พบผลลัพธ์ทั้งหมด 211 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5127/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนตั๋วสัญญาใช้เงินที่มีข้อจำกัด 'เปลี่ยนมือไม่ได้' ต้องทำเป็นหนังสือจึงสมบูรณ์
ตั๋วสัญญาใช้เงินซึ่งผู้ออกตั๋วได้ลงข้อความในด้านหน้าของตั๋วว่า "เปลี่ยนมือไม่ได้" ดังนี้ตั๋วสัญญาใช้เงินนั้นย่อมจะโอนกันได้แต่โดยรูปการและด้วยผลอย่างการโอนสามัญ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 917 วรรคสอง ประกอบมาตรา 985 การโอนสามัญคือ การโอนสิทธิเรียกร้องซึ่งต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 306 กล่าวคือ ต้องทำเป็นหนังสือ มิฉะนั้นย่อมไม่สมบูรณ์ และการโอนนั้นจะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ลูกหนี้หรือบุคคลภายนอกได้แต่เมื่อได้บอกกล่าวการโอนไปยังลูกหนี้หรือลูกหนี้จะได้ยินยอมด้วยในการโอน โดยคำบอกกล่าวหรือความยินยอมนั้นต้องทำเป็นหนังสือด้วย การที่ลูกหนี้ที่ 1 ได้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินมีข้อความในด้านหน้าว่า "เปลี่ยนมือไม่ได้" ให้กับ ธ. ต่อมา ธ. สลักหลังตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าวให้เจ้าหนี้โดยมิได้ทำเป็นหนังสือ แม้ ธ. จะได้ทำหนังสือแจ้งการสลักหลังให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทราบพร้อมทั้งโอนตั๋วสัญญาใช้เงินให้เจ้าหนี้ก็ตาม เจ้าหนี้ก็ยังไม่เป็นผู้ทรงตั๋วสัญญาใช้เงิน จึงไม่มีสิทธิขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ 1 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2347/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจจำหน่ายที่ดินจากการมอบอำนาจ สัญญาเช่าซื้อสมบูรณ์หากผู้รับมอบอำนาจทำสัญญาถูกต้อง
จำเลยได้รับมอบอำนาจจากเจ้าของที่ดินให้ดำเนินการจัดสรรจำหน่ายที่ดิน จำเลยจึงมีอำนาจนำที่ดินดังกล่าวออกให้เช่าซื้อและมีอำนาจลงนามในสัญญาเช่าซื้อได้ โจทก์ทำสัญญาเช่าซื้อที่ดินจากจำเลยสัญญาย่อมมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยผิดสัญญาเช่าซื้อ โจทก์จะมาฟ้องขอเรียกเงินค่าเช่าซื้อที่ชำระไปแล้วคืนโดยอ้างเหตุว่าจำเลยมิใช่เจ้าของที่ดินตามสัญญาหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5561-5567/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้อง: เพียงบอกกล่าวการโอนก็สมบูรณ์ ไม่ต้องได้รับความยินยอมจากลูกหนี้
จำเลยเป็นเจ้าหนี้ค่าก่อสร้างถนนของกรุงเทพมหานครลูกหนี้ได้โอนหนี้หรือสิทธิเรียกร้องเงินค่าก่อสร้างดังกล่าวให้ผู้ร้องโดยทำเป็นหนังสือและผู้ร้องได้ส่งคำบอกกล่าวแจ้งการโอนไปยังกรุงเทพมหานครเป็นหนังสือแล้ว จึงต้องด้วยแบบพิธีสำหรับการโอนสิทธิเรียกร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 306ทุกประการ การโอนสิทธิเรียกร้องระหว่างจำเลยกับผู้ร้องเป็นอันสมบูรณ์ สิทธิเรียกร้องอันเกิดแต่การโอนย่อมหลุดจากจำเลยไปสู่ผู้ร้องแล้ว และย่อมใช้ยันกรุงเทพมหานครลูกหนี้ และใช้ยันโจทก์ลูกจ้างของจำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้โดยไม่ต้องพิจารณาว่ากรุงเทพมหานครลูกหนี้จะได้ยินยอมในการโอนนั้นด้วยหรือไม่ โจทก์หามีสิทธิอายัดสิทธิเรียกร้องเงินดังกล่าวไม่
ข้อความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 306 ที่ว่า'ได้บอกกล่าวการโอนไปยังลูกหนี้หรือลูกหนี้จะได้ยินยอมด้วยในการโอนนั้น' กฎหมายต้องการเพียงประการใดประการหนึ่งเท่านั้นไม่ได้ต้องการให้ประกอบกันทั้งสองประการจึงจะถือว่าการโอนสมบูรณ์และใช้ยันลูกหนี้กับบุคคลภายนอกได้ ที่บัญญัติว่า ลูกหนี้จะได้ยินยอมด้วยในการโอนนั้นเป็นกรณีที่ใช้ประกอบกับมาตรา 308 ซึ่งมีความหมายว่าหากลูกหนี้ยินยอมโดยมิได้อิดเอื้อนแล้วย่อมทำให้ลูกหนี้หมดสิทธิที่จะยกข้อต่อสู้อันตนมีอยู่ต่อเจ้าหนี้มาใช้แก่ผู้รับโอน แต่หาทำให้การโอนสิทธิเรียกร้องที่ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขประการแรกตกเป็นอันไม่สมบูรณ์ด้วยการที่ลูกหนี้ไม่ยินยอมไม่.
ข้อความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 306 ที่ว่า'ได้บอกกล่าวการโอนไปยังลูกหนี้หรือลูกหนี้จะได้ยินยอมด้วยในการโอนนั้น' กฎหมายต้องการเพียงประการใดประการหนึ่งเท่านั้นไม่ได้ต้องการให้ประกอบกันทั้งสองประการจึงจะถือว่าการโอนสมบูรณ์และใช้ยันลูกหนี้กับบุคคลภายนอกได้ ที่บัญญัติว่า ลูกหนี้จะได้ยินยอมด้วยในการโอนนั้นเป็นกรณีที่ใช้ประกอบกับมาตรา 308 ซึ่งมีความหมายว่าหากลูกหนี้ยินยอมโดยมิได้อิดเอื้อนแล้วย่อมทำให้ลูกหนี้หมดสิทธิที่จะยกข้อต่อสู้อันตนมีอยู่ต่อเจ้าหนี้มาใช้แก่ผู้รับโอน แต่หาทำให้การโอนสิทธิเรียกร้องที่ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขประการแรกตกเป็นอันไม่สมบูรณ์ด้วยการที่ลูกหนี้ไม่ยินยอมไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4745-4747/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องไม่สมบูรณ์เนื่องจากไม่ได้ระบุอายุโจทก์ แต่มีข้อมูลอื่นที่แสดงถึงการบรรลุนิติภาวะแล้ว
คดีที่ราษฎรเป็นโจทก์ แม้โจทก์จะมิได้ระบุอายุของตนลงในคำฟ้องแต่ก็ได้บรรยายฟ้องไว้ว่าตนเป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทซ. และเมื่ออ้างตนเองเป็นพยานในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง ก็เบิกความว่าตนมีอายุ 40 ปี ย่อมทราบได้ว่าโจทก์อายุ 40 ปี เป็นผู้บรรลุนิติภาวะแล้ว จึงไม่เพียงพอที่จะถือว่าคำฟ้องดังกล่าวเป็นคำฟ้องที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 158(3).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1790/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมสมบูรณ์ แม้ทำในโรงพยาบาล และคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกชอบด้วยกฎหมายแม้ไม่ระบุเหตุขัดข้อง
การทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองซึ่งทำขึ้นโดยทางราชการแม้จะจัดทำในโรงพยาบาลก็ไม่จำต้องให้แพทย์รับรอง เพราะการจะพิจารณาว่าผู้ทำพินัยกรรมมีสติสัมปชัญญะดีหรือไม่ นายอำเภอหรือปลัดอำเภอผู้ทำพินัยกรรมย่อมมีความรู้ความสามารถพอที่จะพิจารณาได้
คำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดกแม้มิได้ระบุเหตุขัดข้องในการจัดการมรดกไว้ แต่ได้ระบุว่าผู้ร้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียและได้แนบสำเนาสูติบัตรของผู้รับพินัยกรรมมาให้เห็นว่าเป็นผู้เยาว์ ก็ถือว่าเป็นคำร้องที่ชอบด้วยกฎหมาย ผู้ร้องมีอำนาจยื่นคำร้องได้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713(1) และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดกแม้มิได้ระบุเหตุขัดข้องในการจัดการมรดกไว้ แต่ได้ระบุว่าผู้ร้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียและได้แนบสำเนาสูติบัตรของผู้รับพินัยกรรมมาให้เห็นว่าเป็นผู้เยาว์ ก็ถือว่าเป็นคำร้องที่ชอบด้วยกฎหมาย ผู้ร้องมีอำนาจยื่นคำร้องได้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713(1) และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1453/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อสมบูรณ์เมื่อลงชื่อครบ แม้ลงชื่อหลังทำสัญญา
บทบัญญัติมาตรา 572 วรรคสอง แห่ง ป.พ.พ. ไม่ได้ระบุไว้แต่อย่างใดว่าคู่สัญญาเช่าซื้อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือทั้งสองฝ่ายต้องลงชื่อในวันทำสัญญา เมื่อคู่สัญญาลงชื่อในสัญญาเช่าซื้อทั้งสองฝ่ายย่อมถือได้ว่าสัญญาเช่าซื้อได้กระทำเป็นหนังสือแล้ว ดังนั้น การที่ผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ลงชื่อในสัญญาเช่าซื้อระหว่างโจทก์กับจำเลยภายหลังจากวันที่ทำสัญญาเช่าซื้อนั้น สัญญาเช่าซื้อย่อมสมบูรณ์ตามกฎหมาย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1433/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสมบูรณ์ของฟ้องคดีชิงทรัพย์ที่ไม่ระบุชื่อเจ้าของทรัพย์ หากโจทก์บรรยายรายละเอียดอื่นครบถ้วน
ความผิดฐานลักทรัพย์หรือชิงทรัพย์ตามลักษณะของความผิดจะต้องเป็นทรัพย์ของผู้อื่น และโดยปกติฟ้องย่อมต้องระบุชื่อเจ้าของทรัพย์เพื่อจำเลยจะต่อสู้คดีได้ แต่กฎหมายก็มิได้บังคับเด็ดขาดว่าต้องระบุชื่อเจ้าของทรัพย์เสมอไปเช่นในกรณีที่ไม่อาจทราบตัวเจ้าของทรัพย์ที่แน่นอนได้ คำฟ้องเพียงแต่กล่าวไว้พอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีก็เป็นการเพียงพอแล้ว
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยชิงทรัพย์ โดยลักเอากระเป๋าสตางค์1 ใบ ราคา 50 บาท เงินสด 370 บาท .....ของหญิงไม่ทราบชื่อ อายุประมาณ 35 ปี ผู้เสียหายไปโดยทุจริต.....เป็นการบรรยายฟ้องที่มีข้อเท็จจริงและรายละเอียดเกี่ยวกับบุคคลหรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องครบถ้วนแล้วคงขาดแต่ชื่อเจ้าของทรัพย์เท่านั้นแต่เมื่ออ่านคำฟ้องโดยตลอดแล้วย่อมเป็นที่เข้าใจว่าทรัพย์ที่จำเลยลักเอาไปเป็นของผู้อื่น มิใช่เป็นทรัพย์ของจำเลยหรือเป็นทรัพย์ที่ไม่มีเจ้าของ ดังนี้ ถือได้ว่าฟ้องโจทก์ระบุข้อเท็จจริงและรายละเอียดเกี่ยวกับบุคคลและสิ่งของพอสมควรที่จำเลยจะต่อสู้คดีได้แล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม.
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยชิงทรัพย์ โดยลักเอากระเป๋าสตางค์1 ใบ ราคา 50 บาท เงินสด 370 บาท .....ของหญิงไม่ทราบชื่อ อายุประมาณ 35 ปี ผู้เสียหายไปโดยทุจริต.....เป็นการบรรยายฟ้องที่มีข้อเท็จจริงและรายละเอียดเกี่ยวกับบุคคลหรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องครบถ้วนแล้วคงขาดแต่ชื่อเจ้าของทรัพย์เท่านั้นแต่เมื่ออ่านคำฟ้องโดยตลอดแล้วย่อมเป็นที่เข้าใจว่าทรัพย์ที่จำเลยลักเอาไปเป็นของผู้อื่น มิใช่เป็นทรัพย์ของจำเลยหรือเป็นทรัพย์ที่ไม่มีเจ้าของ ดังนี้ ถือได้ว่าฟ้องโจทก์ระบุข้อเท็จจริงและรายละเอียดเกี่ยวกับบุคคลและสิ่งของพอสมควรที่จำเลยจะต่อสู้คดีได้แล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4136/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมแบบธรรมดา: การลงลายพิมพ์นิ้วมือและลายมือชื่อพยาน, การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองท้องที่ และการสมบูรณ์ของพินัยกรรม
พินัยกรรมแบบธรรมดาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1656 ซึ่งผู้ทำพินัยกรรมลงลายพิมพ์นิ้วมือไว้ พยานรับรองพินัยกรรมโดยลงลายพิมพ์นิ้วมือย่อมเป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1656 และ 1666
พินัยกรรมซึ่งผู้ทำพินัยกรรมลงลายพิมพ์นิ้วมือไว้ มีพยานรับรองพินัยกรรมสองคน คนหนึ่งลงลายพิมพ์นิ้วมือ อีกคนหนึ่งลงลายมือชื่อ และมี พ.ลงลายมือชื่อในฐานะผู้ปกครองท้องที่ เมื่อปรากฏว่า พ.อยู่รู้เห็นการทำพินัยกรรมมาแต่ต้นจนกระทั่งผู้ทำพินัยกรรมลงลายพิมพ์นิ้วมือต่อหน้าพยานซึ่งลงลายมือชื่อรับรองพินัยกรรมที่สมบูรณ์คนหนึ่งแล้ว พ.จึงลงลายมือชื่อในฐานะผู้ปกครองท้องที่ แม้จะไม่ได้เขียนคำว่าพยานไว้ท้ายชื่อของ พ.ก็ถือได้ว่า พ.เป็นพยานรับรองพินัยกรรมอีกคนหนึ่งเพราะพยานในพินัยกรรมไม่จำต้องเขียนคำว่าพยานไว้ท้ายชื่อ เป็นแต่เพียงมีข้อความให้เห็นได้ว่าเป็นพยาน ก็ถือว่าเป็นพยานในพินัยกรรมแล้ว พินัยกรรมจึงสมบูรณ์(อ้างฎีกาที่363/2492)
พยานที่ลงลายมือชื่อเป็นพยานในพินัยกรรมขณะทำพินัยกรรมไม่จำต้องลงลายมือชื่อรับรองลายพิมพ์นิ้วมือของผู้ทำพินัยกรรมอีกหนหนึ่ง เพราะถือได้ว่าพยานทำหน้าที่สองฐานะคือ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 9, 1665 และตามมาตรา 1656 (อ้างฎีกาที่111/2497)
ฎีกาโจทก์ที่ว่าพินัยกรรมแบบธรรมดาจะต้องมีลายมือชื่อผู้เขียนกำกับไว้ และระบุด้วยว่าเป็นผู้เขียน ประเด็นดังกล่าวน่าจะต้องได้รับการวินิจฉัยโดยลึกซึ้ง เป็นฎีกาที่ไม่ได้คัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่าไม่ถูกต้องอย่างใด เพียงแต่เสนอความเห็นว่าน่าจะต้องได้รับการวินิจฉัยในปัญหาข้อนี้ให้ลึกซึ้งเท่านั้น เป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
พินัยกรรมซึ่งผู้ทำพินัยกรรมลงลายพิมพ์นิ้วมือไว้ มีพยานรับรองพินัยกรรมสองคน คนหนึ่งลงลายพิมพ์นิ้วมือ อีกคนหนึ่งลงลายมือชื่อ และมี พ.ลงลายมือชื่อในฐานะผู้ปกครองท้องที่ เมื่อปรากฏว่า พ.อยู่รู้เห็นการทำพินัยกรรมมาแต่ต้นจนกระทั่งผู้ทำพินัยกรรมลงลายพิมพ์นิ้วมือต่อหน้าพยานซึ่งลงลายมือชื่อรับรองพินัยกรรมที่สมบูรณ์คนหนึ่งแล้ว พ.จึงลงลายมือชื่อในฐานะผู้ปกครองท้องที่ แม้จะไม่ได้เขียนคำว่าพยานไว้ท้ายชื่อของ พ.ก็ถือได้ว่า พ.เป็นพยานรับรองพินัยกรรมอีกคนหนึ่งเพราะพยานในพินัยกรรมไม่จำต้องเขียนคำว่าพยานไว้ท้ายชื่อ เป็นแต่เพียงมีข้อความให้เห็นได้ว่าเป็นพยาน ก็ถือว่าเป็นพยานในพินัยกรรมแล้ว พินัยกรรมจึงสมบูรณ์(อ้างฎีกาที่363/2492)
พยานที่ลงลายมือชื่อเป็นพยานในพินัยกรรมขณะทำพินัยกรรมไม่จำต้องลงลายมือชื่อรับรองลายพิมพ์นิ้วมือของผู้ทำพินัยกรรมอีกหนหนึ่ง เพราะถือได้ว่าพยานทำหน้าที่สองฐานะคือ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 9, 1665 และตามมาตรา 1656 (อ้างฎีกาที่111/2497)
ฎีกาโจทก์ที่ว่าพินัยกรรมแบบธรรมดาจะต้องมีลายมือชื่อผู้เขียนกำกับไว้ และระบุด้วยว่าเป็นผู้เขียน ประเด็นดังกล่าวน่าจะต้องได้รับการวินิจฉัยโดยลึกซึ้ง เป็นฎีกาที่ไม่ได้คัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่าไม่ถูกต้องอย่างใด เพียงแต่เสนอความเห็นว่าน่าจะต้องได้รับการวินิจฉัยในปัญหาข้อนี้ให้ลึกซึ้งเท่านั้น เป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4136/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมแบบธรรมดา: การลงลายพิมพ์นิ้วมือและลายมือชื่อพยาน, ผู้ปกครองท้องที่ในฐานะพยาน
พินัยกรรมแบบธรรมดาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1656ซึ่งผู้ทำพินัยกรรมลงลายพิมพ์นิ้วมือไว้ พยานรับรองพินัยกรรมโดยลงลายพิมพ์นิ้วมือย่อมเป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1656 และ 1666
พินัยกรรมซึ่งผู้ทำพินัยกรรมลงลายพิมพ์นิ้วมือไว้ มีพยานรับรองพินัยกรรมสองคน คนหนึ่งลงลายพิมพ์นิ้วมือ อีกคนหนึ่งลงลายมือชื่อ และมี พ.ลงลายมือชื่อในฐานะผู้ปกครองท้องที่เมื่อปรากฏว่า พ. อยู่รู้เห็นการทำพินัยกรรมมาแต่ต้นจนกระทั่งผู้ทำพินัยกรรมลงลายพิมพ์นิ้วมือต่อหน้าพยานซึ่งลงลายมือชื่อรับรองพินัยกรรมที่สมบูรณ์คนหนึ่งแล้ว พ.จึงลงลายมือชื่อในฐานะผู้ปกครองท้องที่ แม้จะไม่ได้เขียนคำว่าพยานไว้ท้ายชื่อของ พ.ก็ถือได้ว่าพ.เป็นพยานรับรองพินัยกรรมอีกคนหนึ่งเพราะพยานในพินัยกรรมไม่จำต้องเขียนคำว่าพยานไว้ท้ายชื่อ เป็นแต่เพียงมีข้อความให้เห็นได้ว่าเป็นพยาน ก็ถือว่าเป็นพยานในพินัยกรรมแล้ว พินัยกรรมจึงสมบูรณ์ (อ้างฎีกาที่363/2492)
พยานที่ลงลายมือชื่อเป็นพยานในพินัยกรรมขณะทำพินัยกรรมไม่จำต้องลงลายมือชื่อรับรองลายพิมพ์นิ้วมือของผู้ทำพินัยกรรมอีกหนหนึ่ง เพราะถือได้ว่าพยานทำหน้าที่สองฐานะคือ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 9,1665 และตามมาตรา 1656(อ้างฎีกาที่111/2497)
ฎีกาโจทก์ที่ว่าพินัยกรรมแบบธรรมดาจะต้องมีลายมือชื่อผู้เขียนกำกับไว้ และระบุด้วยว่าเป็นผู้เขียน ประเด็นดังกล่าวน่าจะต้องได้รับการวินิจฉัยโดยลึกซึ้ง เป็นฎีกาที่ไม่ได้คัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่าไม่ถูกต้องอย่างใด เพียงแต่เสนอความเห็นว่าน่าจะต้องได้รับการวินิจฉัยในปัญหาข้อนี้ให้ลึกซึ้งเท่านั้น เป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
พินัยกรรมซึ่งผู้ทำพินัยกรรมลงลายพิมพ์นิ้วมือไว้ มีพยานรับรองพินัยกรรมสองคน คนหนึ่งลงลายพิมพ์นิ้วมือ อีกคนหนึ่งลงลายมือชื่อ และมี พ.ลงลายมือชื่อในฐานะผู้ปกครองท้องที่เมื่อปรากฏว่า พ. อยู่รู้เห็นการทำพินัยกรรมมาแต่ต้นจนกระทั่งผู้ทำพินัยกรรมลงลายพิมพ์นิ้วมือต่อหน้าพยานซึ่งลงลายมือชื่อรับรองพินัยกรรมที่สมบูรณ์คนหนึ่งแล้ว พ.จึงลงลายมือชื่อในฐานะผู้ปกครองท้องที่ แม้จะไม่ได้เขียนคำว่าพยานไว้ท้ายชื่อของ พ.ก็ถือได้ว่าพ.เป็นพยานรับรองพินัยกรรมอีกคนหนึ่งเพราะพยานในพินัยกรรมไม่จำต้องเขียนคำว่าพยานไว้ท้ายชื่อ เป็นแต่เพียงมีข้อความให้เห็นได้ว่าเป็นพยาน ก็ถือว่าเป็นพยานในพินัยกรรมแล้ว พินัยกรรมจึงสมบูรณ์ (อ้างฎีกาที่363/2492)
พยานที่ลงลายมือชื่อเป็นพยานในพินัยกรรมขณะทำพินัยกรรมไม่จำต้องลงลายมือชื่อรับรองลายพิมพ์นิ้วมือของผู้ทำพินัยกรรมอีกหนหนึ่ง เพราะถือได้ว่าพยานทำหน้าที่สองฐานะคือ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 9,1665 และตามมาตรา 1656(อ้างฎีกาที่111/2497)
ฎีกาโจทก์ที่ว่าพินัยกรรมแบบธรรมดาจะต้องมีลายมือชื่อผู้เขียนกำกับไว้ และระบุด้วยว่าเป็นผู้เขียน ประเด็นดังกล่าวน่าจะต้องได้รับการวินิจฉัยโดยลึกซึ้ง เป็นฎีกาที่ไม่ได้คัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่าไม่ถูกต้องอย่างใด เพียงแต่เสนอความเห็นว่าน่าจะต้องได้รับการวินิจฉัยในปัญหาข้อนี้ให้ลึกซึ้งเท่านั้น เป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4136/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสมบูรณ์ของพินัยกรรมแบบธรรมดา: การลงลายมือชื่อและลายพิมพ์นิ้วมือของพยาน
พินัยกรรมแบบธรรมดาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1656ซึ่งผู้ทำพินัยกรรมลงลายพิมพ์นิ้วมือไว้พยานรับรองพินัยกรรมโดยลงลายพิมพ์นิ้วมือย่อมเป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1656และ1666 พินัยกรรมซึ่งผู้ทำพินัยกรรมลงลายพิมพ์นิ้วมือไว้มีพยานรับรองพินัยกรรมสองคนคนหนึ่งลงลายพิมพ์นิ้วมืออีกคนหนึ่งลงลายมือชื่อและมีพ.ลงลายมือชื่อในฐานะผู้ปกครองท้องที่เมื่อปรากฏว่าพ.อยู่รู้เห็นการทำพินัยกรรมมาแต่ต้นจนกระทั่งผู้ทำพินัยกรรมลงลายพิมพ์นิ้วมือต่อหน้าพยานซึ่งลงลายมือชื่อรับรองพินัยกรรมที่สมบูรณ์คนหนึ่งแล้วพ.จึงลงลายมือชื่อในฐานะผู้ปกครองท้องที่แม้จะไม่ได้เขียนคำว่าพยานไว้ท้ายชื่อของพ.ก็ถือได้ว่าพ.เป็นพยานรับรองพินัยกรรมอีกคนหนึ่งเพราะพยานในพินัยกรรมไม่จำต้องเขียนคำว่าพยานไว้ท้ายชื่อเป็นแต่เพียงมีข้อความให้เห็นได้ว่าเป็นพยานก็ถือว่าเป็นพยานในพินัยกรรมแล้วพินัยกรรมจึงสมบูรณ์(อ้างฎีกาที่363/2492) พยานที่ลงลายมือชื่อเป็นพยานในพินัยกรรมขณะทำพินัยกรรมไม่จำต้องลงลายมือชื่อรับรองลายพิมพ์นิ้วมือของผู้ทำพินัยกรรมอีกหนหนึ่งเพราะถือได้ว่าพยานทำหน้าที่สองฐานะคือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา9,1665และตามมาตรา1656(อ้างฎีกาที่111/2497) ฎีกาโจทก์ที่ว่าพินัยกรรมแบบธรรมดาจะต้องมีลายมือชื่อผู้เขียนกำกับไว้และระบุด้วยว่าเป็นผู้เขียนประเด็นดังกล่าวน่าจะต้องได้รับการวินิจฉัยโดยลึกซึ้งเป็นฎีกาที่ไม่ได้คัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่าไม่ถูกต้องอย่างใดเพียงแต่เสนอความเห็นว่าน่าจะต้องได้รับการวินิจฉัยในปัญหาข้อนี้ให้ลึกซึ้งเท่านั้นเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้งต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย.