คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
หลีกเลี่ยงภาษี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 125 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2573/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหลีกเลี่ยงภาษีโดยการแสดงรายการเท็จ แม้ผู้กระทำจะเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีหรือไม่ก็ตาม ถือเป็นความผิดตามประมวลรัษฎากร
ประมวลรัษฎากร มาตรา 37 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 16) พ.ศ. 2502 มาตรา 14 หาได้บัญญัติว่า ผู้ที่จะมีความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ต้องเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีที่มีการหลีกเลี่ยงไม่ เมื่อจำเลยซึ่งจดทะเบียนการค้าเป็นผู้ประกอบกิจการโรงเลื่อยจักรยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้ ภาษีการค้าจากการประกอบกิจการโรงเลื่อยจักรดังกล่าวเท็จ โดยแสดงรายได้ต่ำกว่าความเป็นจริงเห็นได้ว่าเพื่อให้มีการเสียภาษีต่ำกว่าที่ต้องเสียและได้เสียภาษีเงินได้ ภาษีการค้าขาดไปเพราะการแสดงรายการเป็นเท็จนั้น การกระทำของจำเลยจึงเป็นการหลีกเลี่ยงการเสียภาษีเงินได้ ภาษีการค้าโดยความเท็จและโดยฉ้อโกง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2573/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหลีกเลี่ยงภาษีโดยการแสดงรายได้ต่ำกว่าความเป็นจริง แม้ผู้กระทำจะเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีหรือไม่
ประมวลรัษฎากร มาตรา 37 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 16) พ.ศ.2502 มาตรา 14 หาได้บัญญัติว่า ผู้ที่จะมีความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ต้องเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีที่มีการหลีกเลี่ยงไม่ เมื่อจำเลยซึ่งจดทะเบียนการค้าเป็นผู้ประกอบกิจการโรงเลื่อยจักรยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้ ภาษีการค้าจากการประกอบกิจการโรงเลื่อยจักรดังกล่าวเท็จ โดยแสดงรายได้ต่ำกว่าความเป็นจริงเห็นได้ว่าเพื่อให้มีการเสียภาษีต่ำกว่าที่ต้องเสียและได้เสียภาษีเงินได้ภาษีการค้าขาดไปเพราะการแสดงรายการเป็นเท็จนั้น การกระทำของจำเลยจึงเป็นการหลีกเลี่ยงการเสียภาษีเงินได้ภาษีการค้าโดยความเท็จและโดยฉ้อโกง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 338/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหลีกเลี่ยงภาษีศุลกากรโดยการนำเข้ากระดาษสำเร็จรูปอ้างเป็นวัตถุดิบ และการจ่ายรางวัลเจ้าหน้าที่จับกุม
จำเลยได้รับบัตรส่งเสริมจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนเพื่อประกอบอุตสาหกรรมผลิตกระดาษคราฟท์ ได้รับสิทธิงดเว้นการเสียอากรขาเข้าสำหรับวัตถุดิบและวัสดุที่สั่งหรือนำเข้ามาจากต่างประเทศ จำเลยได้นำของซึ่งระบุในใบขนสินค้าขาเข้าว่าเป็นเยื่อกระดาษและไม่ใช่กระดาษคราฟท์ที่ใช้ไม่ได้ หรือเศษกระดาษคราฟท์ที่ใช้ไม่ได้แล้วอันได้รับการงดเว้นอากรขาเข้า การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานยื่นใบขนสินค้าสำแดงรายการเป็นเท็จ และฐานหลีกเลี่ยงการเสียภาษีศุลกากรโดยเจตนาฉ้อค่าภาษีของรัฐบาล อันเป็นความผิดอาญาแผ่นดิน ดังนั้น การที่คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนมีมติอนุญาตย้อนหลังให้กระดาษที่จำเลยนำเข้ามานั้นเป็นวัสดุที่อนุญาตให้ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตกระดาษคราฟท์ได้ เพิ่มเติมจากที่ได้เคยอนุญาตไว้แล้ว ทำให้จำเลยไม่ต้องเสียอากรขาเข้าสำหรับของที่จะต้องเสียภาษีนั้น เป็นมติที่ไม่ชอบ และคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนฯ หามีอำนาจตามกฎหมายที่จะกำหนดหรืออนุญาตให้กระดาษสำเร็จรูปนั้นกลายเป็นวัตถุดิบเพื่อใช้ในการผลิตกระดาษคราฟท์ อันจะทำให้ความผิดที่เกิดขึ้นแล้วกลับไม่เป็นความผิดต่อไปได้ไม่ จำเลยจึงมีความผิดตามกฎหมายดังกล่าว
การสั่งจ่ายสินบนหรือรางวัลตามพระราชบัญญัติให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำผิด พ.ศ. 2489 มาตรา 7 นั้น กระทำได้ 2 กรณี คือเมื่อมีการสั่งริบของกลางประการหนึ่ง หรือเมื่อมีการลงโทษปรับจำเลยอีกประการหนึ่ง และวิธีจ่ายนั้น หากมีการริบของกลางก็ให้จ่ายจากเงินที่ได้จากการขายของกลางนั้น หากไม่มีการริบของกลางหรือมีการริบของกลาง แต่ของกลางนั้นไม่อาจขายได้และมีการลงโทษปรับจำเลย ก็ให้จ่ายจากเงินค่าปรับที่จำเลยได้ชำระต่อศาล คดีนี้มีการลงโทษปรับจำเลย จึงสั่งจ่ายรางวัลแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้จับกุมจากเงินค่าปรับที่ชำระต่อศาลได้
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยฐานยื่นใบขนสินค้าสำแดงรายการเป็นเท็จ จำเลยมิได้อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาของศาลชั้นต้น ความผิดฐานนี้จึงยุติแล้ว จำเลยไม่มีสิทธิฎีกาว่าจำเลยมิได้กระทำผิดในความผิดฐานนี้อีก ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 338/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหลีกเลี่ยงภาษีศุลกากรโดยการสำแดงเท็จ และการจ่ายรางวัลเจ้าหน้าที่จากค่าปรับ
จำเลยได้รับบัตรส่งเสริมจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนเพื่อประกอบอุตสาหกรรมผลิตกระดาษคราฟท์ ได้รับสิทธิงดเว้นการเสียอากรขาเข้าสำหรับวัตถุดิบและวัสดุที่สั่งหรือนำเข้ามาจากต่างประเทศจำเลยได้นำของซึ่งระบุในใบขนสินค้าขาเข้าว่าเป็นเยื่อกระดาษเหนียวเป็นม้วนแต่ปรากฏว่าของที่จำเลยนำเข้ามาเป็นกระดาษ ไม่ใช่เยื่อกระดาษและไม่ใช่กระดาษคราฟท์ที่ใช้ไม่ได้ หรือเศษกระดาษคราฟท์ที่ใช้ไม่ได้แล้วอันได้รับการงดเว้นอากรขาเข้าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานยื่นใบขนสินค้าสำแดงรายการเป็นเท็จ และฐานหลีกเลี่ยงการเสียภาษีศุลกากรโดยเจตนาฉ้อค่าภาษีของรัฐบาลอันเป็นความผิดอาญาแผ่นดินดังนั้น การที่คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนมีมติอนุญาตย้อนหลังให้กระดาษที่จำเลยนำเข้ามานั้นเป็นวัสดุที่อนุญาตให้ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตกระดาษคราฟท์ได้ เพิ่มเติมจากที่ได้เคยอนุญาตไว้แล้ว. ทำให้จำเลยไม่ต้องเสียอากรขาเข้าสำหรับของที่จะต้องเสียภาษีนั้น เป็นมติที่ไม่ชอบและคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนฯ หามีอำนาจตามกฎหมายที่จะกำหนดหรืออนุญาตให้กระดาษสำเร็จรูปนั้นกลายเป็นวัตถุดิบเพื่อใช้ในการผลิตกระดาษคราฟท์ อันจะทำให้ความผิดที่เกิดขึ้นแล้วกลับไม่เป็นความผิดต่อไปได้ไม่จำเลยจึงมีความผิดตามกฎหมายดังกล่าว
การสั่งจ่ายสินบนหรือรางวัลตามพระราชบัญญัติให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำความผิด พ.ศ.2489 มาตรา 7 นั้น กระทำได้ 2 กรณี คือเมื่อมีการสั่งริบของกลางประการหนึ่ง หรือเมื่อมีการลงโทษปรับจำเลยอีกประการหนึ่งและวิธีจ่ายนั้น หากมีการริบของกลางก็ให้จ่ายจากเงินที่ได้จากการขายของกลางนั้น หากไม่มีการริบของกลางหรือมีการริบของกลาง แต่ของกลางนั้นไม่อาจขายได้และมีการลงโทษปรับจำเลยก็ให้จ่ายจากเงินค่าปรับที่จำเลยได้ชำระต่อศาล คดีนี้มีการลงโทษปรับจำเลยจึงสั่งจ่ายรางวัลแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้จับกุมจากเงินค่าปรับที่ชำระต่อศาลได้
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยฐานยื่นใบขนสินค้าสำแดงรายการเป็นเท็จจำเลยมิได้อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาของศาลชั้นต้นความผิดฐานนี้จึงยุติแล้วจำเลยไม่มีสิทธิฎีกาว่าจำเลยมิได้กระทำผิดในความผิดฐานนี้อีก ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1115/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งข้อความเท็จเพื่อหลีกเลี่ยงภาษี และความรับผิดของหุ้นส่วนผู้จัดการในการกระทำผิดของนิติบุคคล
ผู้ใดแจ้งข้อความไม่ตรงต่อความจริง โดยผู้นั้นรู้อยู่แล้วว่า ข้อความที่แจ้งนั้นเป็นเท็จทั้งนี้ เพื่อประสงค์จะหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากรตามลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากร คือภาษีอากรฝ่ายสรรพากร ย่อมมีความผิดตามประมวลรัษฎากร มาตรา 37 แล้ว
จำเลยที่ 1เป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด ได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้าทุกเดือน ภาษี โดยแสดงรายรับที่ต้องคำนวณเสียภาษีต่ำกว่ารายรับที่ได้รับจากการขายสินค้าประจำเดือนและเดือน จำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ ได้รู้เห็นในการยื่นแบบแสดงรายการค้าเพื่อเสียภาษีทุกฉบับ ดังนี้ ย่อมถือเป็นการกระทำของจำเลยที่ 2 ด้วย และเป็นการร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 1 ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 แล้ว แม้จำเลยที่ 2จะมิได้เป็นผู้ลงนามในแบบแสดงรายการการค้านั้นทุกฉบับก็ตาม
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 11 ข้อ 2 ซึ่งยกเลิกความในมาตรา 91 แห่งประมวลกฎหมายอาญา และบัญญัติความใหม่นั้น มิได้เป็นคุณแก่ผู้กระทำผิด ฉะนั้น เมื่อจำเลยกระทำความผิดก่อนวันใช้บังคับของประกาศดังกล่าว จึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 เดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1115/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งข้อความเท็จเพื่อหลีกเลี่ยงภาษี และความรับผิดร่วมของหุ้นส่วนผู้จัดการในฐานะตัวแทนของนิติบุคคล
ผู้ใดแจ้งข้อความไม่ตรงต่อความจริง โดยผู้นั้นรู้อยู่แล้วว่า ข้อความที่แจ้งนั้นเป็นเท็จ ทั้งนี้ เพื่อประสงค์จะหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากรตามลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากร คือภาษีอากรฝ่ายสรรพากร ย่อมมีความผิดตามประมวลรัษฎากร มาตรา 37 แล้ว
จำเลยที่ 1 เป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด ได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้าทุกเดือนภาษี โดยแสดงรายรับที่ต้องคำนวณเสียภาษีต่ำกว่ารายรับที่ได้รับจากการขายสินค้าประจำเดือนแต่ละเดือน จำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ ได้รู้เห็นในการยื่นแบบแสดงรายการการค้าเพื่อเสียภาษีทุกฉบับดังนี้ ย่อมถือเป็นการกระทำของจำเลยที่ 2 ด้วย และเป็นการร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 1 ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 แล้ว แม้จำเลยที่ 2 จะมิได้เป็นผู้ลงนามในแบบแสดงรายการการค้านั้นทุกฉบับก็ตาม
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 11 ข้อ 2 ซึ่งยกเลิกความในมาตรา 91 แห่งประมวลกฎหมายอาญา และบัญญัติความใหม่นั้น มิได้เป็นคุณแก่ผู้กระทำผิด ฉะนั้นเมื่อจำเลยกระทำความผิดก่อนวันใช้บังคับของประกาศดังกล่าว จึงต้องบังคับตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 เดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1181/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหลีกเลี่ยงภาษีศุลกากรโดยการสำแดงเท็จและซ่อนสินค้า ศาลฎีกาพิพากษาว่ามีความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร
มีผู้ส่งสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักร ณ ท่าอากาศยานโดยสายการบินของบริษัท อ. จำเลยร่วมกับพวกเพทุบายนำสินค้านั้นเข้ามาเก็บไว้ในคลังสินค้าของบริษัท อ. ในเขตศุลกากรโดยไม่ชอบ และกำลังจะนำสินค้านั้นออกจากคลังสินค้าเพื่อไม่ผ่านศุลกากรให้ถูกต้อง อันเป็นการพยายามหลีกเลี่ยงการเสียภาษีศุลกากร โดยเจตนาจะฉ้อค่าภาษีของรัฐบาล แต่เจ้าพนักงานศุลกากรตรวจพบเสียก่อน ดังนี้ จำเลยจึงมีความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 ซึ่ง แก้ไขเพิ่มเติมโดยฉบับที่ 9 มาตรา 6 และฉบับที่ 11 มาตรา 3 แต่ไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 ทวิ ซึ่งเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2499 มาตรา 4 ด้วยเพราะจำเลยไม่ได้รับเอาสินค้านั้นไว้โดยรู้อยู่ว่าเป็นของที่นำเข้ามาโดยหลีกเลี่ยงภาษีอากร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1181/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหลีกเลี่ยงภาษีศุลกากรโดยการสำแดงเท็จและนำเข้าสินค้าโดยไม่ผ่านศุลกากร
มีผู้ส่งสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักร ณ ท่าอากาศยาน โดยสายการบินของบริษัท อ. จำเลยร่วมกับพวกเพทุบายนำสินค้านั้นเข้ามาเก็บไว้ในคลังสินค้าของบริษัท อ. ในเขตศุลกากรโดยไม่ชอบ และกำลังจะนำสินค้านั้นออกจากคลังสินค้าเพื่อไม่ผ่านศุลกากรให้ถูกต้อง อันเป็นการพยายามหลีกเลี่ยงการเสียภาษีศุลกากร โดยเจตนาจะฉ้อค่าภาษีของรัฐบาล แต่เจ้าพนักงานศุลกากรตรวจพบเสียก่อน ดังนี้ จำเลยจึงมี ความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 ซึ่ง แก้ไขเพิ่มเติมโดยฉบับที่ 9 มาตรา 6 และฉบับที่ 11 มาตรา 3 แต่ไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 ทวิ ซึ่งเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2499 มาตรา 4 ด้วยเพราะจำเลยไม่ได้รับเอาสินค้านั้นไว้โดยรู้อยู่ว่าเป็นของที่นำเข้ามาโดยหลีกเลี่ยงภาษีอากร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1884/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งราคาซื้อขายต่ำกว่าความเป็นจริงเพื่อหลีกเลี่ยงภาษี โจทก์ไม่ใช่ผู้เสียหาย ไม่มีอำนาจฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ทำสัญญาขายที่ดินพร้อมด้วยตึกแถวให้จำเลยที่ 1 ห้องละ 80,000 บาท จำเลยที่ 1 มาขอให้โจทก์ทำหนังสือมอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนโอนขายให้จำเลยที่ 2 แล้ว จำเลยที่ 1 นำหนังสือมอบอำนาจนั้นไปแสดงแก่เจ้าพนักงานที่ดิน โดยจำเลยทั้งสองแจ้งความเท็จว่าโจทก์โอนขายให้ในราคา 40,000 บาทความจริงจำเลยที่ 1 ขายให้จำเลยที่ 2 ในราคากว่า 80,000 บาท ทั้งนี้ เพื่อหลีกเลี่ยงค่าธรรมเนียมและค่าอากร อาจทำให้โจทก์เสียหายคืออาจถูกฟ้องฐานแจ้งความเท็จ อาจถูกเรียกค่าธรรมเนียมและค่าอากรแสตมป์ที่ขาดและถูกปรับหลายเท่า และอาจถูกฟ้องฐานหลีกเลี่ยงภาษีอากรด้วย ดังนี้ เห็นได้ว่าโจทก์มอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้โอนขายแทนเท่านั้น โจทก์ไม่ได้เป็นผู้แจ้งหรือร่วมรู้เห็นในการแจ้งว่าซื้อขายกันเป็นเงินเท่าใด ไม่ต้องรับผิดฐานแจ้งความเท็จนั้น การแจ้งราคาซื้อขายน้อยกว่าความจริง เป็นเหตุให้รัฐบาลขาดรายได้รัฐบาลก็เป็นผู้เสียหาย ไม่ใช่โจทก์ข้อที่ว่าโจทก์อาจถูกเรียกค่าธรรมเนียมและค่าอากรแสตมป์ที่ขาดและจะถูกปรับ ก็ปรากฏตามสัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้มีหน้าที่ชำระ เมื่อตามข้อเท็จจริงเป็นการแจ้งของจำเลยที่ 1 และที่ 2 โดยเฉพาะตัวแล้ว
โจทก์ก็ไม่ใช่ผู้เสียหาย ไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานร่วมกันแจ้งความเท็จ ศาลย่อมมีอำนาจยกฟ้องได้โดยไม่ต้องไต่สวนมูลฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1875/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหลีกเลี่ยงอากรมหรสพด้วยการขายตั๋วเกินราคา แม้ชำระเงินแล้วคดีไม่เลิกกัน ศาลลงโทษตามประมวลรัษฎากร
บริษัทโรงภาพยนตร์จำเลยที่ 1 โดยผู้จัดการโรงภาพยนตร์จำเลยที่ 2 ร่วมรู้เห็นในการที่จำเลยที่ 3 กับ ส. ซึ่งเป็นพนักงานขายตั๋ว ใช้อุบายเพื่อหลีกเลี่ยงการเสียอากรมหรสพ โดยขายตั๋วฉบับเดียวคิดราคาเป็น 2 เท่า และอนุญาตให้ผู้ซื้อเข้าดูภาพยนตร์ได้ 2 คน โดยเสียอากรเท่าฉบับเดียว เป็นผลให้จำเลยได้เงินขายตั๋วส่วนที่เกินราคาเป็นประโยชน์แห่งตน ดังนี้ ศาลย่อมลงโทษตามประมวลรัษฎากร มาตรา 37 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยฉบับที่ 16 พ.ศ.2502 มาตรา 14 ได้จะอ้างว่าการกระทำดังกล่าวเป็นความผิดตามมาตรา 135(3) ซึ่งมีบทลงโทษโดยเฉพาะอยู่แล้วตามมาตรา 142 หาได้ไม่
เนื่องจากการกระทำของจำเลยดังกล่าว พนักงานเจ้าหน้าที่อากรมหรสพได้มีหนังสือแจ้งให้ผู้จัดการโรงภาพยนตร์นำเงินค่าอากรและเงินเพิ่มอากรไปชำระตามมาตรา 138 ทวิ และเจ้าหน้าที่ได้รับชำระเงินไว้แล้ว เงินจำนวนนี้ก็ไม่ใช่เงินค่าปรับเปรียบเทียบในทางอาญา อันจะทำให้คดีเลิกกันและไม่ถือว่าเป็นการกระทำหรือเป็นการเปรียบเทียบโดยอธิบดีกรมสรรพากรหรือผู้ทำการแทน ตามมาตรา 3 ทวิ อันจะคุ้มผู้ต้องหามิให้ถูกฟ้องร้องทางอาญาต่อไปด้วย
of 13