พบผลลัพธ์ทั้งหมด 149 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2000/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยต้องพิสูจน์ว่าไม่ได้รู้ว่าลูกโป่งละเมิดลิขสิทธิ์ การกระทำจึงไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์
งานภาพพิมพ์รูปการ์ตูนหมีพูห์ (WinniethePooh) ของผู้เสียหายอันเป็นศิลปกรรมอยู่ในประเภทของงานอันมีลิขสิทธิ์ที่ผู้เสียหายสร้างสรรค์จินตนาการนั้นเป็นการสร้างสรรค์จินตนาการโดยวิจักขณ์จากธรรมชาติซึ่งเป็นสัตว์โลกที่เรียกกันว่า "หมี"(BEAR) มาเป็นงานศิลปกรรมในรูปการ์ตูนสัตว์โลกที่เป็น "หมี" เป็นสัตว์ธรรมชาติที่มีชีวิตที่งดงามแปลกหูแปลกตาและแปลกไปจากสัตว์อื่น มนุษย์ทุกคนย่อมมีปรัชญาศิลปะอยู่ในตัวบ้างไม่มากก็น้อย เมื่อพบเห็นสิ่งต่าง ๆ ในธรรมชาติก็สามารถสร้างสรรค์จินตนาการในศิลปะในลักษณะต่าง ๆ กันได้เมื่อการสร้างสรรค์จินตนาการภาพการ์ตูนมีที่มาจากสัตว์ธรรมชาติอย่างเดียวกันโดยการริเริ่มขึ้นเองของผู้สร้างสรรค์แต่ละคน งานศิลปกรรมดังกล่าวจึงอาจจะเหมือนหรือคล้ายกันได้โดยไม่จำต้องมีการลอกเลียนทำซ้ำกันหรือดัดแปลงงานของกันและกันแต่อย่างใด พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 6 วรรคสอง ไม่ได้ให้ความคุ้มครองแก่ความคิดในการสร้างสรรค์งาน การใช้ความคิดริเริ่มนำเอาความสวยงามตามธรรมชาติของสัตว์โลกมาสร้างสรรค์จินตนาการเป็นภาพการ์ตูนจึงเป็นความคิดที่กฎหมายไม่ได้ให้ความคุ้มครองเอาไว้เพราะมิฉะนั้นจะเป็นการผูกขาดจินตนาการหรือสุนทรียภาพในทางความคิดก่อให้เกิดผลเสียแก่มนุษยชาติ เนื่องจากจะมีผลทำให้บุคคลอื่นไม่สามารถสร้างสรรค์จินตนาการของตนเองเป็นภาพการ์ตูนจากสัตว์ธรรมชาติหรือจากสิ่งที่เป็นธรรมชาติชนิดเดียวกันหรือประเภทเดียวกันได้ กฎหมายลิขสิทธิ์จึงคุ้มครองเฉพาะการแสดงออกซึ่งความคิดซึ่งอยู่ภายใต้เงื่อนไขของมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯ
เมื่อโจทก์ฟ้องว่าจำเลยละเมิดลิขสิทธิ์ในงานศิลปกรรมภาพพิมพ์ตัวการ์ตูนรูปหมีพูห์ของผู้เสียหายโดยนำลูกโป่งที่มีภาพการ์ตูนรูปหมีพูห์ซึ่งได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายจำนวน 4,435 ใบ ออกขายเสนอขายแก่บุคคลทั่วไปเพื่อหากำไรและเพื่อการค้า โดยจำเลยรู้อยู่แล้วว่ารูปหมีพูห์ดังกล่าวเป็นงานที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายโจทก์จึงมีหน้าที่นำสืบให้ฟังได้ว่า ลูกโป่งจำนวนดังกล่าวที่มีภาพตัวการ์ตูนรูปหมีพูห์ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหาย และจำเลยรู้อยู่แล้วหรือมีเหตุอันควรรู้ว่ารูปหมีพูห์บนลูกโป่งดังกล่าวเป็นงานที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหาย เมื่อปรากฏว่าจำเลยรับซื้อลูกโป่งจากบุคคลอื่นมาบรรจุแผงขาย เจ้าพนักงานตำรวจค้นและแยกลูกโป่งออกจากกันแล้ว พบว่ามีลูกโป่งที่มีภาพการ์ตูนหมีพูห์ที่คล้ายภาพหมีพูห์ซึ่งเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายได้เพียง 4,435 ใบจากจำนวนลูกโป่งทั้งหมดเกือบ 1,000,000 ใบ ซึ่งมีภาพการ์ตูนสัตว์หลายประเภทปะปนกันนับว่าเป็นจำนวนน้อยมาก ข้อเท็จจริงมีน้ำหนักและเหตุผลให้เชื่อได้ดังที่จำเลยนำสืบว่าจำเลยสั่งซื้อลูกโป่งมาขายแก่ลูกค้าโดยไม่ได้ให้ความสำคัญกับภาพพิมพ์บนลูกโป่งว่าจะเป็นภาพใดแต่เน้นที่สีของลูกโป่ง เนื้อของลูกโป่งความยืดหยุ่น และลูกโป่งที่ไม่รั่วเท่านั้น โจทก์ไม่มีพยานหลักฐานใดมานำสืบให้ฟังได้ว่า ภาพหมีพูห์บนลูกโป่งของกลางคือภาพที่ได้ทำขึ้นโดยมิได้มีการริเริ่มสร้างสรรค์ขึ้นเอง แต่เป็นการทำซ้ำหรือดัดแปลงงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เสียหาย
แม้จะฟังว่าภาพการ์ตูนหมีพูห์บนลูกโป่งของกลางได้มีผู้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ในงานภาพพิมพ์หมีพูห์ของผู้เสียหาย แต่พยานหลักฐานเท่าที่โจทก์นำสืบมายังไม่พอให้ฟังได้ว่า จำเลยรู้อยู่แล้วหรือมีเหตุอันควรรู้ว่างานภาพพิมพ์บนลูกโป่งของกลางนั้นได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ในงานศิลปกรรมภาพพิมพ์รูปหมีพูห์ของผู้เสียหาย แล้วจำเลยยังนำลูกโป่งที่มีภาพพิมพ์นั้นออกขายแก่ลูกค้าทั่วไป จำเลยจึงยังไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 31 และ 70 วรรคสอง
เมื่อโจทก์ฟ้องว่าจำเลยละเมิดลิขสิทธิ์ในงานศิลปกรรมภาพพิมพ์ตัวการ์ตูนรูปหมีพูห์ของผู้เสียหายโดยนำลูกโป่งที่มีภาพการ์ตูนรูปหมีพูห์ซึ่งได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายจำนวน 4,435 ใบ ออกขายเสนอขายแก่บุคคลทั่วไปเพื่อหากำไรและเพื่อการค้า โดยจำเลยรู้อยู่แล้วว่ารูปหมีพูห์ดังกล่าวเป็นงานที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายโจทก์จึงมีหน้าที่นำสืบให้ฟังได้ว่า ลูกโป่งจำนวนดังกล่าวที่มีภาพตัวการ์ตูนรูปหมีพูห์ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหาย และจำเลยรู้อยู่แล้วหรือมีเหตุอันควรรู้ว่ารูปหมีพูห์บนลูกโป่งดังกล่าวเป็นงานที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหาย เมื่อปรากฏว่าจำเลยรับซื้อลูกโป่งจากบุคคลอื่นมาบรรจุแผงขาย เจ้าพนักงานตำรวจค้นและแยกลูกโป่งออกจากกันแล้ว พบว่ามีลูกโป่งที่มีภาพการ์ตูนหมีพูห์ที่คล้ายภาพหมีพูห์ซึ่งเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายได้เพียง 4,435 ใบจากจำนวนลูกโป่งทั้งหมดเกือบ 1,000,000 ใบ ซึ่งมีภาพการ์ตูนสัตว์หลายประเภทปะปนกันนับว่าเป็นจำนวนน้อยมาก ข้อเท็จจริงมีน้ำหนักและเหตุผลให้เชื่อได้ดังที่จำเลยนำสืบว่าจำเลยสั่งซื้อลูกโป่งมาขายแก่ลูกค้าโดยไม่ได้ให้ความสำคัญกับภาพพิมพ์บนลูกโป่งว่าจะเป็นภาพใดแต่เน้นที่สีของลูกโป่ง เนื้อของลูกโป่งความยืดหยุ่น และลูกโป่งที่ไม่รั่วเท่านั้น โจทก์ไม่มีพยานหลักฐานใดมานำสืบให้ฟังได้ว่า ภาพหมีพูห์บนลูกโป่งของกลางคือภาพที่ได้ทำขึ้นโดยมิได้มีการริเริ่มสร้างสรรค์ขึ้นเอง แต่เป็นการทำซ้ำหรือดัดแปลงงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เสียหาย
แม้จะฟังว่าภาพการ์ตูนหมีพูห์บนลูกโป่งของกลางได้มีผู้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ในงานภาพพิมพ์หมีพูห์ของผู้เสียหาย แต่พยานหลักฐานเท่าที่โจทก์นำสืบมายังไม่พอให้ฟังได้ว่า จำเลยรู้อยู่แล้วหรือมีเหตุอันควรรู้ว่างานภาพพิมพ์บนลูกโป่งของกลางนั้นได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ในงานศิลปกรรมภาพพิมพ์รูปหมีพูห์ของผู้เสียหาย แล้วจำเลยยังนำลูกโป่งที่มีภาพพิมพ์นั้นออกขายแก่ลูกค้าทั่วไป จำเลยจึงยังไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 31 และ 70 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1732/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดลิขสิทธิ์จากการทำซ้ำและจำหน่ายเอกสาร: การพิสูจน์ข้อยกเว้นและผลการริบของกลาง
จำเลยนำเครื่องถ่ายเอกสารทำสำเนาจากต้นฉบับหนังสือซึ่งเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์ร่วมทั้งสามเป็นเล่ม จำนวน 71 เล่ม หนังสือยังไม่เข้าเล่มจำนวน 290 ชุด และเอกสารเป็นแผ่นจำนวน 158 ชุด (6,162 แผ่น)ของกลาง อันเป็นความผิดฐานทำซ้ำงานอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์ร่วม ที่จำเลยกล่าวอ้างข้อยกเว้นความรับผิดตามกฎหมายว่า จำเลยซึ่งมีอาชีพรับจ้างถ่ายสำเนาเอกสารได้ถ่ายสำเนาเอกสารของกลางตามคำสั่งของผู้ว่าจ้างคือนักศึกษาที่นำไปใช้เพื่อการศึกษาหรือวิจัย ได้รับการยกเว้นมิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ จึงเป็นหน้าที่ของจำเลยที่จะต้องนำสืบเพื่อพิสูจน์ให้เห็นตามข้อกล่าวอ้างของตน
อุทธรณ์ของโจทก์ร่วมทั้งสามที่ว่า จำเลยกระทำผิดฐานมีสำเนาเอกสารของกลางไว้เพื่อขายอันเป็นการค้านั้น โจทก์บรรยายฟ้องแต่เพียงว่า จำเลยละเมิดลิขสิทธิ์โดยทำซ้ำหนังสือซึ่งเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์ร่วมทั้งสาม และนำหนังสือซึ่งจำเลยทำซ้ำโดยละเมิดลิขสิทธิ์ดังกล่าวออกขาย เสนอขายแก่บุคคลทั่วไปเท่านั้น หาได้บรรยายว่า จำเลยมีหนังสือซึ่งจำเลยทำซ้ำโดยละเมิดลิขสิทธิ์ดังกล่าวไว้เพื่อขายมาในฟ้องด้วยไม่ อุทธรณ์ของโจทก์ร่วมทั้งสามดังกล่าวเป็นการยกข้อเท็จจริงขึ้นมาใหม่ในชั้นอุทธรณ์ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง เป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 75 เป็นบทบัญญัติบังคับเด็ดขาดให้ริบสิ่งที่ได้ใช้ในการกระทำความผิด
เครื่องถ่ายเอกสารของกลาง 4 เครื่อง เป็นเครื่องถ่ายเอกสารที่ใช้ผลิตสำเนาเอกสารของกลาง เครื่องถ่ายเอกสาร 4 เครื่อง ของกลาง จึงเป็นสิ่งที่ได้ใช้ในการกระทำความผิด ซึ่งต้องริบตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 75
อุทธรณ์ของโจทก์ร่วมทั้งสามที่ว่า จำเลยกระทำผิดฐานมีสำเนาเอกสารของกลางไว้เพื่อขายอันเป็นการค้านั้น โจทก์บรรยายฟ้องแต่เพียงว่า จำเลยละเมิดลิขสิทธิ์โดยทำซ้ำหนังสือซึ่งเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์ร่วมทั้งสาม และนำหนังสือซึ่งจำเลยทำซ้ำโดยละเมิดลิขสิทธิ์ดังกล่าวออกขาย เสนอขายแก่บุคคลทั่วไปเท่านั้น หาได้บรรยายว่า จำเลยมีหนังสือซึ่งจำเลยทำซ้ำโดยละเมิดลิขสิทธิ์ดังกล่าวไว้เพื่อขายมาในฟ้องด้วยไม่ อุทธรณ์ของโจทก์ร่วมทั้งสามดังกล่าวเป็นการยกข้อเท็จจริงขึ้นมาใหม่ในชั้นอุทธรณ์ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง เป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 75 เป็นบทบัญญัติบังคับเด็ดขาดให้ริบสิ่งที่ได้ใช้ในการกระทำความผิด
เครื่องถ่ายเอกสารของกลาง 4 เครื่อง เป็นเครื่องถ่ายเอกสารที่ใช้ผลิตสำเนาเอกสารของกลาง เครื่องถ่ายเอกสาร 4 เครื่อง ของกลาง จึงเป็นสิ่งที่ได้ใช้ในการกระทำความผิด ซึ่งต้องริบตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 75
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7822/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดลิขสิทธิ์เพลง: สิทธิของเจ้าของลิขสิทธิ์หลังการซื้อขาย และขอบเขตการอนุญาตใช้สิทธิ
คำฟ้องเป็นเพียงการบรรยายสรุปถึงความเกี่ยวพันกันระหว่างโจทก์และจำเลยทั้งห้าเพื่อให้เห็นว่าจำเลยทั้งห้าได้กระทำการใดให้โจทก์ต้องได้รับความเสียหาย รวมทั้งคำขอบังคับที่จะให้จำเลยทั้งห้ารับผิดต่อโจทก์อย่างไรพอให้เข้าใจกันได้เท่านั้น คำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายให้เห็นว่า โจทก์เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์เพลงพิพาททั้งสี่ซึ่งซื้อมาจากจำเลยที่ 3 จำเลยทั้งห้าร่วมกันละเมิดลิขสิทธิ์เพลงพิพาท โดยจำเลยที่ 3 และที่ 4 อนุญาตให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 5 นำเพลงพิพาทไปทำดนตรีขึ้นใหม่แล้วให้นักร้องร้องบันทึกลงในแถบเสียงออกจำหน่ายทำให้โจทก์เสียหาย จำเลยทั้งห้าต้องรับผิดต่อโจทก์ เป็นคำฟ้องที่แสดงให้เห็นแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาที่โจทก์อาศัยเป็นหลักในการกล่าวหาจำเลยทั้งห้าเพื่อที่จะขอบังคับให้จำเลยทั้งห้าต้องรับผิดต่อโจทก์ให้เป็นที่เข้าใจได้ ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสอง แล้ว ทั้งคำฟ้องของโจทก์มิได้บรรยายให้เห็นว่า จำเลยทั้งห้าแต่ละคนต่างคนต่างทำละเมิดต่อโจทก์ และคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ก็มิได้ขอบังคับเอากับจำเลยทั้งห้าแต่ละคนให้รับผิดในส่วนของแต่ละคนที่จะเป็นฟ้องเคลือบคลุมไปได้ สัญญาซื้อขายเพลงระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกระบุไว้ในข้อ 2 ว่า "ผู้จัดการมรดกตกลงโอนขายและ ป. ตกลงซื้อลิขสิทธิ์เพลงตามข้อ 1การโอนขายนี้เป็นการโอนลิขสิทธิ์ทั้งหมด และเสร็จเด็ดขาดตลอดอายุแห่งลิขสิทธิ์"ย่อมเป็นการแสดงโดยชัดแจ้งว่าจำเลยที่ 3 ได้ขายลิขสิทธิ์เพลงซึ่งรวมเพลงพิพาททั้งสี่นับแต่วันซื้อขายเป็นต้นไปจนกว่าจะสิ้นสุดอายุแห่งการคุ้มครองลิขสิทธิ์ให้แก่โจทก์โดยชอบแล้ว โจทก์จึงเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์เพลงพิพาททั้งสี่แต่เพียงผู้เดียวมิใช่เป็นเพียงผู้รับโอนสิทธิในเพลงพิพาททั้งสี่ไปจัดหาประโยชน์แต่อย่างใด ก่อนที่จำเลยที่ 3 จะขายลิขสิทธิ์เพลงพิพาททั้งสี่ให้แก่โจทก์ในวันที่ 16 กรกฎาคม2535 จำเลยที่ 3 ย่อมมีสิทธิที่จะมอบลิขสิทธิ์เพลงพิพาททั้งสี่ให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 และ ที่ 5 นำไปบันทึกเทปเผยแพร่หาประโยชน์ได้โดยชอบตามหนังสือสัญญาลิขสิทธิ์เพลงที่จำเลยที่ 3 ให้จำเลยที่ 1 นำเพลงพิพาททั้งสี่ไปบันทึกเผยแพร่หาประโยชน์ แต่หลังจากที่จำเลยที่ 3 ขายลิขสิทธิ์เพลงพิพาททั้งสี่ให้โจทก์ไปแล้ว จำเลยที่ 3 ไม่มีสิทธิที่จะมอบลิขสิทธิ์เพลงพิพาททั้งสี่ให้จำเลยที่ 5 ไปบันทึกแถบเสียงเผยแพร่หาประโยชน์ได้เลย การที่จำเลยที่ 3 ทำหนังสือมอบอำนาจให้จำเลยที่ 4 ทำหนังสืออนุญาตให้ใช้ลิขสิทธิ์เพลงพิพาทสามเพลงในสี่เพลงดังกล่าวให้จำเลยที่ 5 นำไปบันทึกแถบเสียงเผยแพร่หาประโยชน์เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2538 จึงเป็นการกระทำหลังจากวันที่โจทก์เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์เพลงพิพาททั้งสี่แล้ว จำเลยที่ 3 ย่อมไม่มีสิทธิใด ๆ ที่จะมอบลิขสิทธิ์เพลงพิพาทสามเพลงดังกล่าวอนุญาตให้จำเลยที่ 5 นำไปบันทึกแถบเสียงเผยแพร่หาประโยชน์ และจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 5 จึงไม่มีสิทธิที่จะนำเพลงพิพาททั้งสี่ไปบันทึกแถบเสียงออกเผยแพร่หาประโยชน์โดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์เพลงทั้งสี่ได้ จึงถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 ร่วมกันละเมิดลิขสิทธิ์เพลงพิพาททั้งสี่ของโจทก์ แม้จำเลยที่ 4 จะเป็นเพียงตัวแทนของจำเลยที่ 3 โดยได้รับมอบอำนาจจากจำเลยที่ 1ให้มีอำนาจจัดการเกี่ยวกับลิขสิทธิ์เพลงของเจ้ามรดกก็ตามแต่จำเลยที่ 4 ก็เป็นบุตรของจำเลยที่ 3 กับเจ้ามรดก จำเลยที่ 4 ก็รู้เห็นสัญญาซื้อขายลิขสิทธิ์เพลงระหว่างจำเลยที่ 3 กับโจทก์ แต่จำเลยที่ 4 ก็ยังอนุญาตให้จำเลยที่ 5 นำเพลงพิพาททั้งสี่ไปบันทึกแถบเสียงออกเผยแพร่หาประโยชน์อีกถือได้ว่าจำเลยที่ 4 ร่วมทำละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7206/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินค่าเสียหายจากการละเมิดลิขสิทธิ์: พิจารณาผลกำไรที่สูญเสียไป ไม่ใช่ราคาขายรวมต้นทุน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์โดยการทำซ้ำ โฆษณาและนำออกจำหน่ายเพื่อการค้าซึ่งงานอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์ และขอให้จำเลยใช้ค่าเสียหายทางการค้า จึงเท่ากับโจทก์อ้างว่า การกระทำของจำเลยซึ่งทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายนั้นประกอบด้วยการทำซ้ำและการนำออกจำหน่ายเพื่อการค้าดังนั้น ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยแต่เพียงในปัญหาว่าการกระทำซ้ำของจำเลยต่องานอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์ ทำให้โจทก์เสียหายหรือไม่ จึงยังไม่ถูกต้อง ต้องวินิจฉัยด้วยว่าการที่จำเลยนำออกจำหน่ายเพื่อการค้าซึ่งเทปเพลงของกลางทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายทางการค้าหรือไม่
ความเสียหายจากการขาดรายได้ที่โจทก์จะได้รับเมื่อจำเลยกระทำการละเมิดลิขสิทธิ์โดยการนำเทปเพลงที่มีผู้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์โจทก์ออกจำหน่าย ย่อมเป็นความเสียหายที่เกิดจากการสูญเสียโอกาสที่จะได้รับผลกำไรจากการนำงานอันมีลิขสิทธิ์ของตนออกจำหน่ายเท่านั้น หาใช่ความเสียหายที่คิดคำนวณจากราคาจำหน่ายเทปเพลงแต่ละม้วนซึ่งได้รวมต้นทุนการผลิตเอาไว้ด้วยแต่อย่างใดไม่
ความเสียหายจากการขาดรายได้ที่โจทก์จะได้รับเมื่อจำเลยกระทำการละเมิดลิขสิทธิ์โดยการนำเทปเพลงที่มีผู้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์โจทก์ออกจำหน่าย ย่อมเป็นความเสียหายที่เกิดจากการสูญเสียโอกาสที่จะได้รับผลกำไรจากการนำงานอันมีลิขสิทธิ์ของตนออกจำหน่ายเท่านั้น หาใช่ความเสียหายที่คิดคำนวณจากราคาจำหน่ายเทปเพลงแต่ละม้วนซึ่งได้รวมต้นทุนการผลิตเอาไว้ด้วยแต่อย่างใดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 425/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาการกระทำผิดละเมิดลิขสิทธิ์: ความผิดกรรมเดียว
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2541 เวลากลางวัน จำเลยได้กระทำความผิดต่อกฎหมายหลายบทหลายกรรม กล่าวคือ (ก)จำเลยซึ่งประกอบอาชีพค้าขายสินค้าทั่วไป ได้ขาย เสนอขายเพื่อการค้าหากำไรซึ่งตุ๊กตากล้วยหอมบี 1 จำนวน 1 ตัว ซึ่งเป็นงานศิลปกรรมประยุกต์ตัวแสดงในภาพยนตร์ชุด "บานาน่าส์ อิน พิจามัส" ที่มีผู้ทำขึ้นโดยดัดแปลงทำเป็นหุ่นเหมือนตัวแสดงในภาพยนตร์ชุด "บานาน่าส์ อิน พิจามัส" โดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายที่ 1 ทั้งนี้ โดยจำเลยรู้อยู่แล้วว่างานศิลปกรรมประยุกต์ดังกล่าวได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายที่ 1 (ข) จำเลยซึ่งประกอบอาชีพค้าขายสินค้าทั่วไป ได้ขายเสนอขายเพื่อการค้าหากำไรซึ่งตุ๊กตาเครยอง ชินจัง จำนวน 1 ตัว ซึ่งเป็นงานศิลปกรรมประยุกต์ตัวแสดงในภาพยนตร์โทรทัศน์ชุด "เครยอง ชินจัง" ที่มีผู้อื่นทำขึ้นโดยดัดแปลงทำเป็นหุ่นเหมือนตัวแสดงในภาพยนตร์โทรทัศน์ "เครยอง ชินจัง" โดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายที่ 2 ทั้งนี้ โดยจำเลยรู้อยู่แล้วว่างานศิลปกรรมประยุกต์ดังกล่าวได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายที่ 2 ตามคำฟ้องของโจทก์ดังกล่าวไม่ปรากฏรายละเอียดให้เห็นได้ชัดเจนว่า จำเลยมีเจตนากระทำความผิดตามฟ้องข้อ (ก) และข้อ (ข) ต่างหากจากกันอย่างไร เช่น มีการขาย เสนอขาย แก่ผู้ซื้อต่างคราวกันหรือต่างรายกันอย่างใดหรือไม่ หรือโจทก์เห็นว่าการกระทำตามฟ้องเป็นความผิดต่างกรรมกันเพราะเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายต่างรายกันเท่านั้นลำพังการละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายต่างรายกันไม่แน่ว่าจะต้องเป็นการกระทำผิดต่างกรรมกันเสมอไป หากแต่ต้องพิจารณาเจตนาในการกระทำผิดว่าต่างกันหรือไม่เป็นสำคัญ แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพตามฟ้อง แต่เมื่อคำฟ้องไม่ปรากฏชัดเจนว่าจำเลยกระทำความผิดตามฟ้อง ข้อ (ก) และข้อ (ข) โดยเจตนาต่างหากจากกันดังกล่าว จึงต้องฟังเป็นคุณแก่จำเลยว่า จำเลยกระทำความผิดตามฟ้องดังกล่าวในลักษณะที่มีเจตนาเดียวกัน จึงเป็นความผิดกรรมเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4250/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดลิขสิทธิ์และขายสินค้าที่ควบคุมฉลาก ผู้ขายมีความผิดแม้เป็นเพียงลูกจ้าง
จำเลยรู้อยู่แล้วหรือมีเหตุอันควรรู้ว่าแผ่นซีดี-รอมที่จำเลยร่วมกับพวกขายและเสนอขายให้แก่ประชาชนทั่วไป เป็นงานที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น และการที่สินค้าเหล่านี้ไม่มีฉลากจำเลยก็ทราบว่าเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย เพราะทางราชการได้ประกาศให้ประชาชนทราบในราชกิจจานุเบกษาแล้ว การกระทำของจำเลยจึงมีความผิดตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 31(1)(2) มีโทษตามมาตรา 70 วรรคสอง ไม่ผิดตามมาตรา 28,30 และ 69 เนื่องจากจำเลยไม่ได้กระทำแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ตามกฎหมายโดยตรง หากแต่กระทำแก่งานที่บุคคลอื่นได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นอยู่แล้ว
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยละเมิดลิขสิทธิ์งานประเภทวรรณกรรมโดยนำแผ่นซีดี-รอมที่บันทึกโปรแกรมคอมพิวเตอร์ซึ่งได้มีผู้ทำซ้ำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายออกเผยแพร่ต่อสาธารณชน โดยนำออกขาย เสนอขายแก่บุคคลทั่วไป อันเป็นการกระทำเพื่อแสวงกำไรในทางการค้า โดยจำเลยรู้อยู่แล้วว่าแผ่นซีดี-รอมดังกล่าวเป็นงานที่ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหาย กรณีจึงต้องตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537มาตรา 31(1)(2) และ 70 วรรคสอง แม้คำขอท้ายฟ้องโจทก์ขอให้ลงโทษตามมาตรา 28,30และ 69 ก็ตาม ก็เป็นที่เห็นได้ว่าโจทก์อ้างฐานความผิดหรือบทมาตราผิดศาลจึงมีอำนาจลงโทษจำเลยตามฐานความผิดที่ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคห้า และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 45และจำเลยยังมีความผิดฐานขายสินค้าที่ควบคุมฉลากโดยไม่มีฉลากตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 มาตรา 30(2) และ 52 วรรคหนึ่งอีกกรรมหนึ่งด้วย
ความผิดตามมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ไม่ได้จำกัดว่าผู้กระทำความผิดจะต้องเป็นเจ้าของร้านหรือผู้จัดการร้านเท่านั้น ลูกจ้างหรือใครก็ตามหากรู้อยู่แล้วหรือมีเหตุอันควรรู้ว่าสินค้าใดได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นแล้วยังนำออกขายหรือเสนอขายให้แก่ประชาชนเพื่อหากำไร กฎหมายให้ถือว่าผู้นั้นกระทำการละเมิดลิขสิทธิ์ต้องรับโทษตามกฎหมาย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยละเมิดลิขสิทธิ์งานประเภทวรรณกรรมโดยนำแผ่นซีดี-รอมที่บันทึกโปรแกรมคอมพิวเตอร์ซึ่งได้มีผู้ทำซ้ำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายออกเผยแพร่ต่อสาธารณชน โดยนำออกขาย เสนอขายแก่บุคคลทั่วไป อันเป็นการกระทำเพื่อแสวงกำไรในทางการค้า โดยจำเลยรู้อยู่แล้วว่าแผ่นซีดี-รอมดังกล่าวเป็นงานที่ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหาย กรณีจึงต้องตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537มาตรา 31(1)(2) และ 70 วรรคสอง แม้คำขอท้ายฟ้องโจทก์ขอให้ลงโทษตามมาตรา 28,30และ 69 ก็ตาม ก็เป็นที่เห็นได้ว่าโจทก์อ้างฐานความผิดหรือบทมาตราผิดศาลจึงมีอำนาจลงโทษจำเลยตามฐานความผิดที่ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคห้า และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 45และจำเลยยังมีความผิดฐานขายสินค้าที่ควบคุมฉลากโดยไม่มีฉลากตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 มาตรา 30(2) และ 52 วรรคหนึ่งอีกกรรมหนึ่งด้วย
ความผิดตามมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ไม่ได้จำกัดว่าผู้กระทำความผิดจะต้องเป็นเจ้าของร้านหรือผู้จัดการร้านเท่านั้น ลูกจ้างหรือใครก็ตามหากรู้อยู่แล้วหรือมีเหตุอันควรรู้ว่าสินค้าใดได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นแล้วยังนำออกขายหรือเสนอขายให้แก่ประชาชนเพื่อหากำไร กฎหมายให้ถือว่าผู้นั้นกระทำการละเมิดลิขสิทธิ์ต้องรับโทษตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4250/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลูกจ้างละเมิดลิขสิทธิ์: มีความผิดแม้ไม่ใช่เจ้าของร้าน หากรู้หรือควรรู้ว่าสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์
จำเลยรู้อยู่แล้ว หรือมีเหตุอันควรรู้ว่าแผ่นซีดี-รอมที่จำเลยร่วมกับพวกขายและเสนอขายให้แก่ประชาชนทั่วไปนั้นเป็นงานที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นและการที่สินค้า เหล่านี้ไม่มีฉลากจำเลยก็ทราบว่าเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายเพราะทางราชการได้ประกาศให้ประชาชน ทราบในราชกิจจานุเบกษาแล้ว การกระทำของจำเลย จึงมีความผิดตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 31(1)(2) มีโทษตามมาตรา 70 วรรคสอง ไม่ผิดตามมาตรา 28,30 และ 69 เนื่องจากจำเลยไม่ได้กระทำแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ ตามกฎหมายโดยตรง หากแต่กระทำแก่งานที่บุคคลอื่น ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นอยู่แล้ว แม้คำขอท้ายฟ้อง โจทก์อ้างฐานความผิดหรือบทมาตราผิด ศาลมีอำนาจลงโทษจำเลย ตามฐานความผิดที่ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคห้า ประกอบด้วยมาตรา 225 และ 215 พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สิน ทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 45 และจำเลยยังมีความผิดฐานขายสินค้าที่ควบคุมฉลากโดยไม่มีฉลาก ตาม พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภคฯ มาตรา 30(2) และ 52 วรรคหนึ่ง ด้วย ความผิดตามมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537ไม่ได้จำกัดว่าผู้กระทำความผิดจะต้องเป็นเจ้าของร้านหรือผู้จัดการร้านเท่านั้น ลูกจ้างหรือใครก็ตามหากรู้อยู่แล้ว หรือมีเหตุอันควรรู้ว่าสินค้าใดได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ ของผู้อื่นแล้วยังนำออกขายหรือเสนอขายให้แก่ประชาชน เพื่อหากำไร ถือว่าผู้นั้นกระทำการละเมิดลิขสิทธิ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 569/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัยริบของกลาง เหตุโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์และศาลชั้นต้นพิพากษาเกินคำขอ ส่วนประเด็นละเมิดลิขสิทธิ์ศาลแก้ไขคำพิพากษา
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยกับพวกซึ่งเป็นผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายวัสดุโทรทัศน์ได้ร่วมกันมีวิดีโอเทปภาพยนตร์เรื่องมังกรหยกจำนวน 12 ม้วน ซึ่งจำเลยกับพวกร่วมกันละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ร่วมกับวิดีโอเทปเรื่องอื่น ๆ อีกจำนวน 472 ม้วน ซึ่งยังไม่ได้ผ่านการตรวจพิจารณาและให้ความเห็นชอบจากเจ้าพนักงานผู้ตรวจเทปและวัสดุโทรทัศน์ไว้ในสถานที่ประกอบกิจการของตน ขอให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.ควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ พ.ศ.2530 มาตรา 35 และขอให้ริบเฉพาะวิดีโอเทปเรื่องอื่น ๆ ดังกล่าวจำนวนเพียง472 ม้วน ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง แต่ให้ริบวิดีโอเทปของกลางทั้งหมดจำนวน484 ม้วน จำเลยอุทธรณ์ว่า ของกลางที่โจทก์อ้างว่ามิได้ผ่านการตรวจพิจารณาจากเจ้าพนักงานนั้น เป็นเพียงมิได้เสนอให้เจ้าพนักงานตรวจเสียก่อนตามขั้นตอนเท่านั้นหากวิดีโอเทปดังกล่าวได้ผ่านการพิจารณาของเจ้าพนักงาน ก็อาจได้รับความเห็นชอบจากเจ้าพนักงานก็ได้ เมื่อโจทก์มิได้นำสืบให้ศาลเห็น ไม่สมควรริบ และต้องคืนของกลางแก่จำเลย การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า โจทก์ไม่ได้นำสืบให้เห็นว่าวีดีโอเทปของกลางทั้งหมดจำนวน 484 ม้วน ที่อยู่ในครอบครองของจำเลยไม่ได้ผ่านการตรวจพิจารณาและได้รับความเห็นชอบจากเจ้าพนักงาน และจำเลยเป็นเพียงผู้ดูแลหรือลูกจ้างของผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการวิดีโอเทปจำนวน 484 ม้วน ไม่ใช่ทรัพย์ที่จำเลยใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำผิดตาม ป.อ.มาตรา 33 (1) ศาลจึงไม่ริบจึงเป็นการวินิจฉัยนอกหรือเกินไปกว่าที่กล่าวไว้ในอุทธรณ์ของจำเลย ไม่ชอบด้วยป.วิ.อ.มาตรา 192 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยมาตรา 215 นอกจากนี้เมื่อปรากฏว่าในชั้นพิจารณาโจทก์และโจทก์ร่วมนำสืบว่า เมื่อพนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาให้จำเลยทราบ จำเลยให้การปฏิเสธ และจำเลยซึ่งอ้างตนเองเป็นพยานเบิกความต่อสู้ว่าด.เป็นเจ้าของวิดีโอเทปของกลางทั้งหมด จำเลยไม่ใช่เจ้าของวิดีโอเทปดังกล่าวและไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับวิดีโอเทปของกลาง เช่นนี้จำเลยย่อมไม่มีสิทธิอุทธรณ์ขอให้คืนของกลางดังกล่าวแก่จำเลย และกรณีเช่นว่านี้ศาลอุทธรณ์ต้องพิพากษายกอุทธรณ์ของจำเลย ดังนี้ คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์และข้ออุทธรณ์ของจำเลยย่อมถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ เมื่อโจทก์ฎีกาในข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายเพื่อให้ริบของกลางตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 15 และ ป.วิ.อ.มาตรา195 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยมาตรา 225 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
ส่วนที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกับพวกร่วมกันละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ร่วมโดยนำเอาวิดีโอเทปละเมิดลิขสิทธิ์ของกลางจำนวน 12 ม้วน ออกโฆษณา ขายเสนอขาย ให้เช่า เสนอให้เช่าเพื่อการค้า และขอให้พิพากษาให้วิดีโอเทปของกลางดังกล่าวตกเป็นของเจ้าของลิขสิทธิ์ โดยโจทก์ไม่ได้ขอริบนั้น เมื่อไม่ปรากฏตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่าวิดีโอเทปของกลางดังกล่าวเป็นวิดีโอเทปได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ร่วม และศาลชั้นต้นไม่พิพากษาให้ตกเป็นของเจ้าของลิขสิทธิ์ตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ การที่ศาลชั้นต้นกลับไปพิพากษาให้ริบวิดีโอเทปของกลาง เป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้องของโจทก์ ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 192วรรคหนึ่ง แม้โจทก์และโจทก์ร่วมมิได้อุทธรณ์ และเป็นอันยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้วก็ตาม แต่ปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องเป็นไม่ริบวิดีโอเทปของกลางนี้ได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
ส่วนที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกับพวกร่วมกันละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ร่วมโดยนำเอาวิดีโอเทปละเมิดลิขสิทธิ์ของกลางจำนวน 12 ม้วน ออกโฆษณา ขายเสนอขาย ให้เช่า เสนอให้เช่าเพื่อการค้า และขอให้พิพากษาให้วิดีโอเทปของกลางดังกล่าวตกเป็นของเจ้าของลิขสิทธิ์ โดยโจทก์ไม่ได้ขอริบนั้น เมื่อไม่ปรากฏตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่าวิดีโอเทปของกลางดังกล่าวเป็นวิดีโอเทปได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ร่วม และศาลชั้นต้นไม่พิพากษาให้ตกเป็นของเจ้าของลิขสิทธิ์ตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ การที่ศาลชั้นต้นกลับไปพิพากษาให้ริบวิดีโอเทปของกลาง เป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้องของโจทก์ ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 192วรรคหนึ่ง แม้โจทก์และโจทก์ร่วมมิได้อุทธรณ์ และเป็นอันยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้วก็ตาม แต่ปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องเป็นไม่ริบวิดีโอเทปของกลางนี้ได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3040/2541 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดลิขสิทธิ์, เสนอขายสินค้าควบคุมฉลาก, และการรอการลงโทษ จำเลยมีความผิดหลายกระทง ศาลแก้ไขคำพิพากษาเรื่องการริบของกลาง
++ เรื่อง ความผิดต่อพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ ความผิดต่อพระราชบัญญัติควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์
++ ความผิดต่อพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค
จำเลยละเมิดลิขสิทธิ์ในงานสร้างสรรค์ประเภทภาพยนตร์โดยนำภาพยนตร์วีดีโอเทปภาพและเสียงที่มีผู้ทำซ้ำโดยละเมิดลิขสิทธิ์รวม 32 ม้วนออกขายและเสนอขาย โดยจำเลยรู้อยู่แล้วว่าภาพยนตร์วีดีโอเทปดังกล่าวเป็นงานที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายซึ่งได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์พ.ศ.2537 และไม่ได้รับอนุญาตจากผู้เสียหาย และจำเลยได้ประกอบกิจการให้เช่าแลกเปลี่ยนหรือจำหน่ายวีดีโอเทปโดยไม่ได้รับอนุญาตและไม่ใช่กรณีที่ได้รับยกเว้นตามกฎหมาย กับจำเลยยังได้เสนอขายวีดีโอเทปอันเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลากโดยไม่ปิดฉลากจำนวน 62 ม้วน โดยจำเลยรู้หรือควรรู้ว่าการไม่ปิดฉลากดังกล่าวนั้นไม่ถูกต้องตามกฎหมายและจำเลยไม่ได้รับการยกเว้นใด ๆ ตามกฎหมาย เจ้าพนักงานจับจำเลยได้พร้อมยึดม้วนวีดีโอเทปภาพยนตร์ซึ่งมีผู้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์และไม่ปิดฉลากดังกล่าวรวม 62 ม้วน เป็นของกลาง อันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์พ.ศ.2537 มาตรา 31, 70 วรรคสอง พ.ร.บ.ควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์พ.ศ.2530 มาตรา 6 วรรคหนึ่ง, 34 และ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522มาตรา 30 (2), 52 วรรคหนึ่ง เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ศาลจึงต้องมีคำสั่งให้วีดีโอเทปของกลางที่ละเมิดลิขสิทธิ์ 32 ม้วน ตกเป็นของเจ้าของลิขสิทธิ์ ส่วนวีดีโอเทปที่ไม่ปิดฉลากอีกจำนวน 30 ม้วน ความผิดของจำเลยที่เกี่ยวกับของกลางดังกล่าวนี้อยู่ที่การเสนอขายโดยได้งดเว้นไม่ปิดฉลากที่วีดีโอเทปดังกล่าว วีดีโอเทปของกลาง 30 ม้วนนี้ไม่ใช่ทรัพย์ที่มีไว้เป็นความผิดและไม่ใช่ทรัพย์ที่จำเลยใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำผิดที่จะริบได้ตาม ป.อ.มาตรา 32 หรือ มาตรา 33
++ ความผิดต่อพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค
จำเลยละเมิดลิขสิทธิ์ในงานสร้างสรรค์ประเภทภาพยนตร์โดยนำภาพยนตร์วีดีโอเทปภาพและเสียงที่มีผู้ทำซ้ำโดยละเมิดลิขสิทธิ์รวม 32 ม้วนออกขายและเสนอขาย โดยจำเลยรู้อยู่แล้วว่าภาพยนตร์วีดีโอเทปดังกล่าวเป็นงานที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายซึ่งได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์พ.ศ.2537 และไม่ได้รับอนุญาตจากผู้เสียหาย และจำเลยได้ประกอบกิจการให้เช่าแลกเปลี่ยนหรือจำหน่ายวีดีโอเทปโดยไม่ได้รับอนุญาตและไม่ใช่กรณีที่ได้รับยกเว้นตามกฎหมาย กับจำเลยยังได้เสนอขายวีดีโอเทปอันเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลากโดยไม่ปิดฉลากจำนวน 62 ม้วน โดยจำเลยรู้หรือควรรู้ว่าการไม่ปิดฉลากดังกล่าวนั้นไม่ถูกต้องตามกฎหมายและจำเลยไม่ได้รับการยกเว้นใด ๆ ตามกฎหมาย เจ้าพนักงานจับจำเลยได้พร้อมยึดม้วนวีดีโอเทปภาพยนตร์ซึ่งมีผู้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์และไม่ปิดฉลากดังกล่าวรวม 62 ม้วน เป็นของกลาง อันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์พ.ศ.2537 มาตรา 31, 70 วรรคสอง พ.ร.บ.ควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์พ.ศ.2530 มาตรา 6 วรรคหนึ่ง, 34 และ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522มาตรา 30 (2), 52 วรรคหนึ่ง เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ศาลจึงต้องมีคำสั่งให้วีดีโอเทปของกลางที่ละเมิดลิขสิทธิ์ 32 ม้วน ตกเป็นของเจ้าของลิขสิทธิ์ ส่วนวีดีโอเทปที่ไม่ปิดฉลากอีกจำนวน 30 ม้วน ความผิดของจำเลยที่เกี่ยวกับของกลางดังกล่าวนี้อยู่ที่การเสนอขายโดยได้งดเว้นไม่ปิดฉลากที่วีดีโอเทปดังกล่าว วีดีโอเทปของกลาง 30 ม้วนนี้ไม่ใช่ทรัพย์ที่มีไว้เป็นความผิดและไม่ใช่ทรัพย์ที่จำเลยใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำผิดที่จะริบได้ตาม ป.อ.มาตรา 32 หรือ มาตรา 33
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3040/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดลิขสิทธิ์, เสนอขายสินค้าไม่ติดฉลาก, การริบของกลาง, การรอการลงโทษ, ศาลฎีกาแก้ไขคำพิพากษา
จำเลยละเมิดลิขสิทธิ์ในงานสร้างสรรค์ประเภทภาพยนตร์โดยนำภาพยนตร์วีดีโอเทปภาพและเสียงที่มีผู้ทำซ้ำโดยละเมิดลิขสิทธิ์รวม 32 ม้วนออกขายและเสนอขายโดย จำเลยรู้อยู่แล้วว่าภาพยนตร์วีดีโอเทปดังกล่าวเป็นงานที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายซึ่งได้รับความคุ้มครองตาม พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537และไม่ได้รับอนุญาตจากผู้เสียหาย และจำเลยได้ประกอบกิจการให้เช่าแลกเปลี่ยนหรือจำหน่ายวีดีโอเทปโดยไม่ได้รับอนุญาตและไม่ใช่กรณีที่ได้รับยกเว้นตามกฎหมายกับจำเลยยังได้เสนอขายวีดีโอเทปอันเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลากโดยไม่ปิดฉลากจำนวน 62 ม้วน โดยจำเลยรู้หรือควรรู้ว่าการไม่ปิดฉลากดังกล่าวนั้นไม่ถูกต้องตามกฎหมายและจำเลยไม่ได้รับการยกเว้นใด ๆตามกฎหมาย เจ้าพนักงานจับจำเลยได้พร้อมยึดม้วนวีดีโอเทปภาพยนตร์ซึ่งมีผู้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์และไม่ปิด ฉลากดังกล่าวรวม 62 ม้วน เป็นของกลาง อันเป็นความผิด ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 31,70 วรรคสองพระราชบัญญัติควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์พ.ศ. 2530 มาตรา 6 วรรคหนึ่ง,34 และพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522มาตรา 30(2),52 วรรคหนึ่ง เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ศาลจึงต้องมีคำสั่งให้วีดีโอเทปของกลางที่ละเมิดลิขสิทธิ์ 32 ม้วน ตกเป็นของเจ้าของลิขสิทธิ์ส่วนวีดีโอเทปที่ไม่ปิดฉลากอีกจำนวน 30 ม้วน ความผิดของจำเลยที่เกี่ยวกับของกลางดังกล่าวนี้อยู่ที่ การเสนอขายโดยได้งดเว้นไม่ปิดฉลากที่วีดีโอเทปดังกล่าววีดีโอเทปของกลาง 30 ม้วนนี้ไม่ใช่ทรัพย์ที่มีไว้เป็นความผิดและไม่ใช่ทรัพย์ที่จำเลยใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำผิดที่จะริบได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 32 หรือ มาตรา 33