คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
หลักฐาน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,327 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6983/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องล้มละลายต้องแสดงหลักฐานหนี้สินล้นพ้นตัว แม้ฟ้องก่อนบังคับคดี แต่ต้องพิสูจน์ฐานหนี้
การที่โจทก์นำหนี้ตามคำพิพากษาคดีแพ่งมาฟ้องจำเลยเป็นคดีล้มละลายก่อนสิ้นระยะเวลาบังคับคดี แม้การฟ้องคดีล้มละลายจะทำให้อายุความสะดุดหยุดลง แต่การที่โจทก์จะฟ้องจำเลยให้ล้มละลายได้จะต้องนำพยานหลักฐานเข้าสืบเพื่อแสดงให้เห็นว่าก่อนฟ้องจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัวตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 9(1) เมื่อโจทก์นำสืบแต่เพียงหนังสือของสำนักงานที่ดินที่ว่าได้ตรวจสอบทรัพย์สินของจำเลยที่สำนักงานที่ดินแล้วไม่ปรากฏว่าจำเลยถือกรรมสิทธิ์หรือมีสิทธิครอบครองที่ดิน โดยพยานหลักฐานของโจทก์นอกจากนั้นไม่ได้แสดงว่าจำเลยเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว หรือมีเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นเหตุให้สันนิษฐานว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัวตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 8 พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมาจึงรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 656/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่ารถยนต์และเครื่องจักรกล ไม่ต้องปิดอากรแสตมป์ ใช้เป็นหลักฐานได้
สัญญาเช่าซึ่งต้องปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากรกำหนดไว้เฉพาะการเช่าที่ดิน โรงเรือน สิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น หรือแพเท่านั้น สัญญาเช่ารถยนต์และเครื่องจักรกล ซึ่งเป็นทรัพย์สินที่ไม่อยู่ในประเภทที่ประมวลรัษฎากรกำหนดให้ต้องปิดอากรแสตมป์ จึงไม่เข้าลักษณะแห่งตราสารที่ต้องปิดอากรแสตมป์ตามมาตรา 118 แห่งประมวลรัษฎากร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6443/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายสังหาริมทรัพย์ การยกข้อต่อสู้เรื่องผิดสัญญา และการนำสืบหลักฐาน
ในสัญญาซื้อขายนั้นนอกจากผู้ขายมีหน้าที่ต้องส่งมอบสิ่งของที่ซื้อขายให้แก่ผู้ซื้อแล้ว ผู้ซื้อก็มีหน้าที่ต้องชำระราคาให้แก่ผู้ขายเป็นการตอบแทนตาม ป.พ.พ. มาตรา 486 เมื่อจำเลยให้การยอมรับว่าได้ซื้อสินค้าตามฟ้องโจทก์จริง จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องชำระราคาสินค้าที่ซื้อให้แก่โจทก์ภายในกำหนดเวลาที่โจทก์ให้สินเชื่อแก่จำเลย การที่จำเลยให้การต่อสู้ว่า จำเลยไม่มีภาระหน้าที่จะต้องชำระราคาสินค้าให้แก่โจทก์ โดยอ้างเหตุว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาที่ตั้งให้จำเลยเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าของโจทก์แต่ผู้เดียวในประเทศไทยแล้วโจทก์กลับจำหน่ายสินค้าให้แก่นิติบุคคลหลายรายในประเทศไทยในราคาที่ต่ำกว่าจำหน่ายให้แก่จำเลย ทั้งโจทก์ได้รับประกันสินค้าเป็นเวลา 1 ปี นับจากวันที่ ผู้ซื้อสินค้ารับสินค้าไปแต่โจทก์บ่ายเบี่ยงไม่ดำเนินการเปลี่ยนสินค้าให้ใหม่โดยไม่คิดมูลค่า จึงเป็นการที่จำเลยได้ยกข้อต่อสู้ขึ้นมาใหม่เพื่อปัดความรับผิดที่จะไม่ชำระราคาสินค้าให้แก่โจทก์ ภาระการพิสูจน์จึงตกแก่จำเลย
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 456 วรรคสองและวรรคสาม เกี่ยวกับการซื้อขายสังหาริมทรัพย์ซึ่งตกลงกันเป็นราคาห้าร้อยบาทหรือกว่านั้นขึ้นไปนั้น เมื่อได้วางประจำไว้ หรือได้ชำระหนี้บางส่วนแล้ว ก็ย่อมฟ้องร้องให้บังคับคดีกันได้ โจทก์ได้ส่งมอบสินค้าตามฟ้องให้จำเลยรับไปแล้วตามที่จำเลยสั่งซื้อ ถือได้ว่าได้มีการชำระหนี้ตามสัญญาซื้อขายให้จำเลยไปแล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะฟ้องร้องบังคับให้จำเลยชำระราคาสินค้าได้
ในการติดต่อซื้อขายสินค้า โจทก์จำเลยได้ทำสัญญาจัดจำหน่าย (DISTRIBUTION AGREEMENT) กันครั้งแรกตั้งแต่ปี 2537 และครั้งหลังสุดได้ทำสัญญาจัดจำหน่ายในปี 2540 โดยการตั้งจำเลยเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าของโจทก์ในประเทศไทย และโจทก์รับประกันที่จะซ่อมแซมหรือเปลี่ยนสินค้าสำหรับสินค้าที่จำเลยส่งคืนในกรณีที่จำเลยขายสินค้าให้แก่ลูกค้าแล้วเกิดชำรุดบกพร่องในระยะเวลาประกัน 1 ปี ตามสัญญาในเรื่องคืนสินค้าที่ชำรุดบกพร่องระบุว่า ให้ปฏิบัติตามนโยบายของโจทก์เกี่ยวกับการคืนสินค้าที่ชำรุดบกพร่อง (Returned Merchandise Authority หรือ RMA Policy) การที่จำเลยจะขอนำสืบถึงการซื้อสินค้าคดีนี้ว่ามีข้อตกลงกันไว้ดังกล่าวและโจทก์เป็นฝ่ายปฏิบัติผิดสัญญานั้น จำเลยย่อมมีสิทธิที่จะนำสืบได้ ไม่เป็นการต้องห้ามตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 94

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 637/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยืนยันลายมือชื่อในสัญญากู้ยืมเงิน: ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยซ้ำหากศาลชั้นต้น-อุทธรณ์วินิจฉัยครบถ้วน
ปัญหาตามที่จำเลยฎีกาว่าพยานหลักฐานโจทก์มีพิรุธและไม่แน่ชัดรับฟังไม่ได้ว่า จ. ลงชื่อในสัญญากู้นั้น ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 9ได้วินิจฉัยไว้ครบถ้วนชัดแจ้งแล้วว่า โจทก์มีประจักษ์พยานยืนยันว่า จ. ลงลายมือชื่อในช่องผู้กู้ ประกอบกับผู้เชี่ยวชาญลงความเห็นว่าเป็นลายมือชื่อของ จ. จึงฟังได้ว่า จ. ได้ทำสัญญากู้ยืมเงินและลงชื่อในช่องผู้กู้ ดังนั้นปัญหาตามฎีกาของจำเลย จึงเป็นปัญหาอันไม่ควรได้รับการวินิจฉัยจากศาลฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5706/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาคดีอาญาต้องสอดคล้องกับฟ้อง หากข้อเท็จจริงต่างกัน ต้องยกฟ้อง แม้มีหลักฐานอื่นสนับสนุน
โจทก์ฟ้องยืนยันว่าจำเลยที่ 1 ก่อให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 กระทำความผิดด้วยการใช้ จ้าง วานให้จำเลยที่ 2 และ ที่ 3 ร่วมกันฆ่าผู้ตายแต่ในการพิจารณาศาลชั้นต้นพยานหลักฐานของโจทก์ยังไม่พอรับฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 กระทำความผิดตามฟ้อง แม้ข้อเท็จจริงในการพิจารณาจะรับฟังได้ตามคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นว่าจำเลยที่ 1 ได้ใช้ จ้าง วานให้ผู้อื่นซึ่งมิใช่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ไปฆ่าผู้ตาย ก็เป็นกรณีที่ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างกับ ข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้องในข้อสาระสำคัญ ศาลชั้นต้นต้องพิพากษายกฟ้องจำเลยที่ 1 ด้วย การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยที่ 1 กระทำความผิดและลงโทษจำเลยที่ 1 ตาม ป.อ. มาตรา 288, 84 จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะพิพากษายกฟ้องสำหรับจำเลยที่ 1 ตาม ป.อ. มาตรา 215 ประกอบด้วยมาตรา 192 วรรคสอง แม้ศาลอุทธรณ์เห็นว่าพยานหลักฐานของโจทก์ที่นำสืบมายังมีข้อสงสัยตามสมควรว่าจำเลยที่ 1 กระทำความผิดตามฟ้องจริงหรือไม่จึงยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นและพิพากษายกฟ้องจำเลยที่ 1 ก็ตาม แต่เมื่อข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นรับฟังในการพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 เป็นกรณีที่ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่โจทก์กล่าวในคำฟ้องในข้อสาระสำคัญ อันเป็นเหตุให้ต้องพิพากษายกฟ้องแล้ว จึงไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาของโจทก์ที่ โต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์อีกต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2547/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เอกสารค้ำประกันที่ไม่ติดแสตมป์ใช้เป็นหลักฐานได้ ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดร่วมกับลูกหนี้
หนังสือที่จำเลยที่ 2 ทำไว้ต่อโจทก์เพื่อค้ำประกันการทำงานของจำเลยที่ 1 ว่า หากจำเลยที่ 1 ก่อให้เกิดความเสียหายจะยอมชดใช้หนี้สินหรือค่าเสียหายให้แก่โจทก์ โดยมีเพียงลายมือชื่อของจำเลยที่ 2ผู้ค้ำประกันเท่านั้น ไม่มีลายมือชื่อของโจทก์อยู่ด้วย หนังสือดังกล่าวจึงเป็นเพียงหลักฐานในการค้ำประกันเป็นหนังสือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 680 วรรคสอง เท่านั้นมิใช่สัญญาค้ำประกัน แม้จะมีข้อความว่าสัญญาค้ำประกันก็ตาม เอกสารดังกล่าวจึงมิใช่ตราสารที่ต้องปิดแสตมป์บริบูรณ์ตามประมวลรัษฎากรฯ มาตรา 104 และบัญชีอากรแสตมป์ลักษณะ 17ใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2424/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองยาเสพติดเพื่อจำหน่าย: เจตนาสำคัญกว่าปริมาณ หากมีหลักฐานการจำหน่ายแล้วไม่ต้องอาศัยข้อสันนิษฐานตามกฎหมาย
บทบัญญัติมาตรา 15 วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษฯ มีความหมายว่าถ้าผู้ครอบครองยาเสพติดให้โทษมียาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ไว้ในครอบครองคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ตั้งแต่ 20 กรัมขึ้นไป กฎหมายให้สันนิษฐานโดยเด็ดขาดว่าเป็นการครอบครองไว้เพื่อจำหน่าย แม้จำเลยจะมีเมทแอมเฟตามีนจำนวน 7 เม็ด และไม่ปรากฏว่าคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้เพียงใด แต่เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าจำเลยมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายก็เป็นความผิดฐานมียาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 15 วรรคหนึ่ง,66 วรรคหนึ่งไม่จำเป็นต้องเข้าข้อสันนิษฐานตามมาตรา 15 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2326/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างทำของไม่จำเป็นต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ อายุความเริ่มนับเมื่อส่งมอบงาน
สัญญาจ้างทำของ กฎหมายมิได้บัญญัติให้ต้องกระทำตามแบบหรือต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือจึงจะฟ้องร้องบังคับคดีกันได้ เพียงแต่ผู้ว่าจ้างตกลงจะให้สินจ้างเพื่อผลสำเร็จแห่งการที่ทำนั้นก็เป็นการเพียงพอที่จะฟ้องร้องบังคับคดีกันได้ ดังนั้น แม้เอกสารตามที่โจทก์อ้างจะไม่มีลายมือชื่อของจำเลยในฐานะผู้ว่าจ้าง ก็ใช้เป็นพยานหลักฐาน เพื่อประกอบการพิจารณาว่าจำเลยได้ตกลงว่าจ้างให้โจทก์ทำการดังกล่าวหรือไม่ได้
การที่โจทก์ต้องส่งมอบงานก่อสร้างอาคารชุด ส่วนที่ 17 และงานติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าในอาคารชุดดังกล่าว แก่จำเลยเป็นหน้าที่ของโจทก์ตามสัญญา แม้ในส่วนงานติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้านั้นโจทก์ได้ติดตั้งเสร็จแล้ว แต่งานในส่วนการก่อสร้างอาคารชุด ส่วนที่ 17 โจทก์ยังทำไม่เสร็จ โจทก์ย่อมมีเหตุอันควรที่จะรอส่งมอบงานทั้งสองอย่างนี้พร้อมกัน แต่ตราบใดที่ยังไม่มีการส่งมอบงานระหว่างโจทก์กับจำเลย สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในการเรียกค่าติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าก็ยังไม่เกิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 602 วรรคหนึ่ง และอายุความในการฟ้องร้องจึงยังไม่เริ่มนับตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/12 เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าโจทก์ส่งมอบงานที่ทำดังกล่าวแก่จำเลยในวันที่ 5 มิถุนายน 2534 และยื่นฟ้องวันที่ 3 มิถุนายน 2536 สิทธิเรียกร้องในส่วนนี้จึงยังไม่ขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1402/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวการร่วมครอบครองยาเสพติดเพื่อจำหน่าย แม้ไม่ได้ยึดยาจากตัวจำเลยโดยตรง ก็ถือเป็นหลักฐานได้
แม้เจ้าพนักงานตำรวจจะไม่ได้ยึดเมทแอมเฟตามีนจากจำเลยที่ 3 ก็ตาม แต่การที่จำเลยที่ 3 ร่วมเดินทางมากับจำเลยที่ 1 และที่ 2 เพื่อขอดูเงินที่จะซื้อเมทแอมเฟตามีนจากผู้ล่อซื้อ และขณะที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 กำลังตรวจนับเงินกันนั้นจำเลยที่ 3 ก็ยืนดูอยู่ใกล้ ๆ แล้วจำเลยที่ 3 ก็ขับรถจักรยานยนต์ออกไปพร้อมกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ครั้นจำเลยที่ 1 และที่ 2เดินทางกลับมายังที่นัดหมายเพื่อส่งมอบเมทแอมเฟตามีนให้แก่ผู้ล่อซื้อ จำเลยที่ 3 ก็ร่วมเดินทางมาด้วย แม้ขณะจำเลยที่ 2ส่งมอบเมทแอมเฟตามีน จำเลยที่ 3 จะนั่งดูอยู่บนกำแพงห่างออกไปเพียง 3 ถึง 4 เมตรก็ตาม ก็มีลักษณะเป็นการเฝ้าดูเหตุการณ์และระวังภัยที่จะเกิดขึ้นขณะนั้นนั่นเอง พฤติการณ์ของจำเลยที่ 3 มีลักษณะเป็นการแบ่งหน้าที่กันทำในระหว่างจำเลยทั้งสาม การกระทำของจำเลยที่ 3 ถือได้ว่าเป็นการร่วมกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ครอบครองเมทแอมเฟตามีนของกลางเพื่อจำหน่ายและจำหน่าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 984/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาความผิดฐานพยายามฆ่า ต้องคำนึงถึงพฤติการณ์และหลักฐานที่ขัดแย้ง หากมีเหตุสงสัย ให้ยกประโยชน์แห่งความสงสัย
ผู้ตรวจพิสูจน์ของกลางเบิกความยืนยันตามรายงานการตรวจพิสูจน์ว่าลูกกระสุนปืนของกลางไม่มีรอยตำหนิเข็มแทงชนวนที่จานท้ายกระสุนปืน ย่อมแสดงว่ากระสุนปืนมิได้ถูกยิงจากอาวุธปืนของกลางในขณะเกิดเหตุ ส่วนที่ผู้เสียหายเบิกความว่า จำเลยกระชากลูกเลื่อนแล้วจ้องอาวุธปืนไปยังผู้เสียหายนั้น ผู้เสียหายกับจำเลยอยู่ห่างกันประมาณ 3 เมตร โดยผู้เสียหายกำลังจูงรถจักรยานยนต์ในภาวะการณ์เช่นนี้ หากจำเลยประสงค์จะยิงผู้เสียหายจริง จำเลยต้องยิงได้ทันทีก่อนผู้เสียหายเข้าไปแย่งอาวุธปืนจากจำเลย เนื่องจากจำเลยได้กระชากลูกเลื่อนบรรจุกระสุนปืนเข้ารังเพลิงเสร็จก่อนที่ผู้เสียหายจะเข้าแย่งอาวุธปืน ตามพฤติการณ์ของจำเลยอาจกระชากลูกเลื่อนอาวุธปืนและจ้องเพื่อขู่ผู้เสียหายเท่านั้น ทั้งจำเลยและผู้เสียหายก็ไม่มีสาเหตุโกรธเคืองกันรุนแรงถึงขั้นที่จะประสงค์ต่อชีวิต กรณียังมีความสงสัยตามสมควรว่าจำเลยได้กระทำผิดใช้อาวุธปืนยิงพยายามฆ่าผู้เสียหายหรือไม่ ให้ยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227 วรรคสอง
of 133