พบผลลัพธ์ทั้งหมด 138 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1808/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิโจทก์ถอนฟ้องคดีอาญาความผิดต่อส่วนตัวก่อนคดีถึงที่สุดได้ หากจำเลยไม่คัดค้าน
คดีอาญาความผิดต่อส่วนตัวโจทก์จะถอนฟ้องในเวลาใด ก่อนคดีถึงที่สุดก็ได้ เมื่อจำเลยไม่คัดค้าน และศาลอนุญาตให้ถอนฟ้องสิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39(2).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 548/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวการไม่เปิดเผยชื่อ การอายัดสิทธิเรียกร้อง และผลกระทบต่อบุคคลภายนอก
การที่ผู้ร้องใช้ชื่อของจำเลยที่ 1 เข้าประมูลงานก่อสร้างกับทางราชการ ประมูลได้แล้วผู้ร้องได้ดำเนินการแต่ผู้เดียวแม้กิจการรับเหมาก่อสร้างดังกล่าวเป็นของผู้ร้อง โดยจำเลยที่ 1เป็นเพียงตัวแทนผู้ร้องก็ตาม แต่ก็เป็นเรื่องผู้ร้องซึ่งเป็นตัวการไม่เปิดเผยชื่อ ยอมให้จำเลยที่ 1 ตัวแทนทำการออกนอกหน้าเป็นตัวการผู้ร้องจึงไม่อาจทำให้เสื่อมเสียถึงสิทธิของโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกที่มีต่อจำเลยที่ 1 และขวนขวายได้สิทธิมาก่อนที่จะรู้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของผู้ร้อง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 806 ดังนั้น ผู้ร้องจะร้องขัดทรัพย์ขอให้เพิกถอนการอายัดสิทธิเรียกร้องค่าก่อสร้างของจำเลยที่ 1 อันมีต่อทางราชการซึ่งศาลมีคำสั่งอายัดตามคำขอของโจทก์หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3515/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักกลบลบหนี้และการรับผิดชอบหนี้ร่วม การบังคับคดีและการใช้สิทธิของโจทก์
การขอหักกลบลบหนี้เป็นสิทธิของโจทก์ เมื่อโจทก์ไม่แสดงเจตนาขอหักกลบลบหนี้กับจำเลยที่ 1 จำเลยอื่นซึ่งต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดในหนี้เต็มจำนวน ส่วนเงินประกันของจำเลยที่ 1 ที่โจทก์ยึดครองอยู่เป็นเรื่องที่ต้องปฏิบัติในชั้นบังคับคดี.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2256/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินและภาระจำยอม: สิทธิของโจทก์ในการฟ้องบังคับให้จดทะเบียนภาระจำยอมแม้มีการโอนที่ดิน
โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 4 และจำเลยที่ 1 ต่างลงชื่อในบันทึกข้อตกลงว่าเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันในที่ดินแปลงใหญ่ และได้มาจดทะเบียนแบ่งกรรมสิทธิ์รวมออกจากกันเป็นคนละ 1 แปลง แต่ยังไม่ได้จดภาระจำยอมทางเดินเข้าออกเนื่องจากยังไม่มีโฉนดทุกคนทราบว่าทางเดินกว้าง 6 เมตร และจะมาจดภาระจำยอมเรื่องทางเดินผ่านเมื่อได้รับโฉนดที่แบ่งแยกใหม่แล้ว ดังนี้ เมื่อทุกคนต่างได้รับโฉนดที่แบ่งแยกใหม่แล้วจึงมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามข้อตกลง แม้โจทก์ที่ 1 และที่ 2 จะขายที่ดินแปลงของตนให้โจทก์ที่ 5 และที่ 6 และโจทก์ที่ 4 จะยกที่ดินแปลงของตนให้โจทก์ที่ 7 ซึ่งเป็นเจ้าของที่แท้จริงไปแล้วก่อนฟ้อง โจทก์ทั้งเจ็ดโดยอาศัยสิทธิซึ่งกันและกันก็มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ให้ปฏิบัติตามข้อตกลงได้.
การที่จำเลยที่ 1 ยกที่ดินแปลงของตนให้แก่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ซึ่งเป็นบุตรของตนและอาศัยอยู่กับตนโดยเสน่หา ทั้งจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ได้ทราบว่าจำเลยที่ 1ต้องจดทะเบียนทางภาระจำยอมมาตั้งแต่แรก โดยไม่ปรากฏว่ามีเหตุจำเป็นที่ต้องรีบโอนให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4ก่อนจดทะเบียนภาระจำยอมเป็นพฤติการณ์ที่แสดงว่า ทั้งผู้ยกให้และผู้รับยกให้ต่างทราบดีว่าเป็นทางให้โจทก์เจ้าของที่ดินแปลงข้างในเสียเปรียบ เป็นการฉ้อฉลตามป.พ.พ. มาตรา 237 โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการยกให้ได้.
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการให้เพื่อให้ได้มาซึ่งทางภาระจำยอมเท่านั้น มิใช่ให้โอนที่ดินพิพาทมาเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ การบังคับให้เพิกถอนการให้จึงไม่จำเป็นแก่การบังคับเพื่อประโยชน์ของโจทก์ ทั้งโจทก์ก็มีคำขอให้จำเลยที่ 1 ผู้ยกให้หรือจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ผู้รับการยกให้ที่ดินพิพาทไปจดทะเบียนภาระจำยอมมาด้วย ศาลจึงพิพากษาให้เฉพาะจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ไปจดทะเบียนทางภาระจำยอมในที่ดินของตนได้โดยไม่จำต้องเพิกถอนการให้.
การที่จำเลยที่ 1 ยกที่ดินแปลงของตนให้แก่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ซึ่งเป็นบุตรของตนและอาศัยอยู่กับตนโดยเสน่หา ทั้งจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ได้ทราบว่าจำเลยที่ 1ต้องจดทะเบียนทางภาระจำยอมมาตั้งแต่แรก โดยไม่ปรากฏว่ามีเหตุจำเป็นที่ต้องรีบโอนให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4ก่อนจดทะเบียนภาระจำยอมเป็นพฤติการณ์ที่แสดงว่า ทั้งผู้ยกให้และผู้รับยกให้ต่างทราบดีว่าเป็นทางให้โจทก์เจ้าของที่ดินแปลงข้างในเสียเปรียบ เป็นการฉ้อฉลตามป.พ.พ. มาตรา 237 โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการยกให้ได้.
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการให้เพื่อให้ได้มาซึ่งทางภาระจำยอมเท่านั้น มิใช่ให้โอนที่ดินพิพาทมาเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ การบังคับให้เพิกถอนการให้จึงไม่จำเป็นแก่การบังคับเพื่อประโยชน์ของโจทก์ ทั้งโจทก์ก็มีคำขอให้จำเลยที่ 1 ผู้ยกให้หรือจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ผู้รับการยกให้ที่ดินพิพาทไปจดทะเบียนภาระจำยอมมาด้วย ศาลจึงพิพากษาให้เฉพาะจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ไปจดทะเบียนทางภาระจำยอมในที่ดินของตนได้โดยไม่จำต้องเพิกถอนการให้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4772/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีตามสัญญาค้ำประกันหลังเจ้ามรดกเสียชีวิต: สิทธิโจทก์ในการยึดทรัพย์จากกองมรดก
จำเลยอุทธรณ์พร้อมกับยื่นคำร้องขอทุเลาการบังคับคดีในส่วนแพ่ง ศาลอุทธรณ์อนุญาตให้ทุเลาการบังคับ โดยให้จำเลยหาประกันสำหรับจำนวนเงินที่ต้องชำระตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ร. ได้เข้ามาทำสัญญาค้ำประกันต่อศาลชั้นต้นมีใจความว่าเมื่อคดีถึงที่สุด หากจำเลยแพ้คดีและไม่สามารถชำระหนี้แก่โจทก์ได้ ร.ยอมให้บังคับคดีเอาจากที่ดินของ ร. แปลงที่ระบุไว้ในสัญญาค้ำประกัน ดังนี้ จึงเป็นการที่ ร.ยอมตนเข้าผูกพันค้ำประกันหนี้ของจำเลยจนกว่าคดีจะถึงที่สุด ร.จะพ้นความรับผิดก็ต่อเมื่อจำเลยกลับเป็นฝ่ายชนะคดีหรือจำเลยได้ชำระหนี้แก่โจทก์แล้วเท่านั้น ระหว่างคดียังไม่ถึงที่สุด ร.ไม่มีสิทธิที่จะบอกเลิกสัญญาค้ำประกันโดยที่โจทก์และจำเลยไม่ได้ตกลงยินยอมด้วยเพราะมิใช่เป็นการค้ำประกันเพื่อกิจการเนื่องกันไปหลายคราวไม่มีจำกัดเวลาเป็นคุณแก่เจ้าหนี้ ซึ่งผู้ค้ำประกันอาจเลิกเสียเพื่อคราวอันเป็นอนาคตได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 699 และแม้ ร.จะถึงแก่กรรมไปก่อนที่ศาลฎีกาจะพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์ก็ตาม แต่เมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้นั้น โจทก์ก็มีสิทธิบังคับเอาแก่ที่ดินอันเป็นกองมรดกของ ร.ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3144/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนฟ้องคดีผิดศาลไม่ทำให้จำเลยเสียหาย โจทก์มีสิทธิฟ้องใหม่ได้
จำเลยยื่นคำให้การตัดฟ้องว่าโจทก์ฟ้องผิดศาล การที่โจทก์ทราบภายหลังว่าฟ้องคดีผิดไปจากศาลที่ได้ตกลงไว้ในสัญญาและขอถอนคำฟ้อง นับว่าเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาเพื่อให้เป็นไปโดยถูกต้องและในกรณีฟ้องผิดศาลนั้นแม้ศาลชั้นต้นจะพิจารณาไปโดยผิดหลงแล้วมีคำพิพากษายกฟ้องเพราะคดีไม่อยู่ในเขตอำนาจศาล โจทก์อาจฟ้องจำเลยใหม่ยังศาลที่คดีนั้นอยู่ในเขตอำนาจได้อีก และแม้กำหนดอายุความในเรื่องนี้จะสิ้นไปแล้วในระหว่างพิจารณากฎหมายก็ยังขยายอายุความออกไปให้อีกระยะหนึ่งด้วยตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 176 บัญญัติไว้ การอนุญาตให้ถอนคำฟ้องจึงไม่ทำให้จำเลยเสียหาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2762/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายทอดตลาดบังคับคดี: สิทธิโจทก์ประมูล แม้ราคาต่ำกว่าจำนอง ไม่ถือเป็นโมฆะ
ได้มีการประกาศขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยรวม 9 ครั้งแล้วโดยเฉพาะในครั้งหลังสุด ทรัพย์รายการที่ 1 และที่ 2 โจทก์ผู้เข้าประมูลได้ให้ราคาสูงกว่าครั้งก่อน ๆ ทั้งจำเลยก็มิได้แถลงคัดค้าน เมื่อไม่ปรากฏว่าในการขายทอดตลาดได้มีการปฏิบัติไปในทางฝ่าฝืนกฎหมายแล้ว แม้ราคาทรัพย์ที่โจทก์ประมูลได้จะมีราคาต่ำกว่าราคาที่โจทก์รับจำนองไว้ก็หาทำให้การซื้อขายทรัพย์เป็นไปโดยมิชอบและแม้โจทก์ชอบที่จะเอาทรัพย์จำนองหลุดเป็นสิทธิ แต่ก็เป็นสิทธิของโจทก์ที่จะเข้าสู้ราคาด้วยตนเองได้ หามีบทบัญญัติแห่งกฎหมายห้ามไว้แต่ประการใดไม่.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2922/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกกล่าวบังคับจำนองและการละเลยไม่ปฏิบัติตามคำบอกกล่าว การส่งหลักฐานหนี้เป็นสิทธิของโจทก์
ก่อนฟ้องบังคับจำนอง โจทก์ผู้รับจำนองมีหนังสือบอกกล่าวบังคับจำนองไปถึงจำเลยผู้จำนองแล้ว เมื่อจำเลยได้รับหนังสือทวงถามและบอกกล่าวบังคับจำนองได้ขอให้โจทก์ส่งหลักฐานการเป็นหนี้ไปให้จำเลย โจทก์จะส่งหลักฐานดังกล่าวให้จำเลยหรือไม่ย่อมเป็นสิทธิของโจทก์ การที่จำเลยไม่ชำระหนี้ภายในกำหนดเวลาตามคำบอกกล่าวจึงถือได้ว่าจำเลยละเลยเสียไม่ปฏิบัติตามคำบอกกล่าว ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 728 แล้วโจทก์มีอำนาจฟ้องบังคับจำนองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1686/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำบังคับคดีไม่ถูกต้องแก้ไขได้ โจทก์มีสิทธิขอออกคำบังคับใหม่ให้ถูกต้องตามคำพิพากษา
คำสั่งศาลเกี่ยวกับการบังคับคดี เช่นการออกคำบังคับ หากออกไปโดยไม่ถูกต้องตามคำพิพากษาย่อมแก้ไขใหม่ให้ถูกต้องได้ เพื่อให้เป็นไปตามคำพิพากษา และการแก้ไขนี้มิใช่เป็นการแก้ไขคำพิพากษาโจทก์จึงมีสิทธิขอให้ออกคำบังคับใหม่ หรือแก้ไขให้ถูกต้องได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1516/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการยึดเงินที่จำเลยจำนำไว้ชำระหนี้ของโจทก์ แม้มีหนี้ข้อพิพาทระหว่างจำเลยกับผู้ร้อง
โจทก์ฟ้องจำเลยให้ชำระหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีโจทก์และจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน ต่อมาจำเลยผิดนัดชำระหนี้ โจทก์ยื่นคำร้องว่ามีเงินของจำเลยที่ขายถั่ว แขกดำได้โดยจำเลยได้จำนำผู้ร้องไว้บางส่วน ซึ่งผู้ร้องมีสิทธิได้รับชำระหนี้ได้ส่วนที่เหลือผู้ร้องไม่มีสิทธิใด ๆ ที่จะยึดหน่วงได้ ผู้ร้องแถลงว่าเงินจำนวนดังกล่าวได้นำไปหักกลบลบหนี้ที่จำเลยเป็นหนี้ผู้ร้องแล้วส่วนหนี้ที่เหลือ คดียังอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาล ดังนี้ เมื่อได้ความว่า เงินที่ขายถั่ว แขกดำของจำเลยในส่วนที่เหลือจากที่จำเลยได้จำนำผู้ร้อง และศาลอนุญาตให้ผู้ร้องนำเงินจำนวนนี้ไปเก็บรักษาไว้เงินจำนวนนี้จึงยังเป็นเงินของจำเลยที่ผู้ร้องเก็บรักษาไว้แทนศาลการที่ผู้ร้องนำไปหักชำระหนี้ที่จำเลยเป็นหนี้ผู้ร้อง มิได้เป็นการหักกลบลบหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 341 เพราะเงินจำนวนนี้มิใช่หนี้ที่ถือได้ว่าจำเลยเป็นลูกหนี้ผู้ร้อง และหนี้ที่ผู้ร้องอ้างว่าจำเลยเป็นหนี้ผู้ร้องนั้นก็ยังฟ้องร้องกันที่ศาล เป็นหนี้ที่มีข้อต่อสู้อยู่ จึงไม่เป็นกรณีที่จะหักกลบลบหนี้ได้ ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธินำไปหักชำระหนี้แก่ผู้ร้องได้ เมื่อเงินจำนวนนี้ยังเป็นของจำเลย โจทก์ย่อมมีสิทธิให้ศาลยึดมาชำระหนี้ตามคำพิพากษาให้โจทก์ได้.