คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
วิธีพิจารณาความแพ่ง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 120 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3377/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งสำเนาอุทธรณ์แก่จำเลยร่วมและการปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
จำเลยที่ 1 ที่ 2 ขอให้ศาลชั้นต้นเรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดีตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(3) จำเลยร่วมให้การว่าจำเลยทั้งสองไม่ได้เป็นผู้เอาประกันภัยรถยนต์คันเกิดเหตุกับจำเลยร่วม จำเลยร่วมรับประกันภัยค้ำจุนจำเลยที่ 3 เท่านั้น เมื่อจำเลยที่ 3 ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ จำเลยร่วมก็ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ด้วย คำให้การของจำเลยร่วมเป็นปรปักษ์ทั้งต่อโจทก์และจำเลยที่ 1 ที่ 2 เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ที่ 2ใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์และให้จำเลยร่วมรับผิดต่อโจทก์ด้วย จำเลยร่วมก็ได้อุทธรณ์ว่าไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ ในชั้นอุทธรณ์คดีจึงมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยความรับผิดของจำเลยร่วม จำเลยที่ 2 ก็ต้องถือว่าเป็นจำเลยอุทธรณ์ด้วย การที่ศาลชั้นต้นสั่งให้ส่งสำเนาอุทธรณ์ของจำเลยร่วมเฉพาะโจทก์ ไม่ส่งแก่จำเลยที่ 2ด้วย จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 235ศาลอุทธรณ์พิพากษาคดีไปโดยมิได้สั่งให้ศาลชั้นต้นแก้ไขให้ถูกต้อง ถือว่าศาลอุทธรณ์มิได้ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยการพิจารณา ศาลฎีกาต้องยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ตามมาตรา 247 ประกอบด้วย มาตรา 243(2) และการส่งสำเนาอุทธรณ์จะต้องปฏิบัติตามมาตรา 229 แม้จำเลยที่ 1 จะมิได้ฎีกาในปัญหานี้ขึ้นมา ก็ชอบที่ศาลชั้นต้นจะต้องปฏิบัติให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 323/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งสำเนาคำอุทธรณ์ให้คู่ความที่ไม่ใช่จำเลยอุทธรณ์ เป็นเหตุให้ศาลอุทธรณ์ไม่ปฏิบัติตามวิธีพิจารณาความแพ่ง
ผู้ร้องที่ 3 ที่ 4 ยื่นคำร้องขอให้ถอนผู้จัดการมรดกแล้วผู้ร้องที่ 3 ที่ 4 ได้ยื่นคำร้องขอถอนคำร้องนั้น ศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตและพิจารณาต่อมาเฉพาะคดีเกี่ยวกับผู้จัดการมรดกยื่นคำร้องขอถอนตัวจากการเป็นผู้จัดการมรดก ซึ่งผู้รองที่ 1ที่ 2 ยื่นคำแถลงคัดค้าน ผู้ร้องที่ 3 ที่ 4 ซึ่งมิได้เป็นผู้คัดค้านจึงมิใช่คู่ความในคดีเกี่ยวกับคำร้องนี้เมื่อผู้ร้องที่ 1 ที่ 2 อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้ผู้จัดการมรดกลาออกจากตำแหน่งได้ผู้ร้องที่ 3 ที่ 4 จึงมิใช่จำเลยอุทธรณ์ แต่ผู้จัดการมรดกเท่านั้นที่เป็นจำเลยอุทธรณ์ ดังนั้นการที่ศาลชั้นต้นสั่งให้ส่งสำเนาอุทธรณ์ของผู้ร้องแก่ผู้ร้องที่ 3 ที่ 4 โดยมิได้ส่งสำเนาอุทธรณ์ให้ผู้จัดการมรดก และศาลอุทธรณ์พิพากษาคดีมาโดยมิได้สั่งให้ศาลชั้นต้นดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้องเสียก่อนนั้น จึงเป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ว่าด้วยการพิจารณา ตามมาตรา 247ประกอบด้วยมาตรา 243(2) ศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้ศาลชั้นต้นส่งสำเนาอุทธรณ์ให้ผู้จัดการมรดกแล้วส่งสำนวนให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่ตามรูปคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2785/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์ที่ซับซ้อน: ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยฎีกาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
โจทก์ที่ 1 ที่ 2 ฟ้องให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ร่วมกันคืนรถยนต์พิพาทให้แก่โจทก์ ผู้ร้องสอดยื่นคำร้องสอดว่ารถยนต์พิพาทเป็นของผู้ร้องสอด ขอให้จำเลยทั้งสามคืนให้แก่ผู้ร้องสอด ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 คืนรถยนต์พิพาทให้แก่โจทก์ที่ 2ผู้ร้องสอดอุทธรณ์ว่าเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รถยนต์พิพาท ขอให้บังคับจำเลยทั้งสามคืนหรือใช้ราคารถยนต์พิพาทให้แก่ผู้ร้องสอด ดังนี้ คดีระหว่างผู้ร้องสอดกับจำเลยที่ 1ที่ 2 จึงยังไม่ยุติ
ที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 ฎีกาว่า ไม่เห็นด้วยกับที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ร่วมกันคืนรถยนต์พิพาทให้แก่ผู้ร้องสอด เพราะเมื่อจำเลยคืนรถยนต์พิพาทให้แก่โจทก์ที่ 2 ไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้วจำเลยก็ไม่มีรถที่จะคืนให้ผู้ร้องสอดได้อีก ผู้ร้องสอด ชอบที่จะไปบังคับเอารถยนต์พิพาทคืนจากโจทก์ที่ 2 นั้นมิใช่เป็นการคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่าไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายอย่างไร จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3580/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังข้อเท็จจริงเรื่องทายาทนอกประเด็นข้อพิพาท ศาลต้องไม่รับฟังตามหลักวิธีพิจารณาความแพ่ง
จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ว่าจำเลยไม่ใช่ทายาทผู้ตายข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยเป็นทายาทของผู้ตายหรือไม่ เป็นข้อเท็จจริงที่ปรากฏขึ้นมาจากคำพยานในทางนำสืบ ซึ่งเป็นเรื่องนอกข้อต่อสู้ในคำให้การและนอกประเด็นข้อพิพาทที่ศาลกำหนดไว้ จึงเป็นข้อเท็จจริงที่ได้มาโดยไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณาต้องห้ามตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87 ศาลจะรับฟังมาวินิจฉัยเป็นข้อกฎหมายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2585/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องร้องซ้ำในคดีเลือกตั้งกรรมการสมาคม และการขาดอายุความตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
ผู้ร้องทั้งสี่เคยร่วมกับพวกอีกสองคนยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นว่า ส.นายกสภากรรมการจัดการสมาคมชุดที่ 17 ได้ดำเนินการเลือกตั้งสภากรรมการจัดการสมาคมชุดที่ 18 ไปโดยไม่ชอบ ขอให้ศาลมีคำสั่งว่าคณะกรรมการดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมายและข้อบังคับของสมาคมให้เพิกถอนคณะกรรมการชุดนี้ออกจากตำแหน่ง และให้ดำเนินการเลือกตั้งคณะกรรมการสมาคมใหม่โดยเร็ว ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า กรรมการชุดที่ 18 ขอจดทะเบียนอยู่ กองบังคับการตำรวจสันติบาลให้รอการจดทะเบียนไว้ก่อนจนกว่าคดีจะถึงที่สุด เมื่อกรรมการชุดใหม่ยังไม่ได้จดทะเบียนก็ไม่จำต้องสั่งให้ออกจากตำแหน่ง และศาลก็ไม่มีหน้าที่สั่งให้ดำเนินการเลือกตั้งกรรมการชุดใหม่จึงมีคำสั่งไม่รับคำร้องของผู้ร้องทั้งสี่กับพวกคดีถึงที่สุด ต่อมาผู้ร้องทั้งสี่ได้ยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นเป็นคดีนี้อีกโดยบรรยายข้อเท็จจริงในคำร้องคดีนี้ทำนองเดียวกับข้อเท็จจริงที่บรรยายในคำร้องคดีก่อนเพียงแต่มีคำขอท้ายคำร้องเพี้ยนไปจากเดิมบ้างเล็กน้อย ย่อมเห็นได้ชัดว่าผู้ร้องทั้งสี่มาร้องเป็นคดีนี้อีกด้วยเหตุอย่างเดียวกันและคำขอทำนองเดียวกัน จึงเป็นการร้องซ้ำต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2447/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำสืบพยานนอกสัญญาเช่าซื้อเพื่อพิสูจน์ข้อตกลงเพิ่มเติมเกี่ยวกับหน้าที่ติดตั้งอุปกรณ์เสริมไม่ขัดต่อกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
แม้ในสัญญาเช่าซื้อเครื่องปรับอากาศมิได้ระบุว่าผู้ขายมีหน้าที่ต้องติดตั้งพัดลมดูดอากาศให้แก่ผู้ซื้อด้วย การที่ผู้ซื้อจะนำสืบพยานบุคคลและพยานหลักฐานอื่นอธิบายให้เห็นว่าข้อตกลงในการติดตั้งเครื่องปรับอากาศ ตามสัญญาเช่าซื้อได้รวมถึงการที่ผู้ขายจะต้องทำการติดตั้งพัดลมดูดอากาศให้ด้วย หาใช่เป็นการนำสืบพยานบุคคลเพิ่มเติมจากสัญญาเช่าซื้ออันเป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94 ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2402/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าเดิมมีผลผูกพันสัญญาใหม่ที่ไม่มีกำหนดเวลา การเปลี่ยนแปลงข้อสัญญาต้องห้ามตามวิธีพิจารณาความแพ่ง
สัญญาเช่าที่ดินระหว่างผู้ให้เช่ากับผู้เช่าระบุไว้ว่า ผู้เช่าเช่าที่ดินเพื่อปลูกบ้านเรือนอาศัยมีกำหนดหนึ่งปี เมื่อครบกำหนดสัญญาเช่าแล้วผู้เช่ายอมให้ถือว่าสัญญาเช่าระงับสิ้นสุดลง ครั้นสิ้นกำหนดเวลาเช่าแล้วผู้ให้เช่าตกลงให้ผู้เช่าเช่าต่อไปอีกหนึ่งปีโดยให้ถือสัญญาเดิม จากนั้นก็ไม่ได้ทำสัญญาเช่าต่อกันอีก การที่ผู้เช่ายังคงครองที่ดินต่อมาโดยผู้ให้เช่าไม่ทักท้วง ถือว่าคู่สัญญาได้ทำสัญญาใหม่ต่อไปไม่มีกำหนดเวลาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 570 ซึ่งข้อตกลงอื่นของสัญญาใหม่ย่อมต้องเป็นไปตามสัญญาเช่าเดิม การที่จำเลยจะนำพยานบุคคลมาสืบว่าผู้ให้เช่าตกลงให้ผู้เช่าอยู่ในที่ดินที่ เช่าไปจนตลอดชีวิตอันเป็นสัญญาต่างตอบแทน ยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา จึงเป็นการขอสืบเพื่อเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในสัญญาเช่า ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1532/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโต้แย้งคำสั่งศาลที่อนุญาตให้ระบุพยานเพิ่มเติมหลังสืบพยานเสร็จสิ้น และผลของการไม่โต้แย้งคำสั่งระหว่างพิจารณา
เมื่อจำเลยยื่นคำร้องขอระบุพยานเพิ่มเติม ศาลชั้นต้นสั่งว่าสำเนาให้โจทก์สั่งในรายงาน และตามรายงานกระบวนพิจารณาศาลชั้นต้นจดว่า "ทนายโจทก์ได้รับสำเนาคำร้องแล้วแถลงคัดค้านว่า จำเลยยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติม เมื่อโจทก์สืบพยานของโจทก์เสร็จสิ้นไปแล้วเป็นการไม่ชอบ ศาลไม่ควรรับ.... พิเคราะห์แล้วอนุญาตให้จำเลยยื่นระบุพยานเพิ่มเติมได้ตามขอ' คำแถลงของโจทก์เช่นนี้เป็นการแถลงคัดค้านคำร้องของจำเลยที่ขอระบุพยานเพิ่มเติม เพื่อประกอบดุลพินิจในการที่ศาลจะมีคำสั่งคำร้องดังกล่าวต่อไปเท่านั้น ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการโต้แย้งคำสั่งระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น ที่อนุญาตให้จำเลยระบุพยานเพิ่มเติม เมื่อโจทก์ไม่ได้โต้แย้งคำสั่งดังกล่าวไว้ จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3092/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำร้องขอคุ้มครองประโยชน์ชั่วคราวต้องมีคำขอที่ชัดเจนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 254
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากตึกแถวของโจทก์ จำเลยให้การและฟ้องแย้งให้โจทก์โอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินและตึกแถวพิพาทให้จำเลยและรับเงินค่าที่ดินและตึกแถวพิพาทจากจำเลยระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น จำเลยยื่นคำร้องขอคุ้มครองประโยชน์ชั่วคราวอ้างว่าหลังจากโจทก์ฟ้องแล้วโจทก์ได้กระทำละเมิดสิทธิและประโยชน์ของจำเลย โดยตัดท่อน้ำบาดาลไม่ให้มีการจ่ายน้ำบริโภคมายังตึกแถวพิพาทที่จำเลยอยู่อาศัยจำเลยในฐานะผู้เช่าไม่สามารถร้องขอให้การประปานครหลวงเดินท่อส่งน้ำให้ได้ เพราะโจทก์ไม่ยอมให้วางท่อผ่านที่ดินของโจทก์ ขอให้ศาลสั่งให้โจทก์ต่อท่อและจ่ายน้ำบริโภคให้ตึกแถวพิพาทโดยใช้น้ำบาดาลของโจทก์เช่นเดิม หรือให้โจทก์ดำเนินการยื่นคำร้องต่อการประปานครหลวงเพื่อติดตั้งประปาให้จำเลย คำร้องของจำเลยดังกล่าวหาได้ร้องขอให้ศาลสั่งการอย่างใดอย่างหนึ่งดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 254 ไม่ฉะนั้น จึงยกเอามาตรา 254 มาปรับสั่งให้เป็นประโยชน์แก่คดีของจำเลยตามที่จำเลยร้องขอไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 194/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การเพื่อยกข้อต่อสู้ใหม่ก่อนวันชี้สองสถาน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
จำเลยยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การก่อนวันชี้สองสถานโดยยกข้อต่อสู้ขึ้นใหม่อีกว่าจำเลยเปลี่ยนลักษณะการยึดถือที่พิพาทแล้ว จำเลยทำได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 179(3),180
of 12