คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
รุกล้ำ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 109 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2566-2567/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทางสาธารณะแม้มีการรุกล้ำหรือซ่อมแซมเอง ก็ไม่สิ้นสภาพ สิทธิฟ้องของผู้ได้รับความเสียหายจากการถูกปิดกั้นทาง
ทางสาธารณะซึ่งมีผู้สร้างอาคารรุกล้ำ วางสิ่งของเกะกะ หรือผู้อยู่อาศัยซ่อมกันเอง ก็ไม่สิ้นสภาพทางสาธารณะ
ทางพิพาทและทางเดินติดต่อกับทางพิพาทมิใช่จะใช้เดินออกไปสู่ถนนเท่านั้น แต่ยังเดินไปทางอื่น ๆ ได้อีกเมื่อมีผู้สร้างกำแพงและทิ้งวัสดุต่าง ๆ บนที่ดินซึ่งเป็นทางสาธารณะปิดกั้นทางเข้าออกของผู้ใดทำให้ผู้นั้นขาดความสะดวกในการไปมาและใช้ทรัพย์ถือได้ว่าผู้นั้นได้รับความเสียหายเป็นพิเศษ จึงมีสิทธิฟ้องผู้สร้างกำแพงและทิ้งวัสดุได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1598/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรอนสิทธิใช้ทางร่วม และการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างรุกล้ำที่ชายตลิ่งสาธารณสมบัติ
การที่จำเลยกั้นรั้วและปลูกพืชผลในที่ชายตลิ่งอันเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน ซึ่งอยู่ระหว่างหน้าที่ดินโจทก์กับลำรางสาธารณะนั้น แม้จะมิได้บังหน้าที่ดินโจทก์ทั้งหมดก็ตาม แต่เมื่อบริเวณหน้าที่ดินโจทก์ที่ยังเป็นที่ว่างอยู่ส่วนมากเป็นหล่มเป็นเลนทำให้โจทก์ไม่ได้รับความสะดวกถูกจำกัดมิให้ใช้หรือได้รับประโยชน์จากการเดินขึ้นลงระหว่างที่ดินโจทก์กับลำรางสาธารณะถือได้ว่าโจทก์ได้รับความเสียหายเป็นพิเศษ โจทก์จึงมีสิทธิขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนรั้วและพืชผลออกไปได้ตามมาตรา 1337

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2626/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรุกล้ำทางสาธารณะประโยชน์ แม้ครอบครองนาน ก็ไม่เกิดสิทธิ การฟ้องรื้อถอนทำได้หากได้รับความเสียหายเป็นพิเศษ
จำเลยสร้างสิ่งปลูกสร้างต่อจากเรือนจำเลยออกมาปิดกั้นทางเดินทางอันเป็นทางสาธารณะ เป็นเหตุให้โจทก์และราษฎรได้รับความเดือดร้อนใช้ทางเข้าออกไม่ได้ ย่อมเป็นละเมิดและถือได้ว่าโจทก์ได้รับความเสียหายเป็นพิเศษแล้ว จึงมีสิทธิฟ้องให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างเหล่านั้นออกไปได้ และกรณีไม่ต้องด้วยประมาลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1337
ทางสาธารณะประโยชน์ อันเป็นสาธารณะสมบัติของแผ่นดินนั้น แม้จำเลยจะครอบครองมานานเท่าใด ก็หาได้สิทธิครอบครองเหนือที่ดินนั้นไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1450/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การก่อสร้างรุกล้ำที่ดิน การยินยอมโดยปริยาย และสิทธิในที่ดินของเจ้าของเดิม
เดิมที่ดินแปลงใหญ่ทั้งโฉนดเป็นของจำเลยร่วม จำเลยร่วมให้ผู้รับเหมาก่อสร้างตึกแถว 10 ห้อง พร้อม ๆ สร้างห้องแถวในที่ดินดังกล่าวผู้รับเหมาได้ทำรั้วกำแพงก่ออิฐถือปูนกว้าง 1 เมตร ยาว 3.50 เมตร แทนรั้วสังกะสีเดิมติดด้านหลังตึกแถวทุกห้อง จำเลยร่วมไม่ได้ทักท้วงห้ามปรามอย่างใด แสดงว่าจำเลยร่วมยินยอมให้ผู้รับเหมาทำรั้วกำแพงได้ ฉะนั้น การที่ผู้รับเหมาก่อสร้างกำแพงหลังตึกดังกล่าวจึงเป็นการกระทำโดยสุจริตไม่เป็นการละเมิด ต่อมาจำเลยร่วมแบ่งแยกโฉนดโอนขายที่ดินนอกเขตที่สร้างตัวตึกแถวให้โจทก์ ขายตึกแถวเฉพาะที่ดินที่สร้างตึกแถวให้บุคคลอื่นและ ส.ส.ขายตึกแถวห้องเลขที่ 464/2 พร้อมทั้งที่ดินให้จำเลยที่ 1 หลังจากโจทก์ขอให้เจ้าพนักงานกรมที่ดินมารังวัดสอบเขตแล้วความจึงปรากฏว่า รั้วกำแพงด้านหลังตึกแถวทุกห้องรวมทั้งห้องของจำเลยที่ 1 ด้วยก่อสร้างในที่ดินของโจทก์ ในกรณีเช่นนี้ไม่มีบทกฎหมายมาตราใดที่จะยกขึ้นมาปรับคดีได้โดยตรง ในการวินิจฉัยคดีจึงต้องอาศัยเทียบบทกฎหมายใกล้เคียงตามมาตรา 4 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และบทกฎหมายใกล้เคียงที่จะปรับกับข้อเท็จจริงคดีนี้คือประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1310 ประกอบด้วยมาตรา 1314 ซึ่งบัญญัติให้โจทก์เจ้าของที่ดินเป็นเจ้าของสิ่งก่อสร้างคือรั้วกำแพง แต่ต้องใช้ค่าแห่งที่ดินเพียงที่เพิ่มขึ้นเพราะสร้างรั้วกำแพงนั้นให้แก่จำเลย ดังนี้โจทก์จะขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนรั้วกำแพงและเรียกค่าเสียหายไม่ได้ ทั้งจะให้จำเลยชำระเงินค่าใช้ที่ดินแก่โจทก์ก็ไม่ได้ เพราะรั้วกำแพงไม่ใช่โรงเรือน กรณีไม่เข้ามาตรา 1312 จำเลยไม่มีสิทธิใช้ที่ดินที่ก่อสร้างและภายในเขตรั้วกำแพงซึ่งเป็นที่พิพาทเพราะเป็นของโจทก์และคดีนี้จะบังคับให้โจทก์ใช้ค่าแห่งที่ดินที่เพิ่มขึ้น เพราะสร้างรั้วกำแพงนั้นให้แก่จำเลยก็ไม่ได้เช่นกัน เพราะจำเลยไม่ได้ฟ้องแย้งและไม่มีประเด็นดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 983/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีรื้อถอนที่รุกล้ำเมื่อสิทธิของผู้ร้องหมดไป
ศาลพิพากษาคดีถึงที่สุดให้จำเลยรื้อผนังตึกที่สร้างรุกล้ำ และขนย้ายออกไปให้พ้นเขตที่โจทก์มีสิทธิการเช่า ในชั้นที่โจทก์ขอบังคับคดีเจ้าของที่ดินผู้ให้เช่าได้บอกเลิกการเช่ากับโจทก์และจำเลยได้ทำสัญญาเช่าที่พิพาทนั้นโดยตรงจากเจ้าของแล้ว ดังนั้นฐานะในคดีของโจทก์เปลี่ยนเป็นว่า โจทก์ไม่มีสิทธิที่จะใช้ที่พิพาทต่อไปและจำเลยคงอยู่ในที่พิพาทโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาเช่าโดยตรงจากเจ้าของ รูปคดีไม่มีประโยชน์ต่อโจทก์ที่จะบังคับคดีโจทก์จึงไม่อาจขอให้บังคับคดีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 717/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรุกล้ำทางภารจำยอม: จำเลยต้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่กีดขวางการใช้ทาง แม้จะสูงจากพื้นดิน
ศาลพิพากษาให้จำเลยเปิดทางภารจำยอมให้มีความกว้าง 3 เมตรตลอดแนวทาง และให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่กีดขวางรุกล้ำทางภารจำยอมดังกล่าว และปรับที่ดินให้มีสภาพเป็นทางสัญจรไปมาตามปกติ จำเลยรื้อถอนตึกแถวที่ปลูกติดกับทางภารจำยอมโดยรื้อถอนส่วนล่างทั้งหมด แต่มีกันสาดคานรับกันสาด กับส่วนบนของอาคารชั้นสองยังรุกล้ำเข้าไปเหนือพื้นดินทางภารจำยอม โดยส่วนของกันสาดรุกล้ำเข้าไป 1.38 เมตร สูงจากพื้นดิน3.30 เมตร และคานรับกันสาดซึ่งอยู่ติดกับกันสาดรุกล้ำเข้าไปครึ่งหนึ่งของกันสาด ส่วนที่ต่ำที่สุดของคานรับกันสาดอยู่ติดกับตัวอาคารสูง 2.67เมตร ดังนี้เมื่อทางภารจำยอมที่พิพาทได้ใช้เป็นทางคนเดินและเป็นทางที่รถยนต์บรรทุกใช้ผ่านเข้าออกได้ สำหรับรถยนต์บรรทุกไม่ได้ความว่าใช้บรรทุกของมีความสูงจากพื้นดินทางภารจำยอมเพียงใด จึงต้องอยู่ในบังคับของกฎหมายโดยบรรทุกของได้ส่วนสูงวัดจากพื้นดินไม่เกิน 3 เมตร ฉะนั้น จำเลยจึงยังมิได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลให้ครบถ้วน และจำเลยต้องรื้อถอนตึกแถวส่วนบนที่ยังกีดขวางรุกล้ำทางภารจำยอมเฉพาะที่มีส่วนสูงจากพื้นดินทางภารจำยอมไม่เกิน 3 เมตรออกไปให้หมด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1413/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงการรังวัดพื้นที่อาคารเป็นหลัก และผลผูกพันตามคำท้าในคดีรุกล้ำ
โจทก์จำเลยเช่าที่ดินจากจำเลยร่วมมาปลูกห้องแถว โจทก์ฟ้องและจำเลยฟ้องแย้ง โดยต่างอ้างว่าอีกฝ่ายหนึ่งปลูกห้องแถวรุกล้ำที่ดินซึ่งตนเช่าขอให้รื้อถอนไป ชั้นพิจารณาคู่ความท้ายกันให้ศาลวินิจฉัยประเด็นเดียวว่า อาคารปลูกสร้างของจำเลยมีเนื้อที่เกินกว่า 45 ตารางวาตามสัญญาเช่าหรอไม่ ถ้าเกินจำเลยยอมแพ้ ถ้าไม่เกินโจทก์ยอมแพ้ วิธีรังวัดคู่ความตกลงกันให้วัดจากด้านนอกของอาคาร และให้คำนวณเนื้อที่โดยให้จ่าศาลและช่างรังวัดของจำเลยร่วมเป็นผู้รังวัด ผลของการรังวัดปรากฏว่าอาคารปลูกสร้างของจำเลยมีเนื้อที่ตามที่เจ้าพนักงานที่ไปรังวัดคำนวณเนื้อที่ได้ 56.80 ตารางวา ดังนั้น เมื่อคู่ความตกลงให้ถือว่าอาคารของจำเลยเป็นหลักในการรังวัด มิใช่ให้ถือพื้นที่ที่จำเลยเช่าเป็นหลักรังวัด การรังวัดจึงถูกต้องตามคำท้า และเมื่อผลของการรังวัดปรากฏว่าจำเลยเป็นฝ่ายแพ้คดี ศาลต้องพิพากษาให้เป็นไปตามคำท้านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1656/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทิศที่ดินให้วัด และการสละสิทธิในที่ดิน ทำให้ไม่เกิดการรุกล้ำ
โจทก์ฟ้องว่า วัดจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ได้รุกล้ำเข้าไปปลูกสร้างวัดและกำแพงเขตของวัดจำเลยที่ 1 ในที่ดินมีโฉนดของโจทก์กับญาติโดยไม่สุจริต ขอให้ศาลพิพากษาขับไล่จำเลยกับบริวารให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปและคืนที่ดินให้โจทก์ ทางพิจารณาฟังได้ว่า โจทก์ได้อุทิศที่พิพาทให้แก่วัดจำเลยที่ 1 ตั้งแต่ก่อนวัดจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ลงมือสร้างวัดจำเลยที่ 1 ขึ้นใหม่ดังนี้ กรณีไม่ต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 525 ดังฎีกาของโจทก์ และเมื่อวัดจำเลยที่ 1 วางศิลาฤกษ์ สร้างโบสถ์ วิหาร ศาลาการเปรียญ อาคารถาวร โจทก์ทราบและไม่คัดค้าน แสดงว่าโจทก์ยินยอมให้วัดจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 กระทำเช่นนั้น ฟังได้ว่าโจทก์ได้สละที่พิพาทให้แก่วัดจำเลยที่ 1 แล้ว ยังฟังไม่ได้ว่าวัดจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 ได้รุกล้ำเข้าไปปลูกสร้างวัดและกำแพงเขตวัดจำเลยที่ 1 ในที่ดินของโจทก์กับญาติโดยไม่สุจริต รูปคดีกลับเชื่อว่าโจทก์ได้ใช้สิทธิฟ้องจำเลยโดยไม่สุจริต

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 287/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องนายอำเภอในคดีรุกล้ำคลองสาธารณะ: การรักษาสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
จำเลยปลูกสร้างอาคารและเขื่อนถมดินรุกล้ำเขตคลองบางโพงพางซึ่งเป็นที่อันเป็นสาธารณประโยชน์ นายอำเภอเจ้าของท้องที่คลองบางโพงพางย่อมมีอำนาจฟ้องขอบังคับให้จำเลยรื้อถอนอาคารและเขื่อนถมดินที่รุกล้ำนั้นออกไปได้ โดยอาศัยอำนาจตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 มาตรา 122 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2495 มาตรา 40 วรรค 3

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 287/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องนายอำเภอในการรื้อถอนสิ่งรุกล้ำคลองสาธารณะ: สาธารณสมบัติของแผ่นดิน
จำเลยปลูกสร้างอาคารและเขื่อนถมดินรุกล้ำเขตคลองบางโพงพางซึ่งเป็นที่อันเป็นสาธารณประโยชน์ นายอำเภอเจ้าของท้องที่คลองบางโพงพางย่อมมีอำนาจฟ้องขอบังคับให้จำเลยรื้อถอนอาคารและเขื่อนถมดินที่รุกล้ำนั้นออกไปได้ โดยอาศัยอำนาจตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 มาตรา 122 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2495 มาตรา 40 วรรค 3
of 11