คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ส่งหมาย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 76 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1651/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันตัว: การส่งหมายนัดที่ถูกต้องและการผิดสัญญาเมื่อไม่ปฏิบัติตาม
บ้านเลขที่ 37 ในถนนเดียวกันมี 2 หลัง หลังหนึ่งอยู่ริมถนนอีกหลังอยู่ในตรอก ผู้ประกันอยู่ที่บ้านซึ่งอยู่ในตรอก แต่เขียนที่ อยู่ในคำร้องขอปล่อยชั่วคราวโดยระบุเลขบ้านกับถนนและขีดในช่องตรอกหรือซอยในแบบพิมพ์คำร้องเสีย เมื่อศาลออกหมายนัดให้ส่งตัวจำเลย พนักงานเดินหมายจึงไปส่งที่บ้านริมถนน ไม่พบผู้ประกันและคนในบ้านหลังนั้นแจ้งว่าไม่มีคนชื่ออย่างผู้ประกันอยู่ที่บ้านหลังนั้นดังนี้ถือไม่ได้ว่าพนักงานเดินหมายไม่ได้ไปส่งหมายนัดให้ผู้ประกันตามที่อยู่ในคำร้องขอปล่อยชั่วคราว เมื่อไม่สามารถส่งหมายนัดได้แล้วศาลได้ปิดประกาศแจ้งวันนัดให้ผู้ประกันส่งตัวจำเลย ประกาศดังกล่าวนี้มีผลใช้ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 79 เมื่อผู้ประกันไม่ส่งตัวจำเลยตามกำหนดนัดในประกาศต้องถือว่าผิดสัญญาประกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1990/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายเรียกจำเลยชาวต่างชาติที่มีภูมิลำเนาต่างประเทศ การส่งหมายทางหนังสือพิมพ์มีผลเฉพาะจำเลยที่มีภูมิลำเนาในไทย
การลงโฆษณาหมายเรียกจำเลยทางหนังสือพิมพ์นั้น ย่อมมีผลเฉพาะจำเลยซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทย หรือได้เข้ามาอยู่ในประเทศไทยชั่วคราวในระหว่างระยะเวลาที่ได้มีการลงโฆษณา
จำเลยเป็นบุคคลสัญชาติมาเลเซีย มีภูมิลำเนาอยู่ที่กัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย เมื่อพนักงานสอบสวนปล่อยตัวจำเลย จำเลยกลับไปประเทศมาเลเซียก่อนศาลชั้นต้นลงโฆษณาหมายเรียกจำเลย และไม่ปรากฏว่าหลังจากนั้น จำเลยได้กลับมาในประเทศไทยอีก ดังนี้ ถือไม่ได้ว่าได้มีการส่งหมายเรียกให้แก่จำเลยในประเทศโดยชอบแล้ว ศาลจึงดำเนินคดีต่อไปไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 701/2479

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายเรียก/คำสั่งศาลไปยังจำเลยที่ไม่มีที่อยู่ประจำ การส่งให้บุคคลที่จำเลยอาศัยอยู่ด้วยถือว่าเป็นการส่งให้ถูกต้อง
การทอดโฉนดบัตร์หมายให้แก่บุคคลซึ่งมีที่อยู่ไม่เป็นประจำนั้น ถ้าไม่พบตัวผู้นั้นจะส่งให้แก่บุคคลซึ่งอยู่ในบ้านที่บุคคลผู้นั้นได้อาศัยอยู่ไว้แทนก็ได้ แลถือเสมือนว่าได้ส่งให้แก่ตัวบุคคลผู้นั้นแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 609/2475

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำหน่ายคดีเนื่องจากไม่สามารถส่งหมายฎีกาให้จำเลยได้
ส่งหมายและสำเนาฎีกาให้จำเลยไม่ได้ต้องจำหน่ายคดีจากสารบน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5845/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภูมิลำเนาเฉพาะการของผู้จัดการมรดก การส่งหมายที่ถูกต้อง และการเพิกถอนกระบวนพิจารณา
คำร้องขอของผู้ร้องระบุแต่แรกว่า ผู้ร้องอยู่บ้านเลขที่ 46/10 ถนนสุขุมวิท 105 ซอยลาซาล 14 (วงค์สวัสดิ์ 1) แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพมหานคร หลังจากศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกแล้ว ทายาทหลายคนส่งจดหมายไปที่บ้านดังกล่าว ทั้งคดียักยอกทรัพย์มรดกที่ผู้ร้องเป็นโจทก์ฟ้องในฐานะผู้จัดการมรดก ผู้ร้องยืนยันที่อยู่บ้านเลขที่ 46/10 ประกอบกับผู้คัดค้านเบิกความตอบทนายผู้ร้องถามค้านรับว่า ผู้คัดค้านทราบว่าผู้ร้องอยู่ที่บ้านดังกล่าว พฤติการณ์ดังกล่าว แสดงว่าผู้ร้องเลือกเอาบ้านเลขที่ 46/10 เป็นภูมิลำเนาเฉพาะการสำหรับการดำเนินคดีของผู้ร้อง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 42 ดังนั้น การที่พนักงานเดินหมายปิดหมายนัดและสำเนาคำร้องขอของผู้คัดค้านเพื่อแจ้งกำหนดวันนัดไต่สวนตามทะเบียนราษฎร์ที่มีชื่อผู้ร้อง โดยผู้คัดค้านไม่ได้ส่งหมายนัดและสำเนาคำร้องของผู้คัดค้านไปยังภูมิลำเนาเฉพาะการของผู้ร้อง การปิดหมายนัดและสำเนาคำร้องไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 74 (2), 77 และมาตรา 79 ถือไม่ได้ว่าผู้ร้องทราบนัดไต่สวนแล้ว เมื่อกรณีมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมในเรื่องการส่งคำคู่ความ และทำให้กระบวนพิจารณาหลังจากนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงชอบที่จะสั่งให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้นเสียทั้งหมด ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 และเมื่อวินิจฉัยให้เพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบตั้งแต่การส่งหมายนัดและสำเนาคำร้องขอของผู้คัดค้านแล้ว กรณีต้องย้อนไปดำเนินกระบวนพิจารณาดังกล่าวใหม่ให้ถูกต้องตามที่กฎหมายบังคับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15324/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาคดีใหม่: การส่งหมายที่ไม่ชอบและกรอบเวลาการยื่นคำขอจากพฤติการณ์นอกเหนือควบคุม
จำเลยยื่นคำขอให้พิจารณาคดีใหม่โดยอ้างว่า ไม่จงใจขาดนัดยื่นคำให้การ ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องไม่ชอบ เป็นการไม่ปฏิบัติตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 74 (2) ให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 จึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นไม่ได้พิจารณาคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 199 เบญจ คำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่และคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 4 จึงไม่เป็นที่สุด ตามบทบัญญัติแห่งมาตราดังกล่าว
เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2555 พนักงานเดินหมายได้นำคำบังคับไปส่งให้แก่จำเลยที่บ้านเลขที่ 370/207 หมู่ที่ 21 ตำบลบ้านเป็ด อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น ซึ่งเป็นภูมิลำเนาของจำเลยตามคำฟ้องโดยวิธีปิดหมายตามคำสั่งศาลชั้นต้น ต่อมาวันที่ 28 มกราคม 2557 จำเลยยื่นคำขอให้พิจารณาคดีใหม่อ้างว่า จำเลยมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเลขที่ 370/207 หมู่ที่ 21 ตำบลบ้านเป็ด อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น แต่มิใช่ที่อยู่ที่แท้จริงเพราะจำเลยพักอาศัยอยู่ที่ราชอาณาจักรเดนมาร์กตลอดมาไม่เคยเดินทางกลับประเทศไทยเป็นเวลา 5 ปีแล้ว เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2556 ป. น้าจำเลยโทรศัพท์บอกว่าคนดูแลบ้านของจำเลยเห็นโจทก์กับพวกเข้าไปในบ้านจำเลย หลังจากตรวจสอบแล้วปรากฏว่าบ้านและที่ดินถูกยึด จำเลยติดต่อทนายความจึงทราบว่าถูกโจทก์เป็นคดีนี้ อันเป็นกล่าวอ้างว่ากรณีมีพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ที่ทำให้จำเลยไม่สามารถยื่นคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ภายในสิบห้าวันนับจากวันที่ได้ส่งคำบังคับตามคำพิพากษาให้แก่จำเลย ซึ่งจำเลยจะต้องบรรยายให้ชัดแจ้งว่าพฤติการณ์นั้นได้สิ้นสุดลงเมื่อใด เพื่อแสดงให้เห็นว่าจำเลยได้ยื่นคำขอภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่พฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้สิ้นสุดลงหรือไม่ แต่ในคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ของจำเลยดังกล่าวไม่ปรากฏว่าพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้นั้นได้สิ้นสุดลงเมื่อใด ทั้งในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2556 จำเลยได้แต่งตั้งทนายความยื่นคำร้องขอถ่ายเอกสารต่าง ๆ ในสำนวนเพื่อยื่นคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ จึงต้องถือว่าพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ดังกล่าวได้สิ้นสุดอย่างช้าในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2556 แล้ว แต่จำเลยเพิ่งยื่นคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ในวันที่ 28 มกราคม 2557 จึงพ้นกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันที่พฤติการณ์นั้นได้สิ้นสุดลง คำขอให้พิจารณาคดีใหม่ของจำเลยจึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 199 จัตวา วรรคหนึ่ง ปัญหาว่าคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11492/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายนัดฟังคำพิพากษาโดยการปิดหมายที่ภูมิลำเนาเดิมของจำเลยที่ย้ายที่อยู่แล้ว ถือเป็นการส่งโดยชอบหรือไม่
การส่งหมายนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 ให้จำเลยทราบโดยการปิดหมายนั้น หากเป็นการปิดหมาย ณ ภูมิลำเนาของจำเลยโดยไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ย้ายไปจากภูมิลำเนานั้นก่อนแล้วย่อมเป็นการส่งโดยชอบ และเมื่อครบกำหนด 15 วันแล้ว ย่อมมีผลใช้ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 79 วรรคสอง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 กรณีของจำเลยแม้ได้ส่งหมายนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 ในวันที่ 27 มิถุนายน 2554 ให้จำเลยทราบ โดยการปิดหมาย ณ ภูมิลำเนาของจำเลยตามฟ้องของโจทก์ก็ตาม แต่ตามรายงานเจ้าหน้าที่ฉบับลงวันที่ 4 เมษายน 2554 เจ้าหน้าที่ศาลรายงานว่า ในการส่งหมายนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 ในวันที่ 25 เมษายน 2554 ให้จำเลยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ ส่งไม่ได้เพราะจำเลยย้ายที่อยู่ใหม่ ดังนี้ ก่อนศาลชั้นต้นจะเลื่อนวันนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 ออกไป และหมายนัดจำเลยมาฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 โดยให้เจ้าพนักงานศาลส่งโดยวิธีปิดหมายนั้น ศาลชั้นต้นต้องแจ้งให้โจทก์แถลงให้ศาลชั้นต้นทราบเสียก่อนว่าจำเลยยังคงมีภูมิลำเนาตามคำฟ้องของโจทก์หรือไม่ แต่ศาลชั้นต้นมิได้ดำเนินการดังกล่าวกลับมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานศาลส่งหมายนัดให้จำเลยโดยวิธีปิดหมายตามภูมิลำเนาของจำเลยในคำฟ้องของโจทก์ ทั้งกรณีมิใช่หน้าที่ของจำเลยที่ต้องแถลงที่อยู่ให้ศาลทราบ ข้อเท็จจริงตามรายงานเจ้าหน้าที่ดังกล่าวย่อมเป็นกรณีที่จำเลยได้ย้ายภูมิลำเนาตามคำฟ้องของโจทก์ไปแล้วก่อนมีการปิดหมายนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 ในวันที่ 27 มิถุนายน 2554 แม้จะปิดหมายครบ 15 วัน แล้วก็ไม่มีผลใช้ได้ตามกฎหมาย และถือไม่ได้ว่าเป็นการส่งหมายนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 ให้จำเลยทราบโดยชอบ การที่จำเลยไม่มาศาลในวันนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 ในวันที่ 27 มิถุนายน 2554 และศาลชั้นต้นออกหมายจับจำเลยจึงเป็นการไม่ชอบ ทั้งการที่ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 ลับหลังจำเลยหลังจากออกหมายจับจำเลยเกินกว่าหนึ่งเดือนแล้ว ก็ไม่อาจถือได้ว่าจำเลยทราบคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 ในวันดังกล่าวและถือไม่ได้ว่าได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 ให้จำเลยฟังโดยชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13547/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายแจ้งคำพิพากษาอุทธรณ์ผิดที่อยู่ การพิจารณาคดีโดยไม่ส่งสำเนาอุทธรณ์ให้จำเลยถือว่าไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ในการส่งสำเนาอุทธรณ์ของโจทก์ให้แก่จำเลย พนักงานเดินหมายได้นำสำเนาอุทธรณ์ไปส่งให้จำเลยตรงตามภูมิลำเนาของจำเลยในฟ้องคือ บ้านเลขที่ 161 หมู่ 1 ตำบลนางรอง อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ตามบันทึกการส่งหมายระบุว่า "ไม่พบจำเลย ได้สอบถามผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 1 ตำบลนางรองแล้ว ได้ความว่า ไม่มีชื่อจำเลยอยู่ในหมู่บ้านดังกล่าวจึงนำหมายกลับคืน" ศาลชั้นต้นสั่งว่า กรณีถือได้ว่าส่งสำเนาอุทธรณ์แก่จำเลยไม่ได้เพราะหาตัวไม่พบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 201 จึงให้รวบรวมถ้อยคำสำนวนส่งศาลอุทธรณ์ภาค 3 เพื่อพิจารณาพิพากษา ต่อมาศาลชั้นต้นได้นัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 ในหมายนัดระบุที่อยู่ของจำเลยคือ บ้านเลขที่ 141 ถนนประดิษฐปานะ ตำบลนางรอง อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยให้ส่งหมายทางไปรษณีย์ตอบรับ ปรากฏว่าในใบตอบรับมีผู้อื่นรับหมายไว้แทน นอกจากนี้เมื่อตรวจสำเนาทะเบียนบ้านของจำเลยตามที่ ส. ยื่นคำร้องขอปล่อยชั่วคราวจำเลยปรากฏว่า จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่บ้านเลขที่ 161/1-2 ถนนภักดีบริรักษ์ ตำบลนางรอง อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ สอดคล้องกับบันทึกคำรับสารภาพของจำเลยซึ่งอยู่ท้ายบันทึกการจับกุม ทั้งบันทึกการแจ้งข้อกล่าวหาและบันทึกคำให้การของผู้ต้องหาระบุว่า จำเลยมีบ้านพักอยู่ถนนภักดีบริรักษ์ทั้งสิ้น การส่งสำเนาอุทธรณ์ของโจทก์ให้แก่จำเลยไม่ได้ด้วยเหตุผลว่าไม่มีชื่อจำเลยอยู่ในหมู่ที่ 1 ตำบลนางรอง อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ จึงถือไม่ได้ว่าเป็นเพราะหาตัวจำเลยไม่พบหรือหลบหนี หรือจงใจไม่รับสำเนาอุทธรณ์ดังที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ. มาตรา 201 การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิจารณาคดีโดยมิได้มีการส่งสำเนาอุทธรณ์ให้จำเลยเพื่อแก้ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 200

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1022/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายด้วยวิธีปิดหมายในคดีมโนสาเร่ ศาลมีอำนาจย่นระยะเวลาตามกฎหมายได้
การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องในคดีมโนสาเร่ ศาลมีอำนาจออกคำสั่งขยายหรือย่นระยะเวลาตามที่กฎหมายกำหนดได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 190 ตรี เมื่อโจทก์ขอให้ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องด้วยวิธีปิดหมาย โดยแนบแบบรับรองรายการทะเบียนราษฎรซึ่งมีเจ้าหน้าที่รับรองไม่เกิน 1 เดือน นับถึงวันฟ้อง ศาลชั้นต้นได้สั่งย่นระยะเวลาการส่งหมายด้วยการปิดหมายโดยให้มีผลทันที จึงต้องถือว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ทราบวันนัดพิจารณาของศาลชั้นต้นตั้งแต่วันปิดหมายแล้ว ไม่ต้องรอให้ล่วงพ้นระยะเวลา 15 วัน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 79 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 686/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งสำเนาอุทธรณ์ไม่ชอบด้วยกฎหมายเมื่อไม่สามารถส่งได้จริง แม้จะพบบ้านจำเลยภายหลัง
พนักงานเดินหมายส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แก่จำเลย ณ ภูมิลำเนาของจำเลย 2 ครั้ง โดยไม่สามารถ ส่งได้เนื่องจากไม่พบบ้านของจำเลย แต่เมื่อส่งหมายนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 6 กลับพบบ้านของจำเลยตามภูมิลำเนาที่ปรากฏในฟ้อง เพียงแต่บ้านปิดใส่กุญแจ จึงส่งหมายนัดได้โดยวิธีปิดหมาย ถือไม่ได้ว่า การส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แก่จำเลยไม่ได้ด้วยเหตุดังกล่าวเป็นเพราะหาตัวจำเลยไม่พบ หรือหลบหนี หรือจงใจไม่รับสำเนาอุทธรณ์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 201 ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิจารณาคดีโดยมิได้ส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แก่จำเลยเพื่อแก้จึงไม่ชอบด้วยมาตรา 200
of 8