พบผลลัพธ์ทั้งหมด 254 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1025/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอมโดยปริยาย-สัญญาต่างตอบแทน-เจตนาหลอกลวง-การจดทะเบียนเลิกภารจำยอม
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ที่ดินของจำเลยเคยตกเป็นภารจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ที่ยอมให้โจทก์ใช้น้ำจากคูน้ำ อ่างเก็บน้ำและทางเดินออกสู่ถนนสาธารณะ ต่อมาจำเลยปิดกั้นไม่ยอมให้โจทก์ใช้น้ำจากคูน้ำ อ่างเก็บน้ำ และทางเดิน ขอให้บังคับจำเลยยอมให้โจทก์ใช้น้ำจากคูน้ำ อ่างเก็บน้ำ และทางเดินออกไปสู่ถนนสาธารณะและนำที่ดินของจำเลยไปจดทะเบียนภารจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ตามเดิม เพราะการที่โจทก์และจำเลยจดทะเบียนยกเลิกภารจำยอมนั้นเป็นการช่วยเหลือโจทก์ให้นำที่ดินไปจำนองแก่ธนาคารโดยไม่มีเจตนาที่จะยกเลิกภารจำยอมกันอย่างแท้จริงแม้โจทก์จะไม่บรรยายฟ้องว่าทางภารจำยอมกว้างยาวเท่าใดเครื่องสูบน้ำอยู่บริเวณใด ก็เป็นเพียงรายละเอียด เพราะที่ดินของจำเลยเคยจดทะเบียนตกเป็นภารจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์มาก่อนแล้ว ฟ้องโจทก์จึงเป็นฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 172 วรรคสองแล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม โจทก์ฟ้องโดยกล่าวถึงข้อเท็จจริงและวัตถุประสงค์ในการมีคูน้ำและอ่างเก็บน้ำโดยระบุว่าโจทก์จำเลยรู้ถึงวัตถุประสงค์นั้น จึงช่วยกันเฉลี่ยออกค่าใช้จ่ายในการขุดคูน้ำและทำอ่างเก็บน้ำ และศาลชั้นต้นได้กำหนดประเด็นเรื่องการติดตั้งเครื่องสูบน้ำในที่ดินของจำเลยเพื่อประโยชน์แก่โจทก์ตามฟ้องหรือไม่ไว้ด้วย จึงเป็นหน้าที่ของศาลที่จะต้องพิจารณาว่าข้อเท็จจริงตามที่โจทก์ฟ้องนั้นมีกฎหมายข้อใดบัญญัติให้โจทก์เกิดสิทธิในการใช้น้ำในสถานที่ดังกล่าวโดยจำเลยไม่มีสิทธิขัดขวางบ้างหรือไม่ หากมีบัญญัติไว้ศาลย่อมหยิบยกขึ้นมาปรับบทแก่คดีของโจทก์ได้ ไม่จำเป็นที่ศาลจะพิพากษาให้สิทธิโจทก์เฉพาะบทกฎหมายที่โจทก์อ้างเท่านั้น ทั้งศาลชั้นต้นก็ได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้แล้วที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาในประเด็นดังกล่าวจึงไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 141(5) และมาตรา 142 โจทก์และจำเลยตกลงให้มีการขุดคูน้ำ ทำท่อลอดถนนและสร้างอ่างเก็บน้ำในที่ดินของจำเลยตามที่ จ. แนะนำโดยประสงค์จะให้บุตรทุกคนที่ จ. แบ่งปันที่ดินให้ มีน้ำใช้ในการทำเกษตรกรรมในที่ดินของตน โดยให้บุตรทุกคนที่ได้รับแบ่งปันที่ดินเฉลี่ยออกค่าใช้จ่ายตามส่วนที่ได้รับที่ดินจำเลยก็ร่วมเฉลี่ยออกค่าจ้างด้วย จนการขุดคูน้ำ ทำท่อลอดถนนและสร้างอ่างเก็บน้ำดังกล่าวแล้วเสร็จ แสดงว่าจำเลยรับรู้เจตนาของ จ. และยอมรับการกระทำของ จ. จึงมีผลเท่ากับโจทก์และจำเลยยอมรับกันโดยปริยายว่าโจทก์ทั้งสามและจำเลยมีสัญญาต่างตอบแทนว่าโจทก์ทั้งสามและจำเลยมีสิทธิใช้น้ำจากคูน้ำและอ่างเก็บน้ำตลอดระยะเวลาที่โจทก์และจำเลยทำเกษตรกรรมในที่ดินของตนตลอดไป จำเลยจึงไม่มีสิทธิห้ามโจทก์ใช้น้ำดังกล่าว การจดทะเบียนเลิกภารจำยอมเป็นไปเพื่อช่วยเหลือโจทก์ให้สามารถนำที่ดินของโจทก์ไปจำนองแก่ธนาคารได้เท่านั้นจึงเชื่อได้ว่า มิใช่มีเจตนาจดทะเบียนยกเลิกภารจำยอมเนื่องจากจะให้ภารจำยอมสิ้นไปหรือโจทก์และจำเลยตกลงที่จะไม่ให้มีภารจำยอมอีกต่อไปเพราะภารจำยอมหมดประโยชน์แก่สามยทรัพย์แล้ว การจดทะเบียนเลิกภารจำยอมด้วยเจตนาดังกล่าวจึงเป็นการแสดงเจตนาลวงด้วยกันระหว่างโจทก์และจำเลยจึงตกเป็นโมฆะ ปัญหาที่ว่านิติกรรมใดเป็นโมฆะหรือไม่นั้น เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยแล้วพิพากษาคดีไปได้ไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6521/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าที่มีข้อตกลงให้สิ่งปลูกสร้างตกเป็นกรรมสิทธิ์ผู้ให้เช่าเมื่อสัญญาหมดอายุ แม้ไม่จดทะเบียนก็มีผลผูกพัน
ผู้ร้องเช่าที่ดินจากจำเลยเพื่อประกอบกิจการสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงและกิจการร้านอาหาร ในอัตราค่าเช่าต่ำ แต่ผู้ร้องต้องลงทุนถมดินก่อสร้างอาคารซึ่งมีมูลค่าจำนวนมากและมีข้อตกลงกันว่าให้สิ่งปลูกสร้างที่ผู้ร้องสร้างขึ้นตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยเมื่อสัญญาเช่าครบกำหนดและผู้ร้องไม่ประสงค์จะเช่าต่อไปจึงเป็นกรณีที่ผู้ให้เช่าและผู้เช่าต่างให้ประโยชน์ตอบแทนซึ่งกันและกันจากการเช่าเป็นกรณีพิเศษนอกเหนือและแตกต่างไปจากการเช่าทรัพย์ตามปกติ สัญญาเช่าระหว่างผู้ร้องกับจำเลยจึงเป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา แม้ไม่จดทะเบียนก็ใช้บังคับแก่กันได้ เมื่อสัญญาเช่ายังไม่ครบกำหนด สิ่งก่อสร้างดังกล่าวจึงยังไม่ตกเป็นของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 625/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องแย้งคดีไม่มีทุนทรัพย์และการผูกพันสัญญาต่างตอบแทนต่อผู้รับโอน
ฟ้องและฟ้องแย้งจะต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงหรือไม่ต้องพิจารณาแยกเป็นประเด็นในแต่ละคดีไป
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยผู้เช่าออกจากตึกแถวพิพาทอันมีค่าเช่าเดือนละ 150 บาท และเรียกค่าเสียหายเดือนละ 2,500 บาท ค่าเสียหายนี้ไม่ใช่ค่าเช่าในขณะยื่นคำฟ้องตามความหมายของ ป.วิ.พ. มาตรา 224 (เดิม)
จำเลยฟ้องแย้งขอให้โจทก์ไปจดทะเบียนการเช่าและขอให้เพิกถอนนิติกรรม เป็นคำฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้เป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ แม้มีคำขอให้โจทก์โอนขายตึกแถวพิพาทให้ซึ่งเป็นการฟ้องเรียกเอาทรัพย์สินมาเป็นของจำเลยอันเป็นคดีมีทุนทรัพย์รวมมาด้วย คดีที่จำเลยฟ้องแย้งก็ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง
ศาลชั้นต้นชี้สองสถานกำหนดประเด็นข้อพิพาท จำเลยไม่โต้แย้งคัดค้าน เท่ากับยอมสละประเด็นข้ออื่นที่ศาลชั้นต้นไม่ได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้
ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ยกอุทธรณ์ของจำเลยไม่ชอบ เมื่อจำเลยฎีกาขึ้นมา โดยยกประเด็นตามที่ได้อุทธรณ์ขึ้นมาด้วยแล้ว และข้อเท็จจริงที่โจทก์จำเลยนำสืบมาเพียงพอที่จะวินิจฉัยคดีไปได้ ศาลฎีกาก็มีอำนาจวินิจฉัยประเด็นดังกล่าวไปเสียทีเดียวได้ โดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่
สัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาเป็นเพียงบุคคลสิทธิใช้บังคับกันได้เฉพาะแต่ในระหว่างคู่สัญญา จะผูกพันโจทก์ผู้รับโอนตึกแถวพิพาทต่อเมื่อโจทก์ตกลงยินยอมเข้าผูกพันตนที่จะปฏิบัติตามสัญญานั้นแทนผู้ให้เช่าเดิม อันเป็นการตกลงว่าจะชำระหนี้แก่บุคคลภายนอก ซึ่งจะทำให้บุคคลภายนอกคือจำเลยผู้เช่ามีสิทธิเรียกร้องชำระหนี้จากโจทก์ผู้รับโอนได้โดยตรงตาม ป.พ.พ. มาตรา 374
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยผู้เช่าออกจากตึกแถวพิพาทอันมีค่าเช่าเดือนละ 150 บาท และเรียกค่าเสียหายเดือนละ 2,500 บาท ค่าเสียหายนี้ไม่ใช่ค่าเช่าในขณะยื่นคำฟ้องตามความหมายของ ป.วิ.พ. มาตรา 224 (เดิม)
จำเลยฟ้องแย้งขอให้โจทก์ไปจดทะเบียนการเช่าและขอให้เพิกถอนนิติกรรม เป็นคำฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้เป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ แม้มีคำขอให้โจทก์โอนขายตึกแถวพิพาทให้ซึ่งเป็นการฟ้องเรียกเอาทรัพย์สินมาเป็นของจำเลยอันเป็นคดีมีทุนทรัพย์รวมมาด้วย คดีที่จำเลยฟ้องแย้งก็ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง
ศาลชั้นต้นชี้สองสถานกำหนดประเด็นข้อพิพาท จำเลยไม่โต้แย้งคัดค้าน เท่ากับยอมสละประเด็นข้ออื่นที่ศาลชั้นต้นไม่ได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้
ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ยกอุทธรณ์ของจำเลยไม่ชอบ เมื่อจำเลยฎีกาขึ้นมา โดยยกประเด็นตามที่ได้อุทธรณ์ขึ้นมาด้วยแล้ว และข้อเท็จจริงที่โจทก์จำเลยนำสืบมาเพียงพอที่จะวินิจฉัยคดีไปได้ ศาลฎีกาก็มีอำนาจวินิจฉัยประเด็นดังกล่าวไปเสียทีเดียวได้ โดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่
สัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาเป็นเพียงบุคคลสิทธิใช้บังคับกันได้เฉพาะแต่ในระหว่างคู่สัญญา จะผูกพันโจทก์ผู้รับโอนตึกแถวพิพาทต่อเมื่อโจทก์ตกลงยินยอมเข้าผูกพันตนที่จะปฏิบัติตามสัญญานั้นแทนผู้ให้เช่าเดิม อันเป็นการตกลงว่าจะชำระหนี้แก่บุคคลภายนอก ซึ่งจะทำให้บุคคลภายนอกคือจำเลยผู้เช่ามีสิทธิเรียกร้องชำระหนี้จากโจทก์ผู้รับโอนได้โดยตรงตาม ป.พ.พ. มาตรา 374
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5745/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าต่างตอบแทนและการรับโอนสิทธิหน้าที่จากสัญญาเดิม ผู้รับโอนต้องผูกพันตามสัญญาเดิม
การที่จำเลยออกเงินปลูกสร้างตึกแถวให้ ช. เจ้าของที่ดินเดิมและ ช. ให้จำเลยทำสัญญาเช่าตึกแถวมีกำหนดเวลารวม 12 ปีเช่นนี้สัญญาเช่าตึกแถวเป็นสัญญาต่างตอบแทนระหว่าง ช. กับจำเลยยิ่งกว่าการเช่าธรรมดา แม้สัญญาเช่าดังกล่าวที่ทำกัน 4 ฉบับ ๆ ละ3 ปี โดยมิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จะเป็นเพียงบุคคลสิทธิซึ่งผูกพันจำเลยกับ ช. คู่สัญญา เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกรับโอนที่ดินและตึกแถวจาก ช. ได้รับทราบและตกลงยินยอมปฏิบัติตามข้อตกลงดังกล่าวนั้น ซึ่งมีผลเป็นการตกลงยินยอมเข้าผูกพันตนในอันที่จะปฏิบัติตามสัญญานั้นแทน ช. ผู้ให้เช่าเดิมต่อไป อันเป็นการตกลงว่าจะชำระหนี้แก่บุคคลภายนอก ซึ่งทำให้จำเลยในฐานะบุคคลภายนอกและเป็นผู้เช่าตึกแถวจาก ช. มีสิทธิเรียกร้องชำระหนี้จากโจทก์ซึ่งเป็นลูกหนี้โดยตรงได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 374 โจทก์ย่อมต้องผูกพันที่จะให้จำเลยเช่าต่อไปตามกำหนดเวลาที่ได้ตกลงกันไว้ เพราะในกรณีเช่นนี้ผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน โจทก์จะอ้างว่าได้ที่ดินและตึกแถวโดยสุจริตหาได้ไม่ โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3919/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าและสัญญาต่างตอบแทนพิเศษ การจดทะเบียนสัญญา และอำนาจฟ้อง
โจทก์ฟ้องขับไล่ จำเลยฟ้องแย้งขอให้บังคับโจทก์จดทะเบียนสิทธิการเช่าหรือมิฉะนั้นขอให้บังคับโจทก์ขายสิทธิการเช่าแก่จำเลยหากไม่ปฏิบัติตามให้โจทก์ชดใช้ค่าเสียหาย โดยอ้างว่าเป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา แต่เมื่อสัญญาเช่าที่จำเลยทำกับโจทก์ตามสำเนาท้ายฟ้องไม่มีข้อความทำนองว่า โจทก์ตกลงให้จำเลยซ่อมแซมตึกแถวพิพาทแล้วโจทก์จะให้จำเลยเช่าอยู่ต่อไปและการที่จำเลยซ่อมแซมตึกแถวดังกล่าวก็เพื่อความสะดวกแก่การค้าขายหรืออยู่อาศัยอันเป็นประโยชน์แก่จำเลยเท่านั้น การเช่าตามฟ้องแย้งจึงเป็นการเช่าธรรมดา เมื่อไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 538จำเลยจะมาฟ้องบังคับให้โจทก์จดทะเบียนหาได้ไม่ จึงชอบที่จะไม่รับฟ้องแย้งของจำเลยข้อนี้ ส่วนฟ้องแย้งที่ขอให้บังคับโจทก์ขายสิทธิการเช่าแก่จำเลยหากไม่ปฏิบัติตามให้โจทก์ชดใช้ค่าเสียหายนั้น จะถือเป็นฟ้องแย้งต่อเมื่อศาลฟังว่าโจทก์จำเลยไม่มีสัญญาต่างตอบแทนต่อกัน จึงเป็นฟ้องแย้งที่มีเงื่อนไขและเป็นคนละเรื่องไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3468/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดิน: การบอกเลิกสัญญาและการปฏิบัติตามสัญญาต่างตอบแทน
ตามหนังสือสัญญาจะซื้อจะขายไม่ได้ระบุชัดแจ้งว่าหากโจทก์ผู้ซื้อผิดนัดไม่ชำระราคาที่เหลือให้แก่จำเลยทั้งสองผู้ขายตามกำหนดสัญญาจะซื้อจะขายเป็นอันเลิกกันทันที แม้เช็คที่โจทก์สั่งจ่ายให้แก่จำเลยทั้งสองเป็นการชำระราคาที่เหลือจะถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินก็ตาม แต่วัตถุประสงค์แห่งสัญญานั้นเห็นได้ว่า โดยสภาพหรือโดยเจตนาที่คู่สัญญาแสดงไว้ มิใช่ว่าจะเป็นผลสำเร็จได้ก็แต่ด้วยการชำระหนี้ ณ เวลาที่กำหนดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 388 สัญญาจะซื้อจะขายดังกล่าวจึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 387 กล่าวคือ จำเลยทั้งสองจะต้องบอกกล่าวให้โจทก์ชำระราคาที่เหลือภายในระยะเวลาพอสมควรก่อนถ้าโจทก์ไม่ชำระภายในระยะเวลาดังกล่าวนั้น จำเลยทั้งสองจึงจะบอกเลิกสัญญาเสียได้ การที่จำเลยทั้งสองทราบว่า ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินแล้วจำเลยทั้งสองไม่ไปที่สำนักงานที่ดินในวันนัดโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน และต่อมาได้บอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขายนั้นจำเลยทั้งสองยังไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญา การซื้อขายที่ดินพิพาทเป็นสัญญาต่างตอบแทน คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งจะไม่ยอมชำระหนี้จนกว่าอีกฝ่ายหนึ่งจะชำระหนี้หรือขอปฏิบัติการชำระหนี้ เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าโจทก์อยู่ในฐานะพร้อมที่จะสามารถชำระหนี้ได้จะถือว่าจำเลยทั้งสองผิดสัญญาในอันที่จะต้องชำระเบี้ยปรับและใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ยังไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2384/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสิทธิเรียกร้องจากสัญญาต่างตอบแทนและดอกเบี้ยค้างชำระ
สัมปทานปิโตรเลียมที่โจทก์ออกให้แก่จำเลยเป็นการอนุญาตให้จำเลยมีสิทธิที่จะทำได้แต่ผู้เดียวในกิจการสำรวจการปิโตรเลียมภายในขอบเขตที่กำหนดซึ่งจำเลยจะต้องจ่ายค่าทดแทนให้แก่โจทก์ แต่การจ่ายเงินผลประโยชน์มีจำนวนมากหลายรายการเพื่อผ่อนผันแบ่งเบาภาระให้แก่จำเลย จึงได้แบ่งชำระเป็นงวด เงื่อนไขดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นสัญญาต่างตอบแทนที่โจทก์พึงได้รับประโยชน์จากการที่ยอมให้สัมปทานแก่จำเลย แม้เงินผลประโยชน์พิเศษงวดที่ 3 ใช้คำว่า"กับทุกปีหลังจากนั้นเป็นเวลาต่อเนื่องกันอีกสองปี" ก็ตาม ก็มิใช่เป็นเงินอื่น ๆ ที่มีกำหนดจ่ายเป็นระยะเวลา จึงไม่เป็นสิทธิเรียกร้องที่มีอายุความ 5 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 166 เดิม สิทธิเรียกร้องของโจทก์ดังกล่าวไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้เฉพาะ จึงต้องใช้อายุความทั่วไปกำหนด 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 164 เดิม
โจทก์บอกกล่าวให้จำเลยชำระเงินผลประโยชน์พิเศษให้แก่โจทก์แล้ว จำเลยไม่ชำระจึงตกเป็นผู้ผิดนัดเพราะโจทก์เตือนแล้ว โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคแรกนับตั้งแต่วันผิดนัด แต่จำเลยไม่ชำระดอกเบี้ย ดอกเบี้ยดังกล่าวจึงเป็นดอกเบี้ยค้างส่งที่มีอายุความ 5 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 166 เดิม ดอกเบี้ยที่ค้างส่งเกินกว่า 5 ปีจึงขาดอายุความ
โจทก์บอกกล่าวให้จำเลยชำระเงินผลประโยชน์พิเศษให้แก่โจทก์แล้ว จำเลยไม่ชำระจึงตกเป็นผู้ผิดนัดเพราะโจทก์เตือนแล้ว โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคแรกนับตั้งแต่วันผิดนัด แต่จำเลยไม่ชำระดอกเบี้ย ดอกเบี้ยดังกล่าวจึงเป็นดอกเบี้ยค้างส่งที่มีอายุความ 5 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 166 เดิม ดอกเบี้ยที่ค้างส่งเกินกว่า 5 ปีจึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2384/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสิทธิเรียกร้องจากสัมปทานปิโตรเลียม: สัญญาต่างตอบแทนใช้ อายุความ 10 ปี, ดอกเบี้ยค้างชำระ 5 ปี
สัมปทานปิโตรเลียมที่โจทก์ออกให้แก่จำเลยกับพวกเป็นการอนุญาตให้จำเลยกับพวกมีสิทธิแต่ผู้เดียวในกิจการสำรวจการปิโตรเลียมภายในขอบเขตที่กำหนดซึ่งจำเลยกับพวกจะต้องจ่ายเงินค่าตอบแทนจำนวนหนึ่งให้แก่โจทก์ แต่การจ่ายเงินผลประโยชน์มีจำนวนมากหลายรายการเพื่อผ่อนผันแบ่งเบาภาระให้แก่จำเลย จึงได้กำหนดในสัมปทานให้แบ่งชำระเป็นงวด เงื่อนไขดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นสัญญาต่างตอบแทนที่โจทก์พึงได้รับประโยชน์จากการที่ยอมให้สัมปทานแก่จำเลย มิใช่เป็นเงินอื่น ๆ ที่กำหนดจ่ายเป็นระยะเวลา จึงไม่เป็นสิทธิเรียกร้องที่กำหนดอายุความไว้ 5 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 166 เดิม เมื่อสิทธิเรียกร้องดังกล่าวไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้เฉพาะเป็นอย่างอื่นจึงต้องใช้อายุความทั่วไปกำหนด 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 164 เดิม โจทก์บอกกล่าวให้จำเลยชำระเงินผลประโยชน์พิเศษให้แก่โจทก์แต่จำเลยไม่ชำระ จำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดนัดเพราะโจทก์เตือนแล้วโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยได้ในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคแรก จำเลยมีหน้าที่ต้องชำระดอกเบี้ยนับตั้งแต่วันผิดนัดให้แก่โจทก์ แต่จำเลยไม่ชำระดอกเบี้ยดังกล่าวจึงเป็นดอกเบี้ยค้างส่งที่มีอายุความ 5 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 166 เดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2171/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเช่าที่ดินและตึกแถวตามสัญญาต่างตอบแทน สัญญาเดิมไม่ผูกพันผู้รับโอนกรรมสิทธิ์
ฟ้องแย้งที่จำเลยกล่าวอ้างว่าจำเลยได้ทำสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่ากับผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่พิพาทให้จำเลยปลูกสร้างตึกแถวลงในที่ดินพิพาท แล้วยกตึกแถวให้เป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ให้เช่าโดยผู้ให้เช่ายินยอมให้จำเลยเช่ามีกำหนด 9 ปี เมื่อครบกำหนดสัญญาเช่าแล้วก็ยอมให้จำเลยเช่าต่อได้อีก เมื่อโจทก์ทั้งสี่เป็นผู้รับโอนกรรมสิทธิ์จากผู้ให้เช่าเดิมจึงต้องมีความผูกพันตามสัญญาที่มีอยู่เดิมด้วย ข้ออ้างของจำเลยดังกล่าวหากจะมี ก็เป็นสัญญาระหว่างจำเลยกับผู้ให้เช่าเดิม เป็นเพียงบุคคลสิทธิที่มีผลบังคับระหว่างคู่สัญญาเท่านั้น โจทก์ทั้งสี่เป็นบุคคลภายนอกจึงหาผูกพันด้วยไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1952/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าสร้างอาคารไม่แล้วเสร็จตามกำหนด ผู้ให้เช่ามีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ แม้เป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่า
ในการชี้สองสถานศาลชั้นต้นมิได้กำหนดเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์เป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ และจำเลยไม่ได้โต้แย้งว่าศาลชั้นต้นการกำหนดประเด็นข้อพิพาทไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบกลับแถลงรับว่าโจทก์มีการมอบอำนาจจริงคดีจึง ไม่มีประเด็นเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์ ฎีกาของจำเลยในเรื่องนี้จึงเป็นฎีกานอกประเด็น เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ที่จำเลยฎีกาว่าจำเลยได้ก่อสร้างอาคารตามผังและแบบแปลนถูกต้องสมบูรณ์ตามที่กำหนดไว้แล้ว จำเลยมิได้กระทำผิดสัญญาแต่จำเลยให้การยอมรับว่าจำเลยได้สร้างตึกแถวลงในที่ดินของโจทก์แล้วเสร็จไปเกินกว่าเจ็ดสิบเปอร์เซ็นต์ของผังและแบบแปลนที่ได้ขออนุญาตต่อเทศบาลเมืองอุดรธานี คงเหลือการก่อสร้างอีกเพียงเล็กน้อยเกิดภาวะทางด้านเศรษฐกิจตกต่ำ จำเลยจึงงดการก่อสร้างไว้ก่อนและแจ้งให้โจทก์ทราบ โจทก์ก็ตกลง ดังนั้นข้อที่จำเลยยกขึ้นฎีกาดังกล่าวเป็นข้อที่นอกเหนือและขัดแย้งกับที่จำเลยให้การต่อสู้คดีไว้ เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ตามสัญญาเช่าที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลยระบุว่า "ผู้เช่าสัญญาว่าจะสร้างอาคาร ให้ครบตามผังและแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตจากเทศบาลเมืองอุดรธานีให้แล้วเสร็จภายใน 1,460 วันนับจากวันเริ่มสัญญา นี้ หากพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวนี้ ผู้ให้เช่ามีสิทธิบอกเลิกสัญญากับผู้เช่าได้ทันที และผู้ให้เช่าอาจให้ผู้เช่าต่อสัญญาหรือจะให้บุคคลอื่นดำเนินการต่อไปก็ได้" ข้อความดังกล่าวเป็นข้อตกลงที่แสดงถึงเจตนาของคู่สัญญาไว้ชัดเจนว่าหากจำเลยสร้างอาคารไม่แล้วเสร็จภายในกำหนด โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ แม้สัญญาเช่าที่ดินดังกล่าวเป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาซึ่งกำหนดว่าโจทก์ต้องให้จำเลยเช่ามีกำหนด 21 ปี กำหนดเวลาเช่า 21 ปี ก็ต้องอยู่ภายใต้ข้อตกลงดังกล่าว เมื่อจำเลยผิดสัญญาเพราะสร้างอาคารไม่เสร็จภายในกำหนดตามข้อตกลงนั้น โจทก์ย่อมมีสิทธิเลิกสัญญาโดยข้อสัญญาดังกล่าวได้ ส่วนผลของการเลิกสัญญาจะทำให้จำเลยหรือผู้เช่าช่วงจะเสียหายมากน้อยอย่างไร ได้มีบทกฎหมายกำหนดสิทธิและหน้าที่ของคู่สัญญาจะพึงปฏิบัติต่อกันหลังเลิกสัญญาไว้แล้วความเสียหายตามข้ออ้างของจำเลยไม่ใช่เหตุที่โจทก์จะใช้สิทธิเลิกสัญญาไม่ได้