พบผลลัพธ์ทั้งหมด 561 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1246/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน: การครอบครองที่ดินหลังสัญญา และการไม่มีสิทธิฟ้องเพิกถอนการโอน
ที่ดินตาม น.ส.3 ก. ที่พิพาทเดิมเป็นของ ร. มารดาจำเลยที่ 1 เมื่อปี 2526 ร. จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 โดยเสน่หา ต่อมาปี 2527 ร.ฟ้องเรียกที่ดินพิพาทคืนเพราะจำเลยที่ 1 ประพฤติเนรคุณศาลพิพากษาให้ถอนคืนการให้ คดีถึงที่สุดแล้ว แต่ ร.ยังมิได้ไปจดทะเบียนการได้มาและได้ถึงแก่ความตายในปี 2531 หลังจากนั้นจำเลยที่ 1 ได้นำ น.ส.3 ก.ของที่ดินพิพาทซึ่งยังมีชื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้ครอบครองไปทำการจดทะเบียนขายให้แก่จำเลยที่ 2 ดังนั้นเมื่อปรากฏว่าการที่โจทก์ยึดถือครองทำนาและปลูกต้นยูคาลิปตัส ในที่ดินพิพาทตลอดมา เป็นการยึดถือครอบครองแทน ร. โจทก์ย่อมไม่ได้สิทธิครอบครอง คดีนี้โจทก์มิได้ใช้สิทธิ ของจำเลยที่ 1 ในฐานะทายาทของ ร. ให้โอนสิทธิการครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ตามสัญญาจะซื้อจะขาย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนที่ดินพิพาท ระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 2 การที่ ร. ทำหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทกับโจทก์โดยระบุว่าผู้ขายและให้ผู้ซื้อเป็นผู้เสียค่าธรรมเนียมในการโอนทั้งสิ้น และในระหว่าง ร. ยังมีชีวิตโจทก์เคยไปติดต่อขอต้นฉบับ น.ส.3 ก. คืนจากจำเลยที่ 1และเคยไปติดต่อที่สำนักงานที่ดิน แต่พนักงานเจ้าหน้าที่อ้างว่าไม่สามารถจดทะเบียนโอนให้ได้ เพราะไม่มีต้นฉบับที่ดินพิพาท ทั้งตอนซื้อขายที่ดินพิพาท โจทก์ทราบว่า ร.ยังไม่ได้นำคำพิพากษาไปจดทะเบียนโอนมาเป็นของ ร.แสดงว่าโจทก์และ ร. มีเจตนาที่จะโอนสิทธิการครอบครองที่ดินพิพาทโดยทำนิติกรรมและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ให้ถูกต้องตามกฎหมาย สัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทดังกล่าวจึงเป็นเพียงสัญญาจะซื้อจะขาย เมื่อ ร. มิได้สละการครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ การที่โจทก์ยึดถือครอบครองทำนาและปลูกยูคาลิปตัส ในที่ดินพิพาท จึงเป็นการยึดถือครอบครองแทน ร. ตามสัญญาจะซื้อจะขายเท่านั้น แม้โจทก์จะครอบครองนานเพียงใดก็ไม่ได้สิทธิครอบครอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1084/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ทรงเช็คมีสิทธิฟ้องคดีเมื่อเช็คถูกปฏิเสธ แม้จะใช้บัญชีผู้อื่นเรียกเก็บเงิน
จำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทมอบแก่โจทก์เพื่อชำระหนี้ โจทก์จึงเป็นผู้ทรงเช็คพิพาท เมื่อเช็คถึงกำหนด แม้โจทก์จะนำเข้าบัญชีมารดาโจทก์เพื่อเรียกเก็บเงินและถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน ก็เป็นเพียงการนำเช็คเข้าเรียกเก็บเงินโดยอาศัยบัญชีของมารดาแทนเท่านั้น เมื่อโจทก์มิได้มอบหรือโอนสิทธิอันเกิดแต่เช็คพิพาทให้แก่มารดาโจทก์ โจทก์จึงยังคงเป็นผู้ทรงเช็คพิพาทอยู่ในขณะที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน และเป็นผู้เสียหายมีอำนาจฟ้องคดีได้ การที่โจทก์เป็นผู้ทรงเช็คพิพาท นำเช็คดังกล่าวเรียกเก็บเงินที่ธนาคารตามเช็ค เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คโจทก์จึงเป็นผู้เสียหาย ฉะนั้น ไม่ว่าโจทก์จะนำเช็คเข้าบัญชีของโจทก์เองเพื่อเรียกเก็บเงิน หรือเข้าบัญชีของผู้อื่นเพื่อเรียกเก็บเงินแทนก็เป็นเพียงรายละเอียดในการนำเช็คเข้าบัญชีเพื่อเรียกเก็บเงินเท่านั้น ข้อแตกต่างดังกล่าวจึงมิใช่แตกต่างในข้อสาระสำคัญอันจะเป็นเหตุให้ศาลยกฟ้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6790/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนคำร้องทุกข์และการระงับสิทธิฟ้องคดีอาญา กรณีความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค
ตามรายงานประจำวันรับแจ้งเป็นหลักฐานระบุว่า"บัดนี้ผู้เสียหายไม่มีความประสงค์จะให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีกับ ช. อีกต่อไป เนื่องจากจะนำคดีฟ้องร้องในทางแพ่งเองจึงขอถอนคำร้องทุกข์" ดังนี้ แสดงว่าโจทก์ไม่ประสงค์ดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยอีกต่อไป เพราะหากโจทก์ ขอถอนคำร้องทุกข์เพื่อประสงค์ดำเนินคดีอาญาเองแล้วก็ไม่เป็นการยากที่ระบุไว้เช่นเดียวกับที่ระบุว่าจะนำคดี ไปฟ้องร้องในทางแพ่งเอง กรณีจึงถือได้ว่าโจทก์ขอถอนคำร้องทุกข์ไปโดยไม่ประสงค์ดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยอีกต่อไป สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5496/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือมอบอำนาจ & การยอมความ: สิทธิฟ้องคดีอาญาไม่ระงับ แม้มีการตกลงชดใช้ค่าเสียหาย
ตามหนังสือมอบอำนาจให้ร้องทุกข์ ผู้เสียหายระบุให้จ. เป็นผู้มีอำนาจดำเนินการแจ้งความดำเนินคดีทั้งทางอาญาและทางแพ่งต่อพนักงานสอบสวนในเหตุความผิดทั้งหลายซึ่งได้มีผู้กระทำขึ้นและก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เสียหายย่อมเป็นการมอบอำนาจโดยชัดแจ้งให้ จ. ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนแล้ว บันทึกการตกลงชดใช้ค่าเสียหายที่จำเลยยอมตกลงโอนสิทธิ และกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินต่าง ๆ ตามที่ระบุไว้ให้แก่ผู้เสียหายภายในเวลาที่กำหนด ซึ่งมีผลผูกพันกันเฉพาะทางแพ่งเมื่อไม่มีข้อความตอนใดเลยที่แสดงว่าผู้เสียหายตกลงไม่ติดใจเอาความในทางอาญาแก่จำเลย จึงไม่เป็นการยอมความ ทางอาญาโดยถูกต้องตามกฎหมาย สิทธินำคดีอาญามาฟ้อง ของผู้เสียหายจึงไม่ระงับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4959/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีเช็ค: สัญญาประนีประนอมยอมความในคดีแพ่งทำให้มูลหนี้สิ้นสุด สิทธิฟ้องคดีอาญาจึงระงับ
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า มูลหนี้ตามเช็คที่โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นมูลหนี้เดียวกันกับที่โจทก์ร่วมเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่งเรียกเงินตามเช็ค เมื่อโจทก์ร่วมและ จำเลยตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน ในคดีแพ่ง และศาลได้พิพากษาตามยอมแล้วจึงทำให้ มูลหนี้ตามเช็คสิ้นผลผูกพันก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด คดีจึงเลิกกันสิทธินำคดีอาญามาฟ้องจึงระงับไป ให้จำหน่ายคดี ออกจากสารบบความ เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ผลเท่ากับศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษา ยกฟ้องโจทก์ จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4680/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีซ้ำ: ศาลยังมิได้วินิจฉัยประเด็นเนื้อหาของคดีเดิม โจทก์มีสิทธิฟ้องคดีใหม่ได้
คดีก่อนศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับบัญชีระบุพยานโจทก์เพราะยื่นเกินกำหนด แต่กำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้ 5 ประเด็นและได้มีการสืบพยานโจทก์และพยานจำเลยจนเสร็จกระบวนพิจารณา แล้วศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโดยวินิจฉัยว่าฟ้องโจทก์ ไม่เคลือบคลุม แต่ข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าโจทก์มอบอำนาจให้ฟ้องคดีโดยชอบเพราะโจทก์ไม่อาจนำพยานมาสืบได้ตามประเด็นข้อพิพาท และศาลชั้นต้นยังมิได้วินิจฉัยในประเด็นข้อ 3 ถึงข้อ 5 จึงเป็นกรณีที่ศาลพิพากษายกฟ้องเนื่องจากข้อเท็จจริง ฟังไม่ได้ว่าโจทก์มอบอำนาจให้ฟ้องโดยชอบเท่านั้น โดยยังไม่ได้ วินิจฉัยในประเด็นที่เป็นเนื้อหาแห่งคดีเกี่ยวกับหนี้สิน ระหว่างโจทก์และจำเลย โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องจำเลยในประเด็นแห่งคดี ดังกล่าวเป็นคดีนี้ได้ ไม่เป็นฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4344/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การร้องสอดคดีแพ่ง: สิทธิในการฟ้องต่างหาก vs. การเข้าร่วมในคดีเดิม, ผลกระทบต่อกระบวนการพิจารณา
ตามคำร้องของผู้ร้องสอด ผู้ร้องสอดอ้างว่าจำเลยทั้งสองปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบทำให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์และผู้ร้องสอด เป็นการละเมิดต่อผู้ร้องสอด ผู้ร้องสอดเป็นผู้เสียหายที่มีสิทธิได้รับค่าสินไหมทดแทนโดยตรงจากจำเลยทั้งสอง แต่โจทก์กลับนำสิทธิของผู้ร้องสอดมายื่นฟ้องต่อศาลโดยมิได้รับความยินยอมจากผู้ร้องสอด ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองใช้ค่าเสียหายแก่ผู้ร้องสอด โดยข้ออ้างของผู้ร้องสอดนี้มีสภาพแห่งข้อหาเช่นเดียวกับคำฟ้องของโจทก์ ดังนี้ เป็นการที่ผู้ร้องสอดอ้างว่าการกระทำของจำเลยทั้งสองและโจทก์เป็นการโต้แย้งสิทธิของผู้ร้องสอดถือได้ว่าเป็นกรณีจำเป็นเพื่อยังให้ได้รับความรับรอง คุ้มครอง หรือบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่ ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 57(1) แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ผู้ร้องสอดจึงชอบที่จะร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความในคดีนี้ได้ แต่คดีนี้ ผู้ร้องสอดเพิ่งมายื่นคำร้องสอด เมื่อเป็นเวลาหลังจากโจทก์ฟ้องคดีเกือบ 2 ปี โดยโจทก์ได้นำพยานโจทก์เข้าเบิกความและตอบคำถามค้านของทนายจำเลยทั้งสองจนเสร็จสิ้นแล้ว หากจะอนุญาตให้ผู้ร้องสอดร้องสอดเข้ามา ก็จะทำให้กระบวนพิจารณาชักช้าและยุ่งยากขึ้นไปอีก ทั้งสิทธิของผู้ร้องสอดมีอยู่อย่างไร ผู้ร้องสอดก็มีสิทธิที่จะฟ้องร้องเป็นอีกคดีต่างหากได้อยู่แล้วศาลฎีกาจึงเห็นสมควรไม่อนุญาตให้ผู้ร้องสอดร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความในคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4343/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมความไม่สมบูรณ์ในคดีเช็ค – ยังไม่ระงับสิทธิฟ้องอาญา หากจำเลยยังไม่ชำระหนี้ตามข้อตกลง
โจทก์ฟ้องคดีนี้ขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4 และฟ้องเรียกเงินทางแพ่งเป็นอีกคดีหนึ่งด้วย คดีนี้จำเลยให้การปฏิเสธ แต่ในระหว่างพิจารณาคดีโจทก์และจำเลยได้เจรจาตกลงกันโดยจำเลยขอถอนคำให้การเดิมที่ปฏิเสธและให้การใหม่ยอมรับสารภาพตามฟ้อง และโจทก์ยอมให้เวลาแก่จำเลยเพื่อให้จำเลยหาเงินมาชำระหนี้โดยยอมลดจำนวนเงินลง โดยให้จำเลยชำระหนี้ภายในกำหนด และโจทก์จะถอนฟ้องคดีแพ่งด้วย เมื่อกรณีเป็นเรื่องที่โจทก์ยอมลดหนี้และให้โอกาสแก่จำเลย โดยโจทก์จำเลยยังมิได้มีเจตนาที่จะยุติข้อพิพาทในทางอาญาจนกว่าจำเลยได้ชำระเงินตามข้อตกลงแก่โจทก์แล้ว จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์จำเลยได้ยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมายตาม ป.วิ.อ.มาตรา 39 (2) สิทธินำคดีอาญามาฟ้องจึงยังไม่ระงับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3103/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผ่อนผันชำระหนี้ทางแพ่ง ไม่ถือเป็นการยอมความในคดีอาญา สิทธิฟ้องอาญาไม่ระงับ
โจทก์และจำเลยแถลงต่อศาลตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นว่า จำเลยจะจดทะเบียนโอนที่ดินตีใช้หนี้ผู้เสียหายบางส่วน แต่ผู้เสียหายแถลงว่าเกรงว่าที่ดินจะมีปัญหา จึงขอให้จำเลยชำระเป็นเงินสด จำเลยยอมรับว่าจะชดใช้เงินสด โดยผ่อนชำระเป็น 3 งวด โดยจำเลยจะนำเงินไปชำระให้ผู้เสียหายที่บ้าน งวดที่ 2 จำเลยจะนำเงินไปชำระให้ผู้เสียหายที่ศาล งวดที่ 3 ชำระส่วนที่เหลือพร้อมด้วยดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี หากจำเลยผิดนัดไม่ชำระงวดที่ 1และงวดที่ 2 แล้ว จำเลยจะต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ของต้นเงินที่ค้างชำระอีกด้วยนั้น กรณีเป็นเรื่องที่ผู้เสียหายผ่อนผันการชำระเงินทางแพ่งเท่านั้น เมื่อไม่มีข้อเท็จจริงแสดงว่าผู้เสียหายไม่ติดใจดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยจึงถือไม่ได้ว่ามีการยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมาย สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์จึงไม่ระงับไปตาม ป.วิ.อ.มาตรา 39 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3103/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผ่อนผันการชำระหนี้ทางแพ่ง ไม่ถือเป็นการยอมความในคดีอาญา สิทธิฟ้องอาญาไม่ระงับ
โจทก์และจำเลยแถลงต่อศาลตามรายงานกระบวนพิจารณาของ ศาลชั้นต้นว่า จำเลยจะจดทะเบียนโอนที่ดินตีใช้หนี้ผู้เสียหายบางส่วน แต่ผู้เสียหายแถลงว่าเกรงว่าที่ดินจะมีปัญหาจึงขอให้จำเลยชำระเป็นเงินสด จำเลยยอมรับว่าจะชดใช้เงินสดโดยผ่อนชำระเป็น 3 งวด โดยจำเลยจะนำเงินไปชำระให้ผู้เสียหาย ที่บ้าน งวดที่ 2 จำเลยจะนำเงินไปชำระให้ผู้เสียหายที่ศาล งวดที่ 3 ชำระส่วนที่เหลือพร้อมด้วยดอกเบี้ยอัตราร้อยละ15 ต่อปี หากจำเลยผิดนัดไม่ชำระงวดที่ 1 และงวดที่ 2 แล้วจำเลยจะต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปีของต้นเงินที่ค้างชำระอีกด้วยนั้น กรณีเป็นเรื่องที่ผู้เสียหายผ่อนผันการชำระเงินทางแพ่งเท่านั้น เมื่อไม่มีข้อเท็จจริงแสดงว่าผู้เสียหายไม่ติดใจดำเนินคดีอาญาแก่จำเลย จึงถือไม่ได้ว่ามีการยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมาย สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์จึงไม่ระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2)