คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ห้างหุ้นส่วน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 230 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4790/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หุ้นส่วนผู้จัดการสั่งซื้อสินค้าแทนห้างหุ้นส่วน และหนังสือรับสภาพหนี้ทำให้ อายุความสะดุดหยุดลง
จำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการห้างจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 สั่งซื้อน้ำมันจากโจทก์และจ้างโจทก์บรรทุกดินลูกรัง ใบสั่งซื้อน้ำมันระบุชื่อจำเลยที่ 1 และโจทก์บรรทุกดินลูกรังไปยังสถานที่ที่จำเลยที่ 1 รับจ้างทำงานแก่บริษัทอาร์ เอ็ม ไอ จำกัด หนังสือบันทึกข้อความรับรองว่าจะจ่ายเงินค่าบรรทุกดินลูกรังและค่าน้ำมันที่ค้าง ซึ่งจำเลยที่ 2 ทำให้แก่โจทก์หัวกระดาษมีชื่อจำเลยที่ 1 พฤติการณ์แสดงว่าจำเลยที่ 2 กระทำแทนจำเลยที่ 1 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการ การสั่งซื้อน้ำมันและการจ้างบรรทุกดินลูกรัง โจทก์และจำเลยที่ 2 ไม่ได้ทำสัญญากันเป็นหลักฐาน การสั่งซื้อน้ำมันจึงหาจำต้องประทับตราของหุ้นส่วนจำเลยที่ 1 ไม่
หนังสือบันทึกข้อความที่ฝ่ายจำเลยทำให้ไว้แก่โจทก์มีข้อความยอมรับว่าเป็นหนี้อยู่จริงจะใช้ให้ ไม่มีข้อโต้แย้งว่าไม่เป็นหนี้หรือมีสิทธิไม่ต้องชำระหนี้ หนังสือฉบับนี้จึงเป็นหนังสือรับสภาพหนี้ทำให้อายุความฟ้องคดีของโจทก์สะดุดหยุดลง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4779/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของหุ้นส่วนผู้จัดการในหนี้ภาษีของห้างหุ้นส่วนจำกัดหลังพ้นตำแหน่ง
เจ้าพนักงานประเมินของโจทก์ได้แจ้งการประเมินให้จำเลยทราบแล้ว แต่จำเลยมิได้อุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ หนี้ภาษีอากรของจำเลยย่อมยุติไปตามที่เจ้าพนักงานของโจทก์แจ้งประเมินไว้
จำเลยที่ 1 เป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด เป็นหนี้ค่าภาษีอากรในรอบระยะเวลาบัญชีปี พ.ศ. 2525 ถึงปี พ.ศ. 2526 ต่อมาจำเลยที่ 2ได้เข้ามาเป็นหุ้นส่วนและหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2จึงต้องร่วมรับผิดในหนี้ดังกล่าวด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1052 ประกอบมาตรา 1080 ดังนั้น แม้ต่อมาจำเลยที่ 2จะออกจากการเป็นหุ้นส่วนและหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ไปแล้วก็ตาม เมื่อการออกไปดังกล่าวยังไม่เกิน 2 ปี โจทก์ยังมีอำนาจฟ้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดในหนี้ของจำเลยที่ 1 ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1068 ประกอบมาตรา 1077(2),1080, และ 1087
โจทก์แจ้งการประเมินภาษีให้แก่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัดผู้ต้องเสียภาษีอากรแล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ได้ด้วยจำเลยที่ 2มิใช่ผู้ที่ถูกประเมิน กรณีไม่มีเหตุให้เจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมินให้แก่จำเลยที่ 2.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1300/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของหุ้นส่วนจำกัดในหนี้ของห้างหุ้นส่วนหลังพ้นสภาพความเป็นหุ้นส่วน
จำเลยที่ 5 เป็นหุ้นส่วนในห้างฯ จำเลยที่ 1 ในขณะที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้ค่าซื้อตั๋วโดยสารเครื่องบินโจทก์ แม้ภายหลังจำเลยที่ 5 ได้ออกจากหุ้นส่วนไปแล้วก็ยังคงต้องรับผิดในหนี้ซึ่งจำเลยที่ 1 ได้ก่อให้เกิดขึ้นก่อนที่ตนได้ออกจากหุ้นส่วนไปภายในกำหนดสองปีนับแต่เมื่อออกจากหุ้นส่วน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1051, 1068

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1300/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของหุ้นส่วนในหนี้ของห้างหุ้นส่วนหลังออกจากหุ้นส่วนภายในสองปี
จำเลยที่ 5 เป็นหุ้นส่วนในห้างฯ จำเลยที่ 1 ในขณะที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้ค่าซื้อตั๋วโดยสารเครื่องบินโจทก์ แม้ภายหลังจำเลยที่ 5 ได้ออกจากหุ้นส่วนไปแล้วก็ยังคงต้องรับผิดในหนี้ซึ่งจำเลยที่ 1 ได้ก่อให้เกิดขึ้นก่อนที่ตนได้ออกจากหุ้นส่วนไปภายในกำหนดสองปีนับแต่เมื่อออกจากหุ้นส่วน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1051,1068

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1105/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คพิพาทห้างหุ้นส่วน: สิทธิเรียกร้องเงินตามเช็คเกิดขึ้นเมื่อห้างหุ้นส่วนมีผลกำไรและเสร็จสิ้นการตามสัญญา
เช็คพิพาทจำเลยออกให้แก่โจทก์ผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกันโดยมุ่งหมายให้เป็นประกันในการคืนทุนเมื่อเสร็จการของห้างหุ้นส่วนและเมื่อมีผลกำไร แต่กลับปรากฏว่าห้างหุ้นส่วนยังไม่สามารถดำเนินการให้เสร็จการตามกำหนดและยังไม่มีผลกำไรเช่นนี้ โจทก์จึงยังไม่มีสิทธิเรียกร้องเงินตามเช็ค การที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค จำเลยจึงไม่มีความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497 มาตรา 3

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1105/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คพิพาทหุ้นส่วน: สิทธิเรียกร้องเงินยังไม่เกิดเมื่อห้างหุ้นส่วนไม่เสร็จและไม่มีกำไร จำเลยไม่ต้องรับผิดตาม พ.ร.บ.เช็ค
เช็คพิพาทจำเลยออกให้แก่โจทก์ผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกันโดยมุ่งหมายให้เป็นประกันในการคืนทุนเมื่อเสร็จการของห้างหุ้นส่วนและเมื่อมีผลกำไร แต่กลับปรากฏว่าห้างหุ้นส่วนยังไม่สามารถดำเนินการให้เสร็จการตามกำหนดและยังไม่มีผลกำไร เช่นนี้โจทก์จึงยังไม่มีสิทธิเรียกร้องเงินตามเช็ค การที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค จำเลยจึงไม่มีความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497 มาตรา 3.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 507/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีอากร: ห้างหุ้นส่วนเลิกกิจการ ผู้เป็นหุ้นส่วนมีหน้าที่ร่วมกันรับผิดชอบภาษีค้างชำระ แม้ต่อมามีการโอนมรดก
ประมวลรัษฎากร มาตรา 56 วรรคสองบัญญัติไว้เพื่อให้มีผู้รับผิดชอบในการยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินและเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคลห้างหุ้นส่วนสามัญ จ. มีหุ้นส่วน 2 คน คือ ห. กับจำเลยที่ 1เมื่อ ห. ตาย จึงเป็นหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ที่จะต้องยื่นรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในนามของห้างหุ้นส่วนสำหรับปีภาษีนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ยื่นรายการเพื่อเสียภาษีและเจ้าพนักงานประเมินได้แจ้งการประเมินไปยังจำเลยที่ 1 แล้วแม้จะมิได้แจ้งการประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาต่อทายาทของห. ก็ไม่ทำให้การประเมินเสียไป ในกรณีที่ห้างหุ้นส่วน หรือคณะบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคลเลิกกันโดยไม่มีการชำระบัญชี ผู้เป็นหุ้นส่วนและบุคคลผู้มีอำนาจจัดการ มีหน้าที่ร่วมกันยื่นแบบแสดงรายการการค้า ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 77 และ 84 ฉวรรคสองเมื่อห.ผู้เป็นหุ้นส่วนตายเป็นเหตุให้ห้างหุ้นส่วนเลิกกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1055(5) และไม่มีการชำระบัญชี จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนที่เหลือต้องทำหน้าที่เป็นตัวแทนห้างหุ้นส่วนในการเสียภาษี การที่เจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมินภาษีการค้าของห้างหุ้นส่วนต่อจำเลยที่ 1 จึงชอบด้วยประมวลรัษฎากร มาตรา 88 ผู้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญทุกคนต้องร่วมกันรับผิดในหนี้ค่าภาษีอากรของห้างหุ้นส่วนโดยไม่มีจำกัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1025 เมื่อ ห. ผู้เป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งตาย ทายาทผู้รับมรดกของ ห. ต้องร่วมกับจำเลยที่ 1รับผิดในหนี้ค่าภาษีอากรดังกล่าวด้วย การคำนวณเงินเพิ่มภาษีการค้าตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89 ทวิต้องเริ่มนับเมื่อพ้น 15 วัน ถัดจากเดือนภาษี ทั้งเงินเพิ่มดังกล่าวจะต้องไม่เกินกว่าจำนวนภาษีที่ต้องชำระโดยไม่รวมเบี้ยปรับการที่ศาลพิพากษาให้จำเลยรับผิดชำระเงินเพิ่มตามมาตรา 89 ทวิดังกล่าวเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดกล่าวอ้าง ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 507/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของหุ้นส่วน/ทายาทในหนี้ภาษีของห้างหุ้นส่วน/คณะบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคล และการคำนวณเงินเพิ่มภาษีที่ถูกต้อง
ประมวลรัษฎากรมาตรา56วรรคสองบัญญัติไว้เพื่อให้มีผู้รับผิดชอบในการยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินและเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลห้างหุ้นส่วนสามัญ จ. มีหุ้นส่วน2คนคือ ห. กับจำเลยที่1เมื่อ ห. ตายจึงเป็นหน้าที่ของจำเลยที่1ที่จะต้องยื่นรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในนามของห้างหุ้นส่วนสำหรับปีภาษีนั้นเมื่อจำเลยที่1ไม่ยื่นรายการเพื่อเสียภาษีและเจ้าพนักงานประเมินได้แจ้งการประเมินไปยังจำเลยที่1แล้วแม้จะมิได้แจ้งการประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาต่อทายาทของห. ก็ไม่ทำให้การประเมินเสียไป ในกรณีที่ห้างหุ้นส่วนหรือคณะบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคลเลิกกันโดยไม่มีการชำระบัญชีผู้เป็นหุ้นส่วนและบุคคลผู้มีอำนาจจัดการมีหน้าที่ร่วมกันยื่นแบบแสดงรายการการค้าตามประมวลรัษฎากรมาตรา77และ84ฉวรรคสองเมื่อ ห.ผู้เป็นหุ้นส่วนตายเป็นเหตุให้ห้างหุ้นส่วนเลิกกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1055(5)และไม่มีการชำระบัญชีจำเลยที่1ซึ่งเป็นหุ้นส่วนที่เหลือต้องทำหน้าที่เป็นตัวแทนห้างหุ้นส่วนในการเสียภาษีการที่เจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมินภาษีการค้าของห้างหุ้นส่วนต่อจำเลยที่1จึงชอบด้วยประมวลรัษฎากรมาตรา88 ผู้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญทุกคนต้องร่วมกันรับผิดในหนี้ค่าภาษีอากรของห้างหุ้นส่วนโดยไม่มีจำกัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1025เมื่อ ห. ผู้เป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งตายทายาทผู้รับมรดกของ ห. ต้องร่วมกับจำเลยที่1รับผิดในหนี้ค่าภาษีอากรดังกล่าวด้วย การคำนวณเงินเพิ่มภาษีการค้าตามประมวลรัษฎากรมาตรา89ทวิต้องเริ่มนับเมื่อพ้น15วันถัดจากเดือนภาษีทั้งเงินเพิ่มดังกล่าวจะต้องไม่เกินกว่าจำนวนภาษีที่ต้องชำระโดยไม่รวมเบี้ยปรับการที่ศาลพิพากษาให้จำเลยรับผิดชำระเงินเพิ่มตามมาตรา89ทวิดังกล่าวเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดกล่าวอ้างศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3196/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกห้างหุ้นส่วนจำกัดเมื่อหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดถึงแก่ความตายและการรับทายาทเข้าเป็นหุ้นส่วน
โดยปกติเมื่อหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดตายห้างหุ้นส่วนจำกัดย่อมเลิกกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1055(5),1080 แต่หุ้นส่วนที่ยังอยู่อาจตกลงให้ห้างยังคงอยู่ต่อไป โดยรับทายาทของหุ้นส่วนที่ตายเข้ามาเป็นหุ้นส่วนแทนได้เมื่อปรากฏว่าหลังจาก บ.หุ้นส่วนผู้จัดการห้างโจทก์ถึงแก่ความตายในระหว่างการพิจารณา หุ้นส่วนอื่นได้รับ ช. ซึ่งเป็นทายาทผู้รับมรดกให้เข้าเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการแทน บ. ห้างโจทก์จึงคงอยู่ต่อมา และเมื่อศาลอนุญาตให้ ช. เข้าเป็นผู้แทนโจทก์แทนบ. แล้วห้างโจทก์จึงมีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปได้โดยชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2253/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดในหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัด ความผิดพลาดเรื่องระยะเวลาการยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย
หนี้ที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้เป็นหนี้ของห้างฯ จำเลยที่ 1 มิใช่เป็นหนี้ของจำเลยที่ 2 เป็นส่วนตัว จำเลยที่ 2ซึ่ง เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดต้อง รับผิดร่วมกับห้างฯจำเลยที่ 1 ในหนี้ที่ห้างฯ จำเลยที่ 1 เป็นหนี้เท่านั้น เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ห้างฯ จำเลยที่ 1 เด็ดขาด วันที่ 10 กรกฎาคม2528 เจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิยื่นคำขอรับชำระหนี้ค่าดอกเบี้ยภายหลังวันที่ 10 กรกฎาคม 2528 ตาม พระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 100.
of 23