พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,226 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2840/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความระงับหนี้ละเมิด นายจ้างไม่ต้องรับผิดเมื่อลูกจ้างชำระหนี้แล้ว
จำเลยที่ 1 ลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ทำละเมิดต่อโจทก์ และได้ทำบันทึกข้อตกลงระหว่างตัวแทนของโจทก์กับจำเลยที่ 1 ว่าจำเลยที่ 1 ยินยอมตกลงชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ โดยจำเลยที่ 1 จะนำรถยนต์ของโจทก์ไปทำการซ่อมแซมให้อยู่ในสภาพเดิม อันเป็นการปฏิบัติการชำระหนี้อย่างหนึ่งของจำเลยที่ 1 ลูกหนี้ ถือว่าโจทก์ยอมรับค่าเสียหายในมูลละเมิดที่เกิดขึ้นแล้ว บันทึกข้อตกลงดังกล่าวตามรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีจึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ผลแห่งสัญญาประนีประนอมยอมความนี้ย่อมทำให้สิทธิของโจทก์ที่จะเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดในมูลละเมิดเป็นอันระงับไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 852 แม้จะฟังว่าจำเลยที่ 2 เป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 ได้กระทำไปในทางการที่จ้าง ความรับผิดของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนายจ้างก็ย่อมระงับสิ้นไปด้วย เพราะไม่มีมูลละเมิดระหว่างโจทก์กับลูกจ้างในอันที่นายจ้างจะต้องรับผิดต่อไปอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2548/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะกรรมการ/ผู้ถือหุ้น ไม่ถือเป็นลูกจ้าง แม้รับเงินเดือน สิทธิเรียกร้องค่าชดเชยจึงไม่เกิดขึ้น
โจทก์เป็นกรรมการและผู้ถือหุ้นในบริษัทจำเลย มีหน้าที่ดูแลด้านการตลาด ในการทำงานของโจทก์นั้นไม่ปรากฏว่าโจทก์ต้องอยู่ภายใต้ระเบียบหรือข้อบังคับในการทำงานของบริษัทจำเลย แม้โจทก์จะได้รับมอบหมายให้ดูแลงานของบริษัทจำเลยโดยต้องมาทำงานทุกวัน ก็ไม่มีผู้ใดบังคับบัญชาโจทก์ นอกจากนี้ยังปรากฏข้อเท็จจริงว่าโจทก์เป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งบริษัทจำเลยและทำงานกับจำเลยโดยเป็นกรรมการมาแต่แรก การทำงานของโจทก์ให้แก่บริษัทจำเลยจึงเป็นการทำในฐานะกรรมการและผู้ถือหุ้นที่ต้องดูแลรักษาผลประโยชน์ของบริษัทจำเลยที่โจทก์เป็นผู้ร่วมก่อตั้งมา แม้โจทก์จะได้รับเงินเดือนจากจำเลย แต่การทำงานของโจทก์ในบริษัทจำเลยไม่มีลักษณะเป็นสัญญาจ้างแรงงานตาม ป.พ.พ. มาตรา 575 โจทก์จึงไม่อยู่ในฐานะเป็นลูกจ้างของบริษัทจำเลย เมื่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นมีมติให้โจทก์ออกจากการเป็นกรรมการบริษัทจำเลย โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าชดเชยจากจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2548/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมการ/ผู้ถือหุ้น ทำงานอิสระ ไม่เป็นลูกจ้าง แม้ได้รับเงินเดือน สิทธิเรียกร้องเมื่อพ้นจากตำแหน่งกรรมการไม่มี
โจทก์เป็นกรรมการและผู้ถือหุ้นในบริษัทจำเลย มีหน้าที่ดูแลด้านการตลาด โจทก์ต้องมาทำงานทุกวัน บางวันหรือส่วนใหญ่จะอยู่ที่ไซด์งาน การดำเนินงานหรือการแก้ปัญหาตามปกติ โจทก์ทำได้เองโดยอิสระ เว้นแต่เรื่องใหญ่ๆ หรือมีจำนวนเงินสูงๆ หรืออาจก่อให้เกิดความเสียหายได้ โจทก์ต้องได้รับอนุมัติจากที่ประชุมของกรรมการหรือปรึกษา ส. กรรมการบริษัทจำเลยก่อน โจทก์ไม่ต้องอยู่ภายใต้ระเบียบหรือข้อบังคับในการทำงานของบริษัทจำเลย โจทก์จึงทำงานในฐานะกรรมการและผู้ถือหุ้นที่ต้องดูแลรักษาผลประโยชน์ของบริษัทจำเลยที่โจทก์เป็นผู้ร่วมก่อตั้งมา แม้โจทก์จะได้รับเงินเดือนจากจำเลย ก็ไม่มีลักษณะเป็นสัญญาจ้างแรงงานตาม ป.พ.พ. มาตรา 575 โจทก์จึงไม่อยู่ในฐานะเป็นลูกจ้างของบริษัทจำเลย เมื่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นมีมติให้โจทก์ออกจากการเป็นกรรมการบริษัทจำเลย โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกเงินใดๆ ตามสัญญาจ้างแรงงานจากจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2191/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้าง: การประมาทเลินเล่อในการปฏิบัติหน้าที่, เหตุอันสมควร, และค่าชดเชย
โจทก์ในฐานะผู้จัดการฝ่ายบริหารของจำเลยกล่าวหาว่า น. และ ม. ลูกจ้างของจำเลยปลอมเอกสารอันเป็นความผิดอาญาและเสนอให้จำเลยดำเนินคดีแก่บุคคลทั้งสอง ทั้งๆ ที่โจทก์ยังตรวจสอบพยานหลักฐานเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวไม่ครบถ้วน จึงเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อไม่ใช้ความระมัดระวังให้เพียงพอ ผลของการกระทำของโจทก์คือจำเลยได้เลิกจ้าง น. และ ม. โดยไม่จำเลยค่าชดเชยซึ่งย่อมมีผลกระทบต่อขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของลูกจ้างจำเลย ทำให้ระบบบริหารงานบุคคลของจำเลยเสียหาย และการดำเนินงานของจำเลยในส่วนที่เกี่ยวกับการทำงานของบุคคลทั้งสองที่ถูกเลิกจ้างต้องหยุดชะงักไปด้วย
ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยระบุว่าลูกจ้างที่ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้ทรัพย์สินของจำเลยเสียหายจะถูกลงโทษขั้นปลดออกจากงาน แสดงว่าจำเลยมุ่งประสงค์ลงโทษลูกจ้างที่ทำงานประมาทเลินเล่อถึงขั้นเลิกจ้างเฉพาะกรณีทำให้ทรัพย์สินของจำเลยเสียหายเท่านั้น จำเลยเลิกจ้างโจทก์ด้วยเหตุประมาทเลินเล่อทำให้จำเลยเสียหายในระบบการบริหารงานบุคคลและการดำเนินงานซึ่งไม่ใช่ความเสียหายเป็นทรัพย์สินตามความประสงค์ของข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย กรณีจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์กระทำโดยประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้จำเลยได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรงตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 119 (3) เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ตามมาตรา 118 (1) แต่การกระทำของโจทก์ดังกล่าวเป็นการกระทำที่ไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายบริหารให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 583 จำเลยเลิกจ้างโจทก์ด้วยสาเหตุปฏิบัติงานด้วยความประมาทเลินเล่อ เป็นการเลิกจ้างโดยมีเหตุอันสมควรไม่ใช่การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมแก่โจทก์เช่นกัน
ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยระบุว่าลูกจ้างที่ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้ทรัพย์สินของจำเลยเสียหายจะถูกลงโทษขั้นปลดออกจากงาน แสดงว่าจำเลยมุ่งประสงค์ลงโทษลูกจ้างที่ทำงานประมาทเลินเล่อถึงขั้นเลิกจ้างเฉพาะกรณีทำให้ทรัพย์สินของจำเลยเสียหายเท่านั้น จำเลยเลิกจ้างโจทก์ด้วยเหตุประมาทเลินเล่อทำให้จำเลยเสียหายในระบบการบริหารงานบุคคลและการดำเนินงานซึ่งไม่ใช่ความเสียหายเป็นทรัพย์สินตามความประสงค์ของข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย กรณีจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์กระทำโดยประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้จำเลยได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรงตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 119 (3) เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ตามมาตรา 118 (1) แต่การกระทำของโจทก์ดังกล่าวเป็นการกระทำที่ไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายบริหารให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 583 จำเลยเลิกจ้างโจทก์ด้วยสาเหตุปฏิบัติงานด้วยความประมาทเลินเล่อ เป็นการเลิกจ้างโดยมีเหตุอันสมควรไม่ใช่การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมแก่โจทก์เช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1896/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลูกจ้างมีสิทธิฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม แม้ศาลแรงงานมีอำนาจพิจารณาค่าเสียหายเองได้
ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 49 เป็นการให้อำนาจศาลแรงงานใช้ดุลพินิจในการกำหนดค่าเสียหายที่ลูกจ้างได้รับ หาใช่เป็นการตัดสิทธิของลูกจ้างซึ่งได้รับความเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมที่จะฟ้องเรียกร้องไม่ เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างเห็นว่าจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างเลิกจ้างด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรมแล้ว กรณีย่อมถือว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31 และ 49 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องและชอบที่จะเสนอคดีของตนต่อศาลแรงงานได้
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม โดยโจทก์ได้บรรยายฟ้องถึงความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างกับลูกจ้าง และอ้างความเป็นมาของการเลิกจ้างว่า จำเลยมีหนังสือเปลี่ยนแปลงตำแหน่งหน้าที่ของโจทก์ไปเป็นตำแหน่งที่ด้อยกว่าเดิมมาก เป็นการกลั่นแกล้งโจทก์ และเมื่อโจทก์ร้องเรียนต่อสำนักงานสวัสดิการและแรงงานจังหวัดชลบุรีว่าจำเลยจ่ายค่าจ้างให้โจทก์ไม่ครบถ้วน เป็นเหตุให้สำนักงานดังกล่าวสั่งให้จำเลยจ่ายค่าจ้างให้โจทก์เพิ่มเติม จำเลยจึงมีหนังสือเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรม ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ขอคิดค่าเสียหายโดยคำนวณจากเงินเดือนที่เคยได้รับและค่าตรวจรักษาคนไข้เป็นเวลา 5 ปี ดังนี้ คำฟ้องของโจทก์จึงเป็นการบรรยายฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้วฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม โดยโจทก์ได้บรรยายฟ้องถึงความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างกับลูกจ้าง และอ้างความเป็นมาของการเลิกจ้างว่า จำเลยมีหนังสือเปลี่ยนแปลงตำแหน่งหน้าที่ของโจทก์ไปเป็นตำแหน่งที่ด้อยกว่าเดิมมาก เป็นการกลั่นแกล้งโจทก์ และเมื่อโจทก์ร้องเรียนต่อสำนักงานสวัสดิการและแรงงานจังหวัดชลบุรีว่าจำเลยจ่ายค่าจ้างให้โจทก์ไม่ครบถ้วน เป็นเหตุให้สำนักงานดังกล่าวสั่งให้จำเลยจ่ายค่าจ้างให้โจทก์เพิ่มเติม จำเลยจึงมีหนังสือเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรม ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ขอคิดค่าเสียหายโดยคำนวณจากเงินเดือนที่เคยได้รับและค่าตรวจรักษาคนไข้เป็นเวลา 5 ปี ดังนี้ คำฟ้องของโจทก์จึงเป็นการบรรยายฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้วฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1641-1642/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างกรณีรับค่าตอบแทนจากบริษัทอื่นขัดต่อหน้าที่และข้อบังคับของบริษัท
จำเลยที่ 1 มอบหมายให้โจทก์ดำรงตำแหน่งผู้จัดการส่วนเรือขนส่ง มีหน้าที่กำกับดูแลการขนส่งทางทะเลและท่าเทียบเรือของจำเลยที่ 1 รับผิดชอบความปลอดภัยของเรือที่รับขนส่งน้ำมันให้แก่จำเลยที่ 1 ซึ่งก่อนทำสัญญากับผู้รับขนส่ง โจทก์ต้องตรวจเรือที่มารับขนส่งให้ได้มาตรฐานเสียก่อน โดยจำเลยที่ 1 มีนโยบายให้ตรวจปีละครั้งโดยเคร่งครัดเพื่อความปลอดภัยในการขนส่งและเพื่อประโยชน์ของจำเลยที่ 1 ตำแหน่งหน้าที่ของโจทก์จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการรักษาผลประโยชน์ของจำเลยที่ 1 การที่โจทก์รับเงินค่าที่ปรึกษาจากบริษัท ป. ซึ่งนำเรือมารับขนส่งน้ำมันให้แก่จำเลยที่ 1 ย่อมเห็นได้ว่าเป็นการกระทำที่ขัดต่อตำแหน่งหน้าที่ อาจส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยในการขนส่งน้ำมันในท่าเทียบเรือของจำเลยที่ 1 ทำให้ลูกค้าของจำเลยที่ 1 เสียความเชื่อถือในการให้บริการท่าเทียบเรือ การกระทำของโจทก์ดังกล่าวจึงเป็นการฝ่าฝืนต่อข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานข้อ 8.1 (6) ของจำเลยที่ 1 ที่ระบุว่า "เสนอหรือรับของมีค่าหรือประโยชน์อื่นใด เพื่อแลกกับการบรรจุเข้าทำงาน ตำแหน่งหน้าที่ การประมูลการเช่า การทำสัญญาหรือสิ่งอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับบริษัทโดยมิชอบผู้อื่น" เป็นความผิดซึ่งนับเป็นกรณีร้ายแรง จำเลยที่ 1 ย่อมเลิกจ้างโจทก์ได้ทันทีโดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า และไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตาม ป.พ.พ. มาตรา 583 ประกอบ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 17 วรรคท้าย และไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 119 (4) ทั้งมิใช่การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องจ่ายค่าเสียหายให้แก่โจทก์ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1562/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดเกณฑ์เกษียณอายุตามตำแหน่งงาน ไม่เป็นการเลือกปฏิบัติทางเพศ หากหลักเกณฑ์เดียวกัน
พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 15 ที่บัญญัติว่า "ให้นายจ้างปฏิบัติต่อลูกจ้างชายและหญิงโดยเท่าเทียมกันในการจ้างงาน เว้นแต่ลักษณะหรือสภาพของงานไม่อาจปฏิบัติเช่นนั้นได้" เป็นการกำหนดหน้าที่ของนายจ้างที่จะต้องปฏิบัติต่อลูกจ้างให้เท่าเทียมกันในการจ้างงาน ไม่มีการเลือกปฏิบัติต่อลูกจ้างเพราะเหตุที่ลูกจ้างมีเพศแตกต่างกันเท่านั้น มีข้อยกเว้นให้ปฏิบัติแตกต่างกันได้ก็ต่อเมื่อลักษณะหรือสภาพของงานไม่อาจปฏิบัติให้เท่าเทียมกันได้ ปรากฏว่าคำสั่งของผู้ร้องที่ให้ลูกจ้างเกษียณเมื่ออายุแตกต่างกัน โดยพนักงานคนงานชายและหญิงเกษียณอายุ 50 ปี บริบูรณ์ พนักงานโฟร์แมนชายและหญิงเกษียณอายุ 55 ปี บริบูรณ์ และพนักงานหัวหน้าโฟร์แมนชายและหญิงเกษียณอายุ 57 ปี เป็นการกำหนดโดยอาศัยตำแหน่งงานของลูกจ้างว่าลูกจ้างตำแหน่งใดจะเกษียณอายุเมื่อใด หาใช่เอาข้อแตกต่างในเรื่องเพศมาเป็นข้อกำหนดไม่ ลูกจ้างในตำแหน่งเดียวกันไม่ว่าชายหรือหญิงยังต้องเกษียณอายุโดยอาศัยหลักเกณฑ์เดียวกัน คำสั่งของผู้ร้องดังกล่าวจึงไม่ขัดกับ พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 15 ซึ่งสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 30 วรรคสอง และมิได้ตกเป็นโมฆะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1530-1532/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้จากการขายแบตเตอรี่และการชดใช้ค่าเสียหายจากลูกจ้าง
หนี้ค้างชำระอันเกิดจากการขายแบตเตอรี่ให้แก่ลูกค้าที่ซื้อไปขายต่อเพื่อแสวงหากำไรอันเป็นการประกอบธุรกิจการค้าของลูกค้ามีอายุความ 5 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (5) มิใช่กรณีลูกค้าซื้อไปเพื่อใช้เองอันมีอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) ปรากฏว่าขณะที่โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยทวงให้ลูกหนี้ชำระหนี้ หนี้ที่ค้างชำระยังไม่ครบอายุความ 5 ปี แม้โจทก์ที่ 1 และที่ 2 จะทวงหนี้จากลูกหนี้ไม่ครบทุกรายและเมื่อลูกหนี้ค้างชำระหนี้เกิน 2 ปีแล้ว โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ก็ไม่ตั้งสำรองหนี้สูญอันเป็นการผิดระเบียบก็ตาม แต่ผลเสียหายที่จำเลยติดตามหนี้ที่ลูกหนี้ค้างชำระไม่ได้เกิดจากจำเลยเข้าใจผิดว่าหนี้ที่ลูกค้าค้างชำระนั้นมีอายุความ 2 ปี และขาดอายุความแล้วจึงไม่ได้ฟ้องร้องให้ลูกหนี้ชำระหนี้ ความเสียหายที่เกิดขึ้นจึงเป็นผลโดยตรงจากการที่จำเลยไม่ติดตามฟ้องร้องให้ลูกหนี้ชำระหนี้ มิใช่เป็นผลมาจากโจทก์ที่ 1 และที่ 2 ไม่ทวงหนี้ และไม่ตั้งสำรองหนี้สูญ จำเลยจึงไม่มีสิทธิอายัดเงินเดือน เงินโบนัส หรือเงินบำเหน็จของโจทก์ตามมาตรา 57 แห่ง พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครองฯ เพื่อชดใช้ค่าเสียหายดังกล่าวา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1458/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักค่าจ้างชดใช้ค่าเสียหายที่สามีลูกจ้างก่อขึ้น ไม่อาจหักจากค่าจ้างลูกจ้างได้ หากลูกจ้างมิได้เป็นผู้ก่อหนี้
แม้โจทก์จะทำหนังสือยินยอมให้จำเลยหักค่าจ้างชดใช้ค่าเสียหาย ซึ่ง อ. สามีโจทก์ได้กระทำไว้แก่จำเลย แต่ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 76 บัญญัติห้ามมิให้นายจ้างหักค่าจ้าง ค่าล่วงหน้า ค่าทำงานในวันหยุดและค่าล่วงเวลาในวันหยุด เว้นแต่เป็นการหักเพื่อ... (1) ชำระภาษีเงินได้ตามจำนวนที่ลูกจ้างต้องจ่ายหรือชำระเงินอื่นตามที่มีกฎหมายบัญญัติไว้ กับ... (4) เป็นเงินประกันตามมาตรา 10 หรือชดใช้ค่าเสียหายให้แก่นายจ้างซึ่งลูกจ้างได้กระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงโดยได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง กรณีตาม (4) นั้นมุ่งหมายถึงตัวลูกจ้างโดยตรงเป็นผู้กระทำให้เกิดหนี้หรือความเสียหายแก่นายจ้างและลูกจ้างได้ให้ความยินยอมแล้วจึงหักค่าจ้างลูกจ้างได้ แต่คดีนี้โจทก์เป็นเพียงภริยาของ อ. มิได้เป็นผู้ก่อหนี้หรือความเสียหายแก่จำเลยแต่อย่างใด กรณีย่อมไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นตามบทกฎหมายดังกล่าว แม้โจทก์จะทำหนังสือยอมให้หักค่าจ้างได้จำเลยก็หาอาจจะหักค่าจ้างของโจทก์ได้ไม่ คำว่าหนี้อื่นๆ นั้นหมายถึงหนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ เช่น การชำระหนี้ภาษีเงินได้ของลูกจ้าง หรือการชำระเงินสะสมกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างซึ่งเกิดจากกฎหมายกำหนดหรือบัญญัติไว้ แต่กรณีนี้สามีโจทก์เป็นผู้กระทำละเมิดก่อให้เกิดความเสียหายแก่จำเลย จึงมิใช่หนี้อื่นๆ ตามนัยแห่งมาตรา 76 วรรคหนึ่ง (1) จำเลยจึงต้องคืนเงินค่าจ้างให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1458/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักค่าจ้างชดใช้ค่าเสียหายจากลูกจ้าง กรณีความเสียหายเกิดจากบุคคลอื่นที่ไม่ใช่ลูกจ้าง
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 76 ที่ห้ามมิให้นายจ้างหักค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุดและค่าล่วงเวลาในวันหยุด เว้นแต่ เป็นเงินประกันตามมาตรา 10 หรือชดใช้ค่าเสียหายให้แก่นายจ้างซึ่งลูกจ้างได้กระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงโดยได้รับความยินยอมจากลูกจ้างตามมาตรา 76 วรรคหนึ่ง (4) นั้น มุ่งหมายถึงตัวลูกจ้างโดยตรงเป็นผู้กระทำให้เกิดหนี้หรือความเสียหายแก่นายจ้างและลูกจ้างได้ให้ความยินยอมแล้ว จึงหักค่าจ้างลูกจ้างได้ แต่โจทก์เป็นเพียงภริยาของ อ. ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยเช่นเดียวกับโจทก์ มิได้เป็นผู้ก่อหนี้หรือความเสียหายแก่จำเลย ย่อมไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นตามบทกฎหมายดังกล่าว แม้โจทก์จะทำหนังสือยอมให้หักค่าจ้างได้ จำเลยก็ไม่อาจหักค่าจ้างของโจทก์ได้
คำว่าหนี้อื่น ๆ ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 76 วรรคหนึ่ง (1) หมายถึงหนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ เช่น การชำระภาษีเงินได้ของลูกจ้าง หรือการชำระเงินสะสมกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างนั้นเอง เป็นต้น ซึ่งเกิดจากกฎหมายกำหนดหรือบัญญัติไว้ แต่กรณีที่สามีโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยเช่นเดียวกับโจทก์เป็นผู้ทำละเมิดก่อให้เกิดความเสียหายแก่จำเลย มิใช่หนี้อื่น ๆ ตามมาตรา 76 วรรคหนึ่ง (1) จำเลยจึงต้องคืนเงินค่าจ้างให้โจทก์
คำว่าหนี้อื่น ๆ ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 76 วรรคหนึ่ง (1) หมายถึงหนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ เช่น การชำระภาษีเงินได้ของลูกจ้าง หรือการชำระเงินสะสมกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างนั้นเอง เป็นต้น ซึ่งเกิดจากกฎหมายกำหนดหรือบัญญัติไว้ แต่กรณีที่สามีโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยเช่นเดียวกับโจทก์เป็นผู้ทำละเมิดก่อให้เกิดความเสียหายแก่จำเลย มิใช่หนี้อื่น ๆ ตามมาตรา 76 วรรคหนึ่ง (1) จำเลยจึงต้องคืนเงินค่าจ้างให้โจทก์