พบผลลัพธ์ทั้งหมด 222 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4792/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีประกันตัว, อากรแสตมป์สัญญาประกัน, และประเภทสัญญาค้ำประกัน
พันตำรวจโท ส. ฟ้องผู้ที่ผิดสัญญาปล่อยชั่วคราวในชั้นสอบสวนในฐานะที่เป็นพนักงานสอบสวนซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ให้อำนาจไว้ตามมาตรา 106และ 113 มิได้ฟ้องในฐานะส่วนตัว แม้ว่าในขณะทำสัญญาประกันพันตำรวจโท ส. จะมิได้ดำรงตำแหน่งพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลสุทธิสาร แต่ในขณะยื่นฟ้องพันตำรวจโทส.ดำรงตำแหน่งพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลสุทธิสารจึงมีอำนาจฟ้อง หนังสือมอบอำนาจระบุว่า จำเลยที่ 1 มอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้มีอำนาจนำโฉนดที่ดินไปประกัน ป.กับพวกรวม 2 คน ผู้ต้องหาไปจากความควบคุมของพนักงานสอบสวนแทนจำเลยที่ 1 จนเสร็จการซึ่งเป็นการมอบอำนาจให้บุคคลคนเดียวไปกระทำการครั้งเดียว จึงต้องปิดอากรแสตมป์ 10 บาทตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้ายประมวลรัษฎากร ข้อ 7(ก) สัญญาที่นายประกันร้องขอให้ปล่อยผู้ต้องหาชั่วคราวไปจากการควบคุมของพนักงานสอบสวนโดยสัญญาว่าจะส่งตัวผู้ต้องหาให้ตามกำหนดนัดของพนักงานสอบสวน ไม่อยู่ในความหมายของสัญญาค้ำประกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 680 จึงไม่ต้องปิดอากรแสตม์ ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้ายประมวลรัษฎากร ข้อ 17(ง)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2634/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แม้ผู้ขับขี่ไม่มีใบอนุญาต แต่จำเลยต้องรับผิดตามสัญญาประกันภัย หากพิสูจน์ไม่ได้ว่าเกิดจากความประมาทของผู้ขับขี่
เงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยกำหนดว่า การประกันภัยไม่คุ้มครองการขับขี่โดยบุคคลที่ไม่เคยได้รับใบอนุญาตขับรถยนต์ใด ๆ หรือเคยได้รับแต่ขาดต่ออายุเกินกว่า 180 วัน หรือเคยได้รับแต่ถูกตัดสิทธิตามกฎหมายในการขับรถยนต์ในเวลาเกิดอุบัติเหตุ แต่การยกเว้นนี้จะไม่นำมาใช้ในกรณีที่มีความเสียหายต่อรถที่เกิดขึ้นมิใช่ความประมาทของผู้ขับขี่รถยนต์ที่เอาประกันภัยดังนี้ แม้จะปรากฏว่าในขณะเกิดเหตุรถยนต์ชนกัน ผู้ขับขี่รถที่เอาประกันภัยไม่มีหรือไม่เคยได้รับใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ก็ตาม เมื่อจำเลยมิได้ต่อสู้ไว้ว่าเหตุเกิดเพราะความประมาทของผู้ขับขี่ และฟ้องมิได้กล่าวไว้เช่นนั้น จำเลยย่อมไม่อาจนำข้อยกเว้นดังกล่าวมาใช้ปัดความรับผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1251/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกัน – การปรับค่าประกัน – เงื่อนไขการชำระ – การลดค่าปรับ – อำนาจศาล
ผู้ประกันทำสัญญาประกันจำเลยที่ 2 ที่ 3 ต่อศาลชั้นต้นเป็นฉบับเดียวกัน แล้วผิดสัญญาประกัน ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจสั่งปรับผู้ประกันในคำสั่งเดียวกันได้ และเมื่อภายหลังผู้ประกันนำตัวจำเลยที่ 3 มาส่งศาลหลังวันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ปรับผู้ประกัน ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจที่จะมี คำสั่งลดจำนวนค่าปรับผู้ประกันเฉพาะจำเลยที่ 3 ลงโดยกำหนดเงื่อนไขว่า ต้องชำระค่าปรับดังกล่าวภายใน 1 เดือน และต้องไม่ผิดนัดชำระค่าปรับสำหรับจำเลยที่ 2 ด้วยมิฉะนั้นให้ปรับเต็มตามสัญญาประกันอันเป็นเงื่อนไขซึ่งเกี่ยวพันกับการปรับผู้ประกันในส่วนของจำเลยที่ 2 ที่อยู่ระหว่างผ่อนชำระค่าปรับกรณีผิดสัญญาประกันได้ตามที่ศาลชั้นต้นเห็นสมควรโดยอาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 119 โดยไม่จำต้องแยกคำสั่งปรับผู้ประกันจำเลยที่ 2และที่ 3 ออกจาก กัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1251/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันตัว, การปรับค่าประกัน, และอำนาจศาลในการลดค่าปรับเมื่อจำเลยมาศาล
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสี่ ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ แต่ให้ขังจำเลยทั้งสี่ระหว่างฎีกาผู้ประกันทำสัญญาประกันจำเลยที่ 2 ที่ 3 ไปจากศาลชั้นต้นถึงวันนัดฟังคำพิพากษาศาลฎีกา ผู้ประกันไม่สามารถส่งตัวจำเลยทั้งสองนี้ได้ ศาลชั้นต้นปรับเต็มจำนวนตามสัญญาประกันคนละ 600,000 บาท ต่อมาศาลฎีกาพิพากษาแก้ให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ที่ 2 ส่วนจำเลยที่ 3 ที่ 4 ยกฟ้องผู้ประกันนำตัวจำเลยที่ 3 มาส่งศาลและของด หรือลดค่าปรับ ศาลสอบถามถึงการชำระค่าปรับในส่วนที่เกี่ยวกับการประกันจำเลยที่ 2แล้ว ผู้ประกันขอชำระเงินค่าปรับ 300,000 บาท ส่วนที่เหลือขอผ่อนชำระเดือนละ 20,000 บาท จนกว่าจะครบ ศาลชั้นต้นให้รับเงินและผ่อนชำระได้ ดังนี้ เมื่อปรากฎว่าผู้ประกันทำสัญญาประกันจำเลยที่ 2 ที่ 3 เป็นฉบับเดียวกันศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจสั่งปรับผู้ประกันเพราะผิดสัญญาประกันในคำสั่งเดียวกันได้ และเมื่อภายหลังผู้ประกันนำตัวจำเลยที่ 3 มาส่งศาลหลังวันที่ศาลชั้นต้นสั่งปรับผู้ประกันเป็นเวลา 1 เดือนเศษ ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจที่จะมีคำสั่งลดค่าปรับผู้ประกันเฉพาะจำเลยที่ 3 ภายในเงื่อนไขซึ่งเกี่ยวพันกับการปรับผู้ประกันในส่วนของจำเลยที่ 2 ว่าต้องชำระค่าปรับที่เห็นควรลดให้มาแล้วนั้นภายใน 1 เดือนและต้องไม่ผิดนัดการชำระค่าปรับสำหรับจำเลยที่ 2 ด้วยมิฉะนั้นให้ปรับเต็มตามสัญญาประกันได้ ตามที่ศาลชั้นต้นเห็นสมควรตามความในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 119
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3773/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการอุทธรณ์คำสั่งศาลและการฎีกาคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในคดีผิดสัญญาประกัน
ศาลชั้นต้นสั่งปรับผู้ร้องทั้งสามฐานผิดสัญญาประกัน และตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์อันเป็นหลักประกันออกขายทอดตลาดจนเสร็จสิ้น ผู้ร้องทั้งสามยื่นคำร้องขอให้สั่งเพิกถอนการขายทอดตลาดและดำเนินการขายทอดตลาดใหม่ ศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้อง ผู้ร้องทั้งสามอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายกคำสั่งของศาลชั้นต้นให้ศาลชั้นต้นดำเนินการไต่สวนคำร้องของผู้ร้องทั้งสาม แล้วมีคำสั่งใหม่ตามรูปคดี ผู้ซื้อทรัพย์ทั้งสองฎีกา ดังนี้ มิใช่กรณีที่ผู้ร้องทั้งสามยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ปฏิเสธไม่ยอมรับอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้รับอุทธรณ์อันจะทำให้คำสั่งศาลอุทธรณ์เป็นที่สุด ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 236 วรรคแรก ผู้ซื้อทรัพย์ทั้งสองจึงฎีกาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 359/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัยเนื่องจากคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เป็นที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 119
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 119 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2532มาตรา 4 บัญญัติว่า "ในกรณีผิดสัญญาประกันต่อศาล ศาลมีอำนาจสั่งบังคับตามสัญญาประกัน หรือตามที่ศาลเห็นสมควรโดยมิต้องฟ้องเมื่อศาลสั่งประการใดแล้ว ฝ่ายผู้ถูกบังคับตามสัญญาประกันหรือพนักงานอัยการมีอำนาจอุทธรณ์ได้ คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ให้เป็นที่สุด" บทบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 9 ตุลาคม 2532ผู้ประกันยื่นฎีกาขอให้ศาลฎีกาพิพากษาลดค่าปรับกรณีผิดสัญญาประกันเมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2534 หลังจากบทบัญญัติดังกล่าวมีผลใช้บังคับแล้ว คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ย่อมเป็นที่สุด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3414/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตอำนาจพนักงานสอบสวนในการกำหนดจำนวนเงินประกันตัวคดีเช็ค และผลบังคับใช้สัญญาประกันเกินอำนาจ
ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ. 2497 มาตรา 5(2) ให้พนักงานสอบสวนมีอำนาจสั่งปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาที่กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติดังกล่าวโดย มีประกันหรือหลักประกันไม่เกินจำนวนเงินตามเช็ค เมื่อผู้ต้องหาออกเช็คเป็นความผิดจำนวนเงิน 93,000 บาท จำเลยเป็นผู้ขอประกัน พนักงานสอบสวนจึงมีอำนาจกำหนดจำนวนเงินให้ผู้ประกันชดใช้เมื่อมีการผิดสัญญาประกันเพียงไม่เกินจำนวนเงิน 93,000 บาท การที่พนักงานสอบสวนกำหนดจำนวนเงินให้ผู้ประกันชดใช้เมื่อมีการผิดสัญญาประกัน 200,000 บาทซึ่งเกินกว่าจำนวนเงินตามเช็ค เป็นการกระทำที่เกินอำนาจของพนักงานสอบสวน จึงใช้บังคับผู้ประกันได้เพียงเท่าที่กฎหมายให้อำนาจไว้คือ 93,000 บาท ตามจำนวนเงินในเช็ค
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3191/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับตามสัญญาประกันและการอุทธรณ์คำสั่งปรับ ศาลอุทธรณ์พิพากษาถึงที่สุดแล้ว ไม่อาจฎีกาได้
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่ลดค่าปรับให้ผู้ประกันตาม ป.วิ.อ. มาตรา 119 คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ย่อมถึงที่สุด.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3012/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 248 เนื่องจากทุนทรัพย์ไม่เกินห้าหมื่นบาท
โจทก์ฟ้องจำเลยเรียกเงินค่าปรับตามสัญญาประกันตัว ค.ผู้ต้องหาจำนวน 40,000 บาท และเรียกเงินค่าปรับตามสัญญาประกันตัวฉ. ผู้ต้องหาจำนวน 40,000 บาท โดยโจทก์ฟ้องรวมมาในฟ้องฉบับเดียวกัน ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงินค่าปรับตามสัญญาประกันตัว ค. จำนวน 40,000 บาท และตามสัญญาประกันตัวฉ. จำนวน 10,000 บาท พร้อมด้วยดอกเบี้ย ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยชำระเงินค่าปรับตามสัญญาประกันตัว ค.จำนวน 20,000 บาท นอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นเป็นการแก้ไขเล็กน้อย โจทก์ฎีกาขอให้จำเลยชำระค่าปรับเต็มจำนวนตามที่ระบุไว้ในสัญญาประกันตัว ค. และจำเลยฎีกาขอให้ลดค่าปรับแก่จำเลยซึ่งเป็นฎีกาโต้เถียงในข้อเท็จจริง ทุนทรัพย์ในคดีต้องถือตามจำนวนเงินในสัญญาประกันแต่ละฉบับ คือฉบับละ40,000 บาทเพราะค่าปรับตามสัญญาประกันเป็นคนละรายแบ่งแยกรับผิดเป็นส่วนสัดกัน เมื่อทุนทรัพย์แต่ละรายไม่เกินห้าหมื่นบาทฎีกาของโจทก์และจำเลยจึงต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2858/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความการเรียกร้องค่าซ่อมตามสัญญาประกันคุณภาพสินค้าต่างจากความชำรุดบกพร่องของทรัพย์
โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดชดใช้ค่าซ่อมหรือความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่โจทก์ตามข้อตกลงรับประกันสินค้าตามสัญญา มิใช่เป็นเรื่องโจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องให้รับผิดในความชำรุดบกพร่องแห่งทรัพย์ ซึ่งมีอายุความ 1 ปี ข้อตกลงพิเศษตามสัญญาไม่มีกฎหมายเรื่องอายุความบัญญัติไว้เป็นการเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 164 คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ