คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สิทธิอุทธรณ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 174 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3082/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายเวลาอุทธรณ์, สิทธิอุทธรณ์, และการใช้กฎหมายอาญาใหม่ที่เบากว่าเดิม
การสั่งคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1และที่ 2 เป็นอำนาจของศาลชั้นต้นที่จะพิจารณาและมีคำสั่งตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลาตามคำร้อง โจทก์ร่วมชอบที่จะอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งดังกล่าวต่อศาลอุทธรณ์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 วรรคแรก เพราะคำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งภายหลังที่ศาลชั้นต้นพิพากษาแล้วและยังไม่ได้มีการสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงไม่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาที่ไม่ทำให้คดีเสร็จสำนวน ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ตามมาตรา 196 พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534มาตรา 4 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำผิด บัญญัติเกี่ยวกับโทษไว้ว่าต้องระวางโทษปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือทั้งจำทั้งปรับ มีอัตราโทษเบากว่าโทษตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ขณะกระทำความผิด และเป็นคุณแก่จำเลยที่ 1และที่ 2 ผู้กระทำความผิด จึงต้องใช้กฎหมายใหม่บังคับตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3067/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวางเงินค่าฤชาธรรมเนียมเพื่อใช้สิทธิอุทธรณ์ ไม่ถือเป็นการชำระหนี้ โจทก์จึงยังไม่มีสิทธิรับเงิน
การวางเงินค่าฤชาธรรมเนียมของจำเลยเป็นการปฏิบัติตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 229 มิใช่เป็นการชำระหนี้ให้โจทก์ โจทก์จึงยังไม่มีสิทธิรับเงินดังกล่าวไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1036/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งวันนัดฟังคำสั่งล้มละลายที่ไม่ชอบ และสิทธิอุทธรณ์ของลูกหนี้ร่วม
จำเลยที่ 1 มีภูมิลำเนาที่แน่นอน จึงไม่ใช่กรณีที่ไม่สามารถส่งหมายนัดให้แก่จำเลยที่ 1 ณ ภูมิลำเนาของจำเลยที่ 1 ได้ กรณีจึงไม่เข้าหลักเกณฑ์ที่ศาลจะสั่งให้ส่งหมายนัดโดยวิธีอื่นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 79 ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นส่งหมายแจ้งวันนัดฟังคำสั่งหรือคำพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ทราบโดยวิธีปิดประกาศที่หน้าศาลจึงเป็นการแจ้งวันนัดที่ไม่ชอบ เมื่อจำเลยที่ 1ไม่มาศาล ย่อมไม่อาจถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้ทราบคำสั่งหรือคำพิพากษาในวันนัดดังกล่าว แต่จำเลยที่ 1 ยอมรับตามคำร้องว่าได้ทราบคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2534 ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกเลิกคำสั่งเดิมแต่ให้ถือว่าจำเลยที่ 1ทราบหรือฟังคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2534จึงชอบแล้ว ไม่มีเหตุต้องดำเนินกระบวนพิจารณาแจ้งวันนัดให้จำเลยที่ 1 มาฟังคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดใหม่ การที่ศาลชั้นต้นให้จำเลยที่ 1 อุทธรณ์คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดได้ภายในวันที่ 9 สิงหาคม 2534 นั้น มีผลเฉพาะจำเลยที่ 1เพราะการอ่านคำสั่งหรือคำพิพากษาให้คู่ความรายใดฟังนั้นเป็นเรื่องเฉพาะตัวของคู่ความแต่ละรายเป็นรายบุคคลไป ไม่มีผลถึงการอ่านให้คู่ความรายอื่นที่ได้ฟังคำสั่งหรือคำพิพากษาโดยชอบแล้ว สิทธิในการอุทธรณ์เป็นเรื่องเฉพาะตัวของคู่ความแต่ละรายไป จำเลยที่ 2และที่ 3 มิได้ยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนดนับแต่วันที่ทราบคำสั่งจะถือตามสิทธิอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5486/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งงดสืบพยานถือเป็นการวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้น จำเลยมีสิทธิอุทธรณ์ได้ แม้ไม่โต้แย้งคำสั่ง
การที่ศาลชั้นต้นสั่งว่า คดีพอวินิจฉัยได้แล้ว จึงงดสืบพยานแล้วพิพากษาคดีไปโดยข้อกฎหมายนั้น เป็นการที่ศาลวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในข้อกฎหมายซึ่งทำให้คดีเสร็จไป ทั้งเรื่องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 24 ไม่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 227 ดังนั้นแม้จำเลยจะมิได้โต้แย้งคำสั่งไว้ จำเลยก็มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งได้ จำเลยยื่นอุทธรณ์และฎีกาขอให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลล่างพิจารณาใหม่มิได้ขอให้ตนเป็นฝ่ายชนะคดี เป็นคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ตามบัญชีท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งตาราง 1 ข้อ 2(ข) ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์และฎีกาศาลละ200 บาท จำเลยเสียค่าขึ้นศาลทั้งสองศาลมาอย่างคดีมีทุนทรัพย์จึงให้คืนส่วนที่เกินแก่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3932/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาลที่ไม่เพิกถอนคำบังคับ และค่าขึ้นศาลสำหรับคดีปลดเปลื้องทุกข์
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องของผู้ร้องที่ขอให้เพิกถอนคำบังคับที่บังคับให้ผู้ร้องชำระเงินในส่วนที่ขาดไม่คุ้มราคาและค่าขายทอดตลาดเดิมซึ่งผู้ร้องเป็นผู้สู้ราคาสูงสุดผู้ร้องย่อมมีสิทธิอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งดังกล่าวต่อศาลอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ได้ กรณีนี้เป็นคดีที่มีคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาล 200 บาท ตามข้อ (2)ในตาราง 1 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 318/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องเคลือบคลุมและสิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาล กรณีศาลไม่อนุญาตเลื่อนคดีและมีคำพิพากษาในวันเดียวกัน
โจทก์บรรยายฟ้องสรุปได้ว่า จำเลยนำเข้าเครื่องอะไหล่อุปกรณ์วิทยุ จากประเทศญี่ปุ่น และสำแดงราคาของสินค้าไว้ในใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าเพื่อเสียภาษีอากร พนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ที่ 1 เห็นว่า ไม่มีรายละเอียดราคาท้องตลาดสำหรับสินค้าของจำเลย จึงให้จำเลยวางเงินประกันภายหลังได้มีการตรวจสอบราคาจากการนำเข้าของรายอื่นแล้ว ปรากฏว่าราคาสินค้าที่จำเลยสำแดงไว้ต่ำกว่าราคาอันแท้จริงในท้องตลาด เจ้าพนักงานประเมินจึงประเมินค่าภาษีอากรที่จำเลยต้องชำระเพิ่ม แต่จำเลยไม่ชำระ การบรรยายฟ้องดังนี้ จึงแสดงถึงสภาพข้ออ้างและข้อหาตลอดจนการที่โจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิไว้อย่างชัดแจ้ง ศาลภาษีอากรกลางมีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดี และมีคำพิพากษาไปในวันเดียวกัน ทำให้จำเลยไม่มีเวลาหรือโอกาสโต้แย้งคำสั่งได้ จำเลยจึงมีสิทธิอุทธรณ์โดยไม่ต้องโต้แย้งได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1425/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโต้แย้งคำสั่งศาลกำหนดประเด็นข้อพิพาทและการกำหนดหน้าที่นำสืบ สิทธิอุทธรณ์มาตรา 226(2) มิใช่คำร้องมาตรา 27
ในวันนัดสืบพยานโจทก์ โจทก์เห็นว่าศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทไม่ถูกต้อง โจทก์จึงยื่นคำร้องโต้แย้งคัดค้านคำสั่งและขอให้กำหนดประเด็นข้อพิพาทและกำหนดหน้าที่นำสืบใหม่ คำร้องโต้แย้งคัดค้านของโจทก์ เป็นการโต้แย้งคัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้นเพื่อใช้สิทธิอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226(2)กรณีมิใช่คำร้องที่จะต้องยื่นภายใน 8 วัน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1142/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การงดไต่สวนพยานและคำสั่งชั่วคราวก่อนพิพากษา: การโต้แย้งสิทธิอุทธรณ์และการสิ้นสุดของคำสั่ง
คำสั่งให้งดการไต่สวนพยานจำเลยที่ 1 ในชั้นขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาของศาลชั้นต้นก่อนที่ศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์คำสั่งนั้นในระหว่างพิจารณา หากคู่ความฝ่ายใดไม่เห็นด้วยและประสงค์จะใช้สิทธิอุทธรณ์คำสั่งนั้นในภายหลังจะต้องโต้แย้งคำสั่งให้ศาลจดลงไว้ในรายงาน คู่ความฝ่ายที่โต้แย้งจึงจะมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งนั้นได้ภายในกำหนดหนึ่งเดือน นับแต่วันที่ศาลได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีตามความในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 226 แต่ปรากฏว่า ศาลชั้นต้นสั่งงดไต่สวนเมื่อวันที่21 กุมภาพันธ์ 2534 และนัดฟังคำสั่งในวันรุ่งขึ้นเวลา 9 นาฬิกาทนายโจทก์ได้ทราบคำสั่งในวันนั้นแล้ว ดังนั้น ในช่วงเวลาก่อนที่ศาลชั้นต้นจะอ่านคำสั่ง ย่อมมีเวลาเพียงพอที่โจทก์จะโต้แย้งคัดค้านได้ แต่ก็หาได้มีการโต้แย้งคัดค้านไม่ โจทก์จึงหมดสิทธิอุทธรณ์ในปัญหาดังกล่าว อีกทั้งไม่อาจหยิบยกปัญหาดังกล่าวขึ้นเป็นข้อฎีกาได้ เนื่องจากเป็นข้อที่มิได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบในชั้นอุทธรณ์ จึงต้องห้ามฎีกาตามความในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคแรก (เดิม)แม้ศาลชั้นต้นจะสั่งรับฎีกาข้อนี้ของโจทก์ขึ้นมาด้วย ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัย โจทก์ฟ้องคดีพร้อมกับยื่นคำร้องขอให้ศาลนำวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษามาใช้โดยยื่นคำร้องขอในกรณีมีเหตุฉุกเฉินรวมเข้ามาด้วยกรณีจึงเป็นไปตามความในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 267 ปรากฏว่าหลังจากที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้นำวิธีการชั่วคราวในกรณีมีเหตุฉุกเฉินมาใช้บังคับตามคำขอของโจทก์แล้วจำเลยที่ 1 ได้ยื่นคำขอโดยพลันให้ศาลชั้นต้นยกเลิกคำสั่งดังกล่าวเสีย ต่อมาเมื่อศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วได้มีคำสั่งยกเลิกคำสั่งเดิมตามคำขอของจำเลยที่ 1 คำสั่งดังกล่าว ย่อมเป็นที่สุด ทั้งนี้โดยมิพักต้องคำนึงถึงว่าศาลชั้นต้นได้พิจารณาคำขอของจำเลยที่ 1ในกรณีมีเหตุฉุกเฉินหรือพิจารณาฝ่ายเดียวหรือสองฝ่ายหรือไม่ เพราะแม้จะได้ความว่าศาลชั้นต้นได้พิจารณาคำขอของจำเลยที่ 1 ในกรณีธรรมดาเพราะไม่มีเหตุฉุกเฉิน หรือพิจารณาคำขอของจำเลยที่ 1 ชนิดสองฝ่ายก็ตาม คำสั่งเพิกถอนคำสั่งเดิมของศาลชั้นต้นก็เป็นการสั่งตามความในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 267 วรรคสอง ที่บัญญัติว่าคำสั่งดังกล่าวให้เป็นที่สุดอยู่นั่นเอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1282/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งไม่อนุญาตเลื่อนคดีและงดสืบพยานเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา โต้แย้งไม่ทันไม่มีสิทธิอุทธรณ์
การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในวันที่ 29 พฤศจิกายน 2531ไม่อนุญาตให้โจทก์เลื่อนคดีและงดสืบพยานโจทก์จำเลย โดยนัดฟังคำพิพากษาในวันที่ 2 ธันวาคม 2531 แล้วพิพากษายกฟ้องโจทก์ในปัญหาข้อเท็จจริง ดังนี้ คำสั่งดังกล่าวศาลชั้นต้นสั่งก่อนมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดี เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 มิใช่คำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายตาม มาตรา 24 และมาตรา 227 เมื่อโจทก์มิได้โต้แย้งคำสั่งจึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งนั้น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1282/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งไม่อนุญาตเลื่อนคดีและงดสืบพยานเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา โจทก์ต้องโต้แย้งทันทีจึงมีสิทธิอุทธรณ์
การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้โจทก์เลื่อนคดีและงดสืบพยานโจทก์จำเลย และอยู่ในระหว่างนัดฟังคำพิพากษา เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งก่อนศาลนั้นได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดี จึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 และมิใช่คำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายตามมาตรา 24 และมาตรา 227 เพราะที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ประเด็นข้อพิพาทมีว่าจำเลยสั่งจ่ายเช็คชำระหนี้เงินกู้ให้แก่โจทก์ตามฟ้องหรือไม่ ภาระการ พิสูจน์ตกโจทก์ เมื่อโจทก์ไม่มีพยานมาสืบให้ฟังได้ตามคำฟ้อง โจทก์จึงต้องแพ้คดีนั้นเป็นการวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ ตามฟ้อง มิได้วินิจฉัยชี้ขาดในปัญหาข้อกฎหมายที่พิพาทกันในคดีแต่ อย่างใด ดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องในวันที่ 29 พฤศจิกายน 2531 เวลา 9.45 นาฬิกาซึ่งทนายโจทก์ก็มาศาลใน วันดังกล่าว และศาลชั้นต้นได้อ่านคำพิพากษาในวันที่ 2 ธันวาคม 2531 เวลา 10 นาฬิกาโจทก์ย่อมมีเวลาเพียงพอที่จะโต้แย้งคำสั่งนั้นได้ แต่มิได้โต้แย้ง จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์.
of 18