คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สินค้าสูญหาย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 80 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 994/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดร่วมของผู้ขนส่ง (ลูกหนี้ร่วม) ต่อความเสียหายของสินค้าที่สูญหาย
โจทก์จำเลยเข้าร่วมกันประกอบกิจการขนส่ง โดยจำเลยกระทำในนามและตามคำสั่งของโจทก์ ส่วนโจทก์หักค่าขนส่งบางส่วนไว้ซึ่งถือได้ว่ามีผลประโยชน์ร่วมกันในการประกอบกิจการขนส่งนั้นเมื่อสินค้าที่โจทก์จำเลยได้รับมอบหมายให้ขนส่งจากเจ้าของสินค้าผู้ส่งสูญหายไปเพราะความผิดของลูกจ้างจำเลย ทั้งโจทก์และจำเลยต้องร่วมกันรับผิดต่อเจ้าของสินค้าในฐานะเป็นผู้ขนส่งร่วมกันโดยเป็นลูกหนี้ร่วมกันและต้องรับผิดเป็นส่วนเท่า ๆ กัน
แม้โจทก์ไม่ได้ระบุในคำฟ้องให้จำเลยรับผิดในฐานะลูกหนี้ร่วมและจำเลยก็ไม่ได้ต่อสู้ในคำให้การแจ้งชัดถึงเรื่องลูกหนี้ร่วมแต่โดยสภาพแห่งข้อหาในคำฟ้องของโจทก์บ่งระบุแจ้งชัดถึงนิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยว่าเป็นเรื่องลูกหนี้ร่วมอยู่แล้ว การที่ศาลวินิจฉัยว่าโจทก์จำเลยต้องรับผิดต่อเจ้าของสินค้าอย่างลูกหนี้ร่วมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 296 จึงไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น
บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 616ประกอบกับมาตรา 438 บัญญัติไว้ชัดแจ้งว่า ผู้ขนส่งต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิดให้แก่เจ้าของสินค้าซึ่งเป็นผู้ส่งสำหรับสินค้าที่สูญหายตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งการละเมิดอยู่แล้ว ธรรมเนียมประเพณีการขนส่งที่ว่า เมื่อไม่ได้มีการตีราคาสินค้าไว้ก่อนว่าราคาเท่าใด ผู้ขนส่งไม่ควรต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายเกินหีบห่อละ 500 บาทนั้น หามีผลลบล้างบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 994/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขนส่งร่วมกัน กรณีสินค้าสูญหายจากการกระทำของลูกจ้าง
โจทก์จำเลยเข้าร่วมกันประกอบกิจการขนส่ง โดยจำเลยกระทำในนามและตามคำสั่งของโจทก์ ส่วนโจทก์หักค่าขนส่งบางส่วนไว้ซึ่งถือได้ว่ามีผลประโยชน์ร่วมกันในการประกอบกิจการขนส่งนั้นเมื่อสินค้าที่โจทก์จำเลยได้รับมอบหมายให้ขนส่งจากเจ้าของสินค้าผู้ส่งสูญหายไปเพราะความผิดของลูกจ้างจำเลย ทั้งโจทก์และจำเลยต้องร่วมกันรับผิดต่อเจ้าของสินค้าในฐานะเป็นผู้ขนส่งร่วมกันโดยเป็นลูกหนี้ร่วมกันและต้องรับผิดเป็นส่วนเท่า ๆ กัน
แม้โจทก์ไม่ได้ระบุในคำฟ้องให้จำเลยรับผิดในฐานะลูกหนี้ร่วมและจำเลยก็ไม่ได้ต่อสู้ในคำให้การแจ้งชัดถึงเรื่องลูกหนี้ร่วมแต่โดยสภาพแห่งข้อหาในคำฟ้องของโจทก์บ่งระบุแจ้งชัดถึงนิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยว่าเป็นเรื่องลูกหนี้ร่วมอยู่แล้ว การที่ศาลวินิจฉัยว่าโจทก์จำเลยต้องรับผิดต่อเจ้าของสินค้าอย่างลูกหนี้ร่วมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 296 จึงไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น
บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 616 ประกอบกับมาตรา 438 บัญญัติไว้ชัดแจ้งว่า ผู้ขนส่งต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิดให้แก่เจ้าของสินค้าซึ่งเป็นผู้ส่งสำหรับสินค้าที่สูญหายตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งการละเมิดอยู่แล้ว ธรรมเนียมประเพณีการขนส่งที่ว่า เมื่อไม่ได้มีการตีราคาสินค้าไว้ก่อนว่าราคาเท่าใด ผู้ขนส่งไม่ควรต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายเกินหีบห่อละ 500 บาทนั้นหามีผลลบล้างบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 341/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับขนส่งสินค้าและการรับผิดชอบค่าเสียหายเมื่อสินค้าสูญหายหรือเสียหายจากการทุจริตของผู้รับจ้างย่อย
โจทก์ฟ้องหาว่าจำเลยเป็นเจ้าของเรือใบรับจ้างบันทุกข้าวสารของโจทก์ไปส่งจังหวัดนครศรีธรรมราช แล้วข้าวสารไม่ถึงจังหวัดนครศรีธรรมราชจึงเรียกค่าเสียหาย จำเลยให้การต่อสู้เป็น 2 ประการ ประการแรกเรือจำเลยไปไม่ได้ถึง 2 ครั้ง จำเลยจึงได้บอกเลิกสัญญากับโจทก์แล้ว ประการที่ 2 โจทก์ได้ไปตกลงกับคนเรือของจำเลยให้เดินทางไปอีกเป็นครั้งที่ 3 ก่อนตกลงกับจำเลย และไม่แจ้งให้จำเลยทราบ จึงเกิดการเสียหายขึ้น เนื่องจากคนเรือทุจจริต โดยจำเลยไม่ได้เกี่ยวข้อง จำเลยไม่ได้ต่อสู้เลยว่าเรือถูกปล้นกลางทางอันเป็นเหตุสุดวิสัยทำให้จำเลยไม่ต้องรับผิดชอบ ดังที่จำเลยยกขึ้นกล่าวในฟ้องฎีกา ถ้าจำเลยประสงค์จะต่อสู้เช่นนี้ จำเลยชอบที่จะกล่าวให้ชัดแจ้งตาม ป.ม.วิ.แพ่งมาตรา 177 วรรค 2 เมื่อข้อความเหล่านี้ไม่เป็นประเด็นในคดีในศาลชั้นต้นแล้ว จำเลยก็ยกขึ้นว่ากล่าวในชั้นฎีกาไม่ได้ต้องห้ามตาม ป.ม.วิ.แพ่ง มาตรา 249 วรรคแรกแม้ศาลอุทธรณ์จะรับพิจารณาในประเด็นข้อปล้นให้ทั้ง ๆ ที่ไม่เป็นประเด็นในคดีเลย เช่นนี้ ก็ไม่ทำให้กลายเป็นประเด็นขึ้นได้
ในคดีรับขนของ เมื่อของไม่ถึงปลายทางและสูนย์หายไปแล้ว ค่าระวางเรือก็เป็นค่าเสียหาย ซึ่งผู้ส่งจะได้รับ ผู้รับขนส่งจะต้องรับผิดชอบในเงินจำนวนนั้น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 19355-19360/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขนส่งทางทะเลร่วมกัน กรณีสินค้าสูญหายเสียหาย และค่าใช้จ่ายในการค้นหาสินค้า
ใบตราส่งที่จำเลยที่ 2 ออกให้แก่ผู้ซื้อทั้งห้าราย จำเลยที่ 2 ตั้งข้อสงวนเกี่ยวกับน้ำหนักของสินค้าตาม พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาตรา 23 ไว้มีข้อความเป็นภาษาอังกฤษว่า SAID TO WEIGH และระบุน้ำหนักของสินค้าที่ผู้ซื้อทั้งห้าราย สั่งซื้อตรงกับที่ระบุไว้ในใบกำกับสินค้าของผู้ซื้อแต่ละรายอันแสดงว่าจำเลยที่ 2 ได้รับแจ้งจากบริษัท น. ผู้ส่งสินค้าถึงน้ำหนักของสินค้าของผู้ซื้อแต่ละรายที่บรรทุกลงในระวางเรือบรรทุกสินค้า ซึ่งโดยผลของมาตรา 25 แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าว โจทก์มีภาระการพิสูจน์ว่าผู้ส่งสินค้าได้ส่งมอบสินค้าให้แก่จำเลยที่ 2 ตามจำนวนน้ำหนักที่แจ้งให้จำเลยที่ 2 ระบุไว้ในใบตราส่งดังกล่าว เมื่อผู้ส่งสินค้าได้แสดงใบรับรองน้ำหนักของสินค้าโดยบริษัท ธ. ซึ่งทำการตรวจสอบน้ำหนักของสินค้าของผู้ซื้อแต่ละรายด้วยเครื่องชั่งก่อนที่จะนำสินค้าบรรทุกสินค้าพร้อมออกใบรับรองไว้ โดยฝ่ายจำเลยทั้งสี่มิได้นำสืบหักล้างเอกสารดังกล่าว คงมีแต่พยานจำเลยที่ 3 มาเบิกความลอยๆ เป็นเพียงความเห็นและการสันนิษฐานเท่านั้น ย่อมไม่มีน้ำหนักรับฟังหักล้างใบรับรองน้ำหนักของสินค้าดังกล่าวได้
สำหรับค่าใช้จ่ายในการค้นหาสินค้าขาดจำนวน เมื่อความรับผิดของผู้ขนส่งสินค้าทางทะเลในความเสียหายของสินค้าที่ตนรับขนส่งต้องเป็นไปตาม พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาตรา 39 วรรคหนึ่ง ซึ่งบทบัญญัติดังกล่าวย่อมไม่รวมถึงค่าใช้จ่ายในการค้นหาสาเหตุที่สินค้าสูญหายด้วย เพราะเป็นค่าเสียหายของโจทก์ซึ่งเกิดขึ้นจากสัญญาประกันภัยระหว่างโจทก์กับผู้เอาประกันภัยแต่ละรายไม่เกี่ยวกับผู้ขนส่ง จำเลยที่ 2 ผู้ขนส่งจึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าใช้จ่ายส่วนนี้ให้แก่โจทก์
แม้ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ผู้ประกอบกิจการรับขนสินค้าระหว่างประเทศและเป็นเจ้าของเรือบรรทุกสินค้า ได้ร่วมกับจำเลยที่ 2 ทำสัญญารับขนส่งสินค้ากับผู้ขายหรือผู้ส่งสินค้าหรือร่วมกับจำเลยที่ 2 ออกใบตราส่ง แต่การที่จำเลยที่ 1 นำเรือของตนมารับขนส่งสินค้าโดยมิได้นำสืบพยานหลักฐานว่าไม่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 เพราะเหตุใดเนื่องจากขาดนัดยื่นคำให้การ คงมีเพียงรายการสำแดงทั่วไปของเรือระบุว่าจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของเรือบรรทุกสินค้ามีจำเลยที่ 3 เป็นตัวแทนเจ้าของเรือ โดยมิได้ระบุชื่อจำเลยที่ 2 เป็นผู้เช่าเรือหรือเป็นผู้ดำเนินการ อันถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 เช่าเรือบรรทุกสินค้าจากจำเลยที่ 1 และเป็นการเช่าประเภทเสมือนผู้เช่าเป็นเจ้าของเรือ (Chatrer Party by Demise) ที่เจ้าของเรือได้โอนการครอบครองและการควบคุมตลอดจนอำนาจสั่งการให้แก่จำเลยที่ 2 จำเลยที่ 1 จึงเป็นผู้ขนส่งสินค้าพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 69/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสูญหายของสินค้าขณะขนส่งทางทะเล ความรับผิดของผู้ขนส่ง และข้อยกเว้นความรับผิดตามกฎหมาย
การที่สินค้าสูญหายไปจากตู้สินค้าโดยมีการนำถุงทรายมาแทนที่นั้นเป็นไปเพื่อเจตนาลวงว่าสินค้ายังอยู่ครบถ้วนในตู้สินค้าระหว่างขนส่งด้วยเหตุที่สินค้าที่สูญหายไปมีน้ำหนักถึง 3,243.20 กิโลกรัม และการที่ดวงตราผนึกของตู้สินค้าอยู่ในสภาพเรียบร้อยดีถึงท่าเรือปลายทางก็ไม่ได้เป็นเครื่องยืนยันว่าตู้สินค้ามิได้ถูกเปิดออกก่อนหน้านั้น หมายความว่าตู้สินค้ามิได้ถูกเปิดเอาสินค้าออกไปและใส่ถุงทรายเข้ามาแทนที่ด้วยวิธีการตามปกติ สอดคล้องกับที่โจทก์นำสืบว่า บริษัทผู้สำรวจสินค้าได้ทดลองถอดนอตด้านข้างตู้สินค้าออกพบว่าสามารถเปิดประตูตู้สินค้าได้โดยที่ตราประทับไม่ถูกตัดออก การที่ท่อทองแดงมีน้ำหนักประมาณม้วนละ 350 ถึง 450 กิโลกรัม การขนถ่ายจึงต้องใช้อุปกรณ์ช่วยเหลือ เมื่อพิจารณาแผนผังการวางตู้สินค้าที่ถูกวางในชั้นที่สูงสุด ข้อเท็จจริงน่าเชื่อว่าการลักลอบนำสินค้าออกจากตู้สินค้าไม่อาจทำได้ในระหว่างการขนส่งโดยเรือเดินสมุทร ทั้งถุงทรายที่ถูกแทนที่มีภาษาไทยอยู่บนถุง และหากสินค้าถูกลักลอบนำออกจากตู้สินค้าพิพาทที่ปลายทางก็ไม่จำเป็นต้องนำถุงทรายจำนวนมากเข้ามาแทนที่เพื่อลวงน้ำหนักตู้สินค้าระหว่างการขนส่ง ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า สินค้าสูญหายขณะอยู่ที่ท่าเรือแหลมฉบังซึ่งอยู่ในความดูแลของจำเลยที่ 2 เมื่อจำเลยที่ 2 มิได้นำสืบข้อยกเว้นความรับผิดของผู้ขนส่งตาม พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาตรา 51 และ 52 จึงต้องรับผิด
จำเลยที่ 2 รับขนส่งสินค้าพิพาทในเงื่อนไข CY/CY ผู้ขายเป็นผู้บรรจุและตรวจนับสินค้าเข้าตู้สินค้าที่โรงงานของผู้ขาย ลานพักตู้สินค้ามีเนื้อที่มากกว่า 4 สนามฟุตบอล มีการปฏิบัติงานตลอด 24 ชั่วโมง มีแสงครอบคลุมบริเวณที่วางตู้สินค้าทุกบริเวณ สินค้าที่สูญหายมีน้ำหนักมาก การขนย้ายออกจากตู้สินค้าและนำถุงทรายเข้าแทนที่เป็นเรื่องที่ต้องใช้กำลังคน เครื่องมือ และเวลาในการดำเนินการ เหตุที่เกิดขึ้นจึงเป็นเรื่องที่มีบุคคลจงใจวางแผนลักลอบนำสินค้าพิพาทออกจากตู้สินค้าแล้วทดแทนน้ำหนักสินค้าด้วยถุงทรายโดยไม่กระทบถึงดวงตราผนึกตู้สินค้า ข้อเท็จจริงถือไม่ได้ว่า จำเลยที่ 2 หรือตัวแทนละเลยหรือไม่เอาใจใส่ทั้งที่รู้ว่าการสูญหายอาจเกิดขึ้นได้อันเป็นความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงตามความในมาตรา 60 (1) จึงสามารถจำกัดความรับผิดตามมาตรา 58 วรรคหนึ่งได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2122/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขนส่งสินค้าสูญหาย: พยานหลักฐานไม่เพียงพอและผลกระทบต่อลูกหนี้ร่วม
จำเลยที่ 2 ออกใบรับขนของทางอากาศฉบับแรกโดยระบุชื่อผู้ขายเป็นผู้ส่ง บริษัทผู้ซื้อเป็นผู้รับตราส่ง และใบรับขนของทางอากาศฉบับหลังก็ปรากฏข้อเท็จจริงต่อเนื่องกันกับการออกใบรับขนของทางอากาศฉบับแรก โดยใบรับขนของทางอากาศฉบับหลังจำเลยที่ 3 ออกให้โดยระบุจำเลยที่ 2 เป็นผู้ส่ง และจำเลยที่ 1 เป็นผู้รับตราส่งที่ท่าอากาศยานปลายทางในประเทศไทย อันแสดงว่าจำเลยที่ 2 ว่าจ้างจำเลยที่ 3 ขนส่งสินค้านี้ทางอากาศเพื่อนำไปส่งมอบแก่จำเลยที่ 1 ดังนี้จำเลยที่ 1 จะต้องเป็นผู้รับมอบสินค้าจากจำเลยที่ 3 เพื่อนำไปส่งมอบยังสำนักงานของผู้ซื้อ จำเลยที่ 1 จึงเป็นผู้รับจัดการขนส่งโดยมอบหมายให้จำเลยที่ 2 รับมอบสินค้าจากผู้ขายแล้วดำเนินการขนส่งมาจนถึงท่าอากาศยานในประเทศแคนาดาและว่าจ้างจำเลยที่ 3 ขนส่งทางอากาศมายังประเทศไทย และจำเลยที่ 1 เป็นผู้ขนส่งทางบกต่อในช่วงสุดท้ายนี้ด้วย จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงเป็นผู้ขนส่ง หากสินค้าสูญหายไปในช่วงระหว่างตั้งแต่จำเลยที่ 2 รับมอบสินค้าจนถึงเวลาที่จำเลยที่ 1 ขนส่งทางบกช่วงสุดท้ายไปส่งมอบแก่ผู้ซื้อ จำเลยที่ 1 และที่ 2 ย่อมต้องรับผิดต่อผู้ซื้อซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยและต้องรับผิดต่อโจทก์ผู้รับช่วงสิทธิจากผู้เอาประกันภัย
ปัญหาว่าสินค้าสูญหายไปในช่วงการขนส่งโดยจำเลยที่ 1 และที่ 2 ดังกล่าวหรือไม่ โจทก์ผู้กล่าวอ้างข้อเท็จจริงมีภาระการพิสูจน์ เมื่อพยานหลักฐานของโจทก์มีน้ำหนักน้อยกว่าพยานหลักฐานของจำเลยที่ 1 ไม่อาจรับฟังข้อเท็จจริงได้ว่า สินค้าตามฟ้องสูญหายไปในระหว่างการขนส่งที่ผู้ขนส่งต้องรับผิด จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดตามสัญญารับขนต่อโจทก์ และเมื่อโจทก์ขอให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันรับผิดชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ในลักษณะเป็นลูกหนี้ร่วม กรณีจึงเกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ แม้จำเลยที่ 2 มิได้อุทธรณ์ก็สมควรพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 2 ด้วยตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 245 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15502/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขนส่งสินค้าทางทะเล: ข้อจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งตาม พ.ร.บ.การขนส่งทางทะเล
ผู้มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายเอาจากผู้ขนส่งตามสัญญารับขนของทางทะเลเนื่องจากสินค้าที่ขนส่งสูญหาย เสียหาย หรือมีการส่งมอบชักช้านั้น ไม่จำเป็นต้องเป็นคู่สัญญากับผู้ขนส่งเสมอไป ผู้ทรงใบตราส่งโดยชอบจึงย่อมเป็นผู้มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายเอาจากผู้ขนส่งได้ ดังนั้น แม้โจทก์จะได้ส่งมอบใบตราส่งซึ่งระบุชื่อผู้ซื้อเป็นผู้รับตราส่งให้แก่ผู้ซื้อแล้ว แต่ก็ปรากฏตามใบตราส่งว่ามีการลงลายมือชื่อและประทับตราของบริษัท ฮ. ผู้มีชื่อเป็นผู้รับตราส่งที่ด้านหลังใบตราส่งและไม่ได้เวนคืนใบตราส่งแก่จำเลย แต่ได้ส่งมอบใบตราส่งนั้นให้แก่โจทก์ ถือว่าผู้ซื้อได้มีการสลักหลังลอยลงในใบตราส่งโอนสิทธิตามใบตราส่งนั้นให้แก่โจทก์ โจทก์จึงอยู่ในฐานะผู้ทรงใบตราส่งโดยชอบแล้ว โจทก์ย่อมเป็นผู้มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายเอาจากจำเลยผู้ขนส่งได้ไม่ว่าโจทก์จะเป็นคู่สัญญาในสัญญารับขนของทางทะเลหรือไม่ก็ตาม โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
ตาม พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาตรา 36 เป็นเรื่องที่ผู้ส่งของสั่งผู้ขนส่งให้งดการส่งของ ส่งกลับคืนมา ระงับการส่งมอบแก่ผู้รับตราส่ง หรือจัดการของนั้นเป็นประการอื่นใดก่อนจะขนส่งออกไปถึงท่าปลายทางหรือก่อนจะส่งมอบของแก่ผู้รับตราส่ง ซึ่งผู้ส่งของต้องเวนคืนใบตราส่งทั้งหมดแก่ผู้ขนส่ง เนื่องจากเป็นการเปลี่ยนแปลงข้อตกลงในการขนส่งตามสัญญาที่ระบุในใบตราส่งอันถือเป็นหลักฐานแห่งสัญญารับขนของทางทะเล การใช้สิทธิของผู้ส่งของตามมาตรา 36 นี้ ผู้ส่งของต้องยังเป็นผู้ยึดถือครอบครองใบตราส่งอยู่ มิฉะนั้นก็ไม่อาจจะมีใบตราส่งเวนคืนแก่ผู้ขนส่งได้ มาตรา 36 ไม่ได้ใช้บังคับในกรณีที่โจทก์ในฐานะผู้ทรงใบตราส่งจะใช้สิทธิเรียกร้องเอาค่าเสียหายเนื่องจากการที่ของหรือสินค้าที่ขนส่งสูญหายซึ่งปรากฏเมื่อเรือที่ขนส่งสินค้าถึงปลายทางแล้วอย่างในคดีนี้ การใช้สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงไม่อยู่ในบังคับบทบัญญัติมาตรา 36 ที่ต้องเวนคืนใบตราส่งทั้งหมดที่ออกให้แก่กันไว้แก่ผู้ขนส่ง
โจทก์ผู้ส่งของได้ส่งมอบสินค้าที่ขนส่งแก่จำเลยหรือตัวแทนของจำเลยครบถ้วนเรียบร้อยแล้ว แต่เมื่อเรือที่ขนส่งสินค้าถึงปลายทางปรากฏว่าสินค้าสูญหายไปทั้งหมด ถือว่าเหตุแห่งการเสียหายของสินค้าเกิดขึ้นในระหว่างที่สินค้าอยู่ในความดูแลของจำเลยผู้ขนส่งหรือตัวแทนหรือลูกจ้างของจำเลย และไม่ปรากฏเหตุตามมาตรา 51 ถึงมาตรา 57 แห่ง พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 ที่เป็นเหตุยกเว้นความรับผิดของจำเลยในฐานะผู้ขนส่ง จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ผู้ทรงใบตราส่ง ตามมาตรา 39 และ 43 แห่ง พ.ร.บ. ดังกล่าว
การรับขนส่งสินค้าของจำเลยเป็นแบบ "CFS/CFS" ที่จำเลยมีหน้าที่นำสินค้าเข้าบรรจุในตู้สินค้า และสินค้าตามคำฟ้องมีจำนวนน้อย มีโอกาสที่จะมีการบรรจุสินค้าของบุคคลอื่นอีกจำนวนมากที่นำเข้ารวมไว้ในตู้สินค้านี้ ความผิดพลาดในการบรรจุสินค้าเข้าตู้สินค้าจึงอาจเกิดขึ้นได้ การไม่ได้นำสินค้าบรรจุเข้าตู้สินค้าจึงถือได้ว่าเป็นความประมาทเลินเล่อของจำเลยหรือตัวแทนซึ่งจำเลยในฐานะผู้ขนส่งต้องรับผิด แต่เมื่อตามพยานหลักฐานของโจทก์ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงอื่นใดที่แสดงว่าจำเลยหรือตัวแทนมีพฤติการณ์อื่นใดที่ถึงขนาดเป็นการประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงอันจะรับฟังได้ว่า เป็นการละเลยหรือไม่เอาใจใส่ในการดูแลรักษาสินค้าที่ขนส่ง จึงไม่อาจถือได้ว่าการสูญหายของสินค้าที่ขนส่งเป็นผลมาจากการละเลยหรือไม่เอาใจใส่ของจำเลยหรือตัวแทนทั้งที่รู้ว่าการสูญหายของสินค้าอาจเกิดขึ้นได้ ตาม พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาตรา 60 (1) ความรับผิดของจำเลยจึงอยู่ในบังคับของมาตรา 58 จำเลยจึงรับผิดต่อโจทก์เพียงจำนวนเงินตามข้อจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่ง กับดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่จำเลยผิดนัดคือนับแต่วันที่ล่วงเลยกำหนดเวลาที่จำเลยควรส่งมอบสินค้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9541/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขนส่งสินค้าทางทะเลและทางบก กรณีสินค้าสูญหายหรือเสียหาย และขอบเขตความรับผิดจำกัดตามกฎหมาย
ผู้ขายติดต่อจำเลยที่ 1 เพื่อการขนส่งสินค้า จำเลยที่ 1 ว่าจ้างจำเลยที่ 2 ให้ขนส่ง แต่จำเลยที่ 2 ว่าจ้างจำเลยที่ 4 ขนส่งอีกต่อหนึ่ง ฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 4 ต่างรับจ้างขนส่งสินค้าในฐานะเป็นผู้ขนส่ง ส่วนจำเลยที่ 1 มีวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการขนส่งและขนถ่ายสินค้า เมื่อจำเลยที่ 1 ได้เงินส่วนต่างค่าขนส่งเป็นของตนเอง จึงฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 รับจ้างขนส่งเพื่อบำเหน็จทางการค้าปกติของตนอันถือได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ขนส่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 608 และเมื่อจำเลยที่ 1 ว่าจ้างผู้ขนส่งคนอื่นคือ จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 2 ว่าจ้างจำเลยที่ 4 ผู้ขนส่งอื่นอีกทอดหนึ่ง จึงเป็นกรณีที่ผู้ขนส่งมอบหมายสินค้าให้ผู้ขนส่งอื่นขนส่ง จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 จึงต้องรับผิดร่วมกันในความสูญหายของสินค้าตาม ป.พ.พ. มาตรา 616 และมาตรา 618 ส่วนจำเลยที่ 3 หุ้นส่วนผู้จัดการของห้างจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดก็ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ด้วย
ส่วนที่โจทก์จ่ายค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัยไปร้อยละ 110 ของราคาสินค้านั้น เป็นความผูกพันตามสัญญาประกันภัยที่บังคับกันได้ระหว่างคู่สัญญาและผู้รับประโยชน์เท่านั้น แต่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 เป็นผู้ที่ต้องรับผิดตามสัญญาขนส่งไม่ต้องผูกพันตามสัญญาประกันภัย ทั้งโจทก์ไม่ได้นำสืบพยานหลักฐานแสดงให้เห็นว่า การสูญหายของสินค้าทำให้ผู้ส่งของหรือผู้รับตราส่งต้องเสียหายมากกว่าราคาสินค้าที่รวมค่าประกันภัยและค่าระวางการขนส่งแล้วแต่อย่างใด
จำเลยที่ 5 ออกใบตราส่งและประทับชื่อจำเลยที่ 5 ในฐานะผู้ขนส่ง ทั้งได้ความว่าจำเลยที่ 7 ออกใบรับขนของ (WAYBILL) ระบุว่า จำเลยที่ 5 เป็นผู้ส่งของโดยให้ตัวแทนของจำเลยที่ 5 รับสินค้าเพื่อส่งมอบแก่ผู้รับตราส่ง อันเป็นการทำหน้าที่ผู้ขนส่งตามสัญญารับขนของทางทะเลทุกประการ จึงฟังได้ว่าจำเลยที่ 5 เป็นผู้ขนส่งโดยมีจำเลยที่ 7 เป็นผู้ขนส่งอื่น ดังนั้นเมื่อเหตุแห่งความสูญหายของสินค้าเกิดขึ้นในระหว่างสินค้าอยู่ในความดูแลของจำเลยที่ 7 ผู้ขนส่งอื่น จำเลยที่ 5 และที่ 7 ย่อมต้องร่วมกันรับผิดในความสูญหายของสินค้าดังกล่าวตาม พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาตรา 39, 43, 44 และ 45 สำหรับจำเลยที่ 6 แม้เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 7 แต่จำเลยที่ 6 ไม่ได้ทำสัญญาขนส่งแทนจำเลยที่ 7 จึงไม่ต้องรับผิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 824
ความรับผิดตาม พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาตรา 39 ต้องอยู่ภายใต้บังคับมาตรา 58 เว้นแต่จะเป็นกรณีตามมาตรา 60 (1) ถึง (4) คดีนี้เป็นกรณีตามมาตรา 60 (1) ซึ่งผู้ขนส่งไม่อาจจำกัดความรับผิดตามมาตรา 58 ได้ เมื่อการสูญหายเกิดขึ้นจากการที่ผู้ขนส่งหรือตัวแทนหรือลูกจ้างของผู้ขนส่งกระทำหรืองดเว้นกระทำการโดยมีเจตนาที่จะให้เกิดการสูญหาย หรือโดยละเลยหรือไม่เอาใจใส่ ทั้งที่รู้ว่าการสูญหายนั้นอาจเกิดขึ้นได้ แต่ตามพยานหลักฐานของโจทก์ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 5 หรือที่ 7 หรือตัวแทนหรือลูกจ้างของจำเลยที่ 5 หรือที่ 7 เป็นผู้ลักเอาสินค้าที่สูญหายไป หรือจำเลยที่ 5 หรือที่ 7 หรือตัวแทนหรือลูกจ้างกระทำการหรืองดเว้นกระทำการอย่างใดที่มีเจตนาจะให้เกิดการสูญหาย หรือมีพฤติการณ์อย่างใดที่ถือได้ว่าจำเลยที่ 5 หรือที่ 7 ละเลยไม่เอาใจใส่ทั้งที่รู้ว่าการสูญหายจะเกิดขึ้นแต่อย่างใด จึงฟังไม่ได้ว่ามีกรณีตามมาตรา 60 (1) ที่ทำให้จำเลยที่ 5 และที่ 7 ต้องรับผิดโดยไม่จำกัดความรับผิด จำเลยที่ 5 และที่ 7 ย่อมรับผิดเพียงจำนวนจำกัดตามมาตรา 58

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6936/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สินค้าสูญหายระหว่างขนส่ง: จำเลยไม่ต้องรับผิดหากพิสูจน์ได้ว่าความเสียหายเกิดขึ้นหลังส่งมอบสินค้า
บริษัท ค. เป็นผู้ประกอบวิชาชีพรับจ้างจัดบรรจุสินค้าเข้าตู้คอนเทนเนอร์ประจำอยู่ที่ท่าเรือกรุงเทพ ย่อมต้องมีความซื่อสัตย์และมีประสิทธิภาพในการทำงานสูง สินค้าแผ่นยางพาราที่มิได้บรรจุอยู่ในตู้คอนเทนเนอร์ 2 ตู้ ตู้ละ 30 มัด นับว่าเป็นจำนวนไม่น้อย เพราะทำให้น้ำหนักของสินค้าขาดหายไปถึง 3,330.30 กิโลกรัมในแต่ละตู้และจำนวนสินค้าแผ่นยางพาราจำนวน 180 มัด ที่วางเรียงกันเป็น 11 แถวในแต่ละตู้ จะมีสินค้าในตู้ที่ขาดหายไปถึงเกือบ 2 แถว ซึ่งผู้ทำหน้าที่จัดบรรจุ ตรวจนับ และตรวจการบรรจุสินค้าย่อมสามารถเห็นความผิดปกติได้อย่างชัดเจน และเมื่อพิจารณาใบตรวจรับสภาพตู้คอนเทนเนอร์ที่บรรจุสินค้าแผ่นยางพาราแล้วปรากฏว่า ตู้คอนเทนเนอร์ทั้งสองที่โจทก์อ้างว่ามีสินค้าแผ่นยางพาราสูญหายไปยังคงมีน้ำหนักสินค้ารวมตู้ตู้ละ 22 ตัน หากมีการบรรจุสินค้าขาดไปตู้ละ 30 มัด น้ำหนักรวมของตู้ควรเหลือประมาณตู้ละ 19 ตันเท่านั้น ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าสินค้ามิได้สูญหายไปในช่วงการบรรจุสินค้าเข้าตู้คอนเทนเนอร์ที่ท่าเรือต้นทางและตู้คอนเทนเนอร์ทั้งหมดที่ถูกลากมายังโรงงานของผู้รับสินค้า ซีลปิดตู้ทุกตู้ยังอยู่ในสภาพดี แสดงให้เห็นว่า ตู้ไม่ได้ถูกเปิดออกนับตั้งแต่มีการบรรจุสินค้าเข้าที่ท่าเรือกรุงเทพ ข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าสินค้าสูญหายไปในระหว่างที่อยู่ในความดูแลของจำเลยที่ 2 ผู้ขนส่ง จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดในความสูญหายของสินค้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5157/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขนส่งและผู้ร่วมขนส่ง กรณีสินค้าสูญหายจากการขนถ่ายสินค้า โดยผู้ซื้อเป็นผู้ว่าจ้างผู้ขนถ่าย
การขนส่งสินค้าตามฟ้องผู้ขายเป็นผู้มีหน้าที่ว่าจ้างผู้ขนส่งให้ขนส่งสินค้าจากสาธารณรัฐประชาชนจีนมายังเกาะสีชัง จำเลยที่ 1 รับขนส่งโดยทำสัญญาเช่าเรือเพื่อการขนส่งและออกใบตราส่ง ซึ่งระบุว่าต้องใช้ประกอบกับสัญญาเช่าเรือ และตามสัญญาเช่าเรือระบุข้อตกลงในส่วนค่าใช้จ่ายโดยเฉพาะการขนถ่ายสินค้าในเทอม FIOST ซึ่งผู้เช่ามีภาระการออกค่าใช้จ่ายในการขนถ่ายสินค้าออกจากเรือของจำเลยที่ 1 ที่ท่าปลายทางด้วย และตามใบกำกับสินค้าระบุราคา CFR ตาม Incoterms 2000 และเทอม FO หมายความว่า ผู้ซื้อมีหน้าที่ขนถ่ายสินค้าจากเรือเอง ซึ่งไม่ใช่หน้าที่ของจำเลยที่ 1 ในการจัดหาหรือว่าจ้างผู้ขนถ่ายสินค้า จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ขนส่งมีหน้าที่ขนส่งสินค้าจนถึงเกาะสีชังเท่านั้น จากนั้นผู้ซื้อซึ่งเป็นผู้รับตราส่งเป็นผู้ว่าจ้างผู้ขนถ่ายสินค้าขนถ่ายลงเรือลำเลียงต่อไป เมื่อความสูญหายของสินค้าเกิดจากผู้ขนถ่ายสินค้าที่ผู้ซื้อจ้างมาทำสินค้าตกลงทะเลสูญหายไปขณะใช้เครนขนถ่ายสินค้า จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิด และเมื่อเหตุเกิดจากความประมาทของผู้ปฏิบัติงานของเครนลอยน้ำโดยผู้บังคับควบคุมไม่ใช่ลูกจ้างของจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 3 ย่อมไม่ต้องรับผิด
of 8