คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สิทธิจำเลย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 103 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 658/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การหลังชี้สองสถาน กรณีข้อเท็จจริงเพิ่งทราบภายหลัง
เมื่อจำเลยทั้งสองยื่นคำให้การ ปรากฏตามคำให้การข้อ 2 ว่าไม่รับรองข้อเท็จจริงตามฟ้องโจทก์ โดยอ้างว่าบริษัทจำเลยที่ 1ได้จ่ายเงินให้นายย่งกิตต์ตัวแทนโดยปริยายของบริษัทโจทก์ไปหลายครั้ง แต่ไม่ทราบจำนวนเงินที่จะบรรยายให้การละเอียดมาในขณะนี้ได้ทันจะต้องใช้เวลาตรวจสอบทางธนาคารและหลักฐานต่าง ๆ ซึ่งแสดงว่าจำเลยยังมีข้อต่อสู้อย่างอื่นอีกโดยจำเลยยังไม่อาจยื่นได้ก่อนวันชี้สองสถาน ครั้นเมื่อศาลชี้สองสถานแล้ว จำเลยจึงยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การว่าจากการตรวจสอบปรากฏว่าบริษัทจำเลยที่ 1 ได้ชำระเงินให้บริษัทโจทก์ใน พ.ศ. 2503 โดยเช็ค 4 ฉบับเป็นเงิน 1,750,000บาท รายละเอียดตามคำร้อง และนายย่งกิตต์ได้รับเงินตามเช็คฉบับดังกล่าวไปจากธนาคารแล้ว จำนวนหนี้ตามฟ้องจึงเกินอยู่ 1,750,000 บาท ความตามที่ขอแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวเป็นเรื่องที่จำเลยเพิ่งทราบภายหลังจากการชี้สองสถานแล้ว ฉะนั้นจำเลยจึงมีสิทธิขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การหลังจากชี้สองสถานแล้วได้เพราะเป็นข้อที่จำเลยไม่อาจยื่นคำร้องนั้นได้ก่อนวันชี้สองสถาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 658/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การหลังชี้สองสถาน หากเป็นข้อที่มิอาจทราบได้ก่อน
เมื่อจำเลยทั้งสองยื่นคำให้การ ปรากฏตามคำให้การข้อ 2 ว่าไม่รับรองข้อเท็จจริงตามฟ้องโจทก์ โดยอ้างว่าบริษัทจำเลยที่ 1ได้จ่ายเงินให้นายย่งกิตต์ตัวแทนโดยปริยายของบริษัทโจทก์ไปหลายครั้ง แต่ไม่ทราบจำนวนเงินที่จะบรรยายให้การละเอียดมาในขณะนี้ได้ทันจะต้องใช้เวลาตรวจสอบทางธนาคารและหลักฐานต่าง ๆ ซึ่งแสดงว่าจำเลยยังมีข้อต่อสู้อย่างอื่นอีกโดยจำเลยยังไม่อาจยื่นได้ก่อนวันชี้สองสถาน ครั้นเมื่อศาลชี้สองสถานแล้วจำเลยจึงยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การว่าจากการตรวจสอบปรากฏว่าบริษัทจำเลยที่ 1 ได้ชำระเงินให้บริษัทโจทก์ใน พ.ศ. 2503 โดยเช็ค 4 ฉบับเป็นเงิน 1,750,000บาท รายละเอียดตามคำร้อง และนายย่งกิตต์ได้รับเงินตามเช็คฉบับดังกล่าวไปจากธนาคารแล้ว จำนวนหนี้ตามฟ้องจึงเกินอยู่ 1,750,000 บาท ความตามที่ขอแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวเป็นเรื่องที่จำเลยเพิ่งทราบภายหลังจากการชี้สองสถานแล้ว ฉะนั้นจำเลยจึงมีสิทธิขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การหลังจากชี้สองสถานแล้วได้เพราะเป็นข้อที่จำเลยไม่อาจยื่นคำร้องนั้นได้ก่อนวันชี้สองสถาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 729/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าต่ออายุ: อัตราค่าเช่าต้องตกลงกัน อัตราเดิมไม่ใช่สิทธิจำเลยโดยอัตโนมัติ
โจทก์จำเลยได้ทำสัญญาเช่าต่อกันมีข้อความว่า "ผู้ให้เช่าจะยอมให้ผู้เช่า เช่าสถานที่ต่อไปอีกคราวหนึ่งมีกำหนด 10 ปี ในอัตราค่าเช่าอย่างเดิมหรืออัตราค่าเช่าอื่นใดสุดแต่คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายจะตกลงกัน" นั้นหมายความว่าการที่โจทก์จะยอมให้จำเลยเช่าต่อไป 10 ปีนั้น อัตราค่าเช่าจะเป็นอย่างเดิมก็ดี หรืออย่างอื่นใดก็ดี โจทก์จำเลยจะต้องตกลงซึ่งกันและกันเสียก่อน ซึ่งเป็นสาระสำคัญของการเช่าตามกฎหมาย และเป็นเจตนาของคู่สัญญาด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 801/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิ่มเติมฟ้องคดีอาญา: ข้อจำกัดเมื่อข้อเท็จจริงใหม่เพิ่งปรากฏในชั้นพิจารณา และผลกระทบต่อสิทธิจำเลย
โจทก์ฟ้องจำเลยในข้อหาทำร้ายร่างกายถึงบาดเจ็บตามมาตรา295 ในชั้นพิจารณาปรากฏว่าบาดแผลผู้เสียหายถึงอันตรายสาหัสจึงขอเพิ่มเติมฟ้องในข้อหาทำร้ายร่างกายบาดเจ็บสาหัสตามมาตรา297 เช่นนี้ หาใช่เป็นแต่การแก้หรือเพิ่มเติมฟ้องโดยแก้หรือเพิ่มเติมฐานความผิด คือ บทมาตราในกฎหมายที่บัญญัติความผิดหรือรายละเอียดซึ่งต้องกล่าวไว้ในฟ้องเท่านั้นไม่จึงมิต้องด้วยบทบัญญัติประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 164 แต่อย่างไรก็ดี เมื่อข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอาการสาหัสของบาดแผลนี้เพิ่งมาปรากฏในชั้นพิจารณาของศาลมิได้ปรากฏมาแต่ในชั้นสอบสวน โจทก์จึงฟ้องคดีในความผิดที่ยังไม่มีการสอบสวนไม่ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 120(อ้างฎีกาที่750/2494)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 261/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิจำเลยในการมีทนายความ - การพิจารณาคดีอาญาที่มิชอบ - ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๒๐๘(๒)
คดีอาญาที่โจทก์ขอให้ลงโทษจำเลยซึ่งมีอัตราโทษจำคุกถึง 10 ปี เมื่อศาลชั้นต้นมิได้สอบถามจำเลยในเรื่องทนายความ และพิพากษาลงโทษจำคุก ทำให้จำเลยเสียเปรียบในการดำเนินคดี ย่อมเป็นการจำเป็นที่จะให้ศาลชั้นต้นทำการพิจารณาพิพากษาใหม่ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 208 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1760/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษเกินคำขอของโจทก์ ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขเพื่อคุ้มครองสิทธิจำเลย แม้จำเลยมิได้ฎีกา
การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 138 ประกอบด้วยมาตรา 140 ซึ่งเป็นบทกระทงที่หนักตามมาตรา 91 โดยโจทก์มิได้ขอให้ลงโทษจำเลยตามมาตรา 140 ด้วยนั้น เป็นการเกินคำขอของโจทก์ จึงเป็นผลร้ายแก่จำเลย แม้จำเลยมิได้ฎีกาขึ้นมา แต่เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไข

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 465/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาขายฝากไม่จดทะเบียนโมฆะ แต่มีผลแสดงเจตนา หากมีเจตนาทำแทนสัญญากู้ สิทธิยังคงอยู่กับจำเลย
สัญญาขายฝากที่ดินมือเปล่าที่โจทก์นำมาฟ้องมิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จึงเป็นโมฆะและถ้าข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์จำเลยทำขึ้นโดยมีเจตนาทำแทนสัญญากู้ จำเลยมิได้มีเจตนาสละสิทธิการครอบครองแล้ว ถึงหากโจทก์จะได้ยึดถือที่พิพาทมาบ้าง เสียภาษีบำรุงท้องที่นา โจทก์ก็คงมีฐานะเพียงเป็นผู้ยึดถือที่พิพาทในฐานะเป็นผู้แทนจำเลยเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 533/2507

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิจำเลยในคดีอาญา: การสอบถามเรื่องทนายก่อนพิจารณา แม้จำเลยรับสารภาพ
ในคดีอุกฉกรรจ์มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงตั้งแต่สิบปีขึ้นไปนั้น ก่อนเริ่มพิจารณาศาลจะต้องถามจำเลยว่ามีทนายหรือไม่ ถ้าไม่มีและจำเลยต้องการ ศาลก็ต้องตั้งให้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 173 แม้คดีนั้นต่อมาชั้นพิจารณาจำเลยจะให้การรับสารภาพตามฟ้อง และศาลจะพิพากษาโดยไม่สืบพยานหลักฐานต่อไป ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 176 ได้ก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 207/2507 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายทอดตลาดที่ส่อเจตนาทุจริตและฝ่าฝืนหลักวิธีพิจารณาความแพ่ง จำเลยมีสิทธิขอให้ขายใหม่ได้
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 309 บัญญัติเป็นหลักข้อบังคับไว้ว่าในการขายทอดตลาดทรัพย์สินที่มีหลายสิ่งด้วยกัน ให้แยกขายทีละสิ่งต่อเนื่องกันไป แต่ให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานบังคับคดีที่จะจัดขายอสังหาริมทรัพย์สองสื่งหรือกว่านั้นขึ้นไปรวมขายไปด้วยกันในเมื่อเป็นที่คาดหมายได้ว่าเงินรายได้ในการขายจะเพิ่มขึ้นเพราะเหตุนั้น
ที่ดินของจำเลยอยู่ติดกันแยกออกเป็นสองโฉนด เจ้าพนักงานบังคับคดีผู้ขายรวมขายไปคราวเดียวกันโดยบันทึกว่าเนื่องจากบ้าน 1 หลังปลูกคร่อมที่ดินทั้ง 2 โฉนดเพื่อให้ได้ราคาดีขึ้น ผู้ซื้อขอให้ขายรวมกันทั้งหมด จึงได้ตกลงขายรวมกันไปในคราวเดียว เช่นนี้ การที่ผู้ซื้อมีน้อยคนแล้รวมขายทรัพย์ไปในคราวเดียวโดยตามใจผู้ซื้อซึ่งอ้างว่าจะได้ราคาดีขึ้นนั้น นอกจากจะฝ่าฝืนหลักของการขายทอดตลาดทรัพย์แล้ว ยังถือเอาความต้องการของผู้ซื้อเป็นประมาณ โดยมิได้ใช้สามัญสำนึกว่า ผู้ซื้อย่อมประสงค์ซื้อของให้ได้ในราคาถูกที่สุดเป็นธรรมดามาประกอบการขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยบ้าง จึงไม่เข้าเกณฑ์ที่จะพึงคาดหมายได้ว่าการขายทรัพย์ของจำเลยรวมกันจะเพิ่มรายได้มากขึ้น
แม้การที่จำเลยไม่ได้มาระวังผลประโยชน์ของตนในวันขายทอดตลาดทรัพย์ ย่อมไม่ทำให้การขายนั้นเสียไปก็ดี แต่ถ้ามีพฤติการณ์ทั่ว ๆ ไปแสดงว่าการขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยที่โจทก์เป็นผู้ประมูลซื้อได้นั้นโน้มน้าวไปในทางรวบรัดกดราคา จำเลยก็มีสิทธิร้องขอดให้ขายใหม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 371/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดพิจารณาไม่ตัดสิทธิจำเลยในการนำสืบพยาน และการขอตั้งผู้เชี่ยวชาญร่วมกันย่อมมีผลผูกพัน
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 199 วรรค 2 บัญญัติห้ามมิให้จำเลยเรียกพยานเข้าสืบเฉพาะกรณีที่ขาดนัดยื่นคำให้การเท่านั้นฉะนั้นเมื่อจำเลยเพียงแต่ขาดนัดพิจารณาแต่มิได้ขาดนัดยื่นคำให้การจำเลยจึงหาหมดสิทธิที่จะนำพยานหลักฐานของตนเข้าสืบไม่
การขาดนัดพิจารณาในนัดหนึ่งนัดใด ถ้าคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งนำพยานหลักฐานเข้าสืบยังไม่หมด นัดต่อไปคู่ความที่ขาดนัดมาศาลก็ย่อมมีสิทธิที่จะถามค้านได้ เพราะไม่ใช่เป็นพยานที่ได้สืบไปแล้ว
การที่คู่ความแถลงร่วมกันขอให้ศาลตั้งผู้เชียวชาญแล้วแม้ต่อมาจะไม่ตกลงกันในเรื่องค่าใช้จ่ายและในที่สุดฝ่ายหนึ่งได้ขอให้ศาลตั้งผู้เชี่ยวชาญไปฝ่ายเดียว ดังนี้ อีกฝ่ายหนึ่งจะกลับมาคัดค้านภายหลังหาได้ไม่
การขออ้างพยานเพิ่มเติม แม้จะล่วงเวลาหลังจากสืบพยานฝ่ายตรงข้ามแล้วถ้าศาลเห็นมีเหตุสมควร ก็มีอำนาจอนุญาตได้
of 11