คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สิ้นสุด

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 200 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1008/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าเป็นสิทธิเฉพาะตัวของผู้เช่า สิ้นสุดเมื่อตาย ไม่ตกทอดเป็นมรดก ผู้จัดการมรดกไม่มีอำนาจฟ้อง
สัญญาเช่าเป็นสิทธิเฉพาะตัวของผู้เช่าย่อมเป็นอันสิ้นสุดลงเมื่อผู้เช่าตายไม่เป็นมรดกที่จะตกทอดแก่ทายาท โจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของ บ. ผู้เช่า จึงไม่อาจสงวนสิทธิการเช่าของ บ.ได้และไม่มีอำนาจฟ้องบังคับจำเลยเกี่ยวกับสิทธิการเช่าดังกล่าวได้อีกเพราะสิทธิการเช่าของ บ.เป็นอันสิ้นสุดไปแล้วตั้งแต่ บ.ตายไม่มีสิทธิการเช่าที่จะบังคับแก่จำเลยได้อีกต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 54/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยฎีกาเฉพาะข้อหาปลอมเอกสาร ทำให้ข้อหาอื่นสิ้นสุดตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิ ใช้เอกสารสิทธิปลอมเบิกความเท็จ และนำสืบหรือแสดงพยานหลักฐานอันเป็นเท็จศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าจำเลยผิดฐานปลอมเอกสารตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 265 จำเลยฝ่ายเดียวฎีกา ดังนี้ ข้อหาฐานใช้เอกสารสิทธิปลอมเบิกความเท็จและนำสืบแสดงพยานหลักฐานอันเป็นเท็จ จึงถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4575/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิรับเงินทดแทนจากการประสบอันตรายถึงแก่ความตายเป็นสิทธิเฉพาะตัว สิ้นสุดเมื่อผู้รับสิทธิเสียชีวิต
กรณีที่ลูกจ้างประสบอันตรายถึงแก่ความตาย ประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 50 วรรคแรก บัญญัติให้บิดา มารดาสามีหรือภริยาที่สิทธิได้รับส่วนแบ่งเงินทดแทนจากนายจ้างและในวรรคสามบัญญัติว่า... ถ้าผู้ได้รับส่วนแบ่งผู้ใดตาย...ให้ส่วนแบ่งของบุคคลดังกล่าวเป็นยุติ แสดงว่า สิทธิในการรับเงินทดแทนเป็นสิทธิเฉพาะตัวขณะที่ ส.ถึงแก่ความตายนั้นส. ยังไม่ได้รับเงินทดแทนสิทธิเรียกร้องในการรับเงินทดแทนของ ส. อันเนื่องมาจากการตายของบุตรย่อมยุติลง ผู้ใดจะไปเรียกร้องเงินทดแทนส่วนของ ส.ไม่ได้พนักงานเงินทดแทนมีคำสั่งยกคำร้องของ ส. ที่เรียกร้องเงินทดแทนไว้ก่อนตายย่อมทำให้สิทธิในการอุทธรณ์คำสั่งต่อจำเลยตามประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าวข้อ 60 ระงับไปด้วย ซึ่งมีผลเท่ากับคำสั่งของพนักงานเงินทดแทนในส่วนที่เกี่ยวกับสิทธิจะได้รับเงินทดแทนของ ส. ถึงที่สุด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4137/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุด – อายุความ – หนี้อุปกรณ์
ปรากฏตามบัญชีกระแสรายวันว่า นับแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2519ซึ่งเป็นวันครบกำหนดการต่ออายุสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีครั้งสุดท้าย จำเลยที่ 1และที่ 2 ไม่ได้เบิกเงินออกจากบัญชีเลย และไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ให้จำเลยที่ 1และที่ 2 เบิกเงินเกินบัญชีต่อไปอีก คงมีแต่โจทก์คิดดอกเบี้ยทบต้นลงไว้ในบัญชีเท่านั้น จึงไม่มีลักษณะเป็นการเดินสะพัดทางบัญชี พฤติการณ์ของคู่กรณีที่ปฏิบัติต่อกันแสดงให้เห็นเจตนาได้ว่า ทั้งสองฝ่ายให้ถือว่าสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีอันเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดลงนับแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2519 ดังนั้น โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยทั้งสามชำระหนี้นับแต่วันถัดจากวันดังกล่าวเป็นต้นไป
โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2529 เกินกำหนด10 ปี ฟ้องโจทก์สำหรับต้นเงินซึ่งคำนวณถึงวันที่ 1 สิงหาคม 2519 จึงขาดอายุความ ส่วนสิทธิเรียกร้องให้จำเลยทั้งสามชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปีของต้นเงินดังกล่าวหลังจากวันที่ 1 สิงหาคม 2519 ซึ่งเป็นหนี้ส่วนที่เป็นอุปกรณ์อันต้องอาศัยต้นเงินส่วนที่เป็นประธานซึ่งขาดอายุความ ย่อมขาดอายุความตามกันไปด้วยทั้งหมดตาม ป.พ.พ.มาตรา 190 เดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2819/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลฎีกายกฟ้องฐานรับของโจร แม้ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษ เนื่องจากข้อหาดังกล่าวสิ้นสุดแล้วหลังศาลชั้นต้นพิพากษาเฉพาะความผิดฐานลักทรัพย์
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานลักทรัพย์หรือรับของโจร ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดฐานลักทรัพย์ จึงถือได้ว่าศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ข้อหาฐานรับของโจร เมื่อโจทก์ไม่อุทธรณ์ ต้องถือว่าข้อหาความผิดฐานรับของโจรได้ยุติไปแล้ว จำเลยอุทธรณ์ขอให้ยกฟ้องข้อหาฐานลักทรัพย์ ประเด็นที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 จะวินิจฉัยคือ จำเลยกระทำความผิดฐานลักทรัพย์หรือไม่ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2วินิจฉัยว่า จำเลยไม่มีความผิดฐานลักทรัพย์จึงชอบแล้ว แต่ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 กลับไปวินิจฉัยข้อเท็จจริงว่าจำเลยมีความผิดฐานรับของโจร และลงโทษจำเลยฐานรับของโจรซึ่งยุติไปแล้วนั้นไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา จำเลยมีสิทธิฎีกา ขอให้ยกฟ้องข้อหาฐานรับของโจรได้ และศาลฎีกาไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิจารณาพิพากษาใหม่ เพราะศาลอุทธรณ์ภาค 2 ได้ยกฟ้องจำเลยในข้อหาฐานลักทรัพย์แล้ว ศาลฎีกาจึงพิพากษายกฟ้องในข้อหาฐานรับของโจรได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 813/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันเปลี่ยนแปลงความเสี่ยง – การค้ำประกันใหม่มีผลให้การค้ำประกันเดิมสิ้นสุด
จำเลยทำสัญญาค้ำประกัน ป. ในการเป็นพนักงานตำแหน่งเจ้าหน้าที่ของโจทก์ ต่อมาโจทก์แต่งตั้ง ป. ให้เป็นพนักงานในตำแหน่งผู้จัดการขึ้นใหม่โดยให้มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบในเรื่องการเงิน ซึ่งเป็นการเพิ่มความเสี่ยงภัยและความรับผิดให้แก่จำเลยโดยจำเลยมิได้ยินยอมด้วย ทั้งมีบริษัท ท. เป็นผู้ค้ำประกันโดยมิได้ระบุว่าเป็นการค้ำประกันเพิ่มเติมจากที่จำเลยได้ค้ำประกันไว้แล้ว แสดงว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะให้จำเลยต้องผูกพันตามสัญญาค้ำประกันโดยให้บริษัท ท. เข้าเป็นผู้ค้ำประกันแทน จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ในกรณีที่ บ. ยักยอกเงินของโจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5613/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีของผู้จัดการมรดกสิ้นสุดเมื่อศาลมีคำพิพากษาถอนสถานะ และการจัดการมรดกโดยผู้จัดการมรดกย่อมมีผลสมบูรณ์
เดิมศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายหากบุคคลใดประสงค์จะขอให้ศาลตั้งตนเป็นผู้จัดการมรดกคนใหม่แทนโจทก์กระทำได้โดยยื่นคำร้องขอเข้ามาในคดีเดิม แต่ถ้าจะฟ้องโจทก์แยกต่างหากจากคดีเดิมโดยอาศัยเหตุตาม ป.พ.พ. มาตรา 1727ก็ย่อมกระทำได้ ทั้งนี้เพราะบทบัญญัติดังกล่าวให้ยื่นคำร้องขอเข้ามาในคดีเดิมก่อนการปัน มรดก เสร็จสิ้นลงเท่านั้น หาได้ตัดสิทธิมิให้ผู้ขอไปฟ้องเป็นคดีใหม่อีกต่างหากไม่ เมื่อศาลมีคำพิพากษาให้ถอนโจทก์จากการเป็นผู้จัดการมรดก และตั้งบุคคลอื่นเป็นผู้จัดการมรดกแทนโจทก์ ซึ่งคดีถึงที่สุดแล้วคำพิพากษาดังกล่าวย่อมผูกพันโจทก์โจทก์จึงไม่ใช่ผู้จัดการมรดกของผู้ตายอีกต่อไป จึงไม่มีอำนาจฟ้องในฐานะเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย การที่ผู้จัดการมรดกได้ทำตามมติที่ประชุมทายาทโดยโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลย เป็นการจัดการเพื่อแบ่งปันทรัพย์มรดกของผู้ตายนิติกรรมดังกล่าวย่อมมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3791/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการขอ/คัดค้านผู้จัดการมรดกเป็นสิทธิเฉพาะตัว สิ้นสุดเมื่อผู้ยื่นคำร้องถึงแก่ความตาย
สิทธิในการร้องขอให้ศาลแต่งตั้งผู้จัดการมรดกก็ดี การคัดค้านการขอแต่งตั้งผู้จัดการมรดกก็ดี เป็นสิทธิเฉพาะตัวของผู้ยื่นคำร้องต่อศาล หากผู้ยื่นคำร้องยื่นคำร้องไว้แล้วต่อมาถึงแก่ความตายสิทธินั้นไม่ตกทอดไปยังทายาท และผู้จัดการมรดกของผู้นั้นก็ไม่อาจเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3658/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความบัญชีเดินสะพัด: เริ่มนับเมื่อสัญญาสิ้นสุด ไม่ใช่เมื่อทวงถาม
จำเลยที่ 1 เป็นลูกค้าธนาคารโจทก์ โดยเปิดบัญชีกระแสรายวันและทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์ 2 ฉบับ ครบกำหนดชำระเงินคืนในวันที่ 25 มิถุนายน 2511 และวันที่ 25 มิถุนายน 2513 หลังจากนั้นจำเลยได้ขอต่ออายุสัญญาทั้งสองฉบับไปอีกโดยมีกำหนดชำระหนี้พร้อมกันในวันที่ 25 มิถุนายน 2516 จำเลยที่ 1 เบิกเงินเกินบัญชีและนำเงินเข้าหักทอนบัญชีภายในเวลาอายุสัญญาเท่านั้น ครั้งสุดท้ายจำเลยที่ 1 เบิกเงินเกินบัญชีไปจากโจทก์เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2516ก่อนวันที่สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีจะสิ้นสุดลง หลังจากนั้นไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้นำเงินเข้าบัญชีและโจทก์ได้ยอมให้จำเลยที่ 1เบิกเงินเกินบัญชีได้อีก คงมีแต่การคำนวณดอกเบี้ยเข้าบัญชีเป็นรายเดือน แสดงว่ามิได้มีการเดินสะพัดและหักทอนบัญชีกันอีกเลยดังนี้ ถือได้ว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ไม่ประสงค์จะต่ออายุสัญญาอีกต่อไป สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีอันเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงสิ้นสุดลงนับแต่วันที่ตกลงกำหนดไว้ในสัญญาตามที่โจทก์กับจำเลยที่ 1 ได้แสดงเจตนากันไว้ หาจำต้องบอกเลิกสัญญาหรือบอกกล่าวทวงถามให้ชำระหนี้เสียก่อนไม่ อายุความในการฟ้องเรียกเงินตามบัญชีเดินสะพัดจึงเริ่มนับแต่วันที่ 26มิถุนายน 2516 อันเป็นวันที่โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป โจทก์ฟ้องคดีนี้ในวันที่ 21 เมษายน 2529 ซึ่งเกินกว่า10 ปี คดีโจทก์จึงขาดอายุความ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3597/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คเกินกำหนด 1 เดือน: สิทธิไล่เบี้ยผู้สลักหลังเป็นอันสิ้นสุด
เช็คให้ใช้เงินเมืองเดียวกันกับที่ออกเช็ค แต่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรงยื่นเช็คต่อธนาคารเพื่อให้ใช้เงินเกินกำหนด 1 เดือน นับแต่วันออกเช็ค ตามมาตรา 990 แห่ง ป.พ.พ. ดังนี้ โจทก์สิ้นสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยที่ 2 ผู้สลักหลัง.
of 20