พบผลลัพธ์ทั้งหมด 85 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1039/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินส่วนตัวของภริยาคู่สมรสที่ทำสัญญากันก่อนสมรส ยึดไม่ได้แม้เป็นลูกหนี้ร่วม
ก่อนมีการสมรส สามีภริยาได้ทำหนังสือสัญญากันถูกต้องตามกฎหมายไว้ต่อกันว่า ทรัพย์สินต่าง ๆ อันเป็นกรรมสิทธิของภริยา ซึ่งมีอยู่ก่อนทำการสมรสรวมทั้งดอกผลที่จะเกิดขึ้นใหม่ภายหลัง สามียอมรับว่าเป็นสินส่วนตัวของภริยาตลอดไป ฉะนั้น ทรัพย์ที่ภริยาซื้อไว้ตั้งแต่ก่อนสมรส จึงเป็นสินส่วนตัวของภริยา ดังบัญญัติไว้ใน ป.ม.แพ่งฯ มาตรา 1464.
ตาม ป.ม.วิ.แพ่ง มาตรา 271, 278, 280 เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะยึดทรัพย์สินส่วนตัวของผู้ร้อง ซึ่งเป็นบุคคลนอกคดีไม่ได้ แม้จะปรากฎว่าผู้ร้องเป็นภริยาจำเลยซึ่งต้องรับผิดในฐานลูกหนี้ร่วมด้วยก็ตาม
ทรัพย์สินส่วนตัวของภรรยาซึ่งเป็นคนนอกคดี แต่เป็นลูกหนี้ร่วมกับสามีซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษานั้นไม่ใช่เป็นทรัพย์สินตามนัยแห่งมาตรา 282 วรรคท้ายของ ป.ม.วิ.แพ่ง ซึ่งเจ้าพนักงานบังคับคดีอาจยึดหรืออายัติและเอาออกขายได้.
ตาม ป.ม.วิ.แพ่ง มาตรา 271, 278, 280 เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะยึดทรัพย์สินส่วนตัวของผู้ร้อง ซึ่งเป็นบุคคลนอกคดีไม่ได้ แม้จะปรากฎว่าผู้ร้องเป็นภริยาจำเลยซึ่งต้องรับผิดในฐานลูกหนี้ร่วมด้วยก็ตาม
ทรัพย์สินส่วนตัวของภรรยาซึ่งเป็นคนนอกคดี แต่เป็นลูกหนี้ร่วมกับสามีซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษานั้นไม่ใช่เป็นทรัพย์สินตามนัยแห่งมาตรา 282 วรรคท้ายของ ป.ม.วิ.แพ่ง ซึ่งเจ้าพนักงานบังคับคดีอาจยึดหรืออายัติและเอาออกขายได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1039/2492
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินส่วนตัวของภริยาจากการทำสัญญา และการยึดทรัพย์สินของบุคคลนอกคดี
ก่อนมีการสมรส สามีภริยาได้ทำหนังสือสัญญากันถูกต้องตามกฎหมายไว้ต่อกันว่า ทรัพย์สินต่างๆ อันเป็นกรรมสิทธิ์ของภริยา ซึ่งมีอยู่ก่อนทำการสมรสรวมทั้งดอกผลที่จะเกิดขึ้นใหม่ภายหลัง สามียอมรับว่าเป็นสินส่วนตัวของภริยาตลอดไป ฉะนั้น ทรัพย์ที่ภริยาซื้อไว้ตั้งแต่ก่อนสมรส จึงเป็นสินส่วนตัวของภริยา ดังบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1464
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271,278,280เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะยึดทรัพย์สินส่วนตัวของผู้ร้อง ซึ่งเป็นบุคคลนอกคดีไม่ได้ แม้จะปรากฏว่าผู้ร้องเป็นภริยาจำเลยซึ่งต้องรับผิดในฐานลูกหนี้ร่วมด้วยก็ตาม
ทรัพย์สินส่วนตัวของภริยาซึ่งเป็นคนนอกคดี แต่เป็นลูกหนี้ร่วมกับสามีซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษานั้น ไม่ใช่เป็นทรัพย์สินตามนัยแห่งมาตรา 282 วรรคท้ายของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ซึ่งเจ้าพนักงานบังคับคดีอาจยึดหรืออายัดและเอาออกขายได้
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271,278,280เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะยึดทรัพย์สินส่วนตัวของผู้ร้อง ซึ่งเป็นบุคคลนอกคดีไม่ได้ แม้จะปรากฏว่าผู้ร้องเป็นภริยาจำเลยซึ่งต้องรับผิดในฐานลูกหนี้ร่วมด้วยก็ตาม
ทรัพย์สินส่วนตัวของภริยาซึ่งเป็นคนนอกคดี แต่เป็นลูกหนี้ร่วมกับสามีซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษานั้น ไม่ใช่เป็นทรัพย์สินตามนัยแห่งมาตรา 282 วรรคท้ายของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ซึ่งเจ้าพนักงานบังคับคดีอาจยึดหรืออายัดและเอาออกขายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1127/2487 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายัติทรัพย์ก่อนคำพิพากษา: สินบริคณฑ์เปลี่ยนเป็นสินส่วนตัว, เหตุอันควร, และการคุ้มครองสิทธิโจทก์
ในเรื่องขออายัติทรัพย์ก่อนคำพิพากสา ได้ความว่าทรัพย์นั้น เดิมเปนสินบริคนห์ พายหลังจำเลยทำสัญญาแยกสินบริคนห์ให้เปนสินส่วนตัวของสามีนั้น สาลยังไม่จำต้องวินิจฉัยเรื่องสัญญา ถือว่าเปนทรัพย์ที่ขออายัติได้
ในเวลายื่นคำร้องขออายัติทรัพย์เปนของจำเลย แม้ต่อมาจะถูกโอนไปก็อยู่ในข่ายขออายัติได้ และการที่จำเลยกะทำการให้มีการโอนไปนั้นถือว่าเปนเหตุอันควนให้อายัติได้
ในเวลายื่นคำร้องขออายัติทรัพย์เปนของจำเลย แม้ต่อมาจะถูกโอนไปก็อยู่ในข่ายขออายัติได้ และการที่จำเลยกะทำการให้มีการโอนไปนั้นถือว่าเปนเหตุอันควนให้อายัติได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 271-272/2485 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินบริคณห์: โฉนดชื่อผู้เดียวไม่ตัดสิทธิสามีในทรัพย์สิน หากพิสูจน์ไม่ได้เป็นสินส่วนตัว
ภริยามีชื่อในโฉนดแต่ผู้เดียวแสดงว่าเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์เท่านั้น จะถือว่าที่ดินนั้นเป็นสินส่วนตัวไม่ได้ เพราะอาจเป็นสินเดิมหรือสินสมรส จึงต้องถือเป็นสินบริคณห์.กรณีถือว่าโจทก์ให้การรับว่าผู้ร้องเป็นสามีจำเลย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 388/2478
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิในที่ดิน: ชื่อในโฉนดมิใช่ข้อสรุปเด็ดขาด, สินส่วนตัว, การบอกล้างนิติกรรม
ชื่อในโฉนดความ+ ผัวเมีย +บริคณห์ สืบสวนตัว +ให้ภรรยามีชื่อในโฉนดผู้เดียวจะสันนิษฐานว่ายอมให้ภรรยาจัดการใด ๆ เกี่ยวแลโฉนดไม่ได้ ทรัพย์ที่ได้มาระวางเป็นสามีภรรยากันจะถือว่าเป็นสินส่วนตัวไม่ได้ กฎหมายมิได้ถือว่าผู้มีชื่อในโฉนดเท่านั้นเป็นเจ้าของคนที่ไม่มีชื่ออาจเป็นเจ้าของด้วยได้ การที่สามีร้องขัดทรัพย์เท่ากับบอกล้างนิติกรรมอยู่ในตัว ฎีกาอุทธรณ์ ปัญหาข้อเท็จจริง ทำให้มหาชนหลงเข้าใจผิดหรือไม่เป็นปัญหาข้อเท็จจริงการกระทำเป็นการสุจริตหรือไม่เป็นข้อเท็จจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 384/2478
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในที่ดิน สินส่วนตัว สินบริคณห์ และผลของการมีชื่อในโฉนด
ที่ดิน ชื่อในโฉนด ครอบครัว ผัวเมีย สินบุริคณห์ สินส่วนตัว ยอมให้ภรรยามีชื่อในโฉนดผู้เดียวจะสันนิษฐานว่ายอมให้ภรรยาจัดการใด ๆ เกี่ยวแก่โฉนดไม่ได้ ทรัพย์ที่ได้มาระวางเป็นสามีภรรยากันจะถือว่าเป็นสินส่วนตัวไม่ได้ กฎหมายมิได้ถือว่าผู้มีชื่อในโฉนดเท่านั้นเป็นเจ้าของคนที่ไม่มีชื่ออาจเป็นเจ้าของด้วยได้ การที่สามีร้องขัดทรัพย์เท่ากันบอกล้างนิติกรรมอยู่ในตัว ฎีกาอุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริง ทำให้มหาชนหลงเข้าใจผิดหรือไม่เป็นปัญหาข้อเท็จจริงการกระทำเป็นการสุจริตหรือไม่เป็นข้อเท็จจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1139/2473
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภรรยากู้หนี้สามีไม่รู้เห็น ไม่ต้องรับผิดในสินบริคณห์ แต่เจ้าหนี้มีสิทธิบังคับชำระหนี้จากสินส่วนตัว
ภรรยากู้หนี้สามีไม่รู้เห็นยินยอมด้วย สินบริคณท์ไม่ต้องรับผิดแต่เจ้าหนี้ขอชำระหนี้จากสินส่วนตัวของเมียได้
วิธีพิจารณาแพ่ง ดอกเบี้ยไม่บังคับให้ถ้าผู้ให้กู้ทำนาต่างดอกเบี้ย
วิธีพิจารณาแพ่ง ดอกเบี้ยไม่บังคับให้ถ้าผู้ให้กู้ทำนาต่างดอกเบี้ย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4961/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งทรัพย์สินหลังหย่า: ที่ดินที่ซื้อก่อนสมรสใหม่เป็นสินส่วนตัวของผู้ร้อง
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอว่า เดิมผู้ร้องเคยสมรสกับจำเลยที่ 3 ต่อมาเมื่อปี 2535 ผู้ร้องหย่ากับจำเลยที่ 3 และได้ตกลงสัญญาในการหย่าให้ที่ดินพิพาทตกแก่ผู้ร้องแต่เพียงผู้เดียว ผู้ร้องได้ครอบครองทำประโยชน์ตลอดมาโดยจำเลยที่ 3 ไม่เคยเข้ามาเกี่ยวข้อง โจทก์ให้การต่อสู้คดี โดยมิได้ให้การปฏิเสธข้ออ้างดังกล่าวของผู้ร้อง ถือได้ว่าโจทก์ยอมรับว่าผู้ร้องกับจำเลยที่ 3 จดทะเบียนหย่ากันและได้ทำบันทึกข้อตกลงแบ่งทรัพย์สินระหว่างผู้ร้องกับจำเลยที่ 3 ว่าให้ที่ดินพิพาทตกเป็นของผู้ร้อง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง ประกอบมาตรา 84 (3) เช่นนี้ เมื่อผู้ร้องกับจำเลยที่ 3 จดทะเบียนสมรสกันในปี 2527 ต่อมาปี 2534 ผู้ร้องซื้อที่ดินพิพาทแม้จะใส่ชื่อผู้ร้องถือกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทเพียงคนเดียวก็ตาม ที่ดินพิพาทก็เป็นสินสมรสตาม ป.พ.พ. มาตรา 1474 (2) ซึ่งเมื่อทั้งสองจดทะเบียนหย่ากันและทำบันทึกข้อตกลงแบ่งทรัพย์สินระหว่างผู้ร้องกับจำเลยที่ 3 ว่าให้ที่ดินพิพาทตกเป็นของผู้ร้อง สัญญาดังกล่าวจึงเป็นสัญญาแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาตาม ป.พ.พ. มาตรา 1532 ผู้ร้องมีชื่อถือกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทเพียงคนเดียวอยู่แล้ว แม้ไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย ที่ดินพิพาทจึงตกเป็นสิทธิของผู้ร้องนับแต่เวลาจดทะเบียนหย่า และเป็นทรัพย์สินที่ผู้ร้องมีอยู่ก่อนสมรสกับจำเลยที่ 3 ใหม่ ในปี 2549 จึงเป็นสินส่วนตัวของผู้ร้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 1471 (1) ที่ดินพิพาทมิใช่ทรัพย์สินของจำเลยที่ 3 โจทก์จึงยึดที่ดินพิพาทเพื่อขายทอดตลาดชำระหนี้โจทก์ไม่ได้ ผู้ร้องมีสิทธิขอให้ปล่อยที่ดินพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 277/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความและผลผูกพันต่อสินสมรส: เจตนาแบ่งทรัพย์สินชัดเจนถือเป็นสินส่วนตัว
ในคดีก่อนโจทก์กับจำเลยทั้งสี่ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันว่า โจทก์และจำเลยที่ 1 จะหย่ากันและในสัญญาข้อ 2 ตกลงว่า ที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยที่ 1 เช่นเดิม โดยจำเลยที่ 4 จะไปดำเนินการโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวให้จำเลยที่ 1 ภายใน 15 วันและข้อ 1 ในสัญญาระบุว่าจำเลยที่ 1 สัญญาว่าจะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวรบกวนโจทก์ทุกประการ หากจำเลยที่ 1 ผิดสัญญายินยอมให้ถือเอาสัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาเพื่อหย่าขาดกับโจทก์ ศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอม แม้ปรากฏว่าขณะที่จำเลยที่ 1 ได้รับโอนที่ดินพิพาทกลับคืนมา โจทก์และจำเลยที่ 1 ยังไม่จดทะเบียนหย่ากันอันมีผลทำให้ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์ที่จำเลยที่ 1 ได้มาโดยสัญญาในระหว่างสมรสซึ่ง ป.พ.พ. มาตรา 1474 (1) บัญญัติว่าเป็นสินสมรสก็ตาม แต่ข้อตกลงในเรื่องสินสมรสอื่นได้แสดงให้เห็นเจตนาชัดเจนว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 มีความประสงค์ให้ทรัพย์สินที่เป็นสินสมรสและมีข้อพิพาทกันได้จัดการแบ่งปันให้เป็นสัดส่วนชัดเจน เป็นสินส่วนตัวของแต่ละฝ่ายรวมทั้งยกให้บุคคลภายนอกเพื่อระงับข้อพิพาทไม่ยุ่งเกี่ยวซึ่งกันและกันอีก สัญญาดังกล่าวแม้เป็นสัญญาระหว่างสมรส แต่มีคำพิพากษารับรองและบังคับตามสัญญาเสร็จสิ้นแล้วไม่อาจบอกล้างได้ ที่ดินพิพาทจึงไม่ใช่สินสมรสของโจทก์และจำเลยที่ 1 แต่เป็นสินส่วนตัวของจำเลยที่ 1 จำเลยที่1 มีสิทธิจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ได้โดยไม่ต้องขอความยินยอมจากโจทก์ โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมดังกล่าวตาม ป.พ.พ. มาตรา 1480
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1776/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งมรดก สินส่วนตัว สินสมรส การปิดบังทรัพย์มรดก และสิทธิในการได้รับส่วนแบ่ง
การนำสืบพยานบุคคลถึงความเป็นมาอันแท้จริงของสัญญาซื้อขายที่ดินว่าเพราะเหตุใดจึงมีชื่อจำเลยเป็นผู้รับโอน ไม่ใช่การนำสืบเพื่อบังคับตามสัญญาซื้อขายระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย ไม่เป็นการนำสืบเพิ่มเติม ตัดทอน หรือเปลี่ยนแปลงข้อความในเอกสาร จึงไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94
การที่ผู้ตายและจำเลยร่วมกันกู้เงินซื้อที่ดินโฉนดเลขที่ 88465 พร้อมทาวน์เฮาส์ ก่อนจดทะเบียนสมรสและช่วยกันผ่อนชำระหนี้ธนาคารเข้าลักษณะเป็นหุ้นส่วนกันมาแต่เดิม แต่การถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพร้อมทาวน์เฮาส์ไม่ปรากฏว่ามีการตกลงกันเป็นอย่างอื่น จึงเป็นการถือกรรมสิทธิ์รวมของผู้ตายและจำเลยคนละครึ่ง ดังนั้น เมื่อที่ดินพร้อมทาวน์เฮาส์ดังกล่าวเป็นทรัพย์สินของผู้ตายและจำเลยมีอยู่ก่อนสมรสจึงเป็นสินส่วนตัวของผู้ตายและจำเลยฝ่ายละครึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 1471 (1) ส่วนการที่ผู้ตายและจำเลยร่วมกันกู้ยืมเงินในการซื้อตอนแรกก่อนสมรส โดยนำที่ดินพร้อมทาวน์เฮาส์ไปจำนองเป็นประกันหนี้แล้วมีการผ่อนชำระหนี้เรื่อยมาจนมีการจดทะเบียนไถ่ถอนจำนองมาเป็นชื่อผู้ตายกับจำเลยภายหลังจดทะเบียนสมรสนั้น เป็นเพียงขั้นตอนการชำระหนี้ของผู้ตายและจำเลยเท่านั้น ไม่อาจทำให้ที่ดินพร้อมทาวน์เฮาส์ซึ่งเป็นสินส่วนตัวของผู้ตายและจำเลยมาก่อนสมรสต้องกลายเป็นสินสมรส ที่ดินพร้อมทาวน์เฮาส์จึงเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายครึ่งหนึ่ง
ไม่มีบทบัญญัติตามกฎหมายใดบัญญัติให้คำร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดกจะต้องระบุถึงทรัพย์มรดกของผู้ตายทั้งหมด การที่จำเลยยื่นคำร้องขอโดยไม่ได้ระบุที่ดินอีก 5 แปลง ไว้ในบัญชีทรัพย์มรดก ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการปิดบังทรัพย์มรดก อันเป็นเหตุให้จำเลยต้องถูกจำกัดมิให้รับมรดกของผู้ตาย
การที่ผู้ตายและจำเลยร่วมกันกู้เงินซื้อที่ดินโฉนดเลขที่ 88465 พร้อมทาวน์เฮาส์ ก่อนจดทะเบียนสมรสและช่วยกันผ่อนชำระหนี้ธนาคารเข้าลักษณะเป็นหุ้นส่วนกันมาแต่เดิม แต่การถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพร้อมทาวน์เฮาส์ไม่ปรากฏว่ามีการตกลงกันเป็นอย่างอื่น จึงเป็นการถือกรรมสิทธิ์รวมของผู้ตายและจำเลยคนละครึ่ง ดังนั้น เมื่อที่ดินพร้อมทาวน์เฮาส์ดังกล่าวเป็นทรัพย์สินของผู้ตายและจำเลยมีอยู่ก่อนสมรสจึงเป็นสินส่วนตัวของผู้ตายและจำเลยฝ่ายละครึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 1471 (1) ส่วนการที่ผู้ตายและจำเลยร่วมกันกู้ยืมเงินในการซื้อตอนแรกก่อนสมรส โดยนำที่ดินพร้อมทาวน์เฮาส์ไปจำนองเป็นประกันหนี้แล้วมีการผ่อนชำระหนี้เรื่อยมาจนมีการจดทะเบียนไถ่ถอนจำนองมาเป็นชื่อผู้ตายกับจำเลยภายหลังจดทะเบียนสมรสนั้น เป็นเพียงขั้นตอนการชำระหนี้ของผู้ตายและจำเลยเท่านั้น ไม่อาจทำให้ที่ดินพร้อมทาวน์เฮาส์ซึ่งเป็นสินส่วนตัวของผู้ตายและจำเลยมาก่อนสมรสต้องกลายเป็นสินสมรส ที่ดินพร้อมทาวน์เฮาส์จึงเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายครึ่งหนึ่ง
ไม่มีบทบัญญัติตามกฎหมายใดบัญญัติให้คำร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดกจะต้องระบุถึงทรัพย์มรดกของผู้ตายทั้งหมด การที่จำเลยยื่นคำร้องขอโดยไม่ได้ระบุที่ดินอีก 5 แปลง ไว้ในบัญชีทรัพย์มรดก ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการปิดบังทรัพย์มรดก อันเป็นเหตุให้จำเลยต้องถูกจำกัดมิให้รับมรดกของผู้ตาย