พบผลลัพธ์ทั้งหมด 68 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 269/2488
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกคืนสินสอดเมื่อสมรสไม่สมบูรณ์: ความผิดหญิง
สิทธิของชายที่จะเรียกคืนสินสอดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1436 ในกรณีที่การสมรสไม่สมบูรณ์เพราะขาดการจดทะเบียนนั้น ต้องปรากฏว่า หญิงเป็นฝ่ายผิดไม่ยอมจดทะเบียน
อ้างฎีกาที่ 659/87
ชายหญิงสมรสกันโดยไม่ตั้งใจจดทะเบียนนั้น ภายหลังชายจะมาฟ้องเรียกสินสอดคืนไม่ได้
อ้างฎีกาที่ 659/87
ชายหญิงสมรสกันโดยไม่ตั้งใจจดทะเบียนนั้น ภายหลังชายจะมาฟ้องเรียกสินสอดคืนไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 847/2486
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อของจากผู้ยักยอกทรัพย์ เจ้าของทรัพย์มีสิทธิเรียกคืนได้
ซื้อน้ำมันมะพร้าวจากผู้ที่ยักยอกของเขาไปเจ้าของทรัพย์ย่อมฟ้องเรียกคืนได้ จำเลยซื้อน้ำมันมะพร้าวจากบุคคลที่นำมาขายยังสำนักงานของจำเลย ไม่ถือว่าเป็นการซื้อในตลาดตาม มาตรา 1332ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10188/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกคืนเงินสมทบประกันสังคมเกินเวลา 1 ปี: การแจ้งสิทธิและเจตนาของผู้ประกันตน
มาตรา 47 วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ.2533 กำหนดระยะเวลาให้ผู้ประกันตนเรียกเอาเงินสมทบที่นายจ้างส่งให้แก่สำนักงานประกันสังคมเกินจำนวนที่ต้องชำระคืนภายใน 1 ปี นับแต่วันที่นำส่งเงินสมทบหรือภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ได้รับแจ้งให้มารับคืนนั้น เป็นกำหนดระยะเวลาเร่งรัดให้ผู้ประกันตนใช้สิทธิขอรับเงินสมทบที่นายจ้างนำส่งเกินจำนวนที่ต้องชำระคืนโดยเร็ว เมื่อศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์ทำงานกับนายจ้าง 2 ราย โดยนายจ้างทั้งสองรายต่างหักค่าจ้างของโจทก์นำส่งเงินสมทบในส่วนของผู้ประกันตนให้แก่จำเลยเกินจำนวนที่โจทก์ต้องชำระ และจำเลยไม่ได้แจ้งให้โจทก์มารับเงินคืน ทั้งไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าโจทก์ทราบมาก่อนว่าเงินสมทบที่นายจ้างทั้งสองนำส่งให้แก่จำเลยเกินจำนวนที่โจทก์ต้องชำระ ต้องถือว่าโจทก์เพิ่งทราบว่านายจ้างทั้งสองนำส่งเงินสมทบในส่วนของผู้ประกันตนเกินในวันที่โจทก์ยื่นคำขอรับเงินที่เกินนั้น อันเป็นการใช้สิทธิเรียกร้องเอาเงินส่วนของผู้ประกันตนที่นายจ้างนำส่งเกินคืนภายในกำหนด 1 ปี ตามนัยแห่งบทบัญญัติดังกล่าวแล้ว เงินนั้นยังไม่ตกเป็นของกองทุนประกันสังคม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6205/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเรียกคืนเงินสะสมและผลประโยชน์ของสมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการเมื่อถูกไล่ออก
พ.ร.บ.กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ.2539 มาตรา 54 ไม่ได้กล่าวถึงเงินสะสมและผลประโยชน์ของเงินสะสม และเมื่อพิจารณาบทนิยามคำว่า เงินสะสม ตามมาตรา 3 วรรคแปด ที่ให้ความหมายว่า เงินที่สมาชิกสะสมเข้ากองทุนตาม พ.ร.บ. นี้ แสดงว่าเงินสะสมเป็นเงินของสมาชิก ยิ่งเมื่อพิจารณาประกอบกับบทบัญญัติมาตรา 39 วรรคหนึ่งและวรรคสี่ เห็นได้ว่า เงินสะสมนี้บทมาตราดังกล่าวให้ส่วนราชการหักตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวงจากเงินเดือนที่สมาชิกผู้นั้นได้รับ เงินสะสมจึงเป็นส่วนหนึ่งของเงินเดือนของสมาชิก เมื่อกระทรวงคมนาคมลงโทษไล่จำเลยออกจากราชการโดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 30 กันยายน 2550 จำเลยจึงต้องคืนเงินเดือนสำหรับการทำงานวันที่ 30 กันยายน 2550 ให้แก่ส่วนราชการเจ้าสังกัดคือ กรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม ผู้จ่ายเงินเดือนให้จำเลยจึงมีสิทธิเรียกเงินเดือนของวันดังกล่าวเต็มจำนวนก่อนมีการหักเงินสะสม โจทก์ไม่ใช่ส่วนราชการเจ้าสังกัดผู้จ่ายเงินเดือนให้จำเลย และ พ.ร.บ.กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ.2539 ก็ไม่ได้บัญญัติให้สิทธิโจทก์ไว้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกคืนเงินสะสมซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเงินเดือนจำเลยและไม่มีสิทธิเรียกคืนผลประโยชน์ของเงินสะสมด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15028/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกล้างนิติกรรมให้ทรัพย์สินระหว่างสมรส: สิทธิเรียกคืนทรัพย์สิน
โจทก์ยกบ้านพิพาทให้จำเลยในระหว่างสมรส เป็นนิติกรรมสัญญาเกี่ยวกับทรัพย์สินที่โจทก์จำเลยทำไว้ต่อกันในระหว่างเป็นสามีภริยากัน ซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 1469 บัญญัติให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะบอกล้างเสียในเวลาใดที่เป็นสามีภริยากันอยู่หรือภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันขาดจากการเป็นสามีภริยากันก็ได้ ตามทางนำสืบโจทก์ไม่ปรากฏแน่ชัดว่าโจทก์บอกล้างการให้เมื่อใด แต่เมื่อโจทก์ยื่นฟ้องหย่าและขอให้เพิกถอนการให้บ้านพิพาท ให้จำเลยคืนบ้านพิพาทแก่โจทก์ ถือได้ว่าเป็นการแสดงเจตนาบอกล้างในขณะที่ยังเป็นสามีภริยากันอยู่ สัญญาจึงไม่มีผลบังคับอีกต่อไป โจทก์มีสิทธิเรียกคืนบ้านพิพาทจากจำเลยได้โดยไม่จำต้องคำนึงว่าข้อเท็จจริงจะฟังได้หรือไม่ได้ว่าจำเลยประพฤติเนรคุณโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 285/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระภาษีเงินได้ที่ทดรองจ่ายแทนลูกจ้างที่ลาออก และสิทธิในการเรียกคืนจากลูกจ้าง
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 45 วรรคหนึ่ง ให้อำนาจศาลแรงงานไว้โดยเฉพาะที่จะเรียกพยานหลักฐานใด ๆ มาสืบและรับฟังพยานหลักฐานใด ๆ ที่เห็นว่าจะทำให้ได้ความชัดแจ้งในข้อเท็จจริงแห่งคดี เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมแก่คู่ความ แม้โจทก์จะส่งสัญญาจ้างซึ่งเป็นเอกสารสำคัญแห่งคดีประกอบคำเบิกความพยานบุคคลของโจทก์โดยไม่ยื่นต่อศาลและไม่ส่งสำเนาให้จำเลยก่อนวันสืบพยาน เพิ่งส่งประกอบคำเบิกความของพยานบุคคลของโจทก์ในวันสืบพยาน ศาลแรงงานภาค 9 ก็มีอำนาจสั่งรับสัญญาจ้างไว้ และรับฟังเป็นพยานหลักฐานของโจทก์ได้
โจทก์เป็นผู้จ่ายเงินได้ให้แก่จำเลยซึ่งเป็นผู้มีเงินได้ โจทก์มิได้หักและนำเงินส่งหรือได้หักและนำเงินส่งแล้วแต่ไม่ครบจำนวนที่ถูกต้องซึ่งโจทก์จะต้องรับผิดร่วมกับจำเลยในการเสียภาษีที่ต้องชำระตามจำนวนที่มิได้หักและนำส่งหรือตามจำนวนที่ขาดไปแล้ว การที่โจทก์ชำระภาษีเงินได้ส่วนที่ขาดไปเพื่อปลดเปลื้องความรับผิดของโจทก์ที่ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยด้วยจึงมิได้เป็นการกระทำไปโดยปราศจากอำนาจ แม้ในขณะที่โจทก์ชำระภาษีเงินได้ส่วนที่ขาด จำเลยจะลาออกจากงานแล้ว แต่ความรับผิดในการเสียภาษีเงินได้เกิดขึ้นตั้งแต่ขณะที่จำเลยยังมิได้ลาออกจากงาน การที่จำเลยลาออกจากงานและมิได้เป็นลูกจ้างของโจทก์แล้วจึงไม่ทำให้ความรับผิดในการเสียภาษีเงินได้ของจำเลยที่ยังขาดจำนวนอยู่ระงับไปด้วย โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องเรียกค่าภาษีเงินได้ที่โจทก์จ่ายแทนจำเลยไปจากจำเลยได้
ป.รัษฎากร มาตรา 63 ไม่ประสงค์จะให้ผู้มีเงินได้พิพาทหรือโต้แย้งกับผู้จ่ายเงินได้ที่หักภาษีเงินได้ไว้และนำส่งแล้วอันอาจเกิดอุปสรรคในการจัดเก็บภาษีเงินได้ แม้โจทก์จะตรวจสอบพบในภายหลังว่า โจทก์มิได้หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายไว้หรือหักไว้ไม่ครบถ้วนตามวิธีที่ ป.รัษฎากรกำหนด และโจทก์ทดรองเงินของตนนำส่งให้กรมสรรพากรแทนจำเลยไป หากจำเลยเห็นว่าจำนวนเงินที่นำส่งเกินกว่าจำนวนภาษีเงินได้ที่จำเลยควรต้องเสีย จำเลยก็ชอบที่จะดำเนินการขอคืนจากกรมสรรพากรตามมาตรา 63 เช่นกัน จะอ้างว่าโจทก์มิได้หักไว้ก่อนและโจทก์จ่ายเกินจำนวนไปเอง จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ในจำนวนที่โจทก์ทดรองจ่ายแทนไปไม่ได้
โจทก์เป็นผู้จ่ายเงินได้ให้แก่จำเลยซึ่งเป็นผู้มีเงินได้ โจทก์มิได้หักและนำเงินส่งหรือได้หักและนำเงินส่งแล้วแต่ไม่ครบจำนวนที่ถูกต้องซึ่งโจทก์จะต้องรับผิดร่วมกับจำเลยในการเสียภาษีที่ต้องชำระตามจำนวนที่มิได้หักและนำส่งหรือตามจำนวนที่ขาดไปแล้ว การที่โจทก์ชำระภาษีเงินได้ส่วนที่ขาดไปเพื่อปลดเปลื้องความรับผิดของโจทก์ที่ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยด้วยจึงมิได้เป็นการกระทำไปโดยปราศจากอำนาจ แม้ในขณะที่โจทก์ชำระภาษีเงินได้ส่วนที่ขาด จำเลยจะลาออกจากงานแล้ว แต่ความรับผิดในการเสียภาษีเงินได้เกิดขึ้นตั้งแต่ขณะที่จำเลยยังมิได้ลาออกจากงาน การที่จำเลยลาออกจากงานและมิได้เป็นลูกจ้างของโจทก์แล้วจึงไม่ทำให้ความรับผิดในการเสียภาษีเงินได้ของจำเลยที่ยังขาดจำนวนอยู่ระงับไปด้วย โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องเรียกค่าภาษีเงินได้ที่โจทก์จ่ายแทนจำเลยไปจากจำเลยได้
ป.รัษฎากร มาตรา 63 ไม่ประสงค์จะให้ผู้มีเงินได้พิพาทหรือโต้แย้งกับผู้จ่ายเงินได้ที่หักภาษีเงินได้ไว้และนำส่งแล้วอันอาจเกิดอุปสรรคในการจัดเก็บภาษีเงินได้ แม้โจทก์จะตรวจสอบพบในภายหลังว่า โจทก์มิได้หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายไว้หรือหักไว้ไม่ครบถ้วนตามวิธีที่ ป.รัษฎากรกำหนด และโจทก์ทดรองเงินของตนนำส่งให้กรมสรรพากรแทนจำเลยไป หากจำเลยเห็นว่าจำนวนเงินที่นำส่งเกินกว่าจำนวนภาษีเงินได้ที่จำเลยควรต้องเสีย จำเลยก็ชอบที่จะดำเนินการขอคืนจากกรมสรรพากรตามมาตรา 63 เช่นกัน จะอ้างว่าโจทก์มิได้หักไว้ก่อนและโจทก์จ่ายเกินจำนวนไปเอง จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ในจำนวนที่โจทก์ทดรองจ่ายแทนไปไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2040/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการติดตามทรัพย์สินคืนจากผู้เบิกจ่ายเกินสิทธิ ไม่มีอายุความ การฟ้องเรียกทรัพย์สินคืนไม่ใช่ลาภมิควรได้
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยคืนหรือใช้เงินค่าเช่าบ้านที่จำเลยเบิกไปโดยไม่มีสิทธิเบิกได้ จึงเป็นเรื่องที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของทรัพย์สินฟ้องเรียกทรัพย์สินที่จำเลยได้เบิกไปโดยมิชอบซึ่งโจทก์ในฐานะเจ้าของทรัพย์สินย่อมมีสิทธิติดตามเอาคืนได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 ซึ่งไม่มีกำหนดอายุความ กรณีมิใช่ฟ้องเรียกให้คืนทรัพย์ตามลักษณะลาภมิควรได้ จึงนำอายุความตามมาตรา 419 มาใช้บังคับไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4487/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักภาษีจากการขายทอดตลาดทรัพย์บังคับคดี: ผู้ซื้อมีสิทธิเรียกคืนภาษีที่ทดรองจ่ายได้
ในการรับจดทะเบียนโอนอสังหาริมทรัพย์ ประมวลรัษฎากร มาตรา 50 (5) บัญญัติให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8) เฉพาะที่จ่ายให้แก่ผู้รับซึ่งขายอสังหาริมทรัพย์ให้หักภาษีเงินได้ไว้และมาตรา 52 วรรคสอง ให้ผู้มีหน้าที่หักภาษีนำส่งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในขณะที่มีการจดทะเบียนและห้ามพนักงานเจ้าหน้าที่ลงนามรับรู้ ยอมให้ทำหรือบันทึกไว้จนกว่าจะได้รับเงินภาษีที่นำส่งไว้ครบถ้วนถูกต้องแล้ว ผู้ซื้อทรัพย์เป็นผู้จ่ายเงินได้จากการขายทอดตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่ยึดมาจากจำเลย จึงมีหน้าที่หักภาษีเงินได้ดังกล่าวซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8) และ 50 (5) ก่อนที่จะจ่ายให้โจทก์รับไปเมื่อผู้ซื้อทรัพย์ไปขอจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์อสังหาริมทรัพย์ที่ซื้อได้จากการขายทอดตลาด แต่ผู้ซื้อทรัพย์ไม่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้ดังกล่าว ผู้ซื้อทรัพย์จึงมีสิทธิที่จะเรียกคืนเงินภาษีที่ได้ทดรองจ่ายไปคืนจากเจ้าพนักงานบังคับคดี