คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
หมิ่นประมาท

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 856 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3880/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การให้ทรัพย์สินโดยเสน่หา vs. หน้าที่ธรรมจรรยา, การหมิ่นประมาท, และการเพิกถอนการให้
โจทก์จดทะเบียนยกที่ดินให้แก่จำเลยผู้เป็นบุตรเพื่อ นำไปทำมาหาเลี้ยงชีพนั้น เป็นการให้ทรัพย์สินแก่บุตรโดยเสน่หามิใช่เป็นการให้โดยหน้าที่ธรรมจรรยาดังที่บัญญัติไว้ตามมาตรา 535(3) แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เพราะโจทก์ไม่มีหน้าที่ตามธรรมจรรยาที่จะต้องกระทำเช่นนั้น ทั้งในการจดทะเบียนโอนที่ดินให้แก่จำเลยก็ระบุไว้ในสารบัญจดทะเบียนตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์และหนังสือสัญญาให้ที่ดินว่าเป็นการให้ไม่มีค่าตอบแทน เพราะผู้รับให้เป็นบุตร จำเลยผู้รับให้จะอ้างว่าที่ระบุการให้เช่นนั้น เป็นแต่เพียงกระทำขึ้นตามระเบียบปฎิบัติของกรมที่ดินกระทรวงมหาดไทยมิได้กระทำตามเจตนาแห่งการให้โดยหน้าที่ธรรมจรรยาหาได้ไม่จึงต้องฟังว่าการจดทะเบียนโอนที่ดินให้แก่จำเลยดังกล่าวเป็นการให้ทรัพย์สินโดยเสน่หา จำเลยด่าโจทก์ผู้ให้ซึ่งเป็นบิดาของจำเลยด้วยถ้อยคำว่า"ไอ้เปรต"ไอ้เฒ่าบ้าแก่จะเข้าโลงยังหลงบ้าสมบัติแถมบ้าเมียไม่สมแก่ไอ้หัวล้าน"และด้วยถ้อยคำว่า"ไอ้เปรตไอ้เฒ่าไอ้หัวดอ ตายกับหีอีคลี่" ต่อหน้าบุคคลอื่น การที่จำเลยด่าโจทก์ด้วยถ้อยคำเช่นนั้นผู้ได้ยินฟังย่อมเข้าใจได้ว่าโจทก์เป็นคนไม่ดี บ้าสมบัติบ้าผู้หญิง ถ้อยคำดังกล่าวมิใช่เป็นเพียงแต่คำหยาบคายและเป็นคำกล่าวที่ไม่สมควรเท่านั้นหากแต่เป็นการหมิ่นประมาทโจทก์ผู้ให้อย่างร้ายแรง อันถือได้ว่าเป็นการประพฤติเนรคุณ โจทก์ย่อมจะเรียกถอนคืนการให้จากจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 531(2) แม้สารบัญจดทะเบียนตามโฉนดที่ดิน จะระบุว่า อ.ขายให้แก่จำเลยก็ตาม แต่โจทก์ก็สามารถนำพยานบุคคลมาสืบได้ว่าโจทก์ผู้เป็นบิดาเป็นผู้ชำระราคาที่ดิน โดยให้จำเลยบุตรของโจทก์ของโจทก์เป็นผู้รับโอนในฐานะผู้ซื้อเนื่องจากโจทก์ประสงค์จะยกที่ดินดังกล่าวให้แก่จำเลย เพราะเป็นการนำสืบถึงเหตุแห่งความจริงเกี่ยวกับเจตนาของโจทก์ผู้ให้และความสัมพันธ์ระหว่างผู้ให้กับผู้รับการยกให้ การจดทะเบียนก็ยังคงเป็นการจดทะเบียนขายที่ดินของ อ. ให้โจทก์ เพียงแต่ระบุชื่อผู้ซื้อเป็นจำเลยซึ่งเป็นผู้ที่โจทก์ประสงค์จะยกที่ดินนั้นให้เท่านั้น หาใช่เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารอันจะต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 คดีนี้จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ แต่จำเลยสาบานตนให้การเป็นพยาน ปัญหาว่าการที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยในประเด็นที่ว่าที่ดินพิพาท ร.มารดาจำเลยเป็นเจ้าของร่วมอยู่ด้วย โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอให้เพิกถอนที่ดินส่วนของนางรุ่นชอบหรือไม่นั้น เมื่อประเด็นดังกล่าวจำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้คดีไว้ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นทั้งมิใช่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ไม่รับวินิจฉัยให้ชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2887/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลแขวงพิจารณาคดีหมิ่นประมาทหลายกรรม การแยกพิจารณาเฉพาะกรรมที่อยู่ในอำนาจ
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ.มาตรา 326, 328,83 ต่อศาลแขวง โดยบรรยายฟ้องแยกเป็น 3 ข้อ แต่ละข้อวันเวลาเกิดเหตุต่างกันและการกระทำของจำเลยไม่เหมือนกัน แต่ละกรรมเป็นความผิดสำเร็จในตัวเองจึงเป็นความผิดหลายกรรม มิใช่เป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบทที่ศาลจะต้องลงโทษตาม ป.อ.มาตรา 328 ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ.มาตรา 90เมื่อปรากฏว่าความผิดตามฟ้องข้อ 1 เป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 326 ซึ่งอยู่ในอำนาจของศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลแขวงที่จะพิจารณาพิพากษาได้ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 15 ประกอบด้วยมาตรา 22 (5) ศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลแขวงก็ชอบที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับความผิดตาม ป.อ.มาตรา 326 ตามฟ้องข้อ 1 นี้ได้ โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติดังกล่าวแล้วมีคำสั่งไปตามรูปคดี แม้ว่าความผิดตามฟ้องข้อ 2 และข้อ 3 จะเป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 328 ซึ่งมีอัตราโทษจำคุกไม่เกินสองปี และปรับไม่เกิน 200,000 บาท เกินอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลแขวงก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2887/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลแขวงพิจารณาคดีหมิ่นประมาท การแบ่งแยกความผิดหลายกรรม และการพิจารณาเฉพาะข้อที่อยู่ในอำนาจ
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326,328,83 ต่อศาลแขวง โดยบรรยายฟ้องแยกเป็น 3 ข้อ แต่ละข้อวันเวลาเกิดเหตุต่างกันและการกระทำของจำเลยไม่เหมือนกันแต่ละกรรมเป็นความผิดสำเร็จในตัวเองจึงเป็นความผิดหลายกรรมมิใช่เป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบทที่ศาลจะต้องลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328 ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 เมื่อปรากฏว่าความผิดฟ้องข้อ 1เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 ซึ่งอยู่ในอำนาจของศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลแขวงที่จะพิจารณาพิพากษาได้ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 15 ประกอบด้วยมาตรา 22(5)ศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลแขวงก็ชอบที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 ตามฟ้องข้อ 1 นี้ได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติดังกล่าวแล้วมีคำสั่งไปตามรูปคดีแม้ว่าความผิดตามฟ้องข้อ 2 และข้อ 3 จะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328 ซึ่งมีอัตราโทษจำคุกไม่เกินสองปีและปรับไม่เกิน 200,000 บาท เกินอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลแขวงก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2887/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลแขวงพิจารณาคดีหมิ่นประมาท: แยกความผิดเป็นกรรมต่างได้ หากมีโทษไม่เกินอำนาจ
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา326,328,83ต่อศาลแขวงโดยบรรยายฟ้องแยกเป็น3ข้อแต่ละข้อวันเวลาเกิดเหตุต่างกันและการกระทำของจำเลยไม่เหมือนกันแต่ละกรรมเป็นความผิดสำเร็จในตัวเองจึงเป็นความผิดหลายกรรมมิใช่เป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบทที่ศาลจะต้องลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา328ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา90เมื่อปรากฏว่าความผิดฟ้องข้อ1เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา326ซึ่งอยู่ในอำนาจของศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลแขวงที่จะพิจารณาพิพากษาได้ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรมมาตรา15ประกอบด้วยมาตรา22(5)ศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลแขวงก็ชอบที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา326ตามฟ้องข้อ1นี้ได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติดังกล่าวแล้วมีคำสั่งไปตามรูปคดีแม้ว่าความผิดตามฟ้องข้อ2และข้อ3จะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา328ซึ่งมีอัตราโทษจำคุกไม่เกินสองปีและปรับไม่เกิน200,000บาทเกินอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลแขวงก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9884/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหมิ่นประมาททางหนังสือพิมพ์: เจตนาใส่ความ, ความเป็นจริง, และขอบเขตความรับผิดของบรรณาธิการ/ผู้พิมพ์
หนังสือพิมพ์ที่จำเลยเป็นบรรณาธิการลงข้อความในข่าวหน้า 3 ย่อหน้าแรก พูดถึงเรื่องข้าราชการรัฐสภาล่าลายเซ็นส.ส. เพื่อให้แปรญัตติงบประมาณจัดซื้อสินค้า เพื่อหวังค่านายหน้าจากผู้ขายสินค้า ในย่อหน้าที่สอง พูดถึงเรื่องข้าราชการของรัฐสภาผู้นี้เป็นนายหน้าจัดหาผู้หญิงให้แก่ ส.ส. ซึ่งกรณีนี้ข้าราชการหญิงผู้นี้เคยถูกตั้งคณะกรรมการสอบสวนมาแล้ว เมื่อพิจารณาประกอบการพาดหัวข่าวที่ว่า ลากไส้อีโม่ง กินงบ ค้ากามกลางสภาจะเห็นได้ว่าเป็นการพูดกล่าวหาโจทก์คนละเรื่องคนละตอนกัน สำหรับข้อความ ในตอนที่สองทำให้เข้าใจว่า โจทก์เป็นนายหน้าจัดหาเด็กผู้หญิงมาให้ ส.ส. ซึ่งได้มีการสอบสวนลงโทษโจทก์มานานแล้วก่อนที่จำเลยจะนำมาลงเป็นข่าว การลงข่าวดังกล่าว ทำให้โจทก์เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชังอันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328 และเป็นเรื่องส่วนตัวไม่ใช่เป็นเรื่องที่ลงข่าวเพื่อรักษาผลประโยชน์ของรัฐและประชาชน ตามคำฟ้องของโจทก์ขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 และ 328 เท่านั้น ไม่มีข้อความตอนใดที่ มุ่งประสงค์จะให้จำเลยต้องรับผิดในฐานะบรรณาธิการหรือผู้พิมพ์ ตามมาตรา 48 แห่งพระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ. 2484ที่โจทก์บรรยายในตอนแรกว่า จำเลยเป็นบรรณาธิการ ผู้พิมพ์ โฆษณา ก็เป็นการบอกถึงฐานะของจำเลยเท่านั้น ประกอบกับ โจทก์มิได้มีคำขอให้ลงโทษจำเลยตามบทมาตราดังกล่าวมาด้วยศาลจึงไม่อาจลงโทษจำเลยในฐานะบรรณาธิการหรือผู้พิมพ์ตามพระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ. 2484 มาตรา 48 ได้ เพราะต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9426/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร้องเรียนต่อผู้บังคับบัญชาเพื่อขอความเป็นธรรมในการประกวดราคา ไม่ถือเป็นการหมิ่นประมาท
การกระทำของโจทก์ทำให้จำเลยทั้งสองมีความรู้สึกว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม จำเลยทั้งสองทำหนังสือร้องเรียนโจทก์ต่อผู้มีอำนาจเหนือกว่า ทำนองว่าโจทก์ใช้อิทธิพลบีบบังคับคณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคาอนุมัติให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด ว. เป็นผู้ได้งาน การที่โจทก์เป็นผู้บังคับบัญชาและเป็นผู้มีอำนาจแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคาและเป็นผู้ชี้ขาดในการประชุมในความเข้าใจของบุคคลทั่วไปโดยเฉพาะอย่างยิ่งจำเลยทั้งสองซึ่งได้รับผลกระทบจากการกระทำของโจทก์ ย่อมมีสิทธิแสดงความคิดเห็นและเสนอความคิดเห็นไปยังผู้ที่มีอำนาจเหนือกว่าโจทก์พิจารณาให้ความเป็นธรรมได้โดยเชื่อว่าโจทก์มีพฤติการณ์ตามนั้นจริง จึงเป็นการกระทำเพื่อความชอบธรรมป้องกันตนหรือป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรมตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 329(1) การกระทำของจำเลยทั้งสองไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6990/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใส่ความหมิ่นประมาททางหนังสือพิมพ์: การติชมด้วยความเป็นธรรม vs. การยืนยันข้อเท็จจริงที่เป็นเท็จ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า วันที่ 23 ธันวาคม 2532 เวลากลางวันจำเลยที่ 1 ใส่ความโจทก์ด้วยข้อความอันเป็นเท็จ โดยให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ว่า "อย่างไรก็ตาม ได้รับเอกสารสำคัญที่ชี้ให้เห็นว่า ส.ส.พรรครัฐบาลเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการส่งคนงานไปประเทศญี่ปุ่น 4 คน คือ นายไชยยศ จิรเมธากร (โจทก์)ส.ส. อุดรธานี นายสุรชาติ ชำนาญศิลป์ ส.ส. อุดรธานี นายอุดร ทองน้อย ส.ส.ยโสธร และนายประณต เสริฐวิชา ส.ส. ร้อยเอ็ด ทั้ง 4 คน เป็น ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ ตนมีหลักฐานต่าง ๆ พร้อมแล้ว และพร้อมที่จะไปพิสูจน์กันในศาล หากต้องการ" โดยจำเลยที่ 1 มีเจตนาที่จะให้หนังสือพิมพ์ลงพิมพ์ข้อความที่จำเลยที่ 1ให้สัมภาษณ์เพื่อเผยแพร่ต่อประชาชนทั่วไป ข้อความที่จำเลยที่ 1 ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ดังกล่าวเป็นการแสดงความคิดเห็นติชมด้วยความเป็นธรรมว่า โจทก์เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการส่งคนงานไปทำงานในประเทศญี่ปุ่นเท่านั้น ไม่มีข้อความตอนใดที่บ่งชี้ว่า โจทก์ได้ร่วมกับผู้มีชื่อหลอกลวงคนงานให้ไปทำงานในประเทศญี่ปุ่นอันแสดงว่าโจทก์เป็นบุคคลทุจริตหรือประพฤติมิชอบหรือไม่เหมาะสมแก่เกียรติศักดิ์ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแต่ประการใด ทั้งไม่อาจเข้าใจได้ว่า โจทก์มีส่วนร่วมในการฉ้อโกงแรงงานดังกล่าว ข้อความที่จำเลยที่ 1 ให้สัมภาษณ์นั้นยังไม่ถือว่าเป็นการใส่ความโดยประการที่น่าจะทำให้โจทก์เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง
จำเลยที่ 1 ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ว่า โจทก์เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการส่งคนงานไปประเทศญี่ปุ่น และจำเลยที่ 2 นำข้อความที่จำเลยที่ 1ให้สัมภาษณ์ไปลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ โดยพาดหัวข่าวว่า "แฉ 4 ส.ส. ประชาธิปัตย์พัวพันตุ๋นคนงานไปประเทศญี่ปุ่น" ซึ่งข้อความที่พาดหัวข่าวในหนังสือพิมพ์ที่จำเลยที่ 2นำไปลงพิมพ์นั้น ไม่ตรงกับข้อความที่จำเลยที่ 1 ให้สัมภาษณ์ ทั้งเนื้อข่าวที่ลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ดังกล่าวก็ตีพิมพ์แต่เพียงว่า จำเลยที่ 1 ให้สัมภาษณ์ว่า มีหลักฐานว่าโจทก์เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการส่งคนงานไปประเทศญี่ปุ่นเท่านั้น จำเลยที่ 2มิได้อ้างข้อความจริงใดเลยในการแสดงความคิดเห็นในการพาดหัวข่าวหนังสือพิมพ์เช่นนั้น และข้อความที่จำเลยที่ 2 ลงพิมพ์พาดหัวข่าวก็เป็นการยืนยันข้อเท็จจริงเพื่อให้ประชาชนผู้อ่านหนังสือพิมพ์ทุกคนเชื่อว่า โจทก์มีส่วนร่วมทุจริตฉ้อโกงแรงงานราษฎร ไม่เป็นการติชมด้วยความเป็นธรรมอันเป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทำ จึงเป็นการใส่ความหมิ่นประมาทโจทก์ ทำให้โจทก์เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง จำเลยที่ 2 จึงมีความผิดตาม ป.อ.มาตรา 328
ศาลล่างทั้งสองให้โฆษณาคำพิพากษาในหนังสือพิมพ์โดยไม่ได้ระบุว่าให้โฆษณาคำพิพากษาในลักษณะใด ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ชัดแจ้ง และเป็นเหตุในส่วนลักษณะคดี จึงให้มีผลถึงจำเลยที่ 3 ที่มิได้อุทธรณ์ฎีกา และจำเลยที่ 4ที่มิได้ฎีกาด้วย ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 213 และมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6990/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหมิ่นประมาททางหนังสือพิมพ์: การพาดหัวข่าวเกินเลยถือเป็นความผิด แม้เนื้อข่าวไม่เกินเลย
โจทก์บรรยายฟ้องว่าวันที่23ธันวาคม2532เวลากลางวันจำเลยที่1ใส่ความโจทก์ด้วยข้อความอันเป็นเท็จโดยให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ว่า"อย่างไรก็ตามได้รับเอกสารสำคัญที่ชี้ให้เห็นว่าส.ส.พรรครัฐบาลเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการส่งคนงานไปประเทศญี่ปุ่น4คนคือนายไชยยศจิรเมธากร (โจทก์)ส.ส.อุดรธานีนายอุดรทองน้อยส.ส.ยโสธรและนายประณตเสริฐวิชา ส.ส.ร้อยเอ็ดทั้ง4คนเป็นส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ตนมีหลักฐานต่างๆพร้อมแล้วและพร้อมที่จะไปพิสูจน์กันในศาลหากต้องการ"โดยจำเลยที่1มีเจตนาที่จะให้หนังสือพิมพ์ลงพิมพ์ข้อความที่จำเลยที่1ให้สัมภาษณ์เพื่อเผยแพร่ต่อประชาชนทั่วไปข้อความที่จำเลยที่1ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ดังกล่าวเป็นการแสดงความคิดเห็นติชมด้วยความเป็นธรรมว่าโจทก์เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการส่งคนงานไปทำงานในประเทศญี่ปุ่นเท่านั้นไม่มีข้อความตอนใดที่บ่งชี้ว่าโจทก์ได้ร่วมกับผู้มีชื่อหลอกลวงคนงานให้ไปทำงานในประเทศญี่ปุ่นแสดงว่าโจทก์เป็นบุคคลทุจริตหรือประพฤติมิชอบหรือไม่เหมาะสมแก่เกียรติศักดิ์ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแต่ประการใดทั้งไม่อาจเข้าใจได้ว่าโจทก์มีส่วนร่วมในการฉ้อโกงแรงงานดังกล่าวข้อความที่จำเลยที่1ให้สัมภาษณ์นั้นยังไม่ถือว่าเป็นการใส่ความโดยประการที่น่าจะทำให้โจทก์เสียชื่อเสียงถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง จำเลยที่1ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ว่าโจทก์เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการส่งคนงานไปประเทศญี่ปุ่นและจำเลยที่2นำข้อความที่จำเลยที่1ให้สัมภาษณ์ไปลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์โดยพาดหัวข่าวว่า"แฉ4ส.ส.ประชาธิปัตย์"พัวพันตุ๋นคนงานไปประเทศญี่ปุ่น"ซึ่งข้อความที่พาดหัวข่าวในหนังสือพิพม์ที่จำเลยที่2นำไปลงพิมพ์นั้นไม่ตรงกับข้อความที่จำเลยที่1ให้สัมภาษณ์ทั้งเนื้อข่าวที่ลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ดังกล่าวก็ตีพิมพ์แต่เพียงว่าจำเลยที่1ให้สัมภาษณ์ว่ามีหลักฐานว่าโจทก์เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการส่งคนงานไปประเทศญี่ปุ่นเท่านั้นจำเลยที่2มิได้อ้างข้อความจริงใดเลยในการแสดงความคิดเห็นในการพาดหัวข่าวหนังสือพิมพ์เช่นนั้นและข้อความที่จำเลยที่2ลงพิมพ์พาดหัวข่าวก็เป็นการยืนยันข้อเท็จจริงเพื่อให้ประชาชนผู้อ่านหนังสือพิมพ์ทุกคนเชื่อว่าโจทก์มีส่วนร่วมทุจริตฉ้อโกงแรงงานราษฎรไม่เป็นการติชมด้วยความเป็นธรรมอันเป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทำจึงเป็นการใส่ความหมิ่นประมาทโจทก์ทำให้โจทก์เสียชื่อเสียงถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชังจำเลยที่2จึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา328 ศาลล่างทั้งสองให้โฆษณาคำพิพากษาในหนังสือพิมพ์โดยไม่ได้ระบุว่าให้โฆษณาคำพิพากษาในลักษณะใดศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ชัดแจ้งและเป็นเหตุในส่วนลักษณะคดีจึงให้มีผลถึงจำเลยที่3ที่มิได้อุทธรณ์ฎีกาและจำเลยที่4ที่มิได้ฎีกาด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา213และมาตรา225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6310/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวเพื่อแจ้งเรื่องวินัยข้าราชการ ไม่ถือเป็นการหมิ่นประมาท หากกระทำโดยสุจริตและเป็นวิสัยของประชาชน
จำเลยนำแถบบันทึกเสียงที่มีผู้สนทนากันกล่าวถึงผู้เสียหายทั้งสองมีพฤติกรรมในทางชู้สาวต่อกันที่โรงเรียนที่ผู้เสียหายทั้งสองสอนอยู่ไปเปิดให้นาย ส.ม.หัวหน้าการประถมศึกษาอำเภอกับพวกฟังที่บ้านของนาย ส.ม.โดยเกิดจากการแนะนำของนาย ส.กับนายส.ม. และผู้ร่วมฟังแถบบันทึกเสียงก็เป็นบุคคลที่เกี่ยวข้องกับวงการศึกษาทั้งสิ้น ทั้งไม่ใช่เปิดในที่สาธารณสถานเป็นทำนองปรึกษาหารือกันว่าจะทำอย่างไรต่อไป เพราะหากผู้เสียหายทั้งสองกระทำการในทางชู้สาวจริง นอกจากจะผิดต่อศีลธรรมแล้วยังผิดในทางวินัยข้าราชการอีกด้วย เนื่องจากผู้เสียหายทั้งสองต่างรับราชการเป็นครูและต่างมีสามีและภรรยาแล้ว ดังนั้น การกระทำดังกล่าวจึงไม่มีเจตนาที่จะใส่ความผู้เสียหายทั้งสองให้ถูกดูหมิ่นเกลียดชังหรือเสียหาย แต่เป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทำจำเลยไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 507/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหมิ่นประมาท: การกล่าวถึงสำนักงานทนายความและเจตนาใส่ความ
ข้อความที่จำเลยกล่าวว่า "สำหรับ อ.นั้น ขอให้พิจารณาเป็นพิเศษด้วย เดินหากินจุ้นจ้านที่ศาล เพราะสำนักงานร้างไปแล้ว" คำว่า "จุ้นจ้าน"เป็นคำกริยาตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525 มีความหมาย 2 นัยนัยแรกคือ เข้าไปยุ่งเกี่ยวในสถานที่หรือนัยที่สองเข้าไปยุ่งเกี่ยวในเรื่องที่ไม่ใช่หน้าที่ของตัวจนน่าเกลียด เมื่อพิจารณาทั้งประโยคที่ว่า "เดินหากินจุ้นจ้านที่ศาล"จึงน่าจะมีความตามความนัยแรกคือ โจทก์เข้าไปเดินหากินยุ่งเกี่ยวในศาลในลักษณะพลุกพล่าน ยุ่มย่าม จนน่าเกลียด เพราะสำนักงานร้างไปแล้ว เมื่อได้ความว่าจำเลยได้ติดต่อให้โจทก์เป็นทนายความที่ศาลจังหวัดนครศรีธรรมราช และจำเลยเอาเงินค่าจ้างว่าความส่วนหนึ่งไปให้โจทก์ที่บ้าน โดยไม่ได้ความชัดว่า โจทก์มีสำนักงานทนายความ แยกจากบ้านที่พักอาศัยหรือไม่ ส่วนจำเลยไม่เคยติดต่อโจทก์ที่สำนักงานทนายความของโจทก์ ดังนั้นการที่จำเลยกล่าวว่าโจทก์ไปเดินหากินจุ้นจ้านที่ศาล เพราะสำนักงานร้างไปแล้ว จึงเป็นการกล่าวไปตามความเข้าใจของจำเลยว่าโจทก์ไม่มีสำนักงานเป็นหลักแหล่งต้องใช้ศาลเป็นที่ทำมาหากิน มิได้มีความหมายไปในทางที่ว่า โจทก์เป็นทนายความที่ไม่ซื่อสัตย์สุจริตหรืออาศัยวิชาชีพหลอกลวงฉ้อโกงจำเลยหรือประชาชน จึงฟังไม่ได้ว่า จำเลยมีเจตนาใส่ความโจทก์ให้เสียหายหรือถูกดูหมิ่น เกลียดชัง คำกล่าวดังกล่าวจึงยังถือไม่ได้ว่าเป็นการหมิ่นประมาทใส่ความโจทก์
of 86