พบผลลัพธ์ทั้งหมด 160 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4365/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเงินกู้: การปรับอัตราดอกเบี้ยต้องแจ้งให้ผู้กู้ทราบ หากไม่แจ้งสิทธิในการเรียกเก็บดอกเบี้ยสูงขึ้นย่อมไม่มีผล
สัญญากู้ยืมเงินมีข้อความว่าหากผู้ให้กู้จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยไม่เกินกว่าที่กฎหมายกำหนดแล้วผู้ขอกู้ยอมให้ผู้ให้กู้มีสิทธิขึ้น อัตราดอกเบี้ยได้ตามแต่จะเห็นสมควรโดยเพียงแต่แจ้งให้ผู้กู้ทราบเท่านั้นข้อความที่ระบุไว้ดังกล่าวแม้จะให้สิทธิโจทก์ขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยแต่ก็มีเงื่อนไขว่าต้องแจ้งให้จำเลยทั้งสองทราบด้วยโจทก์จะ ขึ้นอัตราดอกเบี้ยโดยไม่แจ้งให้จำเลยทั้งสองทราบหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4287/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับจากสัญญาเงินกู้สูงเกินส่วน ศาลลดลงให้เหมาะสมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
สัญญากู้เงินระหว่างโจทก์จำเลยข้อ2.1ก.กำหนดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ14350ต่อปีแต่สัญญาข้อ2.4มีข้อความระบุว่า"ในกรณีที่ผู้กู้ไม่ชำระต้นเงินและ/หรือกำหนดเวลาที่ระบุตามข้อ3ผู้กู้ยอมให้ผู้ให้กู้คิดดอกเบี้ยสำหรับเงินกู้ที่ยังคงค้างชำระทั้งหมดในอัตราสูงสุดตามที่ประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตให้บริษัทเงินทุนสามารถเรียกเก็บได้จากลูกค้าเงินกู้แทนอัตราที่กำหนดไว้ในข้อ2.1,2.2และ2.3ข้างต้น"โจทก์จึงมีสิทธิเรียกเอาดอกเบี้ยตามอัตราที่ตกลงกันไว้ได้แต่ปรากฎว่าข้อตกลงระหว่างโจทก์และจำเลยดังกล่าวเป็นข้อกำหนดเกี่ยวกับการชดใช้ค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าในกรณีจำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามเวลาที่กำหนดอันมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา379ถ้าเบี้ยปรับกำหนดไว้สูงเกินส่วนศาลจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรก็ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา383
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3528/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้แปลงจากค่าที่ดิน-สัญญาเงินกู้ สัญญาเงินกู้ไม่เป็นนิติกรรมอำพราง
จำเลยทำสัญญากู้เงินให้โจทก์แทนการชำระราคาที่ดินบางส่วนที่โจทก์กับพวกขายให้แก่จำเลย หนี้เงินกู้ตามสัญญากู้เงินจึงเป็นหนี้ที่แปลงมาจากค่าที่ดินที่จำเลยต้องชำระแก่โจทก์สัญญากู้เงินจึงมีผลบังคับได้ตามกฎหมายมิใช่เป็นนิติกรรมอำพรางสัญญาขายที่ดิน โจทก์เอาหนี้เงินกู้ที่จำเลยค้างชำระตามสัญญากู้เงินฉบับเดิมมาเป็นต้นเงินกู้ตามสัญญากู้เงินฉบับใหม่ เป็นการแปลงหนี้จากสัญญากู้เงินฉบับเดิมมาเป็นสัญญากู้เงินฉบับใหม่ สัญญากู้เงินฉบับใหม่ใช้บังคับกันได้ตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1479/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อากรแสตมป์: การประเมินและเรียกเก็บอากรแสตมป์เพิ่มเติมจากบันทึกเพิ่มเติมสัญญาเงินกู้
เมื่อวันที่15กุมภาพันธ์2525บ. ขอกู้เงินตามวิธีและธรรมเนียมประเพณีการเบิกเงินเกินบัญชีจากโจทก์ในวงเงิน2,000,000บาทกำหนดชำระหนี้ให้หมดสิ้นภายในวันที่15กุมภาพันธ์2526ได้ทำสัญญากันไว้ตาม"สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี"โดยปิดอากรแสตมป์บริบูรณ์ในตราสารดังกล่าวแล้วต่อมาได้ทำ"บันทึกต่ออายุสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี"ให้เบิกเงินเกินบัญชีได้ถึงวันที่15กุมภาพันธ์2530(ในวงเงินเดิม)และในวันที่26กุมภาพันธ์2529บ. ได้ทำ"บันทึกต่อท้ายสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี"กับโจทก์โดยตกลงเพิ่มวงเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีตาม"สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี"ขึ้นอีกรวมเป็นวงเงิน3,000,000บาทข้อตกลงอื่นคงให้เป็นไปตาม"สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี"ดังนั้นในวันที่26กุมภาพันธ์2529บ. ยังมีข้อตกลงเบิกเงินเกินบัญชีจากโจทก์ตาม"สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี"ประกอบ"บันทึกต่ออายุสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี"อยู่จำนวน2,000,000บาทสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีหาได้ถูกยกเลิกไปแล้วไม่การที่บ.ตกลงเบิกเงินเกินบัญชีจากโจทก์ตาม"บันทึกต่อท้ายสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี"ในวันดังกล่าวจึงเป็นการที่โจทก์ตกลงให้บ.เบิกเงินเกินบัญชีจากธนาคารในยอดเงินเพียง1,000,000บาทส่วนจำนวน2,000,000บาทยังคงเป็นยอดเงินเบิกเกินบัญชีตาม"สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี"ซึ่งโจทก์ได้ปิดอากรแสตมป์ไว้บริบูรณ์แล้วโจทก์จึงมีหน้าที่ปิดอากรแสตมป์ในตราสาร"บันทึกต่อท้ายสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี"โดยคำนวณจากยอดเงินเพียง1,000,000บาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5034/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่มาแห่งมูลหนี้เงินกู้จากการเล่นแชร์: สัญญาเงินกู้สมบูรณ์ แม้ไม่มีการส่งมอบเงิน
มูลหนี้ของสัญญาเงินกู้มาจากการเล่นแชร์ อันเป็นมูลหนี้ที่ชอบด้วยกฎหมายและบังคับกันได้ และกรณีเช่นนี้ไม่จำต้องมีการส่งมอบเงินให้แก่จำเลยอีกเพราะถือเสมือนหนึ่งว่าได้มีการส่งมอบเงินกู้ให้แก่จำเลยไปแล้ว ดังนั้นสัญญาเงินกู้จึงมีผลสมบูรณ์ ที่โจทก์นำสืบว่า จำเลยเป็นหนี้ค่าเล่นแชร์ที่โจทก์ในฐานะนายวงแชร์ได้ใช้เงินแทนให้จำเลยไปแล้ว จำเลยจึงได้ทำสัญญาเงินกู้ให้ไว้แก่โจทก์นั้น เป็นการนำสืบถึงที่มาแห่งมูลหนี้ของหนี้เงินกู้ตามฟ้อง ซึ่งโจทก์ชอบที่จะนำสืบได้ มิใช่เป็นการนำสืบนอกฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5034/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเงินกู้มีผลสมบูรณ์เมื่อมีมูลหนี้จากการเล่นแชร์ การนำสืบถึงที่มาของหนี้ไม่เป็นการนำสืบนอกฟ้อง
มูลหนี้ของสัญญาเงินกู้มาจากการเล่นแชร์อันเป็นมูลหนี้ที่ชอบด้วยกฎหมายและบังคับกันได้และกรณีเช่นนี้ไม่จำต้องมีการส่งมอบเงินให้แก่จำเลยอีกเพราะถือเสมียนหนึ่งว่าได้มีการส่งมอบเงินกู้ให้แก่จำเลยไปแล้วดังนั้นสัญญาเงินกู้จึงมีผลสมบูรณ์ที่โจทก์นำสืบว่าจำเลยเป็นหนี้ค่าเล่นแชร์ที่โจทก์ในฐานะนายวงแชร์ได้ใช้เงินแทนให้จำเลยไปแล้วจำเลยจึงได้ทำสัญญาเงินกู้ให้ไว้แก่โจทก์นั้นเป็นการนำสืบถึงที่มาแห่งมูลหนี้ของหนี้เงินกู้ตามฟ้องซึ่งโจทก์ชอบที่จะนำสืบได้มิใช่เป็นการนำสืบนอกฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4034/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
มูลหนี้จากเล่นแชร์เป็นเหตุให้เกิดสัญญาเงินกู้ที่สมบูรณ์ การนำสืบถึงที่มาของหนี้ไม่เป็นการนำสืบนอกฟ้อง
มูลหนี้ของสัญญาเงินกู้มาจากการเล่นแชร์ อันเป็นมูลหนี้ที่ชอบด้วยกฎหมายและบังคับกันได้ และกรณีเช่นนี้ไม่จำต้องมีการส่งมอบเงินให้แก่จำเลยเพราะถือเสมือนหนึ่งว่าได้มีการส่งมอบเงินกู้ให้แก่จำเลยไปแล้ว ดังนั้นสัญญาเงินกู้ตามฟ้องตามจึงมีผลสมบูรณ์ ที่โจทก์นำสืบว่า จำเลยเป็นหนี้ค่าเล่นแชร์ที่โจทก์ในฐานะนายวงแชร์ได้ใช้เงินแทนให้จำเลยไปแล้ว จำเลยจึงได้ทำสัญญาเงินกู้ตามเอกสารหมาย จ.1ให้ไว้แก่โจทก์นั้น เป็นการนำสืบถึงที่มาแห่งมูลหนี้ของหนี้เงินกู้ตามฟ้อง ซึ่งโจทก์ชอบที่จะนำสืบได้ มิใช่เป็นการนำสืบนอกฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2499/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเงินกู้ไม่ครบอากรแสตมป์ ใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งไม่ได้
สัญญากู้เงินเป็นต้นฉบับแห่งเอกสารอันเป็นตราสารที่จะต้องปิดอากรแสตมป์ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ข้อ 5 ท้ายหมวด 6 แห่งประมวลรัษฎากรแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 10)พ.ศ.2496
เมื่อผู้คัดค้านอ้างและนำสืบว่า ผู้ร้องกู้เงินจำเลยจำนวน1,845,000 บาท ตามหนังสือสัญญากู้เงินซึ่งต้องปิดอากรแสตมป์เป็นเงิน 922 บาทแต่สัญญากู้ปิดอากรแสตมป์เพียง 1 บาท ไม่ครบถ้วน จึงเป็นตราสารที่ไม่ปิดอากรแสตมป์บริบูรณ์ จะใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งไม่ได้ ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 118 ดังนั้น จึงรับฟังไม่ได้ว่าผู้ร้องเป็นหนี้จำเลยอยู่ตามหนังสือยืนยันหนี้ของผู้คัดค้าน
เมื่อผู้คัดค้านอ้างและนำสืบว่า ผู้ร้องกู้เงินจำเลยจำนวน1,845,000 บาท ตามหนังสือสัญญากู้เงินซึ่งต้องปิดอากรแสตมป์เป็นเงิน 922 บาทแต่สัญญากู้ปิดอากรแสตมป์เพียง 1 บาท ไม่ครบถ้วน จึงเป็นตราสารที่ไม่ปิดอากรแสตมป์บริบูรณ์ จะใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งไม่ได้ ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 118 ดังนั้น จึงรับฟังไม่ได้ว่าผู้ร้องเป็นหนี้จำเลยอยู่ตามหนังสือยืนยันหนี้ของผู้คัดค้าน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6881/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อขายที่ดิน disguised as สัญญาเงินกู้: การตีความตามพยานหลักฐาน
แม้เอกสารหมาย จ.3 จะใช้แบบพิมพ์สัญญากู้ยืมและในข้อ 1มีข้อความว่า ผู้กู้ (จำเลย) ได้กู้ยืมเงินของผู้ให้กู้ (โจทก์) ไปเป็นจำนวนเงิน230,000 บาท ก็ตาม แต่ก็ไม่ได้กล่าวถึงการชำระดอกเบี้ยและกำหนดเวลาที่จะชำระเงินต้นคืนไว้ดังสัญญากู้ยืมเงินทั่วไป แต่ในสัญญาข้อ 4 กลับมีข้อความระบุไว้ว่า ผู้กู้ได้นำ น.ส.3 (ที่สวนมะพร้าว) หมู่ที่ 8 ตำบลท่าชนะ เนื้อที่ 60 ไร่เศษโดยนายสำราญ ศรียาภัย ขายที่ดิน 2 แปลงนี้ให้นายไพรัช แสงฉวาง ในราคา750,000 บาท ตกลงจ่ายเงินงวดแรกเป็นเงิน 350,000 บาท และจ่ายเงินในวันทำสัญญานี้เท่ากับเงินกู้คือ 230,000 บาท ส่วนที่เหลือจะจ่ายให้เมื่อมีการทำสัญญาซื้อขายกันต่อไป โดยจะทำการโอนที่ดินทั้งสองแปลงนี้ให้แล้วเสร็จภายใน 2 ปีนับจากวันทำสัญญา หากฝ่ายใดผิดสัญญาให้ปรับหนึ่งเท่าของราคาที่ดิน นอกจากโจทก์จะมีพยานบุคคลมาเบิกความยืนยันว่าเป็นสัญญาจะซื้อขายที่ดินทั้งสองแปลงแล้วยังได้ความว่า หลังจากจำเลยรับเงินจำนวน 230,000 บาท ในวันทำเอกสารหมาย จ.3 แล้ว จำเลยยังรับเงินจากโจทก์อีกหลายครั้งจนครบจำนวน 350,000 บาทจำเลยก็ได้โอนที่ดินตามสัญญาหนึ่งแปลงให้แก่โจทก์ ดังนี้สัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาจะซื้อขายที่ดิน
เอกสารหมาย จ.4 เป็นแบบพิมพ์สัญญากู้ยืมระบุจำเลยรับเงินจากโจทก์อีก 2 ครั้ง เอกสารหมาย จ.4 นี้มีความเกี่ยวเนื่องกับเอกสารหมาย จ.3 ดังนั้นการที่โจทก์นำสืบว่า เอกสารหมาย จ.4 เป็นการชำระเงินให้จำเลยเพื่อซื้อที่ดิน มิใช่การให้จำเลยกู้ยืมเงินย่อมไม่เป็นการนำสืบแก้ไขเปลี่ยนแปลงเอกสาร เพราะเป็นการนำสืบถึงมูลเหตุที่จะทำเอกสารหมาาย จ.4 ชอบที่จะนำสืบได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94
เอกสารหมาย จ.4 เป็นแบบพิมพ์สัญญากู้ยืมระบุจำเลยรับเงินจากโจทก์อีก 2 ครั้ง เอกสารหมาย จ.4 นี้มีความเกี่ยวเนื่องกับเอกสารหมาย จ.3 ดังนั้นการที่โจทก์นำสืบว่า เอกสารหมาย จ.4 เป็นการชำระเงินให้จำเลยเพื่อซื้อที่ดิน มิใช่การให้จำเลยกู้ยืมเงินย่อมไม่เป็นการนำสืบแก้ไขเปลี่ยนแปลงเอกสาร เพราะเป็นการนำสืบถึงมูลเหตุที่จะทำเอกสารหมาาย จ.4 ชอบที่จะนำสืบได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6153/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความสัญญาเงินกู้เรื่องดอกเบี้ยทบต้น: 'ไม่น้อยกว่า 1 ปี' กับ 'เกิน 1 ปี' มีความหมายต่างกัน
ข้อความที่ว่าผิดนัดค้างชำระดอกเบี้ยเงินกู้เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี กับข้อความที่ว่าผิดนัดค้างชำระดอกเบี้ยเกิน 1 ปี มีความหมายแตกต่างกัน หามีความหมายเหมือนกันไม่ กล่าวคือ ข้อความที่ว่าผิดนัดค้างชำระดอกเบี้ยเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี นั้น หมายความว่าผิดนัดค้างชำระดอกเบี้ยระยะเวลาตั้งแต่วันครบ 1 ปี เป็นต้นไป ส่วนข้อความที่ว่าผิดนัดค้างชำระดอกเบี้ยเกิน 1 ปี หมายความว่าผิดนัดค้างชำระดอกเบี้ยระยะเวลาถัดจากวันครบ 1 ปี เป็นต้นไปดังนั้น ที่โจทก์นำดอกเบี้ยที่จำเลยทั้งสองผิดนัดค้างชำระงวดที่สามและงวดที่สี่มาทบต้นในวันครบกำหนด 1 ปี พอดีจึงถือได้ว่าโจทก์ได้นำดอกเบี้ยที่จำเลยทั้งสองผิดนัดค้างชำระเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี มาทบต้นเป็นการปฏิบัติถูกต้องตามสัญญาแล้ว ดอกเบี้ยหาตกเป็นโมฆะไม่