พบผลลัพธ์ทั้งหมด 486 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9034/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องกรณีเช่าซื้อรถยนต์: สัญญาเช่าซื้อมีผลเหนือกว่าสัญญาซื้อขายเดิม
แม้โจทก์ได้สั่งซื้อรถยนต์คันพิพาทจากจำเลยที่ 1 โดยชำระค่าจองรถยนต์รวมทั้งค่ารถยนต์บางส่วน และได้รับมอบรถยนต์จากจำเลยที่ 1 ก็ตาม แต่โจทก์ก็ยืนยันว่า โจทก์ทำสัญญาเช่าซื้อไว้กับบริษัท ธ. จำกัด อันแสดงโดยแจ้งชัดว่าโจทก์ได้ยอมรับแล้วว่าบริษัท ธ. จำกัด เป็นเจ้าของรถยนต์คันพิพาท หาใช่จำเลยที่ 1 ไม่ มิฉะนั้นโจทก์คงไม่ชำระค่าเช่าซื้อเป็นรายงวดให้แก่บริษัท ธ. จำกัด ตลอดมา โดยบริษัทดังกล่าวได้ออกใบเสร็จรับเงินให้ทุกงวด แม้แต่ค่าจองรถยนต์ จนกระทั่งโจทก์ได้บอกเลิกสัญญาเช่าซื้อรถยนต์กับบริษัท ธ. จำกัด ซึ่งบริษัทดังกล่าวได้รับมอบรถยนต์ไว้ โจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงหาได้มีนิติสัมพันธ์ตามลักษณะของสัญญาซื้อขายกันไม่ ส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 ก็ไม่ปรากฏว่า มีความผูกพันกับโจทก์ตามสัญญาใดที่จะทำให้ต้องรับผิดในความชำรุดบกพร่องของรถยนต์คันพิพาทต่อโจทก์ ลำพังเพียงการรับประกันว่า หากรถยนต์ที่จำหน่ายมีปัญหาสามารถส่งซ่อมได้ที่ศูนย์บริการตัวแทนจำหน่ายและที่ศูนย์ของจำเลยที่ 2 มิได้หมายความว่าจำเลยที่ 2 ผูกพันต้องรับผิดในความชำรุดบกพร่องของรถยนต์ที่โจทก์ได้รับมอบมาตามสัญญาเช่าซื้อ เพราะความรับผิดในกรณีทรัพย์สินที่ให้เช่าซื้อชำรุดบกพร่องโจทก์ย่อมเรียกร้องได้จากผู้ให้เช่าซื้อโดยตรง โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองให้รับผิดในความชำรุดบกพร่องแห่งทรัพย์สินที่เช่าซื้ออันเกิดขึ้นในระหว่างเวลาเช่าซื้อนั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8703/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อไม่สมบูรณ์ ทำให้จำเลยไม่ต้องรับผิดตามกฎหมายเช็ค
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 572 วรรคสอง ได้บัญญัติไว้ว่า "สัญญาเช่าซื้อนั้นถ้าไม่ทำเป็นหนังสือ ท่านว่าเป็นโมฆะ"ย่อมมีความหมายว่าคู่สัญญาต้องลงลายมือชื่อในหนังสือสัญญาเช่าซื้อทั้งสองฝ่าย ถ้าฝ่ายใดมิได้ลงลายมือชื่อในหนังสือสัญญาจะถือว่าฝ่ายนั้นทำหนังสือสัญญาด้วยมิได้ เมื่อปรากฏว่าในวันออกเช็คพิพาททั้งสองฉบับโจทก์ผู้ให้เช่าซื้อยังมิได้ลงลายมือชื่อในสัญญาเช่าซื้อให้ถูกต้อง คงมีแต่จำเลยผู้เช่าซื้อลงลายมือชื่อแต่ฝ่ายเดียว สัญญาเช่าซื้อดังกล่าวย่อมไม่มีผลใช้บังคับได้ตามกฎหมาย แม้ ช. ผู้รับมอบอำนาจโจทก์จะมาลงลายมือชื่อในฐานะตัวแทนผู้ให้เช่าซื้อในภายหลังก็หามีผลย้อนหลังไม่ดังนั้น ในวันออกเช็คพิพาทแต่ละฉบับ จำเลยจึงไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระค่าเช่าซื้อรถยนต์บรรทุกสิบล้อคันที่สองให้แก่โจทก์ตามสัญญาเช่าซื้อ เมื่อเช็คพิพาทแต่ละฉบับ จำเลยได้สั่งจ่ายเพื่อชำระหนี้ค่าเช่าซื้อรถยนต์บรรทุกสิบล้อทั้งสองคันตามสัญญาเช่าซื้อทั้งสองฉบับรวมกันเช็คพิพาทแต่ละฉบับจึงมีเงินค่าเช่าซื้อส่วนที่โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องบังคับให้จำเลยชำระรวมอยู่ด้วย จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่บังคับได้โดยชอบด้วยกฎหมาย การกระทำของจำเลยย่อมขาดองค์ประกอบความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7027/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อไม่ปิดอากรแสตมป์ ทำให้หนี้ไม่บังคับได้ การออกเช็คจึงไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.เช็ค
เมื่อสัญญาเช่าซื้อที่ถือว่าเป็นมูลหนี้ตามเช็คพิพาทมิได้ปิดอากรแสตมป์จึงต้องห้ามมิให้รับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งตามประมวลรัษฎากรมาตรา 118 และรับฟังไม่ได้ว่ามีการทำสัญญาเช่าซื้อกันเป็นหนังสือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 572 ฉะนั้น หนี้ตามสัญญาเช่าซื้อย่อมไม่อาจบังคับได้ตามกฎหมาย
เมื่อวันที่เช็คพิพาทถึงกำหนดใช้เงินอันถือว่าเป็นวันที่จำเลยออกเช็คชำระหนี้ตามสัญญาเช่าซื้อรายนี้ยังบังคับตามกฎหมายไม่ได้เช่นนี้การออกเช็คของจำเลยจึงมิใช่เป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่บังคับได้ตามกฎหมาย และการกระทำของจำเลยย่อมขาดองค์ประกอบความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 4 จำเลยจึงไม่มีความผิด
เมื่อวันที่เช็คพิพาทถึงกำหนดใช้เงินอันถือว่าเป็นวันที่จำเลยออกเช็คชำระหนี้ตามสัญญาเช่าซื้อรายนี้ยังบังคับตามกฎหมายไม่ได้เช่นนี้การออกเช็คของจำเลยจึงมิใช่เป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่บังคับได้ตามกฎหมาย และการกระทำของจำเลยย่อมขาดองค์ประกอบความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 4 จำเลยจึงไม่มีความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5826/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อเลิกกันโดยปริยาย สิทธิเรียกร้องค่าขาดราคา/ค่าขาดประโยชน์เป็นเบี้ยปรับ ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขข้อผิดพลาด
ตามสัญญาเช่าซื้อกำหนดให้ผู้ให้เช่าซื้อมีสิทธิเรียกค่าขาดราคาเป็นการกำหนดค่าเสียหายล่วงหน้าอันมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ. มาตรา 379แต่สัญญาเช่าซื้อเลิกกันโดยปริยาย ผู้ให้เช่าซื้อจึงไม่มีสิทธิเรียกเบี้ยปรับเป็นค่าเสียหายตามสัญญาได้
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยในประเด็นค่าขาดประโยชน์ที่โจทก์เรียกร้องว่าเป็นเบี้ยปรับที่โจทก์พึงได้รับตามข้อกำหนดแห่งสัญญาเช่าซื้อ แต่ศาลชั้นต้นเห็นว่าสูงเกินส่วนและใช้ดุลพินิจลดลงโดยวินิจฉัยให้โจทก์ได้รับเป็นเงิน 60,000 บาทแต่ในคำพิพากษาตอนต่อมาเมื่อนำไปรวมกับค่าขาดราคากลับระบุค่าขาดประโยชน์คือ45,000 บาท เห็นได้ชัดว่า จำนวนเงินที่ระบุในตอนหลังนี้พิมพ์ผิดพลาดไป กรณีจึงต้องด้วยบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 143 เมื่อข้อผิดพลาดเล็กน้อยดังกล่าวปรากฏแก่ศาลฎีกาแล้ว ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจแก้ไขโดยถูกต้องได้ แม้โจทก์จะมิได้อุทธรณ์และเพิ่งหยิบยกขึ้นในชั้นฎีกาก็ตาม
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยในประเด็นค่าขาดประโยชน์ที่โจทก์เรียกร้องว่าเป็นเบี้ยปรับที่โจทก์พึงได้รับตามข้อกำหนดแห่งสัญญาเช่าซื้อ แต่ศาลชั้นต้นเห็นว่าสูงเกินส่วนและใช้ดุลพินิจลดลงโดยวินิจฉัยให้โจทก์ได้รับเป็นเงิน 60,000 บาทแต่ในคำพิพากษาตอนต่อมาเมื่อนำไปรวมกับค่าขาดราคากลับระบุค่าขาดประโยชน์คือ45,000 บาท เห็นได้ชัดว่า จำนวนเงินที่ระบุในตอนหลังนี้พิมพ์ผิดพลาดไป กรณีจึงต้องด้วยบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 143 เมื่อข้อผิดพลาดเล็กน้อยดังกล่าวปรากฏแก่ศาลฎีกาแล้ว ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจแก้ไขโดยถูกต้องได้ แม้โจทก์จะมิได้อุทธรณ์และเพิ่งหยิบยกขึ้นในชั้นฎีกาก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5591/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายมีเงื่อนไข ไม่ใช่สัญญาเช่าซื้อ ศาลฎีกาพิพากษากลับให้คืนรถยนต์ หรือชดใช้เงินค้างชำระ
สัญญามีข้อความระบุว่าหนังสือสัญญาขายมีเงื่อนไข โดยตกลงในข้อ 1 ว่า ผู้จะขายตกลงจะขายและผู้จะซื้อตกลงจะซื้อรถยนต์พิพาทในราคา 1,235,680 บาท ในวันทำสัญญานี้ผู้จะซื้อได้ชำระเงินค่าสินค้าให้แก่ผู้จะขายแล้ว 70,000 บาท ส่วนที่ยังค้างอยู่อีก 1,165,680 บาทผู้จะซื้อสัญญาว่าจะชำระให้แก่ผู้จะขายเป็นงวดทุก ๆ เดือน งวดละ48,570 บาท ณ สำนักงานของผู้จะขายให้เสร็จสิ้นภายในกำหนด 24 เดือนและข้อ 5 ระบุว่าสัญญาซื้อขายนี้ตามข้อความแห่งสัญญาจะมีผลสมบูรณ์ให้กรรมสิทธิ์ตกเป็นของผู้จะซื้อต่อเมื่อผู้จะซื้อปฏิบัติตามข้อความในสัญญานี้ทั้งหมดแล้ว และผู้จะขายมีสิทธิจะบอกเลิกสัญญาและเรียกทรัพย์สินได้เมื่อผู้จะซื้อไม่ปฏิบัติตามสัญญานี้ไม่ว่าข้อหนึ่งข้อใดก็ตาม เห็นว่า สัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาซื้อขายมีเงื่อนไข ไม่มีข้อความแสดงให้เห็นว่าเป็นสัญญาเช่าซื้อที่เจ้าของทรัพย์เอาทรัพย์สินออกให้เช่าและให้คำมั่นว่าจะขายทรัพย์สินหรือจะให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นสิทธิแก่ผู้เช่า โดยเงื่อนไขที่ผู้เช่าได้ใช้เงินเป็นจำนวนเท่านั้นเท่านี้คราว ส่วนสัญญาข้อ 9 ที่ระบุว่าหากผู้จะซื้อผิดนัดไม่ชำระราคาสินค้าตามงวดหนึ่งงวดใด ฯลฯ ผู้จะซื้อยอมให้ถือว่าสัญญานี้เป็นอันเลิกกันทันทีตั้งแต่วาระนั้นโดยไม่จำต้องบอกกล่าวและมีสิทธิเอารถยนต์ที่จะซื้อคืนโดยไม่ต้องคืนเงินที่ผู้จะซื้อชำระแล้วนั้น เป็นข้อตกลงโดยความสมัครใจของคู่สัญญาและเป็นการรักษาผลประโยชน์ของผู้ขายมิให้เสียหายเกินกว่าความจำเป็นเมื่อผู้ซื้อผิดสัญญาเท่านั้น หาทำให้สัญญาซื้อขายโดยมีเงื่อนไขกลับกลายเป็นสัญญาเช่าซื้อไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5590/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อเลิกกัน: สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากสภาพรถยนต์และค่าขาดประโยชน์
สัญญาเช่าซื้อกำหนดไว้ว่าเมื่อสัญญาเช่าซื้อเลิกกันผู้เช่าซื้อยอมส่งมอบทรัพย์สินที่เช่าซื้อคืนแก่เจ้าของ โดยพลันในสภาพที่ซ่อมแซมดีแล้ว และอีกข้อหนึ่งว่า ถ้าเจ้าของได้ขายทรัพย์สินที่เช่าซื้อไปแล้วยังไม่คุ้มราคาค่าเช่าซื้อ ที่ต้องชำระทั้งหมดตามสัญญากับค่าเสียหายอื่น ๆ ที่เกิดขึ้น หรือถ้าทรัพย์สินที่เช่าซื้อเมื่อเจ้าของได้ประเมินราคาแล้ว มีราคาไม่คุ้มค่าเช่าซื้อที่คงเหลืออยู่กับค่าเสียหายอื่น ๆ ที่เกิดขึ้น ผู้เช่าซื้อจะชดใช้เงินให้เจ้าของจนครบถ้วน โจทก์ผู้ให้เช่าซื้อจึงมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายในส่วนราคารถยนต์ตามสัญญาเช่าซื้อเมื่อสัญญาเช่าซื้อเลิกกัน แม้ราคาขายจะเป็นเพียงความคาดหมายของโจทก์โดยยังมิได้มีการขายจริง แต่โจทก์ก็อาจนำสืบให้เห็นได้ว่ารถยนต์อยู่ในสภาพที่ในท้องตลาดมีการซื้อขายกันในราคาเท่าใดโดยที่ยังมิได้มีการขายจริงได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากได้มีการกำหนดกันไว้ในสัญญาเช่าซื้อ ในส่วนของค่าขาดประโยชน์ศาลกำหนดค่าเสียหายส่วนนี้ โดยพิเคราะห์ถึงยี่ห้อของรถยนต์ และ ราคาเช่าซื้อที่จะชำระแต่ละเดือน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5085/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบทรัพย์สินเป็นการลงโทษ การคืนทรัพย์ให้เจ้าของผู้สุจริตต้องพิจารณาอย่างเคร่งครัด เพื่อไม่ให้เป็นการยกเว้นโทษจำเลย
การริบทรัพย์สินเป็นการลงโทษผู้กระทำความผิดหรือจำเลยอีกสถานหนึ่งด้วยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 18(5) ประกอบมาตรา 33(1) ฉะนั้น การคืนของกลางแก่เจ้าของทรัพย์ผู้สุจริตหรือผู้ที่มิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดถือเป็นข้อยกเว้นอันจะต้องพิจารณาโดยเคร่งครัด เพราะเท่ากับเป็นการยกเว้นโทษดังกล่าวให้แก่จำเลยไปด้วยในตัว
จำเลยนำรถจักรยานยนต์ที่เช่าซื้อไปใช้ขับแข่งรถในทางอันเป็น การกระทำที่ผิดกฎหมาย ย่อมเป็นการผิดข้อสัญญาเช่าซื้อ เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้ริบรถจักรยานยนต์ของกลาง จำเลยจึงต้องรับผิดต่อผู้ร้องตามข้อสัญญาโดยต้องชดใช้ราคา หากผู้ร้องต้องการใช้สิทธิแห่งตนโดยสุจริตและตามความประสงค์หลักในการทำสัญญาเช่าซื้อ ผู้ร้องควรที่จะเรียกร้องเอาการชำระหนี้เรื่องราคาจากจำเลยให้ครบถ้วนตามข้อสัญญาเช่าซื้อ หาควรเรียกร้องเอารถจักรยานยนต์ของกลางอันอาจก่อให้เกิดประโยชน์แก่จำเลยด้วยไม่ หรือนับเป็นการเบี่ยงเบนไม่เรียกร้องค่าเช่าซื้อเพื่อจะช่วยเหลือจำเลยมิให้ต้องรับโทษเต็มตามคำพิพากษาที่กำหนดไว้ พฤติการณ์ของผู้ร้องเป็นการขอคืนของกลางโดยไม่สุจริต
จำเลยนำรถจักรยานยนต์ที่เช่าซื้อไปใช้ขับแข่งรถในทางอันเป็น การกระทำที่ผิดกฎหมาย ย่อมเป็นการผิดข้อสัญญาเช่าซื้อ เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้ริบรถจักรยานยนต์ของกลาง จำเลยจึงต้องรับผิดต่อผู้ร้องตามข้อสัญญาโดยต้องชดใช้ราคา หากผู้ร้องต้องการใช้สิทธิแห่งตนโดยสุจริตและตามความประสงค์หลักในการทำสัญญาเช่าซื้อ ผู้ร้องควรที่จะเรียกร้องเอาการชำระหนี้เรื่องราคาจากจำเลยให้ครบถ้วนตามข้อสัญญาเช่าซื้อ หาควรเรียกร้องเอารถจักรยานยนต์ของกลางอันอาจก่อให้เกิดประโยชน์แก่จำเลยด้วยไม่ หรือนับเป็นการเบี่ยงเบนไม่เรียกร้องค่าเช่าซื้อเพื่อจะช่วยเหลือจำเลยมิให้ต้องรับโทษเต็มตามคำพิพากษาที่กำหนดไว้ พฤติการณ์ของผู้ร้องเป็นการขอคืนของกลางโดยไม่สุจริต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4884/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดราคาซื้อขายรถยนต์เช่าซื้อและอำนาจฟ้องของโจทก์เมื่อยังไม่มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน
ศาลชั้นต้นกำหนดราคารถยนต์ในกรณีที่จำเลยที่ 1 ไม่สามารถส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนได้เป็นเงิน 320,000 บาท ค่าขาดประโยชน์เดือนละ 7,000 บาท 9 เดือน เป็นเงิน 63,000 บาท ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เฉพาะค่าขาดประโยชน์เหลือเดือนละ 4,000 บาท 9 เดือนเป็นเงิน 36,000 บาท ให้จำเลยทั้งสองชดใช้แก่โจทก์ จำเลยทั้งสองฎีกาว่า ราคารถยนต์และค่าขาดประโยชน์ที่ศาลชั้นต้นกำหนดและศาลอุทธรณ์แก้ไขในส่วนนี้ จำเลยทั้งสองยังไม่อาจเห็นพ้องด้วยเพราะเป็นราคาที่กำหนดไว้สูงกว่าความเป็นจริงในปัจจุบันมากโดยจำเลยทั้งสองไม่ได้ระบุว่าราคารถยนต์และค่าขาดประโยชน์ในปัจจุบันควรเป็นจำนวนเท่าใด ข้อเท็จจริงดังกล่าวนี้ไม่ใช่เรื่องที่กำหนดให้ศาลรู้ได้เอง ฎีกาของจำเลยทั้งสองในข้อนี้จึงเป็นการไม่ยกข้อเท็จจริงขึ้นอ้างโดยชัดแจ้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยฎีกาว่า โจทก์เพิ่งมีกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ที่เช่าซื้อภายหลังวันทำสัญญาเช่าซื้อโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง แม้จำเลยจะมิได้ให้การไว้ ศาลก็ชอบที่จะยกขึ้นวินิจฉัยเพราะเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
ทรัพย์สินที่ทำการเช่าซื้อกันนั้นผู้ให้เช่าซื้ออาจนำทรัพย์สินที่จะมีกรรมสิทธิ์ในอนาคตออกให้เช่าซื้อล่วงหน้าได้ ผู้ให้เช่าซื้อจึงมีอำนาจฟ้อง
จำเลยฎีกาว่า โจทก์เพิ่งมีกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ที่เช่าซื้อภายหลังวันทำสัญญาเช่าซื้อโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง แม้จำเลยจะมิได้ให้การไว้ ศาลก็ชอบที่จะยกขึ้นวินิจฉัยเพราะเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
ทรัพย์สินที่ทำการเช่าซื้อกันนั้นผู้ให้เช่าซื้ออาจนำทรัพย์สินที่จะมีกรรมสิทธิ์ในอนาคตออกให้เช่าซื้อล่วงหน้าได้ ผู้ให้เช่าซื้อจึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2402/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของการแปรสภาพบริษัท: สิทธิและอำนาจตามสัญญาเช่าซื้อยังคงมีผลผูกพันกับบริษัทที่แปรสภาพ
พ.ร.บ.บริษัทมหาชน จำกัด พ.ศ. 2535 อนุญาตให้บริษัทเอกชนแปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนได้ เมื่อนายทะเบียนรับจดทะเบียนการแปรสภาพเป็นบริษัทตาม พ.ร.บ.นี้ บริษัทเอกชนเดิมหมดสภาพจากการเป็นบริษัทจำกัด แต่มาตรา 185 แห่ง พ.ร.บ.มหาชน จำกัดฯ ยังคงรับรองถึงความเกี่ยวพันระหว่างบริษัทเอกชนเดิมที่หมดสภาพด้วยการแปรสภาพใหม่เป็นบริษัทมหาชนว่า บริษัทที่แปรสภาพแล้วย่อมได้ไปทั้งทรัพย์สิน หนี้ สิทธิ และความรับผิดของบริษัทเอกชนเดิมทั้งหมด
บริษัท ส.ซึ่งเป็นบริษัทเอกชนเดิมก่อนแปรสภาพได้ทำหนังสือมอบอำนาจให้ ส.ลงนามในสัญญาเช่าซื้อแทนบริษัทได้ หนังสือดังกล่าวย่อมก่อให้เกิดสิทธิหรือความรับผิดอันโอนไปยังบริษัทโจทก์ซึ่งแปรสภาพมาได้ เมื่อหนังสือดังกล่าวยังอยู่ในกำหนดเวลาที่ระบุไว้ ส.จึงยังคงมีอำนาจลงนามในสัญญาเช่าซื้อแทนโจทก์ได้
บริษัท ส.ซึ่งเป็นบริษัทเอกชนเดิมก่อนแปรสภาพได้ทำหนังสือมอบอำนาจให้ ส.ลงนามในสัญญาเช่าซื้อแทนบริษัทได้ หนังสือดังกล่าวย่อมก่อให้เกิดสิทธิหรือความรับผิดอันโอนไปยังบริษัทโจทก์ซึ่งแปรสภาพมาได้ เมื่อหนังสือดังกล่าวยังอยู่ในกำหนดเวลาที่ระบุไว้ ส.จึงยังคงมีอำนาจลงนามในสัญญาเช่าซื้อแทนโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1752/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันภัยแยกจากสัญญาเช่าซื้อ ผู้รับประโยชน์มีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์ แม้รถยนต์จะถูกยึดคืน
ว. เช่าซื้อรถยนต์คันพิพาทจากโจทก์และได้ทำสัญญาประกันภัยรถยนต์ไว้กับจำเลย โดยระบุให้โจทก์เป็นผู้รับประโยชน์สัญญาประกันภัยระหว่าง ว. กับจำเลยเป็นสัญญาอีกสัญญาหนึ่งแยกต่างหากจากสัญญาเช่าซื้อระหว่างโจทก์กับ ว. ผลของสัญญาจะเป็นอย่างไรก็แล้วแต่ลักษณะของสัญญาแต่ละสัญญา แม้ว่าสัญญาเช่าซื้อระหว่างโจทก์กับ ว. จะสิ้นสุดลงเนื่องจาก ว. ผิดสัญญาเช่าซื้อและโจทก์ได้ยึดรถยนต์คืนไปก็มีผลเฉพาะสัญญาเช่าซื้อเท่านั้น ส่วนสัญญาประกันภัยนั้นจะสิ้นสุดลงหรือไม่ย่อมเป็นไปตามกฎหมายและข้อกำหนดในสัญญา เมื่อไม่มีกฎหมายบัญญัติหรือข้อกำหนดในสัญญาระบุให้สัญญาประกันภัยสิ้นสุดลง สัญญาประกันภัยก็จะมีผลใช้บังคับอยู่ จำเลยสมัครใจเข้าทำสัญญาประกันภัย จะปัดความรับผิดชอบตามสัญญาหาได้ไม่ และเมื่อสัญญาประกันภัยระหว่างจำเลยกับ ว. ระบุให้โจทก์เป็นผู้รับประโยชน์ จึงเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์แก่บุคคลภายนอก ตาม ป.พ.พ. มาตรา 374 โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกย่อมมีสิทธิที่จะเรียกชำระหนี้จากจำเลยที่เป็นลูกหนี้โดยตรงได้ สัญญาประกันภัยระหว่างจำเลยกับ ว. ไม่ระงับไป
โจทก์ยึดรถยนต์คืนเนื่องจาก ว. ผิดสัญญาเช่าซื้อ โจทก์นำรถยนต์ไปเก็บไว้ที่วัดซึ่งเป็นลานจอดรถสาธารณะบุคคลทั่วไปก็สามารถนำรถไปจอดได้ โจทก์ได้ตกลงกับวัด ให้ทางวัดจัดที่จอดรถให้ โดยโจทก์ให้ค่าตอบแทนเป็นรายเดือนต่อคัน แม้ว่าโจทก์จะไม่มีพนักงานของตนไปเฝ้ารักษารถ แต่ก็เห็นได้ว่าในการจัดที่จอดรถให้แก่โจทก์ ทางวัดจะต้องมีเจ้าหน้าที่คอยดูแลเพื่อจะได้ทราบว่ามีรถยนต์มาจอดกี่คัน เพื่อที่จะได้เก็บค่าตอบแทนถูกต้อง พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่า โจทก์ได้ใช้ความระมัดระวังพอสมควรแล้วการกระทำของโจทก์ไม่เป็นความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง เงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยในกรณีรถหายระบุว่าผู้เอาประกันจะต้องแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนและแจ้งให้จำเลยผู้รับประกันทราบโดยไม่ชักช้า โจทก์ได้แจ้งความต่อพนักงานสอบสวนเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2534 หลังจากทราบว่ารถยนต์หายไปเพียง 1 วัน และได้แจ้งให้จำเลยทราบเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2534 ถือได้ว่าได้มีการแจ้งโดยไม่ชักช้าแล้ว โจทก์จึงมิได้ปฏิบัติผิดเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัย ตามกรมธรรม์ประกันภัยระบุว่า ในกรณีรถยนต์สูญหายอันเกิดจากการลักทรัพย์ บริษัทจะจ่ายค่าสินไหมทดแทนเต็มตามจำนวนเงินจำกัดความรับผิดตามสัญญาข้อ 3.1 ในรายการ 4 ของตารางซึ่งกำหนดไว้ 700,000 บาท จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ผู้รับประโยชน์เป็นเงิน 700,000 บาท มิใช่รับผิดตามราคาท้องตลาดในขณะรถยนต์สูญหาย
โจทก์ยึดรถยนต์คืนเนื่องจาก ว. ผิดสัญญาเช่าซื้อ โจทก์นำรถยนต์ไปเก็บไว้ที่วัดซึ่งเป็นลานจอดรถสาธารณะบุคคลทั่วไปก็สามารถนำรถไปจอดได้ โจทก์ได้ตกลงกับวัด ให้ทางวัดจัดที่จอดรถให้ โดยโจทก์ให้ค่าตอบแทนเป็นรายเดือนต่อคัน แม้ว่าโจทก์จะไม่มีพนักงานของตนไปเฝ้ารักษารถ แต่ก็เห็นได้ว่าในการจัดที่จอดรถให้แก่โจทก์ ทางวัดจะต้องมีเจ้าหน้าที่คอยดูแลเพื่อจะได้ทราบว่ามีรถยนต์มาจอดกี่คัน เพื่อที่จะได้เก็บค่าตอบแทนถูกต้อง พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่า โจทก์ได้ใช้ความระมัดระวังพอสมควรแล้วการกระทำของโจทก์ไม่เป็นความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง เงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยในกรณีรถหายระบุว่าผู้เอาประกันจะต้องแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนและแจ้งให้จำเลยผู้รับประกันทราบโดยไม่ชักช้า โจทก์ได้แจ้งความต่อพนักงานสอบสวนเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2534 หลังจากทราบว่ารถยนต์หายไปเพียง 1 วัน และได้แจ้งให้จำเลยทราบเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2534 ถือได้ว่าได้มีการแจ้งโดยไม่ชักช้าแล้ว โจทก์จึงมิได้ปฏิบัติผิดเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัย ตามกรมธรรม์ประกันภัยระบุว่า ในกรณีรถยนต์สูญหายอันเกิดจากการลักทรัพย์ บริษัทจะจ่ายค่าสินไหมทดแทนเต็มตามจำนวนเงินจำกัดความรับผิดตามสัญญาข้อ 3.1 ในรายการ 4 ของตารางซึ่งกำหนดไว้ 700,000 บาท จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ผู้รับประโยชน์เป็นเงิน 700,000 บาท มิใช่รับผิดตามราคาท้องตลาดในขณะรถยนต์สูญหาย