พบผลลัพธ์ทั้งหมด 91 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 352/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาที่ไม่สมบูรณ์และการบังคับคดีตามหนี้เดิม แม้จะพิพากษาตามสัญญาที่ไม่สมบูรณ์ ศาลยังคงบังคับคดีตามหนี้ซื้อของเชื่อได้
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยกู้เงิน 4,000 บาท จำเลยว่าเป็นเรื่องซื้อของเชื่อเพียง 400 บาท โจทก์ให้จำเลยเซ็นชื่อในแบบพิมพ์สัญญากู้โดยมิได้กรอกข้อความไว้ จำเลยยังมิได้ชำระค่าซื้อของเชื่อจริง ขอให้ยกฟ้อง ศาลชั้นต้นฟังว่าโจทก์กรอกสัญญากู้ภายหลัง จึงให้จำเลยชำระค่าซื้อของเชื่อ 400 บาท ดังนี้ เมื่อศาลฎีกาฟังว่าจำเลยมิได้เป็นหนี้เงินกู้ตามสัญญาที่โจทก์ฟ้อง แต่ฟังได้ว่าจำเลยได้ลงชื่อในแบบพิมพ์สัญญากู้ที่ยังมิได้กรอกข้อความให้โจทก์ไว้ เนื่องจากจำเลยเป็นหนี้ค่าซื้อของเชื่อจากโจทก์ ก็พิพากษาให้จำเลยใช้เงิน 400 บาทให้โจทก์ได้ (ความจริงศาลฎีกาพิพากษาให้บังคับคดีไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นซึ่งมีผลเท่ากับให้จำเลยใช้เงิน 400 บาท นั่นเอง).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1541/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อขายต้องทำเป็นหนังสือ สัญญาไม่สมบูรณ์จนกว่าจะทำหนังสือสัญญา การวางมัดจำผูกพันเฉพาะระยะเวลาที่กำหนด
เอกสารมีว่า".......ได้รับเงินวางมัดจำค่าที่ดิน .....เป็นเงิน 5,000 บาท ..... เพื่อทำสัญญาซื้อขายในวันที่ 10 พฤษภาคม 2504 (ในระยะนี้ข้าพเจ้าจะทำการขายให้ใครไม่ได้) ขายในราคาไร่ 35,000 บาท....." โจทก์อ้างว่าเอกสารนี้เป็นสัญญาจะซื้อขาย กำหนดไปจดทะเบียนทำการซื้อขายตามกฎหมายในวันที่ 10 พฤษภาคม 2504 จำเลยสู้ว่า เอกสารนี้เป็นเพียงใบรับเงินค่ามัดจำ คำว่า เพื่อทำสัญญาซื้อขายในวันที่ 10 พฤษภาคม 2504 หมายถึงการทำหนังสือสัญญาซื้อขายกันเองอีกชั้นหนึ่ง โดยโจทก์จะต้องผ่อนชำระราคาที่ดินล่วงหน้า ได้มีการพูดจากันก่อนทำเอกสารนี้แล้วว่า ในการที่จะทำหนังสือสัญญาซื้อขายกันเองในวันที่กำหนดนั้น จะต้องมีรายละเอียดตามที่พูดกันไว้ ดังนี้ ข้อต่อสู้ของจำเลยเป็นการโต้เถียงความหมายของถ้อยคำในเอกสารว่า คู่ความอีกฝ่ายคือโจทก์ตีความหมายผิด จำเลยย่อมนำสืบแสดงถึงพฤติการณ์และข้อตกลงเพื่อเป็นเหตุผลแสดงความหมายแห่งถ้อยคำในเอกสารได้ไม่เป็นการสืบข้อความเพิ่มเติมในเอกสาร
แม้วิธีที่จะทำสัญญาจะซื้อขายกัน กฎหมายกำหนดไว้หลายวิธีก็ตาม เมื่อคู่สัญญากำหนดจะทำกันโดยวิธีทำเป็นหนังสือสัญญาให้มีข้อตกลงทุกข้อตามที่พูดกัน ก็ต้องเป็นไปตามเจตนาของคู่สัญญา จะนำเอาวิธีอื่นเช่นการวางเงินมัดจำมาวินิจฉัยว่าเป็นข้อตกลงจะซื้อขายกันแล้วโดยบริบูรณ์หาได้ไม่
การวางเงินมัดจำซึ่งกำหนดไว้ว่าจะต้องทำสัญญาจะซื้อขายเป็นหนังสือขึ้นอีกฉบับหนึ่งในวันที่กำหนด (ตามเอกสารดังกล่าวในวรรคต้น) นั้น ผูกพันต่อกันเพียงถึงวันที่กำหนดไว้ว่าจะทำหนังสือสัญญาขึ้นใหม่เท่านั้น และผูกพันเท่าที่มีข้อความในวงเล็บกำกับไว้ว่า"ในระยะนี้ข้าพเจ้าจะทำการขายให้ใครไม่ได้" ซึ่งแปลความหมายได้ว่า ถ้าพ้นระยะนี้และไม่มีการทำหนังสือสัญญาขึ้นตามที่กำหนดกันไว้จึงขายให้คนอื่นได้
คู่กรณีพูดกันว่า ข้อสัญญาจะต้องตกลงกันโดยทำเป็นหนังสือ จึงถือว่ายังมิได้มีสัญญาต่อกันจนกว่าจะได้ทำขึ้นเป็นหนังสือ และการที่ได้ทำความเข้าใจกันไว้โดยพูดกันว่าโจทก์จะต้องชำระเงินในวันทำหนังสือสัญญาจะซื้อขาย และต้องชำระราคาล่วงหน้างวดที่ 2 ในวันอื่นต่อไปนั้น ก็หาเป็นการผูกพันไม่ จนกว่าข้อตกลงเช่นว่านี้จะได้ทำเป็นหนังสือขึ้น
แม้วิธีที่จะทำสัญญาจะซื้อขายกัน กฎหมายกำหนดไว้หลายวิธีก็ตาม เมื่อคู่สัญญากำหนดจะทำกันโดยวิธีทำเป็นหนังสือสัญญาให้มีข้อตกลงทุกข้อตามที่พูดกัน ก็ต้องเป็นไปตามเจตนาของคู่สัญญา จะนำเอาวิธีอื่นเช่นการวางเงินมัดจำมาวินิจฉัยว่าเป็นข้อตกลงจะซื้อขายกันแล้วโดยบริบูรณ์หาได้ไม่
การวางเงินมัดจำซึ่งกำหนดไว้ว่าจะต้องทำสัญญาจะซื้อขายเป็นหนังสือขึ้นอีกฉบับหนึ่งในวันที่กำหนด (ตามเอกสารดังกล่าวในวรรคต้น) นั้น ผูกพันต่อกันเพียงถึงวันที่กำหนดไว้ว่าจะทำหนังสือสัญญาขึ้นใหม่เท่านั้น และผูกพันเท่าที่มีข้อความในวงเล็บกำกับไว้ว่า"ในระยะนี้ข้าพเจ้าจะทำการขายให้ใครไม่ได้" ซึ่งแปลความหมายได้ว่า ถ้าพ้นระยะนี้และไม่มีการทำหนังสือสัญญาขึ้นตามที่กำหนดกันไว้จึงขายให้คนอื่นได้
คู่กรณีพูดกันว่า ข้อสัญญาจะต้องตกลงกันโดยทำเป็นหนังสือ จึงถือว่ายังมิได้มีสัญญาต่อกันจนกว่าจะได้ทำขึ้นเป็นหนังสือ และการที่ได้ทำความเข้าใจกันไว้โดยพูดกันว่าโจทก์จะต้องชำระเงินในวันทำหนังสือสัญญาจะซื้อขาย และต้องชำระราคาล่วงหน้างวดที่ 2 ในวันอื่นต่อไปนั้น ก็หาเป็นการผูกพันไม่ จนกว่าข้อตกลงเช่นว่านี้จะได้ทำเป็นหนังสือขึ้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1541/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อขายที่ไม่สมบูรณ์ การวางมัดจำ และผลของการผิดสัญญา
เอกสารมีว่า ".....ได้รับเงินวางมัดจำค่าที่ดิน.....เป็นเงิน 5,000 บาท.....เพื่อทำสัญญาซื้อขาย ในวันที่ 10 พฤษภาคม 2504(ในระยะนี้ข้าพเจ้าจะทำการขายให้ใครไม่ได้) ขายในราคาไร่ 35,000 บาท....." โจทก์อ้างว่าเอกสารนี้เป็นสัญญาจะซื้อขาย กำหนดไปจดทะเบียนทำการซื้อขายตามกฎหมายในวันที่ 10 พฤษภาคม 2504 จำเลยสู้ว่า เอกสารนี้เป็นเพียงใบรับเงินค่ามัดจำคำว่า เพื่อทำสัญญาซื้อขายในวันที่ 10 พฤษภาคม 2504 หมายถึงการทำหนังสือสัญญาซื้อขายกันเองอีกชั้นหนึ่ง โดย โจทก์จะต้องผ่อนชำระราคาที่ดินล่วงหน้า ได้มีการพูดจากันก่อนทำเอกสารนี้แล้วว่า ในการที่จะทำหนังสือสัญญาซื้อขายกันเองในวันที่กำหนดนั้น จะต้องมีรายละเอียดตามที่พูดกันไว้ ดังนี้ ข้อต่อสู้ของจำเลยเป็นการโต้เถียงความหมายของถ้อยคำในเอกสารว่า คู่ความอีกฝ่ายคือโจทก์ตีความหมายผิด จำเลยย่อมนำสืบแสดงถึงพฤติการณ์และข้อตกลงเพื่อเป็นเหตุผลแสดงความหมายแห่งถ้อยคำในเอกสารได้ ไม่เป็นการสืบข้อความเพิ่มเติมในเอกสาร
แม้วิธีที่จะทำสัญญาจะซื้อขายกัน กฎหมายกำหนดไว้หลายวิธีก็ตาม เมื่อคู่สัญญากำหนดจะทำกันโดยวิธีทำเป็นหนังสือสัญญาให้มีข้อตกลงทุกข้อตามที่พูดกัน ก็ต้องเป็นไปตามเจตนาของคู่สัญญา จะนำเอาวิธีอื่นเช่นการวางเงินมัดจำมาวินิจฉัยว่าเป็นข้อตกลงจะซื้อขายกันแล้วโดยบริบูรณ์หาได้ไม่
การวางเงินมัดจำซึ่งกำหนดไว้ว่าจะต้องทำสัญญาจะซื้อขายเป็นหนังสือขึ้นอีกฉบับหนึ่งในวันที่กำหนด (ตามเอกสารดังกล่าวในวรรคต้น) นั้น ผูกพันต่อกันเพียงถึงวันที่กำหนดไว้ว่าจะทำหนังสือสัญญาขึ้นใหม่เท่านั้น และผูกพันเท่าที่มีข้อความในวงเล็บกำกับไว้ว่า "ในระยะนี้ข้าพเจ้าจะทำการขายให้ใครไม่ได้" ซึ่งแปลความหมายได้ว่า ถ้าพ้นระยะนี้และไม่มีการทำหนังสือสัญญาขึ้นตามที่กำหนดกันไว้ จึงขายให้คนอื่นได้
คู่กรณีพูดกันว่า ข้อสัญญาจะต้องตกลงกันโดยทำเป็นหนังสือจึงถือว่ายังมิได้มีสัญญาต่อกันจนกว่าจะได้ทำขึ้นเป็นหนังสือ และการที่ได้ทำความเข้าใจกันไว้โดยพูดกันว่าโจทก์จะต้องชำระเงินในวันทำหนังสือสัญญาจะซื้อขาย และต้องชำระราคาล่วงหน้างวดที่ 2ในวันอื่นต่อไปนั้น ก็หาเป็นการผูกพันไม่ จนกว่าข้อตกลงเช่นว่านี้จะได้ทำเป็นหนังสือขึ้น
แม้วิธีที่จะทำสัญญาจะซื้อขายกัน กฎหมายกำหนดไว้หลายวิธีก็ตาม เมื่อคู่สัญญากำหนดจะทำกันโดยวิธีทำเป็นหนังสือสัญญาให้มีข้อตกลงทุกข้อตามที่พูดกัน ก็ต้องเป็นไปตามเจตนาของคู่สัญญา จะนำเอาวิธีอื่นเช่นการวางเงินมัดจำมาวินิจฉัยว่าเป็นข้อตกลงจะซื้อขายกันแล้วโดยบริบูรณ์หาได้ไม่
การวางเงินมัดจำซึ่งกำหนดไว้ว่าจะต้องทำสัญญาจะซื้อขายเป็นหนังสือขึ้นอีกฉบับหนึ่งในวันที่กำหนด (ตามเอกสารดังกล่าวในวรรคต้น) นั้น ผูกพันต่อกันเพียงถึงวันที่กำหนดไว้ว่าจะทำหนังสือสัญญาขึ้นใหม่เท่านั้น และผูกพันเท่าที่มีข้อความในวงเล็บกำกับไว้ว่า "ในระยะนี้ข้าพเจ้าจะทำการขายให้ใครไม่ได้" ซึ่งแปลความหมายได้ว่า ถ้าพ้นระยะนี้และไม่มีการทำหนังสือสัญญาขึ้นตามที่กำหนดกันไว้ จึงขายให้คนอื่นได้
คู่กรณีพูดกันว่า ข้อสัญญาจะต้องตกลงกันโดยทำเป็นหนังสือจึงถือว่ายังมิได้มีสัญญาต่อกันจนกว่าจะได้ทำขึ้นเป็นหนังสือ และการที่ได้ทำความเข้าใจกันไว้โดยพูดกันว่าโจทก์จะต้องชำระเงินในวันทำหนังสือสัญญาจะซื้อขาย และต้องชำระราคาล่วงหน้างวดที่ 2ในวันอื่นต่อไปนั้น ก็หาเป็นการผูกพันไม่ จนกว่าข้อตกลงเช่นว่านี้จะได้ทำเป็นหนังสือขึ้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 340/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารสัญญาจำนอง ห้ามมิให้นำสืบเปลี่ยนแปลงข้อความในสัญญา หากไม่ได้อ้างเหตุสัญญาไม่สมบูรณ์
ตามสัญญาจำนองมีข้อความปรากฏชัดแจ้งว่า โจทก์จำนองไว้เป็นเงิน 5,750 บาท และผู้จำนอง(โจทก์) ได้รับเงินไปแล้ว ทั้งจำเลยก็ให้การยืนยันว่า โจทก์ได้รับเงินไป 5,750 บาท เช่นนี้ หากโจทก์ไม่ได้กล่าวอ้างว่าสัญญาจำนองไม่สมบูรณ์ด้วยเหตุใดแล้ว โจทก์จะนำพยานบุคคลมาสืบว่า โจทก์ได้จำนองไว้เพียง 5,000 บาทเท่านั้น ย่อมไม่ได้ เพราะเป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสาร ไม่ใช่นำสืบหักล้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1672/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกเรือนให้โดยไม่จดทะเบียน: สภาพเป็นอสังหาริมทรัพย์ทำให้สัญญาไม่สมบูรณ์
แม้สัญญาให้จะมีข้อความว่า ผู้ให้ยินยอมให้ผู้รับรื้อถอนเรือนได้ในเมื่อไปอยู่ที่อื่นก็ดี แต่ถ้าคู่สัญญามิได้เจตนาจะให้มีการรื้อถอนเรือนไปในเวลาใกล้ชิดกับวันที่ทำสัญญายกให้แล้ว เรือนนั้นหากลายสภาพเป็นสังหาริมทรัพย์ไม่ แต่ยังคงมีสภาพเป็นอสังหาริมทรัพย์ดังเดิม ฉะนั้น เมื่อการยกให้ทำแต่เพียงเป็นหนังสือ มิได้จดทะเบียน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1672/2505
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกเรือนให้โดยไม่จดทะเบียน: สภาพเป็นอสังหาริมทรัพย์ทำให้สัญญาไม่สมบูรณ์
แม้สัญญาให้จะมีข้อความว่า ผู้ให้ยินยอมให้ผู้รับรื้อถอนเรือนได้ในเมื่อไปอยู่ที่อื่นก็ดี แต่ถ้าคู่สัญญามิได้เจตนาจะให้มีการรื้อเรือนไปในเวลาใกล้ชิดกับวันที่ทำสัญญายกให้แล้ว เรือนนั้นหากลายสภาพเป็นสังหาริมทรัพย์ไม่ แต่ยังคงมีสภาพเป็นอสังหาริมทรัพย์ดังเดิม ฉะนั้นเมื่อการยกให้ทำแต่เพียงเป็นหนังสือ มิได้จดทะเบียน จึงไม่สมบูรณ์ และตกเป็นโมฆะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 237/2504 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าที่ยังไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย: หลักฐานเป็นหนังสือและผลผูกพัน
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม.538 ที่ว่าถ้าไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิด จะฟ้องร้องให้บังคับคดีไม่ได้นั้น มิได้หมายความแต่ผู้ที่จะต้องเป็นโจทก์ฟ้องร้องอย่างเดียว แต่หมายรวมถึงการต่อสู้คดีด้วย เพราะการบังคับคดีย่อมทำได้ด้วยกันทั้งสองฝ่าย
(อ้างฎีกาที่ 415/2501)
ผู้เช่าพร้อมที่จะทำสัญญาเช่าและลงชื่อในสัญญาในฐานะเป็นผู้เช่าแล้ว แต่ผู้ให้เช่าไม่ได้ลงชื่อในฐานะเป็นผู้ให้เช่า เอกสารดังกล่าวนี้ยังไม่ใช่หลักฐานเป็นหนังสือตามมาตรา 538
การที่จำเลยอ้างว่าได้ตกลงเช่ากันและได้ชำระเงินกินเปล่ากับค่าเช่าให้โจทก์ไปแล้วนั้น หากจะได้ชำระไปจริงและได้ตกลงกันจริง แต่เมื่อไม่มีหลักฐานแห่งการเช่าเป็นหนังสือลงลายมือชื่อโจทก์ผู้ให้เช่าซึ่งเป็นฝ่ายที่จำเลยจะให้รับผิดตามสัญญา จำเลยก็ยกสิทธิแห่งการเช่าขึ้นอ้างยันต่อโจทก์ไม่ได้.
(อ้างฎีกาที่ 1175/2502)
(อ้างฎีกาที่ 415/2501)
ผู้เช่าพร้อมที่จะทำสัญญาเช่าและลงชื่อในสัญญาในฐานะเป็นผู้เช่าแล้ว แต่ผู้ให้เช่าไม่ได้ลงชื่อในฐานะเป็นผู้ให้เช่า เอกสารดังกล่าวนี้ยังไม่ใช่หลักฐานเป็นหนังสือตามมาตรา 538
การที่จำเลยอ้างว่าได้ตกลงเช่ากันและได้ชำระเงินกินเปล่ากับค่าเช่าให้โจทก์ไปแล้วนั้น หากจะได้ชำระไปจริงและได้ตกลงกันจริง แต่เมื่อไม่มีหลักฐานแห่งการเช่าเป็นหนังสือลงลายมือชื่อโจทก์ผู้ให้เช่าซึ่งเป็นฝ่ายที่จำเลยจะให้รับผิดตามสัญญา จำเลยก็ยกสิทธิแห่งการเช่าขึ้นอ้างยันต่อโจทก์ไม่ได้.
(อ้างฎีกาที่ 1175/2502)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1657/2503
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกให้ที่ดินต้องจดทะเบียนตามกฎหมาย จึงจะสมบูรณ์ การฟ้องบังคับตามสัญญาที่ไม่สมบูรณ์ทำไม่ได้
การทำหนังสือยกให้ที่ดินมีโฉนดโดยมิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ สัญญายกให้นั้นย่อมไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย
คำว่า "ทรัพย์สิน" ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 523 หมายถึงเฉพาะสังหาริมทรัพย์ทั่วๆไปเท่านั้น มิได้หมายถึงอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์บางชนิดซึ่งถ้าจะซื้อขายต้องทำเป็นหนังสือ และจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 456 วรรคหนึ่ง ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ดังระบุไว้ตามมาตรา 456 วรรคหนึ่งแล้ว การให้ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จึงจะสมบูรณ์
คำสั่งของศาลชั้นต้นอันเป็นการวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีมิใช่เป็นการวินิจฉัยว่า ฟ้องไม่ชอบหรือไม่ถูกต้องแล้ว ในลักษณะอันแท้จริงจึงเป็นการยกฟ้อง หาใช่ไม่รับฟ้องไม่
คำว่า "ทรัพย์สิน" ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 523 หมายถึงเฉพาะสังหาริมทรัพย์ทั่วๆไปเท่านั้น มิได้หมายถึงอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์บางชนิดซึ่งถ้าจะซื้อขายต้องทำเป็นหนังสือ และจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 456 วรรคหนึ่ง ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ดังระบุไว้ตามมาตรา 456 วรรคหนึ่งแล้ว การให้ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จึงจะสมบูรณ์
คำสั่งของศาลชั้นต้นอันเป็นการวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีมิใช่เป็นการวินิจฉัยว่า ฟ้องไม่ชอบหรือไม่ถูกต้องแล้ว ในลักษณะอันแท้จริงจึงเป็นการยกฟ้อง หาใช่ไม่รับฟ้องไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 575/2500
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาที่ไม่สมบูรณ์และพยานหลักฐานที่ไม่น่าเชื่อถือ ศาลยกฟ้องคดีกู้ยืมเงิน
ฟ้องให้ชำระเงินกู้ จำเลยให้การว่าไม่เคยเซ็นสัญญากู้ให้โจทก์ ไม่เคยกรอกหรือยินยอมให้กรอกข้อความในสัญญาที่ฟ้องลายเซ็นในสัญญาไม่ใช่ของจำเลยเป็นคำให้การปฏิเสธทั้งความถูกต้องแท้จริงแห่งเอกสารและว่าหนี้นั้นไม่สมบูรณ์เมื่อคดีได้ความว่าลายมือชื่อเป็นของจำเลยแต่จำเลยมิได้เขียนข้อความเป็นสัญญากู้ จำเลยไม่ต้องรับผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 703/2499
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนที่ดินเพื่อตีใช้หนี้ แม้ทำเป็นนิติกรรมให้ ก็สืบได้ว่าสัญญาให้ไม่สมบูรณ์
ได้ความว่าจำเลยใส่ชื่อโจทก์ในโฉนดร่วมกับจำเลยทำเป็นนิติกรรม'ให้' แล้วโจทก์ขอนำสืบหักล้างว่าความจริงไม่ใช่เป็นเรื่องยกที่ดินให้โดยเสน่หาแต่เป็นเรื่องจำเลยโอนที่ดินเพื่อตีใช้หนี้โจทก์ เช่นนี้โจทก์มีสิทธิสืบได้ เพราะเป็นการสืบว่าสัญญาให้ไม่สมบูรณ์เป็นสัญญาให้ที่ต้องบังคับตามสัญญาที่แท้จริงคือสัญญาโอนเพื่อตีใช้หนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 118 วรรคสอง จึงไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา94 ดังนัยแห่งคำพิพากษาฎีกาที่ 93/2488