พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,168 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5856/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินสมรสที่ดินพิพาท การซื้อขายโดยไม่สุจริตและผลของการเพิกถอนนิติกรรม
บิดาโจทก์ยกที่ดินพิพาทให้โจทก์และจำเลยที่ 1 และเป็นทรัพย์สินที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ได้มาระหว่างสมรส จึงเป็นสินสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1474(1) เมื่อจำเลยที่ 1ได้ทำสัญญาขายที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 2 แต่เพียงฝ่ายเดียวโดยปราศจากความยินยอมของโจทก์ซึ่งเป็นคู่สมรส นิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยบทบัญญัติมาตรา 1476(1) และเมื่อจำเลยที่ 2เบิกความยอมรับว่าก่อนซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 รู้ว่าจำเลยที่ 1 มีสามีคือโจทก์ จึงถือได้ว่าจำเลยที่ 2 รับโอนโดยไม่สุจริตโจทก์มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 2 กับนิติกรรมที่จำเลยที่ 2 ยินยอมให้จำเลยที่ 3เข้าถือกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทได้ตามมาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5801/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ที่ดิน: การได้มาโดยโฉนด การครอบครองปรปักษ์ และสิทธิของบุคคลภายนอกที่ได้มาโดยสุจริต
ที่ดินพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของโฉนดที่ดิน ซึ่งมี ส. เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ และเจ้าพนักงานที่ดินได้ออก โฉนดที่ดินให้ ส. เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2524 และเมื่อ ส. ขอออกโฉนดที่ดิน จำเลยไม่ได้โต้แย้งคัดค้าน เจ้าพนักงานที่ดินได้ออกโฉนดที่ดินดังกล่าวให้แก่ ส. ที่ดินตามโฉนดที่ดินดังกล่าว ซึ่งรวมทั้งที่ดินพิพาทด้วยย่อมตกเป็นกรรมสิทธิ์ของ ส. ตามกฎหมาย จำเลยจะอ้างว่าจำเลยมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทขึ้นต่อสู้ ส. ผู้มีกรรมสิทธิ์ไม่ได้ แม้จำเลยจะมีเจตนาครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาทก็ต้องเริ่มนับระยะเวลาการครอบครองปรปักษ์ตั้งแต่วันที่ออกโฉนดที่ดิน เป็นต้นไป ต่อมามีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทที่ดินดังกล่าวมาเป็นของโจทก์เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2533 เนื่องจากโจทก์ประมูลซื้อที่ดินดังกล่าวได้จากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาล เมื่อจำเลยมิได้ให้การหรือนำสืบว่าโจทก์มิใช่บุคคลภายนอกและกระทำการไม่สุจริตแล้ว โจทก์ย่อมได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานตาม ป.พ.พ. มาตรา 6 ว่ากระทำการโดยสุจริต สิทธิการครอบครองปรปักษ์ของจำเลยจึงไม่อาจใช้ยันโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้ได้สิทธิมาโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริต และได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้วตามมาตรา 1299 วรรคสอง การครอบครองปรปักษ์ที่มีอยู่ก่อนนั้นจึงสิ้นไป แม้หลังจากที่โจทก์รับจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน ตามโฉนดที่ดินดังกล่าวมาเป็นของโจทก์แล้ว จำเลยจะครอบครองที่ดินพิพาทต่อมาก็ต้องเริ่มนับระยะเวลาการครอบครองที่ดินพิพาทใหม่ตั้งแต่ปี 2533 เมื่อนับถึงวันที่โจทก์ฟ้องคดียังไม่ถึง 10 ปี จำเลยจึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท โดยการครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5746/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนขายทอดตลาดกระทบสิทธิจำนอง: ผู้รับจำนองไม่อาจอ้างสุจริตหลังเพิกถอน
คำพิพากษาของศาลที่ให้เพิกถอนการขายทอดตลาดที่ดิน น.ส.3 ก. ที่เจ้าพนักงานบังคับคดีขายให้แก่ ว. ต้องถือเสมือนว่าไม่มีการขายทอดตลาด และไม่มีการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมโอนสิทธิครอบครองให้แก่ ว. ทั้ง ว. ไม่ได้รับความคุ้มครองเพราะมิใช่กรณีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1330 ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับจำนองที่ดินดังกล่าวในระหว่างการพิจารณาคำร้องขอเพิกถอนการขายทอดตลาด จึงไม่อาจอ้างว่าผู้ร้องเป็นบุคคลภายนอกซึ่งรับจำนองและจดทะเบียนโดยสุจริตและไม่อาจอ้างว่าคำพิพากษาที่ให้เพิกถอนการขายทอดตลาดไม่ผูกพันผู้ร้องได้ เมื่อ ว. ไม่มีสิทธิครอบครองในที่ดิน จึงไม่ใช่เจ้าของที่ดินและไม่อาจนำมาจดทะเบียนจำนองแก่ผู้ร้องได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 705 ทั้งการจดทะเบียนจำนองเป็นกรณีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 702 แต่การเพิกถอนการขายทอดตลาดเป็นกรณีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตา 296 วรรคสอง (เดิม)เป็นคนละกรณีไม่เกี่ยวข้องกัน ผู้ร้องจึงไม่ได้รับความคุ้มครอง จึงไม่มีเหตุที่ผู้ร้องจะปฏิเสธไม่ส่งมอบต้นฉบับ น.ส.3 ก ตามคำสั่งศาลชั้นต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4563/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแสดงความคิดเห็นติชมโดยสุจริตถึงการทุจริตของนักการเมือง ไม่ถือเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท
หลังจากโจทก์ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลแล้ว จำเลยได้พูดผ่านเครื่องกระจายเสียงต่อประชาชนว่า โจทก์เป็นคนขี้โกงเอาที่สาธารณประโยชน์เป็นของตนเอง คำกล่าวของจำเลยเป็นการยืนยันข้อเท็จจริงว่าโจทก์เอาที่สาธารณประโยชน์ไปเป็นของตนเอง โดยจำเลยแสดงความคิดเห็นประกอบว่าโจทก์ผู้กระทำการดังกล่าวเป็นคนขี้โกง ก็โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ประชาชนต่อต้านการกระทำที่จำเลยเห็นว่าไม่ถูกต้องตามกฎหมายมีความไม่ชอบมาพากลเกิดขึ้นเพื่อเรียกร้องเอาที่สาธารณประโยชน์ในตำบลที่จำเลยอยู่อาศัยคืน และหากปรากฏว่าโจทก์โกงที่สาธารณประโยชน์เป็นของตนเอง โจทก์ย่อมไม่ใช่ผู้ที่มีความซื่อสัตย์สุจริตประชาชนไม่ควรไว้วางใจให้โจทก์เข้าไปมีส่วนร่วมบริหารกิจการขององค์การบริหารส่วนตำบลแทนประชาชน และการเรียกร้องเอาที่สาธารณประโยชน์คืนเพื่อประโยชน์ของประชาชนและจำเลยเองด้วย จำเลยจึงมีความชอบธรรมที่จะเปิดเผยให้ประชาชนทราบถึงข้อเท็จจริงดังกล่าวเพื่อป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรมตลอดจนแสดงความคิดเห็นติชมด้วยความเป็นธรรม ซึ่งการกระทำดังกล่าวอันเป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทำ และข้อความที่จำเลยกล่าวมีมูลความจริง มิใช่เป็นการเสกสรรปั้นแต่งเรื่องขึ้นใส่ร้ายโจทก์โดยไม่มีมูลความจริง การแสดงข้อความและความคิดเห็นของจำเลยจึงเป็นการกระทำโดยสุจริต จำเลยไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาทตาม ป.อ. มาตรา 329 (1) (3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4563/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแสดงความคิดเห็นติชมโดยสุจริตเกี่ยวกับพฤติกรรมการทุจริตของนักการเมือง แม้ยังไม่มีคำพิพากษา ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท
โจทก์ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลแล้ว จำเลยได้พูดผ่านเครื่องกระจายเสียงว่า โจทก์เป็นคนขี้โกงเอาที่สาธารณประโยชน์เป็นของตนเอง เพื่อให้ประชาชนต่อต้านการกระทำที่จำเลยเห็นว่าไม่ถูกต้องตามกฎหมาย เพราะการที่โจทก์เสนอตัวต่อประชาชนให้เลือกตน เป็นการแสดงว่าตนเป็นคนดีมีความซื่อสัตย์สุจริต ไว้วางใจให้เข้าไปมีส่วนร่วมบริหารกิจการแทนประชาชนได้ และการเรียกร้องเอาที่สาธารณประโยชน์คืนก็เพื่อประโยชน์ของประชาชนและจำเลยเองด้วย จำเลยจึงมีความชอบธรรมที่จะเปิดเผยให้ประชาชนทราบเพื่อป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรม ตลอดจนแสดงความคิดเห็นติชมด้วยความเป็นธรรมซึ่งการกระทำดังกล่าวอันเป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทำ แม้ขณะจำเลยกล่าวถ้อยคำดังกล่าว โจทก์ยังไม่ถูกดำเนินคดีอาญา หากจำเลยเชื่อโดยบริสุทธิ์ใจ มิได้มีเจตนากลั่นแกล้งใส่ร้ายโจทก์และมีมูลอันควรเชื่อ ก็เป็นการกระทำโดยสุจริตแล้ว จำเลยไม่มีความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2669/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคิดอัตราแลกเปลี่ยนหนี้ต่างประเทศ – ศาลพิพากษาเกินคำขอ, การใช้สิทธิโดยสุจริต, และการปฏิบัติตามสัญญา
คำฟ้องของโจทก์จะชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ต้องพิจารณาจาก การบรรยายฟ้องเป็นสำคัญ เมื่อคำฟ้องเป็นที่พอเข้าใจได้ถึงสภาพแห่งข้อหา ข้ออ้างที่โจทก์อาศัยเป็นหลักในการกล่าวหาและที่ขอบังคับจำเลยตามข้อกำหนดคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศพ.ศ. 2540 ข้อ 6 แล้ว จึงเป็นคำฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมาย ส่วนเอกสารที่ต้องแนบมาท้ายคำฟ้องตามข้อกำหนดคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2540 ข้อ 7 นั้น ก็เพื่อจะให้จำเลยได้รู้ว่ามีเอกสารใดที่เกี่ยวข้องตามคำฟ้องบ้างในเบื้องต้น อันจะทำให้การดำเนินคดีเป็นไปโดยความสะดวกและรวดเร็วเท่านั้น แม้เอกสารดังกล่าวเป็นภาษาต่างประเทศ ไม่มีคำแปลเป็นภาษาไทยก็เป็นฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมายเพียงแต่ในชั้นพิจารณาจะต้องมีคำแปลเป็นภาษาไทยตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศพ.ศ. 2539 มาตรา 26 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 46
เมื่อโจทก์และจำเลยทำสัญญาการให้สินเชื่อแล้ว มีหน้าที่ปฏิบัติต่อกันตามสัญญา หากจำเลยปฏิบัติผิดข้อกำหนดใดย่อมเป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์ทำให้มีสิทธิฟ้องให้จำเลยชำระเงินคืนได้ การที่จำเลยปฏิบัติผิดข้อกำหนดตามสัญญาแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องเรียกเงินกู้คืน เป็นการใช้สิทธิเรียกร้องตามกฎหมายโดยชอบ แม้โจทก์จะรู้ว่าอยู่ในระหว่างที่จำเลยกำลังเจรจาปรับโครงสร้างหนี้กับเจ้าหนี้รายอื่นก็ไม่อาจถือได้ว่าโจทก์ใช้สิทธิฟ้องคดีโดยไม่สุจริต
ตามคำฟ้องโจทก์ขอให้จำเลยชำระหนี้ด้วยเงินตราต่างประเทศคือเงินดอลลาร์สหรัฐเท่านั้น การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษากำหนดให้คิดอัตราแลกเปลี่ยนเงินใน วันที่มีคำพิพากษาเป็นเกณฑ์ นอกจากจะไม่เป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 196 วรรคสอง แล้วยังเป็นการพิพากษาเกินคำขอของโจทก์ โดยกำหนดการคิดอัตราแลกเปลี่ยนขึ้นนอกเหนือจากที่ปรากฏในคำฟ้อง จึงไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศพ.ศ. 2539 มาตรา 26 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142 วรรคหนึ่ง
เมื่อโจทก์และจำเลยทำสัญญาการให้สินเชื่อแล้ว มีหน้าที่ปฏิบัติต่อกันตามสัญญา หากจำเลยปฏิบัติผิดข้อกำหนดใดย่อมเป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์ทำให้มีสิทธิฟ้องให้จำเลยชำระเงินคืนได้ การที่จำเลยปฏิบัติผิดข้อกำหนดตามสัญญาแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องเรียกเงินกู้คืน เป็นการใช้สิทธิเรียกร้องตามกฎหมายโดยชอบ แม้โจทก์จะรู้ว่าอยู่ในระหว่างที่จำเลยกำลังเจรจาปรับโครงสร้างหนี้กับเจ้าหนี้รายอื่นก็ไม่อาจถือได้ว่าโจทก์ใช้สิทธิฟ้องคดีโดยไม่สุจริต
ตามคำฟ้องโจทก์ขอให้จำเลยชำระหนี้ด้วยเงินตราต่างประเทศคือเงินดอลลาร์สหรัฐเท่านั้น การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษากำหนดให้คิดอัตราแลกเปลี่ยนเงินใน วันที่มีคำพิพากษาเป็นเกณฑ์ นอกจากจะไม่เป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 196 วรรคสอง แล้วยังเป็นการพิพากษาเกินคำขอของโจทก์ โดยกำหนดการคิดอัตราแลกเปลี่ยนขึ้นนอกเหนือจากที่ปรากฏในคำฟ้อง จึงไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศพ.ศ. 2539 มาตรา 26 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 165/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนที่ดินเพื่อหลีกเลี่ยงหนี้สินและผลกระทบต่อบุคคลภายนอกผู้ซื้อโดยสุจริต
เดิมที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ทั้งสองโดยมีชื่อโจทก์ที่ 2 เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ โจทก์ทั้งสองกู้ยืมเงินและจำนองที่ดินพิพาทไว้แก่ธนาคาร แต่ไม่สามารถชำระหนี้ได้โจทก์ที่ 2 จึงโอนที่ดินพิพาทใส่ชื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไว้เพื่อไม่ให้ธนาคารบังคับจำนอง และจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้จดทะเบียนจำนองเป็นประกันหนี้เงินกู้ไว้แก่ธนาคารดังกล่าวอีก ต่อมาโจทก์ทั้งสองฟ้องขอให้ศาลบังคับจำเลยที่ 1 และที่ 2 จดทะเบียนไถ่ถอนจำนองและโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ทั้งสอง ระหว่างพิจารณาจำเลยที่ 1 และที่ 2 จดทะเบียนไถ่ถอนจำนองแล้วโอนขายให้แก่จำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 เช่นนี้ เป็นการแสดงเจตนาลวงโดยสมรู้ระหว่างโจทก์ทั้งสองกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ซึ่งเป็นโมฆะ แต่จะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้กับบุคคลภายนอกผู้กระทำการโดยสุจริตและต้องเสียหายจากการแสดงเจตนาลวงนั้นมิได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 155 วรรคหนึ่ง ฉะนั้น ภาระการพิสูจน์จึงตกแก่โจทก์ทั้งสองที่จะต้องนำสืบถึงความไม่สุจริตของจำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7532/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิในที่ดินมรดก: สิทธิของทายาท vs. ผู้รับโอนสิทธิโดยสุจริต
เมื่อที่ดินอันเป็นทรัพย์มรดกของ ร. ยังมิได้แบ่งปันแก่ทายาท บุตรของ ร. ทุกคนซึ่งเป็นทายาทจึงมีสิทธิในที่ดินเท่า ๆ กัน การที่ ว. และจำเลยที่ 1 ครอบครองที่ดินมรดกจึงเป็นการครอบครองแทนทายาทคนอื่น ๆ ว. ย่อมไม่มีอำนาจนำที่ดินพิพาทซึ่งเป็นส่วนหนึ่งทางด้านทิศเหนือของที่ดินอันเป็นทรัพย์มรดกของ ร. ไปขายแก่โจทก์โดยที่ทายาททุกคนไม่ยินยอม การที่โจทก์เข้าครอบครองที่ดินพิพาทโดย ว. ส่งมอบให้จึงเป็นการครอบครองที่ดินพิพาท ในฐานะครอบครองแทนทายาทของ ร. เช่นเดียวกับ ว. เท่านั้น เพราะผู้รับโอนย่อมไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน สิทธิครอบครองที่ดินพิพาทจึงยังไม่โอนมาเป็นของโจทก์ เมื่อต่อมาทางราชการได้ออกโฉนดที่ดินแปลงดังกล่าว และจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ร. ได้โอนขายที่ดินทั้งหมดซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของ ร. แก่จำเลยที่ 2 โดยมีค่าตอบแทน และจำเลยที่ 2 เป็นบุคคลภายนอกได้จดทะเบียนรับโอนสิทธิมาโดยสุจริต จำเลยที่ 2 ย่อมได้ไปซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินมรดกของ ร. ทั้งหมดตาม ป.พ.พ. มาตรา 1300 โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพิกถอนการโอนระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7037/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บุคคลภายนอกผู้สุจริตย่อมได้รับความคุ้มครอง แม้มีการบอกล้างนิติกรรมโมฆียะจากกลฉ้อฉล
คดีก่อนศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า นิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างผู้ร้องกับจำเลยเป็นโมฆียะเพราะผู้ร้องถูกกลฉ้อฉลของจำเลย เมื่อผู้ร้องบอกล้างแล้วนิติกรรมจึงเป็นโมฆะ คดีถึงที่สุดแล้ว ผู้ร้องซึ่งเป็นคู่ความย่อมผูกพันตามคำพิพากษาดังกล่าวตาม ป.วิ.พ.มาตรา 145 วรรคหนึ่ง การที่ผู้ร้องบอกล้างนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทซึ่งเป็นโมฆียะเพราะถูกกลฉ้อฉลของจำเลย จึงไม่อาจยกเป็นข้อต่อสู้โจทก์ซึ่งมิใช่คู่สัญญาซื้อขายและมิใช่คู่ความในคดีก่อนอันเป็นบุคคลภายนอกผู้กระทำการโดยสุจริตได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 160
คำร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ของผู้ร้องมิได้บรรยายว่า โจทก์ทราบถึงกลฉ้อฉลของจำเลยอันจะเป็นประเด็นว่าโจทก์ไม่สุจริตอย่างไร จึงต้องถือว่าโจทก์เป็นบุคคลภายนอกผู้กระทำการโดยสุจริต ผู้ร้องจะยกเอาการบอกล้างนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างผู้ร้องกับจำเลย เป็นข้อต่อสู้โจทก์หาได้ไม่
คำร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ของผู้ร้องมิได้บรรยายว่า โจทก์ทราบถึงกลฉ้อฉลของจำเลยอันจะเป็นประเด็นว่าโจทก์ไม่สุจริตอย่างไร จึงต้องถือว่าโจทก์เป็นบุคคลภายนอกผู้กระทำการโดยสุจริต ผู้ร้องจะยกเอาการบอกล้างนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างผู้ร้องกับจำเลย เป็นข้อต่อสู้โจทก์หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7037/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บุคคลภายนอกผู้กระทำการโดยสุจริตย่อมได้รับความคุ้มครอง แม้การซื้อขายจะถูกบอกล้างเนื่องจากกลฉ้อฉล
คดีก่อนศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า นิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างผู้ร้องกับจำเลยเป็นโมฆียะเพราะผู้ร้องถูกกลฉ้อฉลของจำเลยเมื่อผู้ร้องบอกล้างแล้วนิติกรรมจึงเป็นโมฆะ คดีถึงที่สุดแล้ว ผู้ร้องซึ่งเป็นคู่ความย่อมผูกพันตามคำพิพากษาดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 วรรคหนึ่งการที่ผู้ร้องบอกล้างนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทซึ่งเป็นโมฆียะเพราะถูกกลฉ้อฉลของจำเลย จึงไม่อาจยกเป็นข้อต่อสู้โจทก์ซึ่งมิใช่คู่สัญญาซื้อขายและมิใช่คู่ความในคดีก่อนอันเป็นบุคคลภายนอกผู้กระทำการโดยสุจริตได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 160
คำร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ของผู้ร้องมิได้บรรยายว่า โจทก์ทราบถึงกลฉ้อฉลของจำเลยอันจะเป็นประเด็นว่าโจทก์ไม่สุจริตอย่างไร จึงต้องถือว่าโจทก์เป็นบุคคลภายนอกผู้กระทำการโดยสุจริตผู้ร้องจะยกเอาการบอกล้างนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างผู้ร้องกับจำเลย เป็นข้อต่อสู้โจทก์หาได้ไม่
คำร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ของผู้ร้องมิได้บรรยายว่า โจทก์ทราบถึงกลฉ้อฉลของจำเลยอันจะเป็นประเด็นว่าโจทก์ไม่สุจริตอย่างไร จึงต้องถือว่าโจทก์เป็นบุคคลภายนอกผู้กระทำการโดยสุจริตผู้ร้องจะยกเอาการบอกล้างนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างผู้ร้องกับจำเลย เป็นข้อต่อสู้โจทก์หาได้ไม่