พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,449 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3904/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าธรรมเนียมรวบรวมทรัพย์สินในคดีล้มละลาย: จำกัดวงตามจำนวนหนี้ที่ฟ้อง
แม้ พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 155 บัญญัติให้เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ มีหน้าที่ระวังประโยชน์ของเจ้าหนี้ทั้งหลาย ช่วยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการรวบรวมจำหน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้ และรับผิดในบรรดาค่าธรรมเนียม ค่าเสียหาย และค่าใช้จ่ายในคดีล้มละลาย แต่เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยแล้ว อำนาจในการจัดการและจำหน่ายทรัพย์สินของจำเลยย่อมเป็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 22 (1) แม้ไม่มีโจทก์นำยึด เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็มีอำนาจทำการยึดทรัพย์ได้เองและยึดทรัพย์ของจำเลยได้ทั้งหมดโดยไม่ต้องพิจารณาถึงจำนวนหนี้ของโจทก์ ดังเช่นคดีแพ่งตามที่ ป.วิ.พ. มาตรา 284 บัญญัติไว้ เนื่องจากเป็นการกระทำเพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้ทั้งหลาย สาเหตุที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ถอนการยึดทรัพย์สินของจำเลยเนื่องมาจากศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้ยกฟ้อง ไม่ใช่เพราะโจทก์ขอถอนฟ้องหรือขอถอนการยึดทรัพย์ การที่จะให้โจทก์เสียค่าธรรมเนียมในการรวบรวมทรัพย์สินที่ไม่มีการขายหรือจำหน่ายในอัตราร้อยละ 3.5 ของราคาทรัพย์สินที่ยึดทั้งหมดตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 179 (3) โดยไม่พิจารณายอดหนี้ที่โจทก์ฟ้อง ย่อมเห็นได้ว่าเป็นการไม่ยุติธรรมแก่โจทก์อาศัยอำนาจตาม ป.วิ.พ. มาตรา 161 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลายฯ มาตรา 14 ค่าธรรมเนียมในการรวบรวมทรัพย์สินที่ไม่มีการขายหรือจำหน่ายดังกล่าวจึงควรอยู่ในขอบเขตไม่เกินยอดจำนวนหนี้ที่โจทก์ฟ้องเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3830/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้บัตรเครดิต: การเรียกเก็บเงินค่าทดรองและผลกระทบต่อการบังคับสิทธิ
ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยใช้ค่าทนายความในศาลชั้นต้น 500 บาท แทนโจทก์ต่ำกว่าอัตราขั้นต่ำที่กฎหมายกำหนดไว้ แม้จำเลยฝ่ายเดียวอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาในปัญหาอื่น ศาลฎีกาเห็นสมควรกำหนดเสียใหม่ให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3747/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิหักกลบลบหนี้ของเจ้าหนี้ในการฟื้นฟูกิจการ แม้หนี้ยังไม่ถึงกำหนดชำระ
ผู้คัดค้านเป็นเจ้าหนี้ที่มีสิทธิได้รับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ ส่วนลูกหนี้มีเงินฝากอยู่กับผู้คัดค้านตามบัญชีเงินฝากรวม 2 บัญชี โดยผู้คัดค้านรับฝากเงินไว้ก่อนที่ศาลจะมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ เงินฝากดังกล่าวตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้คัดค้านตั้งแต่มีการฝากเงิน ลูกหนี้ผู้ฝากเงินมีสิทธิที่จะถอนเงินฝากไปได้และผู้คัดค้านมีหน้าที่ต้องคืนเงินให้ครบตามจำนวนที่ขอถอน ถึงเห็นกรณีที่ผู้คัดค้านกับลูกหนี้ต่างเป็นหนี้ซึ่งกันและกันอยู่ในเวลาที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ ผู้คัดค้านจึงใช้สิทธินำเงินฝากทั้งสองบัญชีดังกล่าวของลูกหนี้มาหักกลบลบหนี้กับหนี้ที่ลูกหนี้ค้างชำระแก่ผู้คัดค้านได้ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/33 ภายหลังที่ประชุมเจ้าหนี้มีมติยอมรับแผนฟื้นฟูกิจการแต่ก็เป็นช่วงเวลาก่อนที่ศาลจะมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนดังกล่าว ซึ่งเจ้าหนี้ยังไม่ถูกผูกมัดให้ได้รับชำระหนี้ตามเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลาที่กำหนดไว้ในแผนตามมาตรา 90/60 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3688/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักกลบลบหนี้จากการซื้อขายสินค้า: ฟ้องแย้งเกี่ยวข้องกับคำฟ้องเดิมและรวมพิจารณาได้
หนี้ทั้งสองรายที่โจทก์และจำเลยกล่าวอ้างเกิดจากการที่จำเลยซื้อสินค้าจากโจทก์อันเป็นหนี้เงินและทั้งสองฝ่ายต่างอ้างว่าถึงกำหนดชำระแล้ว ซึ่งหากโจทก์เป็นหนี้จำเลยจริงจำเลยย่อมอาจใช้สิทธิขอหักกลบลบหนี้ได้ เนื่องจากหนี้นั้นมีวัตถุประสงค์แห่งหนี้เป็นอย่างเดียวกัน ถือได้ว่าฟ้องแย้งของจำเลยเกี่ยวกับคำฟ้องเดิมและเกี่ยวข้องกันพอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสาม และมาตรา 179 วรรคสาม
(คำสั่งศาลฎีกา)
(คำสั่งศาลฎีกา)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3442/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หมดสิทธิบังคับคดีจำนอง แต่ยังเรียกหนี้จำนองได้ภายใน 5 ปี
จำเลยมิได้ร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาจนล่วงพ้นระยะเวลา 10 ปี ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 จำเลยย่อม สิ้นสิทธิที่จะบังคับคดีตามคำพิพากษาอีกต่อไป แต่เมื่อไม่ปรากฏว่าการจำนองที่ดินได้ระงับสิ้นไป การจำนองที่ดิน จึงยังคงมีอยู่ แม้จำเลยสิ้นสิทธิที่จะบังคับคดีเอาแต่หนี้จำนองตามคำพิพากษาแล้วก็ตาม แต่จำเลยยังคงมีสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้จำนองตามกฎหมายกับดอกเบี้ยที่ค้างชำระในการจำนองเป็นเวลา 5 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 745
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2944/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเรียกหนี้แม้ผู้กู้มอบเช็คแล้ว แต่ไม่นำไปขึ้นเงิน ไม่ทำให้สิทธิเรียกร้องระงับ
แม้ตามสัญญากู้ยืมเงินจะระบุว่า พ. สั่งจ่ายเช็คธนาคารนครหลวงไทย จำกัด เพื่อชำระหนี้เงินกู้แก่โจทก์ แต่เมื่อไม่มีการนำเช็คฉบับดังกล่าวไปเรียกเก็บเงิน และต่อมา พ. ถึงแก่กรรมหนี้เงินกู้จึงยังไม่ระงับ โจทก์จึงฟ้องให้จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของ พ. ชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมได้ การที่โจทก์ไม่นำเช็คที่ออกเพื่อชำระหนี้กู้ยืมไปเรียกเก็บเงินก็ไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องให้ชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินก็ไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องให้ชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงิน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2877/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิ้นสภาพนิติบุคคล หักบัญชีชำระหนี้ ผู้ค้ำประกันไม่ต้องรับผิด
จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลประเภทห้างหุ้นส่วนจำกัด จดทะเบียนเลิกห้างหุ้นส่วนจำกัด วันที่ 13 กรกฎาคม 2536 จดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีวันที่ 20 เมษายน 2537 ทำให้จำเลยที่ 1 สิ้นสภาพนิติบุคคล ไม่มีอำนาจดำเนินการต่อไปตั้งแต่วันที่จดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชี สัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 จึงต้องสิ้นสุดลงและหักทอนบัญชีกัน จำเลยที่ 1 เป็นหนี้เบิกเงินเกินบัญชีจำนวนเงินประมาณ 2,132,418 บาท แม้ต่อมาจะมีการถอนเงินออกจากบัญชีและมีการนำเงินเข้าฝากในบัญชีอีก แต่เมื่อจำเลยที่ 1 สิ้นสภาพนิติบุคคลแล้วย่อมไม่มีอำนาจถอนเงิน ออกจากบัญชีอันเป็นการก่อหนี้ได้ การถอนเงินดังกล่าวจึงไม่ผูกพันจำเลยที่ 1 ส่วนการนำเงินเข้าฝากคือการที่โจทก์รับฝากเงินจึงเป็นหนี้ที่โจทก์จะต้องชำระ ดังนั้นจึงต้องนำเงินฝากหลังจากวันที่ 20 เมษายน 2537 มาชำระหนี้ของจำเลยที่ 1ที่มีต่อโจทก์ ซึ่งปรากฏตามการ์ดบัญชีกระแสรายวันว่าถึงวันที่ 11 มีนาคม 2539 มีการนำเงินเข้าฝากหลายครั้งรวม 3,928,691.69 บาท ส่วนจำนวนหนี้ของจำเลยที่ 1 ต้นเงินประมาณ 2,132,418 บาท คำนวณดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 19.75 ต่อปีแบบไม่ทบต้นตามที่โจทก์ขอมา นับแต่วันที่ 20 เมษายน 2537 ถึงวันที่ 11 มีนาคม 2539 เป็นเงินประมาณ 794,340.52 บาท รวมเป็นเงินประมาณ 2,926,758.52 บาท น้อยกว่าจำนวนเงินที่มีการนำเข้าฝากในบัญชี จึงรับฟังไม่ได้ว่า จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์ ดังนั้นจำเลยที่ 2 ในฐานผู้ค้ำประกันและผู้จำนองที่ดินเป็นประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1840/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องหนี้ต้องแจ้งให้ลูกหนี้ทราบชัดเจนตามเงื่อนไขที่กำหนด จึงมีผลผูกพัน
การที่บริษัท ภ. มีหนังสือถึงจำเลยแจ้งการโอนสิทธิเรียกร้องในหนี้ค่าขายสินค้าที่จำเลยต้องชำระต่อบริษัท ภ. ไปให้แก่โจทก์ รวมทั้งหนี้ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตด้วย โดยได้ระบุเป็นเงื่อนไขว่า บริษัท ภ. จะได้จดแจ้งการโอนหนี้ ค่าขายสินค้าไว้ในใบแจ้งหนี้ และเอกสารการซื้อขายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง แสดงให้เห็นว่าการแจ้งการโอนดังกล่าวมิได้เป็นการแจ้งการโอนสิทธิเรียกร้องหนี้ในอนาคตทั้งหมด แต่เป็นการแจ้งการโอนสิทธิเรียกร้องในหนี้เฉพาะราย เป็นการเฉพาะเจาะจง ซึ่งจะมีผลใช้ยันจำเลยได้ต่อเมื่อโจทก์ได้จดแจ้งการโอนสิทธิเรียกร้องหนี้ดังกล่าวไว้ในใบแจ้งหนี้ที่ยื่นต่อจำเลยเท่านั้น เมื่อปรากฏว่าใบรายการลูกค้า ใบวางบิล ใบส่งของชั่วคราวที่บริษัท ภ. มีไปถึงจำเลยไม่ได้ จดแจ้งเรื่องการโอนหนี้ตามเงื่อนไขที่บริษัท ภ. กำหนดไว้ จึงยังถือไม่ได้ว่าบริษัท ภ. ได้บอกกล่าวการโอนสิทธิ เรียกร้องในหนี้ค่าขายสินค้าดังกล่าวให้แก่จำเลยทราบแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 306 วรรคแรก การโอนสิทธิเรียกร้องในหนี้ดังกล่าวจึงไม่มีผลผูกพันจำเลย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องให้จำเลยชำระหนี้ดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1652/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลผูกพันคำพิพากษาศาลชั้นต้นในชั้นบังคับคดี: หนี้ตามคำพิพากษาเป็นที่ยุติแล้ว
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้ตามเช็ครวม 3 ฉบับ พร้อมดอกเบี้ยถึงวันฟ้องรวมเป็นเงินทั้งสิ้น 911,959.38 บาท และดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี จากต้นเงิน 860,000 บาท นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษาให้จำเลยชำระเงิน 911,959.38 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี จากต้นเงิน 860,000 บาท นับจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ และให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์โดยกำหนดค่าทนายความ 800 บาท โจทก์จำเลยมิได้อุทธรณ์และจำเลยมิได้ขอให้พิจารณาใหม่ คำพิพากษาศาลชั้นต้นย่อมเป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 147 จึงต้องฟังข้อเท็จจริงว่า จนถึงวันฟ้องจำเลยเป็นหนี้โจทก์รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 911,959.38 บาท ที่จำเลยยื่นคำร้องว่าก่อนฟ้องจำเลยชำระหนี้ที่โจทก์ฟ้องให้แก่โจทก์ไปแล้วเป็นเงิน 200,000 บาท และเป็นเช็คอีก 1 ฉบับ เป็นเงิน 200,000 บาท คงค้างชำระหนี้โจทก์เพียง 487,400 บาท เป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ยุติไปแล้วตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยไม่อาจกล่าวอ้างในชั้นบังคับคดีได้ เพราะคำพิพากษาศาลชั้นต้นดังกล่าวมีผลผูกพันจำเลย ต้องถือว่าหนี้ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นเป็นหนี้ที่ถูกต้องแท้จริง แม้ภายหลังจากที่โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดทรัพย์จำเลยแล้ว โจทก์ได้รับชำระหนี้จากภริยาจำเลยไปบ้างแล้วเป็นเงิน 440,000 บาท แต่ก็ยังเป็นจำนวนไม่พอชำระหนี้ตามคำพิพากษา จึงไม่มีเหตุที่จำเลยจะขอให้งดการบังคับคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1438/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์หนี้ในคดีล้มละลาย: หลักฐานสำเนาสัญญา และการยอมรับของลูกหนี้เพียงพอต่อการรับชำระหนี้
ในชั้นตรวจคำขอรับชำระหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 104 เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้เพียง 2 ราย คือ เจ้าหนี้และบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ศ. เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในมูลหนี้กู้ยืมและจำนองโดยมีสำเนาสัญญากู้เงินและสำเนาหนังสือสัญญาจำนองที่ดินเป็นหลักฐานประกอบคำขอรับชำระหนี้ เมื่อไม่ปรากฏว่ามีผู้โต้แย้งคำขอรับชำระหนี้รายนี้และลูกหนี้ได้ให้การต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยอมรับว่าเป็นเจ้าหนี้จริงและยังไม่ได้ชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ กรณีจึงน่าเชื่อว่าหนี้ที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ไว้เป็นหนี้ที่มีอยู่จริงและไม่ต้องห้ามที่จะขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 94