คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
อาคาร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 111 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 975/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การก่อสร้างอาคารผิดแบบและคำสั่งรื้อถอน: ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิม
จำเลยเป็นผู้ก่อสร้างอาคารพิพาทผิดไปจากแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตและเป็นการฝ่าฝืนข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร ทั้งเป็นกรณีที่ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ เมื่อกรุงเทพมหานครได้พิจารณาและตราข้อบัญญัติไว้แล้ว อาคารที่ก่อสร้างขึ้นโดยฝ่าฝืนข้อบัญญัติดังกล่าวย่อมถือว่าเป็นอาคารที่ก่อสร้างขึ้นโดยไม่มีความปลอดภัย
จำเลยก่อสร้างอาคารพิพาทผิดไปจากแบบแปลนที่ได้รับ อนุญาตอันเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้สั่งให้จำเลยระงับการก่อสร้างตามมาตรา 40 และต่อมา ได้สั่งให้จำเลยรื้อถอนตามมาตรา 42 วรรคแรกแล้ว อาคารดังกล่าวก็จะต้องถูกรื้อถอน แม้พนักงานสอบสวนจะเปรียบเทียบปรับจำเลยโดยอ้างบทกฎหมายไม่ถูกต้องและเจ้าพนักงานเขตออกหมายเลขที่บ้านให้จำเลยโดยมิได้คัดค้านว่าจำเลยก่อสร้างอาคารผิดไปจากแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตก็ตาม
ผู้ควบคุมงานของจำเลยเป็นผู้รับทราบคำสั่งให้รื้อถอนอาคารพิพาท ก็ถือได้ว่าจำเลยได้ทราบด้วย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้จำเลยรื้อถอนอาคารที่จำเลยก่อสร้างผิดไปจากแบบแปลนที่ได้รับอนุญาต
การมอบอำนาจของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ให้หัวหน้าเขตปฏิบัติราชการแทน เป็นการมอบอำนาจตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2518 มาตรา 35 ซึ่งเป็นเรื่องที่ผู้มีอำนาจมอบอำนาจที่ตนมีอยู่ให้หัวหน้าส่วนราชการในสังกัดปฏิบัติราชการแทนตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้ จึงไม่จำต้องปิดแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร ทั้งไม่มีกฎหมายบังคับให้จำต้องมีพยานรับรองลายมือ ชื่อผู้มอบอำนาจด้วย จึงรับฟังเอกสารเป็นพยานได้
เมื่อพยานโจทก์คนสุดท้ายคอบคำถามติงแล้ว โจทก์ส่งเอกสารเป็นพยานต่อศาล แล้วให้พยานนั้นดูเอกสารดังกล่าว และพยานโจทก์แถลงประกอบเอกสาร ถือได้ว่าเป็นการซักถามพยานเมื่อได้ถามติงพยานเสร็จแล้ว แต่การที่ศาลชั้นต้นยอมให้โจทก์กระทำเช่นนั้น ก็ถือได้ว่าโจทก์ได้รับอนุญาตจากศาลแล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 117 วรรคสี่ จึงรับฟังเอกสารดังกล่าวเป็นพยานได้
การที่หัวหน้าเขตซึ่งได้รับมอบอำนาจจากผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครให้ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้มอบหมายงานโยธา ให้ผู้ช่วยหัวหน้าเขตเป็นผู้ควบคุมรับผิดชอบสั่งการแทนหัวหน้าเขตได้ เป็นการมอบให้ปฏิบัติราชการแทนตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2518 มาตรา 17 ให้อำนาจไว้ ไม่เป็นการมอบอำนาจช่วง ผู้ช่วยหัวหน้าเขตมีอำนาจลงลายมือชื่อในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้ และหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวไม่จำต้องปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร ก็รับฟังเป็นพยานได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 622/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตและไม่สามารถแก้ไขได้ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งรื้อได้ แม้เลยเวลาสั่งระงับ
จำเลยกอ่สร้างอาคารพิพาทโดยไม่ได้รับอนุญาตและอาคารดังกล่าวไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 42 เมื่ออาคารพิพาทได้ก่อสร้างเสร็จแล้ว จึงล่วงเลยเวลาที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะมีคำสั่งให้ระงับการก่อสร้าง เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่จำต้องมีคำสั่งดังกล่าวดังนั้น แม้เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารพิพาทเกิน 30 วัน นับแต่วันที่ได้มีคำสั่งให้ระงับการก่อสร้าง ก็ไม่ทำให้จำเลยพ้นความรับผิดที่จะต้องรื้อถอนอาคารดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 618/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การก่อสร้างถังเก็บก๊าซเข้าข่ายเป็นอาคารตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร แม้ไม่มีนิยามในกฎหมาย
ถังเหล็กพร้อมฐานคอนกรีตรองรับสร้างขึ้นเพื่อใช้บรรจุก๊าซแสดงว่าเป็นสิ่งที่สร้างขึ้นสำหรับเข้าใช้สอย.ต้องถือว่าสิ่งก่อสร้างดังกล่าวเป็นอาคารตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯมาตรา4. จำเลยไม่เคยได้รับโทษจำคุกมาก่อนและไม่ปรากฏว่าถังเหล็กพร้อมฐานคอนกรีตรองรับเพื่อใช้บรรจุก๊าซที่จำเลยสร้างขึ้นมีลักษณะน่าจะเป็นอันตรายแก่บุคคลอื่นจึงสมควรรอการลงโทษจำคุกจำเลย.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1744/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงเจ้าของอาคารและการบังคับใช้กฎหมายควบคุมอาคารหลังมีการยกเลิกกฎหมายเดิม ผู้โอนสิทธิไม่ต้องรับผิดค่ารื้อถอน
จำเลยเป็นเจ้าของอาคารพิพาทได้ทำการต่อเติมอาคารดังกล่าวโดยมิได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น อันเป็นการฝ่าฝืนต่อพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พุทธศักราช 2479 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น หลังจากจำเลยถูกพนักงานสอบสวนเปรียบเทียบปรับไปแล้วจึงได้ขายอาคารพิพาทให้แก่บุคคลอื่นไป ต่อมาได้มีการยกเลิกพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พุทธศักราช 2479 และให้ใช้ พระราชบัญญัติ ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 แทน โจทก์จึงมาฟ้องบังคับให้รื้ออาคารส่วนที่ต่อเติม ดังนี้ต้องใช้พระราชบัญญัติ ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 บังคับ ซึ่งมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวได้บัญญัติว่า ในกรณีที่ศาลกำหนดให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นเป็นผู้รื้อ เจ้าของอาคารต้องเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายเมื่อปรากฏว่าขณะที่โจทก์ฟ้อง จำเลยไม่ใช่เจ้าของอาคารพิพาทแล้ว จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดเสียค่าใช้จ่ายในการรื้อ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 533/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต แม้จะเข้าใจผิดว่าได้รับอนุญาตแล้ว ก็ไม่เป็นเหตุให้ชอบด้วยกฎหมายได้
จำเลยเช่าที่ดินแล้วปลูกสร้างอาคารโดยลงเข็มและตั้งเสาทั้งที่ไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ผู้ร้องสอดรับโอนสิทธิการเช่าจากจำเลยและปลูกสร้างอาคารต่อมาจนเสร็จจะอ้างความเข้าใจผิดคิดว่าจำเลยได้รับอนุญาตแล้วไม่ได้เมื่อผู้ร้องสอดไม่ได้ขออนุญาตปลูกสร้างอาคาร และภายหลังได้ยื่นคำร้องขอผ่อนผันใช้อาคาร ทางราชการก็มีคำสั่งไม่อนุญาต จำเลยและผู้ร้องสอดก็ต้องรื้ออาคารออกไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2826/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าเป็นสัญญาต่างตอบแทน: เจตนาผูกพัน 10 ปี จากการยกอาคารและสิ่งปลูกสร้าง
การที่จำเลยจะต้องยกอาคารและสิ่งปลูกสร้างให้โจทก์ตามที่ตกลงกันไว้ในสัญญาเช่าอีกโสดหนึ่งต่างหากจากค่าเช่าซึ่งมีเพียงเล็กน้อย ย่อมแสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์จำเลยว่ามุ่งจะผูกพันกันเป็นเวลาถึงสิบปี โดยจำเลยต้องการเวลานาน ส่วนโจทก์ต้องการอาคารและสิ่งปลูกสร้าง สัญญาเช่าจึงเป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาโจทก์จำเลยต้องผูกพันตามนั้น จะบอกเลิกสัญญาและขับไล่จำเลยก่อนครบกำหนดสิบปีหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1074/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การก่อสร้างอาคารผิดแบบและการยกเว้นความรับผิดทางอาญาจากความเข้าใจผิดเรื่องกฎหมาย
จำเลยถูกฟ้องว่าปลูกสร้างอาคาร ไม่ตรงตามแบบที่ได้รับอนุญาต ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง โดยวินิจฉัยว่าโจทก์นำสืบไม่ได้ว่าการกระทำของจำเลยไม่เข้าข้อยกเว้นตาม มาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร ฯลฯ อันจะทำให้ ถือว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิด เช่นนี้การที่โจทก์อุทธรณ์ว่า โจทก์นำสืบข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบแห่งความผิดครบถ้วนแล้ว และเป็นหน้าที่ของจำเลย ที่จะต้องนำสืบว่าการกระทำของจำเลยเข้าข้อยกเว้นข้ออุทธรณ์ของโจทก์ดังกล่าวจึงเป็นปัญหาข้อกฎหมาย
ข้อบัญญัติส่วนท้องถิ่นเป็นกฎหมายใช้บังคับแก่คนทั่วประเทศมิใช่บังคับเฉพาะแต่คนในท้องถิ่นเท่านั้น จึงเป็น ข้อกฎหมายที่ศาลจะต้องทราบเอง โดยโจทก์มิต้องนำสืบความในข้อบัญญัติดังกล่าว
พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาแก่จำเลยว่า "ก่อสร้างอาคารผิดแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตจากคณะเทศมนตรีเมืองปทุมธานี" เช่นนี้เป็นการแจ้งข้อหาชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 134 พนักงานสอบสวนหาจำต้องแจ้งชื่อพระราชบัญญัติด้วยไม่การสอบสวนจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
จำเลยทราบอยู่แล้วว่าการก่อสร้างอาคารในเขตเทศบาลต้องได้รับอนุญาตจากเทศบาล ซึ่งมีพระราชกฤษฎีกาให้ใช้พระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พุทธศักราช 2479 ในเขตเทศบาลเมืองปทุมธานี ฯ แล้ว การที่จำเลยก่อสร้างฝ่าฝืนต่อเติมอาคารผิดไปจากที่ได้รับอนุญาต จึงจะยกเป็นเหตุอ้างว่าไม่รู้กฎหมาย เพื่อไม่ต้องรับโทษ หรือรับโทษน้อยลงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 62 ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2202/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หุ้นส่วนจำกัดรับผิดร่วมกันในสัญญาซื้อขายที่ดินและอาคาร แม้ใช้ชื่อห้างหุ้นส่วนเป็นตัวแทน
ภายหลังจากที่จดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำเลยที่ 1 แล้วผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งสามคือ จำเลยที่ 2 ที่ 3 และ ซ. ได้ทำข้อตกลงพิเศษกันไว้เป็นส่วนตัวให้ห้างหุ้นส่วนจำเลยที่ 1 มีวัตถุประสงค์เพิ่มเติมคือรับจัดให้ได้มาซึ่งที่อยู่อาศัยพร้อมที่ดิน ซึ่งหมายถึงการซื้อที่ดินมาปลูกสร้างอาคารสร้างอาคารขายอันมิใช่วัตถุประสงค์ของห้าง และเมื่อมีกำไร ยอมยกให้จำเลยที่ 3 ครึ่งหนึ่ง ส่วนสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาจำเลยที่ 2 ที่ 3 มีสิทธิคนละครึ่ง ข้อตกลงดังกล่าวแม้จะอ้างว่าเป็นกิจการของห้างจำเลยที่ 1 แต่แท้จริงมุ่งหมายผูกพันกันระหว่างจำเลยที่ 2 ที่ 3 โดยตรงเพียงแต่ใช้ชื่อห้างจำเลยที่ 1 ออกหน้าเท่านั้น ทั้งทางปฏิบัติระหว่างจำเลยที่ 2 ที่ 3 เกี่ยวกับการใช้จ่ายดำเนินกิจการซื้อที่ดินมาปลูกอาคารขายก็มีลักษณะของการลงเงินเป็นหุ้นแสดงให้เห็นชัดว่าจำเลยที่ 2 ที่ 3 ในฐานะส่วนตัวเป็นหุ้นส่วนกันในกิจการซื้อที่ดินมาปลูกสร้างอาคารตึกแถวขายพร้อมที่ดิน อาคารพิพาทและที่ดินจึงเป็นทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนจำเลยที่ 2 ที่ 3 เมื่อจำเลยที่ 2 ผู้เป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งผิดสัญญาซื้อขายอาคารพิพาทและที่ดินที่ทำไว้กับโจทก์ โดยก่อสร้างอาคารพิพาทไม่แล้วเสร็จ และไม่โอนอาคารพิพาทและที่ดินให้โจทก์ จำเลยที่ 3 ผู้เป็นหุ้นสวนอีกคนหนึ่งจึงต้องร่วมรับผิดด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1955/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าที่ดินยังคงมีผล แม้จะเกิดเพลิงไหม้อาคารที่ปลูกสร้างบนที่ดินนั้น และจำเลยไม่ได้บอกเลิกสัญญา
แม้อาคารของโจทก์ที่ปลูกสร้างอยู่ในที่ดินที่โจทก์เช่าจากจำเลยจะถูกเพลิงไหม้เสียหายหมดก็ตาม ก็ไม่มีเหตุที่จะทำให้สัญญาเช่าที่ดินระงับสิ้นไป
โจทก์ฟ้องอ้างว่าโจทก์ทำสัญญาเช่าที่ดินจากจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 แล้วจำเลยที่ 2 นำที่ดินที่โจทก์เช่าไปให้จำเลยที่ 3 เช่าอีก ทับที่เช่าโจทก์ดังนี้ แสดงว่าจำเลยโต้แย้งสิทธิเกี่ยวกับการเช่าของโจทก์แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2577-2581/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งคำสั่งรื้อถอนอาคารและการอุทธรณ์ตามกฎหมายรักษาความสะอาดฯ หากไม่ดำเนินการตามขั้นตอนกฎหมาย จะไม่มีอำนาจฟ้อง
จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีคำสั่งให้รื้อถอนอาคารที่พิพาทโดยได้ส่งคำสั่งให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของและผู้ครอบครองทราบโดยชอบแล้วโจทก์ไม่อุทธรณ์คำสั่งนั้นต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยภายใน 15 วัน ตามที่ พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมืองฯ มาตรา 12 วรรคสองกำหนดไว้ ถือได้ว่าโจทก์มิได้ดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมาย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งนั้น
of 12