พบผลลัพธ์ทั้งหมด 119 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 311/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีการค้าและการใช้สิทธิประโยชน์ตามพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร มาตรา 30
จำเลยส่งแบบแจ้งการประเมินแก่โจกท์ ไม่มีผู้ใดยอมรับ จำเลยจึงนำแบบแจ้งการประเมินไปปิดไว้ที่หน้าประตูสำนักงานโจทก์ตามที่โจทก์ระบุในการยื่นแบบ อ.1 แม้สำนักงานดังกล่าวจะเป็นสำนักงานสาขาของโจทก์ก็รวมอยู่ในความหมายของคำว่าสำนักงานตามที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร มาตรา 8 ที่ให้ใช้บังคับขณะนั้น การที่เจ้าหน้าที่ของจำเลยปิดแบบแจ้งการประเมิน ณ สถานที่ดังกล่าวจึงเป็นการชอบด้วยกฎหมายแล้ว ตามมาตรา 30 แห่งพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร(ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2529 มาตรา 30 วรรคหก (2) กำหนดไว้มิให้ใช้บทบัญญัติมาตรา 30 บังคับแก่บุคคลที่เจ้าพนักงานประเมินได้ทำการประเมินหรือสั่งให้เสีย...โดยได้ทำการประเมินหรือสั่งก่อนวันที่พระราชกำหนด นี้ใช้บังคับ คดีนี้เจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมินให้โจทก์ทราบก่อนวันที่พระราชกำหนดใช้บังคับ โจทก์จึงไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 30 ทั้งการประเมินของจำเลยเป็นการประเมินภาษีการค้า ส่วนที่โจทก์ยื่นคำขอเสียภาษีอากรตามมาตรา30 เป็นเรื่องภาษีเงินได้นิติบุคคล แม้โจทก์จะเสียภาษีส่วนนี้ไปแล้วก็เป็ฯภาษีคนละประเภทกัน โจทก์จึงไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ตามมาตรา 30แห่งพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2529โดยนัยนี้ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 311/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งแจ้งการประเมินภาษีที่ชอบด้วยกฎหมายและการไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ตามมาตรา 30
จำเลยส่งแบบแจ้งการประเมินแก่โจทก์ ไม่มีผู้ใดยอมรับ จำเลยจึงได้นำแบบแจ้งการประเมินไปปิดไว้ที่หน้าประตูสำนักงานโจทก์ตามที่โจทก์ระบุในการยื่นแบบ อ.1 แม้สำนักงานดังกล่าวจะเป็นสำนักงานสาขาของโจทก์ก็รวมอยู่ในความหมายของคำว่าสำนักงานตามที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากรมาตรา 8 ที่ใช้บังคับขณะนั้น การที่เจ้าหน้าที่ของจำเลยปิดแบบแจ้งการประเมิน ณสถานที่ดังกล่าวจึงเป็นการชอบด้วยกฎหมายแล้ว
ตามมาตรา 30 แห่งพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่14) พ.ศ. 2529 มาตรา 30 วรรคหก (2) กำหนดไว้มิให้ใช้บทบัญญัติมาตรา 30 บังคับแก่บุคคลที่เจ้าพนักงานประเมินได้ทำการประเมินหรือสั่งให้เสีย.....โดยได้ทำการประเมินหรือสั่งก่อนวันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ คดีนี้เจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมินให้โจทก์ทราบก่อนวันที่พระราชกำหนดใช้บังคับโจทก์จึงไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 30 ทั้งการประเมินของจำเลยเป็นการประเมินภาษีการค้า ส่วนที่โจทก์ยื่นคำขอเสียภาษีอากรตามมาตรา 30 เป็นเรื่องภาษีเงินได้นิติบุคคลแม้โจทก์จะเสียภาษีส่วนนี้ไปแล้วก็เป็นภาษีคนละประเภทกันโจทก์จึงไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ตามมาตรา 30 แห่งพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2529 โดยนัยนี้ด้วย.
ตามมาตรา 30 แห่งพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่14) พ.ศ. 2529 มาตรา 30 วรรคหก (2) กำหนดไว้มิให้ใช้บทบัญญัติมาตรา 30 บังคับแก่บุคคลที่เจ้าพนักงานประเมินได้ทำการประเมินหรือสั่งให้เสีย.....โดยได้ทำการประเมินหรือสั่งก่อนวันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ คดีนี้เจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมินให้โจทก์ทราบก่อนวันที่พระราชกำหนดใช้บังคับโจทก์จึงไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 30 ทั้งการประเมินของจำเลยเป็นการประเมินภาษีการค้า ส่วนที่โจทก์ยื่นคำขอเสียภาษีอากรตามมาตรา 30 เป็นเรื่องภาษีเงินได้นิติบุคคลแม้โจทก์จะเสียภาษีส่วนนี้ไปแล้วก็เป็นภาษีคนละประเภทกันโจทก์จึงไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ตามมาตรา 30 แห่งพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2529 โดยนัยนี้ด้วย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2379/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทุจริตต่อหน้าที่ของลูกจ้างธนาคาร การลดโทษทางวินัย และสิทธิประโยชน์ตามกฎหมายแรงงาน
จำเลยให้โจทก์นำเอกสารที่เป็นความลับของธนาคารจำเลยที่ไม่ต้องการใช้และไม่มีประโยชน์ไปเผาทำลาย แต่โจทก์กลับนำเอกสารบางส่วนไปขายโดยไม่นำไปเผา และเอาเงินที่ขายได้เป็นของตนเอง จึงเป็นการแสวงหาประโยชน์จากการปฏิบัติหน้าที่ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายอันเป็นการทุจริตต่อหน้าที่ จำเลยที่สิทธิเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย และสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
โจทก์กระทำความผิดซึ่งจะต้องถูกลงโทษไล่ออก และครั้งแรกจำเลยก็ได้ลงโทษโจทก์ด้วยการไล่ออกแล้ว แต่เมื่อโจทก์อุทธรณ์ต่อผู้จัดการของจำเลย ผู้จัดการได้พิจารณาลดโทษให้โจทก์ เป็นให้ลดโทษด้วยการให้ออก การลดโทษดังกล่าวหาได้หมายความว่าจำเลยเห็นว่าการกระทำของโจทก์ไม่เป็นการกระทำผิดข้อบังคับของจำเลยไม่ โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จ
โจทก์กระทำความผิดซึ่งจะต้องถูกลงโทษไล่ออก และครั้งแรกจำเลยก็ได้ลงโทษโจทก์ด้วยการไล่ออกแล้ว แต่เมื่อโจทก์อุทธรณ์ต่อผู้จัดการของจำเลย ผู้จัดการได้พิจารณาลดโทษให้โจทก์ เป็นให้ลดโทษด้วยการให้ออก การลดโทษดังกล่าวหาได้หมายความว่าจำเลยเห็นว่าการกระทำของโจทก์ไม่เป็นการกระทำผิดข้อบังคับของจำเลยไม่ โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2328/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม การนับอายุงานต่อเนื่อง และสิทธิประโยชน์หลังกลับเข้าทำงาน
นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างโดยจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ลูกจ้างร้องทุกข์ต่อผู้อำนวยการของนายจ้าง ผู้อำนวยการเห็นว่าการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม มีคำสั่งให้ลูกจ้างกลับเข้าทำงานตามเดิม และให้นับอายุงานต่อเนื่องโดยเว้นช่วงระหว่างเลิกจ้างถึงวันกลับเข้าทำงานและไม่จ่ายค่าจ้างระหว่างเลิกจ้าง ดังนี้ เมื่อเหตุที่ไม่นับอายุการเข้าทำงานต่อเนื่องนั้นนายจ้างอาศัยเทียบเคียงระเบียบว่าด้วยวินัย ฯ ซึ่งหากลูกจ้างอุทธรณ์คำสั่งเลิกจ้างตามระเบียบดังกล่าว นายจ้างก็สามารถเว้นช่วงการนับอายุงานระหว่างเลิกจ้างถึงวันเข้าทำงานและไม่จ่ายค่าจ้างระหว่างนั้นได้ ทั้งช่วงเวลาที่ถูกเลิกจ้างลูกจ้างก็มิได้ทำงานให้แก่นายจ้างเลย การที่นายจ้างไม่นับอายุงานต่อเนื่องและไม่จ่ายค่าจ้างระหว่างเลิกจ้างถึงวันที่ลูกจ้างกลับเข้าทำงาน จึงหาเป็นการไม่เป็นธรรมแก่ลูกจ้างไม่ นายจ้างออกคำสั่งเช่นนั้นได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 913-915/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าครองชีพเป็นค่าจ้างหรือไม่? สัญญาจ้างกำหนดสิทธิประโยชน์ชัดเจน มีผลเหนือกว่าข้ออ้าง
ค่าครองชีพที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นรายเดือนโดยมีจำนวนที่แน่นอน ย่อมเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเพื่อตอบแทนการทำงานของลูกจ้างในเวลาทำงานปกติ ซึ่งถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้างตามความหมายของคำนิยามคำว่า ค่าจ้าง ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน และจะถือว่าเป็นค่าจ้างต่อเมื่อนายจ้างมีข้อตกลงที่จะจ่ายให้แก่ลูกจ้างด้วย
โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยประเภทพนักงานบริการ ตามสัญญาเข้าทำงานของพนักงานบริการ ข้อ 4(3) มีข้อความว่า พนักงานบริการไม่มีสิทธิในเงินตอบแทนของเงินประกันและเงินสวัสดิการอื่นใดที่บริษัทให้นอกเหนือจากค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา และค่าทำงานในวันหยุด และสัญญาดังกล่าวได้กำหนดค่าจ้างเป็นรายวัน เป็นอัตราที่แน่นอนตายตัวไว้แล้ว แสดงให้เห็นเจตนาของจำเลยอย่างชัดแจ้งว่าจำเลยไม่ประสงค์จะจ่ายค่าครองชีพให้แก่โจทก์ด้วยดังนั้น คำว่าค่าจ้างตามข้อสัญญาดังกล่าว ซึ่งมิได้หมายความรวมถึงค่าครองชีพ.(ที่มา-เนติ)
โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยประเภทพนักงานบริการ ตามสัญญาเข้าทำงานของพนักงานบริการ ข้อ 4(3) มีข้อความว่า พนักงานบริการไม่มีสิทธิในเงินตอบแทนของเงินประกันและเงินสวัสดิการอื่นใดที่บริษัทให้นอกเหนือจากค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา และค่าทำงานในวันหยุด และสัญญาดังกล่าวได้กำหนดค่าจ้างเป็นรายวัน เป็นอัตราที่แน่นอนตายตัวไว้แล้ว แสดงให้เห็นเจตนาของจำเลยอย่างชัดแจ้งว่าจำเลยไม่ประสงค์จะจ่ายค่าครองชีพให้แก่โจทก์ด้วยดังนั้น คำว่าค่าจ้างตามข้อสัญญาดังกล่าว ซึ่งมิได้หมายความรวมถึงค่าครองชีพ.(ที่มา-เนติ)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3336/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผ่อนชำระภาษีอากรและเงินเพิ่ม หากไม่ชำระตามกำหนด จะเสียสิทธิประโยชน์และต้องเสียเงินเพิ่มตามกฎหมาย
จำเลยยื่นแบบแสดงรายการขอชำระภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลโดยขอผ่อนเป็น 3 งวด งวดแรกชำระเป็นเงินสด งวดที่ 2 และที่ 3 จำเลยสั่งจ่ายเช็ครวม 2 ฉบับล่วงหน้ามอบให้แก่โจทก์การสั่งจ่ายเช็คของจำเลยจึงเป็นการชำระหนี้อย่างอื่นแทนการชำระด้วยเงิน มิใช่เป็นการแปลงหนี้ใหม่เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คทั้ง 2 ฉบับและจำเลยไม่เคยนำเงินตามเช็คทั้งสองฉบับไปชำระให้แก่โจทก์เลย มูลหนี้ซึ่งเป็นค่าภาษีอากรจึงยังไม่ระงับสิ้นไปโจทก์มีสิทธิเรียกร้องตามมูลหนี้เดิมได้และเนื่องจากมูลหนี้เดิมเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ตามข้อผูกพันซึ่งได้ทำขึ้นเพื่อประโยชน์แก่การจัดเก็บภาษีอากร จึงอยู่ในอำนาจของศาลภาษีอากรกลางที่จะพิจารณาพิพากษาตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 7(4)โจทก์มีอำนาจฟ้องคดีนี้ต่อศาลภาษีอากรกลาง
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 321 เมื่อมีการชำระหนี้ด้วยเช็คแทนการชำระหนี้ด้วยเงินแล้วจะเป็นกี่ครั้งก็ตาม ถ้ายังไม่มีการใช้เงินตามเช็คเหล่านั้น หรือแม้จะมีการชำระเป็นบางส่วน หนี้เดิมก็ยังไม่ระงับสิ้นไป
จำเลยออกเช็คสั่งจ่ายเงินค่าภาษีอากรงวดที่ 2 และงวดที่ 3ลงวันที่ล่วงหน้าไว้ในภายในเดือนพฤศจิกายน 2528 เมื่อเช็คทั้งสองงวดถึงกำหนดสั่งจ่ายธนาคารได้ปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คทั้งสองงวดนั้น โจทก์ไม่ได้รับเงินค่าภาษีอากรภายในเดือนพฤศจิกายน 2528 จำเลยจึงหมดสิทธิที่จะได้รับประโยชน์ในการชำระเงินเพิ่มนับแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2528จนถึงชำระเสร็จ ตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่องการขยายเวลายื่นรายการการชำระหรือนำส่งภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรข้อ 8 วรรคสอง
พระราชบัญญัติรายได้เทศบาล พ.ศ.2497 มาตรา 12(1) ให้อำนาจเทศบาลออกเทศบัญญัติเรียกเก็บภาษีบำรุงเทศบาลจากภาษีการค้าที่เรียกเก็บตามประมวลรัษฎากรโดยเรียกเก็บเพิ่มขึ้นไม่เกินร้อยละสิบของภาษีการค้า หากผู้มีหน้าที่ชำระภาษีบำรุงเทศบาลไม่นำเงินภาษีบำรุงเทศบาลไปชำระให้เสร็จสิ้นภายในกำหนดที่พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งให้ทราบหรือที่กำหนดไว้ในประกาศกระทรวงการคลังถือว่าผู้นั้นผิดนัด ต้องเสียเงินเพิ่มตามที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร.
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 321 เมื่อมีการชำระหนี้ด้วยเช็คแทนการชำระหนี้ด้วยเงินแล้วจะเป็นกี่ครั้งก็ตาม ถ้ายังไม่มีการใช้เงินตามเช็คเหล่านั้น หรือแม้จะมีการชำระเป็นบางส่วน หนี้เดิมก็ยังไม่ระงับสิ้นไป
จำเลยออกเช็คสั่งจ่ายเงินค่าภาษีอากรงวดที่ 2 และงวดที่ 3ลงวันที่ล่วงหน้าไว้ในภายในเดือนพฤศจิกายน 2528 เมื่อเช็คทั้งสองงวดถึงกำหนดสั่งจ่ายธนาคารได้ปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คทั้งสองงวดนั้น โจทก์ไม่ได้รับเงินค่าภาษีอากรภายในเดือนพฤศจิกายน 2528 จำเลยจึงหมดสิทธิที่จะได้รับประโยชน์ในการชำระเงินเพิ่มนับแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2528จนถึงชำระเสร็จ ตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่องการขยายเวลายื่นรายการการชำระหรือนำส่งภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรข้อ 8 วรรคสอง
พระราชบัญญัติรายได้เทศบาล พ.ศ.2497 มาตรา 12(1) ให้อำนาจเทศบาลออกเทศบัญญัติเรียกเก็บภาษีบำรุงเทศบาลจากภาษีการค้าที่เรียกเก็บตามประมวลรัษฎากรโดยเรียกเก็บเพิ่มขึ้นไม่เกินร้อยละสิบของภาษีการค้า หากผู้มีหน้าที่ชำระภาษีบำรุงเทศบาลไม่นำเงินภาษีบำรุงเทศบาลไปชำระให้เสร็จสิ้นภายในกำหนดที่พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งให้ทราบหรือที่กำหนดไว้ในประกาศกระทรวงการคลังถือว่าผู้นั้นผิดนัด ต้องเสียเงินเพิ่มตามที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1387/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิประโยชน์ทางภาษีตามพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2529 การประเมินภาษีหลังพระราชกำหนดมีผล
มาตรา 30 วรรคหก (2) แห่งพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร ได้บัญญัติมิให้นำมาตรา 30 ดังกล่าว มาใช้แก่บุคคลที่เจ้าพนักงานประเมินได้ทำการประเมินหรือสั่งให้เสียภาษีอากรหรือนำส่งภาษีอากร โดยได้ทำการประเมินหรือสั่งก่อนวันที่พระราชกำหนดดังกล่าวใช้บังคับ ปรากฏว่าเจ้าพนักงานประเมินได้มีหนังสือลงวันที่30 เมษายน 2529 แจ้งให้โจทก์นำภาษีเงินได้นิติบุคคลไปชำระอันเป็นเวลาภายหลังที่พระราชกำหนดดังกล่าวใช้บังคับแล้ว ทั้งโจทก์ก็ได้ยื่นคำขอตามแบบ อ.1 และชำระภาษีอากรตามจำนวนที่ต้องเสียภายในระยะเวลาและหลักเกณฑ์ที่อธิบดีกำหนด โจทก์จึงชอบที่จะได้รับสิทธิประโยชน์ตามมาตรา 30 แห่งพระราชกำหนดดังกล่าว โดยได้รับยกเว้นจากการเรียกตรวจสอบไต่สวน ประเมินหรือสั่งให้เสียภาษีอากรและความผิดตาม ป.รัษฎากร เมื่อโจทก์ได้สิทธิประโยชน์ตามมาตรา 30 ของพระราชกำหนดดังกล่าวโดยได้รับยกเว้นจากการเรียกตรวจสอบไต่สวน ประเมินหรือสั่งให้เสียภาษีอากรแล้ว การประเมินและคำสั่งของจำเลยตามหนังสือลงวันที่30 เมษายน 2529 จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่มีผลบังคับ เสมือนหนึ่งว่าไม่ได้มีการประเมินและไม่มีคำสั่งของเจ้าพนักงานที่โจทก์จะต้องอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1387/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิประโยชน์ทางภาษีตาม พรฎ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 14) หากยังไม่ได้ถูกประเมินภาษี โจทก์มีสิทธิฟ้องได้โดยไม่ต้องอุทธรณ์
จำเลยได้มีหนังสือแจ้งภาษีเงินได้นิติบุคคลสั่งให้โจทก์นำไปชำระภายหลังที่ พระราชกำหนด แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร(ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2529 ใช้บังคับ โจทก์ได้ยื่นคำขอเสียภาษีอากรตามแบบที่อธิบดีกำหนด และชำระภาษีอากรตามจำนวนที่ต้องเสียภายในระยะเวลาและหลักเกณฑ์ โจทก์จึงชอบที่จะได้รับสิทธิประโยชน์ตาม มาตรา 30 แห่ง พระราชกำหนด ดังกล่าว โดยได้รับยกเว้นจากการเรียกตรวจสอบไต่สวน ประเมินหรือสั่งให้เสียภาษีอากรและความผิดทางอาญาตามประมวลรัษฎากร ผู้ที่จะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์จากมาตรา 30 นั้น หมายถึงผู้ที่เจ้าพนักงานประเมินได้ทำการประเมินหรือสั่งให้เสียภาษีอากรหรือให้นำส่งภาษีอากรก่อนวันที่ พระราชกำหนด นี้ใช้บังคับเท่านั้น
เมื่อโจทก์ได้รับยกเว้นจากการตรวจสอบไต่สวน ประเมินหรือสั่งให้เสียภาษีอากรแล้ว การประเมินและคำสั่งของจำเลยจึงไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่มีผลบังคับ เสมือนหนึ่งว่าไม่ได้มีการประเมินและไม่มีคำสั่งของเจ้าพนักงานประเมิน โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องโดยไม่ต้องอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์.
เมื่อโจทก์ได้รับยกเว้นจากการตรวจสอบไต่สวน ประเมินหรือสั่งให้เสียภาษีอากรแล้ว การประเมินและคำสั่งของจำเลยจึงไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่มีผลบังคับ เสมือนหนึ่งว่าไม่ได้มีการประเมินและไม่มีคำสั่งของเจ้าพนักงานประเมิน โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องโดยไม่ต้องอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 811-818/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงหน้าที่งานที่ต่ำกว่าเดิมและกระทบสิทธิประโยชน์ถือเป็นการประพฤติผิดสัญญาจ้าง
เดิมโจทก์ทั้งแปดทำงานฝ่ายช่างและฝ่ายผลิตให้แก่จำเลย มานานจนบางคนได้เลื่อนตำแหน่งขึ้นเป็นหัวหน้างานซึ่งมีเงินเพิ่มประจำตำแหน่ง การที่จำเลยออกคำสั่งให้โจทก์ทั้งแปดไปทำงานแผนกทำความสะอาดนั้น เห็นได้ว่าตำแหน่งหน้าที่เดิมของโจทก์ทั้งแปดต้องอาศัยความรู้ความสามารถหรือความชำนาญเป็นพิเศษ ส่วนงานแผนกทำความสะอาดไม่จำต้องอาศัยความรู้ความสามารถเช่นว่านั้น แม้นายจ้างจะมีสิทธิสับเปลี่ยนหน้าที่การงานของลูกจ้างได้ตามความเหมาะสมและตามความจำเป็นแก่สภาพแห่งงานของนายจ้าง แต่เมื่อตำแหน่งหน้าที่ใหม่ต่ำกว่าตำแหน่งหน้าที่เดิม จึงเป็นการสับเปลี่ยนหน้าที่การงานที่เป็นไปโดยไม่สมควร ทั้งทำให้โจทก์บางคนไม่ได้รับเงินเพิ่มประจำตำแหน่งที่เคยได้ การกระทำของจำเลยถือได้ว่าเป็นการประพฤติผิดสภาพการจ้างเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3675/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม, การลาศึกษาต่อ, และสิทธิประโยชน์หลังเกษียณ: กรณีศึกษาการฟ้องร้องแรงงาน
ครั้งแรกจำเลยที่ 1 มีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์ด้วยข้อกล่าวหาอัน เป็นเท็จและเป็นการเลิกจ้างที่ขัดต่อระเบียบข้อบังคับของจำเลย โจทก์จึงอุทธรณ์ต่อประชาชนกรรมการของจำเลยที่ 1คณะกรรมการพิจารณาแล้วมีมติให้ยกเลิกคำสั่งดังกล่าวและให้โจทก์รอการบรรจุไว้ โดยให้รอผลการพิจารณาปรับปรุงโครงสร้างของจำเลยที่ 1 ต่อไป จำเลยที่ 1 จึงได้ออกคำสั่งตามมติของคณะกรรมการ อันเป็นผลให้คำสั่งเดิมไม่มีผลบังคับต่อไป การเลิกจ้างโจทก์โดยคำสั่งครั้งแรกจึงไม่เกิดขึ้น กรณีไม่อาจกล่าวอ้างได้ว่าการเลิกจ้างตามคำสั่งนั้นเป็นการเลิกจ้างเป็นธรรมหรือไม่
จำเลยที่ 1 ประสบภาวะการขาดทุนอย่างรุนแรง จึงเลิกจ้างโจทก์เพื่อเป็นการปรับปรุงงาน และเกิดความประหยัด เป็นการเลิกจ้างเพื่อลดรายจ่ายของจำเลยที่ 1 การเลิกจ้างด้วยเหตุดังกล่าวไม่ถือว่าเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
จำเลยที่ 1 อนุมัติให้โจทก์ลาไปศึกษาต่อที่ต่างประเทศมีกำหนดระยะเวลา 2 ปี โดยมีเงื่อนไขต่อกันว่าโจทก์ไม่ขอรับเงินเดือนในระหว่างนั้น โจทก์จึงยังมีฐานะเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 อยู่ โจทก์เดินทางไปแล้วกลับมาขอกลับเข้าทำงานก่อนครบกำหนดลา แต่จำเลยที่ 1 ยังไม่ให้โจทก์เข้าทำงานเนื่องจากเหตุจำเป็นหลายประการ โจทก์จึงมิได้ปฏิบัติงานให้แก่จำเลยที่ 1 กรณีจึงเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 ได้ถือปฏิบัติตามข้อตกลงดังกล่าวนั้นอยู่ โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาค่าจ้างจากจำเลยที่ 1
ตามข้อบังคับองค์การเหมืองแร่ ฉบับที่ 10 (พ.ศ.2522) ว่าด้วยกองทุนบำเหน็จผู้ปฏิบัติงานในองค์การเหมืองแร่ ข้อ 6.2 ว่าเวลาป่วย ลา พักงานหรือไม่ได้อยู่ปฏิบัติงาน ถ้าเวลาดังกล่าวไม่ได้รับอนุญาตให้ได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้างไม่ให้นับเป็นเวลาทำงานและให้หักออกจากเวลาทำงาน โจทก์ได้รับอนุญาตจากจำเลยที่ 1 ให้ลาไปศึกษายังต่างประเทศโดยไม่ขอรับเงินเดือน โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอให้นับเวลาทำงานในช่วงเวลาดังกล่าวเพื่อนำมาคำนวณอายุการทำงานในการรับเงินบำเหน็จของโจทก์ตามข้อบังคับดังกล่าว
จำเลยที่ 1 ประสบภาวะการขาดทุนอย่างรุนแรง จึงเลิกจ้างโจทก์เพื่อเป็นการปรับปรุงงาน และเกิดความประหยัด เป็นการเลิกจ้างเพื่อลดรายจ่ายของจำเลยที่ 1 การเลิกจ้างด้วยเหตุดังกล่าวไม่ถือว่าเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
จำเลยที่ 1 อนุมัติให้โจทก์ลาไปศึกษาต่อที่ต่างประเทศมีกำหนดระยะเวลา 2 ปี โดยมีเงื่อนไขต่อกันว่าโจทก์ไม่ขอรับเงินเดือนในระหว่างนั้น โจทก์จึงยังมีฐานะเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 อยู่ โจทก์เดินทางไปแล้วกลับมาขอกลับเข้าทำงานก่อนครบกำหนดลา แต่จำเลยที่ 1 ยังไม่ให้โจทก์เข้าทำงานเนื่องจากเหตุจำเป็นหลายประการ โจทก์จึงมิได้ปฏิบัติงานให้แก่จำเลยที่ 1 กรณีจึงเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 ได้ถือปฏิบัติตามข้อตกลงดังกล่าวนั้นอยู่ โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาค่าจ้างจากจำเลยที่ 1
ตามข้อบังคับองค์การเหมืองแร่ ฉบับที่ 10 (พ.ศ.2522) ว่าด้วยกองทุนบำเหน็จผู้ปฏิบัติงานในองค์การเหมืองแร่ ข้อ 6.2 ว่าเวลาป่วย ลา พักงานหรือไม่ได้อยู่ปฏิบัติงาน ถ้าเวลาดังกล่าวไม่ได้รับอนุญาตให้ได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้างไม่ให้นับเป็นเวลาทำงานและให้หักออกจากเวลาทำงาน โจทก์ได้รับอนุญาตจากจำเลยที่ 1 ให้ลาไปศึกษายังต่างประเทศโดยไม่ขอรับเงินเดือน โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอให้นับเวลาทำงานในช่วงเวลาดังกล่าวเพื่อนำมาคำนวณอายุการทำงานในการรับเงินบำเหน็จของโจทก์ตามข้อบังคับดังกล่าว