พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3,640 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4702/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาต้องกระทำต่อหน้าศาล การบันทึกข้อมูลไม่ใช่การฟ้องคดี
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 19 บัญญัติให้โจทก์อาจฟ้องด้วยวาจาหรือเป็นหนังสือก็ได้ หากจะฟ้องด้วยวาจาตามวรรคสองของบทบัญญัติดังกล่าวกำหนดให้โจทก์ต้องแจ้งต่อศาลถึงชื่อโจทก์ ชื่อ ที่อยู่ และสัญชาติของจำเลย ฐานความผิด การกระทำที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำความผิด ข้อเท็จจริงและรายละเอียดเกี่ยวกับเวลา สถานที่ และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องพอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี และมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดซึ่งศาลจะบันทึกใจความไว้เป็นหลักฐานและให้คู่ความลงชื่อไว้ วิธีปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกล่าวโจทก์จึงต้องมาศาลกล่าวฟ้องจำเลยต่อศาลด้วยวาจาให้ได้สาระดังกล่าว
บันทึกการฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาที่พนักงานธุรการของโจทก์นำมาเสนอต่อศาลชั้นต้น ซึ่งเจ้าหน้าที่ของศาลได้ประทับตราพนักงานรับฟ้องไว้โดยสภาพบันทึกดังกล่าวไม่ใช่การฟ้องคดีอาญาต่อศาลด้วยวาจา แต่เป็นเอกสารที่เป็นหลักฐานเพื่อจะฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาด้วยวาจาและเป็นความสะดวกที่ศาลจะบันทึกการฟ้องด้วยวาจาลงในแบบพิมพ์ของศาลได้รวดเร็วขึ้นเท่านั้น
ในวันที่โจทก์ฟ้องด้วยวาจาโจทก์ไม่ได้มาศาล จึงไม่อาจมีการฟ้องคดีด้วยวาจาได้ ศาลจึงไม่อาจพิจารณาพิพากษาลงโทษจำเลยได้ พิพากษายกฟ้องก็ไม่ได้เพราะยังไม่มีฟ้อง ข้อความที่ระบุในเอกสารบันทึกการฟ้อง คำรับสารภาพ คำพิพากษาตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแขวงมาตรา 20 ว่า ศาลจึงพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามฟ้อง ริบของกลาง ให้จำเลยจ่ายสินบนนำจับกึ่งหนึ่งของค่าปรับจำเลยให้การรับสารภาพลดโทษให้กึ่งหนึ่ง ซึ่งปรากฏอยู่ก่อนข้อความที่ศาลบันทึกว่า ศาลออกนั่งพิจารณา เวลา 16.35 นาฬิกา นั้น เป็นข้อความของแบบพิมพ์ซึ่งศาลลืมขีดฆ่าออกเท่านั้น ส่วนที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องก็ไม่ถูกต้อง ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาแก้เป็นว่าให้จำหน่ายคดีจากสารบบความจึงชอบแล้ว
บันทึกการฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาที่พนักงานธุรการของโจทก์นำมาเสนอต่อศาลชั้นต้น ซึ่งเจ้าหน้าที่ของศาลได้ประทับตราพนักงานรับฟ้องไว้โดยสภาพบันทึกดังกล่าวไม่ใช่การฟ้องคดีอาญาต่อศาลด้วยวาจา แต่เป็นเอกสารที่เป็นหลักฐานเพื่อจะฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาด้วยวาจาและเป็นความสะดวกที่ศาลจะบันทึกการฟ้องด้วยวาจาลงในแบบพิมพ์ของศาลได้รวดเร็วขึ้นเท่านั้น
ในวันที่โจทก์ฟ้องด้วยวาจาโจทก์ไม่ได้มาศาล จึงไม่อาจมีการฟ้องคดีด้วยวาจาได้ ศาลจึงไม่อาจพิจารณาพิพากษาลงโทษจำเลยได้ พิพากษายกฟ้องก็ไม่ได้เพราะยังไม่มีฟ้อง ข้อความที่ระบุในเอกสารบันทึกการฟ้อง คำรับสารภาพ คำพิพากษาตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแขวงมาตรา 20 ว่า ศาลจึงพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามฟ้อง ริบของกลาง ให้จำเลยจ่ายสินบนนำจับกึ่งหนึ่งของค่าปรับจำเลยให้การรับสารภาพลดโทษให้กึ่งหนึ่ง ซึ่งปรากฏอยู่ก่อนข้อความที่ศาลบันทึกว่า ศาลออกนั่งพิจารณา เวลา 16.35 นาฬิกา นั้น เป็นข้อความของแบบพิมพ์ซึ่งศาลลืมขีดฆ่าออกเท่านั้น ส่วนที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องก็ไม่ถูกต้อง ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาแก้เป็นว่าให้จำหน่ายคดีจากสารบบความจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4702/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาต้องกระทำต่อหน้าศาล การยื่นเอกสารไม่ใช่การฟ้อง
ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 19 บัญญัติให้โจทก์อาจฟ้องด้วยวาจาหรือเป็นหนังสือก็ได้ หากจะฟ้องด้วยวาจาตามวรรคสองของบทบัญญัติดังกล่าวให้โจทก์ต้องแจ้งต่อศาลถึงชื่อโจทก์ ชื่อที่อยู่ และสัญชาติของจำเลย ฐานความผิด การกระทำที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำความผิด ข้อเท็จจริง และรายละเอียดเกี่ยวกับเวลา สถานที่ และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องพอสมควรเท่าที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี และมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิด ซึ่งศาลจะบันทึกใจความไว้เป็นหลักฐานและให้คู่ความลงชื่อไว้ วิธีปฏิบัติดังกล่าวโจทก์จึงต้องมาศาล กล่าวฟ้องจำเลยต่อศาลด้วยวาจาให้ได้สาระดังกล่าว
การนำบันทึกการฟ้องคดีอาญาด้วยวาจามาเสนอต่อศาลชั้นต้น ซึ่งเจ้าหน้าที่ของศาลได้ประทับตราพนักงานรับฟ้องไว้ โดยสภาพบันทึกดังกล่าวจึงไม่ใช่การฟ้องคดีอาญาต่อศาลด้วยวาจา แต่เป็นเอกสารที่เป็นหลักฐานเพื่อจะฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาด้วยวาจา และเป็นความสะดวกที่ศาลจะบันทึกการฟ้องด้วยวาจาลงในแบบพิมพ์ของศาลได้รวดเร็วขึ้นเท่านั้น เมื่อโจทก์ไม่มาศาลในวันดังกล่าวจึงไม่อาจมีการฟ้องคดีด้วยวาจาได้ ศาลจึงไม่อาจพิจารณาพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดได้ และจะพิพากษายกฟ้องก็ไม่ได้เพราะยังไม่มีฟ้อง แต่ต้องสั่งจำหน่ายคดีจากสารบบความ
การนำบันทึกการฟ้องคดีอาญาด้วยวาจามาเสนอต่อศาลชั้นต้น ซึ่งเจ้าหน้าที่ของศาลได้ประทับตราพนักงานรับฟ้องไว้ โดยสภาพบันทึกดังกล่าวจึงไม่ใช่การฟ้องคดีอาญาต่อศาลด้วยวาจา แต่เป็นเอกสารที่เป็นหลักฐานเพื่อจะฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาด้วยวาจา และเป็นความสะดวกที่ศาลจะบันทึกการฟ้องด้วยวาจาลงในแบบพิมพ์ของศาลได้รวดเร็วขึ้นเท่านั้น เมื่อโจทก์ไม่มาศาลในวันดังกล่าวจึงไม่อาจมีการฟ้องคดีด้วยวาจาได้ ศาลจึงไม่อาจพิจารณาพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดได้ และจะพิพากษายกฟ้องก็ไม่ได้เพราะยังไม่มีฟ้อง แต่ต้องสั่งจำหน่ายคดีจากสารบบความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 470/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยเกินอัตราที่ตกลงกัน ศาลแก้ไขคำพิพากษาให้ถูกต้องตามกฎหมาย
อุทธรณ์ของโจทก์เป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชัดแจ้งและเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น แต่การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าธนาคารโจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี เพราะเกินกว่าอัตราตามประกาศของโจทก์ กลับพิพากษาให้จำเลยรับผิดชำระเงิน 1,300,031.26 บาท ซึ่งมีดอกเบี้ยจำนวน 300,394.17 บาท ที่ศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยแล้วว่าตกลงเป็นโมฆะรวมอยู่ด้วย จึงเป็นคำพิพากษาที่ไม่ถูกต้องเพราะทำให้จำเลยต้องชำระดอกเบี้ยมากไปกว่าที่ต้องรับผิดตามกฎหมายและเกินคำขอ จึงเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนซึ่งศาลอุทธรณ์ภาค 5 ย่อมมีอำนาจยกขึ้นปรับแก่คดีได้เองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 243 (1) และมาตรา 246
ขณะทำสัญญากู้เงิน ธนาคารโจทก์คิดดอกเบี้ยจากจำเลยซึ่งเป็นลูกค้าเงินกู้รายย่อยระยะยาวในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี เป็นการคิดดอกเบี้ยเกินกว่าอัตราตามประกาศของโจทก์ ซึ่งกำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้เพียงร้อยละ 12.25 ต่อปี ข้อตกลงในส่วนดอกเบี้ยดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะ โจทก์ไม่มีสิทธิบังคับเอาดอกเบี้ยตามสัญญาจากจำเลย ดังนั้น ที่ศาลชั้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์จำนวน 1,300,031.26 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงิน 999,178.09 บาท นับถัดจากวันชำระหนี้ครั้งสุดท้ายจนกว่าจะชำระเสร็จนั้น จึงไม่ถูกต้องเพราะเงินจำนวน 1,300,031.26 บาท ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระแก่โจทก์ดังกล่าวมีดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ที่จำเลยค้างชำระตั้งแต่วันที่ 2 ธันวาคม 2541 ถึงวันฟ้องจำนวน 300,399.17 บาท รวมอยู่ด้วย
โจทก์ไม่มีสิทธิบังคับดอกเบี้ยตามสัญญาเพราะตกเป็นโมฆะแต่เมื่อเป็นหนี้เงินจำเลยจึงต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันผิดนัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคหนึ่ง เมื่อตามสัญญากู้เงินตกลงให้ชำระหนี้เงินกู้และดอกเบี้ยเป็นรายเดือนภายในทุกวันที่ 16 ของเดือน เริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2540 ต่อมาวันที่ 2 ธันวาคม 2541 จำเลยชำระหนี้เงินกู้และดอกเบี้ยให้แก่โจทก์เป็นครั้งสุดท้าย หลังจากนั้นจำเลยมิได้ชำระหนี้ให้แก่โจทก์อีก จำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดนัดนับแต่วันที่ 17 มกราคม 2542 มิใช่ผิดนัดตั้งแต่วันที่ 3 ธันวาคม 2541
ขณะทำสัญญากู้เงิน ธนาคารโจทก์คิดดอกเบี้ยจากจำเลยซึ่งเป็นลูกค้าเงินกู้รายย่อยระยะยาวในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี เป็นการคิดดอกเบี้ยเกินกว่าอัตราตามประกาศของโจทก์ ซึ่งกำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้เพียงร้อยละ 12.25 ต่อปี ข้อตกลงในส่วนดอกเบี้ยดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะ โจทก์ไม่มีสิทธิบังคับเอาดอกเบี้ยตามสัญญาจากจำเลย ดังนั้น ที่ศาลชั้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์จำนวน 1,300,031.26 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงิน 999,178.09 บาท นับถัดจากวันชำระหนี้ครั้งสุดท้ายจนกว่าจะชำระเสร็จนั้น จึงไม่ถูกต้องเพราะเงินจำนวน 1,300,031.26 บาท ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระแก่โจทก์ดังกล่าวมีดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ที่จำเลยค้างชำระตั้งแต่วันที่ 2 ธันวาคม 2541 ถึงวันฟ้องจำนวน 300,399.17 บาท รวมอยู่ด้วย
โจทก์ไม่มีสิทธิบังคับดอกเบี้ยตามสัญญาเพราะตกเป็นโมฆะแต่เมื่อเป็นหนี้เงินจำเลยจึงต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันผิดนัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคหนึ่ง เมื่อตามสัญญากู้เงินตกลงให้ชำระหนี้เงินกู้และดอกเบี้ยเป็นรายเดือนภายในทุกวันที่ 16 ของเดือน เริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2540 ต่อมาวันที่ 2 ธันวาคม 2541 จำเลยชำระหนี้เงินกู้และดอกเบี้ยให้แก่โจทก์เป็นครั้งสุดท้าย หลังจากนั้นจำเลยมิได้ชำระหนี้ให้แก่โจทก์อีก จำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดนัดนับแต่วันที่ 17 มกราคม 2542 มิใช่ผิดนัดตั้งแต่วันที่ 3 ธันวาคม 2541
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4683/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษทางอาญาตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดฯ ศาลต้องลงโทษทั้งจำคุกและปรับเสมอ
พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 100/1 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ที่มีโทษจำคุกและปรับ ให้ศาลลงโทษจำคุกและปรับด้วยเสมอ โดยคำนึงถึงการลงโทษในทางทรัพย์สินเพื่อป้องปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ" ดังนั้น เมื่อความผิดที่จำเลยกระทำในคดีนี้มีระวางโทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 66 วรรคสอง ให้จำคุกและปรับ ศาลจึงต้องจำคุกและปรับจำเลยด้วยเสมอ จะลงโทษจำคุกเพียงอย่างเดียวหาได้ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 465/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเข้าเป็นคู่ความแทนที่จำเลยที่เสียชีวิตระหว่างพิจารณาคดี: บทบาทศาลและคุณสมบัติผู้ร้อง
จำเลยถึงแก่กรรมขณะคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 6 ย่อมเป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์ภาค 6 ที่จะมีคำสั่งเกี่ยวกับการเข้าเป็นคู่ความแทนที่ เมื่อ บ. ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่จำเลย ศาลชั้นต้นจะต้องทำการไต่สวนให้ได้ความว่าผู้ร้องเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของจำเลยจริงหรือไม่ แล้วส่งคำร้องดังกล่าวไปยังศาลอุทธรณ์ภาค 6 เพื่อพิจารณาสั่ง การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่จึงไม่ชอบ ให้ยกคำสั่งของศาลชั้นต้น แต่เนื่องจากคดีนี้ได้ขึ้นสู่การพิจารณาของศาลฎีกาแล้ว จึงเห็นสมควรสั่งคำร้องของผู้ร้องดังกล่าวไปเสียทีเดียวโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 6 สั่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4201/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้อง: หลักฐานความเป็นนิติบุคคลและคำแปลเอกสารสำคัญที่ศาลต้องได้รับ
โจทก์ที่ 1 ยื่นคำฟ้องโดยไม่ได้แนบหลักฐานแสดงความเป็นนิติบุคคลของโจทก์ที่ 1 มาท้ายคำฟ้อง คงแนบมาเฉพาะหนังสือมอบอำนาจของโจทก์ที่ 1 ที่ให้ ท. ฟ้องคดีนี้ทำขึ้นเป็นภาษาอังกฤษโดยไม่มีคำแปลเป็นภาษาไทย จำเลยให้การว่าโจทก์อ้างว่ามีการมอบอำนาจ แต่ไม่บรรยายว่าผู้ใดเป็นกรรมการบรรษัทโจทก์ที่ 1 ซึ่งมีอำนาจกระทำการแทน เป็นฟ้องเคลือบคลุมและเอาเปรียบจำเลย ขอให้ชี้ขาดข้อกฎหมายเบื้องต้นเรื่องอำนาจฟ้อง โจทก์ที่ 1 แก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องโดยส่งหนังสือรับรองบรรษัทโจทก์ที่ 1 และหนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีนี้ของโจทก์ที่ 1 ที่ทำขึ้นเป็นภาษาอังกฤษ แต่ก็มิได้ส่งคำแปลเอกสารทั้งสองฉบับเป็นภาษาไทยซึ่งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งให้โจทก์แปลเอกสารในส่วนที่เกี่ยวข้องกับประเด็นแห่งคดีแล้ว จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ ไม่เป็นไปตามข้อกำหนดคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2540 ข้อ 23 ทำให้จำเลยไม่มีโอกาสบริบูรณ์ในอันที่จะตรวจโต้แย้งพยานเอกสารทั้งสองฉบับนั้น ย่อมเป็นที่เสียหายแก่จำเลยไม่ชอบด้วย พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 46 วรรคสาม พยานหลักฐานของโจทก์ที่ 1 ยังไม่พอให้รับฟังได้ว่า โจทก์ที่ 1 มอบอำนาจให้ ท. ฟ้องคดีนี้ โจทก์ที่ 1 จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4074/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาต้องกระทำต่อหน้าศาล การยื่นเอกสารไม่ใช่การฟ้องคดี
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ มาตรา 19 บัญญัติให้โจทก์อาจฟ้องด้วยวาจาหรือเป็นหนังสือก็ได้ หากจะฟ้องด้วยวาจา โจทก์ต้องแจ้งต่อศาลถึงชื่อ ที่อยู่ และสัญชาติของจำเลย ฐานความผิด การกระทำที่อ้างว่าจำเลยไดกระทำความผิด ข้อเท็จจริง และรายละเอียดเกี่ยวกับเวลา สถานที่และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องพอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี และมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิด ศาลจะบันทึกใจความไว้เป็นหลักฐานและให้คู่ความลงชื่อไว้ ดังนั้น โจทก์จึงต้องมาศาลกล่าวฟ้องจำเลยต่อศาลด้วยวาจาให้ได้สาระตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าว การที่โจทก์ให้พนักงานธุรการนำบันทึกการฟ้องคดีอาญาด้วยวาจามาเสนอต่อศาลชั้นต้น และเจ้าหน้าที่ของศาลได้ประทับตราพนักงานรับฟ้องไว้ โดยสภาพของบันทึกดังกล่าวไม่ใช่การฟ้องคดีอาญาต่อศาลด้วยวาจา แต่เป็นเอกสารที่เป็นหลักฐานเพื่อจะฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาด้วยวาจา และเป็นความสะดวกที่ศาลจะบันทึกการฟ้องด้วยวาจาลงในแบบพิมพ์ของศาลได้รวดเร็วขึ้นเท่านั้น ดังนั้น การที่ในวันดังกล่าวโจทก์ไม่ได้มาศาล จึงไม่อาจฟ้องคดีด้วยวาจาได้ ศาลเองก็ไม่อาจพิจารณาพิพากษาลงโทษหรือพิพากษายกฟ้องจำเลยได้ กรณีต้องจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3978/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำขอบังคับให้ระงับการละเมิดเครื่องหมายการค้าในอนาคต ศาลไม่อาจบังคับได้ตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งห้าละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ โดยมีคำขอให้บังคับจำเลยทั้งห้าระงับหรือละเว้นการปลอมสินค้าหรือปลอมเครื่องหมายการค้าของโจทก์ด้วย ซึ่งคำขอในส่วนนี้หมายถึงการระงับหรือละเว้นการกระทำดังกล่าวหลังจากวันที่โจทก์ฟ้องคดีนี้เป็นต้นไป กรณีจึงเป็นเรื่องการกระทำในอนาคตซึ่งยังมิได้เกิดมีการโต้แย้งสิทธิของโจทก์อยู่ในขณะที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิที่จะฟ้องขอให้ศาลบังคับจำเลยทั้งห้าดังกล่าวได้ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 26 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 55 จึงเป็นคำขอบังคับที่ไม่อาจพิพากษาบังคับจำเลยทั้งห้าได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3920/2548 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องแย้งที่ไม่เกี่ยวเนื่องกับมูลหนี้สัญญาจ้างแรงงาน ศาลไม่รับฟ้องแย้งได้
โจทก์ฟ้องจำเลยว่าผิดสัญญาจ้างอันเป็นการฟ้องในมูลหนี้สัญญาจ้างแรงงาน จำเลยให้การว่า โจทก์ไม่ใช่ลูกจ้างของจำเลย และฟ้องแย้งให้โจทก์ชำระเงินคืนและชดใช้ค่าเสียหายแก่จำเลย คำฟ้องแย้งของจำเลยจึงไม่ใช่มูลหนี้มาจากการผิดสัญญาจ้างแรงงาน ไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิมของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3898/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการจัดการมรดก: การสมรสที่จดทะเบียนตามกฎหมายย่อมมีผลทางกฎหมายจนกว่าศาลมีคำพิพากษาเป็นอื่น
บุคคลที่จะร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสที่ฝ่าฝืน ป.พ.พ. มาตรา 1458 ตกเป็นโมฆะตามมาตรา 1495 ได้แก่ คู่สมรส บิดามารดา หรือผู้สืบสันดานของคู่สมรสหรืออัยการ เมื่อผู้คัดค้านไม่ใช่บุคคลดังกล่าวจึงไม่อาจขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสระหว่างผู้ตายกับผู้ร้องเป็นโมฆะได้
ผู้ร้องจดทะเบียนสมรสตามกฎหมายกับผู้ตาย ผู้ร้องย่อมเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย หากการสมรสไม่ถูกต้องตามกฎหมายคำพิพากษาของศาลเท่านั้นที่จะแสดงว่าการสมรสนั้นเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 1496 เมื่อยังไม่มีฝ่ายใดฟ้องและศาลไม่มีคำพิพากษาว่าการสมรสระหว่างผู้ร้องกับผู้ตายเป็นโมฆะ การสมรสระหว่างผู้ร้องกับผู้ตายจึงยังคงมีอยู่ ผู้ร้องจึงยังเป็นคู่สมรสของผู้ตาย เป็นทายาทโดยธรรมคนหนึ่ง มีสิทธิรับมรดกของผู้ตายตามมาตรา 1629 วรรคสอง และมีสิทธิขอตั้งผู้จัดการมรดกของผู้ตาย
ผู้ร้องจดทะเบียนสมรสตามกฎหมายกับผู้ตาย ผู้ร้องย่อมเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย หากการสมรสไม่ถูกต้องตามกฎหมายคำพิพากษาของศาลเท่านั้นที่จะแสดงว่าการสมรสนั้นเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 1496 เมื่อยังไม่มีฝ่ายใดฟ้องและศาลไม่มีคำพิพากษาว่าการสมรสระหว่างผู้ร้องกับผู้ตายเป็นโมฆะ การสมรสระหว่างผู้ร้องกับผู้ตายจึงยังคงมีอยู่ ผู้ร้องจึงยังเป็นคู่สมรสของผู้ตาย เป็นทายาทโดยธรรมคนหนึ่ง มีสิทธิรับมรดกของผู้ตายตามมาตรา 1629 วรรคสอง และมีสิทธิขอตั้งผู้จัดการมรดกของผู้ตาย