คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
อำนาจฟ้อง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4,515 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2068/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีหลังมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด: เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจแต่ผู้เดียว
โจทก์ถูกศาลล้มละลายกลางสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดในระหว่างที่คดีแพ่งของโจทก์อยู่ระหว่างพิจารณา โจทก์จึงไม่มีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาหรือว่าคดีแพ่งได้อีกตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 22 (3) และมาตรา 25 การที่โจทก์ยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งของศาลชั้นต้นในคดีแพ่งด้วยตนเองจึงเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1872/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาคารชุด และสิทธิเรียกเก็บค่าใช้จ่ายส่วนกลางของนิติบุคคลอาคารชุด
โจทก์เป็นนิติบุคคลอาคารชุดมี ส. เป็นผู้จัดการ ส. จึงมีอำนาจหน้าที่เป็นผู้แทนของโจทก์ตาม พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 มาตรา 35 วรรคสอง ประกอบมาตรา 36 (3) หนังสือมอบอำนาจที่ ส. ลงลายมือชื่อในช่องผู้มอบอำนาจพร้อมประทับตราของโจทก์มอบอำนาจให้ ท. เป็นผู้ดำเนินคดีแทน ถือได้ว่าโจทก์มอบอำนาจให้ ท. ดำเนินคดีแทนโจทก์ แม้มิได้กำหนดไว้ในข้อบังคับหรือมีมติของที่ประชุมเจ้าของร่วมให้กระทำได้ แต่การฟ้องคดีมิใช่เรื่องการปฏิบัติกิจการในหน้าที่ซึ่งต้องกระทำด้วยตัวเองตามมาตรา 36 วรรคท้าย ท. จึงมีอำนาจดำเนินคดีแทนโจทก์ได้
จำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ห้องชุดของอาคารชุด นอกจากจำเลยต้องชำระเงินจัดตั้งกองทุนตาม พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 มาตรา 40 แล้ว จำเลยยังมีหน้าที่ต้องชำระค่าใช้จ่ายส่วนกลางตามส่วนแห่งประโยชน์ที่มีต่อห้องชุดและตามอัตราส่วนกรรมสิทธิ์ที่มีอยู่ในทรัพย์ส่วนกลางแก่โจทก์ตามมาตรา 18 และข้อบังคับของนิติบุคคลอาคารชุด ทั้งตามข้อบังคับข้อ 66 กำหนดให้ ว. ผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุดคราวแรก เป็นผู้ปฏิบัติการชั่วคราวมีหน้าที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับกิจการเร่งด่วน และจำเป็นเกี่ยวกับการจัดการกิจการเกี่ยวกับทรัพย์สินส่วนกลาง โดย ว. เป็นกรรมการผู้มีอำนาจของบริษัทจำเลย เมื่อรองผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุดฝ่ายบัญชีและบุคคลได้มีหนังสือแจ้งบรรดาเจ้าของร่วมอาคารชุดให้ชำระค่าใช้จ่ายส่วนกลางประจำเดือนเป็นอัตราส่วนแน่นอน จึงถือว่าเป็นกิจการเร่งด่วนและจำเป็นเกี่ยวกับการจัดการกิจการเกี่ยวกับทรัพย์สินส่วนกลาง จำเลยจะอ้างว่าค่าใช้จ่ายดังกล่าวยังไม่ได้รับอนุมัติจากมติของที่ประชุมใหญ่หาได้ไม่ เพราะเงินค่าใช้จ่ายส่วนนี้เป็นคนละจำนวนกับค่าใช้จ่ายในการจัดตั้งกองทุนให้แก่นิติบุคคลอาคารชุดที่ชำระล่วงหน้าตาม พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 มาตรา 40 และข้อบังคับข้อ 20 จึงไม่ต้องขออนุมัติจากมติของที่ประชุมใหญ่ โจทก์มีสิทธิเรียกเก็บเงินค่าใช้จ่ายดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1240/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต: การพิจารณาความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร และอำนาจฟ้องของโจทก์
อาคารพาณิชย์ที่จำเลยได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างเป็นอาคารพาณิชย์ 4 ชั้น สภาพแข็งแรงรวม 9 ห้อง แต่ละห้องปลูกอยู่บนที่ดินโฉนดแยกออกแต่ละแปลง เนื้อที่แปลงละ 15 5/10 ตารางวา ส่วนอาคารพิพาทเป็นอาคารชั้นเดียว ปลูกอยู่บนโฉนดที่ดินเลขที่ 130322 เนื้อที่ 15 5/10 ตารางวา เนื้อที่เท่ากับที่ดินปลูกสร้างอาคารพาณิชย์ สภาพอาคารพิพาทมีเพียงโครงหลังคาเหล็กที่ติดกับผนังอาคารพาณิชย์เท่านั้น ส่วนที่เป็นอาคารพิพาทไม่ได้ก่อประโยชน์แก่อาคารพาณิชย์ ทั้งไม่มีลักษณะเป็นการเปลี่ยนแปลงต่อเติม เพิ่ม หรือลดโครงสร้างอาคารพาณิชย์หรือส่วนอื่น ๆ ของอาคารที่ก่อสร้างไว้แล้วให้ผิดไปจากเดิม สภาพอาคารพิพาทเป็นอาคารที่ก่อสร้างขึ้นแยกต่างหากจากอาคารพาณิชย์เพื่อประโยชน์ของอาคารพิพาทเอง ถือว่าเป็นการก่อสร้างอาคารขึ้นใหม่ทั้งหมด หาใช่การดัดแปลงอาคารไม่
ความผิดตาม พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 เป็นความผิดอาญาแผ่นดิน ไม่ใช่ความผิดส่วนตัว พนักงานสอบสวนจึงมีอำนาจสอบสวนได้โดยไม่ต้องมีคำร้องทุกข์ เมื่อพนักงานสอบสวนได้ทำการสอบสวนโดยชอบจนเสร็จ การสอบสวนถือได้ว่ามีการสอบสวนโดยชอบแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 120

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1202/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่าปลงศพของทายาทนอกกฎหมายที่ได้รับการรับรอง: อำนาจฟ้องและการร่วมรับผิดของจำเลย
สิทธิในการเรียกค่าสินไหมทดแทนเกี่ยวกับค่าปลงศพตาม ป.พ.พ. มาตรา 443 วรรคแรก เป็นสิทธิของผู้ที่เป็นทายาทจะเรียกร้องเอาแก่ผู้ที่กระทำละเมิดทำให้เจ้ามรดกถึงแก่ความตายภายใต้บังคับมาตรา 1649 และเมื่อโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 เป็นบุตรนอกกฎหมายที่เจ้ามรดกซึ่งเป็นบิดารับรองแล้ว จึงเป็นผู้สืบสันดานเหมือนบุตรชอบด้วยกฎหมายของเจ้ามรดกตามมาตรา 1627 มีสิทธิฟ้องเรียกค่าปลงศพของเจ้ามรดก และเมื่อโจทก์ทั้งสี่ร่วมกันฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนในการปลงศพดังกล่าว จึงไม่จำเป็นต้องระบุว่าโจทก์คนใดเป็นผู้ที่ออกค่าใช้จ่ายส่วนนี้จึงจะมีอำนาจฟ้องได้ โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 จึงมีอำนาจฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนในการปลงศพได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 113/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีภาษีมูลค่าเพิ่มต้องรอคำวินิจฉัยศาลภาษีอากรกลางเมื่อมีการอุทธรณ์
ตาม ป.รัษฎากรฯ มาตรา 88/5 ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมีสิทธิอุทธรณ์การประเมินตามบทบัญญัติในส่วน 2 ของหมวด 2 ลักษณะ 2 แห่ง ป.รัษฎากรฯ คืออุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามมาตรา 30 (1) เมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยแล้วมีสิทธิอุทธรณ์ต่อศาลตามมาตรา 30 (2) เว้นแต่จะเป็นกรณีต้องห้ามอุทธรณ์ การที่กฎหมายให้อุทธรณ์ต่อศาลเช่นนี้ก็เพื่อให้ศาลพิจารณาว่าการประเมินและคำวินิจฉัยชอบหรือไม่ ศาลจึงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาเปลี่ยนแปลง แก้ไข ยกเลิก หรือเพิกถอนการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ได้ เมื่อจำเลยที่ 1 อุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยฟ้องคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลภาษีอากรกลางแล้ว การที่โจทก์มีสิทธิจะได้รับชำระภาษีมูลค่าเพิ่มตามคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์หรือไม่ ต้องรอฟังคำวินิจฉัยชี้ขาดของศาลภาษีอากรกลางก่อน การที่จำเลยทั้งสามไม่ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มตามคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จึงหาเป็นการโต้แย้งสิทธิที่โจทก์จะนำคดีมาฟ้องไม่ เพราะมิเช่นนั้นบทบัญญัติว่าด้วยการอุทธรณ์ต่อศาลจะไร้ผล โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 113/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีภาษีมูลค่าเพิ่มต้องรอผลคำพิพากษาศาลภาษีอากรกลาง การอุทธรณ์มีผลหยุดการบังคับชำระ
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคลประเภทห้างหุ้นส่วนจำกัด จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ และจำเลยที่ 3 ซึ่งเคยเป็นหุ้นส่วนและหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ให้ร่วมกันชำระเงินภาษีมูลค่าเพิ่มด้วย แต่ปรากฏว่าภาษีมูลค่าเพิ่มดังกล่าวนี้ โจทก์ได้ประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มของจำเลยที่ 1 ซึ่งจำเลยที่ 1 อุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ และอุทธรณ์โดยฟ้องต่อศาลภาษีอากรกลางแล้วตามลำดับ คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลภาษีอากรกลาง ซึ่งศาลมีอำนาจวินิจฉัยเปลี่ยนแปลง แก้ไข ยกเลิกหรือเพิกถอนการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ได้ ดังนี้จึงต้องรอคำวินิจฉัยชี้ขาดในคดีดังกล่าวก่อน การที่จำเลยทั้งสามไม่ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ในกรณีเช่นนี้หาเป็นการโต้แย้งสิทธิที่โจทก์จะนำคดีมาฟ้องต่อศาลไม่ โจทก์จึงยังไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสามให้ชำระเงินภาษีมูลค่าเพิ่ม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 953/2548 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องขับไล่ของส่วนราชการ กรณีจำเลยเกษียณอายุและไม่ปฏิบัติตามคำบอกกล่าว การมอบอำนาจฟ้องคดีได้รับการยกเว้นอากรแสตมป์
พ.ร.ฎ.โอนกรมตำรวจ กระทรวงมหาดไทยไปจัดตั้งเป็นสำนักงานตำรวจฯ มาตรา 3 บัญญัติไว้ชัดแจ้งว่า โจทก์เป็นส่วนราชการ และมีฐานะเป็นกรม โจทก์จึงมีฐานะเป็นนิติบุคคลตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดินฯ มาตรา 7 (4) และเป็นส่วนราชการของรัฐบาล ห้องพิพาทที่จำเลยพักอาศัยเป็นส่วนหนึ่งของอาคารของโจทก์ จึงเป็นทรัพย์สินของทางราชการ เมื่อจำเลยเกษียณอายุราชการจึงไม่มีสิทธิพักอาศัยอยู่ในห้องพิพาทต่อไป ตามระเบียบการปฏิบัติเข้าพักอาศัยในอาคารของกรมตำรวจ การที่จำเลยยังคงอยู่ในห้องพิพาทไม่ยอมออกไปเมื่อโจทก์ได้บอกกล่าวให้ออกไปแล้ว จึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลย และโจทก์อยู่ในฐานะเป็นผู้กระทำงานของรัฐบาลโดยหน้าที่หาใช่เป็นการกระทำการโดยส่วนตัวไม่ การที่โจทก์มอบอำนาจให้ผู้อื่นฟ้องคดีจึงไม่จำต้องปิดอากรแสตมป์ในหนังสือมอบอำนาจ เพราะได้รับการยกเว้นตาม ป.รัษฎากรฯ มาตรา 121

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 953/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะนิติบุคคลของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ อำนาจฟ้อง และการยกเว้นอากรแสตมป์ในการมอบอำนาจฟ้องคดี
พระราชกฤษฎีกาโอนกรมตำรวจ กระทรวงมหาดไทยไปจัดตั้งเป็นสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2541 มาตรา 3 บัญญัติว่า โจทก์เป็นส่วนราชการ และมีฐานะเป็นกรม สำนักงานตำรวจแห่งชาติโจทก์จึงมีฐานะเป็นนิติบุคคลตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 มาตรา 7 (4) และเป็นส่วนราชการของรัฐบาล
ห้องพิพาทที่จำเลยพักอาศัยเป็นส่วนหนึ่งของอาคารของสำนักงานตำรวจแห่งชาติโจทก์ เป็นทรัพย์สินของทางราชการ เมื่อจำเลยเกษียณอายุราชการจึงไม่มีสิทธิพักอาศัยอยู่ในห้องพิพาทต่อไปตามระเบียบของโจทก์ การที่จำเลยยังคงอยู่ในห้องพิพาทจึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องและมอบอำนาจให้ผู้อื่นฟ้องขับไล่จำเลยและบริวารออกไปจากห้องพิพาทได้ โจทก์จึงอยู่ในฐานะเป็นผู้กระทำงานของรัฐบาลโดยหน้าที่ หาใช่เป็นการกระทำโดยส่วนตัวไม่ การที่โจทก์มอบอำนาจให้ผู้อื่นฟ้องคดีจึงไม่จำต้องปิดอากรแสตมป์ในหนังสือมอบอำนาจ เพราะได้รับการยกเว้นตามมาตรา 121 แห่งประมวลรัษฎากร ดังนั้น แม้หนังสือมอบอำนาจของโจทก์จะไม่ได้ปิดอากรแสตมป์ก็มีผลใช้ได้ตามกฎหมาย ผู้รับมอบอำนาจจึงมีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์และแต่งตั้งพนักงานอัยการเป็นทนายความดำเนินคดีแทนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 886/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีและการมอบอำนาจช่วง กรณีกรรมการบริษัทลงนามมอบอำนาจแทนบริษัท
หนังสือมอบอำนาจเอกสารหมาย จ.2 มีข้อความระบุว่า "ข้าพเจ้า บริษัท สแกนดิเนเวียฯ โดยนาย ซ. และนาย ว. กรรมการผู้มีอำนาจ ขอแต่งตั้งให้นาย ว. แต่ผู้เดียวลงลายมือชื่อพร้อมประทับตราสำคัญบริษัท ให้เป็นตัวแทนของบริษัท และให้อำนาจดำเนินการแทนบริษัท ดังจะกล่าวต่อไปนี้ ?ข้อ 1 ให้ตัวแทนมีอำนาจฟ้องคดี ? ข้อ 9 ? ให้มีอำนาจแต่งตั้งตัวแทนช่วง เพื่อให้มีอำนาจและดำเนินการตามอำนาจดังกล่าวข้างต้นให้ทุกประการ?" และหนังสือมอบอำนาจเอกสารหมาย จ.3 มีข้อความว่า "ด้วยหนังสือนี้ ข้าพเจ้า บริษัทสแกนดิเนเวียฯ โดยนาย ว. กรรมการผู้มีอำนาจ ขอแต่งตั้งให้ นาย จ. และหรือ นาย ก. ให้เป็นตัวแทนของบริษัทและให้อำนาจดำเนินการแทนบริษัทดังจะกล่าวต่อไปนี้?" แม้หนังสือมอบอำนาจเอกสารหมาย จ.3 ระบุว่านาย ว. ผู้มอบอำนาจกระทำการในฐานะกรรมการผู้มีอำนาจโจทก์ มิได้ระบุว่ากระทำการแทนในฐานะตัวแทนโจทก์ก็ตาม แต่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 10 บัญญัติว่า "เมื่อความข้อใดข้อหนึ่งในเอกสารอาจตีความได้สองนัย นัยไหนจะทำให้เป็นผลบังคับได้ ให้ถือเอาตามนัยนั้น ดีกว่าที่จะถือเอานัยที่ไร้ผล" ดังนั้น การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้โดยในคำฟ้องระบุว่า นาย จ. และหรือ นาย ก. เป็นผู้รับมอบอำนาจช่วง กับอ้างหนังสือมอบอำนาจเอกสารหมาย จ.2 และ จ.3 เป็นพยานหลักฐาน ทั้งใบแต่งทนายความโจทก์ระบุว่า ผู้แต่งทนายความ คือ โจทก์ โดยนาย จ. ผู้รับมอบอำนาจช่วง จึงต้องถือว่านาย ว. มีเจตนาลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญโจทก์ในหนังสือมอบอำนาจเอกสารหมาย จ.3 เพื่อมอบอำนาจช่วงให้นาย จ. และหรือ นาย ก. ฟ้องคดีนี้ตามที่ได้รับมอบอำนาจจากโจทก์ หาได้กระทำการในฐานะกรรมการผู้มีอำนาจโจทก์แต่อย่างใด ดังนี้ หนังสือมอบอำนาจเอกสารหมาย จ.3 จึงมีผลสมบูรณ์ โจทก์มีอำนาจฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องได้ความว่าโจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทมหาชนจำกัด มีกรรมการสองคนลงลายมือชื่อร่วมกันและประทับตราสำคัญ มีอำนาจกระทำการแทนและมีผลผูกพันโจทก์ ตามหนังสือรับรองเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 1 ในการดำเนินคดีนี้ โจทก์มอบอำนาจให้นาย ว. เป็นผู้ดำเนินคดีแทนและมีอำนาจแต่งตั้งตัวแทนช่วงได้ ซึ่งนาย ว. ได้มอบอำนาจช่วงให้นาย จ. และ/หรือ นาย ก. เป็นผู้ดำเนินคดีแทน ตามหนังสือมอบอำนาจเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 2 และ 3 ดังนั้น นาย ว.ซึ่งเป็นกรรมการคนหนึ่งของโจทก์มีฐานะเป็นผู้รับมอบอำนาจของโจทก์ด้วย รวมทั้งมีอำนาจแต่งตั้งตัวแทนช่วงได้ การกระทำของนาย ว. ตามหนังสือมอบอำนาจทั้งสองฉบับดังกล่าวจึงไม่ขัดกัน ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
หนังสือมอบอำนาจเอกสารหมาย จ.4 มีข้อความระบุให้ผู้รับมอบอำนาจมีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ "ข้อ 1 มีอำนาจกระทำการ และลงลายมือชื่อในเอกสารต่าง ๆ และมีอำนาจมอบอำนาจช่วงแก่บุคคล หรือนิติบุคคลอื่นใดเกี่ยวกับกิจการให้เช่า/เช่าซื้อของบริษัท ดังนี้ 1.1 ยึดทรัพย์สินที่ให้เช่า/เช่าซื้อ 1.2? 1.6?" ข้อความดังกล่าวเป็นการมอบอำนาจให้ผู้รับมอบอำนาจมีอำนาจกระทำการและลงลายมือชื่อในเอกสารต่างๆ แทนโจทก์ส่วนหนึ่ง กับมีอำนาจมอบอำนาจช่วงแก่บุคคลหรือนิติบุคคลอื่นใดเกี่ยวกับกิจการให้เช่าหรือเช่าซื้อของโจทก์ตามที่ระบุในข้อ 1.1 ถึง ข้อ 1.6 อีก
ส่วนหนึ่ง ดังนั้น นางสาว พ. และนาย ส. ผู้รับมอบอำนาจโจทก์ จึงมีอำนาจลงลายมือชื่อในสัญญาเช่าซื้อแทนโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 867/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการรับเงินทดแทนของลูกจ้างที่ประสบอันตรายและการมีอำนาจฟ้องคดีต่อศาลแรงงาน
พ.ร.บ.เงินทดแทน พ.ศ.2537 มาตรา 25 ที่ให้สิทธิแก่นายจ้างที่ได้ทดรองจ่ายเงินทดแทนให้แก่ลูกจ้างแล้วขอรับเงินทดแทนคือจากสำนักงานประกันสังคมได้ มิใช่บทบัญญัติตัดสิทธิของลูกจ้างผู้ประสบอันตรายตามมาตรา 49 การที่โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างผู้ประสบอันตรายได้ยื่นคำร้องขอรับเงินทดแทนจากสำนักงานประกันสังคมจำเลยตามมาตรา 49 และนายจ้างได้แจ้งการประสบอันตรายของโจทก์ต่อจำเลยตามมาตรา 48 เมื่อจำเลยแจ้งมติของคณะอนุกรรมการแพทย์ให้โจทก์และนายจ้างของโจทก์ทราบแล้ว แม้นายจ้างของโจทก์จะมิได้อุทธรณ์ แต่โจทก์ได้อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนอันเป็นการใช้สิทธิตามมาตรา 52 เมื่อโจทก์ไม่พอใจคำวินิจฉัยของคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทน โจทก์ย่อมมีสิทธินำคดีไปสู่ศาลแรงงานได้ตามมาตรา 53 เป็นกรณีมีข้อโต้แย้งสิทธิเกิดขึ้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
of 452