พบผลลัพธ์ทั้งหมด 71 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1559-1560/2504 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดจากละเลยหน้าที่ กั้นทางรถไฟไม่ถูกต้อง นายจ้างต้องรับผิดร่วม
การละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 มีความหมายรวมทั้งการกระทำและละเว้นการกระทำอันบุคคลนั้น ๆ จะต้องกระทำด้วย และคำว่า "กระทำ" ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 425 ซึ่งให้นายจ้างร่วมรับผิดกับลูกจ้าง ก็หมายถึงการกระทำหรือละเว้นการกระทำตามนับที่กล่าว ในเมื่อการกระทำหรือละเว้นนั้นเป็นไปในทางการที่จ้างนายจ้างก็ต้องรับผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1201/2502
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เทศบาลละเลยหน้าที่รักษาความปลอดภัยทางถนน ทำให้เกิดอุบัติเหตุและเสียหายแก่ผู้อื่น ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหาย
จำเลยเป็นเทศบาลละเว้นหน้าที่อันจะต้องกระทำ กล่าวคือจัดให้ถมบ่อทำให้เป็นพื้นเดียวกับพื้นถนนเสียก่อนที่จะเปิดถนนให้รถผ่านไปมาได้ ทั้งยังปรากฏว่า จำเลยมิได้จัดให้มีสิ่งกีดกั้นบ่อนี้เป็นเครื่องหมายให้สดุดตาแก่ผู้คนที่ผ่านไปมา และในเวลากลางคืนก็มิได้จัดให้มีโคมไฟจุดให้ความสว่างตามสมควร จำเลยย่อมเห็นได้อยู่แล้วว่าเป็นสิ่งอันตรายแก่รถและผู้คนสัญจรไปมาอย่างมากที่จะปล่อยให้มีบ่ออยู่เช่นนั้น จนเป็นเหตุให้รถโจทก์ขับไปชนขอบบ่อนี้เข้าและเกิดการเสียหายขึ้น ดังนี้ต้องถือว่าเป็นความประมาทเลินเล่อของจำเลยทำให้โจทก์ได้รับ ความเสียหายจำเลยต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1141/2502
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมการบริษัทละเลยหน้าที่ ปกปิดความเสียหาย ทำให้บริษัทต้องเสียค่าปรับ ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากบริษัทไม่ได้
โจทก์เป็นประธานกรรมการบริษัทจำเลยและเป็นเจ้าของที่ดินและตึกซึ่งบริษัทจำเลยเช่าอยู่ โจทก์ได้ทำสัญญาจะขายที่ดินและตึกให้แก่ผู้ซื้อ โดยมีเงื่อนไขเป็นสาระสำคัญว่า โจทก์รับรองจะให้บริษัทจำเลยออกจากตึกและให้ผู้ซื้อเข้าครอบครองที่ดินและตึกภายใน 3 เดือน นับแต่วันทำสัญญา ถ้าโจทก์ไม่สามารถปฏิบัติได้ โจทก์ยอมให้ผู้ซื้อปรับเป็นเงิน 160,000 บาท โจทก์ได้แจ้งให้บริษัทจำเลยออกจากที่ดินและตึกภายใน 3 เดือน ก่อนครบกำหนด 3 เดือนเพียง 1 วันโจทก์จึงได้แจ้งให้บริษัทจำเลยทราบว่า ถ้าโจทก์ส่งมอบที่ดินและตึกให้แก่ผู้ซื้อไม่ได้ตามกำหนด โจทก์จะถูกผู้ซื้อเรียกค่าเสียหายดังนี้ถือว่าโจทก์เป็นประธานกรรมการบริษัทจำเลยมีหน้าที่จะต้องใช้ความเอื้อเฟื้อสอดส่องอย่างบุคคลค้าขายผู้ประกอบด้วยความระมัดระวังตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1167 โจทก์กลับปกปิดความจริงเรื่องที่จะต้องถูกผู้ซื้อที่ดินและตึกเรียกค่าเสียหาย เพิ่งแจ้งให้บริษัททราบต่อเมื่ออีก 1 วัน จะต้องถูกผู้ซื้อปรับการกระทำของโจทก์เป็นการจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ผิดวิสัยบุคคลค้าขายผู้ประกอบด้วยความระมัดระวังจะพึงปฏิบัติ ทำให้บริษัทจำเลยและผู้ถือหุ้นทั้งหลายต้องเสียหาย โจทก์จะนำผลแห่งความละเมิดของตนมาฟ้องร้องเรียกเบี้ยปรับที่โจทก์ต้องเสียแก่ผู้ซื้อไปและค่าเสียหายอื่นๆ จากบริษัทจำเลยหาได้ไม่
ค่าสินไหมทดแทนในการที่ผู้เช่าออกจากสถานที่เช่าเนิ่นช้า นั้น ตามธรรมดาควรจะเป็นจำนวนเงินเท่ากับค่าเช่าเป็นรายวัน ส่วนค่าเสียหายอื่นนอกจากนี้นับว่าเป็นค่าเสียหายในพฤติการณ์พิเศษ ซึ่งผู้เช่าจะต้องรู้ถึงความเสียหายพิเศษนี้ในระยะเวลาอันสมควรก่อนที่ตกลงไว้ว่าจะออกจากสถานที่เช่า ผู้ให้เช่าจึงจะเรียกร้องค่าเสียหายในพฤติการณ์พิเศษนี้จากผู้เช่าได้
ค่าสินไหมทดแทนในการที่ผู้เช่าออกจากสถานที่เช่าเนิ่นช้า นั้น ตามธรรมดาควรจะเป็นจำนวนเงินเท่ากับค่าเช่าเป็นรายวัน ส่วนค่าเสียหายอื่นนอกจากนี้นับว่าเป็นค่าเสียหายในพฤติการณ์พิเศษ ซึ่งผู้เช่าจะต้องรู้ถึงความเสียหายพิเศษนี้ในระยะเวลาอันสมควรก่อนที่ตกลงไว้ว่าจะออกจากสถานที่เช่า ผู้ให้เช่าจึงจะเรียกร้องค่าเสียหายในพฤติการณ์พิเศษนี้จากผู้เช่าได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1874/2492
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิรโทษกรรมรัฐประหาร: การกระทำยุยงทหารและการละเลยหน้าที่ได้รับการยกเว้นโทษตาม พ.ร.บ.นิรโทษกรรม พ.ศ.2490
จำเลยได้กระทำการยุยงทหารให้ก่อการกำเริบ และละเลยไม่ให้กระทำการตามหน้าที่เป็นการกระทำให้เสื่อมวินัยทหารอย่างร้ายแรง แต่การกระทำนั้นเกี่ยวเนื่องด้วยการกระทำรัฐประหารและจำเลยอยู่ในจำพวกรัฐประหารด้วย ดังนี้ การกระทำของจำเลยอยู่ในข่ายพ.ร.บ.นิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำรัฐประหารพ.ศ.2490
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 812/2484
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องผู้จัดการมรดกละเลยปฏิสังขรณ์วัดตามพินัยกรรม และการกำหนดวัดที่ชัดเจนในพินัยกรรม
พินัยกรรมที่ระบุให้ผู้จัดการมฤดกเอาทรัพย์มฤดกปฏิสังขรณ์วัดต่าง ๆ ที่ชำรุดทรุดโทรมนั้น ถือว่ามุ่งหมายให้ผู้จัดการมฤดกเป็นผู้ระบุวัดที่จะได้รับปฏิสังขรณ์ ข้อกำหนดเช่นนี้ไม่เป็นโมฆะ
พินัยกรรมของผู้ตายสั่งให้ผู้จัดการมฤดกนำเงินเหลือ จากการปลงศพบำรุงการกุศลในพระพุทธศาสนา เมื่อผู้จัดการมฤดก ไม่ปฏิบัติการให้เป็นไปตามพินัยกรรม กรมธรรมการมีอำนาจฟ้องขอถอดถอนได้
พินัยกรรมของผู้ตายสั่งให้ผู้จัดการมฤดกนำเงินเหลือ จากการปลงศพบำรุงการกุศลในพระพุทธศาสนา เมื่อผู้จัดการมฤดก ไม่ปฏิบัติการให้เป็นไปตามพินัยกรรม กรมธรรมการมีอำนาจฟ้องขอถอดถอนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 169/2481
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ใหญ่บ้านละเลยหน้าที่ห้ามปรามการทะเลาะวิวาทจนถึงแก่ความตาย ไม่ผิดตามกฎหมายอาญา
มีผู้ทะเลาะวิวาทกันจนถึงตาย โดยจำเลยซึ่เงป็นผู้ใหญ่บ้านอยู่ในที่นั้นด้วยแต่ยืนดูเฉยเสียไม่ห้ามปรามหรือจับกุมร้องเรียน จำเลยยังไม่มีผิดตามกฎหมายอาญาม.142, 154
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9120/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิของทายาทในการฟ้องเรียกหนี้สินของกองมรดกเมื่อผู้จัดการมรดกละเลยหน้าที่
ข้อเท็จจริงตามที่โจทก์บรรยายฟ้อง คือจำเลยกู้ยืมเงินของ ท. มารดาบุญธรรมของโจทก์ แล้วผิดนัดไม่ชำระ ทั้งผู้จัดการมรดกของ ท. ก็เพิกเฉยไม่ดำเนินคดีแก่จำเลยและโจทก์ผู้เป็นทายาทมีสิทธิได้รับมรดกจาก ท. ผู้ตาย โจทก์ย่อมเสียหายเพราะถูกโต้แย้งสิทธิ เมื่อประกอบกับไม่มีกฎหมายห้ามโดยตรงไม่ให้โจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องในกรณีดังกล่าว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเป็นคดีนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6847/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้จัดการมรดกละเลยหน้าที่เบิกเงินให้คู่สมรส แม้คู่สมรสไม่ยินยอมเบิกเงินบางส่วน ศาลสั่งถอนผู้จัดการมรดก
ผู้ร้องและผู้คัดค้านต่างร้องขอให้ถอนอีกฝ่ายจากการเป็นผู้จัดการมรดกร่วม ที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอถอนผู้คัดค้านโดยอ้างว่า ผู้คัดค้านไม่ให้ความร่วมมือโดยไม่ยอมลงลายมือชื่อเบิกถอนเงินมรดกจากบัญชีเงินฝากของผู้ตายโดยไม่มีเหตุอันสมควร ข้อเท็จจริงได้ความว่า ผู้คัดค้านยอมลงชื่อถอนเงินฝากของผู้ตายแล้วบัญชีหนึ่ง โดยผู้ร้องตกลงว่าจะแบ่งเงินให้ผู้คัดค้าน 10,000 บาท แต่ผู้ร้องไม่แบ่งให้ตามตกลง การที่ผู้คัดค้านไม่ยินยอมลงลายมือชื่อเบิกถอนเงินให้อีก ยังถือไม่ได้ว่าผู้คัดค้านละเลยไม่ทำตามหน้าที่ ไม่มีเหตุสมควรที่จะถอนผู้คัดค้านออกจากการเป็นผู้จัดการมรดก แต่การที่ผู้ร้องเบิกเงินของผู้ตายออกจากบัญชีธนาคาร ก. ไปเพียงผู้เดียวโดยไม่แบ่งให้แก่ผู้คัดค้าน ถือได้ว่าผู้ร้องละเลยมิได้ปฏิบัติการตามหน้าที่ผู้จัดการมรดก หากให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกับผู้คัดค้านต่อไปจะล่าช้าติดขัดก่อให้เกิดความเสียหายแก่กองมรดกและผู้คัดค้านซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสีย จึงมีเหตุสมควรให้ถอนผู้ร้องออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1727 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8237/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษทางวินัยลูกจ้าง: การนอนหลับขณะปฏิบัติหน้าที่ถือเป็นการละเลยหน้าที่ตามข้อบังคับของบริษัท
ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงและวินิจฉัยว่า การทำงานกะดึกระหว่างเวลา 23.30 นาฬิกา ถึง 8.30 นาฬิกา ไม่ได้กำหนดเวลาพักไว้แน่นอนแต่ในช่วงเวลานี้ห้องอาหารของผู้ร้องจะเปิด 2 ช่วงคือ ระหว่างเวลา 23.30 นาฬิกา ถึง 01.30 นาฬิกา และเวลา 6 นาฬิกา ถึง 8 นาฬิกา พนักงานจะเข้าไปรับประทานอาหารช่วงใดก็ได้โดยผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันไปและพักผ่อนในห้องดังกล่าว ถ้าพนักงานผู้ใดไม่เข้าไปรับประทานอาหารจะพักผ่อนที่ห้องทำงานก็ได้ ซึ่งถือว่าผู้ร้องได้กำหนดเวลาพักไว้ให้แก่ลูกจ้างของผู้ร้องรวมทั้งผู้คัดค้านแล้ว ผู้คัดค้านไม่อาจอ้างได้ว่าผู้ร้องมิได้จัดเวลาพักหรืออ้างว่าผู้ร้องมอบหมายให้ผู้คัดค้านจัดเวลาพักเองและไม่อาจกำหนดเวลาพักเองในช่วงเวลาอื่นใดได้ ดังนี้ กรณีผู้คัดค้านนอนหลับในห้องควบคุมในระหว่างเวลา 3 นาฬิกา ถึง 3.50 นาฬิกา ของวันที่ 13 มีนาคม 2547 ซึ่งมิใช่กำหนดเวลาพักที่ผู้ร้องจัดให้ จึงถือว่าการนอนหลับระหว่างเวลาทำงานดังกล่าวเป็นการละเลยต่อหน้าที่ซึ่งเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของผู้ร้อง ข้อ 4.1 วินัยและโทษทางวินัย เป็นความผิดโทษสถานหนักตามข้อ 6 ระบุว่าละเลยต่อหน้าที่ไว้ ผู้ร้องสามารถลงโทษโดยการตักเตือนเป็นหนังสือและพักงาน 1 สัปดาห์ โดยไม่จ่ายค่าจ้างตามโทษที่กำหนดไว้ในข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของผู้ร้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3790/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลต้องไต่สวนคำร้องถอนผู้จัดการมรดกตามกฎหมาย ไม่ใช่พิจารณาตามข้อตกลงของคู่ความ
คดีนี้ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งให้ผู้ร้องคัดค้านที่ 1 และผู้คัดค้านที่ 2 ร่วมกันเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย ทั้งผู้คัดค้านที่ 2 และฝ่ายผู้ร้องคัดค้านที่ 1 ต่างยื่นคำร้องขอให้ถอนอีกฝ่ายออกจากการเป็นผู้จัดการมรดก ประเด็นแห่งคดีจึงมีว่า มีเหตุสมควรที่จะถอนผู้ร้องคัดค้านที่ 1 หรือผู้คัดค้านที่ 2 ออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกเพราะเหตุละเลยไม่ทำตามหน้าที่หรือมีเหตุอย่างอื่นที่สมควรหรือไม่ การที่ผู้ร้องคัดค้านที่ 1 และผู้คัดค้านที่ 2 ตกลงท้ากันให้ศาลชั้นต้นชี้ขาดว่าที่ดินมรดกของผู้ตายเป็นสินส่วนตัวหรือสินสมรสของผู้ตาย เพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยอันมีผลให้คู่ความฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดถูกถอนออกจากการเป็นผู้จัดการมรดก โดยมิใช่เหตุตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ จึงมิใช่เป็นการตกลงกันเกี่ยวกับประเด็นแห่งคดีนี้โดยตรง เป็นเรื่องที่ต้องไปว่ากล่าวกันเป็นคดีอื่นต่างหาก การที่ศาลชั้นต้นไม่ดำเนินการไต่สวนคำร้องขอแต่กลับพิจารณาตามคำท้าหรือข้อตกลงของคู่ความทั้งสองฝ่าย ถือเป็นการที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติตามกฎหมาย เห็นควรให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาและมีคำสั่งใหม่ให้ถูกต้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (2) ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน