มาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร 9 เท่านั้น ฯ มิฉะนั้นจะมีคำสั่งให้รื้อถอนอาคารหาได้ไม่ เมื่อไม่ปรากฏว่าการก่อสร้างหรือต่อเติมอาคารของจำเลยผิดกฎกระทรวงหรือข้อบังคับท้องถิ่น โจทก์ก็ไม่อาจสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารได้ กรณีของจำเลยต้องด้วย มาตรา 43 แห่ง พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร ฯ ที่อาจยื่นคำขอรับใบอนุญาตให้ถูกต้องได้ แม้จำเลยจะเคยยื่นคำขออนุญาตต่อเติมอาคารและไม่ได้รับอนุญาต เพราะเหตุที่โจทก์อ้างว่า ความสูงของอาคารไม่อยู่ในเกณฑ์ที่จะอนุญาตให้ได้ก็ตาม แต่ต่อมาปรากฏว่าจำเลยมิได้ก่อสร้างต่อเติมฝ่าฝืนกฎหมาย จำเลยจึงมีสิทธิยื่นคำขอรับใบอนุญาตต่อเติมอาคารให้โจทก์พิจารณาในเหตุอื่นได้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1083/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรื้อถอนอาคารที่ต่อเติมโดยไม่ได้รับอนุญาต แม้มีความมั่นคงแข็งแรง แต่ขัดต่อกฎหมายผังเมืองและป้องกันอัคคีภัย
หัวหน้าเขตซึ่งเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้มีคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารที่จำเลยก่อสร้างปกคลุมทางเดินแล้วต่อมาได้มีหนังสือแจ้งให้จำเลยระงับการก่อสร้างปรากฏว่าจำเลยมิได้ใช้สิทธิอุทธรณ์คำสั่งภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดแม้ต่อมาหัวหน้าเขตจะมีคำสั่งให้จำเลยระงับการก่อสร้างอาคารดังกล่าวอีกและจำเลยได้ใช้สิทธิอุทธรณ์ก็เป็นการอุทธรณ์เมื่อเกินสามสิบวันนับแต่วันทราบคำสั่งครั้งหลังโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้จำเลยรื้อถอนอาคารที่ต่อเติมขึ้นโดยไม่ได้รับอนุญาตได้โดยไม่จำต้องรอฟังคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ก่อนกรณีเช่นนี้แม้จะได้ความว่าอาคารพิพาทมีความมั่นคงแข็งแรงแต่เมื่อจำเลยก่อสร้างต่อเติมจนเป็นเหตุให้ขาดประโยชน์แห่งการป้องกันอัคคีภัยก็ถือได้ว่ามีเหตุสมควรที่จะต้องรื้อถอน แม้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารที่ต่อเติมน้อยกว่าสามสิบวันอันเป็นการไม่ชอบด้วยพ.ร.บ.ควบคุมอาคารพ.ศ.2522มาตรา42วรรคแรกก็ตามแต่โจทก์ฟ้องคดีนี้ภายหลังที่จำเลยได้รับคำสั่งนานถึง3ปีเศษโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4585/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการรื้อถอนอาคารดัดแปลงโดยไม่ได้รับอนุญาต ผู้ครอบครองไม่ต้องเป็นเจ้าของ
จำเลยเป็นผู้เช่าอาคารพิพาท จึงมีสิทธิครอบครองอาคารในฐานะผู้เช่า ว. น้องชายจำเลยมีชื่อเป็นเจ้าบ้านในทะเบียนบ้านอาคารพิพาทก็โดยการมอบหมายจากจำเลย ว. จึงเข้าครอบครองอาคารพิพาทแทนจำเลยเท่านั้น และแม้จำเลยจะมีชื่อเป็นเจ้าบ้านแห่งอื่นก็มิได้หมายความว่าจำเลยจะเป็นผู้ครอบครองอาคารอื่นอีกไม่ได้ จำเลยยังคงเป็นผู้ครอบครองอาคารดังกล่าวอยู่ โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่นอาจขอให้ศาลสั่งให้ผู้ครอบครองอาคารที่ต่อเติมอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นผู้รื้อถอนได้ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 22,40,42 โดยผู้ครอบครองอาคารหาจำเป็นต้องเป็นเจ้าของอาคารด้วยไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1046/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้กฎหมายอาคารย้อนหลังกับผู้รับโอนที่ดิน: อำนาจฟ้องรื้อถอนอาคารผิดกฎหมาย
จำเลยที่ 2 ปลูกสร้างอาคารผิดไปจากแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตแล้วไม่รื้อถอนตามคำสั่งของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นต่อมาจำเลยที่ 2 โอนขายที่ดินพร้อมอาคารดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 1 ในขณะที่อยู่ระหว่างการใช้พระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคารพุทธศักราช 2479ซึ่งตามมาตรา 11ทวิ โจทก์ไม่มีอำนาจสั่งให้จำเลยที่ 1 ซึ่งไม่ใช่ผู้ปลูกสร้างอาคารตามมาตรา11 รื้อถอนอาคารพิพาทได้แม้ต่อมากฎหมายนี้จะถูกยกเลิกและใช้พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 แทนซึ่งมาตรา 40 ประกอบด้วยมาตรา 42 ให้อำนาจโจทก์สั่งให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองรื้อถอนอาคารนั้นได้ก็จะนำมาใช้กับจำเลยที่ 1 อันเป็นการใช้กฎหมายย้อนหลังที่มีผลเสียหายแก่จำเลยที่ 1ซึ่งมิได้เป็นผู้ปลูกสร้างอาคารพิพาทไม่ได้โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องให้จำเลยที่ 1รื้อถอนอาคารพิพาท
of 10