คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สอบสวน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 257 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 403/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้คำให้การในชั้นสอบสวนที่ล่ามไม่ได้สาบานตัว และการรับฟังพยานหลักฐานในคดีครอบครองยาเสพติด
ล่ามแปลคำให้การของจำเลยในชั้นสอบสวนโดยมิได้สาบานตัวเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 13 วรรคสอง มีผลทำให้ไม่อาจใช้คำให้การของจำเลยในชั้นสอบสวนมารับฟังเป็นพยานหลักฐานใช้ยันจำเลยในชั้นพิจารณาได้เท่านั้น ไม่ทำให้การสอบสวนเสียไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 351/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างฐานประมาทเลินเล่อ, การสอบสวนทางวินัย, และสิทธิในการได้รับเงินสะสม
การที่จะพิจารณาว่าการเลิกจ้างจะเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมหรือไม่จะต้องพิจารณาจากเหตุแห่งการเลิกจ้างว่าเป็นเหตุที่สมควรเลิกจ้างหรือไม่ ส่วนกรณีที่จะต้องมีการสอบสวนและการสอบสวนจะต้องปฏิบัติอย่างไรนั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง จะนำมาเป็นหลักในการพิจารณาว่าหากการสอบสวนของจำเลยไม่ถูกต้องตามข้อบังคับแล้วจะถือว่าไม่มีเหตุแห่งการเลิกจ้าง หาได้ไม่ แม้การกระทำของโจทก์ทำให้จำเลยได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง แต่คดีที่จำเลยฟ้องเรียกค่าเสียหายจากโจทก์ยังไม่ปรากฏผลของคดี ค่าเสียหายของจำเลยจะเป็นเงินเท่าใดยังไม่ยุติ ค่าเสียหายจึงยังไม่แน่นอนจำเลยจะนำเอาค่าเสียหายมาหักจากเงินสะสมของโจทก์หาได้ไม่ และไม่มีเหตุที่จำเลยจะรอการจ่ายเงินสะสมไว้ได้ จำเลยจึงต้องคืนเงินสะสมให้โจทก์แต่เมื่อศาลแรงงานกลางยังมิได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงว่า โจทก์มีสิทธิได้รับเงินสะสมคืนจากจำเลยจำนวนเท่าใด ตั้งแต่เมื่อใดดอกเบี้ยของเงินสะสมเป็นจำนวนเท่าใด ศาลฎีกาย่อมย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยและพิพากษาใหม่เฉพาะในประเด็นเรื่องเงินสะสม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2429/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานบุกรุกและทำให้เสียทรัพย์เป็นกรรมเดียวกัน โจทก์มีอำนาจฟ้องได้หากมีการสอบสวนทั้งสองข้อหา
เมื่อข้อเท็จจริงในคดีปรากฏว่า ข้อหาความผิดฐานบุกรุกกับข้อหาความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์เป็นความผิดที่เกี่ยวเนื่องกันและเป็นการกระทำกรรมเดียวกัน การที่ได้ร้องทุกข์ในข้อหาความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์แล้วก็เท่ากับได้ร้องทุกข์ในข้อหาความผิดฐานบุกรุกด้วย เมื่อมีการสอบสวนในความผิดทั้งสองข้อหานี้แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องทั้งสองข้อหา และศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยในข้อหาความผิดฐานบุกรุกได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2276/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสอบสวนความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์: การแจ้งข้อหาและการรวบรวมพยานหลักฐาน
ในชั้นสอบสวนเมื่อพนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาจำเลยว่าทำให้เสียทรัพย์ ซึ่งใช้หรือมีไว้เพื่อสาธารณประโยชน์และเป็นของทางราชการและได้สอบปากคำพยานเกี่ยวกับข้อหาว่า จำเลยทำให้เสียหายทำลายท่อส่งน้ำคอนกรีต และก้านพวงมาลัยปิดเปิดประตูน้ำและได้ไปตรวจสถานที่เกิดเหตุพร้อมทำบันทึกความเสียหายไว้ด้วยเช่นนี้ แสดงว่าพนักงานสอบสวนได้แจ้งข้อหาให้จำเลยทราบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 134 แล้วโดยไม่ต้องแจ้งทุกกระทงความผิด และได้รวบรวมพยานหลักฐานเกี่ยวกับความผิดที่กล่าวหาจำเลยแล้ว จึงถือว่า ได้มีการสอบสวนในข้อหาดังกล่าวโดยชอบ พนักงานอัยการมีอำนาจฟ้องจำเลย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 120

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2119/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีสถานบริการ: แม้แจ้งข้อหาไม่ครบถ้วน หากสอบสวนความผิดอื่นที่เกี่ยวเนื่องแล้ว โจทก์ยังมีอำนาจฟ้องได้
การแจ้งข้อหาให้จำเลยทราบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 134 หาได้หมายความว่าพนักงานสอบสวนจะต้องแจ้งข้อหาทุกฐานความผิดไม่ แม้เดิมพนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาจำเลยฐานตั้งสถานบริการโดยไม่ได้รับอนุญาต แต่เมื่อสอบสวนแล้วปรากฏว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานตั้งสถานบริการโดยมิได้แจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบก่อนจัดตั้งไม่น้อยกว่า15 วัน อันเป็นความผิดที่เกี่ยวเนื่องในเรื่องการจัดตั้งสถานบริการเหมือนกัน ก็เรียกได้ว่ามีการสอบสวนในความผิดฐานดังกล่าวแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 120

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2119/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญา: การแจ้งข้อหาเปลี่ยนแปลงจากการสอบสวน
การแจ้งข้อหาให้จำเลยทราบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 134 นั้น หาได้หมายความว่าพนักงานสอบสวนจะต้องแจ้งข้อหาทุกฐานความผิดไม่ ดังนั้น แม้เดิมพนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาจำเลยฐานตั้งสถานบริการโดยไม่ได้รับอนุญาต แต่เมื่อสอบสวนแล้วปรากฏว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานตั้งสถานบริการโดยมิได้แจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบก่อนจัดตั้งไม่น้อยกว่า 15 วัน อันเป็นความผิดที่เกี่ยวเนื่องในเรื่องการจัดตั้งสถานบริการเหมือนกัน ก็เรียกได้ว่ามีการสอบสวนในความผิดฐานดังกล่าวแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 120

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1362/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจับกุมกับการสอบสวนเป็นคนละขั้นตอน แม้จับกุมไม่ชอบ ก็ไม่ทำให้การสอบสวนไม่ชอบ
การจับกุมกับการสอบสวนเป็นการดำเนินการคนละขั้นตอนกันแม้การจับกุมจำเลยที่ 2 และที่ 3 อาจมิชอบด้วยกฎหมาย ก็หามีผลทำให้การ-สอบสวนไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่ ฎีกาของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ว่า จำเลยที่ 2และที่ 3 ถูกจับกุมโดยไม่ชอบ การสอบสวนจึงไม่ชอบ ไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 ประกอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 15

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1362/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจับกุมกับการสอบสวนเป็นคนละขั้นตอน การจับกุมไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่ทำให้การสอบสวนไม่ชอบ
การจับกุมกับการสอบสวนเป็นการดำเนินการคนละขั้นตอนกันแม้การจับกุมจำเลยที่ 2 และที่ 3 อาจมิชอบด้วยกฎหมาย ก็หามีผลทำให้การสอบสวนไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่ ฎีกาของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ถูกจับกุมโดยไม่ชอบ การสอบสวนจึงไม่ชอบไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1141/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความละเมิด: เริ่มนับเมื่อโจทก์รู้ตัวผู้รับผิดชอบ แม้มีการสอบสวนเพิ่มเติม
อธิบดีกรมโจทก์ได้รับรายงานผลการสอบสวนหาตัวผู้รับผิดทางแพ่งว่าคือจำเลยทั้งสอง ตั้งแต่วันที่ 26 สิงหาคม 2528 ถือว่าโจทก์ได้รู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแล้ว แม้ต่อมาจะมีการสอบสวนเพิ่มเติมแต่ผลการสอบสวนก็หาได้เปลี่ยนตัวผู้รับผิดชอบไม่ และแม้จะได้มีการนำเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุมอ.ก.พ. ของโจทก์ ซึ่งมีอธิบดีกรมโจทก์เป็นประธานในที่ประชุมหลายครั้ง ครั้งสุดท้ายในวันที่ 16 กันยายน 2529 ที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้จำเลยทั้งสองรับผิดก็ตาม ก็หาทำให้อายุความในมูลละเมิดหนึ่งปีที่กฎหมายกำหนดไว้ในการเรียกร้องค่าเสียหายขยายตามไม่เพราะมิฉะนั้นแล้วอายุความดังกล่าวก็จะขยายออกไปได้เรื่อย ๆแล้วแต่ความล่าช้าในการดำเนินการของโจทก์ ดังนั้นเมื่อโจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2530 คดีโจทก์จึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 539/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปล่อยชั่วคราวเกิน 6 เดือน ไม่ต้องยื่นขอหมายขังใหม่ การสอบสวนยังดำเนินต่อไปได้ ฟ้องคดีได้
ในระหว่างสอบสวน พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการแล้วแต่กรณีมีอำนาจปล่อยผู้ต้องหาชั่วคราวมีระยะเวลาอย่างสูงไม่เกินหกเดือนนับแต่วันแรกที่มีการปล่อยชั่วคราว เมื่อพ้นเวลาดังกล่าวพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการแล้วแต่กรณี ไม่มีอำนาจควบคุมผู้ต้องหาต่อไปอีกเท่านั้น สำหรับการสอบสวนหากมีความจำเป็นต้องทำให้เสร็จ ก็คงดำเนินการต่อไปได้เพราะไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายห้ามไว้ แม้การไม่ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 113 วรรคสอง ทำให้ผู้ต้องหาหลุดพ้นจากการควบคุม แต่ก็มิใช่บทบังคับให้พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการจำต้องส่งผู้ต้องหามาศาล และยื่นคำร้องขอหมายขังผู้ต้องหาไว้เสมอไป เว้นแต่มีความจำเป็นต้องควบคุมผู้ต้องหาต่อไปอีก กรณีหาได้เกี่ยวข้องกับปัญหาว่าการสอบสวนชอบหรือมิชอบแต่ประการใดไม่ ทั้งการไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนดังบัญญัติไว้ตามมาตรา 113 วรรคสอง ก็มิได้มีบทบัญญัติของกฎหมายห้ามพนักงานอัยการยื่นฟ้องคดีศาล
of 26