คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สินค้า

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 242 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6441/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้เครื่องหมายการค้าที่คล้ายกันจนก่อให้เกิดความสับสนและความเข้าใจผิดของผู้บริโภค
เครื่องหมายการค้าของโจทก์มีจุดเด่นอยู่ที่คำว่า AngelFace ซึ่งอ่านได้เป็น 3 พยางค์ เช่นเดียวกับเครื่องหมายการค้าของจำเลยคำว่าAlla Puff ซึ่งอ่านได้เป็น 3 พยางค์เช่นกัน ส่วนคำว่า POND'S ของโจทก์กับคำว่า DUBARRY ของจำเลยเป็นตัวอักษรขนาดเล็กกว่าคำทั้งสองดังกล่าวและไม่เป็นจุดเด่นของเครื่องหมายการค้าทั้งสอง อักษรโรมัน A ตัวแรกในคำว่าAlla ของจำเลยมีลักษณะการเขียนเหมือนกับอักษรโรมัน A ตัวแรกของคำว่าAngel ของโจทก์ และอักษรโรมันตัว P ในคำว่า Puff ของจำเลยก็คล้ายอักษรโรมันตัว F ในคำว่า Face ของโจทก์ ลักษณะการเขียนของตัวอักษรคำว่าAlla Puff และคำว่า Angel Face ก็คล้ายคลึงโดยลากเส้นตรงของตัวอักษรP และ F ยาวลงมาด้านล่างเหมือนกันและตัวอักษรมีขนาดเท่ากัน การวางตำแหน่งคำว่า DUBARRY เหนือคำว่า Alla Puff ก็อยู่ในตำแหน่งเดียวกับคำว่าPOND'S ซึ่งอยู่เหนือคำว่า Angel Face นอกจากนี้เครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยยังใช้กับสินค้าชนิดเดียวกัน ตลับแป้งของจำเลยมีขนาดเท่ากับตลับแป้งของโจทก์ รูปร่าง ลักษณะของตัวตลับแป้ง และฝาก็เหมือนกัน สีของตลับแป้งของจำเลยก็มีสีแดงเช่นเดียวกับตลับแป้งของโจทก์ ตัวอักษรโรมันที่ตลับแป้งก็ใช้สีทองเช่นเดียวกัน ผู้บริโภคหากมิได้สังเกตย่อมเกิดความสับสนและซื้อสินค้าผิดจากความประสงค์ได้ ดังนี้ เครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงคล้ายกับเครื่องหมาย-การค้าของโจทก์จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนให้สับสนหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6316/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเมิดเครื่องหมายการค้า: การเลียนแบบที่ทำให้เกิดความสับสน
ฎีกาของจำเลยทั้งสองมิได้โต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่า คำพิพากษาศาลอุทธรณ์วินิจฉัยไม่ถูกต้องด้วยเหตุใด คงกล่าวอ้างแต่เพียงว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยทั้งสองมีลักษณะแตกต่างกันเห็นได้ชัดเจนเท่านั้น จะแตกต่างกันส่วนไหน อย่างไร จึงเห็นได้ชัดเจนไม่ได้ระบุไว้ ดังนี้ถือไม่ได้ว่าเป็นการกล่าวอ้างข้อเท็จจริงโดยชัดแจ้งในฎีกา เป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคแรก ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์จดทะเบียนและใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า "BEE BYFARRIS" และรูปหัวคนอินเดียนแดงกับกางเกงยีนของโจทก์มาตั้งแต่ปี 2525 จำเลยที่ 2 มีอาชีพขายเสื้อผ้ามานานถึงประมาณ 50 ปี ย่อมทราบว่าโจทก์ได้ใช้เครื่องหมาย-การค้าของโจทก์มาก่อน จำเลยทั้งสองนำเอาเครื่องหมายการค้าของโจทก์มาทำการดัดแปลงใช้กับสินค้าประเภทกางเกงยีนเช่นเดียวกับโจทก์ จำเลยที่ 2 มิได้คิดประดิษฐ์เครื่องหมายการค้าดังกล่าวของตนขึ้นเอง จำเลยทั้งสองใช้เครื่องหมายการค้ากับสินค้ากางเกงยีนในลักษณะเป็นตราสลากติดกับสินค้าเช่นเดียวกันกับการใช้เครื่องหมาย-การค้าของโจทก์ แม้จะมีลักษณะของตัวอักษรคำว่า "Lee man" กับคำว่า "BEE BYFARRIS" กำกับอยู่แตกต่างกัน แต่คำว่า "Lee" ในเครื่องหมายการค้าของจำเลยกับคำว่า "BEE" ในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่จดทะเบียนไว้แล้ว ประกอบด้วยตัวอักษรเกือบเหมือนกันทุกตัว แตกต่างกันเฉพาะตัวอักษรตัวแรกระหว่าง L กับ Bเท่านั้น เครื่องหมายทั้งสองอาจเรียกขานได้ว่า ตราศีรษะอินเดียนแดงเหมือนกันเมื่อใช้กับสินค้ากางเกงยีนเช่นเดียวกัน ย่อมแสดงให้เห็นว่าจำเลยทั้งสองจงใจเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์เพื่อให้ผู้อื่นหลงเชื่อว่าสินค้าของจำเลยทั้งสองเป็นสินค้า /สินค้าของโจทก์ การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นการละเมิดสิทธิในเครื่องหมาย-การค้าของโจทก์
เมื่อจำเลยทั้งสองได้ทำละเมิดต่อโจทก์และโจทก์ได้รับความเสียหาย แม้โจทก์นำสืบว่าความเสียหายของโจทก์มีมากน้อยเพียงใดไม่ได้แต่ศาลก็มีอำนาจกำหนดค่าสินไหมทดแทนให้ตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6035/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้อง, การซื้อขายสินค้าเคมีภัณฑ์, และฟ้องแย้งที่มีเงื่อนไข
ข.ผู้รับมอบอำนาจช่วงของโจทก์เบิกความว่า โจทก์เป็นนิติ-บุคคลจดทะเบียนตามกฎหมายประเทศอังกฤษ โจทก์มอบอำนาจให้ ส.ฟ้องคดีนี้ได้ในประเทศไทย กับให้อำนาจ ส.มอบอำนาจช่วงได้ และ ส.มอบอำนาจให้ทนายฟ้องคดีนี้แทน โดยโจทก์มีเอกสารที่มีข้อความตรงตามที่ ช.พยานเบิกความทุกประการ ซึ่งเอกสารฉบับนี้มีโนตารีปับลิกและเลขานุการสถานเอกอัครราชทูตไทย-ประจำกรุงลอนดอนลงลายมือชื่อรับรอง จำเลยไม่ได้นำสืบให้เห็นเป็นอย่างอื่น จึงฟังได้ว่า โจทก์มีอำนาจฟ้อง กรณีไม่จำเป็นต้องนำเจ้าหน้าที่ของสถานเอกอัครราชทูต-ไทยประจำกรุงลอนดอนหรือผู้ทำเอกสารดังกล่าวมาสืบประกอบ
โจทก์และจำเลยซื้อสินค้าเคมีภัณฑ์เหลวชนิดเดียวกัน เป็นการซื้อขายโดยกำหนดจำนวนหรือปริมาณและราคาของทรัพย์สินที่ซื้อขายกันแน่นอน โดยไม่ต้องหมาย หรือนับ ชั่ง ตวง วัด หรือคัดเลือก เพื่อให้บ่งตัวทรัพย์สินนั้นออกเป็นแน่นอนอีก ทั้งสินค้าดังกล่าวได้บรรทุกมาในเรือลำเดียวกัน เที่ยวเดียวกัน และบรรจุในแท็งก์เดียวกันด้วย ถือว่าเป็นการซื้อขายเสร็จเด็ดขาด กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ซื้อขายย่อมโอนไปยังผู้ซื้อตั้งแต่ขณะเมื่อได้ทำสัญญาซื้อขายกันแล้วตามป.พ.พ. มาตรา 458 เมื่อจำเลยรับสินค้าเคมีภัณฑ์ซึ่งเป็นของโจทก์เกินไปจำเลยต้องคืนให้แก่โจทก์
ศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยถึงเรื่องที่จำเลยฎีกาเลย การที่จำเลยฎีกาเรื่องดังกล่าวโดยไม่ได้โต้แย้งคัดค้านว่า ที่ศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยเรื่องที่จำเลยฎีกาดังกล่าวไม่ชอบเพราะเหตุใด ฎีกาของจำเลยจึงเป็นฎีกาที่มิได้ยกข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายขึ้นอ้างอิงไว้โดยชัดแจ้งไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
โจทก์ฟ้องให้จำเลยชำระราคาสินค้าพิพาทที่จำเลยเอาไปจากโจทก์โดยละเมิด โจทก์จึงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่จะต้องใช้ คิดตั้งแต่เวลาอันเป็นฐานที่ตั้งแห่งการประมาณราคานั้นได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 440
ฟ้องแย้งของจำเลยเป็นคำฟ้องที่ขอให้บังคับโจทก์ชำระค่าภาษีและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ แก่จำเลยก็ต่อเมื่อศาลพิพากษาให้จำเลยคืนสินค้าพิพาทแก่โจทก์แล้ว การที่จำเลยจะต้องคืนสินค้าพิพาทให้แก่โจทก์หรือไม่ ยังไม่เป็นที่แน่นอนโดยจะต้องรอจนศาลพิพากษาให้จำเลยคืนสินค้าพิพาทแก่โจทก์ตามฟ้องเดิมเสียก่อน จึงเป็นฟ้องแย้งที่มีเงื่อนไข ไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิมพอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสาม และ 189วรรคสุดท้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6035/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายสินค้า กรรมสิทธิ์โอนเมื่อทำสัญญา, การคืนสินค้าที่รับเกิน, และดอกเบี้ยจากราคาสินค้า
ข.ผู้รับมอบอำนาจช่วงของโจทก์เบิกความว่า โจทก์เป็นนิติบุคคลจดทะเบียนตามกฎหมายประเทศอังกฤษ โจทก์มอบอำนาจให้ส.ฟ้องคดีนี้ได้ในประเทศไทยกับให้อำนาจส. มอบอำนาจช่วงได้ และ ส. มอบอำนาจให้ทนายฟ้องคดีนี้แทน โดยโจทก์มีเอกสารที่มีข้อความตรงตามที่ ช. พยานเบิกความทุกประการซึ่งเอกสารฉบับนี้มีโนตารีปับลิกและเลขานุการสถานเอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงลอนดอนลงลายมือชื่อรับรอง จำเลยไม่ได้นำสืบให้เห็นเป็นอย่างอื่น จึงฟังได้ว่า โจทก์มีอำนาจฟ้อง กรณีไม่จำเป็นต้องนำเจ้าหน้าที่ของสถานเอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงลอนดอนหรือผู้ทำเอกสารดังกล่าวมาสืบประกอบ โจทก์และจำเลยซื้อสินค้าเคมีภัณฑ์เหลวชนิดเดียวกัน เป็นการซื้อขายโดยกำหนดจำนวนหรือปริมาณและราคาของทรัพย์สินที่ซื้อขายกันแน่นอน โดยไม่ต้องหมาย หรือนับ ชั่ง ตวง วัด หรือคัดเลือกเพื่อให้บ่งตัวทรัพย์สินนั้นออกเป็นแน่นอนอีก ทั้งสินค้าดังกล่าวได้บรรทุกมาในเรือลำเดียวกัน เที่ยวเดียวกัน และบรรจุในแท็งก์เดียวกันด้วย ถือว่าเป็นการซื้อขายเสร็จเด็ดขาด กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ซื้อขายย่อมโอนไปยังผู้ซื้อตั้งแต่ขณะเมื่อได้ทำสัญญาซื้อขายกันแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 458 เมื่อจำเลยรับสินค้าเคมีภัณฑ์ซึ่งเป็นของโจทก์เกินไปจำเลยต้องคืนให้แก่โจทก์ ศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยถึงเรื่องที่จำเลยฎีกาเลย การที่จำเลยฎีกาเรื่องดังกล่าวโดยไม่ได้โต้แย้งคัดค้านว่า ที่ศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยเรื่องที่จำเลยฎีกาดังกล่าวไม่ชอบเพราะเหตุใดฎีกาของจำเลยจึงเป็นฎีกาที่มิได้ยกข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายขึ้นอ้างอิงไว้โดยชัดแจ้งไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง โจทก์ฟ้องให้จำเลยชำระราคาสินค้าพิพาทที่จำเลยเอาไปจากโจทก์โดยละเมิด โจทก์จึงมีสิทธิ เรียกดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่จะต้องใช้ คิดตั้งแต่เวลาอันเป็นฐานที่ตั้งแห่งการประมาณราคานั้นได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 440 ฟ้องแย้งของจำเลยเป็นคำฟ้องที่ขอให้บังคับโจทก์ชำระค่าภาษีและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ แก่จำเลยก็ต่อเมื่อศาลพิพากษาให้จำเลยคืนสินค้าพิพาทแก่โจทก์แล้ว การที่จำเลยจะต้องคืนสินค้าพิพาทให้แก่โจทก์หรือไม่ ยังไม่เป็นที่แน่นอนโดยจะต้องรอจนศาลพิพากษาให้จำเลยคืนสินค้าพิพาทแก่โจทก์ตามฟ้องเดิมเสียก่อนจึงเป็นฟ้องแย้งที่มีเงื่อนไข ไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิมพอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสาม และ179 วรรคสุดท้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5866/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีชำรุดบกพร่องสินค้า: นับแต่วันพบความชำรุด ไม่ใช่วันส่งมอบ
สัญญาซื้อขายเยื่อใยสั้นฟอกขาวซัลเฟต ชานอ้อย ข้อ 1 ข้อ 2และข้อ 4 ได้ระบุไว้ชัดแจ้งว่า ผู้ซื้อตกลงซื้อและผู้ขายตกลงขายสินค้าดังกล่าวมีรายการคุณภาพตามสัญญาข้อ 1.1 โดยผู้ขายรับรองว่าเยื่อใยสั้นฟอกขาวซัลเฟต ชานอ้อยที่ขายให้ผู้ซื้อมีคุณภาพไม่ต่ำกว่าที่กำหนดไว้ และเมื่อทำการตรวจสอบต้องมีคุณภาพไม่ต่ำกว่าที่กำหนดไว้ด้วย การตรวจสอบจะต้องให้ผู้ตรวจสอบในต่างประเทศทำการตรวจสอบและออกใบรับรองให้เป็นไปตามที่ตกลงซื้อขายกันเสียก่อนจึงจะส่งลงเรือได้ และผู้ซื้อจะให้สถาบันตรวจสอบวิเคราะห์ของทางราชการทำการตรวจสอบหรือวิเคราะห์คุณภาพ โดยให้ถือว่าผลการตรวจสอบหรือวิเคราะห์คุณภาพของสถาบันนี้เป็นที่สุด ถ้าเยื่อใยสั้นฟอกขาวซัลเฟต ชานอ้อยที่วิเคราะห์แล้วไม่เป็นไปตามรายการคุณภาพตามสัญญาข้อ 1.1 ผู้ซื้อจะรับไว้ทั้งหมดหรือไม่รับทั้งหมดหรือจะรับไว้เป็นบางส่วนก็ได้ ถ้าผู้ซื้อรับไว้ทั้งหมดหรือรับไว้เป็นบางส่วนก็ดี ผู้ซื้อจะลดราคาตามส่วนคุณภาพที่ด้อยลง ข้อสัญญานี้เป็นเรื่องความรับผิดเกี่ยวกับความชำรุดบกพร่องของสินค้าที่ซื้อขาย โจทก์กล่าวในฟ้องยืนยันว่า จำเลยกระทำผิดข้อสัญญาโดยส่งมอบเยื่อใยสั้นฟอกขาวซัลเฟตชานอ้อยให้แก่โจทก์ แต่รายการคุณภาพความยาวเมื่อขาดหน่วยเป็นเมตรต่ำกว่าที่กำหนดไว้5,000 เมตร เป็น 4,180 เมตร การด้อยคุณภาพของเยื่อใยสั้นฟอกขาวซัลเฟตชานอ้อยดังกล่าว ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการนำเยื่อใยยาวมาผสมเพิ่มขึ้นให้ได้มาตรฐานคิดเป็นจำนวน 276,083.58 บาท ขอให้บังคับจำเลยในฐานะผู้ขายรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ตามคำฟ้องแสดงชัดว่าโจทก์ฟ้องตามข้อสัญญาเรื่องความรับผิดเกี่ยวกับความชำรุดบกพร่องของสินค้าที่ซื้อขายเพียงอย่างเดียว ไม่ได้ฟ้องบังคับตามข้อสัญญาในเรื่องอื่น อีกทั้งตามสัญญาข้อ 7 และข้อ 8 ซึ่งเป็นกรณีที่ผู้ขายผิดสัญญา อันมีผลทำให้ผู้ซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญาหรือมีสิทธิเรียกเบี้ยปรับต่อกัน ก็มิได้กล่าวให้มีผลบังคับถึงสัญญาข้อ 4 ในเรื่องความรับผิดเกี่ยวกับความชำรุดบกพร่องของสินค้าที่ซื้อขายแต่อย่างใด กรณีตามฟ้องจึงเป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดฐานส่งมอบสินค้าที่ชำรุดบกพร่องให้โจทก์ไม่ใช่ฟ้องให้รับผิดฐานผิดสัญญาซื้อขายจึงต้องห้ามมิให้ฟ้องคดีเมื่อพ้นเวลาปีหนึ่งนับแต่เวลาที่ได้พบเห็นความชำรุดบกพร่องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 474

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5849/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขนส่งทอดสุดท้ายในความเสียหายของสินค้า
นอกจากจำเลยจะปฏิบัติหน้าที่ทางเอกสารที่เกี่ยวข้องกับหน่วยราชการต่าง ๆ แทนบริษัทผู้ขนส่งที่อยู่ต่างประเทศแล้ว จำเลยยังเป็นผู้จัดการในการขนถ่ายสินค้าจากเรือใหญ่ลงเรือฉลอมแล้วนำเข้ามาที่โรงพักสินค้าเพื่อส่งมอบให้ผู้ซื้อสินค้าซึ่งเป็นผู้รับตราส่งอีกด้วย เข้าลักษณะร่วมขนส่งเพื่อให้สินค้าถึงมือผู้ซื้อในการขนส่งช่วงสุดท้าย จำเลยจึงเป็นผู้ขนส่งทอดสุดท้ายซึ่งต้องร่วมรับผิดในความเสียหายของสินค้าด้วย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 618 ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งกับการรับขนของทางทะเลในขณะเกิดข้อพิพาท ทั้งนี้ไม่ว่าความเสียหายจะเกิดขึ้นตอนใดในระหว่างการขนส่งและจำเลยจะได้เป็นผู้ทำให้เกิดความเสียหายนั้นหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5849/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ขนส่งทอดสุดท้ายร่วมรับผิดชอบความเสียหายสินค้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 618
นอกจากจำเลยจะปฏิบัติหน้าที่ทางเอกสารที่เกี่ยวข้องกับหน่วยราชการต่าง ๆ แทนบริษัทผู้ขนส่งที่อยู่ต่างประเทศแล้ว จำเลยยังเป็นผู้จัดการในการขนถ่ายสินค้าจากเรือใหญ่ลงเรือฉลอมแล้วนำเข้ามาที่โรงพักสินค้าเพื่อส่งมอบให้ผู้ซื้อสินค้าซึ่งเป็นผู้รับตราส่งอีกด้วย เข้าลักษณะร่วมขนส่งเพื่อให้สินค้าถึงมือผู้ซื้อในการขนส่งช่วงสุดท้าย จำเลยจึงเป็นผู้ขนส่งทอดสุดท้ายซึ่งต้องร่วมรับผิดในความเสียหายของสินค้าด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 618 ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งกับการรับขนของทางทะเลในขณะเกิดข้อพิพาททั้งนี้ไม่ว่าความเสียหายจะเกิดขึ้นตอนใดระหว่างการขนส่งและจำเลยจะได้เป็นผู้ทำให้เกิดความเสียหายนั้นหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5492/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรักษาความปลอดภัยสินค้าฝากเก็บและการไม่ต้องรับผิดในฐานผู้ฝากเก็บ
คดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท ที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยมีมาตรการรักษาความปลอดภัยให้แก่สินค้าที่รับฝากไว้อย่างเข้มงวดเป็นการใช้ความระมัดระวังและใช้ฝีมือสงวนทรัพย์สินเหมือนเช่นวิญญูชนจะพึงประพฤติโดยพฤติการณ์เช่นนั้นจึงไม่ต้องรับผิด เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงอันต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4880/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีละเมิดจากการจัดการสหกรณ์ที่บกพร่องทำให้เกิดความเสียหายต่อสินค้าคงเหลือ
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นนายทะเบียนสหกรณ์ตามกฎหมาย มีอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2511 จำเลยที่ 1 ถึงที่ 7เป็นคณะกรรมการดำเนินการของร้านสหกรณ์ ร. จำเลยที่ 8เป็นผู้จัดการร้านสหกรณ์ ร. จำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 ได้ประชุมกรรมการและเลิกจ้างจำเลยที่ 8 โดยไม่ได้จัดให้มีการตรวจสอบหลักฐานทางบัญชีและการเงิน พร้อมทั้งสินค้าคงเหลือและจัดทำงบดุลแสดงฐานะอันแท้จริงของร้านสหกรณ์ ร. การกระทำของจำเลยทั้งเจ็ดเป็นการจงใจและประมาทเป็นเหตุให้โจทก์เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินสินค้าขาดบัญชีโดยความเสียหายดังกล่าวเกิดขึ้นเพราะจำเลยที่ 8ไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่ตามระเบียบข้อบังคับของโจทก์ จำเลยทั้งแปดต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ ขอให้บังคับจำเลยทั้งแปดร่วมกันหรือแทนกันชำระเงินค่าสินค้าที่ขาดบัญชี เช่นนี้ เป็นการฟ้องในมูลละเมิดที่กระทำต่อร้านสหกรณ์ ร. แม้ฟ้องโจทก์จะใช้ถ้อยคำว่าให้จำเลยชำระค่าสินค้าที่ขาดบัญชี ก็มิใช่กรณีฟ้องเรียกทรัพย์สินคืน อันเป็นการใช้สิทธิติดตามเอาคืนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336เพราะไม่ปรากฏว่าทรัพย์สินที่ขาดหายอยู่ในความครอบครองของจำเลยทุกคนโจทก์ซึ่งเป็นนายทะเบียนสหกรณ์และฟ้องคดีแทนร้านสหกรณ์จึงต้องฟ้องคดีภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448เมื่อโจทก์ยื่นฟ้องเกินหนึ่งปีแล้ว คดีจึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3890/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้ค่าทำของ: การประดิษฐ์กล่องกระดาษเพื่อบรรจุสินค้า ไม่ถือเป็นการทำเพื่ออุตสาหกรรม
คำว่า "อุตสาหกรรม" ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 165(1) เดิม หมายถึงกิจการที่มีการประดิษฐ์สิ่งของขึ้นเพื่อให้เกิดผลประโยชน์เป็นกำไร ดังที่พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ. 2525 ให้คำนิยามไว้ เมื่อกล่องกระดาษที่โจทก์ทำขึ้นนั้นจำเลยนำมาใช้สำหรับบรรจุเครื่องไฟฟ้าที่ผลิตสำเร็จแล้วกล่องกระดาษโดยลำพังคงเป็นเพียงอุปกรณ์ใช้ประจำอยู่กับสินค้าที่ผลิตเท่านั้น หาได้เป็นสินค้าที่จำเลยจำหน่ายได้ผลประโยชน์เป็นกำไรไม่ เท่ากับการประดิษฐ์กระดาษนั้นมิได้อยู่ในความหมายที่ว่าเป็นการที่ได้ทำเพื่ออุตสาหกรรมของฝ่ายลูกหนี้นั้นเองซึ่งมีอายุความ 5 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165 วรรคท้ายสิทธิเรียกร้องของโจทก์คงมีอายุความ 2 ปี
of 25