คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สัญญาจ้างแรงงาน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 111 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3679/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยปรับในสัญญาจ้างแรงงาน: การริบเงินประกันเมื่อลูกจ้างผิดสัญญาและข้อจำกัดเรื่องความเสียหายที่แท้จริง
สัญญาจ้างแรงงานกำหนดว่ากรณีที่ลูกจ้างฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามสัญญา ลูกจ้างยินยอมให้ผู้ว่าจ้างริบเงินประกันได้ทันทีโดยให้คำมั่นว่าจะไม่เรียกร้องประการใดจากนายจ้าง จึงเป็นข้อสัญญาซึ่งกำหนดบังคับในลักษณะเป็นเบี้ยปรับอันมีจำนวนเท่ากับเงินประกันที่วางไว้ล่วงหน้าเป็นเงิน 2,100 บาทนั้น เมื่อโจทก์ถูกเลิกจ้างภายในระยะเวลาทดลองงาน 180 วัน เพราะเหตุที่ทำผิดต่อระเบียบข้อบังคับของโรงพยาบาลจำเลยเป็นการฝ่าฝืนสัญญาจ้างแรงงาน จำเลยมีสิทธิริบเงินประกันในฐานะเป็นเบี้ยปรับได้ตามสัญญา แต่เบี้ยปรับเป็นส่วนหนึ่งของค่าเสียหายซึ่งหากสูงเกินกว่าที่เสียหายจริงศาลย่อมลดลงได้ ปรากฏว่าความเสียหายที่จำเลยได้รับคิดเป็นเงิน 100 บาท ดังนั้นนายจ้างย่อมมีสิทธิริบเงินประกันไว้ได้เพียง 100 บาท ส่วนที่เกินต้องคืนให้ลูกจ้าง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3140/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสัญญาจ้างแรงงาน: ข้อตกลงในใบสมัครงานเป็นส่วนหนึ่งของสัญญา, อายุความ 10 ปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 164
คำฟ้องที่บรรยายว่าจำเลยเป็นลูกจ้างโจทก์ในตำแหน่งผู้จัดการธนาคารของโจทก์สาขาตลาดพลู มีหน้าที่ตามที่จำเลยได้สัญญาไว้ในใบสมัครงาน คือจะปฏิบัติงานตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาด้วยความขยันหมั่นเพียรและซื้อสัตย์สุจริต หากประพฤติผิดคำรับรองใดๆ โจทก์มีสิทธิเลิกจ้างได้ทันทีและจำเลยยอมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ ข้อความในใบสมัครงานถือได้ว่าเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างระหว่างโจทก์จำเลยแล้ว จำเลยต้องถือปฏิบัติโดยเคร่งครัด ในคำขอท้ายคำฟ้องของโจทก์ก็ระบุว่าให้จำเลยชำระค่าเสียหายตามสัญญาจ้างด้วย ถือว่าเป็นการบรรยายฟ้องเพื่อขอให้จำเลยรับผิดต่อโจทก์ ทั้งตามสัญญาจ้างแรงงานและในมูลละเมิด ซึ่งสิทธิเรียกร้องอันเกิดจากการผิดสัญญาจ้างแรงงานกฎหมายมิได้กำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้กำหนดอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 164.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2726/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างแรงงานกำหนดอายุพ้นหน้าที่ ศาลฎีกายืนตามสัญญา ไม่ถือเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
ศาลแรงงานกลางพิพากษาว่าการเลิกจ้างโจทก์เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานในตำแหน่งเดิมหรือเทียบเท่า ศาลฎีกาพิพากษายืน เมื่อสัญญาจ้างระหว่างโจทก์จำเลยข้อ 3 กำหนดว่าลูกจ้างจะต้องพ้นหน้าที่เมื่อมีอายุ 30 ปีบริบูรณ์ กรณีจึงต้องอยู่ในบังคับตามความในข้อ 3 ของสัญญาจ้างดังกล่าวอันเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างด้วย จำเลยเลิกจ้างโจทก์เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2529 โจทก์มีอายุครบ 30 ปีบริบูรณ์วันที่ 23 เมษายน 2529 ในชั้นบังคับคดี ขณะนั้นโจทก์มีอายุเกิน 30 ปีแล้ว จำเลยได้มีคำสั่งที่ 08/2530 ให้รับโจทก์กลับเข้าทำงานตั้งแต่วันที่ 11 เมษายน 2529 ถึงวันที่โจทก์มีอายุครบ 30 ปีบริบูรณ์ กับได้จ่ายค่าจ้างในช่วงเวลาดังกล่าวให้แก่โจทก์โดยนำมาวางศาลดังนี้ ถือว่าจำเลยได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาครบถ้วนและถูกต้องแล้ว การบังคับคดีเป็นอันสิ้นสุด ที่โจทก์จำเลยได้ทำข้อตกลงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความต่อหน้าศาลเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2530 เป็นเรื่องนอกเหนือจากคำพิพากษา ไม่อาจนำมาบังคับในคดีนี้ได้.(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 397/2524)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1411/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งให้ลูกจ้างทำงานนอกหน้าที่และประมาทเลินเล่อทำให้ทรัพย์สินเสียหาย ถือเป็นคดีพิพาทตามสัญญาจ้างแรงงาน
ผู้บังคับบัญชามีคำสั่งให้โจทก์มาปฏิบัติหน้าที่ในวันหยุดประจำสัปดาห์ เป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายที่จำเลยผู้เป็นนายจ้างจะสั่งได้ จึงเป็นเรื่องการปฏิบัติงานตามสัญญาจ้างแรงงาน เมื่อโจทก์ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้ทรัพย์สินของจำเลยเสียหาย โจทก์ต้องรับผิดต่อจำเลยเป็นคดีพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิหรือหน้าที่ตามสัญญาจ้างแรงงานหรือตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 8 (1) โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยต่อศาลแรงงานกลางได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3676/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิลูกจ้างถูกตัดชื่อออกจากบัญชีผู้ผ่านการทดสอบ กรณีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาจ้างแรงงาน ศาลรับฟ้องได้
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลย เมื่อ พ.ศ. 2523โจทก์ผ่านการทดสอบเพื่อเลื่อนตำแหน่งและรอการแต่งตั้งอยู่ระหว่างนั้นจำเลยมีคำสั่งที่ 30/2529 กำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณาแต่งตั้งโยกย้ายขึ้นใหม่ โดยจะตัดสิทธิไม่เลื่อนตำแหน่งพนักงานที่สอบได้หากไม่ได้รับการแต่งตั้งภายใน พ.ศ. 2530และต่อมาจำเลยมีหนังสือที่ สอ.912/2529 แจ้งว่าโจทก์ถูกคัดชื่อออกจากรายชื่อพนักงานที่ผ่านการทดสอบ ฯ เพราะในระยะเวลาสามปีที่ผ่านไปโจทก์ไม่อุทิศตนและเวลาในการปฏิบัติงานให้แก่จำเลยเท่าที่ควรและมีวันลามาก ซึ่งไม่เป็นความจริงขอให้เพิกถอนคำสั่งและหนังสือดังกล่าว ดังนี้ หนังสือที่สอ.912/2529 เป็นกรณีพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิตามสัญญาจ้างแรงงานเป็นเรื่องที่โจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิโดยตรง หากข้ออ้างของจำเลยตามหนังสือดังกล่าวไม่เป็นความจริง โจทก์ชอบที่จะได้รับการพิจารณาเลื่อนตำแหน่งตามผลการทดสอบได้ภายใน พ.ศ. 2530ชอบที่ศาลแรงงานกลางจะรับฟ้องส่วนนี้ไว้พิจารณาส่วนคำสั่งที่ 30/2529 นั้นจะเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างหรือมิใช่ก็ตาม ก็ไม่กระทบกระเทือนหรือโต้แย้งสิทธิของโจทก์แต่ประการใด เพราะคำสั่งดังกล่าวยังให้โอกาสแก่โจทก์ที่จะได้รับการพิจารณาเลื่อนตำแหน่งได้จนถึง พ.ศ.2530 หากข้ออ้างของจำเลยในการตัดชื่อโจทก์ออกจากบัญชีรายชื่อผู้ผ่านการทดสอบ ฯ ตามหนังสือที่ สอ.912/2529ไม่เป็นความจริง โจทก์ก็ยังได้รับประโยชน์จากคำสั่งที่ 30/2530 อยู่ ศาลแรงงานกลางไม่รับฟ้องส่วนนี้ของโจทก์ไว้พิจารณาจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3390/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงชดใช้ค่าเสียหายในสัญญาจ้างแรงงาน: การรับผิดของลูกจ้างและนายจ้างจากการกระทำละเมิด
จำเลยได้ทำความตกลงกับโจทก์ผู้เป็นนายจ้างไว้ว่า เมื่อจำเลยได้รับการบรรจุเข้าทำงานกับโจทก์แล้ว หากจำเลยกระทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายไม่ว่าในกรณีใด จำเลยยินยอมชดใช้จนครบถ้วนต่อมาจำเลยได้กระทำละเมิดตามทางการที่จ้างของโจทก์โดยขับรถยนต์ของโจทก์ชนรถยนต์ของบุคคลภายนอกเสียหายโจทก์ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยในผลแห่งละเมิดซึ่งจำเลยได้กระทำไปในทางการที่จ้างนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 425จึงเป็นเรื่องที่จำเลยได้กระทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายตรงตามข้อตกลงดังกล่าวแล้วโจทก์ฟ้องจำเลยขอให้ชดใช้เงินที่โจทก์ได้ชำระให้บุคคลภายนอกไปแก่โจทก์ กรณีจึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิหรือหน้าที่ตามสัญญาจ้างแรงงาน หรือตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างตามมาตรา 8(1) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522ศาลแรงงานกลางมีอำนาจพิจารณาพิพากษาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3390/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงชดใช้ค่าเสียหายในสัญญาจ้างแรงงาน: ศาลแรงงานมีอำนาจพิจารณา
จำเลยได้ทำความตกลงกับโจทก์ผู้เป็นนายจ้างไว้ว่าเมื่อจำเลยได้รับการบรรจุเข้าทำงานกับโจทก์แล้วหากจำเลยกระทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายไม่ว่าในกรณีใดจำเลยยินยอมชดใช้จนครบถ้วนต่อมาจำเลยได้กระทำละเมิดตามทางการที่จ้างของโจทก์โดยขับรถยนต์ของโจทก์ชนรถยนต์ของบุคคลภายนอกเสียหายโจทก์ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยในผลแห่งละเมิดซึ่งจำเลยได้กระทำไปในทางการที่จ้างนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา425จึงเป็นเรื่องที่จำเลยได้กระทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายตรงตามข้อตกลงดังกล่าวแล้วโจทก์ฟ้องจำเลยขอให้ชดใช้เงินที่โจทก์ได้ชำระให้บุคคลภายนอกไปแก่โจทก์กรณีจึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิหรือหน้าที่ตามสัญญาจ้างแรงงานหรือตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างตามมาตรา8(1)แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522ศาลแรงงานกลางมีอำนาจพิจารณาพิพากษาได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2652-2653/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างก่อน/หลังจดทะเบียนบริษัท: สิทธิลูกจ้าง, การยอมรับสัญญา, การจ่ายค่าจ้าง, สัญญาจ้างแรงงานไม่จำเป็นต้องทำเป็นหนังสือ
แม้สัญญาจ้างโจทก์ที่ 1 จะได้ทำขึ้นก่อนที่จำเลยจะได้จดทะเบียนเป็นบริษัทก็ตามแต่ก็อยู่ในระหว่างการดำเนินการก่อตั้งบริษัทและสัญญาดังกล่าวมี ส. ผู้เริ่มก่อการของบริษัทซึ่งต่อมาได้เป็นกรรมการบริษัทเมื่อจดทะเบียนแล้วเป็นผู้ลงชื่อในนามของบริษัทจำเลยในฐานะผู้ว่าจ้างและได้ทำสัญญากันก่อนจดทะเบียนตั้งบริษัทเพียง 7 วัน ทั้งหลังจากบริษัทมีสภาพเป็นนิติบุคคลแล้วก็ยอมรับผลแห่งสัญญาจ้างดังกล่าวจ้างโจทก์ที่ 1 และจ่ายค่าจ้างให้ต่อมาดังนี้โจทก์ที่ 1 จึงเป็นลูกจ้างของบริษัทจำเลยแล้ว
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 575 หาได้บัญญัติว่า สัญญาจ้างแรงงานจะต้องทำเป็นหนังสือไม่ เพียงแต่ตกลงจ้างและให้สินจ้างกันสัญญาจ้างแรงงานย่อมเกิดแล้ว ส. กรรมการบริษัทจำเลยทำสัญญาจ้างโจทก์ที่ 2 ซึ่งโจทก์ที่ 2 ได้ทำงานให้บริษัทจำเลยและจำเลยจ่ายค่าจ้างให้โจทก์ที่ 2 ตลอดมาเป็นเวลา 4 เดือน ถือได้ว่าโจทก์ที่ 2 เป็นลูกจ้างของจำเลยแล้วโดยไม่จำต้องพิจารณาว่าสัญญาที่ทำเป็นหนังสือดังกล่าว ส. ทำไปโดยชอบด้วยข้อบังคับของบริษัทจำเลยหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2606-2616/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างแรงงานต่างประเทศ: ความรับผิดของตัวแทน, ฟ้องซ้อน, และการผิดสัญญา
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทำสัญญาจ้างแรงงานกับโจทก์แทนบริษัทท.ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ต่างประเทศต่อมาบริษัทท. ผิดสัญญาจ้างแรงงานกับโจทก์ขอให้จำเลยคืนเงินค่าใช้จ่ายซึ่งจำเลยรับไปจากโจทก์จำเลยให้การรับว่าได้ลงลายมือชื่อในสัญญาจ้างแรงงานกับโจทก์จริงเพียงแต่ปฏิเสธความรับผิดโดยอ้างเหตุอื่นจึงเป็นคดีพิพาทด้วยสิทธิหรือหน้าที่ตามสัญญาจ้างแรงงานหรือข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างตามที่บัญญัติไว้ในพ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522มาตรา8(1)คดีจึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแรงงาน ป.วิ.พ.มาตรา173วรรคสองห้ามโจทก์ยื่นคำฟ้องเรื่องเดียวกันต่อศาลอีกเฉพาะกรณีที่คดีนั้นอยู่ในระหว่างการพิจารณาเท่านั้นเมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้ศาลแรงงานกลางอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องคดีที่โจทก์ฟ้องก่อนไปแล้วคดีนั้นจึงไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาแม้จำเลยจะมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาลแรงงานกลางในคดีนั้นแต่เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้อุทธรณ์คำสั่งจะถือว่าคดีก่อนอยู่ในระหว่างการพิจารณาหาได้ไม่ฟ้องของโจทก์ไม่ต้องห้าม จำเลยได้รับมอบอำนาจจากบริษัทตัวการซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ต่างประเทศให้ทำสัญญาจ้างแรงงานกับโจทก์ไม่ว่าจำเลยจะได้รับมอบอำนาจเฉพาะการหรือรับมอบอำนาจทั่วไปก็ตามจำเลยย่อมเป็นตัวแทนของบริษัทตัวการแม้ว่าจำเลยจะได้รับอนุญาตให้เป็นผู้จัดหาคนงานตามพ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางานพ.ศ.2528ก็ไม่ทำให้ฐานะความเป็นตัวแทนของจำเลยเปลี่ยนแปลงไปการที่บริษัทตัวการจัดให้โจทก์เข้าทำงานได้ในเดือนแรกส่วนเดือนต่อๆมาโจทก์มิได้ทำงานและมิได้รับค่าจ้างโดยมิใช่เป็นความผิดของโจทก์จะถือว่าบริษัทตัวการได้ปฏิบัติถูกต้องครบถ้วนตามสัญญาจ้างแรงงานแล้วหาได้ไม่เมื่อบริษัทตัวการผิดสัญญาต่อโจทก์จำเลยซึ่งเป็นตัวแทนในประเทศไทยต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาจ้างแรงงานแต่ลำพังตนเองตามป.พ.พ.มาตรา824.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2606-2616/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของตัวแทนตามสัญญาจ้างแรงงานต่างประเทศ: ศาลแรงงานมีอำนาจพิจารณา แม้มีการถอนฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทำสัญญาจ้างแรงงานกับโจทก์แทนบริษัทท.ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ที่ต่างประเทศบริษัทท.ผิดสัญญาจ้างแรงงานต่อโจทก์ขอให้จำเลยคืนเงินค่าใช้จ่ายที่จำเลยรับไปจากโจทก์ดังนี้เป็นคดีพิพาทด้วยนสิทธิหรือหน้าที่ตามสัญญาจ้างแรงงานหรือข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522มาตรา8(1)อยู่ในอำนาจการพิจารณาพิพากษาของศาลแรงงานส่วนจำเลยจะต้องรับผิดต่อโจทก์ในกรณีที่ทำสัญญาจ้างแรงงานกับโจทก์หรือไม่หรือรับผิดเท่าใดเป็นอีกกรณีหนึ่งมิได้หมายความว่าเมื่อจำเลยปฏิเสธความรับผิดแล้วคดีไม่อยู่ในอำนาจการพิจารณาพิพากษาของศาลแรงงาน ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา73วรรคสองห้ามโจทก์ยื่นคำฟ้องเรื่องเดียวกันต่อศาลอีกเฉพาะกรณีที่คดีนั้นอยู่ในระหว่างการพิจารณาปรากฏว่าขณะที่โจทก์ยื่นฟ้งอคดีนี้ศาลแรงงานกลางอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องคดีก่อนไปแล้วคดีนั้นจึงไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาแม้จำเลยจะมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาลแรงงานกลางที่อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องโดยมิได้สอบถามจำเลยก่อนก็ตามเมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวจะถือว่าคดีนั้นอยู่ในระหว่างการพิจารณาหาได้ไม่ฟ้องของโจทก์ไม่เป็นฟ้องซ้อน จำเลยได้รับมอบอำนาจจากบริษัทตัวการซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ที่ต่างประเทศทำสัญญาจ้างแรงงานกับโจทก์แทนบริษัทตัวการไม่ว่าจำเลยจะได้รับมอบหมายอำนาจแต่เฉพาะการหรือรับมอบอำนาจทั่วไปก็ตามจำเลยย่อมเป็นตัวแทนของบริษัทตัวการตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา797การที่จำเลยได้รับอนุญาตให้เป็นผู้จัดหาคนงานตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางานพ.ศ.2528ไม่ทำให้ฐานะของจำเลยเปลี่ยนเแปลงไปโดยไม่เป็นตัวแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ไปได้ บริษัทตัวการไม่สามารถให้โจทก์ทำงานในต่างประเทศได้ตามปกติจนครบกำหนดตามสัญญาจ้างแรงงานโดยจัดให้โจทก์เข้าทำงานในเดือนแรกส่วนเดือนต่อๆมาโจทก์มิได้เข้าทำงานและมิได้รับค่าจ้างซึ่งมิใช่ความผิดของโจทก์จะถือว่าบริษัทตัวการได้ปฏิบัติถูกต้องครบถ้วนตามสัญญาจ้างแรงงานแล้วหาได้ไม่เมื่อบริษัทตัวการผิดสัญญาต่อโจทก์จำเลยซึ่งเป็นตัวแทนในประเทศไทยต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาจ้างแรงงานแต่ลำพังตนเองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา824.
of 12