พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,244 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1966/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการพิจารณาคดีนอกฟ้อง: ศาลอุทธรณ์มีอำนาจยกฟ้องหากข้อเท็จจริงเกินกว่าที่กล่าวในคำฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 3 และที่ 4 ได้ร่วมกันปฏิบัติหน้าที่และละเว้นปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ โดยจำเลยที่ 3 และที่ 4 รู้อยู่แล้วว่าโจทก์กับพวกไม่ได้ร่วมกันกระทำความผิดฐานฉ้อโกง แต่จำเลยที่ 3 และที่ 4 กลับร่วมกันรับคำร้องทุกข์กล่าวโทษและดำเนินคดีแก่โจทก์กับพวกเป็นเหตุให้โจทก์กับพวกถูกควบคุมตัวเป็นผู้ต้องหาทั้งนี้เพื่อให้เกิดความเสียหายต่อชื่อเสียงสิทธิเสรีภาพของโจทก์กับพวกโจทก์มิได้บรรยายในคำฟ้องว่าจำเลยที่ 3 และที่ 4 ได้ร่วมกันปฏิบัติหน้าที่หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบด้วยการบ่ายเบี่ยงละเลยไม่สั่งคำร้องขอประกันตัวระหว่างสอบสวนของโจทก์กับพวก แม้จะได้ความตามทางพิจารณาในชั้นไต่สวนมูลฟ้องว่า จำเลยที่ 3 และที่ 4 มีพฤติการณ์ในทางบ่ายเบี่ยงละเลยไม่สั่งคำร้องขอประกันตัวศาลก็ไม่อาจพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 3 และที่ 4 ตามข้อเท็จจริงที่ได้ความดังกล่าวนั้นได้ เพราะเป็นข้อเท็จจริงนอกฟ้อง ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง กรณีจึงมีเหตุตามกฎหมายที่จำเลยที่ 4 ไม่ควรต้องรับโทษและศาลต้องยกฟ้องโจทก์ตามมาตรา 185 วรรคหนึ่ง และปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลอุทธรณ์ยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตามมาตรา 195 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1841/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัย กรณีคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งถึงที่สุดแล้ว
จำเลยยื่นอุทธรณ์และยื่นคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถา ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้ววินิจฉัยว่าคดีของจำเลยไม่มีมูลพอที่จะอุทธรณ์ให้ยกคำร้อง ส่วนศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าคดีของจำเลยมีมูลพอที่จะอุทธรณ์แต่จำเลยไม่เป็นคนยากจนให้ยกคำร้อง คำสั่งของศาลอุทธรณ์ที่ยืนตามคำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้จำเลยดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์เป็นคำสั่งที่ได้วินิจฉัยในเนื้อหาแห่งคำร้องแล้วจึงเป็นที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 156 วรรคท้าย ที่จำเลยฎีกาขอให้ศาลฎีกาอนุญาตให้ดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์แม้จะอ้างว่าศาลอุทธรณ์ไม่มีอำนาจยกประเด็นเรื่องจำเลยเป็นคนยากจนขึ้นวินิจฉัยก็เป็นการฎีกาในเนื้อหาแห่งคำร้องเพื่อขออนุญาตให้จำเลยดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์ เป็นฎีกาโต้แย้งคัดค้านคำสั่งศาลอุทธรณ์ซึ่งถึงที่สุดแล้ว จึงต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 184/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลอุทธรณ์ในการควบคุมการบังคับคดีระหว่างอุทธรณ์: คำสั่งต่อเนื่องและไม่อาจฎีกา
ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งอนุญาตให้ทุเลาการบังคับในระหว่างอุทธรณ์โดยให้ศาลชั้นต้นตีราคาทรัพย์สินที่จำนอง ถ้าไม่พอชำระต้นเงินพร้อมดอกเบี้ยตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นนับจนถึงวันทราบคำสั่งและต่อไปอีก 1 ปี ก็ให้จำเลยหาประกันมาให้ครบถ้วนภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด การที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนตามคำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีในชั้นพิจารณาหลักประกัน โดยถือว่าจำเลยไม่ดำเนินการวางหลักประกันภายในระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดนั้นเป็นคำสั่งที่ต่อเนื่องกับคำสั่งทุเลาการบังคับในระหว่างอุทธรณ์ ซึ่งเป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์โดยเฉพาะ จำเลยจึงไม่มีสิทธิฎีกาคัดค้านคำสั่งนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1792/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์: คำสั่งศาลอุทธรณ์เป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 236
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์โดยเห็นว่าเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากไม่มีข้อความโต้แย้งคำพิพากษาของศาชั้นต้น โจทก์ยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่ง เมื่อศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ กรณีจึงต้องด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 236 วรรคหนึ่ง ที่บัญญัติให้คำสั่งของศาลอุทธรณ์เป็นที่สุด โจทก์จึงไม่มีสิทธิฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1701/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่วินิจฉัยคำขอคืนเงินของศาลอุทธรณ์และการบังคับชำระเงินให้แก่ผู้รับผลประโยชน์ที่แท้จริง
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานวิ่งราวทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 336 และขอให้จำเลยคืนหรือใช้เงินจำนวน 6,100 บาท แก่ผู้เสียหาย ศาลอุทธรณ์ภาค 6 ฟังว่าจำเลยกระทำความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 336 วรรคหนึ่ง แต่ไม่วินิจฉัยตามคำขอให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์ของโจทก์ จึงเป็นการไม่ชอบ แต่ที่โจทก์ขอให้คืนหรือใช้เงินแก่ผู้เสียหาย ซึ่งตามฟ้องระบุเป็นเงินของนาง ซ. ยายผู้เสียหาย จึงบังคับให้จำเลยคืนหรือใช้เงินแก่ผู้เสียหายไม่ได้ แต่ให้คืนหรือใช้เงินแก่นาง ซ. ยายผู้เสียหาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9225/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่อาจรับวินิจฉัยข้อเท็จจริงใหม่ในชั้นฎีกา หากไม่ได้โต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
ในชั้นอุทธรณ์จำเลยได้ยกข้อเท็จจริงทำนองว่าจำเลยมิได้กระทำความผิดตามฟ้องขึ้นอุทธรณ์ แต่ศาลอุทธรณ์มิได้หยิบยกขึ้นวินิจฉัย จำเลยเองก็ไม่ได้ฎีกาโต้แย้งว่าการที่ศาลอุทธรณ์ไม่ได้วินิจฉัยนั้นไม่ชอบแต่อย่างใด แต่จำเลยกลับยกข้อเท็จจริงว่ามิได้กระทำผิดทำนองเดียวกับที่เคยยกขึ้นว่ากล่าวในศาลอุทธรณ์ขึ้นฎีกาซ้ำอีก ถือได้ว่าข้อเท็จจริงที่จำเลยยกขึ้นฎีกาเป็นข้อเท็จจริงที่เพิ่งยกขึ้นในชั้นฎีกา และถือไม่ได้ว่าฎีกาดังกล่าวเป็นการคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 216 ทั้งมิได้เป็นข้อความที่ศาลอุทธรณ์ได้ตัดสินไว้ จึงไม่อาจใช้ดุลพินิจอนุญาตให้ฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 221 ได้ ดังนั้นที่ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาดังกล่าวมาจึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9204/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยประเด็นอุทธรณ์ ต้องคืนค่าธรรมเนียม – ปัญหาความสงบเรียบร้อยของประชาชน
เมื่อศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยตามประเด็นแห่งคดีที่จำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ย่อมจะต้องอยู่ในบังคับแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 151 วรรคหนึ่ง ที่จะต้องสั่งคืนค่าธรรมเนียมศาลชั้นอุทธรณ์แก่จำเลยทั้งหมด ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรหยิบยกขึ้นแก้ไขให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9187/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตอำนาจผู้รับมอบฉันทะ: การฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ และการปฏิบัติหน้าที่ตามมอบหมาย
ใบมอบฉันทะของโจทก์ลงวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2546 ได้มอบอำนาจให้ ว. ไปฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 และลงลายมือชื่อรับทราบคำสั่งศาลในคดีนี้โดยมิได้ระบุว่าให้ฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 ในวันเวลาใด ดังนั้น ตราบใดที่ยังไม่มีการอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 ว. ก็ยังมีอำนาจฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 อยู่จนกว่าโจทก์จะถอนหรือยกเลิกใบมอบฉันทะ การที่ ว. มาฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 เวลา 16.15 นาฬิกา หลังจากที่ศาลมีคำสั่งในรายงานกระบวนพิจารณา ลงวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2546 เวลา 10 นาฬิกา แล้วให้เลื่อนการฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 ไปเป็นวันที่ 11 มีนาคม 2546 เวลา 9 นาฬิกา และออกหมายจับจำเลยรวมทั้งปรับนายประกันแล้วก็ต้องถือว่า ว. ได้ปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบฉันทะจากโจทก์ มิใช่กระทำโดยพลการดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 ให้ ว. ฟังก็ต้องถือว่าได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 ให้โจทก์ฟังโดยชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9106/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัยเนื่องจากฎีกาไม่ชัดเจน ขาดการระบุข้อกฎหมายและข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยคลาดเคลื่อน
คดีนี้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยข้อเท็จจริงว่าจำเลยกระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน และพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยเพียงกรรมเดียวศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรม ข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่าจำเลยกระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน ฎีกาของจำเลยเพียงแต่กล่าวว่าการที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลยเพิ่มอีกข้อหาหนึ่ง โดยที่ศาลชั้นต้นยังมิได้ใช้ดุลพินิจว่าจะลงโทษกระทงดังกล่าวเท่าใดและจะลดโทษให้เท่าใด เป็นการพิพากษาคลาดเคลื่อนต่อกฎหมาย โดยมิได้ระบุข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายอ้างอิงให้เห็นว่าคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์คลาดเคลื่อนในข้อใด ฎีกาของจำเลยจึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้งต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 902/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสิทธิเรียกร้องจากการกู้ยืมเงิน: การให้การของจำเลยแสดงเหตุขาดอายุความชัดเจน ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยได้
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกู้ยืมเงินจากโจทก์โดยตกลงชำระดอกเบี้ยให้โจทก์นับแต่วันกู้เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระต้นเงินให้แก่โจทก์แล้วเสร็จ โดยกำหนดให้จำเลยผ่อนชำระคืนเป็นรายวัน การที่จำเลยให้การว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (2) เนื่องจากนำคดีมาฟ้องเกินกว่า 5 ปี นับจากมีสิทธิเรียกร้องซึ่งตามมาตรา 193/33 (2) บัญญัติอายุความการใช้สิทธิเรียกร้องไว้เพียงกรณีเดียวเฉพาะเงินที่ต้องชำระเพื่อผ่อนทุนคืนเป็นงวด ๆ เช่นนี้ ถือได้ว่าคำให้การของจำเลยดังกล่าวได้แสดงโดยชัดแจ้งแล้วว่าสิทธิเรียกร้องตามหนังสือสัญญากู้ยืมที่โจทก์นำมาฟ้องขาดอายุความเมื่อใดและเพราะเหตุใด ดังนั้น ที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยในปัญหาเรื่องอายุความตามคำให้การของจำเลย จึงชอบแล้ว