พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,913 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6085/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจหน้าที่ผู้คัดค้านล้มละลายในการเรียกค่าธรรมเนียมจากโจทก์ กรณีศาลพิพากษายกฟ้องและทรัพย์สินถูกส่งคืน
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดและพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลาย เป็นการใช้สิทธิทางศาลให้นำกระบวนทางกฎหมายมาจัดการกับทรัพย์สินของลูกหนี้เพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้ทั้งหลายเป็นอำนาจของศาลที่จะใช้ดุลพินิจพิจารณาเอาความจริงจากข้อเท็จจริงที่คู่ความนำสืบและตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ จึงถือว่าผู้คัดค้านได้ใช้ดุลพินิจดำเนินการอายัดและรับเงินของลูกหนี้เอง ผู้คัดค้านจึงไม่มีอำนาจตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 ที่จะออกคำสั่งให้โจทก์นำค่าธรรมเนียมในการรวบรวมทรัพย์สินที่ไม่มีการขายหรือจำหน่ายมาชำระต่อผู้คัดค้านได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6085/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจการรวบรวมทรัพย์สินในคดีล้มละลายเป็นของผู้พิทักษ์ทรัพย์ โจทก์ไม่ต้องรับผิดค่าธรรมเนียม
เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้แล้วอำนาจในการรวบรวมทรัพย์สินย่อมเป็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านแต่ผู้เดียวตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22 ทรัพย์สินของลูกหนี้ที่รวบรวมในคดีนี้ผู้คัดค้านได้มาจากการอายัดเงินฝากของลูกหนี้ที่ธนาคารกับเงินตามคำพิพากษาตามยอมและค่าขึ้นศาลในคดีแพ่ง โดยไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้เข้าไปเกี่ยวข้องด้วยการร้องขอให้ยึด อายัด หรือชี้ช่องให้รับเงินแต่ประการใด การที่โจทก์ยื่นฟ้องขอให้ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดและพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลาย เป็นการใช้สิทธิทางศาลให้มีการนำกระบวนการทางกฎหมายมาจัดการกับทรัพย์สินของลูกหนี้เพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้ทั้งหลายของลูกหนี้ มิใช่กระทำเพื่อประโยชน์ของโจทก์แต่เพียงผู้เดียว ศาลจะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดหรือไม่เป็นอำนาจของศาลที่จะใช้ดุลพินิจพิจารณาเอาความจริงจากข้อเท็จจริงที่คู่ความนำสืบและตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ นอกจากนี้ยังไม่ปรากฏว่าโจทก์นำสืบแสดงพยานหลักฐานอันเป็นเท็จหรือแกล้งให้ศาลหรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ใช้อำนาจบังคับเอาแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้ ถือว่าผู้คัดค้านได้ใช้ดุลพินิจดำเนินการอายัดและรับเงินของลูกหนี้เอง ผู้คัดค้านจึงไม่มีอำนาจตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 155 และ 179 (3) ที่จะออกคำสั่งให้โจทก์ต้องนำค่าธรรมเนียมในการรวบรวมทรัพย์สินที่ไม่มีการขายหรือจำหน่ายมาชำระ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5754/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสิทธิเรียกร้องค่าเช่าอุปกรณ์และการยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย
สิทธิเรียกร้องค่าบริการเช่าบำรุงรักษาอุปกรณ์อันเป็นสังหาริมทรัพย์อยู่ในบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (6) มีอายุความ 2 ปี ซึ่งจะครบกำหนดอายุความในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2543 ปรากฏว่าลูกหนี้ถูกสั่งให้ระงับการดำเนินกิจการและอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของ ปรส. เจ้าหนี้จึงยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อ ปรส. เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2542 ถือได้ว่าเจ้าหนี้ได้กระทำการอื่นใดอันมีผลอย่างเดียวกับการฟ้องคดี ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (5) โดยที่เป็นเพียงการกระทำอื่นใดมิใช่เป็นการฟ้องคดี สิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้จึงยังไม่ยุติถึงที่สุด เมื่อได้ความว่า ปรส. มีคำสั่งไม่พิจารณาให้เจ้าหนี้ได้รับการเฉลี่ยเงินคืนจากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ และได้ปฏิเสธคำอุทธรณ์ของเจ้าหนี้เป็นที่สุดแล้วเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2544 ซึ่งอายุความได้ครบกำหนดไปแล้ว เจ้าหนี้จึงต้องอยู่ในบังคับให้ใช้สิทธิฟ้องคดีเพื่อตั้งหลักฐานสิทธิเรียกร้องหรือเพื่อให้ชำระหนี้ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่กระบวนพิจารณาของ ปรส. สิ้นสุดตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/17 วรรคสอง ประกอบมาตรา 193/18 การที่เจ้าหนี้มิได้ฟ้องคดีและยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในวันที่ 14 มีนาคม 2545 สิทธิเรียกร้องในมูลหนี้ดังกล่าวจึงขาดอายุความ และเมื่อสิทธิเรียกร้องดังกล่าวอันเป็นมูลหนี้ประธานขาดอายุความแล้ว สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายในกรณีสัญญาเลิกกันก่อนกำหนดตามที่ได้กำหนดไว้อันเป็นส่วนอุปกรณ์จึงขาดอายุความไปด้วยตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/26 เจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิได้รับชำระหนี้ตามคำขอรับชำระหนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5484/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการรับชำระหนี้ดอกเบี้ยหุ้นกู้ด้อยสิทธิในคดีล้มละลายภายใต้ข้อจำกัดของกฎหมายเฉพาะ
พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 100 กำหนดให้ดอกเบี้ยภายหลังวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด ไม่ให้ถือว่าเป็นหนี้ที่ขอรับชำระได้แต่ดอกเบี้ยก่อนถึงกำหนดเวลาดังกล่าวเจ้าหนี้มีสิทธิขอรับชำระหนี้หรือไม่ ย่อมเป็นไปตามมูลแห่งหนี้และกฎหมายที่บัญญัติไว้โดยเฉพาะ คดีนี้ได้ความว่าเจ้าหนี้ยื่นความประสงค์ขอรับชำระหนี้หุ้นกู้ด้อยสิทธิต่อคณะกรรมการดำเนินการแทนบริษัทลูกหนี้ ต่อมาคณะกรรมการ ปรส. ได้อนุญาตจัดสรรเงินบางส่วนชดใช้คืนแก่เจ้าหนี้แล้วตามความเห็นของคณะกรรมดำเนินการแทนลูกหนี้ โดยการคำนวณยอดหนี้คงค้างในส่วนของดอกเบี้ยนั้น ปรส. ถือปฏิบัติตาม พ.ร.ก.การปฏิรูประบบสถาบันการเงินฯ มาตรา 5 ว่า นับแต่วันที่ 23 พฤษภาคม 2541 ซึ่งเป็นวันที่ พ.ร.ก. มีผลใช้บังคับ ดอกเบี้ยหรือเงินค่าป่วยการอื่นแทนดอกเบี้ยอันเกิดจากหนี้ที่บริษัทที่ถูกระงับการดำเนินกิจการได้ก่อขึ้นมิให้ถือว่าเป็นหนี้ที่ขอรับชำระหนี้ได้ เจ้าหนี้จึงมีสิทธิได้รับชำระหนี้เพิ่มเติมในคดีล้มละลายซึ่งเป็นกระบวนการขอรับชำระหนี้ต่อเนื่องมาจากการได้รับเงินส่วนเฉลี่ยหนี้คืนจาก ปรส. เพียงเท่าจำนวนหนี้ดอกเบี้ยหุ้นกู้ค้างชำระก่อนวันที่ พ.ร.ก.การปฏิรูประบบสถาบันการเงินฯ มีผลใช้บังคับเท่านั้น ที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ในส่วนดอกเบี้ยหุ้นกู้ด้อยสิทธิถึงวันที่ 22 พฤษภาคม 2541 จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5391/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องในคดีล้มละลาย: การมอบหมายผู้รับชำระหนี้เดิมและการเข้าสวมสิทธิเรียกร้องโดยชอบ
บริษัทบริหารสินทรัพย์โจทก์มอบหมายให้ธนาคาร ก. ผู้รับชำระหนึ้เดิมเป็นผู้เรียกเก็บเงินและรับชำระหนี้ จึงเป็นการที่โจทก์ได้มอบหมายให้ผู้รับชำระหนี้เดิมเป็นตัวแทนในการเรียกเก็บและรับชำระหนี้ที่เกิดขึ้น การโอนสิทธิเรียกร้องดังกล่าวจึงไม่ต้องบอกกล่าวการโอนไปยังจำเลยทั้งสองตาม พ.ร.ก.บริษัทบริหารสินทรัพย์ฯ มาตรา 9 วรรคหนึ่ง ดังนั้น แม้ว่าธนาคาร ก. หรือโจทก์จะไม่ได้มีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยทั้งสองทราบตาม ป.พ.พ. มาตรา 306 การโอนสิทธิเรียกร้องนี้ก็ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์จึงมีสิทธิเข้าสวมสิทธิในฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในคดีแพ่งในอันที่จะบังคับชำระหนี้แก่จำเลยต่อไปตาม พ.ร.ก.บริษัทบริหารสินทรัพย์ฯ มาตรา 7
ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้แก่โจทก์เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2536 โดยให้ชำระเงินจำนวน 1,951,461.86 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 16 ต่อปี และชำระให้เสร็จสิ้นภายใน 6 เดือน นับแต่วันทำสัญญาประนีประนอมยอมความ สิทธิของโจทก์จะบังคับคดีกับจำเลยได้จะต้องล่วงเลยระยะเวลา 6 เดือน นับแต่วันที่ทำสัญญาประนีประนอมยอมความก่อน ดังนั้น สิทธิของโจทก์จึงเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 23 มิถุนายน 2537 เมื่อโจทก์คดีนี้นำมูลหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวมาฟ้องจำเลยทั้งสองให้ล้มละลายในวันที่ 31 พฤษภาคม 2547 สิทธิในการบังคับคดีตามคำพิพากษาตามยอมจึงไม่สิ้นระยะเวลาบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 โจทก์จึงมีสิทธินำหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวมาฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีล้มละลายได้
การที่โจทก์ได้นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์ของจำเลยที่ 1 ตามหมายบังคับคดีและได้ขายทอดตลาดทรัพย์แล้ว แต่ยังมีหนี้ที่ค้างชำระโจทก์อยู่อีก กรณีจึงเข้าข้อสันนิษฐานว่าจำเลยที่ 1 มีหนี้สินล้นพ้นตัวตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 8 (5) โดยโจทก์มิต้องอ้างข้อสันนิษฐานตามมาตรา 8 (9) ดังที่จำเลยอุทธรณ์แต่อย่างใดอีก ทั้งในการขอให้ล้มละลายโจทก์จะอ้างข้อสันนิษฐานใดอนุมาตราใดมาตราหนึ่งของมาตรา 8 ก็ได้ และในการฟ้องให้ล้มละลายก็ไม่จำเป็นต้องมีการทวงถามให้ลูกหนี้ชำระหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 8 (9)
ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้แก่โจทก์เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2536 โดยให้ชำระเงินจำนวน 1,951,461.86 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 16 ต่อปี และชำระให้เสร็จสิ้นภายใน 6 เดือน นับแต่วันทำสัญญาประนีประนอมยอมความ สิทธิของโจทก์จะบังคับคดีกับจำเลยได้จะต้องล่วงเลยระยะเวลา 6 เดือน นับแต่วันที่ทำสัญญาประนีประนอมยอมความก่อน ดังนั้น สิทธิของโจทก์จึงเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 23 มิถุนายน 2537 เมื่อโจทก์คดีนี้นำมูลหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวมาฟ้องจำเลยทั้งสองให้ล้มละลายในวันที่ 31 พฤษภาคม 2547 สิทธิในการบังคับคดีตามคำพิพากษาตามยอมจึงไม่สิ้นระยะเวลาบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 โจทก์จึงมีสิทธินำหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวมาฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีล้มละลายได้
การที่โจทก์ได้นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์ของจำเลยที่ 1 ตามหมายบังคับคดีและได้ขายทอดตลาดทรัพย์แล้ว แต่ยังมีหนี้ที่ค้างชำระโจทก์อยู่อีก กรณีจึงเข้าข้อสันนิษฐานว่าจำเลยที่ 1 มีหนี้สินล้นพ้นตัวตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 8 (5) โดยโจทก์มิต้องอ้างข้อสันนิษฐานตามมาตรา 8 (9) ดังที่จำเลยอุทธรณ์แต่อย่างใดอีก ทั้งในการขอให้ล้มละลายโจทก์จะอ้างข้อสันนิษฐานใดอนุมาตราใดมาตราหนึ่งของมาตรา 8 ก็ได้ และในการฟ้องให้ล้มละลายก็ไม่จำเป็นต้องมีการทวงถามให้ลูกหนี้ชำระหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 8 (9)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5300/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องจัดการทรัพย์มรดกของลูกหนี้ที่ถึงแก่ความตายตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย แม้ไม่มีทรัพย์สินเพียงพอชำระหนี้
ลูกหนี้ที่เป็นหนี้โจทก์ตามคำพิพากษา อันเป็นหนี้ที่อาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอน เป็นจำนวนไม่น้อยกว่า 1,000,000 บาท และไม่มีทรัพย์สินใดที่จะพึงยึดมาชำระหนี้ได้ เป็นกรณีที่โจทก์อาจฟ้องลูกหนี้ให้ล้มละลายได้ถ้าลูกหนี้ยังมีชีวิตอยู่ เมื่อลูกหนี้ถึงแก่ความตายแล้ว ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้จัดการทรัพย์มรดกของลูกหนี้จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5166/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือทวงหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 90/39 ถือเป็นหนี้เด็ดขาด หากผู้ถูกทวงหนี้ไม่ปฏิเสธตามกำหนด
หนังสือทวงหนี้ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่มีไปถึงผู้ร้องได้ระบุว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทวงหนี้โดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 90/39 และระบุจำนวนหนี้ที่ผู้ร้องจะต้องชำระแก่ผู้บริหารแผนตามสัญญาเช่าซื้อที่ผู้ร้องทำกับลูกหนี้ว่าหนี้ที่ต้องชำระเป็นหนี้อะไร จำนวนเท่าใด และจะต้องชำระแก่ผู้บริหารแผนของลูกหนี้ภายในระยะเวลาใดอย่างชัดแจ้ง ทั้งยังแจ้งด้วยว่าหากผู้ร้องจะปฏิเสธหนี้ให้แสดงเหตุผลประกอบข้อปฏิเสธไปยังเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในกำหนดเวลา 14 วัน นับแต่วันรับหนังสือ มิฉะนั้นถือว่าเป็นหนี้ลูกหนี้ตามที่แจ้งไปเป็นการเด็ดขาดนั้น จึงเป็นการแจ้งตามบทบัญญัติมาตรา 90/39 วรรคหนึ่ง และวรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลายฯ แล้ว ผู้ร้องจะอ้างว่าเข้าใจว่าหนังสือทวงหนี้ดังกล่าวเป็นหนังสือทวงหนี้ทั่ว ๆ ไป และไม่เข้าใจบทบัญญัติมาตรา 90/39 ดังกล่าวหาได้ไม่ ดังนั้น เมื่อผู้ร้องมิได้ปฏิเสธหนี้ไปยังเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายใน 14 วัน นับแต่วันรับหนังสือ หนี้ตามจำนวนที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แจ้งไปจึงเป็นหนี้เด็ดขาดตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 90/39 วรรคสอง ผู้ร้องจึงไม่อาจยื่นคำร้องต่อศาลล้มละลายกลางให้ไต่สวนคำร้องของผู้ร้องเพื่อพิจารณายอดหนี้ที่เป็นหนี้ลูกหนี้ใหม่ได้
ป.วิ.พ. มาตรา 292 (2) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลายฯ มาตรา 14 เป็นกฎหมายที่ให้อำนาจศาลล้มละลายกลางที่จะใช้ดุลพินิจพิจารณาเหตุผลตามรูปคดีว่ามีเหตุสมควรที่จะงดการบังคับคดีไว้หรือไม่ เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลล้มละลายกลางไต่สวนคำร้องของผู้ร้องเพื่อพิจารณายอดหนี้ที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีหนังสือทวงหนี้ไปยังผู้ร้องใหม่และขอให้งดการบังคับคดีไว้ อันเป็นการของดการบังคับคดีไว้ก่อนในระหว่างไต่สวนคำร้องของผู้ร้องดังกล่าวโดยมิได้อ้างเหตุอันสมควรประการอื่นเพื่อให้ศาลล้มละลายกลางได้พิจารณาว่ามีเหตุสมควรที่จะงดการบังคับคดีไว้หรือไม่ จึงเป็นคำร้องที่มิชอบที่ศาลล้มละลายกลางจะรับไว้พิจารณา
ป.วิ.พ. มาตรา 292 (2) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลายฯ มาตรา 14 เป็นกฎหมายที่ให้อำนาจศาลล้มละลายกลางที่จะใช้ดุลพินิจพิจารณาเหตุผลตามรูปคดีว่ามีเหตุสมควรที่จะงดการบังคับคดีไว้หรือไม่ เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลล้มละลายกลางไต่สวนคำร้องของผู้ร้องเพื่อพิจารณายอดหนี้ที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีหนังสือทวงหนี้ไปยังผู้ร้องใหม่และขอให้งดการบังคับคดีไว้ อันเป็นการของดการบังคับคดีไว้ก่อนในระหว่างไต่สวนคำร้องของผู้ร้องดังกล่าวโดยมิได้อ้างเหตุอันสมควรประการอื่นเพื่อให้ศาลล้มละลายกลางได้พิจารณาว่ามีเหตุสมควรที่จะงดการบังคับคดีไว้หรือไม่ จึงเป็นคำร้องที่มิชอบที่ศาลล้มละลายกลางจะรับไว้พิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5032-5080/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการรับชำระหนี้ค่าจ้างในคดีล้มละลาย: การแบ่งประเภทหนี้บุริมสิทธิและข้อจำกัดวงเงิน
หนี้ค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด ค่าล่วงเวลาในวันหยุด ค่าชดเชย ค่าชดเชยพิเศษ และเงินอื่นใดที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับเพื่อการงานที่ได้ทำให้ นับถอยหลังขึ้นไปสี่เดือนแต่รวมกันแล้วต้องไม่เกินหนึ่งแสนบาทต่อลูกจ้างคนหนึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 257 อยู่ในฐานะหนี้บุริมสิทธิตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 130 (6) ส่วนดอกเบี้ยหรือเงินที่เกินหนึ่งแสนบาท เจ้าหนี้จะต้องได้รับชำระหนี้ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 130 (7)
การที่เจ้าหนี้ได้นำหนี้สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าจ้างค้างจ่าย ค่าชดเชยและค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีนั้นไปฟ้องเป็นคดีแรงงาน จนกระทั่งศาลแรงงานกลาง (สมุทรปราการ) มีคำพิพากษา ถือว่าเป็นการรับรองสิทธิของเจ้าหนี้ที่มีอยู่ต่อลูกหนี้อีกชั้นหนึ่งและทำให้เจ้าหนี้มีสิทธิในการบังคับคดีตามคำพิพากษาคดีส่วนแพ่ง เมื่อศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด และเจ้าหนี้ได้นำมูลหนี้อันเกิดจากการเลิกจ้างซึ่งมีคำพิพากษารับรองแล้วมายื่นคำขอรับชำระหนี้ก็หาทำให้บุริมสิทธิที่เจ้าหนี้มีอยู่ก่อนแล้วเปลี่ยนแปลงไปแต่อย่างใดไม่
การที่เจ้าหนี้ได้นำหนี้สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าจ้างค้างจ่าย ค่าชดเชยและค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีนั้นไปฟ้องเป็นคดีแรงงาน จนกระทั่งศาลแรงงานกลาง (สมุทรปราการ) มีคำพิพากษา ถือว่าเป็นการรับรองสิทธิของเจ้าหนี้ที่มีอยู่ต่อลูกหนี้อีกชั้นหนึ่งและทำให้เจ้าหนี้มีสิทธิในการบังคับคดีตามคำพิพากษาคดีส่วนแพ่ง เมื่อศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด และเจ้าหนี้ได้นำมูลหนี้อันเกิดจากการเลิกจ้างซึ่งมีคำพิพากษารับรองแล้วมายื่นคำขอรับชำระหนี้ก็หาทำให้บุริมสิทธิที่เจ้าหนี้มีอยู่ก่อนแล้วเปลี่ยนแปลงไปแต่อย่างใดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4729/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลต้องสั่งค่าฤชาธรรมเนียมเมื่อจำหน่ายคดีออกจากสารบบความเนื่องจากจำเลยล้มละลาย แม้โจทก์ขอถอนฟ้อง
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีโจทก์ออกจากสารบบความเนื่องจากจำเลยถูกศาลล้มละลายกลางสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด แต่ศาลชั้นต้นมิได้สั่งเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมจึงเป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 167 วรรคหนึ่ง ที่บัญญัติให้ศาลมีคำสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมด้วย และบทบัญญัติดังกล่าวมีเจตนารมณ์ให้อยู่ในดุลพินิจของศาลที่จะมีคำสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียม เมื่อพิจารณาถึงเหตุที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความเนื่องจากจำเลยถูกศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด และภาระที่โจทก์จะต้องเสียค่าธรรมเนียมในการยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 179 ศาลฎีกาจึงคืนค่าขึ้นศาลทั้งหมดในศาลชั้นต้นให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 472/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าธรรมเนียมประนอมหนี้ล้มละลาย: การคำนวณจากหนี้ร่วมและหนี้เดี่ยวของลูกหนี้
ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้เจ้าหนี้รายที่ 1 ได้รับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 เป็นเงิน 2,497,810.80 บาท โดยให้ได้รับชำระหนี้ไม่เกิน 1,110,852.57 บาท จากกองทรัพย์สินของจำเลยที่ 6 อย่างลูกหนี้ร่วมกัน ซึ่งหมายความว่าหนี้ที่จำเลยที่ 6 ต้องรับผิดต่อเจ้าหนี้รายที่ 1 ก็รวมอยู่ในจำนวน 2,497,810.80 บาท ที่จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดนั่นเอง เพียงแต่จำเลยที่ 6 ต้องร่วมรับผิดเพียง 1,110,852.57 บาท เท่านั้น จำนวนเงินที่จำเลยที่ 1 และที่ 6 ขอประนอมหนี้ในส่วนของเจ้าหนี้รายที่ 1 จึงเป็นจำนวนเดียวกัน การที่จำเลยที่ 1 และที่ 6 ขอประนอมหนี้เป็นจำนวนร้อยละ 60 และ 50 ตามลำดับของจำนวนหนี้ที่ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ เป็นเรื่องที่จำเลยแต่ละคนจะต้องรับผิดชำระหนี้ในส่วนที่ตนขอประนอมหนี้เท่านั้น มิได้ทำให้เจ้าหนี้ส่วนของเจ้าหนี้รายที่ 1 ที่จำเลยที่ 1 และที่ 6 ขอประนอมหนี้กลายเป็นหนี้คนละจำนวนกันแต่อย่างใด การคิดค่าธรรมเนียมประนอมหนี้ในส่วนจำนวนหนี้ของเจ้าหนี้รายที่ 1 ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 179 (เดิม) ซึ่งบัญญัติให้คิดค่าธรรมเนียมในอัตราร้อยละ 5 ของจำนวนเงินที่ประนอมหนี้ จึงต้องคิดในอัตราร้อยละ 5 ของจำนวนเงินที่จำเลยที่ 1 ขอประนอมหนี้ ร้อยละ 60 ของจำนวนหนี้ที่ศาลอนุญาตให้เจ้าหนี้รายที่ 1 ได้รับชำระหนี้ จากกองทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 เท่านั้น มิใช่คิดค่าธรรมเนียมการประนอมหนี้จากจำนวนเงินที่จำเลยที่ 6 ขอประนอมหนี้ในส่วนที่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ต่อเจ้าหนี้รายที่ 1 อีกด้วย