คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
หนังสือพิมพ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 104 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1739/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทวงหนี้โดยการโฆษณาหนังสือพิมพ์ ไม่เป็นการหมิ่นประมาท หากเป็นการเตือนหนี้ตามสิทธิเจ้าหนี้
เดิมห้างโจทก์กับบริษัทจำเลยที่ 1 ติดต่อค้าขายกันมาหลายปีโดยโจทก์ซื้อสินค้าจากจำเลยที่ 1 ต่อมาโจทก์เลิกซื้อสินค้าจากจำเลยที่ 1 และยังค้างชำระค่าสินค้าจำเลยที่ 1 อยู่ จำเลยที่ 1 ได้ทวงถามโจทก์ให้ชำระหนี้หลายครั้งแล้ว โจทก์ไม่ชำระ จึงได้มีประกาศโฆษณาลงในหนังสือพิมพ์ข้อความว่า ให้โจทก์จัดการชำระหนี้ที่ค้างจำเลยที่ 1 ภายใน7 วันมิฉะนั้นจะดำเนินการตามกฎหมาย ดังนี้ แม้จะฟังว่าจำเลยที่ 1และที่ 2 ในฐานะกรรมการผู้จัดการของจำเลยที่ 1 และส่วนตัว เป็นผู้จัดให้มีการประกาศข้อความดังกล่าวก็ตามข้อความที่ประกาศนั้นก็เป็นเรื่องคำเตือนให้ลูกหนี้ชำระหนี้ ซึ่งจำเลยที่ 1 มีสิทธิที่จะกระทำได้ตามกฎหมาย ทั้งข้อความที่ประกาศก็ไม่มีข้อความใดที่เป็นการใส่ความโจทก์โดยประการที่น่าจะทำให้โจทก์เสียชื่อเสียงหรือถูกดูหมิ่น การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2973/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ในข้อความหมิ่นประมาท แม้จะไม่ได้อยู่ ณ ที่เกิดเหตุ
ตามพระราชบัญญัติการพิมพ์ พุทธศักราช 2484 มาตรา 48 เห็นได้ชัดว่าเจตนารมย์ของกฎหมายมุ่งให้บรรณาธิการเป็นผู้รับผิดชอบในข้อความที่ลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ที่ตนเป็นบรรณาธิการ เมื่อหนังสือพิมพ์ซึ่งจำเลยเป็นบรรณาธิการลงข้อความหมิ่นประมาทโจทก์ จำเลยย่อมมีความผิดในฐานะเป็นตัวการ จะอ้างว่าไม่อยู่ ไม่รู้เห็น ปัดความรับผิดไปให้รองบรรณาธิการนั้นหาชอบไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2973/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ในข้อความหมิ่นประมาท แม้จะไม่อยู่ในขณะเกิดเหตุ
ตามพระราชบัญญัติการพิมพ์ พุทธศักราช 2484 มาตรา 48 เห็นได้ชัดว่าเจตนารมณ์ของกฎหมายมุ่งให้บรรณาธิการเป็นผู้รับผิดชอบในข้อความที่ลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ที่ตนเป็นบรรณาธิการ เมื่อหนังสือพิมพ์ซึ่งจำเลยเป็นบรรณาธิการลงข้อความหมิ่นประมาทโจทก์ จำเลยย่อมมีความผิดในฐานะเป็นตัวการ จะอ้างว่าไม่อยู่ ไม่รู้เห็น ปัดความรับผิดไปให้รองบรรณาธิการนั้นหาชอบไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 197/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหมิ่นประมาททางหนังสือพิมพ์: ความรับผิดของผู้ให้สัมภาษณ์และผลกระทบต่อค่าสินไหมทดแทน
การที่จำเลยให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์เป็นข้อความฝ่าฝืนต่อความจริงเป็นที่เสียหายแก่ชื่อเสียงเกียรติคุณของโจทก์ และต่อมาหนังสือพิมพ์ก็ได้ตีพิมพ์ข้อความดังกล่าวออกเผยแพร่ต่อสาธารณชน จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 423 จำเลยจะอ้างว่า ไม่มีเจตนาจะให้หนังสือพิมพ์ลงเป็นข่าวใหญ่โต แต่ต้องการให้ลงพิมพ์ในคอลัมน์ตอบสารพันปัญหานั้น ไม่เป็นข้อที่จะทำให้จำเลยพ้นความรับผิด
เมื่อปรากฏว่า หนังสือพิมพ์ได้ลงแก้ข่าวให้โจทก์ในวันถัดจากการลงข่าวเผยแพร่ว่า เรื่องราวดังกล่าวไม่เป็นความจริง โจทก์เป็นคนดีซื่อสัตย์และรักความยุติธรรมไม่เคยมีความประพฤติเสียหายดังข่าวที่จำเลยกล่าวหาเป็นการบรรเทาความเสียหายไปส่วนหนึ่งแล้ว ศาลย่อมจะกำหนดจำนวนค่าสินไหมทดแทนที่จำเลยจะต้องใช้แก่โจทก์ให้ลดลงได้ตามที่เห็นสมควร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 370/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อยกเว้นความผิดหมิ่นประมาททางหนังสือพิมพ์: การกล่าวโดยสุจริต, พิสูจน์ได้, และไม่เป็นเรื่องส่วนตัว
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 329 เป็นเรื่องกล่าวโดยสุจริตตามข้อ 1 ถึง 4 ไม่เป็นความผิด มาตรา 330 เป็นเรื่องพิสูจน์ได้ว่าเป็นความจริง และมิใช่ในเรื่องส่วนตัวซึ่งไม่เป็นประโยชน์แก่ประชาชน เป็นความผิดแต่ไม่ต้องรับโทษ เมื่อยกเว้นโทษตาม มาตรา 330 แล้วก็ไม่ต้องวินิจฉัยว่าไม่มีความผิดตาม มาตรา 329
หนังสือพิมพ์ลงข่าวว่ามีผู้แจ้งต่อตำรวจว่าโจทก์ซึ่งสมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้แทนราษฎร ทำผิดอาญา ตำรวจสอบสวนสั่งจับ แต่ได้สอบถามโจทก์ โจทก์ชี้แจงว่าไม่จริงดังนี้ไม่ใช่จำเลยยืนยันข้อเท็จจริงตามข่าวที่ลงในหนังสือพิมพ์ จำเลยนำสืบความจริงได้ว่า มีการแจ้งความต่อตำรวจจริงจำเลยไม่ต้องรับโทษ ไม่ต้องสืบให้ได้ว่าการทำผิดอาญา ตามที่ลงในข่าวนั้นโจทก์ได้ทำผิดจริง
หนังสือพิมพ์ลงข่าวด้วยข้อความสุภาพ ไม่ใช่ดูถูกเหยียดหยามหรือสบประมาท ไม่เป็นความผิด มาตรา 393

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1238/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงชื่อหนังสือพิมพ์ในการฟ้องร้องค่าจ้างพิมพ์ ไม่ถือว่าเป็นการนอกฟ้อง หากยังคงเป็นหนังสือพิมพ์ฉบับเดียวกัน
ฟ้องโจทก์เรียกร้องให้จำเลยชำระค่าจ้างพิมพ์หนังสือพิมพ์ที่จำเลยจ้างโจทก์พิมพ์ แม้ชื่อหนังสือพิมพ์ที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยจ้างโจทก์พิมพ์จะแตกต่างกับชื่อที่ปรากฏในทางพิจารณา ก็ไม่ถือว่าเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1203/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หมิ่นประมาททางหนังสือพิมพ์: การใส่ความเสียหายต้องความรับผิดของผู้เขียนและบรรณาธิการ
บริษัทโจทก์ที่ 1 เป็นเจ้าของหนังสือพิมพ์รายวันแนวหน้าแห่งยุคเดลินิวส์มีโจทก์ที่ 2 เป็นผู้อำนวยการ จำเลยที่ 2 เป็นห้วหน้ากองบรรณาธิการ จำเลยที่ 3 เป็นบรรณาธิการข่าวในประเทศ หนังสือพิมพ์ฉบับนี้มีเงินสวัสดิการช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ในกองบรรณาธิการรวมหนึ่งล้านเก้าแสนแปดหมื่นเจ็ดพัน บาทเศษ และบริษัทโจทก์ยังไม่ได้แบ่งรายได้ค่าโฆษณาเข้าสมทบอีก 1,247,402 บาท 40 สตางค์ จำเลยที่ 2, 3 กับเจ้าหน้าที่ในกองบรรณาธิการหลายสิบคนเข้าชื่อกันมีหนังสือถึงโจทก์ที่ 2 ให้จ่ายเงินจำนวนดังกล่าวเข้าสมทบเงินสวัสดิการ โจทก์ไม่ยอมจ่าย เพราะเกรงว่าจำเลยที่ 2 จะเอาไปจ่ายให้เฉพาะผู้ที่ออกจากงานพร้อมกับจำเลยที่ 2 ซึ่งมีเหตุที่จะอ้างเช่นนั้นได้ และต่อมาก็ปรากฏว่าเงินสวัสดิการหนึ่งล้านเก้าแสนบาทเศษที่อยู่ที่จำเลยที่ 2 นั้น จำเลยที่ 2 ได้จ่ายให้ผู้ที่ออกจากงานพร้อมกับจำเลยที่ 2 จนหมดสิ้น จึงไม่ใช่เรื่องโจทก์บิดพลิ้วไม่ยอมจ่ายเงิน ฉะนั้นการที่จำเลยที่ 2 เขียนข้อความลงในหน้าหนังสือพิมพ์บางกอกเดลิไทม์ จำหน่ายโฆษณาแก่ประชาชนทั่วราชอาณาจักรกล่าวหาว่าโจทก์โกงแม้กระทั่งเงินสวัสดิการของออฟฟิสบอยและคนถู-บ้านก็ดี โจทก์มีเหลี่ยมโกงและทำความระยำก็ดี ตลอดจนเปลี่ยนนามสกุลโจทก์ที่ 2 เป็นเบี้ยตระกูล ซึ่งคำว่าเบี้ยวนี้ จำเลยที่ 2 ก็ยอมรับว่าหมายถึงฉ้อโกง ดังนี้ก็ดี หาเป็นการแสดงความคิดเห็นโดยสุจริตเพื่อป้องกันสวนได้เสียของตน หรือเป็นการแจ้งข่าวด้วยความเป็นธรรมไม่ แต่เป็นเรื่องจำเลยที่ 2 มุ่งใส่ความโจทก์ทั้งสองให้ได้รับความเสียหาย จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้เขียนและบรรณาธิการจึงมีความผิดฐานหมิ่นประมาท ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328 ประกอบด้วยมาตรา 326
ได้ความเพียงว่าจำเลยที่ 2 ผู้เป็นประธานกรรมการของบริษัทจำเลยที่ 1 ได้หมิ่นประมาทโจทก์เพราะมีสาเหตุกันเป็นส่วนตัว ข้อเท็จจริงไม่พอฟังว่ากระทำไปในฐานะประธานกรรมการบริษัทจำเลยที่ 1 บริษัทจำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1203/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หมิ่นประมาททางหนังสือพิมพ์: การใส่ความให้เสียหายโดยมีเจตนาเฉพาะตัว ไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย
บริษัทโจทก์ที่ 1 เป็นเจ้าของหนังสือพิมพ์รายวันแนวหน้าแห่งยุคเดลินิวส์มีโจทก์ที่ 2 เป็นผู้อำนวยการ จำเลยที่ 2 เป็นหัวหน้ากองบรรณาธิการจำเลยที่ 3 เป็นบรรณาธิการข่าวในประเทศหนังสือพิมพ์ฉบับนี้มีเงินสวัสดิการช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ในกองบรรณาธิการรวมหนึ่งล้านเก้าแสนแปดหมื่นเจ็ดพันบาทเศษ และบริษัทโจทก์ยังไม่ได้แบ่งรายได้ค่าโฆษณาเข้าสมทบอีก 1,247,402 บาท 40 สตางค์ จำเลยที่ 2,3 กับเจ้าหน้าที่ในกองบรรณาธิการหลายสิบคนเข้าชื่อกันมีหนังสือถึงโจทก์ที่ 2 ให้จ่ายเงินจำนวนดังกล่าวเข้าสมทบเงินสวัสดิการ โจทก์ไม่ยอมจ่าย เพราะเกรงว่าจำเลยที่ 2 จะเอาไปจ่ายให้เฉพาะผู้ที่ออกจากงานพร้อมกับจำเลยที่ 2 ซึ่งมีเหตุที่จะอ้างเช่นนั้นได้และต่อมาก็ปรากฏว่าเงินสวัสดิการหนึ่งล้านเก้าแสนบาทเศษที่อยู่ที่จำเลยที่ 2 นั้น จำเลยที่ 2 ได้จ่ายให้ผู้ที่ออกจากงานพร้อมกับจำเลยที่ 2 จนหมดสิ้น จึงไม่ใช่เรื่องโจทก์บิดพลิ้วไม่ยอมจ่ายเงินฉะนั้นการที่จำเลยที่ 2 เขียนข้อความลงในหน้าหนังสือพิมพ์บางกอกเดลิไทม์ จำหน่ายโฆษณาแก่ประชาชนทั่วราชอาณาจักรกล่าวหาว่าโจทก์โกงแม้กระทั่งเงินสวัสดิการของออฟฟิสบอยและคนถูบ้านก็ดี โจทก์มีเหลี่ยมโกงและทำความระยำก็ดีตลอดจนเปลี่ยนนามสกุลโจทก์ที่ 2 เป็นเบี้ยวตระกูล ซึ่งคำว่าเบี้ยวนี้ จำเลยที่ 2 ก็ยอมรับว่าหมายถึงฉ้อโกง ดังนี้ก็ดี หาเป็นการแสดงความคิดเห็นโดยสุจริตเพื่อป้องกันส่วนได้เสียของตน หรือเป็นการแจ้งข่าวด้วยความเป็นธรรมไม่ แต่เป็นเรื่องจำเลยที่ 2 มุ่งใส่ความโจทก์ทั้งสองให้ได้รับความเสียหายจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้เขียนและบรรณาธิการจึงมีความผิดฐานหมิ่นประมาท ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328 ประกอบด้วยมาตรา 326
ได้ความเพียงว่าจำเลยที่ 2 ผู้เป็นประธานกรรมการของบริษัทจำเลยที่ 1 ได้หมิ่นประมาทโจทก์เพราะมีสาเหตุกันเป็นส่วนตัว ข้อเท็จจริงยังไม่พอฟังว่ากระทำไปในฐานะประธานกรรมการบริษัทจำเลยที่ 1 บริษัทจำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1348/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหมิ่นประมาทด้วยการลงข้อความในหนังสือพิมพ์ ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าข้อความดังกล่าวทำให้เสียชื่อเสียง จึงเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันใส่ความ ลงข้อความในหนังสือพิมพ์รายวันว่า "ชาวบ้านที่ติดต่อแผนกที่ดิน จ.นครสวรรค์ ร้องกันอู้ จู่ ๆ ถูกสาวก้นแฉะ ทรงศรี ใช้วจีไม่ค่อยรื่นหู เจตน์ สุวรรณ ที่ดินจังหวัดคนตงฉินได้ยินแล้วอบรมซะบ้าง" เป็นการใส่ความโดยประการที่น่าจะทำให้นางสาวทรงศรีโจทก์ร่วมเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น และถูกเกลียดชัง ว่าเป็นคนประพฤติไม่ดี ชอบร่วมประเวณีกับชายทั่ว ๆ ไปเป็นประจำไม่เลือกหน้า และได้จำหน่ายจ่ายแจกหนังสือพิมพ์ดังกล่าวไปทั่วทุกจังหวัด ดังนี้เห็นได้ว่า ฟ้องโจทก์ได้บรรยายและอธิบายความหมายของข้อความที่จำเลยลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์เป็นการใส่ความในประการที่น่าจะทำให้โจทก์ร่วมเสียหายต่อชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง ทั้งได้บรรยายให้เห็นว่าข้อความที่จำเลยลงพิมพ์ไปนั้น ได้แพร่หลายไปยังบุคคลที่สามอีก เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพผิดตามฟ้อง ถือได้ว่าข้อความที่จำเลยลงพิมพ์ไปนั้นเป็นข้อความหมิ่นประมาทโจทก์ร่วม จึงไม่จำต้องแปลข้อความให้เห็นเป็นอย่างอื่นนอกเหนือที่จำเลยรับสารภาพ จำเลยจึงมีความผิดฐานหมิ่นประมาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1348/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหมิ่นประมาททางหนังสือพิมพ์: การตีความข้อความและขอบเขตความเสียหายต่อชื่อเสียง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันใส่ความ ลงข้อความในหนังสือพิมพ์รายวันว่า 'ชาวบ้านที่ไปติดต่อแผนกที่ดิน จังหวัดนครสวรรค์ ร้องกันอู้จู่ๆถูกสาวก้นแฉะทรงศรีใช้วจีไม่ค่อยรื่นหูเจตน์ สุวรรณ ที่ดินจังหวัดคนตงฉินได้ยินแล้วอบรมซะบ้าง' เป็นการใส่ความโดยประการที่น่าจะทำให้นางสาวทรงศรีโจทก์ร่วมเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น และถูกเกลียดชัง ว่าเป็นคนประพฤติไม่ดี ชอบร่วมประเวณีกับชายทั่วๆ ไปเป็นประจำไม่เลือกหน้า และได้จำหน่ายจ่ายแจกหนังสือพิมพ์ดังกล่าวไปทั่วทุกจังหวัดดังนี้เห็นได้ว่า ฟ้องโจทก์ได้บรรยายและอธิบายความหมายของข้อความที่จำเลยลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์เป็นการใส่ความในประการที่น่าจะทำให้โจทก์ร่วมเสียหายต่อชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง ทั้งได้บรรยายให้เห็นว่าข้อความที่จำเลยลงพิมพ์ไปนั้น ได้แพร่หลายไปยังบุคคลที่สามอีกเมื่อจำเลยให้การรับสารภาพผิดตามฟ้อง ถือได้ว่าข้อความที่จำเลยลงพิมพ์ไปนั้นเป็นข้อความหมิ่นประมาทโจทก์ร่วม จึงไม่จำต้องแปลข้อความให้เห็นเป็นอย่างอื่นนอกเหนือที่จำเลยรับสารภาพ จำเลยจึงมีความผิดฐานหมิ่นประมาท
of 11