พบผลลัพธ์ทั้งหมด 317 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 303/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อัตราดอกเบี้ยผิดนัด, เบี้ยปรับ, สัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิต, การปรับอัตราดอกเบี้ยลอยตัว, ศาลลดเบี้ยปรับ
ทรัสต์รีซีทเป็นสัญญาที่เกี่ยวเนื่องกับสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิตซึ่งถ้าจำเลยที่ 1 ปฏิบัติตามสัญญาทรัสต์รีซีท จำเลยที่ 1 ต้องเสียดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่ขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต ตามอัตราที่กำหนดไว้เท่านั้นแต่ถ้าไม่ปฏิบัติตามสัญญา ธนาคารโจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ได้ในอัตราสูงสุดที่โจทก์กำหนดไว้นับตั้งแต่เวลาที่สินค้ามาถึงกรุงเทพมหานครถึงวันที่ชำระเงิน เมื่ออัตราดอกเบี้ยสูงสุดในแต่ละช่วงเวลาของโจทก์แตกต่างกันตามประกาศของโจทก์แต่ละฉบับ จำเลยที่ 1 ก็ต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดตามที่ประกาศไว้ในช่วงเวลาที่ผิดนัดของสัญญาทรัสต์รีซีทแต่ละฉบับกรณีไม่ใช่เป็นเรื่องที่โจทก์เปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยตามคำขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตของจำเลยที่ 1 ที่โจทก์จะต้องแจ้งให้จำเลยทั้งสองทราบ แต่การที่สัญญาดังกล่าวให้โจทก์คิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1ในอัตราสูงสุดที่ธนาคารโจทก์กำหนดไว้ได้เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามสัญญา จึงเป็นเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 379 ซึ่งหากสูงเกินส่วนศาลมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตามมาตรา 383
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 302/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อัตราดอกเบี้ยค้ำประกัน: ดอกเบี้ยตามสัญญาประธานใช้ได้ แม้สัญญาค้ำประกันไม่ได้ระบุ
สัญญาค้ำประกันระบุไว้ว่า ผู้ค้ำประกันยินยอมเข้าค้ำประกันหนี้สินทุกชนิดของห้างหุ้นส่วน ส. ภายในวงเงิน ที่กำหนดไว้ในสัญญาค้ำประกันและอุปกรณ์แห่งหนี้อันมีดอกเบี้ยค่าสินไหมทดแทนในการไม่ชำระหนี้ ดังนั้น แม้สัญญาค้ำประกันดังกล่าวอันเป็นสัญญาหรือหนี้อุปกรณ์จะมิได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ ก็ต้องถืออัตราดอกเบี้ยตามที่ระบุไว้ในสัญญาทรัสต์รีซีทอันเป็นสัญญาหรือหนี้ประธานซึ่งห้างหุ้นส่วน ส. ทำไว้กับโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2425/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ดอกเบี้ยเกินอัตราและผลกระทบต่อการเรียกร้องหนี้และการหักชำระ
การที่จำเลยชำระดอกเบี้ยที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเป็นการชำระหนี้ตามอำเภอใจ ทั้งที่รู้อยู่ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระ จำเลยจึงไม่อาจเรียกร้องคืนหรือให้นำมาหักหนี้ที่จำเลยค้างชำระอยู่ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 407
เมื่อจำเลยชำระหนี้ครั้งที่ 6 จำนวน 250,000 บาท จึงต้องนำเงินจำนวนดังกล่าวไปหักชำระดอกเบี้ยและต้นเงินที่ค้างชำระในวันที่ 16 พฤษภาคม 2540 การที่ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดให้นำเงินไปหักในวันดังกล่าว แต่กลับให้นำไปหักจากต้นเงินพร้อมดอกเบี้ยที่คำนวณได้ในวันที่จำเลยชำระเสร็จ จึงขัดกับ ป.พ.พ. มาตรา 329 วรรคหนึ่ง ทำให้จำเลยต้องชำระหนี้ดอกเบี้ยมากกว่าที่ควรเพราะความรับผิดของดอกเบี้ยจะมากหรือน้อย ย่อมแปรผันไปตามจำนวนต้นเงิน กล่าวคือ ถ้าต้นเงินมาก ดอกเบี้ยที่จะต้องชำระก็มาก หากต้นเงินน้อย ดอกเบี้ยก็จะน้อย
แม้เช็คพิพาท มีหนี้ในส่วนที่เป็นโมฆะรวมอยู่ด้วย โจทก์ยังมีสิทธิเรียกร้องต้นเงินอันเป็นหนี้ประธานที่สมบูรณ์แยกออกจากส่วนที่เป็นโมฆะได้ มิใช่เช็คพิพาทตกเป็นโมฆะทั้งหมดโจทก์จึงมีสิทธินำเช็คดังกล่าวฟ้องจำเลยได้
เมื่อจำเลยชำระหนี้ครั้งที่ 6 จำนวน 250,000 บาท จึงต้องนำเงินจำนวนดังกล่าวไปหักชำระดอกเบี้ยและต้นเงินที่ค้างชำระในวันที่ 16 พฤษภาคม 2540 การที่ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดให้นำเงินไปหักในวันดังกล่าว แต่กลับให้นำไปหักจากต้นเงินพร้อมดอกเบี้ยที่คำนวณได้ในวันที่จำเลยชำระเสร็จ จึงขัดกับ ป.พ.พ. มาตรา 329 วรรคหนึ่ง ทำให้จำเลยต้องชำระหนี้ดอกเบี้ยมากกว่าที่ควรเพราะความรับผิดของดอกเบี้ยจะมากหรือน้อย ย่อมแปรผันไปตามจำนวนต้นเงิน กล่าวคือ ถ้าต้นเงินมาก ดอกเบี้ยที่จะต้องชำระก็มาก หากต้นเงินน้อย ดอกเบี้ยก็จะน้อย
แม้เช็คพิพาท มีหนี้ในส่วนที่เป็นโมฆะรวมอยู่ด้วย โจทก์ยังมีสิทธิเรียกร้องต้นเงินอันเป็นหนี้ประธานที่สมบูรณ์แยกออกจากส่วนที่เป็นโมฆะได้ มิใช่เช็คพิพาทตกเป็นโมฆะทั้งหมดโจทก์จึงมีสิทธินำเช็คดังกล่าวฟ้องจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2425/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ดอกเบี้ยเกินอัตรา และการหักชำระหนี้ที่ถูกต้องตามกฎหมาย
การที่จำเลยชำระดอกเบี้ยที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเป็นการชำระหนี้ตามอำเภอใจทั้งที่รู้อยู่ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระ จำเลยจึงไม่อาจเรียกร้องคืนหรือให้นำมาหักหนี้ที่จำเลยค้างชำระอยู่ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 407
เมื่อจำเลยชำระหนี้ครั้งที่ 6 จำนวน 250,000 บาท จึงต้องนำเงินจำนวนดังกล่าวไปหักชำระดอกเบี้ยและต้นเงินที่ค้างชำระในวันที่ 16 พฤษภาคม 2540 การที่ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดให้นำเงินไปหักในวันดังกล่าว แต่กลับให้นำไปหักจากต้นเงินพร้อมดอกเบี้ยที่คำนวณได้ในวันที่จำเลยชำระเสร็จ จึงขัดกับ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 329 วรรคหนึ่ง ทำให้จำเลยต้องชำระหนี้ดอกเบี้ยมากกว่าที่ควรเพราะความรับผิดของดอกเบี้ยจะมากหรือน้อย ย่อมแปรผันไปตามจำนวนต้นเงิน กล่าวคือ ถ้าต้นเงินมากดอกเบี้ยที่จะต้องชำระก็มาก หากต้นเงินน้อย ดอกเบี้ยก็จะน้อย
แม้เช็คพิพาท มีหนี้ในส่วนที่เป็นโมฆะรวมอยู่ด้วย โจทก์ยังมีสิทธิเรียกร้องต้นเงินอันเป็นหนี้ประธานที่สมบูรณ์แยกออกจากส่วนที่เป็นโมฆะได้ มิใช่เช็คพิพาทตกเป็นโมฆะทั้งหมดโจทก์จึงมีสิทธินำเช็คดังกล่าวฟ้องจำเลยได้
เมื่อจำเลยชำระหนี้ครั้งที่ 6 จำนวน 250,000 บาท จึงต้องนำเงินจำนวนดังกล่าวไปหักชำระดอกเบี้ยและต้นเงินที่ค้างชำระในวันที่ 16 พฤษภาคม 2540 การที่ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดให้นำเงินไปหักในวันดังกล่าว แต่กลับให้นำไปหักจากต้นเงินพร้อมดอกเบี้ยที่คำนวณได้ในวันที่จำเลยชำระเสร็จ จึงขัดกับ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 329 วรรคหนึ่ง ทำให้จำเลยต้องชำระหนี้ดอกเบี้ยมากกว่าที่ควรเพราะความรับผิดของดอกเบี้ยจะมากหรือน้อย ย่อมแปรผันไปตามจำนวนต้นเงิน กล่าวคือ ถ้าต้นเงินมากดอกเบี้ยที่จะต้องชำระก็มาก หากต้นเงินน้อย ดอกเบี้ยก็จะน้อย
แม้เช็คพิพาท มีหนี้ในส่วนที่เป็นโมฆะรวมอยู่ด้วย โจทก์ยังมีสิทธิเรียกร้องต้นเงินอันเป็นหนี้ประธานที่สมบูรณ์แยกออกจากส่วนที่เป็นโมฆะได้ มิใช่เช็คพิพาทตกเป็นโมฆะทั้งหมดโจทก์จึงมีสิทธินำเช็คดังกล่าวฟ้องจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2356/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับจากสัญญาเงินกู้: ศาลมีอำนาจลดเบี้ยปรับหากสูงเกินสมควร
การพิจารณาว่าเงินที่เจ้าหนี้เรียกร้องจากลูกหนี้เป็นดอกเบี้ยอันเป็นดอกผลนิตินัยหรือเป็นเบี้ยปรับย่อมขึ้นอยู่กับข้อที่ว่าเจ้าหนี้เรียกเอาเงินนั้นโดยอาศัยเหตุใด หากเจ้าหนี้ใช้สิทธิปรับอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นหรือต่ำลงตามที่กำหนดในสัญญาโดยมิได้คำนึงว่าลูกหนี้ตกเป็นผู้ผิดนัดหรือไม่ ย่อมเป็นดอกเบี้ยอันเป็นดอกผลนิตินัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 148 วรรคสาม ซึ่งเจ้าหนี้มีสิทธิได้รับตามอัตราที่เปลี่ยนแปลง ศาลจะปรับอัตราดอกเบี้ยให้ต่ำลงกว่านั้นไม่ได้ แต่ถ้าอาศัยข้อสัญญาที่ให้สิทธิแก่เจ้าหนี้เรียกเอาจากลูกหนี้เนื่องจากลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้ ย่อมเป็นค่าเสียหายที่กำหนดไว้ล่วงหน้าเมื่อลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้ และเป็นเบี้ยปรับตามมาตรา 379 ซึ่งหากกำหนดไว้สูงเกินส่วนศาลย่อมมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ ตามมาตรา 383
สัญญากู้เงินระบุว่า ในกรณีที่ผู้กู้ไม่ชำระเงินกู้และดอกเบี้ยให้เป็นไปตามที่กำหนดในสัญญา ผู้กู้ตกลงเสียเบี้ยปรับในอัตราร้อยละ 21 ต่อปี ของต้นเงินที่ผิดนัด และเอกสารแสดงรายการชำระหนี้มีข้อความในตอนหมายเหตุว่า เริ่มคิดดอกเบี้ยผิดนัดอัตราร้อยละ21.00 ตั้งแต่วันที่ 21 ตุลาคม 2540 เป็นต้นไป แสดงว่าโจทก์อาศัยสิทธิตามสัญญากู้เงินเรียกให้จำเลยชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 21 ต่อปี เนื่องจากจำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ ดังนี้แม้จะระบุว่าเงินดังกล่าวเป็นดอกเบี้ย แต่ก็เป็นค่าเสียหายที่กำหนดไว้ล่วงหน้า เมื่อจำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ จึงเป็นเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 379
สัญญากู้เงินระบุว่า ในกรณีที่ผู้กู้ไม่ชำระเงินกู้และดอกเบี้ยให้เป็นไปตามที่กำหนดในสัญญา ผู้กู้ตกลงเสียเบี้ยปรับในอัตราร้อยละ 21 ต่อปี ของต้นเงินที่ผิดนัด และเอกสารแสดงรายการชำระหนี้มีข้อความในตอนหมายเหตุว่า เริ่มคิดดอกเบี้ยผิดนัดอัตราร้อยละ21.00 ตั้งแต่วันที่ 21 ตุลาคม 2540 เป็นต้นไป แสดงว่าโจทก์อาศัยสิทธิตามสัญญากู้เงินเรียกให้จำเลยชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 21 ต่อปี เนื่องจากจำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ ดังนี้แม้จะระบุว่าเงินดังกล่าวเป็นดอกเบี้ย แต่ก็เป็นค่าเสียหายที่กำหนดไว้ล่วงหน้า เมื่อจำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ จึงเป็นเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 379
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2094/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อสัญญาดอกเบี้ยกู้เงิน: อัตราดอกเบี้ยตามสัญญา, เบี้ยปรับ, และอำนาจศาลในการลดเบี้ยปรับ
ตามหนังสือสัญญากู้เงิน มีใจความโดยสรุปว่า ในระยะ 3 ปีแรก นับแต่วันทำสัญญากู้เงินโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราคงที่ได้เพียงร้อยละ 8.11 ต่อปีเท่านั้นจะปรับอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นกว่านั้นไม่ได้จนกว่าจะล่วงพ้น 3 ปี นับแต่วันที่ทำสัญญาเว้นแต่จำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้เมื่อใดไม่ว่าจะอยู่ในช่วง 3 ปี นับแต่วันที่ทำสัญญากู้เงินหรือหลังจากนั้นก็ตาม โจทก์ย่อมมีสิทธิปรับอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นได้เสมอ ดังนั้น ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 8.11 ต่อปีในระยะเริ่มแรกก็ดี ดอกเบี้ยหลังจากล่วงพ้น 3 ปีนับแต่วันทำสัญญากู้เงินก็ดี ล้วนเป็นอุปกรณ์แห่งหนี้ที่โจทก์มีสิทธิได้รับตามข้อสัญญาทั้งสิ้น โดยไม่ต้องคำนึงว่าจำเลยตกเป็นผู้ผิดนัดหรือไม่ จึงเป็นดอกผลนิตินัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 148 วรรคสาม แต่ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 19ต่อปี ที่โจทก์เรียกร้องจากจำเลยหลังจากที่จำเลยตกเป็นผู้ผิดนัด และยังอยู่ในช่วงเวลา3 ปี นับแต่วันทำสัญญากู้เงิน ซึ่งโจทก์ยังไม่มีสิทธิเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยนั้น เป็นการใช้สิทธิตามสัญญากู้เงินที่ให้สิทธิแก่โจทก์ที่จะเพิ่มอัตราดอกเบี้ยสูงขึ้นได้ในกรณีที่จำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ จึงเป็นเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 379ซึ่งหากสูงเกินส่วนศาลย่อมมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้โดยคำนึงถึงทางได้เสียของโจทก์ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 383
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9516/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้สูงเกินไป ศาลมีอำนาจลดอัตราดอกเบี้ยได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383
ตามข้อตกลงในสัญญากู้เงินมีการกำหนดเรื่องอัตราดอกเบี้ยไว้ 2 กรณี กรณีแรกผู้กู้ยอมให้ผู้ให้กู้เปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยในจำนวนหนี้ที่ผู้กู้ยังค้างชำระหนี้อยู่ตามสัญญา แต่ไม่เกินอัตราดอกเบี้ยสูงสุดตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยที่กำหนดให้ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บจากลูกค้าได้ เพียงแต่ผู้ให้กู้แจ้งให้ผู้กู้ทราบเท่านั้น กรณีที่สอง ผู้กู้ตกลงว่าหากผู้กู้ผิดนัดชำระหนี้งวดใดงวดหนึ่งผู้กู้ยินยอมให้ผู้ให้กู้คิดดอกเบี้ยในอัตราดอกเบี้ยสูงสุดตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย ที่กำหนดให้ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บจากลูกค้าได้ กรณีของโจทก์เป็นการเรียกดอกเบี้ยสูงขึ้นจากเดิมเพราะจำเลยผิดนัดชำระหนี้หรือผิดเงื่อนไขตามสัญญา โดยโจทก์มิต้องแจ้งให้จำเลยทราบล่วงหน้า แต่การปรับดอกเบี้ยให้สูงขึ้นในกรณีนี้มีลักษณะเป็นทำนองเบี้ยปรับ เนื่องจากเป็นทำนองค่าเสียหายที่กำหนดไว้ล่วงหน้าในกรณีไม่ชำระหนี้ หรือชำระหนี้ให้ถูกต้องสมควรเมื่อสูงเกินส่วน ศาลมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ โดยพิเคราะห์ถึงทางได้เสียของเจ้าหนี้ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8749/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยเกินอัตรา: ธนาคารพาณิชย์ต้องปฏิบัติตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยและประกาศของตนเอง
โจทก์เป็นธนาคารพาณิชย์ ขณะจำเลยทำสัญญากู้ยืมเงินจากโจทก์ โจทก์ประกาศอัตราดอกเบี้ยโดยกำหนดอัตราดอกเบี้ยในการอำนวยสินเชื่อไว้สำหรับสินเชื่อสำหรับบุคคลทั่วไปว่า 1.1 กรณีอยู่ภายในวงเงินและไม่ผิดเงื่อนไขในการผ่อนชำระอัตราร้อยละ 16.5 ต่อปี และ 1.2 กรณีเกินวงเงิน/ผิดเงื่อนไขในการผ่อนชำระอัตราร้อยละ 19 ต่อปี กรณีของจำเลยอยู่ในหลักเกณฑ์ข้อ 1.1 แต่ในสัญญากู้ยืมเงินระบุดอกเบี้ยไว้อัตราร้อยละ 19 ต่อปี ในชั้นพิจารณาของศาลพนักงานฝ่ายสินเชื่อและเร่งรัดหนี้สินของโจทก์เบิกความยืนยันว่าคิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ดังนี้ แม้ว่าโจทก์เป็นธนาคารพาณิชย์ ในการคิดอัตราดอกเบี้ยมิได้อยู่ภายใต้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 654 แต่การคิดอัตราดอกเบี้ยของโจทก์จะต้องอยู่ภายใต้บทบัญญัติของพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ฯ มาตรา 14 ซึ่งกำหนดให้ธนาคารแห่งประเทศไทยออกประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลด ซึ่งโจทก์ได้ออกประกาศดอกเบี้ยและส่วนลดตามอัตราดอกเบี้ยแต่ละกรณี ดังนั้น การที่โจทก์กำหนดอัตราดอกเบี้ยเกินกว่าประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยและประกาศของโจทก์ดังกล่าวข้างต้น จึงเป็นการปฏิบัติฝ่าฝืนต่อพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ฯเป็นการต้องห้ามตามพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราฯ มาตรา 3(ก) จึงเป็นโมฆะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6934/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิคิดดอกเบี้ยของสถาบันการเงินภายใต้ พ.ร.บ.ดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม และ พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา
โจทก์เป็นสถาบันการเงินจึงต้องใช้ พ.ร.บ. ดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน พ.ศ. 2523 มาใช้บังคับ บทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวให้สิทธิสถาบันการเงินคิดดอกเบี้ยเกินร้อยละ 15 ต่อปีได้ แต่ไม่ให้เกินกว่าอัตราสูงสุดที่รัฐมนตรีกำหนด โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยทั้งสองเกินร้อยละ 15 ต่อปีได้ หาเป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ. ห้ามเรียกดอกเบี้ย- เกินอัตรา พ.ศ. 2475 ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5751/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดจากการรักษาพยาบาล และการกำหนดดอกเบี้ยมูลละเมิดที่เหมาะสม
การรถไฟแห่งประเทศไทย จำเลยที่ 9 ไม่สามารถส่งโจทก์ทั้งสองและผู้โดยสารอื่นต่อไปได้เพราะมีรถไฟตกรางอยู่ข้างหน้าจำเลยที่ 9 ย่อมมีหน้าที่จัดหายานพาหนะอื่นขนส่งโจทก์ทั้งสองและผู้โดยสารอื่นไปให้ถึงจุดหมายปลายทางอันเป็นการรับขนส่งผู้โดยสารตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 608,609 และพระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทยฯ มาตรา 9(7)การขนถ่ายผู้โดยสารของจำเลยที่ 3 ที่ 5 และที่ 8 จากขบวนรถไฟของจำเลยที่ 9 ที่ปรากฏแก่โจทก์ทั้งสองและบุคคลภายนอกซึ่งไปมาระหว่างสถานีรถไฟ ล. กับสถานีรถไฟ ค. จึงเป็นการทำแทนจำเลยที่ 9นิติสัมพันธ์ระหว่างจำเลยที่ 9 กับจำเลยที่ 3 ที่ 5 และที่ 8 จึงอยู่ในฐานะตัวการและตัวแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 797
ความเสียหายที่มิใช่ตัวเงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 446 หมายความว่า ความเสียหายอันไม่อาจคำนวณเป็นเงินได้แต่ความเสียหายเช่นว่านี้ต้องเป็นผลสืบเนื่องมาจากการกระทำละเมิดจำเป็นต้องเยียวยาหรือทดแทนความเสียหายให้เช่นเดียวกัน ซึ่งอาจมีความเสียหายมากยิ่งกว่าความเสียหายต่อร่างกายอีกด้วย ความเสียหายที่มิใช่ตัวเงิน เช่น ความเจ็บปวดทนทุกขเวทนาระหว่างการรักษาพยาบาลหรือต้องทุพพลภาพพิการต่อไป ความเสียหายเช่นว่านี้กฎหมายให้ศาลมีอำนาจกำหนดให้ตามพฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด เพราะค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายที่มิใช่ตัวเงินย่อมจะนำสืบคิดเป็นจำนวนเงินเท่าใดไม่ได้อยู่ในตัว เมื่อพิจารณาจากลักษณะบาดแผลกับวิธีการรักษาบาดแผลของโจทก์ที่ 1 ซึ่งต้องผ่าตัดและเข้าเฝือกหลายครั้ง ต้องรับการรักษาเป็นเวลานานร่วม 3 ปี ต้องทนทุกข์ทรมานต่อความเจ็บปวดของบาดแผลในระหว่างการรักษาอันเป็นเวลานานยิ่งกว่านั้นสภาพแขนซ้ายของโจทก์ที่ 1 ต้องทุพพลภาพตลอดชีวิตทั้งเสียบุคลิกภาพเนื่องจากผลของการผ่าตัดทำให้แขนซ้ายสั้นกว่าแขนขวา ถือว่าเป็นความเสียหายอันมิใช่ตัวเงินที่โจทก์ที่ 1ชอบจะเรียกร้องได้
โจทก์ที่ 2 ต้องออกจากงานมาดูแลโจทก์ที่ 1 โดยตลอด ซึ่งก็ต้องขวนขวายหาเงินมาเป็นค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลโจทก์ที่ 1 รวมทั้งการดำรงชีพของโจทก์ที่ 1 ตลอดมาในระหว่างดำเนินคดีจนถึงที่สุดเป็นเวลานานกว่า 10 ปี นอกจากนี้ในคดีละเมิด โจทก์ที่ 1 มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยได้นับแต่วันละเมิดเป็นต้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 206 แต่โจทก์ที่ 1 ก็มิได้เรียกร้องดอกเบี้ยก่อนฟ้องมาด้วย การที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดให้จำเลยที่ 9 เสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ของค่าเสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142(6) นั้นชอบแล้ว
ความเสียหายที่มิใช่ตัวเงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 446 หมายความว่า ความเสียหายอันไม่อาจคำนวณเป็นเงินได้แต่ความเสียหายเช่นว่านี้ต้องเป็นผลสืบเนื่องมาจากการกระทำละเมิดจำเป็นต้องเยียวยาหรือทดแทนความเสียหายให้เช่นเดียวกัน ซึ่งอาจมีความเสียหายมากยิ่งกว่าความเสียหายต่อร่างกายอีกด้วย ความเสียหายที่มิใช่ตัวเงิน เช่น ความเจ็บปวดทนทุกขเวทนาระหว่างการรักษาพยาบาลหรือต้องทุพพลภาพพิการต่อไป ความเสียหายเช่นว่านี้กฎหมายให้ศาลมีอำนาจกำหนดให้ตามพฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด เพราะค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายที่มิใช่ตัวเงินย่อมจะนำสืบคิดเป็นจำนวนเงินเท่าใดไม่ได้อยู่ในตัว เมื่อพิจารณาจากลักษณะบาดแผลกับวิธีการรักษาบาดแผลของโจทก์ที่ 1 ซึ่งต้องผ่าตัดและเข้าเฝือกหลายครั้ง ต้องรับการรักษาเป็นเวลานานร่วม 3 ปี ต้องทนทุกข์ทรมานต่อความเจ็บปวดของบาดแผลในระหว่างการรักษาอันเป็นเวลานานยิ่งกว่านั้นสภาพแขนซ้ายของโจทก์ที่ 1 ต้องทุพพลภาพตลอดชีวิตทั้งเสียบุคลิกภาพเนื่องจากผลของการผ่าตัดทำให้แขนซ้ายสั้นกว่าแขนขวา ถือว่าเป็นความเสียหายอันมิใช่ตัวเงินที่โจทก์ที่ 1ชอบจะเรียกร้องได้
โจทก์ที่ 2 ต้องออกจากงานมาดูแลโจทก์ที่ 1 โดยตลอด ซึ่งก็ต้องขวนขวายหาเงินมาเป็นค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลโจทก์ที่ 1 รวมทั้งการดำรงชีพของโจทก์ที่ 1 ตลอดมาในระหว่างดำเนินคดีจนถึงที่สุดเป็นเวลานานกว่า 10 ปี นอกจากนี้ในคดีละเมิด โจทก์ที่ 1 มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยได้นับแต่วันละเมิดเป็นต้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 206 แต่โจทก์ที่ 1 ก็มิได้เรียกร้องดอกเบี้ยก่อนฟ้องมาด้วย การที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดให้จำเลยที่ 9 เสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ของค่าเสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142(6) นั้นชอบแล้ว