พบผลลัพธ์ทั้งหมด 88 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 181/2494
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ฟ้องคดีอาญาต้องมีเหตุสมควร ศาลไม่อนุญาตแก้ฟ้องหากไม่มีเหตุผลเพียงพอ ทำให้คดีไม่มีข้อหา
เดิมโจทก์ฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยลักทรัพย์ จำเลยให้การรับแต่เพียงรับของโจร โจทก์จึงมายื่นคำร้องขอแก้ฟ้องเป็นว่า จำเลยรับของโจรโดยมิได้แสดงว่า 'มีเหตุอันสมควร'ที่โจทก์จะขอแก้ฟ้องแต่ประการใดเลยดังนี้ เป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 163จึงไม่มีทางที่ศาลจะพิจารณาอนุญาตได้ จึงต้องถือว่าคดีเป็นอันไม่มีข้อหาว่าจำเลยรับของโจรจะพิจารณาพิพากษาลงโทษจำเลยฐานรับของโจรไม่ได้ และข้อหาฐานลักทรัพย์ตามคำฟ้องเดิมโจทก์ก็สละเสียแล้วไม่มีทางจะลงโทษจำเลยได้เช่นเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 404/2493
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงฐานความผิดหลังสืบพยาน ทำให้จำเลยเสียเปรียบ ศาลไม่อนุญาตเพิ่มเติมฟ้อง
เดิมโจทก์ฟ้องว่าจำเลยทำผิดฐานเรี่ยไร่ในที่สาธารณะสถาน และอ้างบทกฎหมายที่ยกเลิกแล้ว จำเลยให้การต่อสู้ว่าไม่ได้ทำการเรี่ยไรในที่สาธารณะสถาน จึงไม่ต้องขอนุญาต เมื่อสืบพยานโจทก์ 13 ปาก แล้ว โจทก์ขอเพิ่มเติมฟ้องเปลี่ยนฐานความผิดใหม่ว่า จำเลยเรี่ยไรเพื่อสาธารณะประโยชน์และอ้างบทกฎหมายใหม่ ซึ่งบังคับให้ต้องขออนุญาต ดังนี้ ถือว่า ทำให้จำเลยหลงข้อต่อสู้ และเสียเปรียบ ศาลไม่อนุญาตให้เพิ่มเติมฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1821/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ฟ้องและการเสียเปรียบในการต่อสู้คดี การแก้ฟ้องต้องไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบ
การขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องนั้น ข้อที่ว่าจำเลยเสียเปรียบหรือหลงต่อสู้หรือไม่ ย่อมเป็นข้อเท็จจริงเมื่อศาลล่างไม่อนุญาตให้โจทก์แก้ฟ้องแล้วพิพากษายกฟ้องและศาลอุทธรณ์พิพากษายืน โจทก์จะฎีกาว่าจำเลยไม่เสียเปรียบหรือไม่หลงต่อสู้ไม่ได้, ต้องห้ามตาม ป.ม.วิ.อาญามาตรา 219
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1821/2493
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ฟ้องและการเสียเปรียบในการต่อสู้คดี ศาลไม่อนุญาตแก้ฟ้องหากทำให้จำเลยเสียเปรียบ
การขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องนั้น ข้อที่ว่าจำเลยเสียเปรียบหรือหลงต่อสู้หรือไม่ ย่อมเป็นข้อเท็จจริง เมื่อศาลล่างไม่อนุญาตให้โจทก์แก้ฟ้องแล้วพิพากษายกฟ้องและศาลอุทธรณ์พิพากษายืน โจทก์จะฎีกาว่าจำเลยไม่เสียเปรียบหรือไม่หลงต่อสู้ไม่ได้ ต้องห้ามตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 219
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 247/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ฟ้องที่ทำให้จำเลยเสียเปรียบ: ศาลไม่อนุญาตแก้ฟ้องเมื่อจำเลยต่อสู้คดีโดยอาศัยวันตามฟ้องเดิม
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทำผิด วันที่ 29 เมษายน 2490 เมื่อสืบพะยานโจทก์เสร็จแล้ว ทนายจำเลยแถลงว่าวันที่โจทก์หาว่าจำเลยกระทำผิดตามฟ้องนั้น ต่างกับคำเบิกความของพะยานโจทก์ โจทก์จึงรู้สึกว่าฟ้องผิดวัน ได้ยื่นคำร้องขอแก้ฟ้องว่าความจริงจำเลยกระทำผิดวันที่ 27 เมษายน 2490 ดังนี้ เมื่อตามพฤตติการณ์แห่งคดีแสดงชัดอยู่ว่าจำเลยให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์ โดยถือเอาวันที่โจทก์กล่าวหาตามฟ้องเดิมเป็นหลักสำคัญในการต่อสู้คดีจึงเป็นเรื่องที่ทำให้จำเลยเสียเปรียบโดยหลงข้อต่อสู้คดี ศาลจะอนุญาตให้แก้ฟ้องไม่ได้เพราะเป็นการต้องห้ามตาม ป.ม.วิ.อาญา มาตรา 164.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 247/2492
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ฟ้องที่ทำให้จำเลยเสียเปรียบ: ศาลไม่อนุญาตแก้ฟ้องหากกระทบต่อการต่อสู้คดีเดิม
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทำผิดวันที่ 29 เมษายน 2490 เมื่อสืบพยานโจทก์เสร็จแล้ว ทนายจำเลยแถลงว่าวันที่โจทก์หาว่าจำเลยกระทำผิดตามฟ้องนั้น ต่างกับคำเบิกความของพยานโจทก์ โจทก์จึงรู้สึกว่าฟ้องผิดวัน ได้ยื่นคำร้องขอแก้ฟ้องว่าความจริงจำเลยกระทำผิดวันที่ 27 เมษายน 2490 ดังนี้เมื่อตามพฤติการณ์แห่งคดีแสดงชัดอยู่ว่าจำเลยให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์ โดยถือเอาวันที่โจทก์กล่าวหาตามฟ้องเดิมเป็นหลักสำคัญในการต่อสู้คดีจึงเป็นเรื่องที่ทำให้จำเลยเสียเปรียบโดยหลงข้อต่อสู้คดี ศาลจะอนุญาตให้แก้ฟ้องไม่ได้เพราะเป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา164
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1379/2492
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่ยื่นบัญชีระบุพยานตามกำหนด และเหตุผลความเผลอเรอ ศาลย่อมไม่รับรอง
คดีแพ่ง จำเลยยื่นบัญชีระบุพยานในวันสืบพยานโจทก์ และยื่นคำร้องว่าเป็นเพราะความเผอเรอ ศาลย่อมไม่อนุญาต เพราะไม่มีเหตุจำเป็น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 455/2491 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นระบุพยานหลังศาลไม่อนุญาต และการตีความ 'วันสืบพยาน' ตาม ป.วิ.แพ่ง
ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับระบุพยาน เพราะไม่ยื่นก่อนกำหนดวันสืบพยาน 3 วัน คู่ความฝ่ายนั้นจึงยื่นคำร้องแถลงถึงความจำเป็นที่ไม่ได้ยื่นระบุพยานภายในกำหนด และขอให้อนุญาตให้ยื่นระบุพยานได้ดังนี้ ถือว่าเป็นการยื่นคำโต้แย้งคัดค้านตาม ป.วิ.แพ่งมาตรา 226 (2) แล้ว
วันสืบพยานตาม ป.วิ.แพ่งมาตรา 88 นั้น หมายความถึงวันสืบพยานจริง ๆ ไม่ใช่วันนัดสืบพยานแล้วไม่ได้สืบพยาน
วันสืบพยานตาม ป.วิ.แพ่งมาตรา 88 นั้น หมายความถึงวันสืบพยานจริง ๆ ไม่ใช่วันนัดสืบพยานแล้วไม่ได้สืบพยาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 455/2491
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นระบุพยานหลังศาลไม่อนุญาต และการพิจารณาวันสืบพยานที่ถูกต้องตามกฎหมาย
ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับระบุพยาน เพราะไม่ยื่นก่อนกำหนดวันสืบพยาน 3 วันคู่ความฝ่ายนั้นจึงยื่นคำร้องแถลงถึงความจำเป็นที่ไม่ได้ยื่นระบุพยานภายในกำหนด และขอให้อนุญาตให้ยื่นระบุพยานได้ดังนี้ ถือว่าเป็นการยื่นคำโต้แย้งคัดค้านตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา226(2) แล้ว
วันสืบพยานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88นั้นหมายความถึงวันสืบพยานจริงๆ ไม่ใช่วันนัดสืบพยานแล้วไม่ได้สืบพยาน
วันสืบพยานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88นั้นหมายความถึงวันสืบพยานจริงๆ ไม่ใช่วันนัดสืบพยานแล้วไม่ได้สืบพยาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 308/2491
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบพยานแก้เพิ่มเติมข้อความในสัญญาประนีประนอม ศาลไม่อนุญาตตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
ทำสัญญาประนีประนอมกันว่าจะโอนที่ดินบ้านเรือนให้เขาครั้นเขาฟ้องขอให้บังคับตามสัญญาประนีประนอมนั้น กลับต่อสู้ว่า สัญญาประนีประนอมนั้นมีเงื่อนไข และจะขอสืบพยานว่าสัญญานั้นมีเงื่อนไขซึ่งตัวสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น หามีปรากฏว่ามีเงื่อนไขไว้ไม่ ดังนี้ เป็นการนำสืบแก้ไขเพิ่มเติมข้อความในเอกสารต้องห้ามไม่ให้สืบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94