พบผลลัพธ์ทั้งหมด 248 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 441/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการอุทธรณ์คดีอาญาในศาลแขวง: ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยเมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยข้อเท็จจริงผิด
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานทำร้ายร่างกายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295 ซึ่งมีอัตราโทษอย่างสูงจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่พันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ คดีจึงต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงพ.ศ. 2499 มาตรา 22 ประกอบกับพระราชบัญญัติให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ. 2520 มาตรา 3 การที่โจทก์อุทธรณ์ว่า พยานหลักฐานที่นำสืบฟังได้ว่า จำเลยทำร้ายร่างกายโจทก์ได้รับอันตรายเป็นบาดแผลนั้น เป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3333/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการอุทธรณ์คดีอาญาในศาลแขวง: การโต้แย้งข้อเท็จจริงและการรับอุทธรณ์ที่ไม่ชอบ
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 391ซึ่งมีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า จำเลยตบหน้าผู้เสียหายที่บริเวณแก้มซ้าย 1 ครั้ง พิพากษาว่าจำเลยกระทำผิดตามฟ้องลงโทษปรับ 1,000 บาท คดีจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงพ.ศ. 2499 มาตรา 22 ประกอบพระราชบัญญัติให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ. 2520 มาตรา 3 จำเลยอุทธรณ์ว่า พยานหลักฐานของโจทก์และจำเลยข้อเท็จจริงมีเหตุสงสัยตามสมควรว่าจำเลยได้กระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่ ต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้จำเลย จึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าวที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้รับอุทธรณ์ของจำเลยและศาลอุทธรณ์ภาค 3รับวินิจฉัยให้เป็นการไม่ชอบและแม้ศาลอุทธรณ์ภาค 3 จะพิพากษากลับโจทก์ก็ไม่มีสิทธิฎีกา และศาลฎีกายกคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 3และยกฎีกาของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1997/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีอาญาในศาลแขวงโดยไม่ต้องเคร่งครัด ป.วิ.อ. มาตรา 158 อนุมาตรา 5
การพิจารณาคดีอาญาของศาลแขวงแตกต่างจากคดีอาญาอื่นพ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ มาตรา 19 จึงบัญญัติให้โจทก์ฟ้องด้วยวาจาได้ และให้ศาลบันทึกใจความแห่งคำฟ้องไว้เป็นหลักฐานการฟ้องคดีอาญาในศาลแขวงไม่ต้องปฏิบัติเคร่งครัดตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158โดยเฉพาะอนุมาตรา 5 ว่าด้วยรายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับการกระทำ เป็นหน้าที่ของศาลที่จะต้องสอบถามรายละเอียดพอที่จำเลยจะเข้าใจข้อหาได้ดี คดีนี้เป็นคดีการพนันที่อยู่ในอำนาจศาลแขวง ศาลชั้นต้นบันทึกไว้ว่าโจทก์ฟ้องว่าจำเลยบังอาจจัดให้มีการเล่นเครื่องเล่นจักรกลไฟฟ้า (วีดีโอเกม) อันเป็นความผิดดังที่ระบุไว้ในบัญชี ข. หมายเลข 28 ท้าย พ.ร.บ.การพนัน พ.ศ.2478 โดยไม่มีพระราช-กฤษฎีกาอนุญาตให้เล่นได้ ซึ่งจำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว จึงให้การรับสารภาพคำฟ้องที่โจทก์ฟ้องด้วยวาจาตามที่ศาลบันทึกไว้นั้น ชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1997/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคดีอาญาในศาลแขวง: คำฟ้องด้วยวาจาและการลดโทษจากผลการรับสารภาพ
การพิจารณาคดีอาญาของศาลแขวงแตกต่างจากคดีอาญาอื่นพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ มาตรา 19 จึงบัญญัติให้โจทก์ฟ้องด้วยวาจาได้และให้ศาลบันทึกใจความแห่งคำฟ้องไว้เป็นหลักฐานการฟ้องคดีอาญาในศาลแขวงไม่ต้องปฏิบัติเคร่งครัดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 โดยเฉพาะอนุมาตรา 5 ว่าด้วยรายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับการกระทำเป็นหน้าที่ของศาลที่จะต้องสอบถามรายละเอียดพอที่จำเลยจะเข้าใจข้อหาได้ดี คดีนี้เป็นคดีการพนันที่อยู่ในอำนาจศาลแขวง ศาลชั้นต้นบันทึกไว้ว่าโจทก์ฟ้องว่าจำเลยบังอาจจัดให้มีการเล่นเครื่องเล่นจักรกลไฟฟ้า (วีดีโอเกม) อันเป็นความผิดดังที่ระบุไว้ในบัญชี ข. หมายเลข 28 ท้ายพระราชบัญญัติการพนัน พ.ศ. 2478 โดยไม่มีพระราชบัญญัติกฤษฎีกาอนุญาตให้เล่นได้ ซึ่งจำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว จึงให้การรับสารภาพคำฟ้องที่โจทก์ฟ้องด้วยวาจาตามที่ศาลบันทึกไว้นั้น ชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1875/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาคดีอาญาโดยศาลแขวงต้องมีผู้พิพากษาลงนามมากกว่าหนึ่งคน หากลงโทษจำคุกเกินหกเดือน
คำพิพากษาของศาลแขวงที่ให้ลงโทษจำคุกจำเลยที่ 2 มีกำหนด 2 ปีแต่มีผู้พิพากษาเพียงคนเดียวลงชื่อ เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 15 วรรคท้ายศาลอุทธรณ์จึงไม่มีอำนาจพิจารณาและพิพากษาไปในทันทีเกี่ยวกับประเด็นแห่งคดี แต่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินการดังกล่าวให้ถูกต้องเสียก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1875/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาลงโทษจำคุกเกินหกเดือนโดยศาลแขวงต้องมีผู้พิพากษาลงนามร่วมกัน หากไม่ถูกต้อง ศาลอุทธรณ์ไม่มีอำนาจพิจารณา
ศาลแขวงพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 ปรับ 4,000 บาท ลงโทษจำเลยที่ 2 จำคุก 2 ปี แต่มีผู้พิพากษาลงนามเพียงคนเดียวเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 15 วรรคท้าย ประกอบมาตรา 22(5)ศาลอุทธรณ์จึงไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาได้ ต้องให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาและพิพากษาใหม่ให้ถูกต้องก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 477/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คดีอาญา: ข้อจำกัดการอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามกฎหมายศาลแขวงและศาลจังหวัด
การพิจารณาว่าจำเลยที่ 2 จะอุทธรณ์ได้หรือไม่ ต้องพิจารณาตามบทกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะยื่นอุทธรณ์ ปรากฏว่าขณะจำเลยที่ 2 ยื่นอุทธรณ์พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 22(4) ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2532 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัดพ.ศ. 2520 มาตรา 3 บัญญัติเป็นข้อยกเว้นให้จำเลยอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงได้ ในกรณีที่ถ้าจำเลยต้องคำพิพากษาให้ลงโทษปรับเกินหนึ่งพันบาท ดังนั้น เมื่อศาลจังหวัดกาญจนบุรีพิพากษาลงโทษปรับจำเลยที่ 2 เพียงหนึ่งพันบาท จึงต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 477/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คดีอาญาที่ศาลแขวง: ข้อจำกัดการอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามจำนวนค่าปรับ
ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 2 ผู้เดียวขับรถยนต์ โดยประมาทเป็นเหตุให้ทรัพย์สินผู้อื่นเสียหาย จำเลยที่ 2 อุทธรณ์ว่า เหตุรถยนต์ชนกันมิได้เกิดจากความประมาทของจำเลยที่ 2 แต่เกิดจากความประมาทของจำเลยที่ 1 อันเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการ รับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้น เป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง การพิจารณาว่าจะอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงได้หรือไม่ต้องพิจารณาตามบทกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะยื่นอุทธรณ์ ปรากฏว่าขณะจำเลยที่ 2 ยื่นอุทธรณ์พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 22 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2532มาตรา 3 กำหนดว่า จำเลย ต้องคำพิพากษาให้ลงโทษปรับเกินหนึ่งพันบาท จึงจะไม่ต้องห้าม อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษ ปรับจำเลยที่ 2 เพียงหนึ่งพันบาท จึงต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหา ข้อเท็จจริง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2607/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ข้อเท็จจริงในคดีอาญาตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวง: ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยหากไม่ได้รับอนุญาตในชั้นอุทธรณ์
คดีโจทก์ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ข้อเท็จจริงตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499มาตรา 22 เมื่อในชั้นอุทธรณ์ไม่มีการอนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงและศาลอุทธรณ์ก็ไม่รับวินิจฉัยข้อเท็จจริงไปแล้ว การที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงจึงไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา ศาลฎีกาย่อมไม่รับวินิจฉัยฎีกาของโจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2302/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนทรัพย์สินเพื่อเลี่ยงชำระหนี้: อุทธรณ์ข้อเท็จจริงต้องห้ามตาม พ.ร.บ.ศาลแขวง
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยพยานหลักฐานในสำนวนแล้วฟังว่า การที่จำเลยมีชื่อเป็นเจ้าของรถพิพาทก่อนโอนให้ ป. นั้น จำเลยมิได้มีกรรมสิทธิ์ในรถคันพิพาทอย่างแท้จริง แต่เป็นการปฏิบัติตามข้อตกลงระหว่างจำเลยกับ ป. ในฐานะลูกหนี้เจ้าหนี้ การกระทำของจำเลยหาได้มีเจตนาที่จะมิให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนไม่ โจทก์อุทธรณ์ว่าจำเลยเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในรถยนต์พิพาทที่โอนให้แก่ ป. และการโอนรถพิพาทมีเจตนาเพื่อมิให้โจทก์ได้รับชำระหนี้แล้ว เป็นการโต้เถียงดุลพินิจการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้นอุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 22.