คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สัญญาจ้างเหมา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 112 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2773/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องซ้ำในคดีสัญญาจ้างเหมา การฟ้องคดีเดิมซ้ำต้องห้ามตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
คดีก่อนจำเลยที่1เป็นโจทก์ฟ้องโจทก์ในคดีนี้กับพวกเป็นจำเลยในข้อหาว่าโจทก์เป็นผู้ผิดสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างที่โจทก์จ้างจำเลยที่1ก่อสร้างอาคารที่ทำการกองบัญชาการศึกษาของโจทก์และโจทก์ได้สั่งให้จำเลยที่1ระงับการก่อสร้างเนื่องจากโจทก์ได้ทำการออกแบบแปลนตัวอาคารที่ก่อสร้างรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของเอกชนโดยความผิดพลาดของโจทก์เองและเรียกร้องให้โจทก์ใช้ค่าเสียหายแก่จำเลยที่1จึงมีประเด็นว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาหรือไม่และจะต้องใช้ค่าเสียหายแก่จำเลยที่1เท่าใดศาลฎีกาวินิจฉัยชี้ขาดว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาแต่ให้ยกฟ้องจำเลยที่1เพราะจำเลยที่1ยังไม่มีสิทธิบอกกล่าวเลิกสัญญากับโจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายได้โจทก์กลับมาฟ้องจำเลยที่1และจำเลยที่2เป็นจำเลยในคดีนี้ในข้อหาว่าจำเลยที่1ผิดสัญญาก่อสร้างฉบับเดียวกันโดยอ้างเหตุเช่นเดียวกับคดีก่อนว่าโจทก์ได้ออกแบบแปลนตัวอาคารผิดพลาดโดยเหตุที่ที่ดินบางส่วนทางด้านทิศใต้ของบริเวณที่ดินที่ก่อสร้างเป็นของเอกชนต่อมาโจทก์ได้จัดซื้อที่ดินของเอกชนดังกล่าวแล้วจึงขอให้จำเลยทั้งสองทำการก่อสร้างต่อไปแต่จำเลยทั้งสองไม่ก่อสร้างและให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ดังนี้มูลคดีทั้งสองคดีนี้มีว่าคู่ความฝ่ายใดเป็นฝ่ายผิดสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างอาคารที่ทำการกองบัญชาการศึกษาของโจทก์โดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันเรื่องก่อสร้างอาคารที่ทำการกองบัญชาการศึกษารุกล้ำที่ดินของเอกชนเป็นข้อสำคัญของคดีจึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำกับคดีก่อนต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา144กรณีมิใช่เป็นการฟ้องซ้ำตามมาตรา148เพราะขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้คดีก่อนอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกายังมิได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดแม้ศาลชั้นต้นจะรอคดีนี้ไว้เพื่อฟังผลของคดีก่อนจนถึงที่สุดก็ตาม จำเลยที่2เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการประเภทไม่จำกัดความรับผิดของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่1เมื่อโจทก์ต้องห้ามมิให้ฟ้องจำเลยที่1จึงมีผลถึงจำเลยที่2ไม่ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่1ต่อโจทก์ด้วย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2726/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าปรับจากสัญญาจ้างเหมา vs. ค่าเสียหายจากการผิดสัญญา: การตีความขอบเขตความรับผิด
ตามสัญญาจ้างระหว่างโจทก์จำเลยข้อ 8 ที่ระบุว่า 'ผู้รับจ้างยินยอมรับผิดชอบค่าปรับอันเนื่องจากเหตุแห่งความล่าช้าจาก กำหนดระยะเวลาที่กำหนดไว้ในข้อ 3 (168 วัน) โดยคิดตามส่วนของงานและเวลาที่ล่าช้าไปจากที่กำหนดกับอัตราค่าปรับที่โรงพิมพ์ธนบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย คิดปรับจากผู้ว่าจ้าง' นั้นหมายความว่า โจทก์ยินยอมรับผิดชอบค่าปรับตามอัตราค่าปรับที่ธนาคารแห่งประเทศไทยคิดปรับจากจำเลยตามส่วนของงานและเวลาที่ล่าช้าไปจากที่กำหนดไว้ในสัญญาข้อ 3 มิใช่โจทก์ยินยอมเสียค่าปรับตามส่วนของงานและเวลาที่ล่าช้าจำนวนหนึ่ง กับค่าปรับที่ธนาคารแห่งประเทศไทยคิดปรับจากจำเลยอีกจำนวนหนึ่ง
ค่าปรับก็คือค่าเสียหายที่คู่สัญญากำหนดจำนวนกันไว้ล่วงหน้า เมื่อกำหนดค่าปรับกันแล้วก็ไม่สมควรที่จะให้ได้รับค่าเสียหายจากกันอีก ในกรณีค่าปรับกับค่าเสียหายใกล้เคียงกันศาลกำหนดให้จำเลยได้รับค่าเสียหายเท่ากับค่าปรับได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2726/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าปรับตามสัญญาจ้างเหมาและการชดใช้ค่าเสียหาย กรณีงานล่าช้า และการหักกลบลบหนี้
ตามสัญญาจ้างระหว่างโจทก์จำเลยข้อ8ที่ระบุว่า'ผู้รับจ้างยินยอมรับผิดชอบค่าปรับอันเนื่องจากเหตุแห่งความล่าช้าจากกำหนดระยะเวลาที่กำหนดไว้ในข้อ3(168วัน)โดยคิดตามส่วนของงานและเวลาที่ล่าช้าไปจากที่กำหนดกับอัตราค่าปรับที่โรงพิมพ์ธนบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยคิดปรับจากผู้ว่าจ้าง.....'นั้นหมายความว่าโจทก์ยินยอมรับผิดชอบค่าปรับตามอัตราค่าปรับที่ธนาคารแห่งประเทศไทยคิดปรับจากจำเลยตามส่วนของงานและเวลาที่ล่าช้าไปจากที่กำหนดไว้ในสัญญาข้อ3มิใช่โจทก์ยินยอมเสียค่าปรับตามส่วนของงานและเวลาที่ล่าช้าจำนวนหนึ่งกับค่าปรับที่ธนาคารแห่งประเทศไทยคิดปรับจากจำเลยอีกจำนวนหนึ่ง ค่าปรับก็คือค่าเสียหายที่คู่สัญญากำหนดจำนวนกันไว้ล่วงหน้าเมื่อกำหนดค่าปรับกันแล้วก็ไม่สมควรที่จะให้ได้รับค่าเสียหายจากกันอีกในกรณีค่าปรับกับค่าเสียหายใกล้เคียงกันศาลกำหนดให้จำเลยได้รับค่าเสียหายเท่ากับค่าปรับได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 245/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เลิกสัญญาจ้างเหมาที่ไม่ชอบ ศาลพิพากษาให้ชดใช้ค่าเสียหายตามสัญญา
จำเลยว่าจ้างให้โจทก์สร้างบ้านโจทก์ทำการก่อสร้างและรับเงินไปแล้ว3งวดคงเหลืองานงวดที่4อันเป็นงวดสุดท้ายเมื่อสัญญาว่าจ้างไม่ได้กำหนดระยะเวลาการก่อสร้างไว้ชัดแจ้งและจำเลยเห็นว่าหากให้โจทก์ทำการก่อสร้างต่อไปจะเกิดความเสียหายเพราะงานล่าช้ามากจำเลยจะเลิกสัญญาได้ก็ต้องบอกกล่าวกำหนดเวลาพอสมควรให้โจทก์ปฏิบัติเสียก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา387แต่จำเลยมิได้ทำเช่นนั้นจึงบอกเลิกสัญญาด้วยเหตุดังกล่าวไม่ได้การที่โจทก์ขอทำการก่อสร้างต่อไปและจำเลยไม่ยอมโดยบอกเลิกสัญญากับโจทก์จึงเป็นเรื่องที่จำเลยใช้สิทธิเลิกสัญญาโดยไม่ชอบและจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจกท์เพื่อความเสียหายอย่างใดๆอันเกิดแต่การเลิกสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา605 ค่าสินไหมทดแทนที่จำเลยต้องชดใช้แก่โจทก์ในกรณีผิดสัญญาว่าจ้างนั้นเมื่อสัญญาว่าจ้างเป็นการจ้างเหมารวมทั้งค่าวัสดุกับค่าแรงงานโดยแบ่งผลงานไว้เป็น4งวดมีการจ่ายเงินแล้ว3งวดคงเหลือยังไม่ได้จ่ายเฉพาะงวดที่4และงานที่โจทก์ทำให้จำเลยมาแล้วไม่มีการชำรุดบกพร่องโจทก์จึงมีสิทธิจะได้รับชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามจำนวนเงินค่าจ้างงวดที่4กับเงินค่าจ้างที่จำเลยให้โจทก์ทำการก่อสร้างเพิ่มเติมนอกเหนือจากรายการตามสัญญาโดยนำราคางานที่โจทก์ยังไม่ได้ทำให้จำเลยไปหักออกจากยอดเงินดังกล่าวก่อน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1556/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่าแห่งการงานหลังบอกเลิกสัญญาจ้างเหมา: ไม่จำกัดตามงวดงาน หากงานที่ทำมีค่าน้อยกว่าเงินที่รับไป
สัญญาจ้างเหมามีความว่าเมื่อผู้ว่าจ้างเห็นว่าหากให้ผู้รับจ้างดำเนินการต่อไปอาจเกิดความเสียหายแก่ผู้ว่าจ้างผู้ว่าจ้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญาเสียได้โดยผู้รับจ้างไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายหรือค่าทดแทนใด ๆจากผู้ว่าจ้างทั้งสิ้นนั้นหมายถึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายหรือค่าทดแทนเนื่องจากการบอกเลิกสัญญาเท่านั้นแต่ผู้รับจ้างหาสิ้นสิทธิได้รับการใช้เงินตามควรค่าแห่งการงานที่ทำเพื่อกลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมในกรณีอีกฝ่ายหนึ่งใช้สิทธิเลิกสัญญาตามป.พ.พ.มาตรา391ไม่ ค่าแห่งการงานตามมาตรา391นั้นไม่จำต้องตีราคางานตรงตามงวดที่ระบุไว้ในสัญญา.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1556/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่าแห่งการงานของผู้รับจ้างเมื่อผู้ว่าจ้างบอกเลิกสัญญาจ้างเหมา
สัญญาจ้างเหมามีความว่าเมื่อผู้ว่าจ้างเห็นว่าหากให้ผู้รับจ้างดำเนินการต่อไปอาจเกิดความเสียหายแก่ผู้ว่าจ้างผู้ว่าจ้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญาเสียได้โดยผู้รับจ้างไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายหรือค่าทดแทนใดๆจากผู้ว่าจ้างทั้งสิ้นนั้นหมายถึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายหรือค่าทดแทนเนื่องจากการบอกเลิกสัญญาเท่านั้นแต่ผู้รับจ้างหาสิ้นสิทธิได้รับการใช้เงินตามควรค่าแห่งการงานที่ทำเพื่อกลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมในกรณีอีกฝ่ายหนึ่งใช้สิทธิเลิกสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา391ไม่. ค่าแห่งการงานตามมาตรา391นั้นไม่จำต้องตีราคางานตรงตามงวดที่ระบุไว้ในสัญญา.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2215/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างเหมาปลูกสร้างอาคารและการบังคับชำระค่าจ้างเมื่อมีข้ออ้างเรื่องเวนคืนที่ดิน
จำเลยทำสัญญาซื้อที่ดินจัดสรรจาก ล. โดยวางเงินให้ ผู้ขายแล้วบางส่วนและได้ทำสัญญาจ้างเหมาโจทก์ให้ ปลูกสร้างอาคารตึกแถวสองชั้น 1 หลังบนที่ดินนั้น จำเลย ได้ชำระเงินค่าที่ดินให้ผู้ขายแล้วบางส่วนและชำระค่าจ้าง ปลูกสร้างอาคารให้โจทก์ในวันทำสัญญาส่วนหนึ่งส่วนที่ เหลือแบ่งชำระในวันจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินงวดหนึ่งและเมื่อโจทก์ปลูกสร้างอาคารเสร็จ และจำเลยรับมอบแล้วอีกงวดหนึ่ง ระหว่างก่อสร้างได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวง ที่จะสร้างทางหลวงแผ่นดินประกาศใช้บังคับคลุมถึงที่ดินและ อาคารพิพาทแต่ข้อเท็จจริงยังไม่แน่นอนว่าที่ดินนั้นต้อง ถูกเวนคืนหรือไม่เพราะยังไม่ได้มีการสำรวจโดยเฉพาะเจาะจงและยังไม่มีข้อห้ามจำหน่ายจ่ายโอนโดยเด็ดขาดโดยให้มีการ โอนกรรมสิทธิ์ได้เมื่อได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่เวนคืน อสังหาริมทรัพย์เสียก่อนดังนี้ที่ดินแปลงที่จำเลยซื้อและ จ้างเหมาโจทก์ปลูกสร้างอาคารยังอยู่ในวิสัยที่ผู้ขายจะขอจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ขายให้จำเลยได้ หาได้ตกเป็นการพ้นวิสัยที่จะโอนให้แก่กันไม่ จำเลยจึงจะยกข้ออ้างที่ว่าที่ดินและอาคารถูกเวนคืนจึงไม่ต้องชำระค่าจ้างเหมาแก่ โจทก์หาได้ไม่
ข้อสัญญาจ้างเหมาระหว่างโจทก์จำเลยที่ว่า ถ้าผู้ว่าจ้างผิดนัดไม่ชำระค่าจ้างเหมาปลูกสร้างอาคารแก่ผู้รับจ้างไม่ว่า ในงวดใด ๆ ผู้รับจ้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญาโดยถือว่ากรรมสิทธิ์ ในอาคารเป็นของผู้รับจ้างและยินยอมให้ผู้รับจ้างเข้ารับช่วงสิทธิการซื้อที่ดินแทนโดยมิคิดค่าตอบแทนและให้ผู้รับจ้างริบเงินค่าจ้างเหมาที่ได้ชำระให้แก่ผู้รับจ้าง ไว้แล้วทั้งหมดนั้นเป็นการกำหนดค่าสินไหมทดแทนไว้ล่วงหน้า ในกรณีที่ผู้ว่าจ้างไม่ชำระสินจ้างให้ตรงตามเวลาที่กำหนดไว้ ถือเป็นเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 382 ประกอบด้วย มาตรา 379 ซึ่งถ้าสูงเกินส่วนศาลมี อำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตามมาตรา 383 เมื่อ โจทก์ปลูกสร้างอาคารตามสัญญาแล้วเสร็จและจำเลยรับมอบการที่ทำจากโจทก์แล้ว ไม่ชำระค่าจ้างเหมาแก่โจทก์และโจทก์บอกเลิก สัญญามาฟ้องขอให้บังคับจำเลยและบริวารออกไปจากอาคารที่ สร้างขึ้นนั้นโดยถือว่ากรรมสิทธิ์ในอาคารตกเป็นของโจทก์ ตามข้อสัญญาและให้จำเลยส่งมอบอาคารดังกล่าวแก่โจทก์ใน สภาพเรียบร้อยหากส่งไม่ได้ให้ใช้เงินแทนดังนี้ ศาลย่อมพิพากษาลดเบี้ยปรับดังกล่าวเป็นให้จำเลยชำระเบี้ยปรับ เป็นเงินแก่โจทก์เท่านั้นโดยให้ยกคำขออื่นเสียได้
หมายเหตุ วรรคสองหารือในที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 5/2528

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2215/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างเหมาสร้างอาคารบนที่ดินจัดสรร ที่ดินจะถูกเวนคืน เบี้ยปรับสูงเกินส่วน ศาลลดเบี้ยปรับให้เหมาะสม
จำเลยทำสัญญาซื้อที่ดินจัดสรรจาก ล. โดยวางเงินให้ ผู้ขายแล้วบางส่วนและได้ทำสัญญาจ้างเหมาโจทก์ให้ ปลูกสร้างอาคารตึกแถวสองชั้น 1 หลังบนที่ดินนั้น จำเลย ได้ชำระเงินค่าที่ดินให้ผู้ขายแล้วบางส่วนและชำระค่าจ้าง ปลูกสร้างอาคารให้โจทก์ในวันทำสัญญาส่วนหนึ่งส่วนที่ เหลือแบ่งชำระในวันจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินงวดหนึ่งและเมื่อโจทก์ปลูกสร้างอาคารเสร็จ และจำเลยรับมอบแล้วอีก งวดหนึ่ง ระหว่างก่อสร้างได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวง ที่จะสร้างทางหลวงแผ่นดินประกาศใช้บังคับคลุมถึงที่ดินและ อาคารพิพาทแต่ข้อเท็จจริงยังไม่แน่นอนว่าที่ดินนั้นต้อง ถูกเวนคืนหรือไม่เพราะยังไม่ได้มีการสำรวจโดยเฉพาะเจาะจงและยังไม่มีข้อห้ามจำหน่ายจ่ายโอนโดยเด็ดขาดโดยให้มีการ โอนกรรมสิทธิ์ได้เมื่อได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่เวนคืน อสังหาริมทรัพย์เสียก่อนดังนี้ที่ดินแปลงที่จำเลยซื้อและ จ้างเหมาโจทก์ปลูกสร้างอาคารยังอยู่ในวิสัยที่ผู้ขายจะขอจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ขายให้จำเลยได้ หาได้ตกเป็นการ พ้นวิสัยที่จะโอนให้แก่กันไม่ จำเลยจึงจะยกข้ออ้างที่ ว่าที่ดินและอาคารถูกเวนคืนจึงไม่ต้องชำระค่าจ้างเหมาแก่ โจทก์หาได้ไม่ ข้อสัญญาจ้างเหมาระหว่างโจทก์จำเลยที่ว่า ถ้าผู้ว่าจ้าง ผิดนัดไม่ชำระค่าจ้างเหมาปลูกสร้างอาคารแก่ผู้รับจ้างไม่ว่า ในงวดใด ๆผู้รับจ้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญาโดยถือว่ากรรมสิทธิ์ ในอาคารเป็นของผู้รับจ้างและยินยอมให้ผู้รับจ้างเข้า รับช่วงสิทธิการซื้อที่ดินแทนโดยมิคิดค่าตอบแทนและให้ผู้รับจ้างริบเงินค่าจ้างเหมาที่ได้ชำระให้แก่ผู้รับจ้าง ไว้แล้วทั้งหมดนั้นเป็นการกำหนดค่าสินไหมทดแทนไว้ล่วงหน้า ในกรณีที่ผู้ว่าจ้างไม่ชำระสินจ้างให้ตรงตามเวลาที่กำหนด ไว้ ถือเป็นเบี้ยปรับตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 382 ประกอบด้วย มาตรา 379 ซึ่งถ้าสูงเกินส่วนศาลมี อำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตาม มาตรา 383 เมื่อ โจทก์ปลูกสร้างอาคารตามสัญญาแล้วเสร็จและจำเลยรับมอบการที่ทำจากโจทก์แล้วไม่ชำระค่าจ้างเหมาแก่โจทก์และโจทก์บอกเลิก สัญญามาฟ้องขอให้บังคับจำเลยและบริวารออกไปจากอาคารที่ สร้างขึ้นนั้นโดยถือว่ากรรมสิทธิ์ในอาคารตกเป็นของโจทก์ ตามข้อสัญญา และให้จำเลยส่งมอบอาคารดังกล่าวแก่โจทก์ใน สภาพเรียบร้อย หากส่งไม่ได้ให้ใช้เงินแทนดังนี้ ศาลย่อมพิพากษาลดเบี้ยปรับดังกล่าวเป็นให้จำเลยชำระเบี้ยปรับ เป็นเงินแก่โจทก์เท่านั้นโดยให้ยกคำขออื่นเสียได้ หมายเหตุ วรรคสองหารือในที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 5/2528

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3807/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินจากการเลิกสัญญาจ้างเหมา: การยึดทรัพย์ของผู้รับเหมาที่ไม่สมบูรณ์
การร้องขัดทรัพย์เป็นการกล่าวอ้างว่าทรัพย์สินที่ยึดมิใช่ของจำเลยแต่เป็นของผู้ร้อง ในคำร้องขัดทรัพย์ของผู้ร้องก็ได้กล่าวไว้ชัดแล้วว่าบรรดาทรัพย์สินสิ่งก่อสร้างสัมภาระและอุปกรณ์ที่โจทก์นำยึดมิใช่กรรมสิทธิ์ของจำเลย แต่เป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้อง ส่วนข้อเท็จจริงอันเป็นเหตุให้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์เหล่านั้นตกเป็นของผู้ร้องตามสัญญาจ้างทำของเป็นรายละเอียด หาจำต้องกล่าวมาในคำร้องขัดทรัพย์ไม่
ตามสัญญาจ้างเหมาทำการก่อสร้างระหว่างผู้ร้องกับจำเลยระบุให้ผู้ร้องมีสิทธิเลิกสัญญาในกรณีที่มีเหตุให้ผู้ร้องเห็นว่าจำเลยไม่สามารถจะทำงานให้แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลาและจำเลยยอมให้สิ่งก่อสร้าง สัมภาระและอุปกรณ์ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้อง เมื่อปรากฏว่าจำเลยไม่สามารถทำงานให้แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลา จนผู้ร้องได้บอกเลิกสัญญาและแต่งตั้งคณะกรรมการทำการริบสิ่งก่อสร้าง สัมภาระและอุปกรณ์ลงบัญชีเป็นของผู้ร้องไปแล้ว กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินดังกล่าวจึงตกเป็นของผู้ร้องก่อนที่โจทก์จะไปทำการยึดโดยไม่ต้องมีการส่งมอบหรือโอนทรัพย์สินดังกล่าวให้แก่ผู้ร้องอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1741/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างเหมาต้องทำเป็นหนังสือ การเสนอราคารับเหมายังไม่ถือเป็นสัญญาผูกพัน
จำเลยเสนอราคารับเหมาก่อสร้าง และกำหนดเวลาให้โจทก์สนองรับในใบสืบราคาของโจทก์ ต่อมาได้ลดราคาลงอีกและขยายเวลาตอบสนองรับให้โจทก์ แม้โจทก์ตอบสนองรับก็ยังไม่มีสัญญาต่อกัน โจทก์จึงต้องแจ้งให้จำเลยไปทำสัญญากับโจทก์การที่จำเลยไม่ไปทำหนังสือสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างกับโจทก์จึงไม่เป็นเหตุให้โจทก์เรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้
of 12