พบผลลัพธ์ทั้งหมด 703 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2594/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคดีอาญาของผู้มีจิตบำบัด: จำเป็นต้องตรวจสอบสภาพจิตก่อนพิพากษา
ข้อเท็จจริงหรือเหตุที่ทำให้ศาลเชื่อหรือสงสัยว่าจำเลย เป็นผู้วิกลจริตและไม่สามารถต่อสู้คดีได้ อาจเป็นเพราะศาลสังเกต เห็นจากอากัปกิริยาของจำเลยเอง หรือมีผู้เสนอข้อเท็จจริง ให้ศาลทราบก็ได้ ในวันที่พนักงานอัยการโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลชั้นต้น ธ. น้องจำเลยยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นพร้อมใบตรวจโรคของแพทย์โรงพยาบาลว่า จำเลยเป็นโรคจิตเภท มีอาการระแวง พูดจาวกวน โรงพยาบาลรับตัวจำเลยไว้รักษารวม 4 ครั้งและหลังเกิดเหตุคดีนี้เพียง 3 วัน โรงพยาบาลก็ได้รับตัว จำเลยไว้รักษาอีกครั้งหนึ่งครั้งนี้จำเลยมีอาการหงุดหงิด ง่าย พูดและยิ้มคนเดียว โรงพยาบาลจำต้องดูแลรักษาต่อไป อย่างต่อเนื่องเพื่อไม่ให้อาการกำเริบยิ่งขึ้น ดังนี้เมื่อ กรณีมีเหตุควรเชื่อในเบื้องต้นว่าจำเลยเป็นผู้วิกลจริตและไม่สามารถต่อสู้คดีได้ ศาลจึงชอบที่จะสั่งให้แพทย์ตรวจ จำเลยโดยละเอียด แล้วเรียกแพทย์ผู้ตรวจมาให้ถ้อยคำต่อศาล หรือมาให้การว่าจำเลยวิกลจริตถึงขนาดไม่สามารถต่อสู้ ได้หรือไม่เสียก่อน แล้วจึงพิจารณาพิพากษาคดีต่อไปการที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์มิได้พิจารณาคำร้องของธ. น้องจำเลยเป็นการที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิจารณาและพิพากษาลงโทษ จำเลยโดยไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนของ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 14 ก่อน จึงไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา ปัญหานี้เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ของประชาชน จำเลยย่อมยกขึ้นฎีกาได้ และศาลฎีกา ย่อมมีอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 208(2)ประกอบด้วยมาตรา 225 สั่งให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ให้ถูกต้อง โดยให้ศาลชั้นต้นส่งตัวจำเลยไป ให้แพทย์โรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยาหรือโรงพยาบาลอื่นที่ศาลชั้นต้นเห็นสมควร ตรวจสภาพจิตและเรียกแพทย์ผู้ตรวจจำเลย มาให้ถ้อยคำหรือให้การต่อศาลว่าตรวจได้ผลประการใดแล้ว ดำเนินการพิจารณาพิพากษาไปตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 14
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2477/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำโดยบันดาลโทสะ: พิจารณาจากเหตุการณ์ก่อนหลังและพฤติการณ์การกระทำ
การที่จำเลยเดินเข้าไปหาโจทก์ร่วมโดยถือมีดไปด้วย แล้วใช้มีดเป็นอาวุธแทงและฟันทำร้ายร่างกายโจทก์ร่วม น่าจะเป็นเพราะจำเลยโกรธที่โจทก์ร่วมพาน้องสาวจำเลย ไปนอนค้างที่อื่น และขอเลื่อนการแต่งงานออกไปจากวันที่ กำหนดไว้เดิมมากกว่าเหตุอื่นการกระทำของจำเลยจึงมิใช่ การกระทำโดยบันดาลโทสะตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 72 จำเลยใช้มีดขนาดใหญ่เป็นอาวุธแทงและฟันโจทก์ร่วมโดยอุกอาจเป็นเหตุให้โจทก์ร่วมได้รับอันตรายสาหัสเส้นเลือดใหญ่และเส้นเอ็น ที่ข้อมือขวาฉีกขาด หลังเกิดเหตุจำเลยหลบหนีไปถึง 2 ปีเศษ จึงเข้ามอบตัวสู้คดี ไม่มีเหตุรอการลงโทษให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 207/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสนับสนุนการกระทำความผิดทางอาญา: ผู้ใช้/ผู้สนับสนุน vs. ผู้ร่วมกระทำความผิด
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยกับ ด.ร่วมกันจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนแต่ข้อเท็จจริงในทางนำสืบของโจทก์ฟังได้ว่า ในขณะที่ ด.จำหน่ายเมทแอมเฟตามีนให้สายลับผู้ล่อซื้อ จำเลยไม่ได้อยู่ร่วมด้วย โดยในขณะเกิดเหตุจำเลยอยู่ที่บ้านเพื่อนของจำเลย แต่จำเลยได้มอบเมทแอมเฟตามีนของกลางไว้ให้ ด.จำหน่ายให้สายลับผู้ล่อซื้อ อันเป็นการใช้หรือก่อให้ ด.กระทำความผิดตาม ป.อ.มาตรา 84 ดังนี้จำเลยจึงมิใช่ผู้ร่วมกับ ด.กระทำการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนอันเป็นความผิดตามมาตรา 83 ที่โจทก์ฟ้อง ซึ่งเป็นการแตกต่างกันในสาระสำคัญ ย่อมลงโทษจำเลยฐานเป็นผู้ใช้ให้ ด.กระทำการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนไม่ได้ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา192 วรรคสอง การที่จำเลยมอบเมทแอมเฟตามีนของกลางไว้ให้ ด.เพื่อจำหน่ายถือได้ว่าเป็นการกระทำด้วยประการใด ๆ อันเป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกในการที่ ด.กระทำการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนให้แก่สายลับผู้ล่อซื้อ และเป็นการให้ความสะดวกก่อนหรือขณะที่ ด.กระทำความผิด การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดตาม ป.อ.มาตรา 86 ซึ่งศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานนี้ตามที่ทางพิจารณาได้ความนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1798/2542 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละสมณเพศและการแต่งกายเป็นพระภิกษุโดยมิชอบ
ตาม พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 มาตรา 29 ที่ใช้บังคับอยู่ณ วันที่ 25 มิถุนายน 2534 นั้น การสละสมณเพศเพราะถูกจับในข้อหาคดีอาญาแยกได้เป็น 3 กรณี คือ 1. เมื่อพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการไม่เห็นสมควรให้ปล่อยชั่วคราวและเจ้าอาวาสไม่ยอมรับตัวไว้ควบคุม พนักงานสอบสวนดำเนินการให้สละสมณเพศได้ 2. พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการเห็นว่าไม่ควรปล่อยชั่วคราวและไม่ควรมอบตัวให้เจ้าอาวาสรับตัวไปควบคุม ก็ดำเนินการให้สละสมณเพศได้ และ3. พระภิกษุรูปนั้นไม่ได้สังกัดอยู่ในวัดใดวัดหนึ่งหรือเป็นพระจรจัด ก็ดำเนินการให้สละสมณเพศได้ เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2534 ร้อยตำรวจโท ส.นำจำเลยไปมอบให้พนักงานสอบสวนโดยมี ก.แจ้งว่าจำเลยแต่งกายเป็นพระภิกษุโดยมิชอบและยุ่งเกี่ยวกับพ.ภริยาของ ก. พนักงานสอบสวนจึงนำจำเลยไปพบเจ้าคณะเขตและพระภิกษุผู้ใหญ่อีกหลายรูปเพื่อสอบสวนจำเลย เมื่อไม่ได้ความชัดว่าขณะนั้นจำเลยจำพรรษาและสังกัดวัดใดแล้ว จำเลยได้ยินยอมสึกจากการเป็นพระภิกษุโดยเปลื้องจีวรออกแล้วแต่งกายด้วยชุดขาว เมื่อกรณีเห็นได้แจ้งชัดว่าจำเลยถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดอาญาและพนักงานสอบสวนไม่เห็นสมควรให้ปล่อยชั่วคราว ทั้งจำเลยมิได้สังกัดในวัดใดวัดหนึ่ง พนักงานสอบสวนจึงได้ดำเนินการให้จำเลยสละสมณเพศ โดยนำจำเลยไปพบเจ้าคณะเขตและพระภิกษุผู้ใหญ่อีกหลายรูปเพื่อทำการสึกจำเลยจากการเป็นพระภิกษุ การที่จำเลยยินยอมเปลื้องจีวรออกแล้วแต่งกายด้วยชุดขาวเช่นนี้ถือได้ว่าจำเลยได้สละสมณเพศแล้วเพราะพระภิกษุที่ไม่ปฏิบัติตามพระธรรมวินัยหรือต้องปาราชิกจะขาดจากการเป็นพระภิกษุทันทีโดยเจ้าคณะเขตหรือเจ้าคณะตำบลหรือเจ้าคณะแขวงสามารถให้พระภิกษุรูปนั้นสึกได้โดยไม่ต้องกล่าวคำอำลาสิกขา การที่จำเลยยินยอมเปลื้องจีวรออกเพื่อต่อสู้คดี ย่อมไม่เป็นเหตุให้จำเลยกลับมาเป็นพระภิกษุใหม่อีก ดังนั้น การที่ต่อมาจำเลยกลับมาแต่งกายเป็นพระภิกษุเพื่อให้บุคคลอื่นเชื่อว่าตนเป็นพระภิกษุจึงเป็นการกระทำที่เป็นความผิดตามป.อ.มาตรา 208
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1798/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละสมณเพศตาม พ.ร.บ.คณะสงฆ์ กรณีพระภิกษุถูกกล่าวหาอาญา และการแต่งกายเป็นพระภิกษุโดยมิชอบ
ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 มาตรา 29การสละสมณเพศเพราะถูกจับในข้อหาคดีอาญาแยกได้เป็น 3 กรณี คือ 1. เมื่อพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการไม่เห็นสมควรให้ปล่อยชั่วคราวและเจ้าอาวาสไม่ยอมรับตัวไว้ควบคุม พนักงานสอบสวนดำเนินการให้สละสมณเพศได้2. พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการเห็นว่าไม่ควร ปล่อยชั่วคราวและไม่ควรมอบตัวให้เจ้าอาวาสรับตัวไป ควบคุม ก็ดำเนินการให้สละสมณเพศได้ และ 3. พระภิกษุ รูปนั้นไม่ได้สังกัดอยู่ในวัดใดวัดหนึ่งหรือเป็นพระจรจัดก็ดำเนินการให้สละสมณเพศได้ กรณีของจำเลยปรากฏว่าร้อยตำรวจโทส.นำจำเลยไปพบพระท.เจ้าอาวาสวัดและมีตำแหน่งเป็นเจ้าคณะและพระภิกษุผู้ใหญ่อีกหลายรูปเพื่อสอบสวนจำเลยแล้วไม่ได้ความชัดว่าขณะนั้นจำเลยจำพรรษาและสังกัดวัดใด จำเลยยินยอมสึกจากการเป็นพระภิกษุโดยเปลื้องจีวร ออกแล้ว แต่งกายด้วยชุดขาวจึงถือได้ว่าจำเลยได้สละสมณเพศแล้วในขณะนั้นตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ฯ มาตรา 29 การที่จำเลยอ้างว่ายินยอมเปลื้องจีวร ออกเพื่อต่อสู้คดีไม่เป็นเหตุให้จำเลยซึ่งได้สละสมณเพศแล้วกลับมาเป็นพระภิกษุใหม่อีก ดังนั้นเมื่อภายหลังต่อมาจำเลยกลับมาแต่งกายเป็นพระภิกษุเพื่อให้บุคคลอื่นเชื่อว่าตนเป็นพระภิกษุจึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 208
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขโทษทางอาญาจากหลายบทเป็นบทเดียวโดยศาลอุทธรณ์ และข้อจำกัดในการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยทั้งสองกระทำความผิดฐาน ทำให้เสียทรัพย์และฐานบุกรุก แต่เป็นการกระทำกรรมเดียว เป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทซึ่งมีโทษเท่ากัน จึงพิพากษา ลงโทษในความผิดฐานบุกรุกจำคุกคนละ 6 เดือน ปรับคนละ 2,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้คนละ 3 ปี ศาลอุทธรณ์ พิพากษาแก้เป็นว่าจำเลยทั้งสองมีความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ เพียงบทเดียวและคงลงโทษตามศาลชั้นต้น การที่ศาลอุทธรณ์แก้ไข เพียงบทลงโทษจากหลายบทเป็นบทเดียวโดยไม่ได้แก้โทษด้วย จึงเป็นการแก้ไขเล็กน้อย และให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินห้าปี คู่ความจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง เมื่อจำเลยทั้งสองไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลอุทธรณ์ย่อมวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงแตกต่างจาก ศาลชั้นต้นได้ การฟังข้อเท็จจริงของศาลอุทธรณ์และ การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายตามข้อเท็จจริงที่ฟังได้ ย่อมไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 194
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาลงโทษจำเลยร่วมกระทำความผิดอาญาอาศัยพยานหลักฐานประกอบคำเบิกความของผู้เสียหายและท่าทางประกอบคำรับสารภาพ
ที่เหตุเกิดเป็นทางสัญจรและเป็นถนนสายหลักสายสำคัญ จึงน่าเชื่อว่าเวลา 1 นาฬิกา ยังมีรถแล่นอยู่และต้อง เปิดไฟสว่างแล่นสวนกันไปมา เชื่อว่าผู้เสียหายกับ ส. ต้องเห็นและจำคนร้ายได้ถนัดโดยเฉพาะคนร้ายที่ไม่ได้ สวมหมวกนิรภัย นอกจากนี้หลังเกิดเหตุผู้เสียหายกับ ส. ได้แจ้งให้เจ้าพนักงานตำรวจทราบถึงลักษณะของคนร้าย เมื่อจับคนร้ายได้ผู้เสียหายกับ ส. ไปดูตัวและยืนยันว่าจำเลยที่ 1 เป็นคนร้ายที่ใช้มีดฟันสายรัดกระเป๋าเสื้อผ้า กับจำเลยที่ 3 เป็นคนร้ายที่ใช้ไขควงจี้คุมผู้เสียหายกับ ส. ทั้งจำเลยที่ 3 ให้การรับสารภาพชั้นสอบสวนและนำชี้ ที่เกิดเหตุประกอบคำรับสารภาพ แม้จำเลยที่ 3 จะนำสืบว่า คำให้การรับสารภาพเพราะถูกเจ้าพนักงานตำรวจข่มขู่และ ทำร้ายก็ตาม แต่ได้ความว่าในชั้นจับกุมจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ให้การรับสารภาพ ส่วนผู้ต้องหาอื่นอีก 4 คน ให้การปฏิเสธ ถ้ามีการข่ม ขู่หรือทำร้ายจริงเหตุใดเจ้าพนักงานตำรวจ จึงบังคับแต่เพียงจำเลยที่ 3 ไม่บังคับบุคคลที่ให้การปฏิเสธ ดังกล่าวให้ให้การรับสารภาพด้วย พยานหลักฐานโจทก์ฟังได้ว่าจำเลยที่ 3 เป็นคนร้ายที่ร่วมกระทำความผิดด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1223/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกฟ้องจำเลยเนื่องจากพยานหลักฐานไม่เพียงพอ และขอบเขตความรับผิดทางอาญา
จำเลยที่ 1 มีเฮโรอีนของกลางน้ำหนัก 4.129 กรัม ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และจำหน่ายเฮโรอีนดังกล่าวให้แก่สิบตำรวจเอก ค.กับสายลับที่ไปล่อซื้อ นอกจากนี้แล้วจำเลยที่ 1 ยังมีกัญชาแห้งจำนวน 1 ถุง น้ำหนัก580 กรัม ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต แต่พยานหลักฐานของโจทก์เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 มีเหตุสงสัยตามสมควรว่า จำเลยที่ 2 ร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 1ในความผิดฐานมีเฮโรอีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และจำหน่ายเฮโรอีนจริงหรือไม่ จึงให้ยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้จำเลยที่ 2 ตาม ป.วิ.อ.มาตรา227 วรรคสอง ดังนี้ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจยกฟ้องโจทก์ในข้อหาความผิดฐานร่วมกับจำเลยที่ 1 มีกัญชาไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตด้วย ตาม ป.วิ.อ.มาตรา185 แม้ความผิดฐานนี้ต้องห้ามมิให้จำเลยที่ 2 ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6937/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องอาญาเช็คคืน การระบุมาตราในคำฟ้อง และความสมบูรณ์ของคำฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มีบทบัญญัติรวมสิบเอ็ดมาตราเท่านั้น และมาตราที่ บัญญัติว่าการกระทำเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้มีอยู่เฉพาะมาตรา 4 เพียงมาตราเดียว ในคำฟ้องโจทก์ก็ได้บรรยายการกระทำผิดของจำเลยไว้ชัดแจ้งครบถ้วนตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4แล้ว จำเลยย่อมจะเข้าใจดีและไม่หลงต่อสู้เมื่อโจทก์ได้อ้าง พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 ไว้ในคำขอท้ายฟ้อง อีกทั้งระบุอ้างมาตรา 4 และชื่อพระราชบัญญัติ ดังกล่าวไว้ที่หน้าคำฟ้องในช่องข้อหาหรือฐานความผิดแล้วเช่นนี้ ย่อมมีผลเท่ากับการอ้างมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำ เช่นนั้นเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(6) แล้ว คำฟ้องของโจทก์จึงเป็นคำฟ้องที่สมบูรณ์ ตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6319/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำเนินการทางอาญาต่างจากกระบวนการพิจารณาคดีเดิม แม้ประเด็นเกี่ยวข้องกับเอกสารเดียวกัน
ในชั้นพิจารณาของศาลชั้นต้น จำเลยนำสืบพยานของตนจนเสร็จสิ้นและแถลงหมดพยานจำเลย อันเป็นการเสร็จการพิจารณาในศาลชั้นต้นแล้ว การที่จำเลยฎีกาขอให้ศาลฎีกาจัดส่งคำร้องขอถอนฟ้องซึ่งพิพาทกันไปตรวจพิสูจน์ว่ามีการกรอกข้อความในแบบคำร้องดังกล่าวก่อนหรือภายหลังที่ผู้เสียหายลงลายมือชื่อนั้น เป็นเรื่องที่จำเลยจะต้องขออนุญาตระบุพยานเพิ่มเติมในชั้นฎีกาให้ถูกต้องตามกระบวนพิจารณาเสียก่อน เมื่อจำเลยมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกระบวนพิจารณา จึงไม่อาจดำเนินการให้ได้
คดีเดิมโจทก์ (ผู้เสียหายในคดีนี้) ยื่นคำร้องขอให้ยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่อ้างเหตุจำเลยปลอมลายมือชื่อโจทก์ในคำร้องขอถอนฟ้อง ซึ่งผลการตรวจพิสูจน์ของผู้เชี่ยวชาญของศาลปรากฏว่า เป็นลายมือชื่อของโจทก์ ศาลจึงมีคำสั่งยกคำร้อง แต่คดีนี้พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยว่า จำเลยนำแบบพิมพ์คำร้องของศาลไปให้ผู้เสียหายลงลายมือชื่อ โดยที่ยังไม่ได้กรอกข้อความ แล้วจำเลยกรอกข้อความในแบบพิมพ์คำร้องดังกล่าวว่าผู้เสียหายประสงค์ขอถอนฟ้องอันเป็นเท็จ ต่อมาจำเลยนำคำร้องดังกล่าวไปยื่นแสดงต่อศาล ทำให้ศาลหลงเชื่อว่าเป็นความจริงการกระทำของจำเลยเป็นการปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอม ขอให้ลงโทษจำเลยในทางอาญา กรณีเห็นได้ว่า ศาลในคดีเดิมได้ดำเนินกระบวนพิจารณาในประเด็นที่ว่ามีเหตุให้ยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่เพราะจำเลยปลอมลายมือชื่อโจทก์ในคำร้องขอถอนฟ้องหรือไม่ แต่คดีนี้เป็นเรื่องความรับผิดในทางอาญาว่าจำเลยได้กระทำความผิดโดยกรอกข้อความลงในแบบคำร้องซึ่งมีลายมือชื่อของผู้เสียหายว่าผู้เสียหายประสงค์ขอถอนฟ้องโดยไม่ได้รับความยินยอมของผู้เสียหาย แล้วนำคำร้องดังกล่าวไปยื่นต่อศาลอันเป็นการปลอมเอกสาร และใช้เอกสารปลอมตามฟ้องหรือไม่ ประเด็นแห่งคดีจึงแตกต่างกันฟ้องของโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตาม ป.วิ.พ.มาตรา 144ประกอบ ป.วิ.อ.มาตรา 15
คดีเดิมโจทก์ (ผู้เสียหายในคดีนี้) ยื่นคำร้องขอให้ยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่อ้างเหตุจำเลยปลอมลายมือชื่อโจทก์ในคำร้องขอถอนฟ้อง ซึ่งผลการตรวจพิสูจน์ของผู้เชี่ยวชาญของศาลปรากฏว่า เป็นลายมือชื่อของโจทก์ ศาลจึงมีคำสั่งยกคำร้อง แต่คดีนี้พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยว่า จำเลยนำแบบพิมพ์คำร้องของศาลไปให้ผู้เสียหายลงลายมือชื่อ โดยที่ยังไม่ได้กรอกข้อความ แล้วจำเลยกรอกข้อความในแบบพิมพ์คำร้องดังกล่าวว่าผู้เสียหายประสงค์ขอถอนฟ้องอันเป็นเท็จ ต่อมาจำเลยนำคำร้องดังกล่าวไปยื่นแสดงต่อศาล ทำให้ศาลหลงเชื่อว่าเป็นความจริงการกระทำของจำเลยเป็นการปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอม ขอให้ลงโทษจำเลยในทางอาญา กรณีเห็นได้ว่า ศาลในคดีเดิมได้ดำเนินกระบวนพิจารณาในประเด็นที่ว่ามีเหตุให้ยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่เพราะจำเลยปลอมลายมือชื่อโจทก์ในคำร้องขอถอนฟ้องหรือไม่ แต่คดีนี้เป็นเรื่องความรับผิดในทางอาญาว่าจำเลยได้กระทำความผิดโดยกรอกข้อความลงในแบบคำร้องซึ่งมีลายมือชื่อของผู้เสียหายว่าผู้เสียหายประสงค์ขอถอนฟ้องโดยไม่ได้รับความยินยอมของผู้เสียหาย แล้วนำคำร้องดังกล่าวไปยื่นต่อศาลอันเป็นการปลอมเอกสาร และใช้เอกสารปลอมตามฟ้องหรือไม่ ประเด็นแห่งคดีจึงแตกต่างกันฟ้องของโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตาม ป.วิ.พ.มาตรา 144ประกอบ ป.วิ.อ.มาตรา 15