คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สมรส

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 247 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 144/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การให้ทรัพย์สินโดยเสน่หาและการประพฤติเนรคุณ การสมรสกับผู้อื่นไม่ถือเป็นการประพฤติเนรคุณ
การที่จำเลยไปสมรสกับหญิงอื่นไม่ได้เป็นเหตุผลที่จะแสดงว่าโจทก์เป็นคนไม่ดีแต่อย่างใดทั้งไม่ปรากฏว่าการกระทำของจำเลยทำให้โจทก์ต้องเสียชื่อเสียงอย่างร้ายแรงถึงขนาดจะถอนคืนการให้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา531(2)ได้การกระทำของจำเลยจึงถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำอันเป็นการประพฤติเนรคุณโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1092/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการไม่ทำพิธีสมรส: จำเป็นต้องมีการหมั้นหรือไม่
เมื่อไม่มีการหมั้น โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าทดแทนความเสียหายในการเตรียมการสมรสจากจำเลยทั้งสามซึ่งไม่มาทำพิธีสมรสในวันที่กำหนด
ตามคำบรรยายฟ้องของโจทก์เป็นเรื่องฝ่ายจำเลยสู่ขอโจทก์เพื่อสมรสกับจำเลยที่ 3 โดยตกลงให้ฝ่ายโจทก์เป็นผู้จัดงานและพิธีสมรส แล้วจำเลยที่ 3 ไม่มาทำพิธีสมรสตามที่ตกลงไว้ อีกทั้งค่าเสียหายที่โจทก์เรียกร้องไม่ว่าจะเป็นค่าใช้จ่ายในการเตรียมการสมรสหรือค่าเสียหายทางจิตใจเนื่องจากถูกชาวบ้านดูถูกให้อับอายขายหน้าก็ตาม ล้วนสืบเนื่องมาจากการที่จำเลยที่ 1และที่ 2 ไม่นำจำเลยที่ 3 มาทำพิธีสมรสในวันที่กำหนด มูลคดีตามคำบรรยายฟ้องของโจทก์จึงเป็นการกล่าวหาว่าจำเลยทั้งสามผิดสัญญาหรือข้อตกลงเกี่ยวกับการสมรส มิใช่มูลละเมิดตามที่โจทก์อุทธรณ์เพราะคำฟ้องโจทก์หาได้บรรยายว่าจำเลยทั้งสามได้กระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อโดยผิดกฎหมาย ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 แต่ประการใดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7100/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ในตั๋วสัญญาใช้เงินระหว่างสมรส: การใช้เงินส่วนตัวไม่ใช่การเบียดบังทรัพย์มรดก
ตั๋วสัญญาใช้เงินทั้งสามฉบับเป็นสินสมรสซึ่งผู้ตาย และจำเลยถือกรรมสิทธิ์คนละครึ่ง การที่จำเลยถอนเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินเมื่อตั๋วสัญญาใช้เงินครบกำหนดและนำเงินที่ถอนได้ครึ่งหนึ่งไปใช้ประโยชน์ส่วนตัว จึงเป็นการใช้เงินส่วนของจำเลย มิใช่ใช้ส่วนที่เป็นทรัพย์มรดกของผู้ตาย จำเลยมิได้เบียดบังทรัพย์มรดกของผู้ตาย จึงไม่มีความผิดฐานยักยอก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5974/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบอกล้างสัญญาเกี่ยวกับทรัพย์สินระหว่างสมรส: โมฆะหากตกลงไม่ยกเลิก
สัญญาที่เกี่ยวกับทรัพย์สินที่สามีภริยาได้ทำไว้ต่อกันในระหว่างเป็นสามีภริยาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1469 ได้ให้สิทธิสามีหรือภริยาบอกล้างได้ในระหว่างที่เป็นสามีภริยากันหรือภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ขาดจากการเป็นสามีภริยากัน จึงเป็นบทบัญญัติที่มุ่งคุ้มครองสิทธิของคู่สมรสโดยทั่วไปที่ได้ทำสัญญาเกี่ยวกับทรัพย์สินกันไว้ในระหว่างสมรส โดยตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของความเสน่หาหรือเหตุอื่นใดอันทำให้ตนต้องเสียประโยชน์ มิให้ถูกเอารัดเอาเปรียบหรือถูกข่มเหงโดยไม่ชอบธรรม และเป็นการป้องกันมิให้ครอบครัวต้องร้าวฉานแตกแยกกันได้ ดังนั้นข้อตกลงที่ว่าจะไม่ยกเลิกสัญญาที่เกี่ยวกับทรัพย์สินในระหว่างสมรสของสามีภริยา จึงมีวัตถุประสงค์ที่ขัดต่อบทกฎหมายดังกล่าว ย่อมตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 113 (เดิม)
โจทก์จำเลยเป็นสามีภริยาโดยจดทะเบียนสมรส แม้จะตกลงหย่าขาดกันตามประเพณีศาสนาอิสลามและทำสัญญาแบ่งผลประโยชน์และทรัพย์สินโดยมีเงื่อนไขระบุไว้ด้วยว่าจำเลยยินยอมผูกพันตามสัญญาตลอดไป และจะไม่ยกเลิกสัญญานี้ แต่เมื่อโจทก์จำเลยยังมิได้จดทะเบียนหย่า ก็ต้องถือว่าโจทก์จำเลยยังเป็นสามีภริยากันตามกฎหมาย สัญญาแบ่งผลประโยชน์และทรัพย์สินดังกล่าวจึงเป็นสัญญาระหว่างสมรสที่เกี่ยวกับทรัพย์สินที่สามีภริยาได้ทำไว้ต่อกันในระหว่างเป็นสามีภริยาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1469

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2529/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเครื่องหมายการค้าหลังสมรส: การโอนสิทธิและละเมิดสิทธิแม้ยังไม่ได้จดทะเบียน
แม้ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474มาตรา33ได้บัญญัติถึงการโอนสิทธิในเครื่องหมายการค้าว่าจะสมบูรณ์ได้ก็ต่อเมื่อต้องจดทะเบียนเสียก่อนก็ตามแต่เมื่อโจทก์ได้คิดและออกแบบเครื่องหมายการค้าแล้วนำไปจดทะเบียนโดยใช้ชื่อส.สามีโจทก์เป็นผู้จดทะเบียนในระหว่างเป็นสามีภรรยากันเครื่องหมายการค้าเป็นทรัพย์สินที่ส.กับโจทก์ผู้เป็นคู่สมรสได้มาระหว่างสมรสจึงเป็นสินสมรสส. และโจทก์ย่อมเป็นเจ้าของสิทธิร่วมกันในเครื่องหมายการค้าแม้โจทก์จะมิได้มีชื่อเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าในทะเบียนเครื่องหมายการค้าและต่อมาได้มีการหย่าขาดและทำสัญญาแบ่งทรัพย์สินกันแต่สิทธิในเครื่องหมายการค้าของบุคคลทั้งสองก็ยังคงมีอยู่ร่วมกันจนกว่าจะได้มีการจดทะเบียนโอนสิทธิในเครื่องหมายการค้าเป็นของโจทก์แต่ลำพังผู้เดียวตามข้อตกลงการที่จำเลยละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของโจทก์โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้ห้ามจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้ตามมาตรา27 ตามปกติโจทก์ต้องทำการโฆษณาสินค้าของโจทก์อยู่แล้วจึงไม่อาจถือว่าค่าโฆษณาสินค้าเป็นค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจากการทำละเมิดของจำเลยโดยตรงแต่เครื่องหมายการค้าของโจทก์มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันทั่วไปการที่จำเลยนำเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไปใช้กับสินค้าของจำเลยย่อมทำให้ค่านิยมทางการค้าของโจทก์ได้รับความกระทบกระเทือนเสียหายศาลจึงกำหนดให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายเป็นเงินจำนวนหนึ่งตามพฤติการณ์แห่งละเมิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2414/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งสินสมรสระหว่างสามีภริยาที่สมรสก่อน พ.ร.บ. 2519 และการสืบสันดานรับมรดก
ห. กับ จ.เป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายตามกฎหมายลักษณะผัวเมียโดยต่างมีสินเดิมมาด้วยกันบุคคลทั้งสองได้ทรัพย์พิพาทมาในระหว่างสมรสจึงเป็นสินสมรสแม้ ห. ถึงแก่ความตายในปี2532เมื่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ5ใหม่ประกาศใช้แล้วก็ตามการแบ่งสินสมรสก็ต้องแบ่งตามกฎหมายลักษณะผัวเมียบทที่68คือชายได้2ส่วนหญิงได้1ส่วนจะแบ่งคนละส่วนเท่ากันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1533หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2165/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผิดสัญญาหมั้นและการใช้จ่ายสมควรในการเตรียมสมรส
การที่หญิงหมั้นกับชายโดยชอบด้วยกฎหมาย และเมื่อแต่งงานตามประเพณีแล้วหญิงชวนชายไปจดทะเบียนสมรสหลายครั้ง หญิงย่อมต้องการอยู่กินกับชายโดยชอบด้วยกฎหมาย การที่บิดามารดาและพี่ของชายนั้นไล่หญิงออกจากบ้านหลังจากนั้นชายก็มิได้กระทำการใดเพื่อให้หญิงกลับมาอยู่กินฉันสามีภริยา ชายนั้นจึงผิดสัญญาญาหมั้น
หญิงและชายต่างมีฐานะดี ในการจัดงานเลี้ยงแต่งงานมีการเชิญแขกประมาณ 600 คน และเลี้ยงโต๊ะจีน การที่หญิงซื้อชุดแต่งงานเพื่อเข้าพิธีจำนวน 4 ชุด เป็นเงิน 28,000 บาท เป็นการใช้จ่ายอันสมควรในการเตรียมการสมรสเรียกค่าทดแทนได้
หญิงซื้อผ้ารับไหว้เพื่อให้ญาติผู้ใหญ่ฝ่ายชายตามประเพณี มิใช่ค่าใช้จ่ายในการเตรียมการสมรสอันจะเรียกค่าทดแทนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1697/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ร่วมสมรส: ศาลวินิจฉัยได้แม้โจทก์มิได้อุทธรณ์ประเด็นการจัดการบ้านเรือน
ผู้ร้องอ้างว่าหนี้เงินกู้ที่จำเลยเป็นหนี้โจทก์มิใช่หนี้ร่วมผู้ร้องมิได้เกี่ยวข้องหรือรู้เห็นยินยอมด้วยโจทก์คัดค้านว่าจำเลยได้นำเงินกู้ไปใช้ในการอุปการะเลี้ยงดูในครอบครัวและนำเงินบางส่วนไปชำระหนี้ค่าปลูกสร้างและตกแต่งบ้านที่โจทก์นำยึดคดีมีประเด็นพิพาทว่าหนี้เงินกู้นั้นเป็นหนี้ร่วมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1490หรือไม่การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าหนี้ดังกล่าวจำเลยก่อขึ้นเพื่อประโยชน์ของตนฝ่ายเดียวแต่ผู้ร้องได้ให้สัตยาบันจึงเป็นหนี้ร่วมตามมาตรา1490(4)แม้โจทก์จะมิได้อุทธรณ์หรือแก้อุทธรณ์ตั้งประเด็นว่าเป็นหนี้ร่วมเพราะเกี่ยวแก่การจัดการบ้านเรือนและจัดหาสิ่งจำเป็นสำหรับครอบครัวตามมาตรา1490(1)ศาลอุทธรณ์ภาค3ก็มีอำนาจวินิจฉัยว่าเป็นหนี้ร่วมตามมาตรา1490(1)นี้ได้ไม่เป็นการนอกประเด็น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 810/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สินสมรส: การโอนขายที่ดินที่ได้มาจากการประมูลระหว่างสมรส และผลของการโอนต่อ
โจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย โจทก์นำเงินที่ทำมาหาได้ในระหว่างสมรสซื้อที่ดินพิพาทมาจากการขายทอดตลาดของศาล และใส่ชื่อโจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทแต่เพียงผู้เดียว แต่จำเลยที่ 1 เกรงว่าจะมีปัญหาในการแบ่งที่ดินพิพาทเนื่องจากโจทก์มีบุตรที่เกิดจากภริยาคนก่อนจึงขอลงชื่อในโฉนดโจทก์ยินยอมจึงได้ทำนิติกรรมโอนขายที่ดินพิพาทแก่จำเลยที่ 1ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์สินที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ทำมาหาได้ร่วมกันมาจึงเป็นสินสมรส

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7367/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีโมฆะการสมรส: การสิ้นสุดการสมรสด้วยการตายตัดสิทธิทายาทในการฟ้อง
ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้มิได้มีการตั้งเป็นประเด็นแห่งคดีไว้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค2ก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามนัยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142(5) บิดาโจทก์ถึงแก่ความตายไปแล้วก่อนโจทก์ฟ้องการสมรสระหว่างบิดาโจทก์กับจำเลยได้ขาดจากกันเพราะเหตุบิดาโจทก์ถึงแก่ความตายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1501แล้วการสมรสนั้นจึงไม่มีผลกระทบกระเทือนหรือโต้แย้งสิทธิของโจทก์ในฐานะทายาทของบิดาคู่สมรสเดิมอันจะก่อให้เกิดสิทธิหรืออำนาจที่จะฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าเป็นโมฆะทั้งตามคำฟ้องของโจทก์ไม่ได้กล่าวแสดงว่าจำเลยได้กระทำสิ่งใดอันเป็นการโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์เช่นสิทธิในครอบครัวสิทธิในมรดกของบิดาโจทก์ผู้ตายหรือสิทธิอื่นใดซึ่งจะเป็นเหตุให้โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา55ถือว่าตามฟ้องไม่มีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
of 25