พบผลลัพธ์ทั้งหมด 292 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 368/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างและค่าชดเชย: กรณีฝ่าฝืนคำสั่งนายจ้าง ศาลพิจารณาจากเหตุผลและความร้ายแรง
การที่ศาลแรงงานกลางสั่งงดสืบพยานจำเลยหลังจากที่ฟังทนายจำเลยแถลงถึงข้อที่จะนำสืบพยานจำเลยปากต่อไปแล้วสั่งงดสืบพยานปากดังกล่าว เพราะเห็นว่าไม่เกี่ยวกับประเด็นนั้น เป็นดุลพินิจของศาลแรงงานกลางที่จะสั่งได้ตามที่เห็นสมควร ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 86 วรรคสอง ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้ง ศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 เมื่อจำเลยอุทธรณ์ขอให้ทำการสืบพยานจำเลยต่อไป จึงเป็น อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 การฝ่าฝืนคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้างนั้น ประกาศ กระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานดังกล่าวมิได้บัญญัติไว้ว่า กรณีเช่นไรเป็นกรณีที่ร้ายแรงและกรณีเช่นไรไม่ร้ายแรง จึงต้องพิจารณาจากข้อเท็จจริงเป็นเรื่อง ๆไปเมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์เคยฝ่าฝืนคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลยมาก่อน ทั้งในวันเกิดเหตุจำเลยบอกให้โจทก์ไปพบด้วยเรื่องอะไร มีความจำเป็นเร่งด่วนประการใด และหากโจทก์ไม่ไปพบจะเกิดความเสียหายอย่างไร เมื่อโจทก์ไม่ไปพบผู้จัดการฝ่ายบุคคลตามคำสั่งและขอผัดไปพบในวันรุ่งขึ้นเช่นนี้ แม้เป็นการฝ่าฝืนคำสั่งของนายจ้างก็ไม่ใช่กรณีที่ร้ายแรง เมื่อจำเลยเลิกจ้างจึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3389/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำให้การไม่ชัดเจน vs. การปฏิเสธลายมือชื่อปลอม: ศาลต้องพิจารณาประเด็นที่ยกขึ้นว่ากล่าวแล้ว
การที่จำเลยให้การต่อสู้โจทก์เพียงว่าโจทก์ไม่ได้เป็นผู้ทรงเช็คพิพาทโดยชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น โดยหาได้ยกข้อเท็จจริงขึ้นกล่าวอ้างเพื่อให้เป็นประเด็นให้ศาลวินิจฉัยด้วยว่าเหตุใดหรือด้วยวิธีอย่างใดโจทก์จึงไม่เป็นผู้ทรงเช็คโดยชอบด้วยกฎหมายจึงเป็นคำให้การไม่ชัดแจ้ง ไม่มีประเด็นที่จำเลยจะนำสืบ เมื่อศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงตามที่โจทก์นำสืบว่าโจทก์เป็นผู้ทรงเช็คพิพาทโดยชอบด้วยกฎหมาย และจำเลยไม่มีประเด็นที่จะนำสืบให้เห็นเป็นอย่างอื่นได้เพราะมิได้ให้การไว้ ที่จำเลยอุทธรณ์ในปัญหาข้อนี้ต่อมาเท่ากับเป็นการขอให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยในประเด็นดังกล่าวซึ่งยุติลงในศาลชั้นต้นแล้วอีก ดังนั้น ที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยปัญหาข้อนี้ให้เพราะถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้นจึงเป็นการชอบแล้ว จำเลยให้การว่า เช็คตามฟ้องทั้งสองฉบับจำเลยมิได้เป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่าย ลายมือชื่อในเช็คตามฟ้องทั้งสองฉบับเป็นลายมือชื่อปลอม ดังนี้ คำให้การดังกล่าวเป็นการปฏิเสธความถูกต้องแท้จริงของลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาททั้งสองฉบับว่าไม่ใช่ลายมือชื่อของจำเลย แต่เป็นลายมือชื่อปลอม จึงเป็นคำให้การโดยชัดแจ้งรวมทั้งเหตุแห่งการนั้น ไม่จำต้องกล่าวว่าปลอมอย่างไรอีกชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสองและศาลชั้นต้นก็ได้วินิจฉัยปัญหาในข้อนี้แล้ว จำเลยอุทธรณ์ในปัญหาข้อนี้ต่อมาอีก จึงชอบที่ศาลอุทธรณ์จะต้องวินิจฉัยให้เพราะเป็นข้อเท็จจริงที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น แต่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัย จึงเป็นการที่ศาลอุทธรณ์มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยการพิจารณาเป็นการไม่ชอบสมควรให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาในปัญหานี้และพิพากษาใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 320/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ ศาลต้องพิจารณาเมื่อคู่ความไม่ทราบข้อผิดพลาดก่อนมีคำพิพากษา
บทบัญญัติมาตรา 27 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ที่ว่าการร้องขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาผิดระเบียบต้องยื่นก่อนมีคำพิพากษานั้น ใช้กับกรณีที่คู่ความฝ่ายที่เสียหายได้ทราบข้อความหรือพฤติการณ์ อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างของการผิดระเบียบก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเท่านั้น จำเลยไม่เคยทราบว่าตนถูกฟ้องทั้งปรากฏว่ามีผู้แอบอ้างเป็นจำเลยเข้ามาดำเนินคดีในฐานะจำเลย ทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย จำเลยเพิ่งทราบภายหลังจากศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาแล้ว ดังนี้จำเลยย่อมชอบที่จะยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นให้เพิกถอนการพิจารณาที่ศาลชั้นต้นดำเนินไปโดยผิดระเบียบได้ตามมาตรา 27 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2350/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสอบสวนและฟ้องชอบด้วยกฎหมาย แม้ข้อเท็จจริงในชั้นพิจารณาต่างจากฟ้อง ศาลมีอำนาจพิจารณาตามความจริง
ป. ได้ร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสี่และ ส.ในความผิดฐานร่วมกันหน่วงเหนี่ยวกักขัง ภ. โดยร่วมกันกระทำความผิดตั้งแต่ห้าคนขึ้นไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 309 วรรคสองซึ่งเป็นความผิดที่ไม่อาจยอมความกันได้ และพนักงานสอบสวนมีอำนาจสอบสวนได้ แม้จะไม่มีคำร้องทุกข์เพราะมิใช่คดีความผิดต่อส่วนตัวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 121 พนักงานสอบสวนได้ดำเนินการสอบสวนแล้วเสนอความเห็นควรสั่งฟ้อง พนักงานอัยการมีคำสั่งและฟ้องจำเลยทั้งสี่ในความผิดฐานดังกล่าว การสอบสวนและอำนาจฟ้องเป็นไปโดยชอบทุกขั้นตอน แม้ต่อมาในชั้นพิจารณาข้อเท็จจริงจะต่างจากฟ้องก็เป็นอำนาจศาลที่จะพิพากษาตามที่พิจารณาได้ความตามกฎหมาย หาเป็นเหตุให้กระทบกระเทือนถึงอำนาจการสอบสวนของพนักงานสอบสวน และอำนาจฟ้องของโจทก์ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1551/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอ้างบทกฎหมายไม่ชัดเจน ศาลพิจารณาจากคำบรรยายฟ้องเพื่อลงโทษตามกฎหมายที่ถูกต้อง
คดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องกล่าวถึงการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามที่บัญญัติไว้ใน ป.อ.มาตรา 336 ทวิ ซึ่งเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 11 ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน 2514 ข้อ 13 โดยชัดแจ้งแล้ว การที่โจทก์ขอให้ลงโทษจำเลยตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 11 ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน2514 ข้อ 13 ก็คงหมายถึง ป.อ.มาตรา 336 ทวิ ที่เพิ่มเติมขึ้นมานั่นเอง เพียงแต่โจทก์อ้างบทกฎหมายไม่ชัดเจนเท่านั้น เมื่อพิจารณาประกอบกับคำบรรยายฟ้องแล้วเห็นได้ว่าโจทก์ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 336 ทวิ ซึ่งเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 11 ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน 2514 ข้อ 13
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1551/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอ้างบทกฎหมายไม่ชัดเจน ศาลพิจารณาจากเนื้อหาฟ้องและลงโทษตามบทกฎหมายที่เกี่ยวข้องได้
โจทก์บรรยายฟ้องกล่าวถึงการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 336 ทวิ ซึ่งเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 11 ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน 2514 ข้อ13 โดยชัดแจ้งแล้ว การที่โจทก์ขอให้ลงโทษจำเลยตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 11 ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน 2514ข้อ 13 จึงหมายถึงโจทก์ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 336 ทวิ ที่เพิ่มเติมขึ้นมานั่นเอง เพียงแต่อ้างบทกฎหมายไม่ชัดเจนเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 134/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การร่วมกันทำร้ายร่างกายโดยไตร่ตรองไว้ก่อน แม้ไม่ใช่ความผิดตามฟ้อง ศาลลงโทษได้ตามความผิดที่พิจารณาได้
การที่จำเลยทั้งสองชวนและพาผู้เสียหายออกไปจากเวทีรำวงเมื่อถึงที่เกิดเหตุจำเลยที่ 1 ร้องบอกให้พวกของจำเลยทั้งสองที่รอคอยอยู่ก่อนเข้าทำร้ายผู้เสียหาย แสดงว่าจำเลยทั้งสองกับพวกคบคิดวางแผนนัดหมายกันไว้ก่อน การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นความผิดฐานร่วมกันทำร้ายผู้เสียหายโดยไตร่ตรองไว้ก่อน แม้ทางพิจารณาปรากฏว่า การกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นความผิดเพียงฐานทำร้ายผู้เสียหายโดยไตร่ตรองไว้ก่อน โดยไม่มีเจตนาฆ่าผู้เสียหายตามฟ้อง แต่ก็ถือว่าเป็นความผิดที่รวมอยู่ในลักษณะเดียวกัน แม้มิใช่ความผิดตามที่โจทก์ฟ้องโดยตรง และมิใช่มาตราที่โจทก์ขอให้ลงโทษ ศาลก็ลงโทษจำเลยทั้งสองตามที่พิจารณาได้ความได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1097/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำขอรับชำระหนี้จากเจ้าหนี้สามัญเป็นเจ้าหนี้มีประกัน: ศาลพิจารณาเป็นรายกรณี โดยคำนึงถึงความพลั้งเผลอ
พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 97
การขอแก้ไขคำขอรับชำระหนี้จากเจ้าหนี้ไม่มีประกันเป็นเจ้าหนี้มีประกันตามมาตรา 97 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 นั้น มาตราดังกล่าวมิได้กำหนดเวลาในการขอแก้ไขไว้ เจ้าหนี้จึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอแก้ไขได้ไม่ว่าระยะเวลาใด ๆ แม้จะได้มีการแบ่งทรัพย์สินครั้งที่สุดแล้วก็ตาม การที่ศาลจะอนุญาตให้แก้ไขหรือไม่ย่อมขึ้นอยู่กับพฤติการณ์แห่งคดีเป็นราย ๆ ไป คดีนี้เมื่อศาลสั่งปิดคดีแล้ว ผู้ร้องเป็นผู้แจ้งต่อผู้คัดค้านว่าลูกหนี้ที่ 2 ยังมีที่ดินที่ลูกหนี้ที่ 2 จำนองไว้แก่ผู้ร้อง ผู้คัดค้านจึงรายงานศาลขอให้มีคำสั่งเปิดคดี ผู้คัดค้านทราบถึงทรัพย์สินของลูกหนี้ก็โดยผู้ร้องเป็นผู้เสนอข้อเท็จจริงต่อผู้คัดค้าน การทราบถึงทรัพย์สินของลูกหนี้ย่อมเป็นประโยชน์แก่เจ้าหนี้อื่น พฤติการณ์เช่นนี้ศาลอาจอนุญาตให้แก้ไขคำขอรับชำระหนี้ได้หากการขอรับชำระหนี้โดยไม่แจ้งว่าเป็นเจ้าหนี้มีประกันนั้นเกิดขึ้นโดยพลั้งเผลอ
ผู้ร้องเป็นนิติบุคคล การดำเนินงานแบ่งเป็นแผนกต่าง ๆ แม้การดำเนินงานจะต้องสัมพันธ์กันแต่ก็อาจพลั้งเผลอได้ การเป็นเจ้าหนี้มีประกันกับเจ้าหนี้สามัญย่อมได้รับประโยชน์ต่างกันมากหากไม่ใช่ความพลั้งเผลอก็คงไม่ละเลยยื่นคำขอ-รับชำระหนี้อย่างเจ้าหนี้สามัญ เห็นว่าเจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้อย่างเจ้าหนี้สามัญนั้นเกิดขึ้นโดยพลั้งเผลอ
การขอแก้ไขคำขอรับชำระหนี้จากเจ้าหนี้ไม่มีประกันเป็นเจ้าหนี้มีประกันตามมาตรา 97 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 นั้น มาตราดังกล่าวมิได้กำหนดเวลาในการขอแก้ไขไว้ เจ้าหนี้จึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอแก้ไขได้ไม่ว่าระยะเวลาใด ๆ แม้จะได้มีการแบ่งทรัพย์สินครั้งที่สุดแล้วก็ตาม การที่ศาลจะอนุญาตให้แก้ไขหรือไม่ย่อมขึ้นอยู่กับพฤติการณ์แห่งคดีเป็นราย ๆ ไป คดีนี้เมื่อศาลสั่งปิดคดีแล้ว ผู้ร้องเป็นผู้แจ้งต่อผู้คัดค้านว่าลูกหนี้ที่ 2 ยังมีที่ดินที่ลูกหนี้ที่ 2 จำนองไว้แก่ผู้ร้อง ผู้คัดค้านจึงรายงานศาลขอให้มีคำสั่งเปิดคดี ผู้คัดค้านทราบถึงทรัพย์สินของลูกหนี้ก็โดยผู้ร้องเป็นผู้เสนอข้อเท็จจริงต่อผู้คัดค้าน การทราบถึงทรัพย์สินของลูกหนี้ย่อมเป็นประโยชน์แก่เจ้าหนี้อื่น พฤติการณ์เช่นนี้ศาลอาจอนุญาตให้แก้ไขคำขอรับชำระหนี้ได้หากการขอรับชำระหนี้โดยไม่แจ้งว่าเป็นเจ้าหนี้มีประกันนั้นเกิดขึ้นโดยพลั้งเผลอ
ผู้ร้องเป็นนิติบุคคล การดำเนินงานแบ่งเป็นแผนกต่าง ๆ แม้การดำเนินงานจะต้องสัมพันธ์กันแต่ก็อาจพลั้งเผลอได้ การเป็นเจ้าหนี้มีประกันกับเจ้าหนี้สามัญย่อมได้รับประโยชน์ต่างกันมากหากไม่ใช่ความพลั้งเผลอก็คงไม่ละเลยยื่นคำขอ-รับชำระหนี้อย่างเจ้าหนี้สามัญ เห็นว่าเจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้อย่างเจ้าหนี้สามัญนั้นเกิดขึ้นโดยพลั้งเผลอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3566/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลื่อนคดีเนื่องจากทนายติดว่าความอื่น ศาลควรพิจารณาเหตุสมควรและประโยชน์แห่งความยุติธรรม
ในวันนัดสืบพยานโจทก์ ทนายโจทก์มอบฉันทะให้เสมียนทนายมายื่นคำร้องขอเลื่อน อ้างว่าป่วย ศาลชั้นต้นอนุญาต ก่อนถึงวันนัดที่เลื่อนไป ทนายโจทก์ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีอีก อ้างเหตุว่าในนัดที่แล้วให้เสมียนทนายขอ เลื่อนคดีโดยให้นัดเกิน 1 เดือนวันนัดที่เลื่อนไปมิใช่เป็นวันนัดที่มอบให้เสมียนทนายไว้เพราะทนายโจทก์ติดว่าความที่ศาลแขวงสุพรรณบุรีซึ่งได้นัดไว้ก่อนเป็นคำร้องที่แสดงเหตุจำเป็นอันมิอาจก้าวล่วงได้ และมีข้อความว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ย่อมเป็นที่เข้าใจว่าหากศาลไม่อนุญาตจะทำให้เสียความยุติธรรมเมื่อปรากฏว่าในนัดที่แล้วศาลชั้นต้นเพียงกำชับโจทก์ว่า ให้เตรียมพยานมาให้พร้อมและทนายโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีก่อนวันนัดถึง 10 วันอีกทั้งทนายจำเลยมิได้คัดค้านว่าข้ออ้างของโจทก์ไม่เป็นความจริงแม้ศาลชั้นต้นจะสั่งให้เสมียนทนายไปแจ้งให้ทนายโจทก์นำพยานมาสืบตอนบ่าย ก็ย่อมเห็นได้ว่าทนายโจทก์ไม่อาจมาว่าความในวันนั้นได้ ถือว่ามีเหตุสมควร ชอบที่ศาลชั้นต้นจะอนุญาตให้เลื่อนคดีไป.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3117/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลายมือชื่อในสัญญากู้เป็นหลักฐานสำคัญ ศาลพิจารณาความสอดคล้องกับลายมือชื่อในเอกสารอื่นประกอบพยานหลักฐานอื่นได้
ผู้เชี่ยวชาญที่ตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อจำเลยมีความเห็นว่าลายมือชื่อในสัญญากู้พิพาทไม่ใช่ลายมือชื่อของจำเลยที่ 2 เมื่อโจทก์และจำเลยมิได้ตกลงท้ากันให้ถือความเห็นของผู้เชี่ยวชาญในการตรวจพิสูจน์เป็นข้อแพ้ชนะแล้ว แม้ความคิดเห็นตามหลักวิชาของพยานผู้เชี่ยวชาญดังกล่าวจะเป็นพยานที่ศาลรับฟัง แต่ก็มิใช่ว่าผู้เชี่ยวชาญให้ความเห็นอย่างไร ศาลต้องรับฟังตามนั้นเสมอไปเมื่อปรากฏว่าลายมือชื่อของจำเลยที่ 2 ในใบรับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องมีลักษณะการเขียนและขนาดของตัวหนังสือคล้ายคลึงกันกับลายมือชื่อของจำเลยที่ 2 ในสัญญากู้พิพาท ศาลย่อมฟังว่าจำเลยที่ 2กู้ยืมเงินไปจากโจทก์ได้.