พบผลลัพธ์ทั้งหมด 207 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5615/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิ้นสุดสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีเมื่อไม่มีเดินสะพัด แม้ตกลงเบิกต่อได้ โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นถึงวันครบกำหนดสัญญาเท่านั้น
สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 มีกำหนดระยะเวลา 12 เดือน แต่คู่กรณีมีการเดินสะพัดทางบัญชีครั้งสุดท้ายก่อนครบกำหนดดังกล่าว หลังจากนั้น มีแต่การคิดดอกเบี้ยทบต้นเป็นรายเดือนตลอดมา ทั้งยอดหนี้ในวันครบกำหนดสัญญาก็มีจำนวนสูงกว่าที่ตกลงไว้ในสัญญาประกอบกับหลังจากสัญญาครบกำหนดแล้วไม่ปรากฏว่ามีการเดินสะพัดทางบัญชีกันอีก แสดงว่า คู่กรณีทั้งสองฝ่ายให้ถือว่าสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุดลงในวันครบกำหนดตามสัญญาแม้จะมีข้อตกลงกันว่า เมื่อครบกำหนด 12 เดือน ไม่มีการต่ออายุสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีเป็นหลักฐานหนังสือกำหนดเวลากันใหม่คู่กรณีตกลงกันให้มีการเบิกเงินเกินบัญชีตามสัญญาต่อไปอีกคราวละ6 เดือน ตลอดไป ก็หาทำให้สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีซึ่งสิ้นสุดไปแล้วกลับมีผลเป็นการต่ออายุสัญญาไม่ โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้จนถึงวันครบกำหนดตามสัญญาเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2467/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสิ้นสุดสัญญาค้ำประกันเมื่อมีการเปลี่ยนหลักทรัพย์ค้ำประกันในชั้นอุทธรณ์ ผู้ค้ำประกันเดิมมีสิทธิรับหลักทรัพย์คืน
ในระหว่างการพิจารณาคดีของศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ใช้วิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาตามที่โจทก์ร้องขอต่อมาจำเลยนำผู้ร้องมาทำสัญญาค้ำประกันโดยนำโฉนดที่ดินวางไว้ต่อศาล โจทก์จึงได้ถอนคำขอใช้วิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาไป ต่อมาศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์พร้อมด้วยดอกเบี้ย จำเลยอุทธรณ์และได้รับอนุญาตให้ทุเลาการบังคับโดย ป. บุตรชายจำเลยนำสมุดเงินฝากธนาคารออมสินมาวางประกัน การที่ศาลอุทธรณ์อนุญาตให้ทุเลาการบังคับโดย ป.นำสมุดฝากเงินธนาคารออมสิน วางเงิน ประกันแทนหลักทรัพย์ที่ผู้ร้องวางประกันไว้ แสดงว่าในชั้นอุทธรณ์จำเลยได้เปลี่ยนหลักทรัพย์ ในการค้ำประกันจากของผู้ร้องมาเป็นของ ป.สัญญาค้ำประกันที่ผู้ร้องที่ไว้ต่อศาลจึงสิ้นสุดลง ผู้ร้องมีสิทธิรับ โฉนดที่ดินวางประกันไว้คืน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 187/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้เช่าช่วงและบริวารในสัญญาเช่า เมื่อสัญญาเช่าเดิมสิ้นสุดลง
จำเลยที่ 1 และที่ 2 เช่าที่ดินและตึกแถวจากโจทก์แล้วผิดนัดไม่ชำระค่าเช่า โจทก์บอกเลิกสัญญาแล้ว แต่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่ยอมออกจากตึกแถวพิพาท จึงต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายอันเป็นค่าขาดประโยชน์ให้โจทก์ส่วนจำเลยที่ 3เป็นเพียงคู่สัญญาเช่าช่วงกับจำเลยที่ 2 เมื่อจำเลยที่ 2ไม่มีสิทธิให้เช่าช่วง จำเลยที่ 3 ก็ไม่มีสิทธิใช้ประโยชน์ในตึกแถวพิพาท และจำเลยที่ 3 มิได้เป็นคู่สัญญาเช่ากับโจทก์แต่เป็นเพียงบริวารของผู้เช่า จึงไม่ต้องร่วมรับผิดใช้ค่าเสียหายจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1464/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุดลงเมื่อครบกำหนด ไม่ต้องบอกเลิกสัญญา, การคิดดอกเบี้ย, และการหักชำระหนี้จากบัญชีเงินฝาก
การที่โจทก์บอกเลิกสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีแก่จำเลยที่ 1 โดยส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับไปยังภูมิลำเนาเดิมของจำเลยร่วม ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการห้างจำเลยที่ 1 และไม่มีผู้รับหนังสือบอกเลิกฉบับนั้นยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้ส่งหนังสือบอกเลิกสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีไปถึงจำเลยที่ 1 โดยชอบแล้วสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุดลงวันที่ 24 พฤษภาคม 2527ตามการ์ดบัญชีกระแสรายวัน ปรากฏว่าในวันที่ 27 เมษายน 2527จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์อยู่ 301,046.27 บาท จากนั้นจนถึงวันที่สัญญาสิ้นสุดลง และในเวลาต่อมาไม่มีการเบิกเงินหรือนำเงินเข้าบัญชีจึงไม่มีการเดินสะพัดและหักทอนบัญชีกันอีกต่อไป พฤติการณ์แสดงว่าคู่สัญญาไม่ประสงค์จะต่ออายุสัญญากันอีกต่อไปแล้ว สัญญาบัญชีเดินสะพัดตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีจึงสิ้นสุดลงนับแต่ถึงกำหนดในสัญญา ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 856หาจำต้องบอกเลิกสัญญาหรือบอกกล่าวทวงถามให้ชำระหนี้ก่อนสัญญาจึงจะเลิกกันไม่ เมื่อสัญญาสิ้นสุดลงแล้วโจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นต่อไป โจทก์จะต้องหักเงินจากบัญชีเงินฝากประจำของจำเลยที่ 1 ชำระหนี้แก่โจทก์ตามที่ตกลงกันไว้เสียในวันที่สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุดลง และจำเลยที่ 1 ผิดนัดแล้ว หากมีหนี้เหลืออยู่เท่าใดโจทก์จึงมีสิทธิจะได้รับชำระหนี้ส่วนนั้น พร้อมด้วยดอกเบี้ยแบบไม่ทบต้นต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4137/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องหนี้จากสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีที่สิ้นสุดลงเมื่อไม่มีการเดินสะพัดทางบัญชี
ปรากฏตามบัญชีกระแสรายวันว่า นับแต่วันที่ 1 สิงหาคม2519 ซึ่งเป็นวันครบกำหนดการต่ออายุสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีครั้งสุดท้าย จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่ได้เบิกเงินออกจากบัญชีเลย และไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ให้จำเลยที่ 1 และที่ 2เบิกเงินเกินบัญชีต่อไปอีก คงมีแต่โจทก์คิดดอกเบี้ยทบต้นลงไว้ในบัญชีเท่านั้น จึงไม่มีลักษณะเป็นการเดินสะพัดทางบัญชี พฤติการณ์ของคู่กรณีที่ปฏิบัติต่อกันแสดงให้เห็นเจตนาได้ว่า ทั้งสองฝ่ายให้ถือว่าสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีอันเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดลงนับแต่วันที่ 1 สิงหาคม2519 ดังนั้น โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยทั้งสามชำระหนี้นับแต่วันถัดจากวันดังกล่าวเป็นต้นไป โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2529เกินกำหนด 10 ปี ฟ้องโจทก์สำหรับต้นเงินซึ่งคำนวณถึงวันที่1 สิงหาคม 2519 จึงขาดอายุความ ส่วนสิทธิเรียกร้องให้จำเลยทั้งสามชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปีของต้นเงินดังกล่าวหลังจากวันที่ 1 สิงหาคม 2519 ซึ่งเป็นหนี้ส่วนที่เป็นอุปกรณ์อันต้องอาศัยต้นเงินส่วนที่เป็นประธานซึ่งขาดอายุความ ย่อมขาดอายุความตามกันไปด้วยทั้งหมดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 190 เดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2260/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยทบต้นหลังสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุด: ศาลตัดสินอัตราดอกเบี้ยที่ถูกต้อง
สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีมีกำหนดเวลาชำระหนี้คืนไว้แน่นอนเมื่อไม่ปรากฏว่าธนาคารโจทก์ยอมให้จำเลยเบิกเงินเกินบัญชีอีกต่อไปนับแต่วันสิ้นสุดของสัญญา ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยนำเงินเข้าบัญชีเพื่อหักทอนหนี้ พฤติการณ์แสดงว่าคู่กรณีทั้งสองฝ่ายถือว่าสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีเป็นอันสิ้นสุดลงตามกำหนดเวลาที่ระบุไว้หลังจากนั้นธนาคารโจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นอีกต่อไป ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกำหนดให้ธนาคารโจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 17.5 ต่อปีได้ อันเป็นไปตามสิทธิที่โจทก์จะเรียกดอกเบี้ยสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยสูงกว่าอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ตามพ.ร.บ.ให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน พ.ศ. 2523 แม้สัญญาสิ้นสุดลงแล้วธนาคารโจทก์ก็ยังคิดดอกเบี้ยแบบไม่ทบต้นในอัตราดังกล่าวไว้ต่อไปเพราะถือได้ว่าจำเลยตกลงให้คิดได้มาแต่ต้น.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 209/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างสิ้นสุดตามกำหนด สิทธิค่าชดเชย, การเลิกจ้าง, และการโต้แย้งข้อเท็จจริงในคดีแรงงาน
โจทก์ที่ 1 ทำงานกับจำเลยโดยทำสัญญาจ้างเป็นปี ๆ เริ่มทำสัญญาครั้งแรกเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2530 ต่อมาในปี 2533 สัญญาจ้างลงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2533 ระบุว่าสัญญาจ้างมีกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ลูกจ้างเข้าทำงานตามสัญญาและมีข้อความตอนท้ายสัญญาว่าเริ่มวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2533 ซึ่งมีความหมายชัด อยู่ในตัวแล้วว่าคู่สัญญาให้สัญญามีผลเริ่มต้นตั้งแต่วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2533เมื่อครบกำหนดสัญญาจ้างย่อมสิ้นสุดลงโดยผลของสัญญา มิใช่จำเลยให้โจทก์ที่ 1 ออกจากงาน ปลดออกจากงาน หรือไล่ออกจากงานตามความหมายของประกาศของกระทรวงมหาดไทย เรื่อง คุ้มครองแรงงาน(ฉบับที่ 11) ข้อ 46 วรรคสอง จึงไม่ใช่เป็นการเลิกจ้าง โจทก์ที่ 1ไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชย ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์ที่ 2 ไม่ได้ทำงานเนื่องจากจำเลยได้จัดตารางทำงานให้ อ. ทำงานแทนโจทก์ที่ 2 ตั้งแต่วันที่ 4 พฤศจิกายน 2534 แล้ว โจทก์ที่ 2 ไม่ได้ละทิ้งหน้าที่ จำเลยอุทธรณ์ว่า โจทก์ที่ 2 ขอลาออกจากการทำงานตั้งแต่เดือนตุลาคม 2533 ให้มีผลวันที่ 3 พฤศจิกายน 2533 จำเลยไม่อนุมัติให้โจทก์ที่ 2 ลาออก โจทก์ที่ 2 ไม่มาทำงานในวันที่4 พฤศจิกายน 2533 จนถึงเดือนมกราคม 2534 จึงเป็นการหยุดงานที่ไม่มีเหตุสมควร เป็นการละทิ้งหน้าที่นั้น เป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 54.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 209/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างแรงงานสิ้นสุดตามกำหนด สิ้นสุดโดยผลของสัญญา ไม่ถือเป็นการเลิกจ้าง จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชย
การเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ 46 วรรคสอง หมายถึงการที่นายจ้างให้ลูกจ้างออกจากงานปลดออกจากงาน หรือไล่ออกจากงานอันเป็นลักษณะที่นายจ้างกระทำต่อลูกจ้างในขณะยังมีความสัมพันธ์ต่อกันตามสัญญาจ้างแรงงานแต่สัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาแน่นอนนั้นเมื่อครบกำหนดสัญญาจ้างย่อมสิ้นสุดลงโดยผลของสัญญา มิใช่นายจ้างให้ลูกจ้างออกจากงานปลดออกจากงาน หรือไล่ออกจากงาน จึงไม่ใช่เป็นการเลิกจ้างลูกจ้างไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 106/2535 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะพนักงานหลังพ้นตำแหน่งผู้ว่าการสถาบันวิจัยฯ การลาออก และเงื่อนไขการสิ้นสุดสัญญาจ้าง
ตามพระราชบัญญัติสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทยพ.ศ.2522 กำหนดให้ผู้ว่าการมีอำนาจบริหารกิจการของสถาบันให้เป็นไปตามกฎหมาย ข้อบังคับและนโยบายที่คณะกรรมการกำหนด บังคับบัญชาพนักงานและลูกจ้าง กับรับผิดชอบในการจัดการและดำเนินการของสถาบันตามที่คณะกรรมการมอบหมาย บรรจุ แต่งตั้ง ถอดถอน เลื่อน ลดหรือตัดเงินเดือน ตลอดจนลงโทษพนักงานและลูกจ้างตามข้อบังคับที่คณะกรรมการกำหนด มีอำนาจวางนโยบายบริหารงานและควบคุมดูแลโดยทั่วไปและรับผิดชอบซึ่งกิจการของสถาบัน ดังนี้ จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ว่าการของจำเลยที่ 1 เพียงผู้เดียวมีอำนาจในการบริหารกิจการและมีอำนาจบังคับบัญชาพนักงานและลูกจ้างทุกตำแหน่ง รวมตลอดถึงมีอำนาจในการบรรจุ แต่งตั้ง ถอดถอนลงโทษพนักงานและลูกจ้างทุกคนเว้นแต่บางตำแหน่ง จำเลยที่ 2 จึงมีฐานะเป็นนายจ้างของโจทก์ส่วนจำเลยที่ 3 ถึงที่ 12 มีอำนาจให้ความเห็นชอบวางนโยบายบริหารและควบคุมดูแลทั่วไปกับออกข้อบังคับต่าง ๆ จำเลยที่ 3 ถึงที่ 12 ไม่มีอำนาจตกลงรับลูกจ้างเข้าทำงานโดยจ่ายค่าจ้างให้ และไม่ใช่ผู้ซึ่งได้รับมอบหมายให้ทำงานแทนจำเลยที่ 1 หรือที่ 2 จำเลยที่ 3 ถึงที่ 12 จึงมิใช่นายจ้างของโจทก์
เมื่อโจทก์พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าการของจำเลยที่ 1 โจทก์ยังเป็นพนักงานของจำเลยที่ 1 อยู่ การที่จำเลยที่ 1 ตั้งโจทก์เป็นที่ปรึกษาและให้โจทก์ลงนามในสัญญานั้นแต่โจทก์ไม่ปฏิบัติตาม จนจำเลยที่ 1 มีหนังสือถึงโจทก์อีก ขอให้โจทก์ลงนามในสัญญาจ้างที่ปรึกษาให้เสร็จภายในกำหนด หากพ้นกำหนดจะถือว่าโจทก์สละสิทธิที่จะรับข้อเสนอในการว่าจ้าง เมื่อโจทก์ไม่ยอมลงนามในสัญญาตั้งที่ปรึกษาภายในเวลาที่กำหนด ถือว่าโจทก์สละสิทธิที่จะทำงานเป็นพนักงานของจำเลยที่ 1 ต่อไป มีผลเป็นการลาออกจากการเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 นับแต่วันพ้นกำหนด
แม้โจทก์จะเป็นผู้ว่าการของจำเลยที่ 1 แต่โจทก์ก็ยังคงเป็นพนักงานของจำเลยที่ 1 อยู่ การออกจากงานของโจทก์จึงต้องเป็นไปตามข้อบังคับของจำเลยที่ 1 ซึ่งจะต้องเกิดจากการตาย ลาออก อายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ ถูกสั่งให้ออก ปลดออก ไล่ออก หรือต้องรับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาของศาลถึงที่สุดตามที่ข้อบังคับกำหนดไว้เท่านั้น การพ้นจากตำแหน่งผู้ว่าการตามวาระของโจทก์ตามพระราชบัญญัติสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีแห่งประเทศไทยมีผลทำให้โจทก์พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าการของจำเลยที่ 1 เท่านั้น หามีผลทำให้โจทก์พ้นจากการเป็นพนักงานของจำเลยที่ 1 ไม่
เมื่อโจทก์พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าการของจำเลยที่ 1 โจทก์ยังเป็นพนักงานของจำเลยที่ 1 อยู่ การที่จำเลยที่ 1 ตั้งโจทก์เป็นที่ปรึกษาและให้โจทก์ลงนามในสัญญานั้นแต่โจทก์ไม่ปฏิบัติตาม จนจำเลยที่ 1 มีหนังสือถึงโจทก์อีก ขอให้โจทก์ลงนามในสัญญาจ้างที่ปรึกษาให้เสร็จภายในกำหนด หากพ้นกำหนดจะถือว่าโจทก์สละสิทธิที่จะรับข้อเสนอในการว่าจ้าง เมื่อโจทก์ไม่ยอมลงนามในสัญญาตั้งที่ปรึกษาภายในเวลาที่กำหนด ถือว่าโจทก์สละสิทธิที่จะทำงานเป็นพนักงานของจำเลยที่ 1 ต่อไป มีผลเป็นการลาออกจากการเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 นับแต่วันพ้นกำหนด
แม้โจทก์จะเป็นผู้ว่าการของจำเลยที่ 1 แต่โจทก์ก็ยังคงเป็นพนักงานของจำเลยที่ 1 อยู่ การออกจากงานของโจทก์จึงต้องเป็นไปตามข้อบังคับของจำเลยที่ 1 ซึ่งจะต้องเกิดจากการตาย ลาออก อายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ ถูกสั่งให้ออก ปลดออก ไล่ออก หรือต้องรับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาของศาลถึงที่สุดตามที่ข้อบังคับกำหนดไว้เท่านั้น การพ้นจากตำแหน่งผู้ว่าการตามวาระของโจทก์ตามพระราชบัญญัติสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีแห่งประเทศไทยมีผลทำให้โจทก์พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าการของจำเลยที่ 1 เท่านั้น หามีผลทำให้โจทก์พ้นจากการเป็นพนักงานของจำเลยที่ 1 ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5543/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสิ้นสุดสัญญาเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมและการกระทำความผิดฐานบุกรุกทำลายทรัพย์สินหลังสิ้นสุดสัญญา
แม้ คชก. ตำบลวินิจฉัยสั่งให้โจทก์ผู้เช่าออกจากที่พิพาทและโจทก์ไม่อุทธรณ์ต่อ คชก. จังหวัดก็ตาม แต่การที่โจทก์ไม่ออกจากที่พิพาท คู่กรณีหรือผู้มีส่วนได้เสียก็จะต้องใช้สิทธิทางศาลตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524การที่จำเลยนำรถแทรกเตอร์เข้าไปไถไร่อ้อยของโจทก์ในที่พิพาทโดยไม่มีอำนาจกระทำได้ ย่อมมีความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์และบุกรุก.