คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ละทิ้งหน้าที่

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 90 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2497/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างกรณีฝ่าฝืนระเบียบวินัยร้ายแรง: มึนเมาในที่ทำงาน, ก้าวร้าว, ละทิ้งหน้าที่
โจทก์มึนเมาสุราในเวลาทำงาน พูดจาก้าวร้าวท้าทาย ส.หัวหน้าแผนกธุรการแล้วละทิ้งหน้าที่ออกจากโรงงานไป เป็นการก่อให้เกิดสภาพไม่มีระเบียบวินัย ทำลายความสงบเรียบร้อยของสถานที่ทำงาน ทำลายความสามัคคีก่อให้เกิดการทะเลาะวิวาท เสียหายต่อการปกครองบังคับบัญชา และเสียหายแก่การงานของจำเลยที่โจทก์ละทิ้งไป ถือได้ว่าเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานเป็นกรณีร้ายแรงตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 (3) จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2223/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลาป่วยด้วยวาจาและการปฏิบัติที่ยืดหยุ่นของนายจ้าง ไม่ถือเป็นการละทิ้งหน้าที่
ตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างกำหนดให้พนักงานซึ่งไม่มาทำงานหรือเจ็บป่วยไม่สามารถมาทำงานได้จะต้องยื่นใบลาต่อนายจ้าง แต่ในทางปฏิบัติกรณีที่โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างเจ็บป่วยหรือไม่มาทำงาน โจทก์เพียงแต่ขอลาด้วยวาขาต่อหัวหน้างานและจัดหาคนมาทำงานแทนก็เป็นอันใช้ได้โดยไม่ต้องยื่นใบลาซึ่งโจทก์ปฏิบัติเช่นนี้ตลอดมาโดยนายจ้างไม่เคยถือเป็นความผิด ดังนี้ การที่โจทก์ไม่มา ทำงานเป็นเวลา 3 วันติดต่อกันแต่ได้ลางานด้วยวิธีดังกล่าวจึงถือไม่ได้ว่าเป็นการละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุอันสมควร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 658/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความคำว่า 'ละทิ้งหน้าที่' ในข้อบังคับบริษัท และอำนาจการบังคับชำระหนี้ของนายจ้าง
คำว่าละทิ้งหน้าที่การงานเกินกว่า 7 วันติดต่อกันตามข้อบังคับ ฯ นั้น หมายถึงวันทำงานและวันหยุดรวมกัน เพราะหากแปลงว่าหมายถึงเฉพาะวันทำงานแล้วข้อบังคับนี้ย่อมไร้ผล เนื่องจากในสัปดาห์หนึ่งหยุดวันเสาร์วันอาทิตย์ การทำงานติดต่อกันจึงมีได้อย่างมาก 5 วันเท่านั้น
การที่จำเลยมีคำสั่งให้โจทก์ใช้ค่าเสียหาย มีผลเท่ากับเป็นทวงถามให้ชำระหนี้เท่านั้น เพราะจำเลยไม่มีอำนาจบังคับชำระหนี้โดยลำพังได้ จึงไม่มีเหตุที่ศาลจะเพิกถอนคำสั่งของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2911/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละทิ้งหน้าที่งานโดยมิชอบ และสิทธิการเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
ผู้ร้องมีคำสั่งให้ผู้คัดค้านไปทำงานที่อื่นชั่วคราวซึ่งผู้ร้องมีอำนาจออกคำสั่งได้ตามระเบียบข้อบังคับในการทำงาน ผู้คัดค้านจึงต้องมีหน้าที่ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้ร้องซึ่งเป็นนายจ้าง การที่ผู้คัดค้านเข้าใจว่าคำสั่งของผู้ร้องเป็นการกลั่นแกล้งผู้คัดค้านเนื่องจากผู้คัดค้านเป็นกรรมการลูกจ้างจึงเป็นความเข้าใจผิดของผู้คัดค้านเองเมื่อไม่ไปปฏิบัติงานตามคำสั่งของผู้ร้องเป็นเวลาสามวันติดต่อกัน ผู้คัดค้านจะอ้างว่าเป็นความเข้าใจโดยสุจริตว่าผู้ร้องกลั่นแกล้งไม่ได้การกระทำของผู้คัดค้านจึงเป็นการละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุสมควร
ผู้ร้องมีคำขอให้เลิกจ้างผู้คัดค้านโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยหรือค่าเสียหายใด ๆ แก่ผู้คัดค้านนั้นเมื่อผู้ร้องได้รับอนุญาตจากศาลแรงงานกลางให้เลิกจ้างผู้คัดค้านได้ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 52 แล้วผู้ร้องก็ต้องมีคำสั่งเลิกจ้างอีกชั้นหนึ่งสิทธิของผู้ร้องที่จะจ่ายหรือไม่จ่ายคำชดเชยหรือค่าเสียหายนั้นเกิดขึ้นหลังจากผู้ร้องได้มีคำสั่งเลิกจ้างแล้วไม่สมควรที่จะพึงมีคำสั่งไว้ล่วงหน้าโดยยังไม่มีกรณีพิพาทเกิดขึ้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2911/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละทิ้งหน้าที่งานเนื่องจากเข้าใจผิดเรื่องคำสั่งโยกย้าย และสิทธิในการเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
ผู้ร้องมีคำสั่งให้ผู้คัดค้านไปทำงานที่อื่นชั่วคราวซึ่งผู้ร้องมีอำนาจออกคำสั่งได้ตามระเบียบข้อบังคับในการทำงานผู้คัดค้านจึงต้องมีหน้าที่ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้ร้องซึ่งเป็นนายจ้างการที่ผู้คัดค้านเข้าใจว่าคำสั่งของผู้ร้องเป็นการกลั่นแกล้งผู้คัดค้านเนื่องจากผู้คัดค้านเป็นกรรมการลูกจ้างจึงเป็นความเข้าใจผิดของผู้คัดค้านเองเมื่อไม่ไปปฏิบัติงานตามคำสั่งของผู้ร้องเป็นเวลาสามวันติดต่อกัน ผู้คัดค้านจะอ้างว่าเป็นความเข้าใจโดยสุจริตว่าผู้ร้องกลั่นแกล้งไม่ได้การกระทำของผู้คัดค้านจึงเป็นการละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุสมควร ผู้ร้องมีคำขอให้เลิกจ้างผู้คัดค้านโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยหรือค่าเสียหายใด ๆแก่ผู้คัดค้านนั้นเมื่อผู้ร้องได้รับอนุญาตจากศาลแรงงานกลางให้เลิกจ้างผู้คัดค้านได้ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ. 2518 มาตรา 52 แล้วผู้ร้องก็ต้องมีคำสั่งเลิกจ้างอีกชั้นหนึ่งสิทธิของผู้ร้องที่จะจ่ายหรือไม่จ่ายคำชดเชยหรือค่าเสียหายนั้นเกิดขึ้นหลังจากผู้ร้องได้มีคำสั่งเลิกจ้างแล้วไม่สมควรที่จะพึงมีคำสั่งไว้ล่วงหน้าโดยยังไม่มีกรณีพิพาทเกิดขึ้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2766/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีแรงงานต่างด้าว, การเลิกจ้าง, สิทธิประโยชน์ลูกจ้าง, การละทิ้งหน้าที่
บริษัทนอกจากมีสำนักงานแห่งใหญ่แล้วย่อมจะมีสาขาสำนักงานอื่นอีกได้สาขาสำนักงานแห่งใดก็คือส่วนหนึ่งของบริษัทนั่นเองสำนักงานแห่งใหญ่และสาขาสำนักงานมีฐานะตามกฎหมายเป็นนิติบุคคลเดียวกันแต่ภูมิลำเนาอาจมีได้หลายแห่งสุดแต่กิจการอันทำนั้นจะทำณที่ใดตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา71บัญญัติไว้วัตถุประสงค์ของสำนักงานใหญ่เป็นประการใดต้องถือว่าสาขาสำนักงานมีวัตถุประสงค์เป็นเช่นนั้นด้วยประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่281ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2515 มีเจตนารมณ์ที่จะกำหนดหลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวเพื่อรักษาดุลอำนาจทางการค้าและเศรษฐกิจของประเทศและเพื่อให้การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติเป็นส่วนรวมจึงต้องให้คนต่างด้าวไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลต้องได้รับอนุญาตเสียก่อนจึงจะประกอบธุรกิจได้การได้รับอนุญาตประกอบธุรกิจกับการมีวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ในข้อบังคับหรือเอกสารจัดตั้งเป็นกรณีที่แตกต่างกันจะถือเอาใบอนุญาตประกอบธุรกิจที่ออกตามประกาศดังกล่าวเป็นวัตถุประสงค์ของจำเลยซึ่งเป็นสาขาสำนักงานของบริษัทต่างด้าวไม่ได้สาขาของบริษัทจำเลยในประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมประชาชนอาหรับแห่งลิเบียมอบอำนาจให้สำนักงานจัดหางานในประเทศไทยทำสัญญาจ้างโจทก์แล้วส่งโจทก์ไปทำงานในประเทศดังกล่าวถือว่าโจทก์เป็นลูกจ้างประจำของบริษัทจำเลยซึ่งเป็นนิติบุคคลเดียวโจทก์ฟ้องจำเลยในประเทศไทยได้ จำเลยให้การว่า จำเลยไม่มีอำนาจและไม่เคยทำสัญญาจ้าง โจทก์ในประเทศไทยครั้นศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยว่าจ้างโจทก์ตามเอกสารหมายจ.7 ในประเทศไทยจำเลยจะอุทธรณ์ว่าระยะเวลาว่าจ้างตามเอกสารหมาย จ.7 สุดสิ้นลง แล้วและโจทก์ทำสัญญาใหม่กับสาขาสำนักงานในประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมประชาชนอาหรับแห่งลิเบียตามเอกสารหมายล.1เช่นนี้หาได้ไม่เพราะไม่เป็นประเด็นในคำให้การและเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลแรงงานกลาง และต้องถือว่าไม่มีสัญญาจ้างตามเอกสารหมาย ล.1 โจทก์มีสิทธิหยุดงานได้ถึงวันที่ 13 พฤษภาคม 2527 โจทก์ขอลากิจต่ออีกสามสัปดาห์โดยยื่นใบลาวันที่ 12 พฤษภาคม 2527 ซึ่งยังอยู่ภายในกำหนดเวลาสาขาสำนักงาน ของบริษัทจำเลยในประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมประชาชนอาหรับแห่งลิเบียมีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์ทันทีในวันดังกล่าวโจทก์ยังมิได้ละทิ้งหน้าที่เพราะโจทก์ยังมีสิทธิหยุดงานได้อีก1วันและการที่สาขาสำนักงานในประเทศไทยได้แจ้งให้โจทก์ทราบทางโทรเลขเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2527 นับแต่สิ้นสุด วันลาหากโจทก์ละทิ้งหน้าที่โจทก์ก็ละทิ้งเพียง 2 วันเท่านั้นจำเลยเลิกจ้างโจทก์ก่อนโจทก์ละทิ้งหน้าที่ 3 วันก่อนโจทก์กระทำความผิดต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน แม้การกำหนดหน้าที่นำสืบก่อนหลังของศาลแรงงานกลางจะไม่ถูกต้องแต่เมื่อคู่ความทั้งสองฝ่ายได้สืบพยานมาจนสิ้นกระแสความแล้ว หาควรย้อนสำนวนให้ศาลแรงงานกลางสืบพยานหลักฐานใหม่อีกไม่ เพราะไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นได้ โจทก์ได้ยื่นบัญชีพยานอ้างตนเองเป็นพยานโดยปกติโจทก์ก็ต้องเข้าเบิกความตามที่ระบุอ้างหากจำเลยประสงค์จะซักถามต้องการทราบข้อเท็จจริงอันใดจากตัวโจทก์ต้องการให้โจทก์อธิบายข้อเท็จจริงใด ๆ หรือให้ดูให้อธิบายข้อความในเอกสารใดก็ย่อมกระทำได้ในชั้นซักค้านอยู่แล้วการที่ศาลแรงงานกลางไม่เรียกโจทก์เข้าสืบในฐานะพยานจำเลยผู้มีหน้าที่นำสืบก่อนโดยเห็นว่าไม่จำเป็นจึงไม่เป็นกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1892/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ่ายเงินทดแทนกรณีลูกจ้างเสียชีวิตจากการถูกยิงขณะละทิ้งหน้าที่ ศาลฎีกาตัดสินว่าไม่เข้าข่ายประสบอันตรายจากการทำงาน
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทน ซึ่งวินิจฉัยว่าลูกจ้างได้รับอันตรายถึงแก่ความตายมิใช่เนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้างโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับเงินทดแทนสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาจึงอยู่ที่ว่าคณะกรรมการได้ปฏิเสธการจ่ายเงินทดแทนหรือไม่ คำวินิจฉัยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ดังนี้ เมื่อโจทก์ระบุว่าคณะกรรมการวินิจฉัยอย่างไร ลูกจ้างถูกยิงตายที่ใดและเมื่อใดซึ่ง จำเลยก็ให้การต่อสู้คดีได้ถูกต้อง ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม ส่วนโจทก์จะเป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินทดแทนหรือไม่ ลูกจ้างถูกยิงตายเนื่องจากมูลกรณีใดและได้รับค่าจ้างเดือนละเท่าใด เป็นรายละเอียด หากจำเลยให้การโต้เถียงก็อาจนำสืบในชั้นพิจารณาได้ แม้ลูกจ้างจะถูกยิงตายในช่วงเวลาที่มีหน้าที่เป็นยามและสถานที่เกิดเหตุอยู่ในความดูแลรับผิดชอบของลูกจ้างแต่การที่ลูกจ้างหลีกเลี่ยงหน้าที่ไปนั่งเสพสุราร่วมกับพวกและ จ. มิได้ปฏิบัติหน้าที่ตามปกติ เป็นการละทิ้งหน้าที่ จะถือว่าระหว่างที่ลูกจ้างเสพสุราร่วม กับพวกเป็นการปฏิบัติหน้าที่เป็นยามควบคู่ไปด้วยหาได้ไม่ จึงไม่ใช่เป็น กรณีที่ถึงแก่ความตายในขณะปฏิบัติหน้าที่ อีกประการหนึ่ง คนร้ายที่ เข้ามาทำร้าย จ. มิใช่เข้ามาทำร้ายลูกจ้างหรือประสงค์ต่อทรัพย์สิน ของนายจ้าง มูลกรณีที่ลูกจ้างถูกยิงตายมิได้เกิดจากเหตุที่ทำงานให้ แก่นายจ้างหรือป้องกันรักษาประโยชน์ให้แก่นายจ้าง ถือไม่ได้ว่าลูกจ้าง ประสบอันตรายตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1110/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากละทิ้งหน้าที่โดยเจตนา และขาดงานต่อเนื่อง โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
การจ้างแรงงานคือสัญญาซึ่งลูกจ้างตกลงจะทำงานให้แก่นายจ้าง และนายจ้างตกลงจะให้สินจ้างตลอดเวลาที่ทำงานให้หน้าที่สำคัญ ของลูกจ้างตามสัญญาจ้างแรงงานคือต้องทำงานให้ แก่นายจ้าง การลงเวลามาทำงานไม่ใช่สาระสำคัญของการ จ้างแรงงาน เพราะเป็นเพียงพยานหลักฐานเบื้องต้นที่แสดงว่าลูกจ้างจะเข้าทำงาน ให้แก่นายจ้างในวันนั้นเท่านั้น การที่โจทก์มาเซ็นชื่อในสมุดลงเวลา มาทำงานของจำเลยแล้วกลับไปโดยมิได้ปฏิบัติงานใดๆให้แก่นายจ้าง จึงถือว่า โจทก์ขาดงานในวันนั้นโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร เมื่อโจทก์ ขาดงานก่อนหน้าวันดังกล่าวมาแล้วสองวันโดยมิได้ลาตามระเบียบ และไม่ปรากฏเหตุจำเป็น ซึ่งถือว่าเป็นการละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา สองวันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควรมาแล้วจึงเป็น การละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควร กรณีต้องด้วยประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(4)จำเลยมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1044/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: การเล่นการพนอกสถานที่ทำงาน ไม่ถือเป็นละทิ้งหน้าที่ร้ายแรง
กำหนดเวลาทำงานของโจทก์ซึ่งเป็นยามรักษาการณ์นั้นหัวหน้างานได้จัดทำตารางการเข้าทำงานล่วงหน้าไว้เป็นรายวันประจำเดือนเพื่อให้บรรดายามรักษาการณ์ได้รู้กำหนดเวลาที่จะต้องปฏิบัติหน้าที่และเพื่อความสะดวกของผู้บังคับบัญชาเองที่ไม่ต้องกำหนดเวลาอย่างกะทันหันโดยที่โจทก์และยามรักษาการณ์ไม่อาจทราบได้ทันกำหนดเท่านั้นยังถือไม่ได้ว่าเป็นการที่สั่งให้โจทก์กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดและเมื่อโจทก์ไม่ปฏิบัติตามเป็นการขัดคำสั่งหรือหลีกเลี่ยงไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาพฤติการณ์ของโจทก์ที่ไม่ไปเข้าเวรยามตามกำหนดเวลาเป็นเพียงการขาดงานเท่านั้นทั้งจำเลยเองได้แทงในบัญชีพนักงานลงชื่อและเวลาทำงานว่าโจทก์ขาดงานจึงมิใช่เป็นเรื่องโจทก์ละทิ้งหน้าที่ไปเล่นการพนันในเวลาปฏิบัติหน้าที่อันเป็นการผิดระเบียบการทำงานของจำเลยส่วนการที่โจทก์เล่นการพนันนอกสถานที่ทำการของจำเลยมิใช่เป็นการเล่นในเวลาปฏิบัติหน้าที่ ไม่ทำให้จำเลยเสียหายลักษณะการกระทำของโจทก์ยังถือไม่ได้ว่าประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงการกระทำของโจทก์ยังไม่เป็นความผิดตามข้อบังคับหรือคำสั่งของจำเลยอันจะเป็นเหตุให้จำเลยไล่โจทก์ออกจากงานได้ ข้อที่จำเลยอุทธรณ์ว่าศาลแรงงานกลางพิจารณาคำเบิกความของพยานรวบรัดเกินไปเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลางเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงศาลฎีการับวินิจฉัยให้ไม่ได้ การวินิจฉัยและพิพากษาคดีแรงงานนั้นมิได้มีกฎหมายบัญญัติให้ศาลจำต้องอ้างกฎหมายที่ยกขึ้นเป็นหลักในการวินิจฉัยและพิพากษาคดีอย่างชัดแจ้งเมื่อศาลเห็นว่าฟ้องโจทก์ชอบด้วยกฎหมายและมีสิทธิตามที่เรียกร้องและขอให้ศาลบังคับเอาแก่จำเลยได้ไม่ว่าด้วยเหตุถูกละเมิดมีสิทธิตามสัญญาหรือกฎหมายศาลย่อมวินิจฉัยและพิพากษาให้จำเลยปฏิบัติตามข้อเรียกร้องของโจทก์ได้โดยเพียงแต่กล่าวว่าโจทก์มีสิทธิอย่างไรอันมีผลเป็นการผูกพันให้จำเลยต้องปฏิบัติตามที่โจทก์เรียกร้องเท่านั้นหาจำเป็นต้องอ้างตัวบทกฎหมายที่เป็นกำเนิดแห่งสิทธิของโจทก์ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2799/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างกรณีละทิ้งหน้าที่หลังถูกดูหมิ่น: นายจ้างไม่จำเป็นต้องจ่ายค่าชดเชย
การที่ ศ.ผู้จัดการฝ่ายขายของบริษัทจำเลยดูหมิ่นว่าโจทก์ได้เสียมีสัมพันธ์กับชายอื่นซึ่งมีภริยาแล้ว ทำให้โจทก์อับอายไม่มาทำงานเกินสามวันทำงานติดต่อกันจนเป็นเหตุให้จำเลยเลิกจ้างโจทก์นั้น เป็นเรื่องส่วนตัว ดังนั้น ศ. จะมีฐานะเป็นนายจ้างหรือไม่จึงไม่ใช่ข้อสำคัญที่จำเป็นต้องวินิจฉัย และการพูดเช่นนั้นก็มิใช่เรื่องกีดกันมิให้ลูกจ้างทำงานติดต่อกันเกินเจ็ดวันทำงาน จึงถือได้ว่าโจทก์ละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุอันสมควร จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
of 9