คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สัญญาขายฝาก

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 192 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1563/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งเรียกค่าที่ดินหลังเพิกถอนสัญญาขายฝาก: ไม่เกี่ยวข้องกับฟ้องเดิม
จำเลยที่ 2 ฟ้องแย้งว่าหากศาลเห็นว่าจำเลยที่ 1 กระทำการโดยไม่สุจริต ขอให้บังคับโจทก์ใช้ค่าที่ดินให้จำเลยที่ 2 ดังนี้ ฟ้องแย้งเป็นเรื่องที่จะเกิดตามมาภายหลังเมื่อศาลพิพากษาว่าจำเลยที่ 1 กระทำการโดยไม่สุจริตให้เพิกถอนสัญญาขายฝากที่ดินระหว่างจำเลยทั้งสองแล้ว ถ้าจำเลยทั้งสองชนะคดีตามที่ให้การปฏิเสธว่าจำเลยทำสัญญาขายฝากกันโดยสุจริต ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 2 ก็เป็นอันตกไป ดังนั้นฟ้องแย้งจึงเป็นเรื่องที่จะต้องเรียกร้องกันต่างหากเมื่อปรากฏผลคำพิพากษาในคดี นี้แล้วเป็นฟ้องแย้งในเรื่องอื่นไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 819/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาขายฝากไม่จดทะเบียนเป็นโมฆะ ราคาสินไถ่เป็นโมฆะตามไปด้วย ผู้รับซื้อฝากต้องคืนเงินสินไถ่ที่รับไว้
สัญญาขายฝากฉบับที่ไม่จดทะเบียนเป็นโมฆะ ราคาสินไถ่ที่กำหนดไว้ในสัญญาดังกล่าวจึงเป็นโมฆะ และทำให้รายการผ่อนชำระราคาสินไถ่ตามสัญญาดังกล่าวเป็นโมฆะไปด้วย ทั้งไม่สามารถแยกออกต่างหาก ให้เป็นส่วนที่สมบูรณ์ได้ส่วนเงินสินไถ่บางส่วนที่จำเลยรับไว้ก็เพื่อผ่อนชำระราคาทรัพย์ที่ขายฝากตามสัญญาฉบับที่จดทะเบียนนั้น เมื่อโจทก์ไม่สามารถจะไถ่ที่ดินที่ขายฝากคืนเพราะเกินกำหนดเวลาไถ่จำเลยผู้รับซื้อฝากต้องคืนเงินดังกล่าวให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3093-3094/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมอำพราง: สัญญาขายฝากเป็นโมฆะ หากมีเจตนาซ่อนเร้นการกู้เงิน
โจทก์ทำสัญญาขายฝากแก่จำเลย โดยโจทก์ยังไม่ได้รับเงินเป็นการอำพรางนิติกรรมการกู้เงินที่จะกู้เป็นงวด ๆ ในจำนวนใกล้เคียงกับจำนวนเงินในสัญญาขายฝาก สัญญาขายฝากจึงเป็นโมฆะตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 118 วรรคแรก ส่วนนิติกรรมสัญญากู้เงินตามงวดที่ถูกอำพรางไว้เป็นอันใช้บังคับได้ แม้การกู้เงินบางงวดมิได้มีหลักฐานเป็นหนังสือก็ย่อมถือได้ว่า เอกสารการขายฝากเป็นนิติกรรมสัญญากู้เงินที่ทำไว้เป็นลายลักษณ์อักษร เมื่อนิติกรรมขายฝากเป็นโมฆะ จำเลยชอบที่จะคืนทรัพย์ตามสัญญาขายฝากและรับเงิน จำนวนที่ให้กู้ไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2445/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาขายฝากไม่จดทะเบียน โมฆะ แต่สิทธิครอบครองเกิดได้จากการสละการครอบครองและแสดงเจตนา
เอกสารมีข้อความว่า ถ้าผู้ขายฝากไม่ไถ่ถอนตามกำหนดยินยอมยกที่ดินที่ขายฝากให้แก่ผู้รับซื้อฝากถือกรรมสิทธิ์ได้ต่อไป เมื่อ อ. ไม่ได้ไถ่ที่พิพาทคืนภายในกำหนดตามที่ตกลงกัน ก็เท่ากับ อ. ได้สละการครอบครองที่พิพาทแก่ ล. ล. ได้ ครอบครองต่อมา และแจ้ง ส.ค.1 ในนามของตนเอง เป็นการแสดงเจตนาเพื่อตน จึงได้สิทธิครอบครอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2344/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมอำพรางสัญญาขายฝากบังคับคดีได้ จำเลยต้องคืนเงินส่วนเกินหลังหักเงินกู้
โจทก์ตกลงกู้เงินจากจำเลยโดยเอาที่พิพาทจำนองค้ำประกันแต่ทำสัญญาขายฝากเป็นนิติกรรมอำพราง และเมื่อปรากฏว่าจำเลยขายที่พิพาทให้แก่บุคคลอื่นไปแล้ว จำเลยก็ต้องคืนเงินดังกล่าวให้โจทก์โดยหักเงินที่โจทก์กู้ออกจากเงินดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1725/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมอำพราง: สัญญาขายฝากที่แท้จริงคือการกู้ยืมเงินหรือไม่
เดิมโจทก์มีเจตนาเพียงกู้เงินจากจำเลยไม่ประสงค์จะขายฝากที่พิพาท แต่เมื่อจำเลยให้โจทก์ทำสัญญาขายฝากที่พิพาท ซึ่งถ้าโจทก์ไม่ยอมทำขายฝากจำเลยก็จะไม่ให้เงินในที่สุด โจทก์ได้ตกลงทำสัญญาขายฝากให้เช่นนี้ ถือได้ว่า โจทก์ทำสัญญาขายฝากที่พิพาทโดยความสมัครใจของโจทก์เอง สัญญาขายฝากใช่เกิดจากเจตนาลวงด้วยการสมรู้ของโจทก์ จำเลยที่ทำเพื่อจะอำพราง การกู้ยืมเงินไม่ สัญญาขายฝากดังกล่าวจึงมิใช่นิติกรรมอำพราง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1725/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมอำพราง: การกู้ยืมเงินที่ทำสัญญาขายฝากเพื่อหลีกเลี่ยงข้อจำกัดทางกฎหมาย
เดิมโจทก์มีเจตนาเพียงกู้เงินจากจำเลยไม่ประสงค์จะขายฝากที่พิพาท แต่เมื่อจำเลยให้โจทก์ทำสัญญาขายฝากที่พิพาทซึ่งถ้าโจทก์ไม่ยอมทำขายฝากจำเลยก็จะไม่ให้เงินในที่สุดโจทก์ได้ตกลงทำสัญญาขายฝากให้เช่นนี้ ถือได้ว่าโจทก์ทำสัญญาขายฝากที่พิพาทโดยความสมัครใจของโจทก์เองสัญญาขายฝากหาใช่เกิดจากเจตนาลวงด้วยการสมรู้ของโจทก์จำเลยที่ทำเพื่อจะอำพรางการกู้ยืมเงินไม่ สัญญาขายฝากดังกล่าวจึงมิใช่นิติกรรมอำพราง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2802/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาขายฝากโดยสมัครใจ ไม่ใช่นิติกรรมอำพรางสัญญาจำนอง แม้ดอกเบี้ยเกินกว่ากฎหมายกำหนด
เดิมโจทก์มีเจตนาจะทำสัญญาจำนอง แต่เมื่อจำเลยไม่ตกลงด้วย และให้ทำสัญญาขายฝาก โจทก์ก็ตกลงยินยอม เช่นนี้ ถือว่าโจทก์ทำสัญญาขายฝากโดยความสมัครใจเอง มิใช่เกิดจากเจตนาลวง และมิใช่นิติกรรมอำพรางสัญญาจำนอง แม้จำเลยจะคิดผลประโยชน์ในการรับซื้อฝากโดยเรียกเท่ากับดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 1 บาท 75 สตางค์ต่อเดือน เป็นอัตราเกินกว่ากฎหมายกำหนดในการเรียกดอกเบี้ยก็ตาม แต่เมื่อนำผลประโยชน์ที่เรียกมารวมกับเงินค่ารับซื้อฝากที่จำเลยให้โจทก์ไปแล้วย่อมกลายเป็นสินไถ่ซึ่งในสัญญาขายฝาก คู่สัญญาจะกำหนดสินไถ่โดยเรียกผลประโยชน์รวมไปกับเงินต้นเท่าใดก็ได้ โดย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 499 อนุญาตไว้ และคู่สัญญาย่อมตกลงผ่อนชำระสินไถ่กันได้ การผ่อนชำระเงินต้นของโจทก์ย่อมมีผลเท่ากับผ่อนชำระสินไถ่บางส่วนนั่นเอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2789/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงซื้อคืนที่ดินหลังสัญญาขายฝากเป็นโมฆะ หากขัดต่อกฎหมายขยายเวลาไถ่ทรัพย์สิน
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์จดทะเบียนขายฝากที่ดินไว้กับจำเลยในราคา 70,000 บาท กำหนดไถ่คืนใน 1 ปี ก่อนครบกำหนดไถ่ถอนโจทก์กับจำเลยตกลงกันว่า ถ้าที่ดินหลุดเป็นสิทธิแก่จำเลยแล้ว หากโจทก์ยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่จำเลยจำเลยยอมให้โจทก์ซื้อที่ดินดังกล่าวคืนในราคา 70,000 บาท โจทก์ได้ชำระดอกเบี้ยให้จำเลยแล้ว แต่จำเลยไม่ยอมให้ซื้อที่ดินคืน ดังนี้ แม้จะจริงดังที่โจทก์อ้างข้อตกลงดังกล่าวก็เป็นโมฆะ เพราะเท่ากับเป็นการขยายเวลาไถ่ทรัพย์สิน ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 496 โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องบังคับจำเลยให้ขายที่ดินคืนแก่โจทก์ตามข้อตกลงนั้น
ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อศาลเห็นสมควรก็หยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2569/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตกลงใหม่หลังสัญญาประนีประนอมยอมความ ไม่ถือเป็นการขยายเวลาไถ่ทรัพย์สินตามกฎหมาย
การตกลงกันกำหนดเวลาไถ่ทรัพย์สินกันใหม่โดยการทำสัญญาประนีประนอมยอมความเพื่อเลิกคดีที่พิพาทกันอยู่ในศาล ไม่ถือว่าเป็นการขยายเวลาไถ่ในภายหลังตามความหมายของมาตรา 496 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และการทำความตกลงกันใหม่แก้ไขเปลี่ยนแปลงกำหนดเวลาไถ่ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ แม้จะได้กระทำหลังจากกำหนดเวลาตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งมีคำพิพากษาตามยอมนั้นได้ผ่านพ้นไปแล้ว ก็ไม่ถือว่าเป็นการขยายเวลาไถ่ในภายหลังตามความหมายของมาตราดังกล่าวดุจกันและข้อตกลงในประการหลังนี้ เป็นแต่การแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญาประนีประนอมยอมความไม่นับว่าเป็นข้อตกลงส่วนหนึ่งของสัญญาขายฝากอสังหาริมทรัพย์อันจะต้องจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
ในกรณีที่มิต้องบังคับคดีโดยทางเจ้าพนักงานบังคับคดี ก็มิใช่เรื่องที่จะต้องออกหมายบังคับคดีเสียก่อน เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามคำบังคับ ศาลก็มีอำนาจสั่งจับกุมและกักขังจำเลยได้ทีเดียว (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 452/2491)
of 20