พบผลลัพธ์ทั้งหมด 971 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6516/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจทนายความในการลงชื่อยื่นอุทธรณ์/ฎีกาแทนโจทก์ร่วม และการขยายระยะเวลา
คดีอาญา เมื่อโจทก์ร่วมแต่งตั้งให้ ท.เป็นทนายความโดยให้มีอำนาจใช้สิทธิในการอุทธรณ์หรือฎีกา ท.จึงลงชื่อในคำฟ้องอุทธรณ์แทนโจทก์ร่วมได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 62 ประกอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 15 โดยไม่จำต้องรอให้โจทก์ร่วมเป็นผู้ลงลายมือชื่อด้วยตนเอง ข้ออ้างของทนายโจทก์ร่วมที่ว่ายังไม่ได้รับแบบพิมพ์ท้ายอุทธรณ์ที่ให้โจทก์ร่วมลงลายมือชื่อกลับคืนมาจึงยังไม่สามารถยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นได้ ยังถือไม่ได้ว่าเป็นพฤติการณ์พิเศษอันศาลจะพึงขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้โจทก์ร่วมได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6516/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจทนายความในการลงชื่อแทนจำเลยในการอุทธรณ์/ฎีกา และเหตุขยายระยะเวลาการยื่นอุทธรณ์
คดีอาญา เมื่อโจทก์ร่วมแต่งตั้งให้ ท. เป็นทนายความโดยให้มีอำนาจใช้สิทธิในการอุทธรณ์หรือฎีกา ท. จึงลงชื่อในคำฟ้องอุทธรณ์แทนโจทก์ร่วมได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 62 ประกอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 โดยไม่จำต้องรอให้โจทก์ร่วมเป็นผู้ลงลายมือชื่อด้วยตนเองข้ออ้างของทนายโจทก์ร่วมที่ว่ายังไม่ได้รับแบบพิมพ์ท้ายอุทธรณ์ที่ให้โจทก์ร่วมลงลายมือชื่อกลับคืนมาจึงยังไม่สามารถยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นได้ ยังถือไม่ได้ว่าเป็นพฤติการณ์พิเศษอันศาลจะพึงขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้โจทก์ร่วมได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6441/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยล้มละลาย ไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอพิจารณาใหม่ อำนาจอยู่ที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
การที่ศาลจะมีคำสั่งตามคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยย่อมมีผลทำให้ศาลต้องหยิบยกปัญหาในเรื่องหนี้ของจำเลยขึ้นพิจารณาใหม่ จึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับทรัพย์ของจำเลย เมื่อจำเลยเป็นบุคคลล้มละลายอำนาจในการต่อสู้คดีย่อมเป็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวแม้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะมาแถลงต่อศาลว่าไม่ติดใจคัดค้านคำขอพิจารณาใหม่ ก็ไม่ทำให้อำนาจในการต่อสู้คดีของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เปลี่ยนแปลงไป จำเลยไม่มีสิทธิที่จะยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ด้วยตนเอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 457/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้สั่งจ่ายเช็คคือบริษัท ไม่ใช่กรรมการ แม้กรรมการลงลายมือชื่อตามข้อบังคับบริษัท
ธนาคารตามเช็คได้มอบเช็คพิพาทให้แก่บริษัทจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกค้าประเภทบัญชีกระแสรายวัน จึงต้องถือว่าจำเลยที่ 1 แต่ผู้เดียว เป็นผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาท ส่วนการที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการที่มีอำนาจได้ลงลายมือชื่อและประทับตราจำเลยที่ 1 ในช่องผู้สั่งจ่าย ก็เป็นไปตามข้อบังคับของจำเลยที่ 1 ต้องตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 70 วรรคสอง และมาตรา 900 ต้องถือว่าจำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อในฐานะผู้แทนของจำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดตามเช็คต่อผู้ทรงเป็นส่วนตัวหากจำเลยที่ 2 กระทำการให้เกิดความเสียหายแก่จำเลยที่ 1 เพราะปฏิบัติหน้าที่บกพร่องก็เป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 หรือผู้ถือหุ้นจะใช้สิทธิตามกฎหมายดำเนินการให้จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดต่อจำเลยที่ 1 ต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2750/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเรียงฟ้องอุทธรณ์โดยผู้ไม่ได้รับอนุญาตเป็นทนายความ ทำให้คำฟ้องไม่ชอบด้วยกฎหมาย
พระราชบัญญัติทนายความฯ มาตรา 33 บัญญัติใจความว่า ผู้เรียงหรือแต่งฟ้องอุทธรณ์จะต้องเป็นการกระทำของทนายความที่ได้รับอนุญาต หรือของตัวความเองเป็นการเฉพาะตัว ไม่อาจตั้งตัวแทนหรือไม่อาจอนุญาตให้ผู้ใดผู้หนึ่งช่วยเหลือได้เมื่อคำฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยลงลายมือชื่อผู้เรียงโดย ธ. ซึ่งเป็นบุคคลที่ไม่ได้จดทะเบียนและไม่ได้รับใบอนุญาตให้เป็นทนายความ อีกทั้งไม่ได้เป็นบุคคลที่ได้รับการยกเว้นโดยบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความหรือกฎหมายอื่นคำฟ้องอุทธรณ์ดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ครบองค์ประกอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 215 ประกอบด้วยมาตรา 158(7)ศาลอุทธรณ์ภาค 9 ชอบที่จะยกอุทธรณ์ของจำเลยโดยไม่อาจจะสั่งให้แก้ไขประการใดได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 215 ประกอบด้วย 161 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2684/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตอำนาจมอบอำนาจ: การขอคืนของกลางต้องดำเนินการอย่างไร
ผู้ร้องทำหนังสือมอบอำนาจระบุให้ ส.มีอำนาจทำหนังสือคำร้องคำขอหรือแบบรายการของหน่วยราชการใด ๆ เพื่อขอรับและรับทรัพย์สินของบริษัทจากบุคคล นิติบุคคล หน่วยราชการ พนักงานสอบสวน หรือเจ้าพนักงานอื่นใด ไม่ว่าจะเป็นการขอรับมาเพื่อเก็บรักษาไว้ชั่วคราวระหว่างดำเนินคดีหรือเป็นการขอรับคืนเมื่อคดีถึงที่สุดแล้วเท่านั้น ไม่ปรากฏว่าผู้ร้องได้มอบอำนาจให้ ส.มีอำนาจดำเนินคดีในศาล หรือยื่นคำร้องขอต่อศาลเพื่อขอรถยนต์กระบะของกลางคืน ทั้งหากกรณีคดีถึงที่สุดโดยศาลมิได้สั่งริบของกลาง หรือโจทก์มิได้ขอให้ริบของกลาง การขอของกลางหรือทรัพย์สินที่เจ้าพนักงานยึดไว้เพื่อใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีคืน ก็หาจำต้องขอคืนต่อศาลไม่ การระบุให้มีอำนาจขอรับทรัพย์สินคืนเมื่อคดีถึงที่สุดแล้ว จึงมิใช่การมอบอำนาจให้ยื่นคำร้องขอรถยนต์กระบะของกลางคืนจากศาล ส.ย่อมไม่มีอำนาจยื่นคำร้องขอรถยนต์กระบะของกลางคืนจากศาลแทนผู้ร้อง และไม่มีอำนาจมอบอำนาจช่วงให้ ค.ยื่นคำร้องดังกล่าว ค.จึงไม่มีอำนาจยื่นคำร้องในคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2402/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของการแปรสภาพบริษัท: สิทธิและอำนาจตามสัญญาเช่าซื้อยังคงมีผลผูกพันกับบริษัทที่แปรสภาพ
พ.ร.บ.บริษัทมหาชน จำกัด พ.ศ. 2535 อนุญาตให้บริษัทเอกชนแปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนได้ เมื่อนายทะเบียนรับจดทะเบียนการแปรสภาพเป็นบริษัทตาม พ.ร.บ.นี้ บริษัทเอกชนเดิมหมดสภาพจากการเป็นบริษัทจำกัด แต่มาตรา 185 แห่ง พ.ร.บ.มหาชน จำกัดฯ ยังคงรับรองถึงความเกี่ยวพันระหว่างบริษัทเอกชนเดิมที่หมดสภาพด้วยการแปรสภาพใหม่เป็นบริษัทมหาชนว่า บริษัทที่แปรสภาพแล้วย่อมได้ไปทั้งทรัพย์สิน หนี้ สิทธิ และความรับผิดของบริษัทเอกชนเดิมทั้งหมด
บริษัท ส.ซึ่งเป็นบริษัทเอกชนเดิมก่อนแปรสภาพได้ทำหนังสือมอบอำนาจให้ ส.ลงนามในสัญญาเช่าซื้อแทนบริษัทได้ หนังสือดังกล่าวย่อมก่อให้เกิดสิทธิหรือความรับผิดอันโอนไปยังบริษัทโจทก์ซึ่งแปรสภาพมาได้ เมื่อหนังสือดังกล่าวยังอยู่ในกำหนดเวลาที่ระบุไว้ ส.จึงยังคงมีอำนาจลงนามในสัญญาเช่าซื้อแทนโจทก์ได้
บริษัท ส.ซึ่งเป็นบริษัทเอกชนเดิมก่อนแปรสภาพได้ทำหนังสือมอบอำนาจให้ ส.ลงนามในสัญญาเช่าซื้อแทนบริษัทได้ หนังสือดังกล่าวย่อมก่อให้เกิดสิทธิหรือความรับผิดอันโอนไปยังบริษัทโจทก์ซึ่งแปรสภาพมาได้ เมื่อหนังสือดังกล่าวยังอยู่ในกำหนดเวลาที่ระบุไว้ ส.จึงยังคงมีอำนาจลงนามในสัญญาเช่าซื้อแทนโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2256/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจพนักงานตรวจแรงงานออกคำเตือนนายจ้าง: เป็นเพียงการแนะนำ ไม่ใช่คำสั่งทางกฎหมาย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 77 มีความว่า เมื่อปรากฏว่านายจ้างได้กระทำการฝ่าฝืนประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ไม่ว่ากรณีใด ๆ ก็ตาม พนักงานตรวจแรงงานมีอำนาจที่จะใช้ดุลพินิจออกคำเตือนให้นายจ้างที่กระทำการฝ่าฝืนนั้นปฏิบัติให้ถูกต้องภายในระยะเวลาที่กำหนดก็ได้
การที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ในฐานะพนักงานตรวจแรงงานออกคำเตือนให้โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างนำเงินค่าจ้างที่ค้างจ่ายไปจ่ายให้แก่จำเลยที่ 1ซึ่งเป็นลูกจ้าง ณ สถานที่กำหนดภายใน 7 วัน เป็นการให้โจทก์ปฏิบัติตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน เป็นเพียงการชี้แนะเพื่อจะระงับข้อพิพาทระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 ที่เป็นนายจ้างและลูกจ้างเท่านั้น มิใช่เป็นคำสั่งหรือคำวินิจฉัยชี้ขาดที่กฎหมายบัญญัติให้โจทก์ต้องปฏิบัติตาม ถ้าโจทก์เห็นว่าคำเตือนนั้นไม่ถูกต้องจะไม่ปฏิบัติตามก็ได้ และการไม่ปฏิบัติตามคำเตือนในกรณีนี้ก็ไม่มีกฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิดทางอาญา คำเตือนดังกล่าวจึงไม่เป็นการกระทบกระเทือนต่อสิทธิและหน้าที่ของโจทก์ การที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ออกคำเตือนแก่โจทก์จึงไม่เป็นการโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 55ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 31 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนคำเตือนดังกล่าว
การที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ในฐานะพนักงานตรวจแรงงานออกคำเตือนให้โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างนำเงินค่าจ้างที่ค้างจ่ายไปจ่ายให้แก่จำเลยที่ 1ซึ่งเป็นลูกจ้าง ณ สถานที่กำหนดภายใน 7 วัน เป็นการให้โจทก์ปฏิบัติตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน เป็นเพียงการชี้แนะเพื่อจะระงับข้อพิพาทระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 ที่เป็นนายจ้างและลูกจ้างเท่านั้น มิใช่เป็นคำสั่งหรือคำวินิจฉัยชี้ขาดที่กฎหมายบัญญัติให้โจทก์ต้องปฏิบัติตาม ถ้าโจทก์เห็นว่าคำเตือนนั้นไม่ถูกต้องจะไม่ปฏิบัติตามก็ได้ และการไม่ปฏิบัติตามคำเตือนในกรณีนี้ก็ไม่มีกฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิดทางอาญา คำเตือนดังกล่าวจึงไม่เป็นการกระทบกระเทือนต่อสิทธิและหน้าที่ของโจทก์ การที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ออกคำเตือนแก่โจทก์จึงไม่เป็นการโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 55ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 31 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนคำเตือนดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2078/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงสภาพการจ้าง: อำนาจการพิจารณาขึ้นค่าจ้าง & การแก้ไขเปลี่ยนแปลง
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างระหว่างจำเลยและลูกจ้างของจำเลยได้กำหนดระเบียบการขึ้นค่าจ้างไว้โดยระบุว่า การขึ้นค่าจ้างตามเวลาที่กำหนด พนักงานตั้งแต่ระดับหัวหน้าผู้ควบคุมงาน (CHIEF FOREMAN) ลงมาจะได้รับการพิจารณาขึ้นค่าจ้างปีละ 2 ครั้ง คือในวันที่ 21 มิถุนายน และวันที่ 21ธันวาคม ของทุกปี แต่ต้องเป็นผู้ที่ทำงานติดต่อกันมาแล้วครบ 6 เดือนขึ้นไปเป็นข้อตกลงที่จำเลยและสหภาพแรงงาน ได้ร่วมกันพิจารณาและตกลงร่วมกันจึงเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ทั้งสองฝ่ายคือ นายจ้างและลูกจ้างจะต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด เมื่อข้อตกลงไม่มีข้อความระบุไว้โดยชัดแจ้งว่าการพิจารณาขึ้นค่าจ้างตามข้อตกลงในข้อนี้ ให้จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างใช้ดุลพินิจพิจารณาขึ้นค่าจ้างให้แก่พนักงานลูกจ้างของจำเลยตามสภาพความเป็นจริงได้จำเลยก็ไม่มีอำนาจที่จะกระทำได้ หากในระหว่างที่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างดังกล่าวมีผลใช้บังคับอยู่นั้น จำเลยได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ กิจการขาดทุนและจำเลยต้องการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างดังกล่าว จำเลยก็ต้องปฏิบัติตามกฎหมายโดยการแจ้งข้อเรียกร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเสียก่อน เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้แจ้งข้อเรียกร้องขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างดังกล่าว จำเลยจึงต้องปฏิบัติตาม
แม้ว่าข้อตกลงจะใช้ถ้อยคำว่า "...จะได้รับการพิจารณาขึ้นค่าจ้างปีละ 2 ครั้ง" ก็ตาม ถ้อยคำดังกล่าวก็มีความหมายว่าจำเลยจะต้องพิจารณาว่าลูกจ้างคนใดมีผลงานประเมินอย่างไร อยู่ในเกณฑ์ที่จะได้รับการขึ้นค่าจ้างหรือไม่ หากอยู่ในเกณฑ์ได้รับการขึ้นค่าจ้าง ค่าจ้างที่ปรับขึ้นเป็นจำนวนเท่าใดเท่านั้นมิใช่เป็นการให้อำนาจแก่จำเลยที่จะใช้ดุลพินิจพิจารณาขึ้นค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างหรือไม่ก็ได้
แม้ว่าข้อตกลงจะใช้ถ้อยคำว่า "...จะได้รับการพิจารณาขึ้นค่าจ้างปีละ 2 ครั้ง" ก็ตาม ถ้อยคำดังกล่าวก็มีความหมายว่าจำเลยจะต้องพิจารณาว่าลูกจ้างคนใดมีผลงานประเมินอย่างไร อยู่ในเกณฑ์ที่จะได้รับการขึ้นค่าจ้างหรือไม่ หากอยู่ในเกณฑ์ได้รับการขึ้นค่าจ้าง ค่าจ้างที่ปรับขึ้นเป็นจำนวนเท่าใดเท่านั้นมิใช่เป็นการให้อำนาจแก่จำเลยที่จะใช้ดุลพินิจพิจารณาขึ้นค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างหรือไม่ก็ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9606/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลรัฐธรรมนูญจำกัดเฉพาะบทบัญญัติแห่งกฎหมาย กรณีดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด
ในการพิจารณาและวินิจฉัยบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ศาลยุติธรรมจะใช้บังคับแก่คดีว่า ขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 หรือไม่ เป็นอำนาจหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญโดยเฉพาะ แต่ทั้งนี้ต้องเป็นกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญยังไม่เคยมีคำวินิจฉัยมาก่อน ในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญเคยมีคำวินิจฉัยไว้แล้ว ศาลยุติธรรมย่อมมีอำนาจยกขึ้นอ้างในคดีได้โดยไม่ต้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยซ้ำอีก
ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยไว้แล้วว่า พ.ร.บ.ดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน พ.ศ. 2523 ในส่วนที่เกี่ยวกับการเรียกดอกเบี้ยเกินกว่าอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 มาตรา 30 ส่วนประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่องการกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลด เป็นการ ออกข้อกำหนดโดยผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยด้วยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง โดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 มาตรา 14 ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยดังกล่าวเป็นการออกโดยอาศัยอำนาจตามที่ พ.ร.บ. ให้อำนาจไว้ มิได้ออกโดยองค์กรที่ใช้อำนาจนิติบัญญัติ จึงไม่เป็นบทบัญญัติแห่งกฎหมายตามความหมายของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 264 จึงไม่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญที่จะพิจารณาวินิจฉัย
ประกาศกระทรวงการคลังเป็นการออกข้อกำหนดโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังด้วยคำแนะนำของธนาคารแห่งประเทศไทย โดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.ดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน พ.ศ. 2523 มาตรา 4 ส่วนประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นการออกข้อกำหนดโดยผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยด้วยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง โดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 มาตรา 14 แต่ทั้งประกาศกระทรวงการคลังและประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยมิได้ออกโดยองค์กรที่ใช้อำนาจนิติบัญญัติ จึงไม่เป็นบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ตามความหมายของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 264 จึงไม่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญที่จะพิจารณาวินิจฉัย
ประกาศที่ออกโดยธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) เพื่อให้เป็นไปตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยที่ออกโดยผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย โดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 มาตรา 14 ไม่ใช่ประกาศของทางราชการและไม่ใช่บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยให้ได้ ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยไว้แล้วอีกด้วย ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องของจำเลยที่ขอให้รอการพิจารณาพิพากษาคดีนี้ไว้ชั่วคราวและส่งความเห็นของจำเลยไปศาลรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณาวินิจฉัยชอบแล้ว
ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยไว้แล้วว่า พ.ร.บ.ดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน พ.ศ. 2523 ในส่วนที่เกี่ยวกับการเรียกดอกเบี้ยเกินกว่าอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 มาตรา 30 ส่วนประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่องการกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลด เป็นการ ออกข้อกำหนดโดยผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยด้วยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง โดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 มาตรา 14 ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยดังกล่าวเป็นการออกโดยอาศัยอำนาจตามที่ พ.ร.บ. ให้อำนาจไว้ มิได้ออกโดยองค์กรที่ใช้อำนาจนิติบัญญัติ จึงไม่เป็นบทบัญญัติแห่งกฎหมายตามความหมายของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 264 จึงไม่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญที่จะพิจารณาวินิจฉัย
ประกาศกระทรวงการคลังเป็นการออกข้อกำหนดโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังด้วยคำแนะนำของธนาคารแห่งประเทศไทย โดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.ดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน พ.ศ. 2523 มาตรา 4 ส่วนประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นการออกข้อกำหนดโดยผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยด้วยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง โดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 มาตรา 14 แต่ทั้งประกาศกระทรวงการคลังและประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยมิได้ออกโดยองค์กรที่ใช้อำนาจนิติบัญญัติ จึงไม่เป็นบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ตามความหมายของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 264 จึงไม่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญที่จะพิจารณาวินิจฉัย
ประกาศที่ออกโดยธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) เพื่อให้เป็นไปตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยที่ออกโดยผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย โดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 มาตรา 14 ไม่ใช่ประกาศของทางราชการและไม่ใช่บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยให้ได้ ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยไว้แล้วอีกด้วย ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องของจำเลยที่ขอให้รอการพิจารณาพิพากษาคดีนี้ไว้ชั่วคราวและส่งความเห็นของจำเลยไปศาลรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณาวินิจฉัยชอบแล้ว