พบผลลัพธ์ทั้งหมด 160 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 251/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกู้ยืมเงินที่ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ: สัญญาไม่สมบูรณ์ แม้มีจดหมายหรือเช็คก็ใช้บังคับคดีไม่ได้
โจทก์ฟ้องเรียกเงินกู้จากจำเลยโดยอาศัยจดหมายที่จำเลยเขียนไปถึงโจทก์ และเช็คที่โจทก์สั่งจ่ายเงินที่ขอกู้นั้นให้จำเลยเป็นหลักฐานจดหมายนั้นมีข้อความเพียงว่า'เฮียสุพจน์ (โจทก์) กรุณามอบเช็คหรือเงินสดจำนวนหนึ่งหมื่นบาทถ้วนตามที่พูดกันไว้กับสังวรณ์ไปด้วย ให้เซ็นรับไป' แล้วจำเลยลงชื่อลงวันที่ที่เขียนจดหมาย ดังนี้ จดหมายดังกล่าวไม่มีข้อความตอนใดเลยพอที่จะแสดงว่าจำเลยเป็นลูกหนี้โจทก์ และจะใช้เงินคืนให้โจทก์ จึงไม่เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืม ส่วนเช็คนั้นก็เป็นหลักฐานแต่เพียงว่าโจทก์ได้จ่ายเช็คของโจทก์ให้จำเลยจริง และจำเลยรับเงินตามเช็คนั้นแล้ว จึงไม่เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเช่นกันเมื่อการกู้ยืมระหว่างโจทก์จำเลยไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือโจทก์จึงฟ้องบังคับคดีไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2340/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหมิ่นประมาททางหนังสือ: ข้อความแสดงความจำนงให้พ้นงาน ไม่ถึงขั้นใส่ความให้เสียชื่อเสียง
โจทก์เป็นลูกจ้างของบริษัทจำกัดซึ่งจำเลยเป็นกรรมการผู้จัดการ จำเลยมีหนังสือไล่โจทก์ออกจาการเป็นลูกจ้างของบริษัทฯ มีข้อความว่า "ข้าพเจ้าเสียใจว่าการที่ท่านปฏิเสธเช่นนั้น ทำให้เราไม่มีทางเลือกอื่น นอกจากไล่ท่านออกจากการเป็นลูกจ้างของบริษัทฯ โดยให้มีผลทันที..................เราแน่ใจว่าท่านคงเข้าในว่าเพราะธุรกิจของเรามีการแข่งขันกันอยู่มาก จึงเป็นการดีมากที่ท่านจะออกไปจากที่ทำการของบริษัทฯในวันนี้ ขอให้ท่านทิ้งทรัพย์สินทั้งหมดของบริษัทไว้รวมทั้งกุญแจสำหรับไขโต๊ะ ประตู หรือยานพาหนะใด ๆ ที่ท่านมีอยู่ในความครอบครอง และกระดาษและเอกสารทั้งหลายเกี่ยวเนื่องกับธุรกิจของบริษัทฯ เราขอเตือนท่านว่า ข่าวสารใดที่เป็นหนังสือหรือสิ่งอื่นใดที่ท่านได้มาในขณะที่ท่านเป็นลูกจ้างของบริษัทฯอันเกี่ยวเนื่องกับกิจการและนโยบายของบริษัทฯ ความสัมพันธ์กับลูกค้า และกิจการงานของลูกค้าของบริษัทฯนั้น ย่อมเป็นความลับ"
หนังสือดังกล่าวเป็นการแสดงความจำนงของจำเลยซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทให้โจทก์ออกจากงานของบริษัทฯ ถึงแม้จะมีข้อความที่มิได้แสดงไมตรีต่อโจทก์ แต่ก็มิได้มีตอนใดแสดงว่าโจทก์ทุจริตต่อหน้าที่ โจทก์เป็นบุคคลที่น่ารังเกียจในวงสังคม เปิดเผยความลับของบริษัทและลูกค้า ข้อความในหนังสือดังกล่าวจึงหาใช่เป็นการใส่ความ โดยประการที่น่าจะทำให้โจทก์เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชังไม่
หนังสือดังกล่าวเป็นการแสดงความจำนงของจำเลยซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทให้โจทก์ออกจากงานของบริษัทฯ ถึงแม้จะมีข้อความที่มิได้แสดงไมตรีต่อโจทก์ แต่ก็มิได้มีตอนใดแสดงว่าโจทก์ทุจริตต่อหน้าที่ โจทก์เป็นบุคคลที่น่ารังเกียจในวงสังคม เปิดเผยความลับของบริษัทและลูกค้า ข้อความในหนังสือดังกล่าวจึงหาใช่เป็นการใส่ความ โดยประการที่น่าจะทำให้โจทก์เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชังไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1802/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนหนี้ต้องทำเป็นหนังสือจึงสมบูรณ์
เจ้าหนี้มีหนังสือแจ้งให้ลูกหนี้ทราบว่าได้โอนหนี้ไปยัง อ. แล้วและต่อมา อ. มีหนังสือแจ้งมายังลูกหนี้ว่าได้รับโอนหนี้แล้ว ดังนี้ การโอนหนี้มิได้ทำเป็นหนังสือจึงไม่สมบูรณ์ อ.แจ้งไปยังเจ้าหนี้เดิมให้เจ้าหนี้เดิมเรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระหนี้เอาเองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2101/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตั้งตัวแทนเช่าอสังหาริมทรัพย์ต้องทำเป็นหนังสือ หากมิได้ทำเป็นหนังสือ ตัวแทนไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่ตัวการ
บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 798 หมายถึงกิจการใดที่ตัวแทนจะไปทำกับบุคคลภายนอกแทนตัวการกฎหมายบังคับไว้ว่าต้องทำเป็นหนังสือหรือต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ การตั้งตัวแทนไปทำกิจการนั้นจะต้องทำเป็นหนังสือหรือมีหลักฐานเป็นหนังสือด้วย มิฉะนั้นกิจการที่ตัวแทนกระทำไปกับบุคคลภายนอกจะไม่สมบูรณ์ แต่ในระหว่างตัวแทนกับตัวการด้วยกัน ตัวแทนจะอ้างมาตรา 798 มาใช้บังคับไม่ได้ (อ้างฎีกาที่ 435/2507)
เมื่อคดีนี้เป็นเรื่องระหว่างโจทก์ซึ่งเป็นตัวแทนกับจำเลย (ตัวการ) ซึ่งแม้การตั้งโจทก์เป็นตัวแทนไปทำการเช่าบ้านพิพาทแทนจำเลยจะมิได้ทำเป็นหนังสือหรือมีหลักฐานเป็นหนังสือ โจทก์ก็จะอ้างมาตรา 798 มาใช้บังคับไม่ได้ และไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยออกจากบ้านพิพาท
เมื่อคดีนี้เป็นเรื่องระหว่างโจทก์ซึ่งเป็นตัวแทนกับจำเลย (ตัวการ) ซึ่งแม้การตั้งโจทก์เป็นตัวแทนไปทำการเช่าบ้านพิพาทแทนจำเลยจะมิได้ทำเป็นหนังสือหรือมีหลักฐานเป็นหนังสือ โจทก์ก็จะอ้างมาตรา 798 มาใช้บังคับไม่ได้ และไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยออกจากบ้านพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2101/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตั้งตัวแทนเช่าอสังหาริมทรัพย์ต้องทำเป็นหนังสือ หากมิได้ทำ ตัวแทนไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่ตัวการ
บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 798 หมายถึงกิจการใดที่ตัวแทนจะไปทำกับบุคคลภายนอกแทนตัวการ กฎหมายบังคับไว้ว่าต้องทำเป็นหนังสือหรือต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ การตั้งตัวแทนไปทำกิจการนั้นจะต้องทำเป็นหนังสือหรือมีหลักฐานเป็นหนังสือด้วย มิฉะนั้นกิจการที่ตัวแทนกระทำไปกับบุคคลภายนอกจะไม่สมบูรณ์ แต่ในระหว่างตัวแทนกับตัวการด้วยกัน ตัวแทนจะอ้างมาตรา 798 มาใช้บังคับไม่ได้ (อ้างฎีกาที่ 435/2507)
เมื่อคดีนี้เป็นเรื่องระหว่างโจทก์ซึ่งเป็นตัวแทนกับจำเลย (ตัวการ) ซึ่งแม้การตั้งโจทก์เป็นตัวแทนไปทำการเช่าบ้านพิพาทแทนจำเลยจะมิได้ทำเป็นหนังสือหรือมีหลักฐานเป็นหนังสือ โจทก์ก็จะอ้างมาตรา 798 มาใช้บังคับไม่ได้ และไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยออกจากบ้านพิพาท
เมื่อคดีนี้เป็นเรื่องระหว่างโจทก์ซึ่งเป็นตัวแทนกับจำเลย (ตัวการ) ซึ่งแม้การตั้งโจทก์เป็นตัวแทนไปทำการเช่าบ้านพิพาทแทนจำเลยจะมิได้ทำเป็นหนังสือหรือมีหลักฐานเป็นหนังสือ โจทก์ก็จะอ้างมาตรา 798 มาใช้บังคับไม่ได้ และไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยออกจากบ้านพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1307/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของผู้จัดการมรดก และลักษณะสัญญาเช่าที่ไม่ได้ทำเป็นหนังสือ
แม้หน้าคำฟ้องในช่องคู่ความใส่เพียงชื่อโจทก์โดยไม่ได้บอกฐานะไว้ แต่ตามคำบรรยายฟ้องกล่าวว่า โจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของ บ. ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ห้องพิพาทดังนี้หาใช่โจทก์ฟ้องในฐานะส่วนตัวไม่
เงินค่าซ่อมแซมห้องที่ผู้เช่าให้ผู้ให้เช่าเพื่อที่จะได้เช่าห้องต่อไปมีลักษณะเป็นเงินกินเปล่า เป็นการเช่าธรรมดามิใช่สัญญาต่างตอบแทนนอกเหนือไปจากสัญญาเช่าธรรมดา
เงินค่าซ่อมแซมห้องที่ผู้เช่าให้ผู้ให้เช่าเพื่อที่จะได้เช่าห้องต่อไปมีลักษณะเป็นเงินกินเปล่า เป็นการเช่าธรรมดามิใช่สัญญาต่างตอบแทนนอกเหนือไปจากสัญญาเช่าธรรมดา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1893/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้อง: สมบูรณ์ด้วยหนังสือลงลายมือชื่อผู้โอน, มีค่าตอบแทน, และไม่ขัดต่อกฎหมาย
การโอนสิทธิเรียกร้องนั้น เพียงทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้โอนฝ่ายเดียวก็สมบูรณ์ หาจำต้องลงลายมือชื่อผู้รับโอนด้วยไม่ แต่การโอนนั้นจะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ลูกหนี้หรือบุคคลภายนอกได้แต่เมื่อได้บอกกล่าวการโอนไปยังลูกหนี้หรือลูกหนี้ยินยอมด้วยในการโอน โดยได้ทำคำบอกกล่าวหรือความยินยอมเป็นหนังสือ
การโอนสิทธิเรียกร้องซึ่งมีเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลานั้น ย่อมโอนกันได้ หาต้องห้ามตามกฎหมายไม่ เพราะสิทธิที่โอนมีอยู่อย่างไรเท่าใด ผู้รับโอนก็รับโอนไปเพียงนั้นเท่านั้น
จำเลยโอนสิทธิที่จะได้รับค่าระวางเรือส่วนลดจากบริษัทเรือให้แก่ธนาคารผู้ร้อง เพื่อที่จำเลยจะได้เบิกเงินเกินบัญชีจากผู้ร้องต่อไปอีกตามข้อตกลงระหว่างผู้ร้องกับจำเลยที่ได้กระทำขึ้นหลังจากที่ผู้ร้องได้แสดงเจตนาจะปิดบัญชีไม่ยอมให้จำเลยเบิก เพราะจำเลยยังเป็นหนี้เบิกเงินเกินบัญชีอยู่ถึงหนึ่งล้านบาทเศษ และเกินยอดสูงสุดที่ได้ตกลงกันไว้ก่อน ดังนี้ ย่อมถือได้ว่าเป็นการโอนโดยสุจริตและมีค่าตอบแทน
การโอนสิทธิเรียกร้องซึ่งมีเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลานั้น ย่อมโอนกันได้ หาต้องห้ามตามกฎหมายไม่ เพราะสิทธิที่โอนมีอยู่อย่างไรเท่าใด ผู้รับโอนก็รับโอนไปเพียงนั้นเท่านั้น
จำเลยโอนสิทธิที่จะได้รับค่าระวางเรือส่วนลดจากบริษัทเรือให้แก่ธนาคารผู้ร้อง เพื่อที่จำเลยจะได้เบิกเงินเกินบัญชีจากผู้ร้องต่อไปอีกตามข้อตกลงระหว่างผู้ร้องกับจำเลยที่ได้กระทำขึ้นหลังจากที่ผู้ร้องได้แสดงเจตนาจะปิดบัญชีไม่ยอมให้จำเลยเบิก เพราะจำเลยยังเป็นหนี้เบิกเงินเกินบัญชีอยู่ถึงหนึ่งล้านบาทเศษ และเกินยอดสูงสุดที่ได้ตกลงกันไว้ก่อน ดังนี้ ย่อมถือได้ว่าเป็นการโอนโดยสุจริตและมีค่าตอบแทน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1609/2512
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความต้องทำเป็นหนังสือ การนำสืบพยานบุคคล
มารดาตาย โจทก์จำเลยได้รับโอนมรดกที่พิพาทร่วมกัน.ต่อมาได้ตกลงแบ่งแยกกันครอบครอง ถือว่าเป็นการตกลงเพื่อระงับข้อพิพาทซึ่งจะมีขึ้นให้เสร็จไป. เข้าลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่ง มาตรา 850. แต่เมื่อมิได้มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 851 จะนำพยานบุคคลมาสืบหาได้ไม่. ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 โดยมีคำพิพากษาฎีกาที่ 530/2496 และ 1420/2510.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1231-1232/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บุตรบุญธรรมที่ไม่ได้จดทะเบียน ไม่มีสิทธิรับมรดก การตกลงแบ่งมรดกต้องทำเป็นหนังสือจึงมีผล
บุตรบุญธรรมที่มิได้มีการจดทะเบียนตามกฎหมาย ไม่มีสิทธิรับมรดกของผู้รับบุตรบุญธรรม
พูดยกที่พิพาทให้ โดยเป็นเรื่องที่สั่งเผื่อไว้เมื่อผู้พูดถึงแก่กรรมแล้ว มิได้ยกให้ในขณะนั้น ถือว่าเป็นพินัยกรรม ถ้าไม่ได้ทำเป็นพินัยกรรมให้ถูกต้องตามกฎหมายก็ไม่มีผลแต่อย่างใด
ตกลงยอมแบ่งที่พิพาทกัน แต่ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อคู่สัญญา ย่อมไม่มีผลที่บังคับกันได้ตามกฎหมาย
พูดยกที่พิพาทให้ โดยเป็นเรื่องที่สั่งเผื่อไว้เมื่อผู้พูดถึงแก่กรรมแล้ว มิได้ยกให้ในขณะนั้น ถือว่าเป็นพินัยกรรม ถ้าไม่ได้ทำเป็นพินัยกรรมให้ถูกต้องตามกฎหมายก็ไม่มีผลแต่อย่างใด
ตกลงยอมแบ่งที่พิพาทกัน แต่ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อคู่สัญญา ย่อมไม่มีผลที่บังคับกันได้ตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1009/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะแลกเปลี่ยนอสังหาริมทรัพย์มีผลผูกพันบังคับได้ หากทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อ
คำว่า "ทรัพย์สินอย่างใด ๆ ดังว่ามานี้ก็ดี" และคำว่า "ทรัพย์สินเช่นว่านั้นก็ดี" ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 วรรค 2 นั้นหมายถึงทรัพย์ต่าง ๆ ตามที่ระบุไว้ในวรรคต้น ซึ่งรวมทั้งอสังหาริมทรัพย์ด้วย