พบผลลัพธ์ทั้งหมด 183 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4912/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญากู้เพื่อหลักประกันการส่งไปทำงานต่างประเทศ ไม่ใช่การจัดการสินสมรส โจทก์มีอำนาจฟ้อง
โจทก์มอบเงินให้จำเลยเพื่อให้จำเลยจัดส่งโจทก์ไปทำงานต่างประเทศ จำเลยจึงทำสัญญากู้ให้โจทก์โดยไม่มีการมอบเงินตามสัญญากู้การทำสัญญากู้ดังกล่าวเป็นการทำนิติกรรมเพื่อเป็นหลักประกันการที่จำเลยจะส่งโจทก์ไปทำงานต่างประเทศ มิได้ทำขึ้นเพื่อผูกพันสินสมรสของโจทก์โดยเฉพาะสัญญากู้ตามฟ้องจึงมิใช่การจัดการสินสมรสการที่โจทก์นำสัญญากู้มาฟ้องจึงมิใช่การจัดการสินสมรสอันจะต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรส
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4863/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกันเบิกเงินเกินบัญชี และดอกเบี้ยทบต้น
จำเลยที่ 1 ทำบันทึกเพิ่มวงเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชี และเพิ่มหลักประกันเป็น 320,000 บาท มีจำเลยที่ 3 ทำสัญญาค้ำประกัน โดยมีสมุดเงินฝากประจำเป็นประกัน ถือว่าจำเลยที่ 3 มีเจตนาทำสัญญาค้ำประกันการกู้เบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยที่ 1 ตามวงเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีครั้งหลังจำนวน 320,000 บาท แม้สัญญาค้ำประกันจะมีข้อความว่าผู้ค้ำประกันตกลงยอมค้ำประกันผู้กู้ที่ได้กู้เงินจำนวน 320,000 บาท และดอกเบี้ยกับค่าธรรมเนียมค่าเสียหาย และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่โจทก์ต้องจ่ายเงินไปในการบังคับชำระหนี้จำนวนที่ค้างอยู่นั้น ไม่ว่ายอดหนี้ตามบัญชีจะต่ำกว่าหรือสูงขึ้นจากที่ระบุไว้ในสัญญาก็ตาม ผู้ค้ำประกันยอมรับผิดในฐานะเป็นลูกหนี้ร่วมกับผู้กู้ทั้งสิ้นก็ตาม ก็มีความหมายแต่เพียงว่าผู้ค้ำประกันจะต้องร่วมรับผิดกับลูกหนี้ในวงเงินที่กู้ และการที่จำเลยที่ 3นำสมุดเงินฝากประจำมอบไว้แก่โจทก์เป็นประกันหนี้ในการทำสัญญาค้ำประกันแต่ละคราว ก็ด้วยเจตนาที่จะให้เป็นหลักประกันในการทำสัญญาค้ำประกันเท่านั้นแม้ตามสัญญาจำนำสิทธิตามตราสารสมุดคู่ฝากเงินฝากประจำจะมีข้อความว่าผู้จำนำตกลงยินยอมให้ธนาคารใช้สิทธิในเงินตามสมุดเงินฝากที่จำนำหักกลบลบหนี้ในหนี้สินที่ลูกหนี้ซึ่งผู้จำนำจะต้องรับผิดในฐานะผู้จำนำหรือผู้ค้ำประกันแทนลูกหนี้ได้ทันที และเมื่อหักกลบลบหนี้แล้วหากลูกหนี้ยังเป็นหนี้ธนาคารอยู่อีก ผู้จำนำตกลงยินยอมเข้ารับเป็นผู้ค้ำประกันเงินที่เหลือค้าง และตกลงรับผิดร่วมกับลูกหนี้ในอันที่จะชำระหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีดังกล่าวข้างต้นให้แก่ธนาคารจนครบถ้วนตามสัญญาที่ลูกหนี้ได้เป็นหนี้ธนาคารอยู่นั้นก็ตาม แต่สัญญาดังกล่าวทำในวันเดียวกันกับที่ทำสัญญาค้ำประกัน แสดงว่าเป็นการนำหลักประกันมามอบแก่โจทก์เพิ่มเติมจากการทำสัญญาค้ำประกัน หาใช่เป็นการค้ำประกันขึ้นใหม่โดยไม่จำกัดจำนวนไม่
หลังจากวันครบกำหนดสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีแล้วไม่มีการเบิกถอนเงินออกจากบัญชีอีก คงมีแต่รายการคิดดอกเบี้ยของโจทก์และการนำเงินเข้าบัญชีเพื่อหักทอนหนี้เพียงอย่างเดียว ไม่มีลักษณะเป็นการเดินสะพัดทางบัญชีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 โจทก์จึงไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นอีกต่อไป คงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยแบบไม่ทบต้น
หลังจากวันครบกำหนดสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีแล้วไม่มีการเบิกถอนเงินออกจากบัญชีอีก คงมีแต่รายการคิดดอกเบี้ยของโจทก์และการนำเงินเข้าบัญชีเพื่อหักทอนหนี้เพียงอย่างเดียว ไม่มีลักษณะเป็นการเดินสะพัดทางบัญชีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 โจทก์จึงไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นอีกต่อไป คงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยแบบไม่ทบต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4863/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกันและหลักประกันทางสัญญา การคิดดอกเบี้ยหลังครบกำหนดสัญญา
จำเลยที่ 1 ทำบันทึกเพิ่มวงเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชี และเพิ่มหลักประกันเป็น 320,000 บาท มีจำเลยที่ 3 ทำสัญญาค้ำประกันโดยมีสมุดเงินฝากประจำเป็นประกัน ถือว่าจำเลยที่ 3 มีเจตนาทำสัญญาค้ำประกันการกู้เบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยที่ 1 ตามวงเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีครั้งหลังจำนวน 320,000 บาท แม้สัญญาค้ำประกันจะมีข้อความว่าผู้ค้ำประกันตกลงยอมค้ำประกันผู้กู้ที่ได้กู้เงินจำนวน320,000 บาท และดอกเบี้ยกับค่าธรรมเนียม ค่าเสียหาย และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่โจทก์ต้องจ่ายเงินไปในการบังคับชำระหนี้จำนวนที่ค้างอยู่นั้นไม่ว่ายอดหนี้ตามบัญชีจะต่ำกว่าหรือสูงขึ้นจากที่ระบุไว้ในสัญญาก็ตาม ผู้ค้ำประกันยอมรับผิดในฐานะเป็นลูกหนี้ร่วมกับผู้กู้ทั้งสิ้นก็ตาม ก็มีความหมายแต่เพียงว่าผู้ค้ำประกันจะต้องร่วมรับผิดกับลูกหนี้ในวงเงินที่กู้ และการที่จำเลยที่ 3 นำสมุดเงินฝากประจำมอบไว้แก่โจทก์เป็นประกันหนี้ในการทำสัญญาค้ำประกันแต่ละคราว ก็ด้วยเจตนาที่จะให้เป็นหลักประกันในการทำสัญญาค้ำประกันเท่านั้นแม้ตามสัญญาจำนำสิทธิตามตราสารสมุดคู่ฝากเงินฝากประจำจะมีข้อความว่าผู้จำนำตกลงยินยอมให้ธนาคารใช้สิทธิในเงินตามสมุดเงินฝากที่จำนำหักกลบลบหนี้ในหนี้สินที่ลูกหนี้ซึ่งผู้จำนำจะต้องรับผิดในฐานะผู้จำนำหรือผู้ค้ำประกันแทนลูกหนี้ได้ทันที และเมื่อหักกลบลบหนี้แล้วหากลูกหนี้ยังเป็นหนี้ธนาคารอยู่อีก ผู้จำนำตกลงยินยอมเข้ารับเป็นผู้ค้ำประกันเงินที่เหลือค้าง และตกลงรับผิดร่วมกับลูกหนี้ในอันที่จะชำระหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีดังกล่าวข้างต้นให้แก่ธนาคารจนครบถ้วนตามสัญญาที่ลูกหนี้ได้เป็นหนี้ธนาคารอยู่นั้นก็ตาม แต่สัญญาดังกล่าวทำในวันเดียวกันกับที่ทำสัญญาค้ำประกันแสดงว่าเป็นการนำหลักประกันมามอบแก่โจทก์เพิ่มเติมจากการทำสัญญาค้ำประกัน หาใช่เป็นการค้ำประกันขึ้นใหม่โดยไม่จำกัดจำนวนไม่ หลังจากวันครบกำหนดสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีแล้วไม่มีการเบิกถอนเงินออกจากบัญชีอีก คงมีแต่รายการคิดดอกเบี้ยของโจทก์และการนำเงินเข้าบัญชีเพื่อหักทอนหนี้เพียงอย่างเดียว ไม่มีลักษณะเป็นการเดินสะพัดทางบัญชีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 โจทก์จึงไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นอีกต่อไป คงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยแบบไม่ทบต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2794/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักเงินค่าหลักประกันและค่าผลงานออกจากค่าเสียหายจากสัญญาจ้างเหมา
สัญญามีใจความว่า ผู้รับจ้างได้นำหลักประกันเป็นหนังสือสัญญาค้ำประกันธนาคารกรุงเทพ จำกัด เป็นจำนวนร้อยละ 8ของราคาที่จ้าง 1,984,000 บาท มามอบไว้แก่ผู้ว่าจ้างเพื่อเป็นประกันการปฏิบัติตามสัญญาและหลักประกันนี้ ผู้ว่าจ้างจะคืนให้เมื่อผู้รับจ้างพ้นจากข้อผูกพันตามสัญญาแล้ว ถ้าผู้ว่าจ้างบอกเลิกสัญญาแล้ว ผู้รับจ้างยอมให้ผู้ว่าจ้างริบหลักประกันดังกล่าวถือได้ว่าหลักประกันดังกล่าวเป็นการวางไว้ล่วงหน้าเพื่อความเสียหายในกรณีที่มีการผิดสัญญาเข้าลักษณะเบี้ยปรับ ซึ่ง ป.พ.พ. มาตรา380 วรรคสอง บัญญัติว่า ถ้าเจ้าหนี้มีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเพื่อการไม่ชำระหนี้ จะเรียกเอาเบี้ยปรับอันจะพึงริบนั้นในฐานเป็นจำนวนน้อยที่สุดแห่งค่าเสียหายก็ได้ ฉะนั้นเมื่อค่าเสียหายของโจทก์มี 3,047,200 บาท จึงชอบที่จะนำเงินตามสัญญาค้ำประกันซึ่งโจทก์ริบไปแล้วมาหักออกจากค่าเสียหายดังกล่าวได้ คงเหลือค่าเสียหายที่จำเลยต้องชำระแก่โจทก์ 1,063,200 บาท ค่าผลงานที่จำเลยทำไปแล้ว ตามปกติจำเลยมีสิทธิได้รับชดใช้คืนจากโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 วรรคสามแต่ตามสัญญามีข้อกำหนดว่า เมื่อผู้ว่าจ้างบอกเลิกสัญญาแล้วบรรดางานที่ผู้รับจ้างทำและสิ่งของต่าง ๆ ที่ได้นำมาไว้ ณ สถานที่ทำงานนั้นโดยเฉพาะเพื่องานจ้างดังกล่าว ผู้รับจ้างยอมให้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ว่าจ้าง โดยผู้รับจ้างจะเรียกร้องค่าตอบแทนและค่าเสียหายใด ๆ ไม่ได้เลย ข้อตกลงนี้มีลักษณะเป็นการที่ผู้รับจ้างให้สัญญาว่าจะทำการชำระหนี้อย่างอื่นที่มิใช่จำนวนเงินให้เป็นเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 382 แก่โจทก์ผู้ว่าจ้างและหากเป็นจำนวนพอสมควรโจทก์มีสิทธิรับผลงานนี้ได้โดยไม่ต้องใช้ราคาแก่จำเลยผู้รับจ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5635/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของกรรมการในการรับพนักงานโดยมิได้ทำสัญญา/เรียกหลักประกัน และผลของการเพิกเฉยต่อระเบียบ
โจทก์มีมติให้รับซื้อข้างเปลือกจากสมาชิกที่ไม่ได้เป็นหนี้โจทก์โดยให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้รับผิดชอบ เช่นนี้จำเลยที่ 1 จึงเป็นผู้แทนโจทก์ การที่ ศ.ออกไปรับซื้อข้าวเปลือกจากสมาชิกแล้วนำมาเก็บไว้ที่ฉางข้าวของโจทก์แม้โจทก์จะมิได้มอบหมายให้ ศ. ออกไปรับซื้อข้าวเปลือกตามที่โจทก์บรรยายฟ้อง แต่การที่ ศ. นำข้าวเปลือกจำนวนมากมาเก็บไว้ในฉางข้าวของโจทก์ และจำเลยที่ 1ได้รู้เห็นในการกระทำของ ศ. ด้วยแล้วนั้น ตามพฤติการณ์ระหว่างจำเลยที่ 1 กับ ศ. แสดงว่าโจทก์ได้เชิดหรือรู้แล้วยอมให้ ศ. เชิดตนเองเป็นตัวแทนของโจทก์ในการออกไปซื้อรับซื้อข้าวเปลือกจากสมาชิก เมื่อสมาชิกที่นำข้าวเปลือกมาขายได้รับเงินไม่ครบถ้วน โจทก์ในฐานะตัวการย่อมต้องรับผิดในอันที่จะต้องชดใช้เงินค่าข้าวเปลือกต่อสมาชิกดังกล่าวซึ่งเป็นบุคคลภายนอก การที่ ศ. เบียดบังนำข้าวเปลือกบางส่วนออกขายแล้วนำทรายมาเจือปนทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายจึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์ โจทก์ย่อมเรียกร้องค่าเสียหายจาก ศ.ซึ่งเป็นผู้กระทำละเมิดต่อโจทก์ได้ หากจำเลยได้เรียกหลักประกันจาก ศ. ขณะที่รับศ. เข้าทำงานตามระเบียบของโจทก์ โจทก์ย่อมบังคับเอาจากหลักประกันดังกล่าวได้ การที่จำเลยทั้งสิบห้าไม่เรียกหลักประกันไว้เช่นนี้ จึงเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อ เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายจำเลยทั้งสิบห้าจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าฟ้องโจทก์ในส่วนที่ให้จำเลยทั้งสิบห้ารับผิดเนื่องจากไม่เรียกหลักประกันขาดอายุความแล้วโจทก์อุทธรณ์ว่าฟ้องโจทก์ไม่ขาดอายุความ จำเลยก็มิได้อุทธรณ์โต้แย้งว่า ฟ้องโจทก์ในส่วนที่ให้จำเลยทั้งสิบห้ารับผิดเนื่องจากไม่เรียกหลักประกันขาดอายุความ ดังนี้คดีนี้ เป็นอันยุติแล้วว่าฟ้องโจทก์ในส่วนนี้ไม่ขาดอายุความการที่จำเลยทั้งสิบห้าฎีกาในข้อนี้ว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความอีก ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5389/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้สิทธิขอหลักประกันคืนหลังฎีกา: อุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ ไม่ใช่ศาลฎีกา
การที่จำเลยยื่นคำแถลงขอหลักประกันคืนต่อศาลชั้นต้น แม้เป็นการยื่นหลังจากคู่ความยื่นฎีกาแล้ว ก็เป็นการใช้สิทธิตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 251 ซึ่งกฎหมายมิได้บัญญัติว่าถ้าศาลชั้นต้นมีคำสั่งอย่างไรแล้วให้คู่ความอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นไปยังศาลฎีกาได้เลย ฉะนั้นเมื่อจำเลยไม่เห็นด้วยกับคำสั่งของศาลชั้นต้นชอบที่จะอุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 จะอุทธรณ์ไปยังศาลฎีกาหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5389/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้สิทธิขอหลักประกันคืนและการอุทธรณ์คำสั่งศาลที่ถูกต้องตามกฎหมาย
การที่จำเลยยื่นคำแถลงขอหลักประกันคืนต่อศาลชั้นต้นเป็นกรณีที่จำเลยใช้สิทธิตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 251เมื่อศาลชั้นต้นสั่งยกคำแถลงของจำเลย จำเลยจึงชอบที่จะอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นไปยังศาลอุทธรณ์ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 จำเลยจะอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นมายังศาลฎีกาหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4201/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่ทุจริตออกใบมรณบัตรเท็จเพื่อขอคืนหลักประกันและเบิกความเท็จในศาล
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต โดยทำใบรับแจ้งการตายอันเป็นเท็จแล้วนำไปเป็นหลักฐานในการแจ้งการตายต่อนายทะเบียนให้ออกมรณบัตรของ จ. และนำไปเป็นหลักฐานในการขอคืนหลักประกันที่ ป. ได้ประกันตัว จ.และเบิกความเท็จต่อศาลว่า จ.ตายไปแล้ว การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 137,157,162(1)(4),267 ซึ่งเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามมาตรา 157 ซึ่งเป็นบทหนักที่สุดกระทงหนึ่งและเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 177 วรรคแรกอีกกระทงหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4010/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การล้มละลาย: การตีราคาหลักประกัน, ภูมิลำเนาจำเลย, และข้อสันนิษฐานหนี้สินล้นพ้นตัว
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ที่ 2 นำหุ้นซึ่งจำเลยที่ 1ที่ 2 ถืออยู่ในบริษัทจำเลยที่ 3 มาจำนำเป็นประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 แต่ปัจจุบันหุ้นดังกล่าวหยุดการซื้อขายโดยสิ้นเชิงหุ้นดังกล่าวจึงไม่มีมูลค่าพอที่จะนำมาหักกับจำนวนหนี้ที่จำเลยทั้งห้าค้างชำระโจทก์ได้ เมื่อคำนวณราคาหุ้นและหักกับจำนวนหนี้ที่จำเลยทั้งห้าค้างชำระโจทก์แล้วเงินยังขาดอยู่อีกเป็นจำนวนมากกว่า 500,000 บาท และ 50,000 บาทตามลำดับ ถือว่าโจทก์ได้ตีราคาหลักประกันมาในฟ้องแล้ว ที่อยู่ตามสำเนาทะเบียนบ้านของจำเลยที่ 5 ถือได้ว่าเป็นภูมิลำเนาอีกแห่งหนึ่งของจำเลยที่ 5 และภูมิลำเนาที่ระบุในสัญญาค้ำประกันซึ่งเป็นภูมิลำเนาตามฟ้องนั้น เมื่อพนักงานเดินหมายไปส่งหมายให้จำเลยที่ 5 ไม่พบจำเลยที่ 5 คงพบชายคนหนึ่งแจ้งว่าจำเลยที่ 5 ออกไปธุระข้างนอก เช่นนี้แสดงว่าจำเลยที่ 5 ยังมีภูมิลำเนาอยู่ตามที่โจทก์ระบุในคำฟ้อง ภูมิลำเนาตามฟ้องจึงเป็นภูมิลำเนาจำเลยที่ 5 อีกแห่งหนึ่งเช่นกัน การส่งหมายตามภูมิลำเนาตามฟ้องจึงต้องถือว่าเป็นการส่งโดยชอบ การที่จำเลยที่ 5 ออกไปอยู่นอกราชอาณาจักรจนบัดนี้ยังไม่กลับมาจึงเข้าข้อสันนิษฐานของพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483มาตรา 8(4) ก. ว่าจำเลยที่ 5 เป็นบุคคลมีหนี้สินล้นพ้นตัว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2276/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทุเลาการบังคับคดี: ศาลต้องสอบถามความเห็นโจทก์เรื่องหลักประกันก่อนมีคำสั่ง
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องของโจทก์ที่ขอให้สั่งให้จำเลยที่ 1นำเงินหรือหลักประกันมาวางเป็นประกันในการขอทุเลาการบังคับคดีให้ครบตามคำสั่งศาลฎีกา โจทก์อุทธรณ์คำสั่ง อุทธรณ์คำสั่งของโจทก์ดังกล่าวเป็นเรื่องเนื้อหาเกี่ยวเนื่องกับคำสั่งขอทุเลาการบังคับคดีซึ่งเป็นอำนาจแต่ละชั้นศาล ศาลฎีกาจึงมีอำนาจพิจารณาอุทธรณ์คำสั่งของโจทก์ได้ ตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้น ไม่ปรากฏว่าศาลชั้นต้นได้สอบถามโจทก์ว่าพอใจในหลักประกันของจำเลยที่ 1 ตามที่จำเลยที่ 1 แถลงหรือไม่ คงฟังจากคำแถลงของทนายจำเลยที่ 1 แต่เพียงฝ่ายเดียวและมีคำสั่งให้จำเลยที่ 1 ทำหนังสือประกันชั้นฎีกาไปเลยโดยที่โจทก์ไม่มีโอกาสคัดค้าน ทั้งไม่มีกฎหมายบัญญัติให้โจทก์ต้องคัดค้านคำสั่งดังกล่าวเสียในวันนัด ดังนั้นการที่โจทก์มิได้คัดค้านจึงไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นสั่งให้จำเลยที่ 1 นำเงินหรือหลักประกันมาวางให้ครบตามคำสั่งของศาลฎีกา